วันเสาร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2560

ชายหนุ่มถูกจับในข้อหา แอบอาศัยอยู่ในห้องน้ำสาธารณะนานถึง 3 ปี… พี่ทำได้ยังไง!?

ชายหนุ่มถูกจับในข้อหา แอบอาศัยอยู่ในห้องน้ำสาธารณะนานถึง 3 ปี… พี่ทำได้ยังไง!?


เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2017 ที่ผ่านมา ณ เมืองอุซุกิ จังหวัดโออิตะ ประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการจ้างผู้รับเหมาเพื่อเริ่มบูรณะและซ่อมแซมสถานที่สาธารณะต่างๆ ภายในตัวเมือง นั่นรวมถึงห้องน้ำสาธารณะด้วย
แต่ทว่าเมื่อตอนที่ผู้รับเหมาได้เข้าไปดูตรวจเช็คห้องน้ำในสวนสาธารณะอุซุกิ ก็ได้พบเข้ากับเงาของคนผ่านกระจก ซึ่งดูเหมือนว่าเขากำลังติดตั้งหลอดไฟหรืออะไรบางอย่าง ทางผู้รับเหมาก็เลยแจ้งให้ทางการส่งคนเข้ามาตรวจสอบ



ปกติแล้วภายในเพดานของห้องน้ำสาธารณะจะอนุญาตให้ใช้พื้นที่ราวๆ 50 ตารางเมตรเพื่อคนทั่วไปสามารถเข้ามาใช้ส่วนนี้ได้อิสระ แต่เมื่อเจ้าหน้าที่ได้ไปถึงและทำการตรวจสอบห้องน้ำดังกล่าว ทำให้ตำตรวจถึงกับผงะ…
เมื่อพบว่าภายในเพดานห้องน้ำขนาด 92 ตารางเมตร กลับถูกตกแต่งอย่างดี แถมยังมีเฟอร์นิเจอร์ยังชีพ อย่างฮีทเตอร์ เตาแก๊ส รวมถึงหนังสือแม็กกาซีนและเสื้อผ้าจัดวางอยู่ภายในห้องน้ำเต็มไปหมด
แถมภายในก็ไม่ได้รกเรี่ยราด ของทุกชิ้นถูกจัดเรียงอย่างมีระเบียบและสะอาดสุดๆ พร้อมกับชายวัยกลางคนที่ทำท่ายืนงงอยู่กลางห้อง

ภาพประกอบบทความ ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา

ด้วยเหตุนี้ทางเจ้าหน้าที่จึงรวบตัวเขาไปเพื่อสอบสวน พบว่าชายคนดังกล่าวชื่อว่า Takashi Yamanouchi วัย 54 ปีและเป็นคนจากจังหวัดกิฟุ
เขาเล่าว่าหนีออกจากบ้านมาตั้งแต่เมื่อ 10 ปีก่อนและเร่ร่อนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งมาตลอด จนมาหยุดที่เมืองอุซุกิ จังหวัดโออิตะ
ในตอนแรกมีคนอาศัยห้องน้ำอยู่ก่อนแล้ว เขาจึงขออาศัยอยู่กับชายคนนั้นจนในที่สุดเขาก็ได้ย้ายออกไป แต่ Takashi ยังเลือกที่จะอยู่ต่อ
พร้อมกับเพิ่มเฟอร์นิเจอร์เข้าไปมากมายเป็นเวลาถึง 3 ปี ทว่ามีเรื่องที่แปลกอยู่อย่างหนึ่งคือ เขาเก็บปัสสาวะของตัวเองไว้ในขวด 2 ลิตรกับ 0.5 ลิตร เป็นจำนวนมากกว่า 300 ขวด



อย่างไรก็ตาม ยังคงมีข้อสงสัยตามมามากมายว่า ทำไมเขาถึงเลือกอาศัยอยู่ในห้องน้ำสาธารณะได้นานขนาดนั้น และทำไมถึงอยู่ในนั้นได้เป็นเวลานานโดยที่ไม่มีคนจับได้เลย?

แต่สุดท้ายแล้วเขาก็ถูกเจ้าหน้าที่ตั้งข้อหาและจับกุมตามความผิดที่เขาก่อนั่นเอง…


ที่มา yahoo, mainichi, rocketnews24

suriya: คิ้วชินจังขอแตะมือ! สาวๆ แห่ตามเทรนด์เขียนคิ้วสุดแ...

suriya: คิ้วชินจังขอแตะมือ! สาวๆ แห่ตามเทรนด์เขียนคิ้วสุดแ...: คิ้วชินจังขอแตะมือ! สาวๆ แห่ตามเทรนด์เขียนคิ้วสุดแหวกแนวจากฟินแลนด์ Prev 1  of  8 Next คลิกภาพเพื่อขยาย โลก...

เมื่อให้วัยรุ่นยุคใหม่ ได้มาสัมผัสพลังดนตรีของ ‘Linkin Park’ ยุคเก่าเป็นครั้งแรก!?


เมื่อให้วัยรุ่นยุคใหม่ ได้มาสัมผัสพลังดนตรีของ ‘Linkin Park’ ยุคเก่าเป็นครั้งแรก!?


สำหรับเหล่าวัยรุ่นที่ได้เติบโตมาในช่วงยุค 2000s คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักกับวงดนตรีนูเมทัล ‘Linkinpark’ ที่มาแรงที่สุดในช่วงเวลานั้น เรียกได้ว่าหลังจากปล่อยอัลบั้มแรกออกมา เพลงของพวกเขาก็ได้เปลี่ยนกระแสดนตรีโลกไปอย่างปริยาย
จะว่าไปเวลาก็ผ่านล่วงเลยไปได้เกือบจะ 20 ปี ได้แล้วนะ ทางแชนแนลรายการ FBE จากยูทูป จึงได้ทดลองนำวัยรุ่นยุคใหม่อายุระหว่าง 15 – 19 ปี มาลองฟังผลงานชุดแรกๆ ของวงนี้ เราตามไปดูกันเลยว่าจะเป็นยังไงกันบ้าง

โดยตอนแรกทางรายการได้เปิดเพลง ‘Heavy’ ซิงเกิ้ลใหม่ล่าสุดจากทางวงให้วัยรุ่นฟัง พวกเขาต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ‘นี่มันวงอะไรกันเนี่ย!?’



จากนั้นจึงตามด้วยซิงเกิ้ลเพลงฮิตในอดีต ‘One Step Closer’ ผลงานจากอัลบั้ม Hybrid Theory ที่ทำให้วงโด่งดังเป็นพลุแตกมาแล้ว
ซึ่งอาสาสมัครหลายคนก็คาดไม่ถึงว่านี่จะเป็นผลงานที่มาจากวงเดียวกัน ความหนักแน่นทางด้านดนตรี รวมถึงภาพลักษณ์การแต่งตัวมันช่างดูขัดแย้งกับปัจจุบันเหลือเกิน

บางคนถึงกับโยกหัวอย่างเมามันส์



ต่อไปก็เป็นคิวของเพลง ‘In The End’ วัยรุ่นหลายคนรู้จักดี และรู้สึกว่ามันช่างทำให้พวกเขาย้อนกลับไปในช่วงปี 2000s ได้ดีเหลือเกิน



ต่อมาเป็นเพลง ‘Breaking The Habit’ ที่มาพร้อมเอมวีแบบการ์ตูน บางคนก็ร้องตามได้ บางคนก็สามารถบ่งบอกได้ถึงสไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปของวง



จะว่าไปแล้ววัยรุ่นที่มาเป็นอาสาสมัครในครั้งนี้ ทุกคนล้วนเกิดทันเพลงจากวงดังกล่าว พวกเขาต่างรู้สึกว่าทั้งหมดนี้เป็นเพลงที่มักจะได้ยินบ่อยๆ ในช่วงที่เป็นเด็ก เหมือนว่าจะไปไหนมาไหนก็มักจะได้ยินเพลงนี้เปิดอยู่เสมอ…
และถึงแม้ว่าปัจจุบันซิงเกิ้ลล่าสุดที่วงปล่อยออกมาจะดูไม่มันส์สะใจเท่ากับอัลบัั้มแรกๆ แต่วัยรุ่นจากรายการก็ได้ให้เหตุผลว่า มันเป็นเรื่องธรรมดาที่วงดนตรีจะต้องทดลองอะไรใหม่ๆ และเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย



ปฏิกริยาของพวกเขาที่มีต่อเพลงของวงลิงกินผัก แบบเต็มๆ



ถึงเพลงใหม่ของวงจะดูเปลี่ยนไปมาก แต่เชื่อเถอะว่าเพลงที่ดี ยังไงก็คือเพลงที่ดีอยู่วันยันค่ำนัั่นแหละ….


