ย้อนกลับไปในสมัยท่านประธาน เหมาเจ๋อตุง ของจีน ยังอยู่ในอำนาจครับ หลายๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า การปฏิวัติวัฒนธรรมบนจีนแผ่นดินใหญ่ หรือ เรดการ์ด และ แก๊งค์สี่คน ซึ่งประกอบด้วย
เจียงชิง เหยาเหวินหยวน จางชุนเฉียว และหวังหงเหวิน ที่เข้ามารวมตัวกันอย่างจริงจังเมื่อการปฏิวัติดำเนินไปช่วงหนึ่งแล้ว
ลองมาดูความเป็นมาของแต่ละคนดูครับ
1. เจียงชิง 江青 (1914-1991)
เจียงชิง มีชื่อเดิมว่าหลี่หยุนเฮ่อ(李云鹤) เป็นคนเมืองจูเฉิง ในมณฑลซันตง เริ่มเข้ามาเป็นสมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต์ครั้งแรกในปี 1933 แต่ทว่าก็หมดสมาชิกภาพไปในอีก 5 เดือนถัดมา หลังจากนั้นในปี 1934 ยังถูกพรรคก๊กมินตั๋งในเซี่ยงไฮ้จับไป และได้รับการปล่อยตัวออกมาโดยดี ซึ่งประวัติช่วงนี้ถือว่าเป็นตราบาปอย่างหนึ่ง เพราะหากนางไม่ได้ให้ความร่วมมือกับก๊กมินตั๋ง การได้รับอิสรภาพโดยดีนั้นเป็นไปไม่ได้เลย จึงเท่ากับเป็นการทรยศกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนด้วย
เมื่อถูกปล่อยออกมาแล้ว นางก็ได้ยึดอาชีพเป็นนักแสดงภาพยนตร์ โดยใช้ชื่อว่า หลันผิง(蓝苹) กระทั่งในฤดูใบไม้ร่วงของปี 1937 หลันผิงได้เดินทางไปยังเหยียนอัน และฟื้นสมาชิกภาพในพรรคคอมมิวนิสต์กลับมาอีกครั้ง โดยในปีถัดมาก็ได้เลื่อนสถานภาพขึ้นเป็นภรรยาของประธานเหมาเจ๋อตุง
การขึ้นมาครองอำนาจระดับสูงของเจียงชิงนั้น กล่าวกันว่ามาจากการเป็นภรรยาของเหมาล้วนๆ
เนื่องจากนางไม่ใช่คนที่มีการศึกษาดี หรือมีความสามารถโดดเด่น แม้แต่การเป็นนักแสดงซึ่งเป็นอาชีพเก่า ก็เป็นเพียงนักแสดงชั้นสอง แต่ความทะเยอทะยานอย่างไม่มีที่สิ้นสุดก็ทำให้นางครองตำแหน่งสูงทางการเมือง ในช่วงปลายของชีวิตประธานเหมา นางกับพรรคพวกได้กีดกันผู้นำพรรคคนอื่นๆ ที่เป็นปรปักษ์ไม่ให้เข้าใกล้ประธานเหมา พร้อมทั้งทำลายชื่อเสียง เกียรติคุณของทั้งโจวเอินไหล เติ้งเสี่ยวผิง และครอบครัวนักปฏิวัติที่ร่วมสร้างชาติมากับประธานเหมาท่ามกลางเสียงก่นด่าของประชาชนอีกด้วย |
เป็นชาวเมืองจูจี้ มณฑลเจ้อเจียง มีส่วนร่วมในหน่วยงานด้านโฆษณาการของพรรคมาตั้งแต่ยังไม่เป็นสมาชิกของพรรค ซึ่งเมื่อเข้าเป็นสมาชิกของพรรคแล้ว ก็รับผิดชอบในหน้าที่นี้มาโดยตลอด โดยในปี 1965 ก็ได้มีผลงานวิจารณ์บทละครเรื่อง ‘ไห่รุ่ยถูกปลดจากราชการ (海瑞罢官) ’ ภายใต้การบงการของเจียงชิงและจางชุนเฉียว และนี่เองก็เป็นจุดเริ่มต้นจุดหนึ่งของมติมหาชนต่อการปฏิวัติวัฒนธรรมที่เริ่มขึ้นในปีถัดมา และในการเคลื่อนไหวดังกล่าวเหยาก็รับบทเป็นสมาชิกในกลุ่มแกนนำผู้ปฎิวัติวัฒนธรรมด้วย
