| |
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อคืนวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 1959 ในช่องเขาดยัตลอฟ (Dyatlov Pass) ที่ตั้งอยู่ในเขายูราล (Ural Mountain) เทือกเขาโคแลต สแยกหล์ (Kholat Syakhl) ทางตะวันตกของประเทศรัสเซีย จุดหมายปลายทางของการปีนเขาครั้งนี้อยู่ที่เขาโอทอร์เทน (Otorten) แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายที่พวกเขาไปไม่ถึงจุดหมายที่ตั้งไว้ ภาษาพื้นเมืองของชนเผ่า Mansi เขาโอทอร์เทน มีความหมายว่า "ภูเขาของคนตาย" (บ้างก็เรียกว่า "ภูเขามรณะ")
จุดเริ่มต้นของเรื่องราวครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อปลายเดือนมกราคม 1959 อิกอร์ ดยัตลอฟ (Igor Dyatlov) วัย 23 ปี ผู้หลงใหลการเล่นสกีหิมะได้ชักชวนเพื่อนผู้ที่มีความสนใจเรื่องเดียวกันนั้นให้ร่วมเดินทางไปกับเขาด้วยอีก 9 คน หญิง 2 คนของการสำรวจนี้คือ ซิไนด้า กอลโมโกโรวา (Zinaida Kolmogorova) และ ลยุดมิลา ดูบินิน่า (Lyudmila Dubinina) ที่เหลือเป็นชาย 7 คนคือ อเล็กแซนเดอร์ โคลีวาตอฟ (Alexander Kolevatov) รัสเตม สโลโบดิน (Rustem Slobodin) ยูริ คริโวนิเชนโก้ (Yuri Krivonischenko) ยูริ โดโรเชนโก้ (Yuri Doroshenko) นิโคไล ทิบอกซ์บริจนอลลี (Nicolai Thibeaux-Brignolle) อเล็กแซนเดอร์ โซโลทาเรฟ (Alexander Zolotarev) และ ยูริ ยูดิน (Yuri Yudin)
บุคคลทั้งหมดเป็นนักศึกษาสถาบันยูรัลโพลีเทคนิคอล พวกเขาออกเดินทางเพื่อไต่ขึ้นบนยอดเขาโอตอร์เทน (Otorten) แม้ว่าการเดินทางขึ้นสู่เทือกเขาโอตอร์เทนในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์จะถูกจัดอันดับให้เป็นช่วงที่ยากลำบากที่สุด แต่ทีมนักเล่นสกีชุดนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญ ผ่านประสบการณ์การไต่เทือก เขาที่ถูกปกคลุมด้วยหิมะมาแล้วหลายครั้ง และแล้วก็ถึงวันออกเดินทาง เช้าวันที่ 27 มกราคม 1959 ทีมนักสำรวจทั้ง 10 ก็ออกเดินทางจากวิซไฮ (Vizhai) เป็นที่อยู่อาศัยของผู้คนตั้งอยู่เหนือสุดในภูมิภาค โดยมี อิกอร์ ดยัตลอฟ (Igor Dyatlov) เป็นหัวหน้าขณะเดินทางในครั้งนี้ (ภายหลังชื่อของของเขานั้นได้ถูกตั้งตามนามสกุลของเขานั่นเอง)
แต่แล้ววันที่ 28 มกราคม ยูริ ยูดิน หนี่งในนักปีเขานั้นเกิดป่วยกะทันหัน เขาจึงถูกบังคับให้เดินทางกลับก่อน เขาจึงเป็นผู้เดียวที่รอดมาจากเหตุการเลวร้ายในครั้งนั้น ทีมนักเดินทางจึงเหลือเพียงแค่ 9 คน ผ่านไปหนึ่งวัน พวกนักเดินทางที่เหลือจึงเริ่มการเก็บบันทึกทั้งการเขียนลงไดอารี่และถ่าย รูป และวันที่ 31 มกราคม พวกเขาจึงเริ่มต้นในการไต่เขาขึ้นไป เป็นระเบียบปฏิบัติสำหรับนักไต่เขาที่ จะต้องระบุวันเดินทางกลับเอาไว้ เพื่อผู้คนรู้ถึงกำหนดการหากว่าพวกเขายังไม่กลับมาตามวันที่กำหนดจะได้ส่ง ทีมกู้ภัยไปช่วยเหลือขึ้นไปค้นหาได้ทัน ซึ่งการเดินทางครั้งนี้ อิกอร์กำหนดว่าจะทำการติดต่อเพื่อนในคลับเมื่อกลับลงมาจากเขาภายในวันที่ 12 กุมภาพันธ์
และแล้ววันที่ 12 กุมภาพันธ์ ก็มาถึง แล้วก็ผ่านไป คนส่วนใหญ่ไม่ได้ตื่นตระหนกเลยถึงเรื่องแบบนี้ เพราะความล่าช้าไม่ได้เป็นเรื่องแปลกสำหรับการเดินทาง อีกอย่างพวกเขาเป็นถึง 9 นักไต่เขาผู้ที่มากไปด้วยประสพการณ์