ที่มา: FBE

พ่อพระแมวแห่งอเลปโป กลับมาฟื้นชีพ “สถานสงเคราะห์แมว” ที่ถูกทำลายจากสงครามซีเรีย


พ่อพระแมวแห่งอเลปโป กลับมาฟื้นชีพ “สถานสงเคราะห์แมว” ที่ถูกทำลายจากสงครามซีเรีย

เป็นเวลาหลายปีที่สถานสงเคราะห์แมวจรจัดแห่งนี้ ให้ความหวังและความสุขแก่ชาวแมวเหมียวแห่งเมืองอเล็ปโป ประเทศซีเรีย
แต่อยู่ดีๆ วันหนึ่งผลพวงของสงครามก็เกิดขึ้น และสถานที่แห่งนี้ก็ถูกลูกหลงของระเบิด ทำให้ทุกคนต่างสิ้นหวังและคิดว่ามันเป็นไปได้ยากที่จะฟื้นฟูที่แห่งนี้กลับมา


.


ที่ลี้ภัยแมวแห่งนี้เริ่มต้นโดยชายคนหนึ่งที่ชื่อว่า Mohammad Alaa Jaleel เขาก่อตั้งมันขึ้นในปี 2012 โดยในตอนแรกก่อนที่มันจะเป็นที่ลี้ภัย เขาช่วยเหลือและเลี้ยงแมวจรจัดไว้เพียง 20 ตัวเท่านั้น
เวลาผ่านไปไม่กี่ปีจำนวนแมวก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่า 100 ตัว ทำให้เขาเริ่มสร้างลี้ภัยนี้ขึ้นนั่นเอง



ที่ลี้ภัยแห่งนี้รู้จักกันในชื่อว่า House of Cats Ernesto ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับแมวของเขา เขาพยามปกป้องและดูแลที่แห่งนี้เป็นอย่างดีพร้อมกับบอกว่า
“ผมจะปกป้องที่แห่งนี้ ทุกคนออกจากประเทศไป รวมถึงเพื่อนของผมด้วย แมวพวกนี้ก็เลยกลายเป็นเพื่อนรักของผม”



แต่ทว่าเมื่อสงครามเกิดขึ้นและขยายวงกว้างมาจนถึงเมืองนี้ ที่ลี้ภัยแห่งนี้ก็โดนลูกหลงไปด้วย แน่นอนว่าเขาคนนี้ก็อยู่เพื่อช่วยเหลือเจ้าเหมียวในที่ลี้ภัยจนวินาทีสุดท้าย
แต่สุดท้ายเขาก็จำเป็นจะต้องไปอยู่กับครอบครัวของเขาที่ประเทศตุรกีเพื่อหนีภัยสงครามที่เกิดขึ้น พร้อมกับแมวของเขา Ernesto



แต่เขาไม่ได้จะกลับมาอยู่กับครอบครัวถาวรหรอกนะ เขาแค่ลี้ภัยเพื่อเอาชีวิตรอดเท่านั้น ซึ่งเขาได้วางแผนที่จะฟื้นฟูสถานลี้ภัยแห่งนั้นกลับมาอีกครั้ง ด้วยการช่วยเหลือจากคนทั่วโลกที่ติดตามเขา
ยังจำได้ไหมว่าเราเคยนำเสนอเรื่องของเขาไปในบทความ Aljaleel ผู้คอยช่วยเหลือแมวนับร้อย ที่ถูกทิ้งในเมือง Aleppo ของซีเรีย หลังเกิดสงคราม..!!  เขาก็คือคนเดียวกันนี่แหละ…



หลังสงครามในอเลปโปสิ้นสุด พ่อพระแห่งแมวได้กลับมาเมืองนี้อีกครั้ง…

กองกำลังทหารของรัฐบาลลงมือขั้นเด็ดขาดเพื่อยึดคืนเมืองอะเลปโปกลับมาในเดือน ธันวาคม ค.ศ. 2016  ทำให้ชัยชนะในครั้งนี้ของรัฐบาลซีเรีย ถูกจับตามองเป็นอย่างมากแถมยังแสดงให้เห็นถึงศักยภาพที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนของสงครามครั้งนี้ จนบ้านเมืองกลับมาสงบสุขอีกครั้ง
ซึ่งช่วงต้นปีที่ผ่านมา เขาได้เดินทางกลับไปที่ประเทศซีเรียอีกครั้ง เพื่อที่จะทำเดินการฟื้นฟูตามแผนที่เขาวางไว้  โดยเขาได้พาเจ้าเหมียวตัวใหม่มาด้วย มันมีชื่อว่า Feras และเจ้าหมาที่เคยได้รับผลจากเหตุการณ์สงครามชื่อว่า Hope



แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าเศร้า เพราะที่ตั้งเก่ามันไม่สามารถจะฟื้นฟูได้อีกแล้ว เขาจึงมองหาสถานที่ใหม่แทน และที่แห่งใหม่นี้ก็ได้ชื่อว่า Ernesto Paradise 
สถานที่แห่งใหม่นี้ จะช่วยให้เหล่าแมวเหมียวไม่ต้องอยู่อย่างกระจัดกระจาย เผชิญกับความหนาวและเปียกฝน ได้มีอาหารกินอิ่มทุกมื้อ และการันตีว่าจะไม่มีใครมาทำร้ายมัน….



สุดท้ายเขาก็ได้เริ่มฟื้นฟูที่ลี้ภัยแมวแห่งนี้ พร้อมกับออกตามหาเหล่าแมวที่รอดและกระจัดจายจากที่พักพิงเก่า ซึ่งมีหลายตัวเลยล่ะที่มันกลับมาหาเขา หรือบางตัวที่เขาไปเจอมันเข้า
หลังจากที่สถานลี้ภัยแห่งใหม่สร้างตัวได้เพียงสัปดาห์เดียว เขายังไปจัดงานวันเกิดให้กับเหล่าเด็กสาวยากไร้ในท้องถื่น  นอกจากพวกเธอยังได้เล่นกับหมาและแมวในสถานลี้ภัยแห่งใหม่อีกด้วย ซึ่งมันช่วยเรียกร้อยและเสียงหัวเราะกลับมาได้ดีเลยล่ะ

ที่มา thedodo

‘Suhyup’ เจ้าเหมียวเฝ้าแผงปลาจากเกาหลี ประจำที่ตัวเองตลอด ไม่มีบกพร่อง!!

พบกับ ‘Suhyup’ เจ้าเหมียวเฝ้าแผงปลาจากเกาหลี ประจำที่ตัวเองตลอด ไม่มีบกพร่อง!!

แมวเนี่ยอย่าให้มันไปอยู่ใกล้ปลาเชียวนะ ไม่งั้นคุณอาจจะไม่เหลือปลาเลยสักตัว เพราะเสร็จเจ้าแมวขี้ขโมยเหล่านี้แน่นอน แต่ดูเหมือนทฤษฎีนี้จะใช้ไม่ได้กับแมวตัวนี้ซะแล้วล่ะ…
เพราะเจ้าเหมียว Suhyup จากเกาหลีใต้ตัวนี้ ที่นอกจากจะไม่กินปลาแล้ว มันยังทำหน้าที่เฝ้าแผงขายปลาในตลาดสดให้เจ้าของอีกด้วย!!



เจ้าของเล่าให้ฟังว่า “มันไม่เคยแตะต้องปลาของฉันเลยค่ะ ต่อให้มีคนยื่นปลาให้ มันก็ไม่ยอมกิน มันเป็นแมวที่มีความอดทนสูงมากเลยค่ะ”
นอกจากนี้มันจะไม่ยอมกินอาหารจากคนแปลกหน้าเลย มันจะยอมกินจากมือเจ้าของเท่านั้น และในทุกๆ ครั้งมันก็จะนั่งอยู่ที่เก้าอี้พลาสติกประจำตำแหน่ง เพื่อคอยปกป้องแผงปลาสดให้กับเจ้าของ



และถ้าเมื่อไหร่ที่มีใครเอาตัวมันออกไปจากร้านขายปลา มันจะรีบวิ่งกลับไปทันทีที่มีโอากาส เพราะอยากจะทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุด
ที่เจ๋งกว่านั้นคือมันไม่ใช่แมวขี้เซาเหมือนแมวทั่วไปด้วย มันจะตื่นตัวอยู่เสมอ หากใครที่คิดจะขโมยปลา อย่าหวังเลยว่าจะพ้นสายตาของ Suhyup ไปได้!!
ณ จุดๆ นี้คงไม่มีใครทำงานหนักและดีกว่าเจ้าเหมียวตัวนี้อีกแล้ว และถ้าคุณเห็นมันวิ่งไปยังที่แคบๆ ก็อย่าแปลกใจล่ะ เพราะโจรผู้ร้ายที่น่ากลัวของแม่ค้าในตลาดสดก็คือ ‘หนู’ นั่นเอง



ซึ่งสำหรับเจ้าเหมียว Suhyup ก็ไม่พลาดที่จะจับจอมโจรหนู หากจับไม่ได้มันจะไม่ยอมกลับไปเด็ดขาด ดังนั้นตั้งแต่ Suhyup มาเฝ้าร้าน ก็แทบจะไม่เห็นหนูมาวิ่งเพ่นพ่านผ่านแผงปลาอีกเลย
แต่ในบางครั้งก็แมวตัวอื่นที่หวังจะมาขโมยปลาเช่นกัน มันก็จะวิ่งไล่จนแมวตัวนั้นไม่กล้ามาแหยมกับแผงปลาอีกเลย ให้มันรู้ซะบ้างว่าที่นี่ใครคือขาใหญ่ตัวจริง!!