ปฏิบัติการที่สร้างชื่อให้กับเหยา นั่นคือเหตุการณ์ที่เรียกว่า มรสุมเดือนมกราคม(一月风暴) ในปี 1967 เป็นการร่วมมือระหว่างจางชุนเฉียวและเหยาเหวินหยวน ที่ใช้อำนาจของการเจ้าหน้าที่กลุ่มย่อยคณะปฏิวัติกลางกวาดล้างกลุ่มที่มีอำนาจราชการเดิมในเมืองเซี่ยงไฮ้ภายใน 1 เดือน แล้วขึ้นมาครองเมืองแทน การกระทำของพวกเขาครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากประธานเหมาเจ๋อตุงโดยตรง ซึ่งหลังจากเหตุการณ์นี้แล้วประธานเหมายังส่งสาสน์มาแสดงความยินดี และให้เผยแพร่เหตุการณ์ครั้งนั้นผ่านหนังสือพิมพ์ อันเป็นสาเหตุให้เกิดความวุ่นวายยิ่งขึ้นไปอีกบนแผ่นดินใหญ่
เหยายังมีบทบาทเคียงบ่าเคียงไหล่กับเจียงชิงเรื่อยมาในการแย่งชิงอำนาจสูงสุดของประเทศ ในช่วงปี 1974 ถึง 1975 ซึ่งเป็นช่วงปลายของการปฏิวัติวัฒนธรรม เขาอาศัยการประณามหลินเปียวและขงจื้อ(批林批孔) เพื่อปลุกระดมให้มีการประณามโจวเอินไหล โดยมีจุดประสงค์เพื่อล้มล้างนักปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพรุ่นเก่าให้หมดจากเส้นทางกุมอำนาจ
3. จางชุนเฉียว 张春桥 (1917-2005)
เป็นชาวเมืองจี้ว์เหย่ จางได้ชื่อว่าเป็นนักวิจารณ์ ศิลปวรรณกรรม ผู้มีทรรศนะซ้ายสุดขั้ว โดยในช่วงปี 1958 เขาเขียนบทความเรื่อง ‘ทำลายความคิดอำนาจทางกฎหมายของทุนนิยม’ ลงในหนังสือพิมพ์เหรินหมิน โดยบทความเรื่องนี้ระบุว่าความคิดแบบทุนนิยมกำลังลุกลามเข้ามามีอิทธิพลเหนือความคิดแบบสังคมนิยม จนทำให้พรรคคอมมิวนิสต์ต้องแปดเปื้อนไปด้วยบรรยากาศของก๊กมินตั๋ง ซึ่งบทความดังกล่าวได้รับการยอมรับด้วยการยืนยันจากประธานเหมาเจ๋อตง นอกจากนั้น ยังมีการกล่าวกันว่าบทความนี้เป็นการวางรากฐานหนึ่งของการปฏิรูปเศรษฐกิจในปี 1958 ที่เรียกว่า ‘การก้าวกระโดด 大跃进’ จากสังคมเกษตรกรรมไปสู่อุตสาหกรรมที่เผชิญกับล้มเหลวในที่สุด |
และเมื่อมีการกวาดล้างกลุ่มผู้มีอำนาจเดิมในนครเซี่ยงไฮ้ ที่เรียกว่า มรสุมเดือนมกราคม (一月风暴) ในปี 1967 ช่วงต้นของการปฏิวัติวัฒนธรรม อันเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของจางชุนเฉียวคู่กับเหยาเหวินหยวน ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างออกนอกหน้าจากประธานเหมาเจ๋อตง ก็ทำให้อำนาจของแก๊งสี่คนเฟื่องฟูมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด เมืองเซี่ยงไฮ้ก็ถูกครองโดยจาง และเขาก็ได้ชื่อว่าเป็นขุนศึกปกครองเซี่ยงไฮ้
