วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2561

21 ภาพของ Lu Guang ที่รัฐบาลจีนไม่อยากให้ใครดู มีข่าวว่า Lu Guang ได้หายตัวไปอย่างไม่มีร่องรอยกว่า 1 เดือนแล้ว

วันพุธ, ธันวาคม 05, 2561

21 ภาพของ Lu Guang ที่รัฐบาลจีนไม่อยากให้ใครดู มีข่าวว่า Lu Guang ได้หายตัวไปอย่างไม่มีร่องรอยกว่า 1 เดือนแล้ว





Award-Winning Photojournalist Disappears In China, And Here Are 21 Of His Pics China Don’t Want You To See


By​Rokas L
Boredpanda.com


Lu Guang’s photos have exposed the sides of China that its government isn’t keen on talking about: drug addicts, HIV patients, environmental problems, and so on. This time, however, the award-winning photographer has himself become the center of a story. His wife Xu Xiaoli claims she hasn’t heard from her husband since the 3rd of November.





On 23rd October, Guang flew to Urumqi, the capital of Xinjiang region, where he had planned to attend some photography events. Later, he was to fly to Sichuan to meet his friend Mr Chen to participate in a charity event. But Mr Chen was unable to find or contact the photographer.




Image credits: Xiaoli11032018


When Mr Chen asked Guang’s wife about his whereabouts, she had nothing. Investigating the situation, Ms Xu contacted the wife of the person who had invited her husband to Xinjiang. She was told both Mr. Lu and the host had been taken away by national security. Local officers from Zhejiang province, Mr Lu’s hometown, later confirmed this.




(Worker in Wuhai City, Inner Mongolia. April 10, 2005. Image credits: Lu Guang)


“He has been lost for more than 20 days”, said his wife. “As his most direct family member, I have not received any notice of his arrest,” Ms Xu said on Twitter. “I have repeatedly contacted Xinjiang police but have been unable to get through. It is our 20th wedding anniversary [next week]. We should be celebrating it together. I can only hope for his safe return. ”




(A heavy truck carrying coal and lime drives away, causing dust to fly and harming the nearby residents. Image credits: Lu Guang)


According to the BBC, Xinjiang has become notorious for its tight security controls, heavy surveillance and police presence, tackling what they describe as growing radicalism among the ethnic Uighur Muslim community. The government is sensitive to criticism and has detained reporters who were investigating negative stories about China in the past.




(Eleven-year-old Xu Li of Hutsou is diagnosed with bone cancer. Image credits: Lu Guang)


“The reality in China is you never know if you’re going to get into trouble because there are no written rules,” the photographer said in an interview last year.




(Children also live in the industrial district. China is now the world’s second-largest economy. Its economic development has consumed lots of energy and generated plenty of pollution. Image credits: Lu Guang)




(On 16 July 2010, the pipeline of the Newport Oil Wharf of Dalian Bay exploded, sending lots of oil into the sea. Many fishing boats were assigned to clean up the oil contamination for 8,150 times. Image credits: Lu Guang)


The photographer won at the 2004 World Press Photo competition for his exposure of “AIDS villages”, where people 678 people got infected with HIV after selling their blood. Out of 3,000 people, 678 have contracted HIV and 200 have died.




(On 16 July 2010, the pipeline of the Newport Oil Wharf of Dalian Bay exploded, sending lots of oil into the sea. Many fishing boats were assigned to clean up the oil contamination for 8,150 times. Image credits: Lu Guang)


The photographer won at the 2004 World Press Photo competition for his exposure of “AIDS villages”, where people 678 people got infected with HIV after selling their blood. Out of 3,000 people, 678 have contracted HIV and 200 have died.