เลี้ยงแมวทั้งทีมันต้องสอนให้ได้แบบนี้ ทำงานดียิ่งกว่าหมาซะอีก ฮร่าาาา



คุณสมบัติดีเยี่ยม พร้อมปกป้องแผงปลาตลอด 24 ชั่วโมงครับผม!!





ที่มา SBS TV동물농장x애니멀봐

วันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560

กรมทางหลวง แจง หลังโซเชียลแชร์ภาพถนนมรณะเกาะกลางขวางเลนว่อน

กรมทางหลวง แจง หลังโซเชียลแชร์ภาพถนนมรณะเกาะกลางขวางเลนว่อน

Prev
1 of 1
Next
คลิกภาพเพื่อขยาย
จากกรณีที่โลกโซเชียลมีการแชร์ภาพถนนสาย ปากดง – หนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งพบว่าเกาะกลางถนนอาจจะมีการสร้างผิดแบบ ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายได้นั้น

กรมทางหลวง ได้ชี้แจง ว่า ภาพดังกล่าวเป็นภาพเก่าของถนนขณะทำงานก่อสร้าง แต่ปัจจุบันได้รับการแก้ไขเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยมีการตีเส้นถนนให้มีการเบี่ยงเลน
เครดิต : กรมทางหลวง 
จัดทำ : สุริยา มาดีกุล

คิ้วชินจังขอแตะมือ! สาวๆ แห่ตามเทรนด์เขียนคิ้วสุดแหวกแนวจากฟินแลนด์

คิ้วชินจังขอแตะมือ! สาวๆ แห่ตามเทรนด์เขียนคิ้วสุดแหวกแนวจากฟินแลนด์



Prev
1 of 8
Next
คลิกภาพเพื่อขยาย
โลกแฟชั่นมันไปไกลถึงขนาดนี้แล้วหรือ! ล่าสุดกับเทรนด์การเขียนคิ้วสุดแหวกแนว โดยผู้ริเริ่มคือ Stella Sironen เมคอัพอาร์ตทิสสาวชาวฟินแลนด์ ได้โพสต์ภาพลงในอินสตาแกรม แล้วบอกว่ามันเป็นเทรนด์การเขียนคิ้วแบบใหม่ โดยเป็นการแบ่งเส้นขนคิ้วออกครึ่งหนึ่ง จึงทำให้ดูคล้ายกับขนนก เท่านั้นแหละ..ทำเอาสาวๆ ผู้ที่ติดตามเธอในโซเชียลต่างพากันแห่ทำตาม แต่อย่างว่าเขียนคิ้วธรรมดาให้เท่ากันก็ว่ายากแล้ว นี่ต้องมาเขียนคิ้วให้เหมือนขนนกอีก สาวๆ จ๋าเราลองมาทำเทรนด์ไม่มีคิ้วกันบ้างดูไหม เผื่อจะฮิตจนลุกเป็นไฟแบบนี้บ้าง

ภาพจากอินสตาแกรม stella.s.makeup

ภาพจากอินสตาแกรม stella.s.makeup


ภาพจากอินสตาแกรม artistrybykacy


ภาพจากอินสตาแกรม browsbykristy


ภาพจากอินสตาแกรม mai_chamelon


ภาพจากอินสตาแกรม paletteprincessss


ภาพจากอินสตาแกรม saraanddipity

วันพฤหัสบดีที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2560

สงกรานต์พม่ายุคเปลี่ยนแปลง-เมื่อรัฐบาลพม่าลดวันหยุด 10 วันเหลือ 5 วัน

สงกรานต์พม่ายุคเปลี่ยนแปลง-เมื่อรัฐบาลพม่าลดวันหยุด 10 วันเหลือ 5 วัน

ผู้คนในพม่าที่ตั้งตารอหยุดยาวในช่วงสงกรานต์ต้องเปลี่ยนแผนอีกครั้ง หลังจากต้นเดือนมีนาคม รัฐบาลพม่าประกาศมาอย่างกระชั้นชิดให้ลดวันหยุด "มหาสงกรานต์" จาก 10 วัน เหลือ 5 วัน โดยให้เหตุผลว่าหยุด 10 วัน กระทบธุรกิจ-การเดินทาง-กระจายสินค้า แต่ยังให้ จนท.รัฐหยุด 10 วันแล้วค่อยเปลี่ยนปีหน้า ทำให้ลูกจ้างเอกชนรู้สึกเสียเปรียบ จนเกิดเหตุประท้วงขอคืนวันหยุด 10 วัน
นักศึกษาพม่าร่วมในขบวนแห่เทศกาลสงกรานต์ที่มัณฑะเลย์ ประเทศพม่าเมื่อ 12 เมษายนปี 2555 (ที่มา: แฟ้มภาพ/Htoo Tay Zar/Wikipedia)
ปฏิทินวันหยุดพม่าในปี 2559 จะเห็นวันหยุดสีแดงเถือกเนื่องในวันสงกรานต์ระหว่าง 11-20 เมษายน และเมื่อรวมกับวันเสาร์อาทิตย์ก็จะเป็นวันหยุดยาวตั้งแต่ 9-20 เมษายน หรือหยุด 12 วัน
ทั้งนี้โฆษกสำนักงานประธานาธิบดีพม่า ซอเท ได้ประกาศมาตั้งแต่ 9 มีนาคม ว่ารัฐบาลพม่าจะลดวันหยุดช่วงติงยาน หรือเทศกาลสงกรานต์จากเดิม 10 วัน ลดเหลือ 5 วัน คือจากเดิม 11 ถึง 20 เมษายนในปีที่แล้ว มาเป็น 13 ถึง 17 เมษายนเท่านั้น โดยให้เหตุผลว่าวันหยุด 10 วัน เป็นอุปสรรค์ต่อการทำงาน การบริการธนาคาร ทำให้การเดินทางและการกระจายสินค้าล่าช้า เนื่องจากมีวันหยุดที่ยาวนาน
โดยวันหยุดที่ลดลงในช่วงสงกรานต์ Coconut Yangon ซึ่งอ้างคำแถลงของซอเท ระบุว่า รัฐบาลพม่าจะพิจารณานำวันหยุด 5 วัน ไปชดเชยให้ในวันที่ 4 และ 6 ตุลาคม ช่วงวันออกพรรษา 2 พฤศจิกายน ช่วงวันลอยกระทง และ 30 และ 31 ธันวาคมช่วงวันขึ้นปีใหม่ อย่างไรก็ตามการจัดวันหยุดใหม่ 5 วันยังไม่มีความชัดเจน ต้องรอการประกาศอย่างเป็นทางการ
ทั้งนี้ประกาศของสำนักงานประธานาธิบดีพม่าระบุว่า แม้จะมีการเปลี่ยนวันหยุด แต่เจ้าหน้าที่รัฐบาลพม่ายังคงมีวันหยุดสงกรานต์ 10 วันในปีนี้ แต่จะไปลดวันหยุดเหลือ 5 วันในปีหน้า ส่วนผู้ที่ได้จองการเดินทางเอาไว้แล้ว ก็สามารถทำตามแผนการเดินทางได้ แต่วันหยุดตอนนี้มีเพียง 5 วันเท่านั้น
สำนักข่าวอิระวดีระบุว่า วันหยุดสงกรานต์ 10 วัน เริ่มต้นในสมัยรัฐบาลทหารพม่าเมื่อปี 2550 เกิดขึ้นหลังจากย้ายเมืองหลวงใหม่ไปที่เนปิดอว์ได้ 2 ปี
ทั้งนี้เจ้าหน้าที่รัฐบาลพม่าที่เมืองหลวงและแรงงานทั่วประเทศพม่าจะเดินทางกลับภูมิลำเนาในช่วงวันหยุดนี้ และผู้ที่ทำงานในช่วงวันหยุดสงกรานต์จะได้ค่าจ้างเพิ่ม 2 เท่า
สำนักข่าวอิระวดีระบุว่า การประกาศของรัฐบาลพม่าในเดือนมีนาคมถือว่ากระชั้นชิด เพราะหลายคนอาจจะวางแผนการเดินทางแล้ว มีคนจำนวนมากแสดงความไม่พอใจเนื่องจากการตัดวันหยุดกระทันหันทำให้นายจ้างได้เปรียบและลูกจ้างเสียเปรียบ
โดยการลดวันหยุดกระทันหันดังกล่าว ทำให้เมื่อ 26 มีนาคมที่ผ่านมา มีสมาชิกสหพันธ์แรงงานเมียนมา (CTUM) กว่าห้าพันคน ออกมาชุมนุมในย่างกุ้ง เรียกร้องให้คืนวันหยุด 10 วันด้วย ทั้งนี้จากรายงานของเมียนมาไทม์
วินเทงจีซอ ประธานสหพันธ์แรงงาน CTUM ระบุว่า จากการสำรวจข้อมูล พบว่าแรงงานไม่พอใจกับการลดวันหยุด เนื่องจากแรงงานที่ทำงานในโรงงานส่วนใหญ่มาจากภูมิลำเนาห่างไกล และประสบความยากลำบากในการกลับไปพบครอบครัวภายในช่วงวันหยุดเพียง 5 วัน
"พวกเราไม่ใช่พนักงานของรัฐบาล พวกเราเป็นคนงานภาคเอกชน มีวันลาน้อยนิด ในขณะที่พนักงานของรัฐบาลมีวันหยุดมากมาย ถ้าพวกรัฐบาลต้องการทำให้มีวันหยุดเท่ากัน ก็ต้องให้สิทธินั้นแก่เราเหมือนกัน" วินเทงจีซอกล่าว
ขณะที่วินเทงจีซอกล่าวด้วยว่า การเปลี่ยนแปลงตัวเลขวันหยุดสร้างปัญหาให้กับทั้งนายจ้างและลูกจ้าง
"แรงงานส่วนใหญ่ในโรงงานที่ฉันทำงาน มาจากพื้นที่ห่างไกลจากภาคย่างกุ้ง ไม่อาจกลับภูมิลำเนาได้ในช่วงวันหยุด 5 วัน พวกเรายอมรับวันหยุด 10 วันเท่านั้น" ฉ่วยฉ่วยถั่นกล่าวกับผู้สื่อข่าวเมียนมาไทม์