นอกจากนั้น ในช่วงเวลาดังกล่าว จางชุนเฉียวยังดำรงตำแหน่งรองหัวหน้ากลุ่มปฏิวัติวัฒนธรรมจากส่วนกลาง รองนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการกองทัพปลดปล่อย ซึ่งล้วนแต่เป็นตำแหน่งใหญ่ทั้งสิ้น รวมถึงการขึ้นเป็นเลขาธิการใหญ่ของพรรค ในการประชุมสมัชชาใหญ่สมัยที่ 10 เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 1973
4. หวังหงเหวิน 王洪文(1932 -1992)
หวังหงเหวิน ชาวเมืองฉางชุน มณฑลจี๋หลิน ผู้ไต่เต้ามาจากระดับล่างที่สุดของกลุ่มแก๊ง 4 คน เขาสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทัพปลดปล่อยตั้งแต่เมื่อมีอายุได้เพียง 18 ปี คือในปี 1950 และเข้าร่วมรบในสงครามต่อต้านสหรัฐอเมริกาที่เกาหลีเหนือ ปีถัดมาก็เข้าเป็นสมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เมื่อปลดประจำการจากกองทัพก็เข้าเป็นคนงานในโรงงานทอผ้าฝ้ายที่ 17 แห่งเมืองเซี่ยงไฮ้ แล้วจึงไต่เต้าขึ้นมาทำในด้านการรักษาความปลอดภัย |
ในปี 1966 ที่การปฏิวัติวัฒนธรรมเพิ่งเริ่มต้นขึ้น หวังจัดตั้งกลุ่มที่เรียกว่า ‘กองบัญชาการคนงานกบฎเซี่ยงไฮ้ 上海工人革命造反总司令部 ’ โดยยกตนเป็นผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานนี้ ในเดือนพฤศจิกายนของปีเดียวกัน หวังก็เป็นผู้ก่อเหตุการณ์กีดขวางทางรถไฟ ที่เรียกว่า ‘เหตุการณ์อันถิง 安亭事件 ’ ที่มุ่งหน้าโจมตีคณะกรรมการพรรคประจำเมืองเซี่ยงไฮ้ ซึ่งหลังจากนั้นยังมีการทำลายทรัพย์สิน ไปจนถึงการประณามเจ้าหน้าที่เดิมในสาธารณะ และกลายเป็นการต่อสู้ด้วยการใช้พละกำลัง แทนที่จะเจรจากันโดยสันติตามที่ประธานเหมาได้เคยมีบัญชาไว้
ปี 1967 หวังร่วมมือกับจางชุนเฉียว และเหยาเหวินหยวนสร้าง ‘มรสุมเดือนมกราคม ’ จนแย่งชิงอำนาจปกครองเมืองเซี่ยงไฮ้มาไว้ในกำมือ แล้วจัดตั้งคณะกรรมการปฏิวัติแห่งเมืองเซี่ยงไฮ้ โดยตนเองรับตำแหน่งรองประธานของกลุ่ม ขณะเดียวกันก็ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคณะกรรมการปฏิวัติโรงงานฝ้ายที่ 17 ปีถัดมา เมื่อคณะกรรมการพรรคประจำเมืองเซี่ยงไฮ้คณะใหม่ก่อตั้งขึ้น หวังก็กินตำแหน่งเลขาธิการคนที่ 3 รวมถึงตำแหน่งสูงสุดของกลุ่มผู้ใช้แรงงานหลายตำแหน่ง
โอกาสทางการเมืองของหวังมาถึงจุดสูงสุดด้วยการสนับสนุนโดยตรงจากเหมาเจ๋อตง ในเดือนสิงหาคม ปี 1973 คือตำแหน่งรองประธานพรรคคนที่ 2 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เป็นรองเพียงประธานเหมาและโจวเอินไหล ที่เป็นรองประธานคนที่ 1 เท่านั้น ขณะเดียวกันก็ควบตำแหน่งคณะกรรมการกลางประจำกองทัพไปด้วย
รู้จักแต่ละคนไปพอสังเขป ตอนนี้มาดูการปฏิวัติวัฒนธรรม ที่ทำให้เกิดผลกระทบอันใหญ่หลวง แก่สังคมจีนในยุคนั้นกันครับ