Image credits: Lu Guang




(A woman carrying her severely ill grandson implores the sky to prevent the devil of pain returning. Image credits: Lu Guang)




(Disabled orphans adopted by charitable farmers. Image credits: Lu Guang)




(Children with cerebral palsy licks milk powder off a bed to feed. Image credits: Lu Guang)




(Laseng Temple has an over 200-year-old history, which includes the study of Mongolian medicines. It was seriously polluted by the surrounding factories, so few pilgrims go there now. Image credits: Lu Guang)





(Many factories have been moved from the country’s east to its central and western parts. Employees work in the dust. Image credits: Lu Guang)




(The Baotou Steel plant dumps mineral processing sewage into the tailings dam. Image credits: Lu Guang)






(The chemical industrial park of Yanwei Port in the city of Lianyungang dumps sewage in the sea. Image credits: Lu Guang)




(In the jeans-producing village of Xintang Town, in Guangdong, workers gain the stone for grinding the denim every morning. Image credits: Lu Guang)








(Qi Guihua, held here by her husband, fell ill when she returned to the village from Beijing to celebrate the Spring Festival. She died two hours after this photograph was taken. Image credits: Lu Guang)




(Families such as this one have sold almost everything valuable in their home to help meet medical expenses. Image credits: Lu Guang)




(A young girl warms her hands in winter. Her father is infected with HIV and still cares for five children and his elderly parents. Image credits: Lu Guang)




(Two girls prepare for the funeral of their six-year-old brother, who died from AIDS. Image credits: Lu Guang)


Cédric Alviani, the director of Reporters Without Borders’ East Asia bureau, called on China to disclose where Lu is and to “guarantee journalists’ freedom of movement and security, including in Xinjiang Province.” It has not answered yet.
Credit : blogthaienews

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ทำไมผู้ชุมนุมประท้วงการขึ้นราคาน้ำมันในฝรั่งเศส ต้องก่อม็อบ ทำไมสัญญลักษณ์ต้อง "เสื้อกั๊กเหลือง" - BBC Thai

ทำไมผู้ชุมนุมประท้วงการขึ้นราคาน้ำมันในฝรั่งเศส ต้องก่อม็อบ ทำไมสัญญลักษณ์ต้อง "เสื้อกั๊กเหลือง" - BBC Thai



ANADOLU AGENCY/GETTY IMAGES


มาครงอัดม็อบ “เสื้อกั๊กเหลือง” น่าละอาย


25 พฤศจิกายน 2018
บีบีซีไทย


ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง แห่งฝรั่งเศส ออกมาสวนกลับกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงการขึ้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจกลางกรุงปารีส

"น่าละอายจริง ๆ สำหรับพวกที่โจมตีตำรวจ" และ "ไม่มีพื้นที่สำหรับความรุนแรงในสาธารณรัฐฝรั่งเศส" นายมาครงทวีตข้อความ หลังเกิดเหตุวุ่นวายขึ้นบนถนนช็องเอลีเซ่ เมื่อวันเสาร์ (24 พ.ย.) จนตำรวจต้องใช้แก๊สน้ำตาและปืนฉีดน้ำแรงดันสูงเพื่อสลายการชุมนุม

กลุ่มผู้ชุมนุมที่ถูกเรียกว่า "'เสื้อกั๊กเหลือง" ตามสีเสื้อที่พวกเขาสวมใส่ ระบุว่า การชุมนุมในวันเสาร์เป็น "ภาคที่ 2" ในการรณรงค์ที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อสัปดาห์ก่อนเพื่อต่อต้านการขึ้นภาษีน้ำมันดีเซล และก็ขยายความโกรธแค้นไปยังปัญหาค่าครองชีพโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท และความคับแค้นใจต่อนโยบายของนายมาครง



กระทรวงมหาดไทยของฝรั่งเศสประเมินว่า มีประชาชนมากกว่า 1 แสนคนเข้าร่วมการประท้วงที่เกิดขึ้นราว 1,600 จุดทั่วประเทศ ส่วนใหญ่เป็นการชุมนุมอย่างสงบ ยกเว้นในกรุงปารีสซึ่งมีผู้ชุมนุมราว 8,000 คน ปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ

เกิดอะไรในช็องเอลีเซ่

ตำรวจราว 5,000 นายถูกส่งมารักษาความสงบในกรุงปารีส และได้วางแนวกั้นรอบ ๆ อาคารสำคัญ อาทิ ทำเนียบประธานาธิบดี และรัฐสภา


