วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ชาวอีสาน มาจากไหน?

ชาวอีสาน มาจากไหน?

แชร์ไว้เล่าให้ลูกหลานฟัง...!! คนอีสาน..มาจากไหน ? เปิดประวัติศาสตร์กว่าพันปี (ตอนที 1 )


ชาวอีสานหรือคนอีสาน ไม่ใช่ชื่อชนชาติหรือเชื้อชาติเฉพาะของอีสาน แต่เป็นชื่อทางวัฒนธรรม มีที่มาจากภูมิศาสตร์บริเวณที่เรียกอีสาน หรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (อันเป็นส่วนหนึ่งของผืนแผ่นดินใหญ่สุวรรณภูมิหรืออุษาคเนย์โบราณ) เลยสมมุติเรียกคนกลุ่มนี้อย่างรวม ๆ กว้าง ๆ ว่าชาวอีสาน หรือคนอีสาน
ชาวอีสานหรือคนอีสาน มีบรรพชนมาจากการประสมประสานของผู้คนชนเผ่าเหล่ากอหลายชาติพันธุ์ ทั้งภายในและภายนอกทั้งทางสังคมและวัฒนธรรม ไม่ต่ำกว่า 5,000 ปีมาแล้ว (อาจถึง 10,000 ปีมาแล้วก็ได้) แล้งยังมีต่อเนื่องถึงทุกวันนี้ และอาจมีต่อไปในอนาคตอีกไม่รู้จบ ผู้คนชนเผ่าเหล่ากอหลายชาติพันธุ์ที่ประสมประสานกันเป็นชาวอีสาน มีบรรพชนอย่างน้อย 2 พวก คือ คนพื้นเมืองดั้งเดิมอยู่ภายในสุวรรณภูมิ กับคนภายนอกเคลื่อนย้ายเข้ามาภายหลังจากทิศต่าง ๆ (มีร่องรอยและหลักฐานสรุปย่อๆ อยู่ในหนังสือ ?พลังลาว? ชาวอีสาน มาจากไหน? โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2549) อีสานฝั่งขวา แม่น้ำโขง
คนอีสาน บางทีเรียกชาวอีสาน มีหลักแหล่งอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
อีสานเป็นชื่อเรียกพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยที่มีกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลาง คำว่า อีสาน มีรากมาจากภาษาสันสกฤษ สะกดว่า อีศาน หมายถึงนามพระศิวะ ผู้เป็นเทพประจำทิศตะวันออกฉียง (เคยใช้มาเมื่อราวหลัง พ.ศ. 1000 ในชื่อว่ารัฐว่า อีศานปุระ และชื่อพระราชาว่าอีศานวรมัน) แต่คำบาลีเขียนอีสานฝ่ายไทยยืมรูปคำจากบาลีมาใช้หมายถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตะวันออกเฉียงเหนือ (ที่หมายตรงกับคำอีสาน) เริ่มใช้เป็นทางการสมัยรัชกาลที่ 5 ราว พ.ศ. 2442 ในชื่อมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ยังหมายเฉพาะลุ่มน้ำมูลถึงอุบลราชธานี จำปาสัก ฯลฯ
รวมความแล้ว ใครก็ตามที่มีถิ่นกำเนิดหรือมีหลักแหล่งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (จะโดยเคลื่อนย้ายเข้าไปอยู่เมื่อไรก็ตาม) ถ้าถือตัวว่าเป็นคนอีสาน หรือชาวอีสาน อย่างเต็มอกเต็มใจและอย่างองอาจ ก็ถือเป็นคนอีสานเป็นชาวอีสานทั้งนั้น
ฉะนั้นคนอีสานหรือชาวอีสานจึงไม่ใช่ชื่อเชื้อชาติเฉพาะ แต่เป็นชื่อสมมุติเรียกคนหลายหลากมากมายในดินแดนอีสาน และเป็นชื่อเรียกอย่างกว้าง ๆ รวม ๆ ตั้งแต่อดีตดึกดำบรรพ์สืบจนปัจจุบัน ด้วยเหตุดังกล่าว ความเป็นมาของคนอีสานหรือชาวอีสานจึงไม่หยุดนิ่งอยู่โดดเดี่ยว แต่ล้วนเกี่ยวข้อง?? ?เคลื่อนไหวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับความเป็นมาของผู้คนสุวรรณภูมิหรืออุษาคเนย์ ตั้งแต่ยุคดั้งเดิมเริ่มแรกสืบจนทุกวันนี้ ซึ่งมีความเคลื่อนไหวไปๆมาๆ ทั้งใกล้และไกลในทุกทิศทาง และหลายครั้งหลายหน จนระบุเห็นชัดเจนแน่นอนนักไม่ได้ว่าใคร? ที่ไหน? เมื่อไร?
แต่สิ่งหนึ่งซึ่งคนอีสานและชาวอีสานมีสำนึกร่วมกันอย่างแข็งขันและองอาจ คือคำสมมุติเรียกว่า ?พลังลาว? อันมีรากจาก ?วัฒนธรรมลาว?