แปลและเรียบเรียงจาก
Thingyan Holiday Cut Short, By SAN YAMIN AUNG, Irrawaddy, 10 March 2017
Workers want 10-day Thingyan holiday, Zaw Zaw Htwe, Myanmar Times, Monday, 27 March 2017

วันศุกร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2560

คืนแห่งมีดยาว ( Night of the Long Knives)

คืนแห่งมีดยาว ( Night of the Long Knives)


คืนแห่งมีดยาว ( Night of the Long Knives) เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดในประเทศเยอรมนี เกิดขึ้นในวันที่ 30 มิถุนายน 1934 เมื่ออดอล์ฟ ฮิตเลอร์และเหล่าเอสเอสได้ทำการกวาดล้างเหล่าหน่วยเอสเอ (ชตูร์มอับไทลุง) เนื่องจากแอนสท์ เริม (Ernst Rohm) ผู้นำกำลังกึ่งทหารของนาซี ชตูร์มมับไทลุง (เอสเอ, "หน่วยสมทบวายุ") ซึ่งมีสมาชิกหลายล้านคนตั้งใจจะเข้าบัญชาไรช์สเวร์ และกลืนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเอสเอเพื่อสานต่อ "การปฏิวัติแห่งชาติ" เริมนิยม "การปฏิวัติที่สอง" ซึ่งจะทำลายนักอุตสาหกรรม ธุรกิจขนาดใหญ่ อภิชนยุงเคอร์ และการควบคุมกองทัพของปรัสเซีย ประเด็นดังกล่าวถึงจุดวิกฤตในเดือนมิถุนายน 1934 เมื่อประธานาธิบดีฮินเดนบูร์กแจ้งฮิตเลอร์ว่า หากเขาไม่ดำเนินการเพื่อจำกัดเอสเอ จะยุบรัฐบาลและประกาศกฎอัยการศึก ฮิตเลอร์ได้ไปเกลี้ยกล่อมเริมให้ยุบหน่วยเอสเอเข้าสู่กองทัพและอำลาจากวงการทหารแต่เริมกลับไม่ยอมรับ

ข้อเรียกร้องของเอสเอให้เพิ่มอำนาจทางการเมืองและทางทหารก่อให้เกิดความกังวลในหมู่ผู้นำทางทหาร อุตสาหกรรมและการเมือง ฮิตเลอร์จึงสนองโดยกวาดล้างผู้นำเอสเอทั้งหมด การกวาดล้างแอนสท์ เริม กลุ่มเอสเอของเขา สทรัสเซริสท์ นาซีฝ่ายซ้าย และศัตรูการเมืองอื่นที่กินเวลาตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน ถึง 2 กรกฎาคม 1934 และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 200 คน ขณะที่ชาวเยอรมันบางคนรู้สึกตกใจกับการฆ่า แต่หลายคนยกย่องการกระทำที่เด็ดขาดของฮิตเลอร์เพื่อฟื้นฟูระเบียบ


credit : suriya mardeegun

ศึกษา สงคราม ศึกษา การรุก การถอย นาซี "ฮิตเลอร์"

ศึกษา สงคราม ศึกษา การรุก การถอย นาซี "ฮิตเลอร์"

วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เวลา 19:08:32 น.



http://www.matichon.co.th/online/2015/10/14456885591445688570l.jpg
ความโน้มเอียงที่แน่นอนประการหนึ่งในการศึกษาต่อวิถีแห่งอำนาจ ไม่ว่าจะอำนาจทาง "การทหาร" ไม่ว่าจะอำนาจทาง "การเมือง"

คือ ความโน้มเอียงที่จะศึกษาด้าน "รุก"

คือ ความโน้มเอียงที่จะศึกษาด้าน "ชัยชนะ"

ผลก็คือ นำไปสู่การละเลยที่จะศึกษาด้าน "ถอย" นำไปสู่การละเลยที่จะศึกษาด้าน "พ่ายแพ้" อย่างจงใจและเจตนา

เหมือนกับในยุคของสงครามโลกครั้งที่ 2

จำนวนไม่น้อยเห็นแต่ด้านที่เติบใหญ่ พัฒนาของ "ฮิตเลอร์" อันมาพร้อมกับพรรคสังคมชาตินิยมหรือที่เรียกกันว่า "นาซี"

นั่นก็คือ ด้านที่ "รุ่งโรจน์" ด้านที่ "ชโย" โห่ร้อง อวยชัย ผลก็คือ ด้านที่ "อับเฉา" ด้านที่ "โรยรา" ดำเนินมาและเป็นไปอย่างไร

ถูก "มองข้าม"

น่ายินดีที่ ศาสตราจารย์สัญชัย สุวังบุตร ค้นคว้าและเรียบเรียง "นาซี เยอรมนี ค.ศ.1933-1945" โดยการสนับสนุนของคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กระทั่งจัดพิมพ์ออกมา

ทำให้ภาพแห่งการถอยในสงครามโลกครั้งที่ 2 มีความแจ่มชัด



หากถือเอาการที่ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีโดยประธานาธิบดีฮินเดนบูร์กเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 เป็นจุดเริ่มต้น

นี่คือชัยชนะ นี่คือก้าวแห่งการรุกที่สำคัญ

ตลอด 1 ปีจาก 1933 ถึง 1934 คือการสร้างรากฐานและกระชับอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นเมื่อสภาไรค์ซตาคมีมติรับรองกฎหมายที่ให้อำนาจในเดือนมีนาคม การจัดตั้งตำรวจลับหรือเกสตาโปในเดือนเมษายน การลงนามความตกลงระหว่างสันตะปาปากับรัฐ ในเดือนกรกฎาคม

