วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
ร. 4 ทรงลองใจเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ว่าจะมักใหญ่ใฝ่สูงหวังเป็นกษัตริย์หรือไม่
ข้อมูลจาก สโมสรศิลปวัฒนธรรม
ร. 4 ทรงลองใจเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ว่าจะมักใหญ่ใฝ่สูงหวังเป็นกษัตริย์หรือไม่
‘ในปีเถาะ พ.ศ.2410 เมื่อพระราชทานเพลิงพระศพ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เลื่อนกรมเจ้านายเนื่องในเหตุที่พระมหาอุปราชสวรรคตตามราชประเพณีซึ่งเคยมีมา“…ผู้คนเกรงท่าน [กรมขุนราชสีหวิกรม] แม้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็คงจะมีอะไรที่ทรงเกรงอยู่บ้าง ทั้งที่ท่านเป็นที่ใกล้ชิดกับพระองค์ เพราะปรากฏว่าในปลายรัชสมัยได้ตรัสเรียกให้ท่านเข้าไปปฏิญาณพร้อมกับเจ้านายชั้นผู้ใหญ่หน้าพระแก้วมรกตว่าจะไม่แย่งราชบัลลังก์ เรื่องนี้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงบันทึกไว้ใน ‘พระราชประวัติรัชกาลที่ 5 ก่อนเสวยราชย์’ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสเล่าพระราชทาน ดังนี้
‘เจ้านายซึ่งโปรดให้เลื่อนกรมครั้งนั้นมี 5 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา เป็นกรมขุนบำราบปรปักษ์ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวรจักรธรานุภาพ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นราชสีหวิกรม สองพระองค์หลังนี้เป็นกรมขุนคงพระนามเดิม ส่วนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (เดิมทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นพิฆเนศวรสุระสังกาศ) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงเปลี่ยนพระนามกรมเป็นกรมขุนพินิตประชานาถ ด้วยทรงพระราชดำริว่ากรมมเหศวรศิววิลาศ กรมวิษณุนาถนิภาธร พระชันษาไม่ยั่งยืน จะเป็นด้วยพระนามพ้องกับนามของพระเป็นเจ้าในไสยศาสตร์ จึงทรงเปลี่ยนพระนามกรมหมื่นพิฆเนศวรสุระสังกาศ เป็นกรมขุนพินิตประชานาถ
‘เวลาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดำรัสสั่งให้เลื่อนกรมเจ้านายครั้งนั้น เสด็จประทับที่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อทรงสั่งแล้วมีพระราชดำรัสให้หาเจ้านายทั้ง 4 พระองค์นั้นเข้าไปเฝ้า ณ ที่รโหฐานตรงหน้าพระพุทธรูป แล้วมีพระราชดำรัสว่าจะทรงปฏิญาณเฉพาะพระพักตร์พระมหามณีรัตนปฎิมากรว่า เจ้านายซึ่งจะเป็นกรมขุน 4 พระองค์นี้ ถ้าใครได้ครองราชย์สมบัติต่อไปจะไม่ทรงรังเกียจเลย
‘เจ้านาย 3 พระองค์ ต่างกราบทูลถวายปฏิญาณว่ามิได้ทรงคิดมักใหญ่ใฝ่สูง ตั้งพระหฤทัยแต่จะสนองพระเดชพระคุณช่วยทำนุบำรุงสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอให้ได้รับราชสมบัติสืบไป’
ครั้งมีสุริยุปราคาหมดดวง กรมขุนราชสีหวิกรม พร้อมด้วยพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ได้ตามเสด็จพระราชดำเนินไปเกาะจาน เมื่อเสด็จกลับมาก็ประชวรไข้และสิ้นพระชนม์ก่อนสวรรคตในรัชกาลที่ 4 เพียง 15 วัน ส่วนโอรสธิดาซึ่งประสูติในวังท่าพระ ก็ประทับในวังนั้นต่อมาจนถึงรัชกาลที่ 5 จึงย้ายออกไปอยู่ที่บ้านท่าช้าง คือบ้านของคุณตาท่าน (พระยาราชมนตรี) สำหรับหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ โอรสองค์สุดท้องซึ่งภายหลังได้เลื่อนขึ้นเป็นพระองค์เจ้า ถูกส่งไปศึกษาต่อที่สิงคโปร์และประเทศอังกฤษ เป็นคนไทยคนแรกที่ได้เข้ามหาวิทยาลัย (King’s College, London) และถูกแต่งตั้งให้เป็นราชทูตสยามคนแรกประจำราชสำนักอังกฤษและอีก ๑๑ ประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกา
บทบาทสำคัญของเจ้านายพระองค์นี้ได้แก่การแก้สนธิสัญญาเบาริ่ง (Bowring) ที่กลุ่มประเทศตะวันตกได้เปรียบสยาม การนำสยามเข้าเป็นสมาชิกการไปรษณีย์โทรเลขสากล และจัดการวางสายโทรเลขกรุงเทพฯ-ไซ่ง่อน และกรุงเทพฯ สิงคโปร์ อีกทั้งได้ชักชวนข้าราชการสถานทูตกราบบังคมทูลถวายร่างรัฐธรรมนูญสยามฉบับแรก ใน ค.ศ. 1884″
คัดมาจากบางส่วนของบทความ “วังท่าพระและเรื่องพิศดารบางเรื่องเกี่ยวกับเจ้านายในวัง” โดย สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ใน ศิลปวัฒนธรรม ฉบับ มิถุนายน 2559
edit : suriya mardeegun
วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
2 มีนาคม 2477: รัชกาลที่ 7 ทรงประกาศสละราชสมบัติ หลังทรงไม่อาจต่อรองกับฝ่ายคณะราษฎรได้
2 มีนาคม 2477: รัชกาลที่ 7 ทรงประกาศสละราชสมบัติ หลังทรง
ไม่อาจต่อรองกับฝ่ายคณะราษฎรได้
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี (AFP)
บัดนี้ข้าพเจ้าเห็นว่าความประสงค์ของข้าพเจ้าที่จะให้ราษฎรมีสิทธิ์ออกเสียงในนโยบายของประเทศโดยแท้จริงไม่เป็นผลสำเร็จและเมื่อข้าพเจ้ารู้สึกว่าบัดนี้เป็นอันหมดหนทางที่ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือหรือให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนได้ต่อไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงขอสละราชสมบัติและออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์แต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าขอสละสิทธิของข้าพเจ้าทั้งปวง ซึ่งเป็นของข้าพเจ้าในฐานที่เป็นพระมหากษัตริย์ แต่ข้าพเจ้าสงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งปวงอันเป็นของข้าพเจ้าแต่เดิมมาก่อนที่ข้าพเจ้าได้รับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์…”“…ข้าพเจ้าเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิ์ขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร
คัดจากบางส่วนของคำประกาศสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ซึ่งทรงประกาศไว้เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2477
ก่อนหน้านั้นระหว่างการเสด็จประพาสยุโรป รัชกาลที่ 7 ทรงมีโทรเลขมาถึงผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ เป็นเหตุให้ กรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ทรงทำหนังสือไปถึง พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น มีถ้อยคำบางส่วนว่า
“…รัฐบาลและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยมากรู้สึกแน่ใจว่าไม่จำเป็นจะต้องประนีประนอมต่อพระองค์ไม่ว่าในเรื่องใดๆ พอใจที่จะขัดพระราชดำริเสียทุกอย่าง ถ้าหากรัฐบาลมีประสงค์จะประสานงานต่อพระองค์ด้วยดีแล้วคงจะกราบบังคมทูลปรึกษาก่อนที่จะดำเนินการอันสำคัญไป ถ้าได้ทำดั่งนั้นความยุ่งยากอย่างหนึ่งอย่างใดก็จะไม่เกิดขึ้นได้ แต่รัฐบาลมิได้ทำดั่งนั้น การใดๆ รัฐบาลทำไปจนถึงที่สุดเสร็จเสียแล้วจึงกราบบังคมทูลพระกรุณา ไม่มีทางที่จะทรงทักท้วงให้แก้ไขโดยกระแสพระราชดำริอย่างใดอย่างหนึ่งได้ เมื่อเป็นเช่นนั้นก็จะมีอะไรเหลือนอกจากความขึ้งเคียดแก่กัน…”