REUTERS


โฆษกกลุ่มผู้ชุมนุมบอกเอเอฟพีว่า พวกเขาจะชุมนุมอย่างสันติ เพื่อบอกให้รัฐบาลรับฟัง

ทว่าในช่วงเช้า กลุ่มผู้ชุมนุมได้พยายามฝ่าแนวกั้นของตำรวจ จุดไฟเผา รื้อป้ายบอกสัญญาณจราจรบนถนน ดึงก้อนอิฐปูทางเท้าขว้างปาใส่เจ้าหน้าที่ ขณะที่บางส่วนก็ตะโกนต่อต้านนายมาครง สถานการณ์วุ่นวายเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไปถึงช่วงเย็น ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะเข้าควบคุมสถานการณ์ได้

เจ้าหน้าที่เปิดเผยว่า มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุปะทะ 19 คน ในจำนวนนี้เป็นตำรวจ 4 นาย และมีผู้ถูกจับกุม 40 คน

ความวุ่นวายในจุดอื่น ๆ ในฝรั่งเศส

กลุ่มผู้ประท้วงได้นัดชุมนุมพร้อมกันทั้งประเทศ ปิดกั้นถนน ทำให้สภาพการจราจรชะลอตัวลง บางคนเข้ายึดด่านผ่านทางยกระดับ (มอเตอร์เวย์) แล้วปล่อยให้รถผ่านเข้าไปแบบดื้อ ๆ

นอกจากนี้ยังมีเหตุปะทะกันเล็กน้อย ทำให้มีผู้ถูกจับกุมไป 130 คน

การชุมนุมและการใช้ความรุนแรงอยู่ในระดับที่เล็กกว่า หากเทียบกับการชุมนุมเมื่อสัปดาห์ก่อน (17 พ.ย.) ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกว่า 2.8 แสนคน โดยมีประชาชน 2 คนเสียชีวิต ขณะที่อีก 600 คนได้รับบาดเจ็บ


ANADOLU AGENCY/GETTY IMAGES


ชนวนก่อเหตุประท้วงเกิดจากอะไร

ราคาน้ำมันดีเซลซึ่งใช้กับรถยนต์ส่วนใหญ่ในฝรั่งเศสได้ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 ตลอด 12 เดือนที่ผ่านมา จนมีราคาเฉลี่ย 1.51 ยูโรต่อลิตร (ประมาณ 56.65 บาท) ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2000

ในขณะที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้น ก่อนร่วงลงมา แต่รัฐบาลนายมาครงได้ปรับขึ้นภาษีไฮโดรคาร์บอนในปีนี้ที่อัตรา 7.6 เซนต์ต่อลิตรสำหรับดีเซล และ 3.9 เซนต์ต่อลิตรสำหรับเบนซิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ให้ใช้เชื้อเพลิงสะอาด

การตัดสินใจขึ้นภาษีดีเซลอีก 6.5 เซนต์ต่อลิตร และเบนซิน 2.9 เซนต์ต่อลิตร ที่จะมีผลในวันที่ 1 ม.ค. 2019 กลายเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้เกิดการลุกฮือขึ้นประท้วง ทว่าประธานาธิบดีมาครงกล่าวอ้างว่าเป็นเพราะราคาน้ำมันโลกเพิ่มสูงขึ้นในไตรมาส 3


CHINA NEWS SERVICE/VCG VIA GETTY IMAGES


การประท้วง 2 ครั้งนี้เป็นสัญญาณร้ายต่อรัฐบาลของนายมาครง เพราะเป็นการรวมกลุ่มของประชาชนหลากหลายกลุ่ม แม้แต่กลุ่มที่เคยสนับสนุนนายมาครงเองก็ตาม ฝรั่งเศสมักคุ้นชินกับการประท้วงในเรื่องต่าง ๆ แต่ก็มักนำโดยกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง หากแต่กลุ่มเสื้อกั๊กเหลืองไม่มีผู้นำเช่นนั้น และทำให้ยากที่จะควบคุมพฤติกรรมฝูงชน