เข้าสู่ปี 1934 ปฏิบัติการคืนแห่งมีดยาวปลายเดือนมิถุนายนต่อต้านเดือนกรกฎาคม

กฎหมายรวมตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นตำแหน่งเดียวกันโดยฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่ง "ฟือเรอร์" ในเดือนสิงหาคม

เมื่อสร้างความแข็งแกร่งภายในก็เริ่ม "รุก" สู่ภายนอก

เริ่มจากยึดครองเขตปลอดทหารไรน์ลันด์

ในเดือนมีนาคม 1936 การผนวกออสเตรียเข้ากับเยอรมนีในเดือนมีนาคม 1938 การรุกเข้าไปยึดครองโบฮีเมียและเมเรเวียเมื่อเดือนมีนาคม 1939 ตามมาด้วยการบุกโปแลนด์ในเดือนกันยายน ส่งผลให้อังกฤษและฝรั่งเศสประกาศสงครามต่อเยอรมนี

จากนั้นเยอรมนีก็เปิดการรุกครั้งใหญ่โดยโจมตีนอร์เวย์และเดนมาร์กเดือนเมษายน 1940 เข้ายึดครองกรุงปารีสในเดือนมิถุนายน ขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นก็โจมตีอ่าวเพิร์ลในเดือนธันวาคม 1941

อันเท่ากับดึงให้สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมใน "สงครามโลก"



ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปฏิบัติการ "รุก" ของเยอรมนี คำถามก็คือแล้วห้วงเวลาใดของสงครามอันบ่งบอกถึงสภาวะแห่งการ "ถอย" ของฝ่ายเยอรมนี

ยุทธการ 1 อันส่งสัญญาณ คือความล้มเหลวใน "ยุทธการที่เกาะอังกฤษ"

เริ่มจากเดือนกันยายน 1940 เป้าหมายคือจะทำลายกำลังทางอากาศของอังกฤษทั้งหมด แต่บทสรุปในเดือนพฤศจิกายน 1941 เยอรมนีก็ต้องหยุดปฏิบัติการ

บทสรุปจาก วินสตัน เชอร์ชิล คือ

"ไม่เคยมีความขัดแย้งของมนุษยชาติครั้งใดที่คนจำนวนมากต้องเป็นหนี้บุญคุณอย่างใหญ่หลวงแก่คนจำนวนน้อยนิดดังเช่นในสงครามครั้งนี้"

นี่คือจุดเริ่มต้นแห่งการ "ถอย" ของเยอรมนี และเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการ "รุก" ของพันธมิตร

จากนั้นมาก็เห็นได้จากการถอยในยุทธนาวีมหาสมุทรแอตแลนติก และพลันที่เยอรมนีเริ่มปฏิบัติการ "บาร์บารอสซา" โดยการเปิดแนวรบด้านตะวันออกใน ค.ศ.1941 กองทัพเยอรมนีก็เท่ากับตกลงไปในหล่มโคลนแห่งความหนาวเย็นของสหภาพโซเวียต

หนาวถึงขั้นน้ำมันที่ใช้ชโลมปืนยังจับตัวเป็นก้อนน้ำแข็ง อาวุธปืนใช้การไม่ได้ รถถังและยานยนต์จอดนิ่งเพราะน้ำมันเครื่องจับตัวเป็นน้ำแข็ง

ประสานเข้ากับความพ่ายแพ้ของ จอมพลแอร์วิน รอมเมิล ในยุทธการเอลอะลาเมน อียิปต์ เดือนพฤษภาคม ค.ศ.1943 กองทัพเยอรมันและอิตาลีก็ถูกตีถอยร่นออกจากแอฟริกา จากนั้นฝ่ายอักษะที่นำโดยเยอรมนีก็มีแต่ถอย ไม่มีรุก

กระทั่ง เยอรมนียอมแพ้ในเดือนพฤษภาคม 1945



การยืนหยัดสู้ของพันธมิตรในยุทธการที่เกาะอังกฤษต่างหากเป็น "จุดเปลี่ยน" อย่างมีนัยสำคัญของสงคราม

ความพ่ายแพ้ทั้งที่กรุงเลนินกราด ความพ่ายแพ้ในยุทธการเอลอะลาเมนในแอฟริกา คือจุดพลิกผันแปรเปลี่ยนอย่างชนิดตรงกันข้าม

ฝ่ายที่เคย "รุก" ต้องถอย ฝ่ายที่เคย

"กำชัย" ต้องพ่ายแพ้

มติชน ฉบับวันที่ 24 ตุลาคม 2558

ไฮน์์ริค ฮิมม์เลอร์ ผู้บัญชาการหน่วยเอสเอส ของนาซีเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2

ไฮน์์ริค ฮิมม์เลอร์ ผู้บัญชาการหน่วยเอสเอส ของนาซีเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2


ประวัติศาสตร์ สงครามโลกครั้งที่ 2


ไฮน์ริค ฮิมม์เลอร์

(Heinrich Himmler) 

ผู้บัญชาการหน่วยเอสเอส และหนึ่งในผู้สั่งการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ชาวยิว



ฮิมม์เลอร์ขณะได้รับการต้อนรับจากนายทหารระดับสูงของหน่วยเอสเอสที่เมือง Mauthausen ในปี ค.ศ. 1941 ซึ่งเป็นปีที่เขาเรืองอำนาจอย่างมาก 





บุคคลสำคัญอีกคนหนึ่งของพรรคนาซีที่มีบทบาทอย่างมากในการแปรคำสั่งการทำลายล้างชาวยิวของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ไปสู่การปฏิบัติที่โหดเหี้ยมก็คือ ไฮน์ริค ฮิมม์เลอร์ (Heinrich Himmler) ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยตำรวจลับ "เกสตาโป" และผู้บัญชาการหน่วยเอส เอส อันลือชื่อ ทั้งๆ ที่บุคคลดังกล่าวเคยเป็นเพียงนักธุรกิจที่ล้มเหลว มีร่างกายที่อ่อนแอ และที่สำคัญที่สุดคือ ในช่วงท้ายที่สุดเขากลับเป็นผู้หนึ่งที่พยายามแปรพักตร์ด้วยการหันไปเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อหาทางยุติสงครามและกำจัดฮิตเลอร์ออกจากตำแหน่งผู้นำสูงสุดของเยอรมัน

ไฮน์ริค ฮิมม์เลอร์เกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1900 ที่เมืองมิวนิค บิดาของเขาเป็นครูในโรงเรียนคาทอลิคที่เคร่งศาสนา หลังจากที่ฮิมเลอร์สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมต้น เขาก็เข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 ในฐานะนายทหารของกรมบาวาเรียนที่ 11 จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามเขาก็เข้าศึกษาต่อในชั้นมัธยมปลายระหว่างปี ค.ศ. 1918-1922 จนได้รับประกาศนียบัตรด้านการเกษตรจากโรงเรียนมัธยมและประกอบอาชีพเป็นพนักงานขายสินค้าการเกษตรในโรงงานผลิตสินค้าการเกษตร จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1923 ฮิมม์เลอร์ได้เข้าร่วมกับพรรคนาซีในการปฏิวัติที่มิวนิค ก่อนที่จะได้รับตำแหน่งให้เป็นหัวหน้าหน่วยประชาสัมพันธ์ของพรรค รับผิดชอบการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและการผลิตใบปลิว เอกสารสิ่งพิมพ์ปลุกระดมให้ชาวเยอรมันหันมาให้การสนับสนุนพรรคนาซี โดยใช้การกดขี่ชาวเยอรมันจากสนธิสัญญาแวร์ซายส์เป็นสาระสำคัญ

จนกระทั่งปี ค.ศ. 1927 ฮิมม์เลอร์แต่งงานและหันหลังให้กับพรรคนาซี โดยเริ่มต้นทำธุรกิจฟาร์มเลี้ยงไก่ของตัวเอง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จจนต้องกลับมาเข้าร่วมพรรคนาซีอีกครั้งในปี ค.ศ. 1929 พร้อมๆ กับได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าหน่วยองครักษ์ของฮิตเลอร์หรือที่รู้จักกันในนามหน่วยเอสเอส (Schutzstaffel – SS) ซึ่งในขณะนั้นมีกำลังพลเพียง 200 นายเท่านั้น

ในฐานะสมาชิกพรรคนาซี เขาได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่สภาไรซ์สตาร์คของประเทศเยอรมันในการเลือกตั้งครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 1930 และทำหน้าที่ในการเสริมสร้างกองกำลังเอสเอส ให้เข้มแข็งและยิ่งใหญ่ขึ้นจนกระทั่งมีกำลังพลเป็นจำนวนถึง 52,000 คนในปี ค.ศ. 1933 นอกจากนี้เขายังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าหน่วยตำรวจลับ "เกสตาโป" ในบาวาเรียซึ่งมีอำนาจล้นฟ้าในการกำจัดศัตรูทางการเมืองของพรรคนาซีและของฮิตเลอร์ในปี ค.ศ. 1934 อีกตำแหน่งหนึ่ง 