“…ตามพฤติการณ์เช่นนี้ทรงพระราชดำริเห็นว่าพระองค์ไม่ควรจะดำรงราชสมบัติอยู่สืบไป เพราะไม่มีประโยชน์ที่จะช่วยปกปักรักษาผู้ใดได้เลยแล้ว …จึงสมัครพระราชหฤทัยที่จะทรงสละราชสมบัติ…จะโปรดเกล้าฯพระราชทานพระราชหัตถเลขามาภายหลังโดยไปรษณีย์”
หลังทราบเรื่องทางรัฐบาลจึงตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่ง โดยมีเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) เป็นประธานในการเดินทางไปเข้าเฝ้าและกราบบังคมทูลชี้แจงไกล่เกลี่ยเพื่อทูลเชิญพระองค์เสด็จกลับประเทศไทย แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ
ทั้งนี้ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.2475 รัชกาลที่ 7 ยังทรงพยายามรักษาบทบาทในการบริหารประเทศของพระองค์เอาไว้ แต่ฝ่ายคณะราษฎรไม่ยินยอม จนก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างสองกลุ่มอำนาจ เห็นได้จากหนังสือของกรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ รวมถึงในคำประกาศสละราชสมบัติของพระองค์เอง ซึ่งทรงตัดพ้อฝ่ายรัฐบาลที่ไม่ยอมให้พระองค์ได้มีส่วนเลือกสมาชิกสภาประเภทที่ 2 ตามความดังนี้
“…การที่ข้าพเจ้าได้ยินยอมให้มีสมาชิก 2 ประเภทก็โดยหวังว่าสมาชิกประเภทที่ 2 ซึ่งข้าพเจ้าตั้งนั้น จะเลือกจากบุคคลที่รอบรู้การงานและชำนาญในวิธีดำเนินการปกครองประเทศโดยทั่วๆไป ไม่จำกัดว่าเป็นพวกใดคณะใด…แต่ครั้นเมื่อถึงเวลาที่จะตั้งสมาชิกประเภทที่ 2 ขึ้น ข้าพเจ้าหาได้มีโอกาสแนะนำในการเลือกเลย…”
อีกเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นก่อนการสละราชสมบัติของพระองค์คือเหตุการณ์กบฏบวรเดช (ตุลาคม 2476) นำโดย พระองค์เจ้าบวรเดช ซึ่งในหนังสือ สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น โดย ม.จ.พูนพิศมัย ดิสกุล ได้กล่าวถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวังไกลกังวลก่อนการกบฏไม่นานว่า เจ้านายพระองค์หนึ่ง “ไปขอเฝ้าในหลวงเป็นไปรเวต, แล้วกราบทูลขอพระราชทานอนุญาตว่าจะเปลี่ยนแปลงใหม่. ในหลวงทรงตอบว่า-ไม่ทรงเห็นด้วยเลย”
อย่างไรก็ดี หลังจากการเข้าเฝ้าในครั้งนั้น ได้มีผู้เขียนเช็คสั่งจ่ายเงินจำนวน 200,000 บาท จากพระคลังข้างที่ให้แก่พระองค์เจ้าบวรเดช ไม่นานจากนั้นพระองค์เจ้าบวรเดชทรงนำทัพลงมาจากทางเหนือเพื่อหวังยึดอำนาจ ซึ่ง ม.จ.พูนพิศมัย ได้ยืนยันในบันทึกเล่มเดียวกันว่า รัชกาลที่ 7 ทรงมิได้รู้เห็นกับการสั่งจ่ายเช็คดังกล่าว ขณะที่ฝ่ายคณะราษฎรมองต่างออกไป
ขอขอบคุณ :
ข้อมูลจาก สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็น โดย ม.จ.พูนพิศมัย ดิสกุล, พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดพิมพ์โดย รัฐสภา และ ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ โดย ณัฐพล ใจจริง
“บทบาทปัญญาชนไทย ก่อนสมัย 2500”
“บทบาทปัญญาชนไทย ก่อนสมัย 2500”
เผยแพร่ |
---|
ตั้งแต่
ปลายสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ผ่านสงครามโลกครั้งที่ 2 มาจนถึงปี
2500 สังคมไทยสร้างปัญญาชน, นักคิด, นักเขียน,
ไว้ไม่น้อย และท่านเหล่านั้นสร้างผลงานไว้มากมาย เป็นขุมคลังทางปัญญาความ
คิดของคนรุ่นต่อๆ มา
นี่คือยุคของ กุหลาบ สายประดิษฐ์, สด กูรมะโรหิต, ม.จ.