หลังจากที่ทนรอจนถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ เพื่อนๆ และครอบครัวก็มั่นใจว่ามีสิ่งปรกติเกิดขึ้นอย่างแน่นอน จึงแจ้งเรื่องไปยังหน่วยกู้ภัยให้ออกค้นหา โดยประกอบไปด้วยคณะอาจารย์และนักศึกษา พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารได้ ส่งเครื่องบินเล็กและเฮลิคอปเตอร์ ออกสำรวจ
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ทีมกู้ภัยก็ได้พบเต็นท์ร้างของทีมนักเล่นสกีบนเชิงเขาโคแลต สแยกหล์ สภาพเต็นท์ทุกหลังจมใต้กองหิมะ มีรอยถูกฉีกขาดจากด้านในจนยับเยิน ข้าวของเครื่องใช้ยังอยู่ในเต็นท์ครบถ้วน แต่ไม่พบนักเล่นสกีแม้แต่คนเดียวในบริเวณนั้น มีเพียงรอยเท้ามุ่ง ตรงไปยังเขตป่าไม้ ทีมกู้ภัยจึงแกะตามรอยเท้าไปเป็นระยะทางเกือบกิโลเมตร พวกเขาก็พบเข้าก็ร่างที่ไร้วิญาณของนักไต่เขา ของ ยูริ คริโวนิเชนโก้ กับยูริ โดโรเชนโก้ จมอยู่ใต้หิมะ การหนีออกมานอนหนาวตายในสภาพที่นุ่งเพียงชุดชั้นในไม่สวมรองเท้า บริเวนใกล้ เคียงยังพบรอยหักของกิ่งสนสูง 5 เมตร ที่อยู่ใกล้ๆ กองไฟทำให้เชื่อว่าใครคนใดคนหนึ่งปีนขึ้นไปบนต้นไม้เพื่อมองหาอะไรสักอย่าง
และเมื่อสำรวจบริเวณโดยรอบ ก็พบร่างของ อิกอร์ ดยัตลอฟ ซิไนด้า กอลโมโกโรวา และรัสเตม สโลโบดิน ดูเหมือนว่าทั้งสามคนกำลังเดินทางกลับเต็นท์เพราะทนความหนาวเย็นไม่ไหว แต่ไม่มีร่องรอยของคนที่เหลืออยู่ในบริเวณนั้น การชันสูตรพลิกศพของผู้เสียชีวิตทั้ง 5 คนไม่พบร่องรอยบาดแผล หรือการทำร้ายแต่อย่างใดบนร่างกาย และได้สรุปออกมาว่าพวกเขาเสียชีวิตเนื่องจากสภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า ปกติ (hypothermia)
หลังจากนั้นอีก 2 เดือน วันที่ 4 พฤษภาคม ทีมกู้ภัยก็พบร่างที่เหลือของทีมนักไค่เขาที่เหลือจมอยู่ใต้กองหิมะลึงลงไป ถึง 4 เมตร ลึงเข้าไปอีกในป่าเดียวกัน สภาพภายนอกของทุกศพไม่มีร่องรอยบาดแผลใดๆ บนร่างกายเหมือน 5 ศพแรกที่พบแต่แล้วเมื่อทำการชันสูตรถึงกับต้องช็อค อเล็กแซนเดอร์ โคลีวาตอฟ เสียชีวิตจากร่างกายบอบช้ำภายในอย่างรุนแรง นิโคไล ทิบอกซ์บริจนอลลี กะโหลกศีรษะร้าว อเล็กแซนเดอร์ โซโลทาเรฟ และลยุดมิลา ดูบินิน่า ซี่โครงหักหลายแห่ง ซึ่งแพทย์ให้ความเห็นว่าบาดแผลดังกล่าวเกิดจากการถูกกระแทกอย่างรุนแรงโดย เฉียบพลัน ราวกับการถูกรถยนต์ที่แร่นด้วยความเร็วสูงพุ่งเข้าชน และบนเสื้อผ้าของพวกเขายังตรงเจอกการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีอีกด้วย กล้องที่ห้องอยู่ที่คนนั้นถูกน้ำจากหิมะกัดจนไม่สามารถระบุได้ว่าพวกเขาถ่าย ภาพอะไรกันไว้
ถึงจะผ่านมาแล้วนับสิบปี ก็ยังคงเป็น ปริศนามาจนทุกวันนี้ คำถามมากมายยังเป็นที่สงสัย ทำไมพวกเขาไม่ตั้งเต็นท์ในป่าที่มีอุนห์ภูมิที่อุ่นกว่า ทำไมพวกเขาต้องหนีออกจาเต็นท์ รังสีที่ว่านั้นคืออะไรมากจากไหน ทำไมศำของหนึ่งในผู้เสียชีวิตถึงไม่มีลิ้น รอยเท้ามีแต่ของพวกเขาเองแล้วของผู้กระทำไปไหน เยอะแยะมากมายที่ยังหาคำตอบไม่ได้และคงไม่มีทางที่จะได้คำตอบด้วย
และนี่คือภาพถ่ายภาพสุดท้ายจากกล้องของพวกเขา ไม่มีใครบอกได้ว่ามันคือภาพอะไรกันแน่
suriya mardeegun
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น