ทศวรรษแห่งการปฏิวัติวัฒนธรรม 1966-1976 文化大革命
ต้นทศวรรษ 1960 ฐานะของเหมาในพรรคคอมมิวนิสต์ถูกลดบทบาทลง เขาจึงได้เริ่มรุกกลับในปี 1962 เพื่อ “ปกป้องพรรค” จากในสิ่งที่เขาเชื่อว่าการคืบคลานเข้ามาของทุนนิยม และการต่อต้านสังคมนิยมกำลังเป็นภัยต่อประเทศ ในฐานะนักปฏิวัติที่ผ่านร้อนผ่านหนาวจากสถานะการณ์อันเลวร้าย เหมาเชื่อว่าระบบการให้รางวัลแก่ชาวหนาตามแนวทางปรับปรุงและฟื้นฟูของเติ้ง เป็นวิธีการฉ้อราษฏร์บังหลวงและเป็นการต่อต้านการปฏิวัติ การต่อสู้ทางความคิดในพรรคนำไปสู่การกวาดล้างพวกที่ถูกเรียกว่า “ฝักใฝ่ทุนนิยม” หรือฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดสุดโด่งของเหมา ซึ่งมีตัวแทนคือ หลิวซ่าวฉี 刘少奇 กับเติ้งเสี่ยวผิง 邓小平
เหมากล่าวว่าการศึกษาแนวทางลัทธิสังคมนิยมเท่านั้น ที่จะยับยั้งลัทธิแก้
修正主义 ได้” การการศึกษาแนวทางลัทธิสังคมนิยม
จึงได้ดำเนินไปและควบคู่กับการรณรงค์ “เรียนรู้จากกองทัพปลดแอกประชาชน”
ระบบการศึกษาถูกปฏิรูปถูกปรับไปในแนวทางช่วงก้าวกระโดดไปสู่ข้างหน้า
คือระบบที่เรียกว่า“เซี่ยฟั่ง” 下放
คือให้นักศึกษาออกสู่ชนบททำงานในโรงงาน และคอมมูน
โดยมีจุดมุ่งหมายสองประเด็นคือ
1. เพื่อให้ศึกษามวลชนในค่าใช้จ่ายต่ำ
2. เพื่อเป็นแบบอย่างสั่งสอนพวกปัญญาชนทั้งหลายให้เห็นความจำ
เป็นในการมีมีส่วนร่วมกับการใช้แรงงาน
จะเห็นเหตุการณ์ช่วงนี้ได้จากหนังเรื่อง Xie Xie The Sent Dawn ปี 1999 หรือชื่อไทยว่า ซิ่ว ซิ่ว เธอบริสุทธิ์
เป็นเรื่องราวของ
ซิ่ว ซิ่ว เด็กสาว
ที่สมัครมาตามโครงการของรัฐเพื่อเรียนรู้อุดมการณ์ตามแนวทางของยุคปฏิวัติวัฒนธรรม
เธอถูกส่งให้ไปอยู่ในท้องทุ่งอันห่างไกล และกันดาล กับคนเลี้ยงแกะ
เธอถูกเอารัดเอาเปรียบทางเพศ จากผู้ชาย ด้วยความซื่อบริสุทธิ์
หนังจบลงด้วยโศกนาฎกรรม ( ยังไงผมคงจหาโอกาส
รีวิวหนังเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง เพราะเป็นเรื่องโปรดของผมครับ )
กาลียุคแห่งการปฏิวัติ
ปี 1966 คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ได้ตัดสินใจแนวทางการ ปฏิวัติวัฒนธรรม หลังจากที่เหมาเข้าควบคุมอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จในพรรคได้อีกครั้ง โดยมีผู้สนับสนุนสำคัญคือ หลินเปียว 林彪 เจียงชิง江青 (ภรรยาคนที่สี่ของเหมา) และเฉินป๋อต๋า 陈伯达 การปฏิวัติมีจุดมุ่งหมายเพื่อ “โค่นล้มพวกลัทธิทุนนิยม และ วิพากษ์ศิลปะวัฒนธรรมที่แ่บ่งแยกชนชั้น” โดยการปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปศิลปะวัฒนธรรม และปฏิรูปทุกอย่างที่ขัดกับแนวทางลัทธิสังคมนิยม