สกลวรรณากร วรวรรณ, ม.ร.ว. นิมิตรมงคล นวรัตน, “จูเลียต”, อิศรา อมันตกุล,
เสนีย์ เสาวพงศ์, สุภา ศิริมานนท์, ส.ธรรมยศ, สมัคร บุราวาศ, สุภัทร
สุคนธาภิรมย์, อารีย์ ลีวีระ, ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร, อัศนี พลจันทร,
“อุชเชนี”, สุวัฒน์ วรดิลก, “ทวีปวร”, “นารียา”, เสนาะ พานิชเจริญ, ชาญ
กรัสนัยปุระ, “พ. เมืองชมพู”, จิตร ภูมิศักดิ์, และ ฯลฯ
บุคคลเหล่านี้เป็นใคร และงานของเขาส่งผลสะเทือนอย่างไรในประวัติศาสตร์ยุคใกล้ของไทย?
“บทบาทปัญญาชนไทยก่อนสมัย 2500″
“พระ” เขมรทำพิธีกรรม “ล่วงล้ำอวัยวะเพศ-เสพเมถุน” กับเด็กสาวพรหมจรรย์จริงหรือ?
“พระ” เขมรทำพิธีกรรม “ล่วงล้ำอวัยวะเพศ-เสพเมถุน” กับเด็กสาวพรหมจรรย์จริงหรือ?
ผู้เขียน | พล อิฏฐารมณ์ |
---|---|
เผยแพร่ |
เรื่องนี้ได้มีผู้แปลเอาไว้ได้ความว่า ลูกสาวของผู้มีฐานะเมื่ออายุได้ 7 ถึง 9 ขวบ จะต้องให้ “ภิกษุ” หรือ “ดาบส” ทำพิธีทำลายพรหมจารี ซึ่งครอบครัวของเด็กสาวต้องจองตัวพระ หรือดาบสล่วงหน้า โดยนักบวชเหล่านี้จะทำพิธีทำลายพรหมจารีได้เพียงปีละครั้ง และค่าธรรมเนียมบุญก็สูงตามฐานะ เช่น ถ้าเป็นขุนนาง คหบดี ก็ต้องถวายเหล้า ข้าวสาร ผ้าแพร หมาก และเครื่องเงินหนักเป็นร้อยหาบ หรือ 2-3 ร้อยตำลึงจีน ส่วนที่ฐานะต่ำลงมาก็อาจต้องจ่ายเป็นเงินหลักสิบหาบลดหลั่นกันลงมา ส่วนคนยากคนจนก็อาจต้องรอให้ลูกโตถึง 11 ขวบจึงจะได้ทำพิธี โดยอาศัยเงินทำบุญจากผู้มีฐานะ
“ข้าพเจ้าได้ยินว่าเมื่อถึงเวลาพระภิกษุและเด็กหญิงก็เข้าไปในห้อง พระภิกษุใช้มือทำลายพรหมจารีนั้นใส่ลงในเหล้า เขายังเล่ากันอีกว่า บิดามารดาญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านต่างแต้มเหล้านั้นที่หน้าผากของตนทุกคน บางคนก็ว่าทุกคนใช้ปากชิมดู บ้างก็ว่าพระภิกษุประกอบเมถุนธรรมกับเด็กหญิง บ้างก็ว่าไม่เป็นความจริงดังว่านั้นเลย โดยเหตุที่เขาไม่ยอมให้คนจีนรู้เห็น ข้าพเจ้าจึงไม่ทราบเรื่องที่แท้จริงว่าเป็นอย่างไร” โจวต้ากวานกล่าว
ทูตจีนยังอ้างว่า ชาวเขมรมิได้ใส่ใจเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส โดยกล่าวว่า “…เกี่ยวกับการมีสามีและการมีภรรยา แม้จะมีประเพณีรับผ้าไหว้ ก็เป็นเพียงแต่การกระทำลวกๆ พอเป็นพิธี หญิงชายส่วนมากได้เสียกันมาแล้วจึงได้แต่งงาน ตามขนบธรรมเนียมประเพณีของเขาไม่ถือเป็นสิ่งที่น่าละอายและก็ไม่ถือเป็น เรื่องประหลาดด้วย”
ในส่วนที่ทูตจีนกล่าวถึงพิธีเบิกพรหมจรรย์นั้น เห็นได้ว่า ตัวเขาเองมิได้เป็นประจักษ์พยานในพิธี เพียงแต่บอกต่อในสิ่งที่ตนรับฟังมา ซึ่งก็มีข้อมูลที่ขัดแย้งกัน เขาจึงออกตัวว่า “ข้าพเจ้าไม่ทราบเรื่องที่แท้จริงเป็นอย่างไร”
แต่! ในไทยได้มีผู้นำคำบอกเล่าเกี่ยวกับพิธีดังกล่าวของโจวต้ากวานไปเชื่อมโยงกับ ภาพสลักบนปราสาทพนมรุ้งว่าเป็น “พิธีเบิกพรหมจรรย์” ตามที่ทูตชาวจีนกล่าวถึง หลังมีการพบศิวลึงค์ขนาดเล็กจำนวนหนึ่ง ซึ่งเท่ากับว่าผู้สันนิษฐานเชื่อแล้วว่า พิธีดังกล่าวมีอยู่จริง แม้ว่า โจวต้ากวานเองยังไม่กล้ายืนยันก็ตาม!