ชนชาติ หรือเชื้อชาติ แต่เป็นการนำชื่อทิศอีสาน (ทิศตะวันออกเฉียง) มาตั้งเป็นชื่อมณฑลอีสาน เมื่อปี พ.ศ. 2443 ก่อนหน้านั้นเรียกหัวเมืองลาว เมื่อพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ทรงปฏิรูปการปกครองจากเมืองขึ้นแบบโบราณ ทรงส่งข้าหลวงใหญ่กำกับราชการอยูที่เมืองจำปาศักดิ์ เมื่อ พ.ศ. 2433 เพื่อดูแลหัวเมืองลาวให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ดังนี้
1. หัวเมืองลาวตะวันออก เช่น จำปาศักดิ์ สีทันดร อัตปือ สาละวัน สุรินทร์ สังขะ เดชอุดม เป็นต้น
2. หัวเมืองลาวตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษ เป็นต้น
3. หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ เช่น หนองคาย เชียงขวาง บริคัณฑนิคม คำเกิด คำม่วน สกลนคร มุกดาหาร ขอนแก่น เป็นต้น
4. หัวเมืองลาวฝ่ายกลาง เช่น นครราชสีมา ชนบท ภูเขียว
(เรียบเรียงจาก อุบลราชธานี 200 ปี, 2535)
ต่อมา พ.ศ. 2440 (รศ. 116) ทรงโปรดเกล้าตรา พรบ.ปกครองท้องที่ ก็มีคำเรียก มณฑลลาวกาว ลาวเฉียง ลาวเหนือ เป็นต้น
เหตุผลระหว่างการรุกคืบเอาดินแดนลาวของฝรั่งเศส หรือพระราโชบายการปฏิรูปการการปกครองของ รัชกาลที่ 5 จะเป็นประการใดก็ตาม พ.ศ. 2442 ทรงให้มีการยกเลิก การเรียกว่า ลาว สำหรับคนในภูมิภาคนี้ "แต่นี้สืบไปให้เจ้าหน้าที่แต่ละแผนก ทุกหัวเมืองใหญ่น้อย ในมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อจะมีการสำรวจสำมะโนครัว หรือหากมีราษฎรมาติดต่อที่จะใช้แบบพิมพ์ทางราชการ ให้ปฏิบัติใหม่โดยการกรอกในช่องสัญชาตินั้นว่า ชาติไทยบังคับสยาม ทั้งสิ้น ห้ามมิให้ลงหรือเขียนในช่องสัญชาติว่า ชาติลาว ชาติเขมณ ส่วย ผู้ไทย ฯลฯ ดังที่เคยปฏิบัติมาก่อนเป็นอันขาด..." (อุบลราชธานี 200 ปี : 30) ในหนังสือ "อีสาน" สำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม/มติชน โดยสุจิตต์ วงศ์เทศ สรุปไว้ว่า ผู้คนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็ได้รับการประกาศว่าเป็นคนไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่นั้นมา
พ.ศ. 2443 ทรงดำรัสว่าชื่อมณฑลบางมณฑล เช่น มณฑลตะวันออก มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ มณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นคำยาวเรียกยาก ทรงพระราชดำริว่า ชื่อทิศของโบราณมีอยู่เป็นคำสั้นเรียกง่าย จึงโปรดเกล้า ฯ เปลี่ยนชื่อมณฑล เช่น มณฑลตะวันออก เป็น มณฑลบูรพา มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นมณฑลอีสาน เป็นต้น
ปัจจุบันเมื่อแบ่งเป็นภาคเหนือ ใต้ กลาง ตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ จึงเรียกประชาชนจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่า ชาวอีสาน ที่จริงแล้วความจริงก็คือความจริง คนไทยท้องถิ่นต่าง ๆ ล้วนเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจาก ชนชาติต่าง ๆ ทั้งสิ้น เช่น มอญ ลาว เขมร กะเหรี่ยง ไทยใหญ่ มลายู เป็นต้น
ผมเกิดมาสมัยเด็กมักได้ยินคำดุเด็กให้กลัวว่า "ไทย มา ไทยมา...ไทยสิมาตอนหำ..เซาฮ้องไห้ถะแม" ถ้าไปทำงานกรุงเทพ ฯ ก็ว่า "ไปไทย ไทเที่ยวไทย" คนโบราณเขาพูดไว้เข้าใจง่ายชัดเจน ดังนั้นคนไทยอีสาน อย่าอายที่จะยอมรับว่า เว่าลาว ฟังหมอลำ กินปลาแดก เพราะเราเป็นคนไทยภูมิภาคท้องถิ่นที่พูดภาษาไทยลาว มีประเพณีฮีต 12 คลอง 14 ที่แสนงาม มีศิลปะดนตรีร้องรำที่แสนม่วนและงามสะออน อยากให้แยกความเข้าใจให้ดีครับ เพราะคำว่าอีสานเพิ่งมีนำมาใช้พร้อม ๆ กับการปฏิรูปการปกครองไทย ในสมัยฝรั่งเศสคืบรุกเข้าครองแผ่นดินของชนลาวมานี่เอง และสามารถศึกษาได้จากหนังสือประวัติศาสตร์การปกครองในรัชการที่ 5 ได้ทั่วไป
การแบ่งเขตปกครองประเทศสมัยใหม่ กับสายเลือดวงศ์วานเชื้อ เราต้องยอมรับและผูกพันธ์ด้วยความรู้สึก ทั้งสำนึกในคุณแผ่นดินและเคารพในเชื้อสายและประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของตนเอง...

จากหนังสือ ?อุบลราชธานี มาจาไหน?? เขียนโดย สุจิตต์ วงษ์เทศ, สำนักพิมพ์แม่คำผาง พิมพ์เผยแพร่ ตุลาคม 2555.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น