วันที่ 18 สิงหาคม 1966 เหมาเจ๋อตงกับหลิวเปียวได้ปรากฏตัวที่จตุรัส-
เทียนอันเหมิน天安门广场
เหมา กับ หลิวเปียว มักจะปรากฏตัวด้วยกันบ่อยครั้ง
พบกับพวกหงเว่ยปิงหรือเรดการ์ด 红卫兵ที่ทยอยมาจากทั่วประเทศจำนวนรวมสิบกว่าล้านคน
หลังจากนั้น
ทั่วประเทศจีนก็เข้าสู่กาลียุคเมื่อพวกเรดการ์ดกระจายไปทั่วสารทิศแจกใบปลิว
ติดโปสเตอร์ ป้ายคำขวัญ ตั้งเวทีอภิปราย บางส่วนก็บุกเข้าไปในวัด โบถส์
พิพิธภัณฑ์สถาน ทำลายวัตถุโบราณ เผางานศิลปะ งานประพันธ์
ตอนหลังก็มีการบุกค้นบ้าน โดยเฉพาะพวกผู้ดีเก่า ปัญญาชน
ศิลปินหัวอนุรักษ์นิยม จะถูกจับแห่ประจาน ทรมาร ตอนหลังแม้แต่พระสงค์
แม่ชีและนักบวชก็ไม่เว้น พวกที่มีญาติอยู่ต่างประเทศก็โดนข้อหา
“มีความสัมพันธ์กับต่างประเทศ” หลายคนทนรับเหตุการณ์ไม่ได้ก็ฆ่าตัวตาย
เราจะเห็นภาพช่วงนี้ได้ชัดเจนในหนังเรื่อง Farewell My Concubine1993
หนังเรื่องนี้สะท้อน
เรื่องราวการเปลี่ยนแปลงของจีน ในหลายยุคด้วยกัน โดยการศิลปการแสดง งิ้ว
ซึ่งในยุคการปฏิวัติวัฒนธรรม ศิลปการแสดงงิ้ว ถูกตั้งข้อหามากมาย
ตัวเอกของเรื่อง แทบจะเอาตัวเองไม่รอด ถูกจับประจาน ถูกตั้งข้อหามากมาย หนังเรื่องนี้ ได้รับรางวัลมากมาย และ เป็นที่ชื่นชมของนักวิจารณ์ รวมทั้งเป็นหนังสุดยอดในดวงใจของผมเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว แต่จะยกไว้คุยทีหลังครับ เดี๋ยวจะยาวเกินไป |
ในส่วนของผู้นำในพรรคคอมมิวนิสต์เองก็ใช่ว่าจะได้รับการยกเว้น เติ้งเสี่ยวผิง กับหลิวซ่าวฉี (ตอนหลังตายในที่คุมขัง)ถูกปลด เผิงเต๋อหวาย彭德怀 กับเฮ่อหลง 贺龙 ถูกทรมารจนเสียชีวิต
เหมาประกาศ “ห้ามตำรวจขัดขวางความเคลือนไหวของนักศึกษาปฏิวัติ”
ในช่วงเวลาดังกล่าวเรียกว่า “แดงสยอง” 红色恐怖
ในช่วงเวลาดังกล่าวเรียกว่า “แดงสยอง” 红色恐怖
เฉพาะในเป่ยจิงมีคนถูกฆ่าตายถึง 1700 คน และทั่วประเทศมีคนฆ่าตัวตายถึง 2
แสนคน
ทางพรรคคอมมิวนิสต์ประกาศสนับสนุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำปรับนักศึกษาและอาจารย์ที่จะเข้ามาเคลื่อนไหวในเป่ยจิง
หลินเปียวกล่าวหาเติ้งเสี่ยวผิงกับหลิวซ่าวฉีเป็นตัวแทนของทุนนิยม
ปี 1969 ในที่ประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 1 เมษายน หลิวเปียวถือว่าเป็นผู้ที่อยู่ในอำนาจสูงสุดต่อจากเหมา
ปี 1969 ในที่ประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 1 เมษายน หลิวเปียวถือว่าเป็นผู้ที่อยู่ในอำนาจสูงสุดต่อจากเหมา