เรื่องนี้ พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถาน เคยอธิบายไว้นานแล้วว่า ไม่น่าจะเป็นเรื่องจริง เพราะผู้เล่าเรื่องนี้อาจเล่าเชิงทีเล่นทีจริงให้กับพวก “ไม่รู้ภาษา” (มิงติงเทียซา) ฟัง ความที่โจวต้ากวนรับฟังมาจึงขัดแย้งกัน แต่เขาก็บันทึกตามที่ตนได้รับฟังมา
พิเศษ ชี้ว่า ภาพสลักบนปราสาทไม่เคยเห็นภาพที่สมบูรณ์ ภาพที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบันก็เหลือเพียง “ฝ่าเท้า” ยากที่จะบอกเพศของบุคคลในภาพ หรือจะบอกได้ว่าเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ และหากยังไม่ยอมสนใจคำบอกของโจวต้ากวานเองว่า “ข้าพเจ้าไม่ทราบเรื่องที่แท้จริงเป็นอย่างไร” ถึงอย่างนั้น การสันนิษฐานว่าภาพดังกล่าวบนปราสาทเขาพนมรุ้งเป็นพิธีเบิกพรหมจรรย์ก็ยังมี ข้อบกพร่อง
หนึ่งคือ เรื่องที่โจวต้ากวานเล่าอยู่คนละยุคกับปราสาทเขาพนมรุ้ง ห่างกันกว่า 200 ปี สองคือ โจวต้ากวานเล่าว่าพิธีดังกล่าวทำกันที่บ้านของเด็กหญิง การบอกว่าพิธีดังกล่าวทำในปราสาทเขาพนมรุ้งจึงขัดกันเอง และสาม โจวต้ากวานกล่าวว่า การประกอบพิธีจะทำกันในห้องสองต่อสอง แต่ในภาพสลักกลับมีผู้อื่นอยู่ร่วมด้วยหลายคน
พิเศษจึงยืนยันว่า ภาพดังกล่าวไม่ใช่พิธีเบิกพรหมจรรย์แน่ แต่น่าจะเป็นภาพที่ขบวนของนเรนทราทิตย์เชื้อพระวงศ์ชั้นสูงของอาณาจักรขอม ขณะหยุดระหว่างทางเพื่อช่วยคนถูกงูกัด สังเกตได้จากภาพคนนั่งเหยียดเท้าที่ชำรุดจนเหลือแต่ส่วนเท้า และส่วนบนของภาพที่เป็นภาพธวัชฉัตรธง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภาพขบวนแห่ในศิลปะขอมทั่วไป อันเป็นเหตุการณ์ที่สอดคล้องกับบันทึกใน “จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง ๙” ตอนหนึ่งว่า “…เขาไปพร้อมฝูงชนที่เป็นทั้งผู้ดีและไพร่ ยังคนหนึ่งซึ่งกำลังทำแพถูกงูกัด ได้รับความเจ็บปวดเพราะพิษอันร้ายแรงให้จากสระ แล้วรักษาโดยเวทย์มนตร์…เขาชื่อนเรนทราทิตย์ ซึ่งเป็นครูของไตรโลก…”
พิเศษอธิบายภาพว่า คนที่นั่งคุกเข่าอยู่คือผู้ให้การรักษา โดยในมือของเขาถือหินซึ่งมีคุณสมบัติในการรักษาพิษงู ส่วนสตรีที่ยืนอยู่ด้านหลังเป็น “ผู้ดี” ที่มากับขบวนของนเรนทราทิตย์ [ไม่ใช่สาวพรหมจรรย์] โดยพิเศษเชื่อว่า สตรีในภาพนี้เป็นสตรีคนเดียวกันกับที่ปรากฏในภาพอื่นๆ บนปราสาทพนมรุ้ง นั่นคือมารดาของนเรนทราทิตย์ ที่น่าจะเสด็จมาประอยู่ ณ ปราสาทพนมรุ้งเช่นกัน
ด้วยเหตุนี้ ข้อสันนิษฐานของผู้ที่เชื่อว่า “พิธีเบิกพรหมจรรย์” มีจริง และเป็นพิธีที่พระหรือดาบสเป็นผู้ทำลายพรหมจรรย์ของเด็กสาวเอง จึงเป็นเพียงคำบอกเล่าฝ่ายเดียวที่ผู้บอกเล่าไม่กล้ายืนยัน และไม่มีบันทึกอื่นใดที่สอดรับกับคำกล่าวอ้างดังกล่าว