ไฮน์ริค ฮิมม์เลอร์ ผู้ที่ทรงอำนาจที่สุดคนหนึ่งของพรรคนาซีเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2




และแล้วเหตุการณ์ที่ทำให้ฮิมม์เลอร์ก้าวขึ้นสู่ความเป็นผู้นำระดับสูงของพรรคนาซีก็มาถึง นั่นคือการมีส่วนร่วมในการวางแผนโค่นล้มกองกำลังเอสเอ ที่เป็นคู่แข่งของเอสเอสในเหตุการณ์ "คืนแห่งมีดดาบยาว" ในวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1934 ซึ่งแท้จริงแล้วผู้นำหน่วยเอสเอ คือเออร์เนส โรห์มที่ร่วมเส้นทางการต่อสู้มากับฮิตเลอร์ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นนั้น แทบไม่มีความคิดในการเป็นปฏิปักษ์ต่อฮิตเลอร์หรือพรรคนาซีเลย เพียงแต่เขาได้แสดงตนเป็นปฏิปักษ์ต่อฮิมม์เลอร์และกองกำลัง เอสเอส อย่างเห็นได้ชัด และฮิมม์เลอร์นั่นเองที่เป็นผู้ยุยงให้ฮิตเลอร์เกิดความหวาดระแวงในตัวเออร์เนส โรห์มว่ากำลังก้าวขึ้นมาเทียบบารมีของเขา จนสั่งการให้เกิดการกวาดล้างพวกเอสเอ ครั้งใหญ่ 

และฮิมม์เลอร์อีกนั่นเองที่สั่งการให้ทหารเอสเอส ที่เขาไว้ใจที่สุดจำนวน 3 นายควบคุมตัวเออร์เนส โรห์ม พร้อมกับยื่นคำขาดพร้อมปืนพกให้ปลิดชีพตัวเองโดยให้เวลา 10 นาที แต่เมื่อเวลาครบ เออร์เนส โรห์มกล่าวว่า "… หากฮิตเลอร์ต้องการชีวิตฉัน ให้เขามาเอาไปเอง …" ทหารเอสเอสคนหนึ่งจึงใช้ปืนพกจ่อยิงเขาจนเสียชีวิตทันที

การล่มสลายของเอสเอ ส่งผลให้กองกำลังเอสเอส ของฮิมม์เลอร์ก้าวขึ้นมาเป็นองค์กรหลักเพียงองค์กรเดียวในการเป็นหน่วยอารักขาของฮิตเลอร์ และเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ต่างๆ ในการควบคุมเรื่องความมั่นคงของประเทศ รวมไปถึงเป็นหน่วยงานที่ทำการแปลงทฤษฎีว่าด้วย "การกำจัดชาวยิว พวกคอมมิวนิสต์และชนชาติที่ต่ำกว่ามนุษย์" ของฮิตเลอร์ไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งแปรเปลี่ยนทฤษฎีแห่งการแบ่งแยก "เชื้อชาติ" ที่เต็มไปด้วยความกังขาและการต่อต้าน ไปสู่การปฏิบัติแห่ง "การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุ" ที่ปราศจากข้อสงสัยและข้อคัดค้านใดๆ อย่างสิ้นเชิง

ฮิมม์เลอร์ยังคงก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้งในพรรคนาซีด้วยบุคลิกที่เต็มไปด้วยความกระตือรือร้นและความทะเยอทะยาน เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการสูงสุดของหน่วยตำรวจลับเกสตาโปทั่วประเทศเยอรมัน และเมื่อควบรวมกับตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยเอสเอสแล้ว ก็ทำให้ฮิมม์เลอร์กลายเป็นบุคคลที่ทรงอำนาจมากที่สุดคนหนึ่งในการตัดสินชะตาชีวิตผู้คนหรือองค์กรที่เป็นปฎิปักษ์ต่อพรรคนาซี หรือที่พรรคนาซีวิเคราะห์แล้วว่าเป็นบุคคลที่ต้องถูกกำจัดออกจากสังคมตามแนวทางการสร้างสังคมบริสุทธิ์ของชนชาติ "อารยัน" ซึ่งเครื่องมือที่ฮิมม์เลอร์คิดค้นขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1933 ก็คือค่ายกักกันที่ "ดาเชา" (Dachau) อันเป็นสถานที่ที่ฮิมม์เลอร์บรรยายไว้ว่า

"… เป็นสถานที่สำหรับการทำสะอาดผู้คนที่มีความคิดทางการเมืองที่แตกต่างจากพรรคนาซี ผู้คนที่มีเชื้อสายยิวหรือแม้กระทั่งลูกครึ่งยิว ชาวสลาฟส์ (Slavs) ในโปแลนด์ ตลอดจนผู้คนที่เป็นภาระต่อสังคม เช่น คนพิการ คนโรคจิต พวกลักเพศ ทั้งนี้เพราะหน้าที่ของชาวเยอรมันทุกคนก็คือการทำลายล้างกลุ่มคนที่มีสถานะต่ำกว่ามนุษย์ (sub-human) เหล่านี้ให้หมดสิ้นไปจากโลก ..." 






ภาพนี้ถ่ายระหว่างที่ฮิมม์เลอร์เดินทางมาเยี่ยมค่ายเชลยศึกสัมพันธมิตรแห่งหนึ่ง เขากำลังแสดงความประหลาดใจที่เชลยอังกฤษนายหนึ่งกล้าที่จะออกมาจากกลุ่มเพื่อขออาหารเพิ่มให้กับนักโทษทั้งหมด อย่างไรก็ตามผู้บรรยายภาพต้นฉบับไม่ได้ระบุถึงชะตากรรมของเชลยศึกชาวอังกฤษนายนี้ภายหลังจากการถ่ายภาพดังกล่าว




ณ ที่ค่ายดาเชาแห่งนี้นี่เองที่ทำให้ฮิตเลอร์เกิดความประทับใจในแนวคิดของฮิมม์เลอร์ จนมีคำสั่งให้ขยายค่ายกักกันเหล่านี้ออกไปทั่วพื้นที่ยึดครองของเยอรมัน ฮิมม์เลอร์อาศัยจังหวะนี้ขยายองค์กรเอสเอส ของเขาออกไปให้กว้างขวางขึ้น โดยการจัดตั้งหน่วย "กระโหลกไขว้" หรือ "โทเทนคอฟ" (Totenkopf) ซึ่งเป็นหน่วยรับผิดชอบในการดูแลค่ายกักกันทั้งหมด พร้อมทั้งดำเนินการพัฒนาศักยภาพของกำลังพลของหน่วยเอสเอส ที่เขาเป็นผู้บัญชาการสูงสุดให้เพิ่มสูงขึ้น โดยทหารเอสเอส จะต้องเป็นทั้งผู้นำ ผู้บริหาร นักรบ และนักวิชาการพร้อมๆ กันในคนเดียว 

การพัฒนาดังกล่าวส่งผลให้ทหารเอสเอส กลายเป็นกำลังพลที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ และยึดมั่นในอุดมการณ์ของพรรคนาซีอย่างมั่นคง จนกลายเป็นหน่วยรบที่ข้าศึกของอาณาจักรไรซ์ที่ 3 ต้องหวั่นเกรงทุกครั้งที่ต้องเผชิญหน้ากันในสนามรบ

กล่าวกันว่าเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ฮิมม์เลอร์ก้าวเข้ามาเป็นผู้นำในการฆ่าล้าเผ่าพันธ์ชาวยิวนั้น น่าจะเป็นผลมาจากการที่เขาเป็นผู้ที่มีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องไสยศาสตร์ลี้ลับ เรื่องของเวทมนตร์คาถาตลอดจนเรื่องการรักษาโรคด้วยสมุนไพรแปลกๆ นานาชนิด ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ได้ถูกผสมผสานกับทฤษฎีเกี่ยวกับความคลั่งเชื้อชาติอารยัน ส่งผลให้ฮิมม์เลอร์เกิดอาการเพ้อฝันถึงการสร้างสังคมในอุดมคติ สังคมที่จะก้าวไปถึงได้ด้วยการทำลายล้างสังคมอื่นที่เป็นอุปสรรคให้หมดสิ้นไป นักข่าวอังกฤษคนหนึ่งอธิบายลักษณะของฮิมม์เลอร์ว่า 

"… เหมือนคนที่ไร้ความหวาดกลัว เยือกเย็น สงบ สุขุมและถ่อมตนราวกับเสมียนในธนาคารมากกว่าที่จะเป็นผู้บัญชาการหน่วยเอสเอส และเกสตาโปอันเหี้ยมโหด ที่สำคัญคือเขาเป็นคนที่ปกปิดความรู้สึกได้ดีมาก เราไม่มีวันรับรู้ได้เลยว่าเขากำลังคิดอะไร รู้สึกเช่นไรและจะตัดสินใจอะไรต่อไป ..." 