ในขณะที่หลิวซ่าวฉีถูกโค่นและี่โจวเอินไหลถูกลดบทบาทลง
หลังจากได้รับการยืนยันที่จะได้รับเป็นผู้สืบทอดของเหมา หลิวเปียวจึงขอฟื้นฟูตำแหน่งประธานประเทศขึ้นมาใหม่ หลังจากที่เหมาได้ยกเลิกไป โดยหลินเปียวมุ่งหวังที่จะเข้ารับรองประธาน โดยมีเหมาเจ๋อตงเป็นประธาน การขอเป็นรองประธานก็เพื่อให้เขามีความชอบธรรมที่จะได้ขึ้นเป็นประธานเมื่อเหมาถึงแก่อสัญกรรม แต่ที่ประชุมไม่เห็นชอบ
หลังจากได้รับการยืนยันที่จะได้รับเป็นผู้สืบทอดของเหมา หลิวเปียวจึงขอฟื้นฟูตำแหน่งประธานประเทศขึ้นมาใหม่ หลังจากที่เหมาได้ยกเลิกไป โดยหลินเปียวมุ่งหวังที่จะเข้ารับรองประธาน โดยมีเหมาเจ๋อตงเป็นประธาน การขอเป็นรองประธานก็เพื่อให้เขามีความชอบธรรมที่จะได้ขึ้นเป็นประธานเมื่อเหมาถึงแก่อสัญกรรม แต่ที่ประชุมไม่เห็นชอบ
เมื่อแผนการล้มเหลว หลินเปียวจึงคิดจะยึดอำนาจด้วยการใช้กำลัง เนื่องจากอำนาจในพรรคของเขานับว่ายิ่งน้อยลง ๆ หลินเปียวได้ร่วมกับลูกชาย หลินลิกั่ว 林立果 และคนสนิทใกล้ชิดก่อการในซ่างไห่ 上海
โดยวางแผนใช้กองทัพอากาศทิ้งระเบิดปูพรม
เมื่อยึดอำนาจสำเร็จก็จัดการจับกุมพวกฝ่ายตรงข้ามและเขาก็ก้าวสู่อำนาจสูงสุด
ดังที่เขาได้กล่าวว่า
“การต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจครั้งใหม่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ถ้าเราไม่สามารถยึดอำนาจการนำปฏิวัติสำเร็จ
อำนาจก็จะตกไปอยู่ในมือของคนอื่น” แต่เมื่อการยึดอำนาจไม่สำเร็จ
ข่าวลือเกี่ยวกับการลอบสังหารเหมาเกิดขึ้นมาไม่ขาดระยะ
ลือกันตั้งแต่เหมาถูกฆ่าบนขบวนรถไฟในเป่ยจิง
การบุกเข้าไปลอบสังหารถึงที่พัก โดยคนใกล้ชิดของหลินเปียว
ผู้ใกล้ชิดของหลินเปียวที่หนีไปทางฮ่องกงถูกจับกุมทั้งหมด วันที่ 13
หลินเปียวขึ้นเครื่องบินเตรียมหนีไปโซเวียต
แต่เครื่องบินไปตกในมองโกลไม่มีผู้ใดรอดชีวิต
หลังการเสียชีวิตของหลินเปียว เหมายังมองไม่เห็นผู้สืบทอดอำนาจ
จึงได้ย้าย หวางหงเหวิน 王洪文 จากซ่างไห่มาเป่ยจิงในเดือนกันยายน 1972
และได้เป็นคณะกรรมการกลางของพรรคในอันดับสองรองจากโจวเอินไหล
เหมือนหมายมั่นจะให้เป็นผู้สืบทอด ในขณะเดียวกันเติ้งเสี่ยวผิง
ก็ได้กลับคืนสู่อำนาจอีกครั้งภายในความช่วยเหลือของโจวเอินไหลจากผลกระทบในการแย่งชิงอำนาจของหลิวเปียว ทำให้เหมาไม่อาจที่จะไม่พึ่งพาโจวเอินไหลกับเติ้งเสี่ยวผิง แต่เหมาก็ไม่คิดจะถ่ายโอนอำนาจให้เติ้ง แต่ถ้าเทียบกำลังอำนาจ “ฝ่ายซ้ายจัด”ของฝ่ายตนแล้ว เหมาก็ยังไม่ค่อยชอบ“ฝ่ายขวา”ของเติ้งนัก