การเชื่อมโยงว่าพิธีดังกล่าวถูกจารึกไว้บนปราสาทพนมรุ้งก็มีหลายส่วนที่ ขัดกันเอง จนไม่น่าเชื่อว่าพิธีดังกล่าวจะเป็นสิ่งที่จารึกของปราสาทพนมรุ้งสื่อไปถึง และยังมีหลักฐานอื่นๆ ที่ชี้ว่า ภาพดังกล่าวน่าจะเป็นภาพประกาศ แสดงถึงการสร้างกุศลของนเรนทราทิตย์ซึ่งเดินทางมาเป็นผู้ทรงศีลที่พนมรุ้ง เพื่อหลีกทางให้เชื้อพระวงศ์ท่านอื่นขึ้นครองราชย์
อ้างอิง:
- ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ “บันทึกว่าด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีของเจินละ โดย เฉลิม ยงบุญเกิด แปลจากต้นฉบับภาษาจีนของโจวต้ากวาน
วัฒนธรรม ฉบับ กันยายน 2546
พระพุทธเจ้าทรงชี้ ผู้หญิงไม่มีวันระอาต่อการ “เสพเมถุน” จนกว่าจะตาย
พระพุทธเจ้าทรงชี้ ผู้หญิงไม่มีวันระอาต่อการ “เสพเมถุน” จนกว่าจะตาย
ผู้เขียน | พล อิฏฐารมณ์ |
---|---|
เผยแพร่ |
พระ
พุทธเจ้า ตามความเชื่อของชาวพุทธคือผู้ตรัสรู้ความจริงในโลก
(มีการตีความไปถึงขนาดที่ว่า พระองค์ทรงรู้ในเรื่องทุกๆ เรื่อง
รวมถึงทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ด้วย)
คำสอนของพระองค์จึงได้รับการยึดถือโดยไม่ได้ถูกตั้งคำถามเท่าใดนัก
(แม้พระองค์เองอยากให้สาวกของพระองค์รู้จักตั้งข้อสงสัยในทุกสิ่งให้มากก็
ตาม)
หนึ่งในความเห็นของพระพุทธองค์ที่ผู้เขียนมองว่าออกจะไม่ตรง
กับความเป็นจริงมากนักคือ เรื่องแรงปรารถนาทางเพศของผู้หญิง
ที่พระองค์เชื่อว่า ผู้หญิงจะ “ไม่อิ่ม” “ไม่ระอา” ไปจนตาย เห็นได้จาก
คำกล่าวของพระองค์ตามที่ปรากฏใน พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต
ในหมวดว่าด้วยบุคคล ซึ่งมีความตอนหนึ่งกล่าวถึง “สิ่งที่มาตุคามไม่อิ่ม”
ว่า
“มาตุคาม(สตรี)ไม่อิ่ม ไม่ระอาต่อธรรม 2 ประการจนกระทั่งตาย
ธรรม 2 ประการอะไรบ้างคือ
1. การเสพเมถุนธรรม 2. การคลอดบุตร
มาตุคามไม่อิ่ม ไม่ระอาต่อธรรม 2 ประการนี้แลจนกระทั่งตาย”
คำกล่าวของพระองค์มิได้มีการอธิบายขยายความแต่ประการใด
ซึ่งน่าสงสัยว่าเหตุใดพระองค์จึงเน้นย้ำเรื่องความปรารถนาในเพศรสไปที่เพศ
หญิงเป็นกรณีพิเศษในจุดนี้ เพราะในพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต
ในส่วนที่ว่าด้วยสิ่งที่เสพไม่รู้จักอิ่ม พระองค์ตรัสว่ามีอยู่สามประการ
คือ
“1. ความอิ่มในการนอนหลับ
2. ความอิ่มในการเสพเครื่องดื่มสุราและเมรัย
3. ความอิ่มในการเสพเมถุนธรรม”
ซึ่งครั้งนี้ พระองค์มิได้จำเพาะเจาะจงว่าเป็นเพศใด