สภาพร่างกายโดยทั่วไปของฮิมม์เลอร์นั้นไม่สู้แข็งแรงนัก เขามีอาการปวดหัวอย่างรุนแรงอยู่บ่อยๆ จนเกือบจะเป็นลมล้มลงระหว่างเยี่ยมชมการสังหารหมู่ชาวยิวกว่าร้อยคนในรัสเซีย จนต้องมีการออกคำสั่งเปลี่ยนแปลงวิธีการสังหารหมู่ชาวยิวให้ "มีมนุษยธรรม" มากขึ้น เช่น ใช้การรมแก็สพิษโดยตกแต่งห้องที่ใช้ในการสังหารให้เป็นแบบฝักบัวอาบน้ำ เป็นต้น 

ฮิมม์เลอร์เชื่อในเรื่อง "ชาติพันธุ์" เป็นอย่างมาก เขาสั่งให้มีการกำหนดกฏเกณฑ์ในการแต่งงานของชนชาติอารยัน เพื่อคงความบริสุทธิ์ของชาติพันธ์ุและเพื่อให้ได้มาซึ่งทารกหรือเมล็ดพันธ์ุที่มีความพิเศษเสมือน "ยอดมนุษย์" (Super-human) รวมทั้งจัดตั้งฟาร์มมนุษย์ที่เรียกว่า "เลเบนส์บอร์น" (Lebensborn) ซึ่งเป็นสถานที่ที่พรรคนาซีจะนำเด็กสาวในวัยเจริญพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกแล้วว่ามีเลือดอารยันสมบรูรณ์ที่สุด มาเป็นแม่พันธุ์ในการให้กำเนิดชนชาติอารยันรุ่นใหม่ โดยให้ทำการสมรสกับทหารหน่วยเอสเอส ของเขา มีนักประวัติศาสตร์หลายคนวิเคราะห์ว่า ฮิมม์เลอร์นำแนวคิดนี้มาจากประสบการณ์ที่ล้มเหลวในการทำฟาร์มไก่มาใช้ประยุกต์ในการทำฟาร์มมนุษย์






ฮิตเลอร์ (หันหลัง) และฮิมม์เลอร์ขณะตรวจดูธงประจำหน่วยทหารโปแลนด์ที่ทหารเยอรมันยึดได้ในปี ค.ศ. 1939




ในปี ค.ศ. 1939 ภายหลังจากที่เยอรมันเข้ายึดครองประเทศโปแลนด์แล้ว ฮิตเลอร์ก็แต่งตั้งให้ฮิมม์เลอร์เป็นผู้รับผิดชอบในการเคลื่อนย้ายผู้ที่มีเชื้อชาติเยอรมันจากประเทศในทะเลบอลติค เข้าไปยึดครองพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกินแทนชาวโปแลนด์และชาวยิว ซึ่งในเวลาเพียง 1 ปี มีชาวโปแลนด์กว่า 1 ล้านและชาวยิวกว่า 300,000 คนถูกบังคับให้สละพื้นที่ของตนให้ชาวเยอรมัน พร้อมๆ กับการกวาดต้อนไปสู่ค่ายกักกันเพื่อรอการทำลายล้าง ฮิมม์เลอร์เคยกล่าวให้โอวาทต่อกำลังพลเอสเอส สังกัดกรมทหารเอสเอส ไลป์สตานดาร์ด อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (ต่อมาได้รับการยกระดับเป็นกองพลยานเกราะเอสเอส ที่ 1 ไลป์สตานดาร์ด อดอล์ฟ ฮิตเลอร์) ตอนหนึ่งว่า 

" … การเข้าสู่สนามรบร่วมกับเพื่อนร่วมสมรภูมินั้น ง่ายกว่าการที่จะต้องอดทน อดกลั้นต่อการดำรงอยู่ของพวกชนชั้นต่ำ (โปแลนด์, ยิว และชนชาติอื่นๆ ที่นาซีมองว่า ต่ำกว่ามนุษย์) ดังนั้นในฐานะชาวอารยัน ผู้ที่มีชาติพันธุ์ที่สมบูรณ์ที่สุด เราต้องเดินหน้าในการทำลายคนเหล่านั้นให้หมดสิ้นไป เพื่อสร้างสังคมในอุดมคติของพรรคนาซีที่ปราศจากชนชั้นต่ำกว่ามนุษย์ขึ้นมาให้จงได้ …"

เมื่อยุทธการบาร์บารอสซ่า ซึ่งเป็นการบุกเข้าสู่ประเทศรัสเซียของกองทัพเยอรมันเปิดฉากขึ้นนั้น ฮิมม์เลอร์พยายามเปรียบเทียบการรบของกองทัพนาซีเยอรมันในครั้งนี้เสมือนกับสงครามครูเสดในยุคกลาง โดยเทียบเคียงว่าเป็นการเคลื่อนกำลังพลของนักรบผู้กล้าจากยุโรปเพื่อมุ่งทำลายล้างพวกยิว บอลเชวิคและคอมมิวนิสต์ให้หมดสิ้นไปจากผืนแผ่นดินยุโรป 

เขาสั่งให้มีการรับสมัครทหารเอสเอส จากยุโรปตอนเหนือ เช่น เดนมาร์ก สวีเดน และฮอลแลนด์ เพื่อเข้าร่วมในสงครามครูเสดครั้งนี้ ซึ่งการรับสมัครดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างมาก บางประเทศมีผู้สมัครจนสามารถจัดกำลังได้ถึง 1 กองพลเลยทีเดียว เช่น กองพลฟรีวิลลิเกน ลีเจียน นีเดอร์ลันด์ (Freiwilligen Legion Niederlande Division) ที่มีกำลังพลจากประเทศฮอลแลนด์ ซึ่งปฏิบัติการรบอย่างห้าวหาญในแนวรบด้านรัสเซียจนสูญเสียกำลังพลไปเป็นจำนวนถึง 80 เปอร์เซนต์ ก่อนที่จะสลายตัวไปรวมกับหน่วยอื่น 

นอกจากนี้ยังมีกองพลที่มีกำลังพลจากยุโรปอีกกองพลหนึ่งที่มีชื่อเสียงอย่างมากนั่นคือ กองพลยานเกราะ เอส เอส ที่ 5 ไวกิ้ง (5th SS Panzer Division Wiking) ซึ่งรวบรวมกำลังพลจากประเทศเดนมาร์ก นอรเวย์ และกลุ่มประเทศบอลติคอื่นๆ กองพลนี้ทำการรบในรัสเซียอย่างกล้าหาญแม้จะต้องประสบกับความสูญเสียอย่างหนัก แต่กำลังพลของหน่วยก็เลือกที่สละชีพในการรบมากกว่าที่จะต้องเดินทางกลับประเทศในฐานะผู้ร่วมกับนาซีทรยศต่อประเทศของตน กองพลยานเกราะ เอส เอส ที่ 5 ไวกิ้งส์เลือกที่จะปิดตำนานอันห้าวหาญของตนเองด้วยการต่อสู้ราวกับ "ราชสีห์" ในการรบกับกองทัพรัสเซียจำนวนมหาศาลในการป้องกันกรุงเวียนนาของประเทศออสเตรียในปี ค.ศ. 1945 จนกำลังพลคนสุดท้ายจบชีวิตลง

อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านเลยไป ทฤษฎีชาติพันธุ์ของฮิมม์เลอร์ก็เริ่มเปลี่ยนแปลง ทหารเอสเอส ของเขาจำนวนเสียชีวิตจนกระทั่งจำเป็นต้องเสริมกำลังมาทดแทนส่วนที่สูญเสียไป ในขณะที่กำลังคนที่เป็นวัตถุดิบชั้นดีของเอสเอส แทบไม่หลงเหลือให้คัดเลือกอีกต่อไปแล้ว ฮิมม์เลอร์ก็ตัดสินใจลดเงื่อนไขในการคัดเลือกทหาร เอส เอส ของเขาลง 