กรกฏาคม 1973 เหมาวิพากษ์ว่าทั้งกั๊วหมิงต่างกับหลินเปียวล้วนแต่เป็นพวกฝักใฝ่ลัทธิข่งจื่อ มกราคม 1974 เจียงชิงพร้อมพวกซึ่งเป็นพวกฝักใฝ่เหมาเจ๋อตงที่แท้จริง ก็เริ่มเคลื่อนไหว “วิพากษ์หลินวิจารณ์ข่งจื้อ” 批林批孔运动 โดยมีเป้าหมายอยู่ที่โจวเอินไหล
ตุลาคม 1974 โจวเอินไหลป่วยหนักเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ภาระกิจ
ทั้งหมดจึงมอบหมายให้เติ้ง
กันยายน 1975 เหมาล้มป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลอีกคน ปี 1976 เป็นปีที่สำคัญสำหรับการปฏิวัติวัฒนะธรรม วันที่ 8 มกราคา โจวเอินไหลเสียชีวิตด้วยโรงมะเร็ง ในวันต่อมาประชาชนต่างหลั่งไหลในที่อนุสาวรรีย์วีรชนเพื่อไว้อาลัยแก่โจวเอินไหล วันที่ 15 เป็นวันจัดงานศพของโจวเอินไหล เติ้งเสี่ยวผิงเป็นผู้กล่าวไว้อาลัยอย่างเป็นทางการ
โจวเอินไหล นายกฯ ที่เป็นที่รักของชาวจีน
กุมภาพันธ์ กลุ่มแก๊งสี่คนออกมาโจมตีเติ้งเสี่ยวผิง ซึ่งเป็นคู่แข่งที่เหลือ
อยู่เพียงคนเดียวอีกครั้ง โดยได้รับไฟเขียวจากเหมา เติ้งถูกลดอำนาจ
อีกครั้ง แต่เหมาก็ไม่ได้แต่งตั้งใครจากกลุ่มสี่คนเข้ารับตำแหน่งแทน แต่
หันไปแต่งตั้งหัวกั๊วเฟิง 华国锋 แทน
หัวกั๊วเฟิง
วันที่ 4 เมษายน วันชิงเม้ง 清明 ตามประเพณีจีน ประชาชนประมาณสองล้านคนรวมตัวกันที่จัตุรัสเทียนอันเหมินเพื่อรำลึักโจวเอินไหล ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มสนับสนุนเติ้งเสี่ยวผิง และโจมตีแก๊งสี่คนปรากฏภายในจตุรัส เอกสารต่อต้านกลุ่มสี่กลุ่มเผยแพร่ออกมาจำนวนมาก กลุ่มแก๊งสี่คนจึงสั่งให้ตำรวจเข้าไปสลายการชุมนุม แก๊งสี่คนโจมตีเติ้งเสี่ยวผิงเป็นผู้วางแผนอยู่เบื้องหลังสำหรับการชุมนุมครั้งนี้ เติ้งถูกปลดออกจากทุกตำแหน่งทางการเมือง และแต่งตั้งหัวกั๊วเฟิงเป็นรองนายกฯอันดับหนึ่งแทน
กันยายน 1976 เหมาถึงแก่อสัญกรรม แก๊งสี่คนเห็นหัวกั๊วเฟิงไม่ยอมเชื่อฟังพวกเขาจึังเตรียมที่จะล้มหัวกั๊วเฟิง
การกระทำอย่างเหิมเกริมของแก๊งสี่คนอยู่ในสายตาของขุนศึกกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนซึ่งแอบไม่พอใจมานานแล้ว บิ๊กๆ ในกองทัพจึง มีการเคลื่อนไหวอย่างเงียบเชียบ
วันพุธที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1976 หวางหงหวึน จางชุนเฉียว หยาวหวึนหยวน ต่างได้รับเทียบเชิญจากจอมพลเย่อเจี้ยนยิงให้ไปพบที่ตำหนักหวาย หยึนถาง ในทำเนียบจงหนานไห่อันเป็นศูนย์บัญชาการปกครองประเทศ
เวลา 20.00 น.คืนนั้น ในเทียบเชิญมีข้อความแย้มเป็นนัยว่ามีข่าวดีสำหรับ ผู้ที่ถูกเชิญ สมุนเอกทั้งสามคนของนางเจียงชิงต่างมาตามนัด ผลปรากฏทั้งสามคนหมดอิสรภาพตั้งแต่บัดนั้น รวมทั้ง นางเจียงชิงก็มีทหารหน่วยหนึ่งไปเชิญนางถึงบ้านพักเพื่อให้ย้ายไปอยู่ใน เรือนจำแทน