ทำไมต้อง "เสื้อกั๊กเหลือง"

ผู้ขับขี่รถทุกคนในฝรั่งเศสต้องพกเสื้อกั๊กสีเหลืองไว้ในรถของตน เพราะเป็นหนึ่งในอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน นอกจากนี้ยังมีกรวยสามเหลี่ยมสีแดงที่ต้องวางไว้ด้านหลังรถที่เกิดเสียขึ้นมากลางทาง และถ้าพลขับจะลงจากตัวรถก็ต้องสวมเสื้อกั๊กสีเหลืองสะท้อนแสงที่มองเห็นได้ชัดเจนด้วย

การไม่สวมใส่เสื้อกั๊กหลังรถเสียหรือเกิดอุบัติเหตุ อาจทำให้ต้องเสียค่าปรับเป็นเงิน 135 ยูโร (ประมาณ 5,064 บาท) ตามกฎหมายที่นำมาบังคับใช้ในปี 2008

ooo



https://www.facebook.com/AntiCorruption001/videos/727335277637161/

...

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

2 ข่าวนี้ต่อเนื่องกัน (จะมีสลิ่ม ออกมากล่าวหานายกว่าขายชาติมั๊ยน๊อ?)

2 ข่าวนี้ต่อเนื่องกัน (จะมีสลิ่ม ออกมากล่าวหานายกว่าขายชาติมั๊ยน๊อ?)



Athasit Poolsawat จะมีสลิ่ม ออกมากล่าวหานายกว่าขายชาติมั๊ยน๊อ?

Apirux Wanasathop สองสามวันนี้ คสช ออก ม44 ถี่ๆมีผลติดๆกันหลายฉบับ ล้วนขี้ๆ
ทั้งเอื้อ ปย ทุนใหญ่(ยกเว้น ภงด)
สั่งการเกี่ยวกับจัดเลือกตั้ง(ปาดหน้า กกต)
และอื่นๆกำลังตามมาติดๆ
นี่คือการทิ้งทวน???

ooo


วัดใจ’บิ๊กตู่’อาลีบาบาซื้อที่ แลกลงทุนหมื่นล้านบูมอีอีซี





17 November 2018
ประชาชาติธุรกิจ


“แจ็ก หม่า” ยื่นข้อเสนอใหม่ “ฮับโลจิสติกส์” ในไทย ขอเปลี่ยนจากการ “เช่าที่ดิน” เป็น “ซื้อที่ดิน” แทน ปั้นฮับไทยให้ยิ่งใหญ่ EEC-BOI หาช่องดึงอาลีบาบาลงทุน เปิด พ.ร.บ. EEC ให้ถือกรรมสิทธิ์ได้แค่เช่า 49+50 ปี พ.ร.บ. BOI ให้ซื้อที่ดินได้แต่สิทธิประโยชน์น้อยกว่า ส่วน WHA มั่นใจดีลเช่าที่ยังไม่ล้ม


ระยะเวลาได้ผ่านมากว่า 6 เดือนแล้ว หลังจากที่ “แจ็ก หม่า” ประธานบริษัทอาลีบาบากรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ได้ลงนามความร่วมมือด้าน Smart digital hub and digital transformation strategic partnership ซึ่งประกอบไปด้วย MOU 4 ฉบับกับรัฐบาลไทย โดยหนึ่งในนั้น อาลีบาบาได้เตรียมแผนการก่อสร้างโครงการ Smart Digital Hub (2561-2562) ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มูลค่าลงทุน 11,000 ล้านบาท ทว่าจนกระทั่งถึงปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้าในการก่อสร้าง แต่มีแนวโน้มที่จะขอเปลี่ยนแปลงวิธีการได้มาซึ่ง “กรรมสิทธิ์” ในที่ดินจากการ “เช่า” มาเป็น “ซื้อ” ที่ดินแทน