และไม่ได้บอกช่วงระยะเวลาว่ามนุษย์กลุ่มที่พระองค์กล่าวถึงจะหมดความปรารถนา
ในสิ่งเหล่านี้เมื่อใด
ความเห็นของพระพุทธองค์
ที่เน้นว่าสตรีคือเพศที่ไม่อิ่มในกามไปตลอดชีวิต
ดูจะต่างจากผลวิจัยในยุคปัจจุบันที่ส่วนใหญ่มักมีผลออกมาว่า
สตรีเพศคือเพศที่เสื่อมความสนใจในกิจกรรมทางเพศลงเรื่อยๆ ตามอายุที่มากขึ้น
ขณะที่ผู้ชายคือเพศที่รักษาระดับความต้องการทางเพศในระดับสูงไว้ได้เกือบ
ตลอดชีวิต
นักทฤษฎีวิวัฒนาการมักเสนอว่า
ผู้ชายรักษาระดับความต้องการทางเพศในระดับที่สูงกว่าผู้หญิงก็เพื่อเพิ่ม
โอกาสที่จะรักษาเผ่าพันธุ์ที่สูงขึ้นด้วยแผนเชิงปริมาณ
ส่วนเพศหญิงมักหมดความสนใจในกิจกรรมทางเพศหลังมีลูกก็ด้วย
เป้าหมายที่ต้องการรักษาเผ่าพันธุ์เช่นกัน
แต่ผู้หญิงไม่ได้ใช้แผนในเชิงปริมาณเหมือนผู้ชาย
เนื่องจากเธอมักเป็นผู้ดูแลเด็กเป็นหลัก
ซึ่งมีการอธิบายว่าเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงด้านฮอร์โมนมาเกี่ยวข้อง
รวมถึง “ความเจ็บปวด” ที่มาจากการคลอดลูกร่วมด้วย
ขณะที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวว่า สตรีมิได้ระอาต่อการคลอดบุตรแต่อย่างใด
ขอขอบคุณ : silpa-mag.com
จูบรับกลับบ้าน
จูบรับกลับบ้าน
เผยแพร่ |
---|
ตอนเด็กๆ เธอเรียนเพื่อเป็นนักไวโอลิน แต่เธอชอบชีวิตการแสดงมากกว่า จึงแกล้งทำเป็นเจ็บมือ เพื่อใช้เป็นข้ออ้างในการหางานเป็นนักแสดง ซึ่งภายหลังเธอประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการย้ายมาทำมาหากินในอเมริกา
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำนาซีได้ขอร้องกับเธอเป็นการส่วนตัวให้กลับมาหากินในเยอรมนี แต่เธอปฏิเสธและประณามลัทธินาซี จนทำให้เธอถูกตราหน้าว่าเป็นผู้ทรยศ
ในปี 1937 (พ.ศ. 2480) Dietrich ได้รับสัญชาติอเมริกัน และได้เดินสายสร้างขวัญกำลังใจให้กับบรรดาทหารฝ่ายสัมพันธมิตรกว่า 500 ครั้ง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างปี 1943-1946 (พ.ศ. 2486-2489) ภายหลังเธอได้กล่าวถึงปมความรู้สึกเกี่ยวกับชาติและเชื้อชาติของเธอว่า
“อเมริการับฉันไว้ในอ้อมอก ในตอนที่ฉันไม่มีชาติที่ควรคู่จะเรียกว่าเป็นชาติกำเนิดของตัวเองไปแล้ว แต่ในใจของฉัน ฉันคือคนเยอรมัน ความเป็นเยอรมันยังอยู่ในจิตวิญญาณของฉัน”
อ้างอิง: “Marlene Dietrich”. Encyclopædia Britannica. Encyclopædia Britannica Online.
Encyclopædia Britannica Inc., 2016. Web. 15 Nov. 2016
<https://global.britannica.com/biography/Marlene-Dietrich>
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)