จนในที่สุดก็สิ้นหนทางที่จะหาคนมาเสริม ฮิมม์เลอร์ตัดสินใจตั้งกองพล เอส เอส ที่ 13 ฮันด์ซาร์ (13th SS Division Handschar) ขึ้นโดยมีกำลังเป็นชาวมุสลิมในโครเอเชียทั้งหมด นับเป็นการฉีกกฏเกณฑ์เรื่องการรบในสงครามครูเสดของชนชาติอารยันที่ฮิมม์เลอร์วาดเอาไว้อย่างสวยหรูลงอย่างสิ้นเชิง มาตรฐานการคัดเลือกที่ลดต่ำลงอย่างน่าใจหายทำให้ประสิทธิภาพของหน่วยเอสเอส ในระยะปี ค.ศ. 1943 เป็นต้นมาลดลงอย่างเห็นได้ชัด กำลังพลของกองพล เอส เอส ที่ 13 ฮันด์ซาร์เคยสังหารครูฝึกของพวกเขาระหว่างการฝึกในฝรั่งเศส อีกทั้งยังเป็นหน่วยที่มีปัญหาในด้านต่างๆ พอสมควรจนถูกยุบหน่วยลงในปลายปี ค.ศ. 1944 แต่กำลังพล เอส เอส บางส่วนที่มีประสิทธิภาพได้รวมตัวกันเป็นคามป์กรุ๊ปป์ หรือชุดเฉพาะกิจทำการต่อสู้กับกองทัพรัสเซียต่อไปจนสิ้นสุดสงคราม

นอกจากบทบาทในฐานะผู้บัญชาการกองกำลัง เอส เอส แล้ว ในปี ค.ศ. 1943 ฮิมม์เลอร์ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบด้านความมั่นคงในภาคพลเรือน ซึ่งเขาพยายามดึงเอาหน่วย เอส เอส เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยอีกเช่นเคย และในปลายปี ค.ศ. 1944 เขายังรับตำแหน่ง "ผู้บัญชาการกลุ่มกองทัพบกภาคพื้นแม่น้ำไรน์ตอนบน" เพื่อต่อต้านการรุกของกองทัพบกที่ 7 ของสหรัฐฯ และกองทัพที่ 1 ของฝรั่งเศสอีกด้วย 

ตำแหน่งใหม่ทั้งสองนี้ทำให้ฮิมม์เลอร์กลายเป็นผู้ที่มีอำนาจมากที่สุดคนหนึ่งของพรรคนาซีและของประเทศเยอรมัน อย่างไรก็ตามแม้ว่ากลุ่มกองทัพบกภาคพื้นแม่น้ำไรน์ตอนบนของเขาจะประสบความสำเร็จในช่วงแรกๆ ต่อมากลุ่มกองทัพนี้ก็ถูกทำลายลง นับเป็นความล้มเหลวที่ทำให้ฮิมม์เลอร์เสียหน้าเป็นอย่างมาก 

แต่ฮิตเลอร์ก็ยังตั้งให้เขาบังคับบัญชากลุ่มกองทัพวิสทูรา เพื่อทำหน้าที่ในการป้องกันกรุงเบอร์ลินรอบนอกอีก ซึ่งผลก็ออกมาดังที่คาด กลุ่มกองทัพวิสทูราถูกกองทัพรัสเซียตีแตกถอยร่นไม่เป็นกระบวน จนฮิมม์เลอร์ต้องขอถอนตัวเองออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการในวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1945 โดยอ้างปัญหาเรื่องสุขภาพ







ฮิมม์เลอร์ขณะตรวจค่ายกักกัน Mauthausen ทางตอนเหนือของประเทศออสเตรีย ซึ่งเป็นค่ายกักกันที่โหดเหี้ยมที่สุดแห่งหนึ่ง มีชาวยิว เชลยรัสเซียและศัตรูของนาซีถูกสังหารที่ค่ายแห่งนี้กว่า 320,000 คน 





ในช่วงนี้สิ่งที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น ฮิมม์เลอร์เริ่มเห็นเค้าลางความหายนะของพรรคนาซีและอาณาจักรไรซ์ที่ 3 เขาไม่เห็นด้วยที่ฮิตเลอร์ยืนหยัดต่อสู้อย่างสิ้นหวังในกรุงเบอร์ลิน ฮิมม์เลอร์จึงตีตัวออกห่างจากฮิตเลอร์และเริ่มมองว่า หากต้องการรักษาพรรคนาซีและประเทศเยอรมันเอาไว้ก็จำเป็นต้องเจรจาสันติภาพกับอังกฤษและสหรัฐฯ อีกทั้งยังมองว่าเมื่อปราศจากฮิตเลอร์แล้ว ตัวเขาเองก็คือผู้นำคนต่อไปของเยอรมันนั่นเอง ฮิมม์เลอร์จึงตัดสินใจติดต่อกับจอมพลดไวท์ ไอเซนฮาวว์ของสหรัฐฯ ว่าเยอรมันขอยอมแพ้ในแนวรบด้านตะวันตกต่อสหรัฐฯ และอังกฤษ โดยมุ่งหวังว่าทหารสหรัฐฯ และอังกฤษจะรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับทหารเยอรมันในการต่อต้านกองทัพรัสเซีย

ข่าวการเจรจาสันติภาพถูกเผยแพร่ทางสถานีวิทยุ บีบีซี ในวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1945 ทำให้ฮิตเลอร์โกรธมาก เพราะเขาเคยเชื่ออยู่เสมอว่าฮิมม์เลอร์คือบุคคลผู้ที่เขาไว้วางใจได้มากที่สุดคนหนึ่ง ก่อนที่ฮิตเลอร์จะปลิดชีพตัวเอง เขาสั่งปลดฮิมม์เลอร์ออกจากตำแหน่งทุกตำแหน่งและเรียกฮิมม์เลอร์ว่า "คนทรยศ" แต่ฮิมม์เลอร์ไม่สนใจสิ่งใดๆ ทั้งสิ้นเขาตั้งหน้าตั้งหน้าเจรจาต่อรองกับไอเซนฮาวว์ว่า หากเขายอมเจรจาสงบศึกกับสหรัฐฯ แล้ว เขาจะได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลชุดใหม่ของเยอรมัน แต่ไอเซนฮาวว์ปฏิเสธทุกข้อเรียกร้องที่ฮิมม์เลอร์เสนอพร้อมทั้งประกาศว่า เขาคืออาชญากรสงครามคนสำคัญที่ต้องถูกนำตัวมาลงโทษ

เมื่อการเจรจาไม่ได้ผล ฮิมม์เลอร์ก็พยายามหลบหนีโดยปลอมตัวเป็นคนตาบอดข้างเดียว มีผ้าคาดปิดตา โกนหนวดออกทั้งหมดเพื่ออำพรางตนเอง แต่เอกสารปลอมที่ยึดมาจากตำรวจที่เสียชีวิตมีพิรุธ ทำให้ทหารอังกฤษสงสัยและจับกุมตัวเขาได้ที่เมืองเบรเมน (Bremen) ก่อนที่จะทราบว่าชายคนดังกล่าวคืออาชญากรสงครามอันดับต้นๆ ของเยอรมัน 

ในระหว่างรอการสอบสวนเบื้องต้น ฮิมม์เลอร์ก็ตัดสินใจกัดเม็ดยาพิษไซยาไนด์ที่ซ่อนไว้ในฟันซี่หนึ่งเพื่อปลิดชีวิตตัวเอง ในห้วงสุดท้ายของชีวิตนั้นมีหนังสือบางเล่มได้อ้างว่าฮิมม์เลอร์ได้กล่าวประโยคสุดท้ายของเขาก่อนสิ้นลมหายใจว่า "… ฉันคือไฮน์ริค ฮิมม์เลอร์ …" ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงก็หมายความว่า ฮิมม์เลอร์ต้องการประกาศให้โลกรับรู้ถึงการเดินทางมาถึงจุดสุดท้ายของชีวิต และไม่ว่าเขาจะถูกประณามว่าเป็นอาชญากรสงครามคนสำคัญที่มีส่วนในการสังหารชาวยิวกว่าหกล้านคนทั่วทั้งยุโรป หรือจะได้รับการยกย่องในฐานะผู้บัญชาการหน่วยทหารเอสเอส อันทรงอานุภาพที่สุดหน่วยหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ตาม ฮิมม์เลอร์ก็ได้จากโลกนี้ไปแล้ว คงเหลือทิ้งไว้แต่บทเรียนอันทรงคุณค่าให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป 





เครดิต :  พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ

Master of International Relations (with merit)
Victoria University of Wellington, New Zealand