การปฏิวัติวัฒนธรรม และ แก๊งค์ 4 คน จึงปิดฉากลงอย่างสมบูรณ์
ในเดือนกรกฎาคม 1977 ในที่ประชุมเต็มคณะพรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่ 10 วาระที่ 3 ก็ได้มีมติยกเลิกสถานภาพภายในพรรคของเจียงชิง และพรรคพวกไปตลอดกาล รวมถึงเพิกถอนตำแหน่งหน้าที่ทั้งหมด ถัดมาในวันที่ 25 มกราคม 1981 ศาลสูงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนได้พิพากษาให้ประหารนางเจียงชิงในฐานะหัวหน้าการกบฏ รอลงอาญาไว้ 2 ปี ซึ่งต่อมาในเดือนมกราคมปี 1983 ศาลก็ได้ลดหย่อนโทษให้เหลือเพียงจำคุกตลอดชีวิต และไม่มีสิทธิทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้นตลอดชีวิต
อย่างไรก็ตาม เจียงชิงก็ได้จบชีวิตตัวเองด้วยน้ำมือตัวเองเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 1991
ส่วนเหยาเหวินหยวน ก็ได้พิจารณาโทษให้จำคุกเป็นเวลา 20 ปี และไม่มีสิทธิใดๆ ด้านการเมืองเป็นเวลา 5 ปี
ในเดือนมกราคมปี 1996 เหยาเหวินหยวนก็พ้นโทษ และอาศัยอยู่ในเซี่ยงไฮ้อย่างเงียบๆ เดิมทีนั้นเขามีโครงการจะเขียนหนังสือที่รำลึกถึงเหตุการณ์ในอดีต แต่ทว่าต้นฉบับไม่ผ่านการตรวจแก้จากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง จึงไม่มีการเผยแพร่ผลงานออกมา อย่างไรก็ตาม เขายังได้รับการช่วยเหลือจากเจียงเจ๋อหมิน อดีตประธานาธิบดี โดยเจียงเห็นใจว่าเหยาไม่มีทรัพย์สินใดๆ จึงมีคำสั่งให้เงินสนับสนุนเดือนละ 4,000 หยวนในบั้นปลายชีวิต
จางชุนเฉียว ได้ตัดสินให้รับโทษประหารชีวิต และกลายเป็นผู้ไม่มีสิทธิทางการเมืองทุกประเภทตลอดชีวิต โดยรอลงอาญาไว้ 2 ปี และเมื่อถึงเวลานั้น คือในปี 1983 ศาลก็พิพากษาให้เหลือเพียงการจำคุกตลอดชีวิต ซึ่งต่อมา เขาก็ได้รับการลดหย่อนโทษให้จำคุก 18 ปี จนกระทั่งปี 1998 ได้ออกมาเพื่อรักษาตัว และเสียชีวิตไปด้วยโรคมะเร็งเมื่อ 21 เมษายน 2006 นี้เอง
หวังหงเหวิน ศาลสูงสุดจีนพิพากษาจำคุกหวังตลอดชีวิต พร้อมถอดถอนสิทธิทางการเมืองไปตลอดชีวิต
3 มีนาคม 1992 หวังจบชีวิตวัย 60 ปีลงที่ปักกิ่ง หลังจากต้องต่อสู้กับโรคมะเร็งร้ายมาหลายปี .
นักการเมืองไทยที่รักทุกท่าน ควรจะศึกษาเรื่องราวของแก๊งค์สี่คน และจุดจบของพวกเขาไว้เป็นอุทธาหรณ์ และ หวังว่าท่านจะสำนึก พยายามลงจากหลังเสือให้สง่างาม น่ะท่านครับ
เรียบเรียง : พีเพิลเดลี่ http://zh.wikipedia.org ไชน่าเดลี่,
TOM.COM,www.china.org.com , www. manager.co.th
ขอได้รับความขอบคุณจาก Moviehall ครับผม