ข้อเสนอใหม่ของแจ็ก หม่า

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานระหว่างการเยือนจีนของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อเข้าชมงาน International China Import-Export เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีการหารือระหว่างฝ่ายไทยกับแจ็ก หม่า ประธานบริษัทอาลีบาบาในเรื่องของการ transform ประเทศไทยสู่ digital 4.0 โดยแจ็ก หม่า ได้ยื่น “ข้อเสนอใหม่” ที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็น hub logistic ที่มากกว่าการเป็น hub ธรรมดา ๆ ตามความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยและจีน รวมถึงการสร้างศูนย์พัฒนาบุคลากรไทย-จีน โดยอาลีบาบาต้องการที่จะขอ “ซื้อที่ดิน” ในประเทศไทยแทนการ “เช่าที่ดิน” ที่ตกลงเบื้องต้นกันไว้

ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีว่า ที่ผ่านมาบริษัทอาลีบาบาได้ทำข้อตกลงกับภาคเอกชนคือ บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA เพื่อขอเช่าพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมของ WHA ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา สำหรับพัฒนาเป็นเขตส่งเสริมธุรกิจอีคอมเมิร์ซและสมาร์ทโลจิสติกส์

“ขณะนี้ทีม EEC และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้รับทราบข้อเสนอใหม่ของอาลีบาบาแล้ว โดยมีการสั่งการให้ทั้ง 2 หน่วยงานร่วมกันในการหาทางออกให้กับข้อเสนอซื้อที่ดินว่าจะสามารถทำได้อย่างไร และเกี่ยวพันกับกฎหมายฉบับใดที่เปิดช่องให้สามารถดำเนินการได้บ้าง”

กฎหมาย EEC ให้ได้แค่เช่า 99 ปี

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภายใต้ พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ. 2561) ได้กำหนดไว้ในมาตรา 52 นักลงทุนจะไม่สามารถใช้กฎหมายฉบับนี้เพื่อการ “ซื้อ” ที่ดินลงทุนได้ แต่จะทำได้เพียงการ “เช่า” พื้นที่ตามกฎหมายเท่านั้นคือ แบ่งการอนุมัติให้เช่าออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกอนุมัติระยะเวลาการเช่าไม่เกิน 50 ปี และระยะที่สองสามารถต่ออายุการเช่าได้อีกไม่เกิน 49 ปี เมื่อรวม 2 ระยะแล้วไม่เกิน 99 ปี ดังนั้นในกรณีที่นักลงทุนต้องการจะซื้อที่ดินจะต้องใช้กฎหมายฉบับอื่นที่ว่าด้วยเรื่องของการขายที่ดิน เช่น กฎหมายที่ดินเพื่อนำมาพิจารณาเพื่อขอซื้อที่ดินแทนกฎหมาย EEC เพื่อลงทุนในพื้นที่ดังกล่าวที่นักลงทุนสนใจ

“หากนักลงทุนจะซื้อที่ดิน เราไม่ขาย ถามว่าในกฎหมายเราให้เช่าได้อย่างเดียวใช่หรือไม่นั้น มันแล้วแต่กรณี มันมีหลายอันที่เราไม่ค่อยเกี่ยวข้องคือเรื่องของที่ดิน ซึ่งในกฎหมาย EEC พูดถึงเรื่องที่ดินน้อยมาก แต่กฎหมายอื่นให้ในเรื่องของที่ดิน เช่น กฎหมายของ BOI ถ้าได้การส่งเสริมบางกิจการก็สามารถซื้อที่ดินได้และที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมก็ซื้อได้ แต่ใน EEC ไม่ได้ เราไม่ได้ระบุไว้ว่าให้ซื้อ” นายคณิศกล่าว

BOI ซื้อได้แต่เลิกต้องคืน

นางสาวพจณี อรรถโรจน์ภิญโญ รองเลขาธิการคณะกรรมการ EEC กล่าวเพิ่มเติมว่า นักลงทุนที่มีความต้องการซื้อที่ดินเพื่อลงทุนในพื้นที่ EEC นั้น “สามารถทำได้” โดยมีช่องให้ใช้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) แต่ต้องทำตามเงื่อนไขที่ BOI กำหนด เช่า เรื่องของเงินลงทุนส่วนใหญ่จะสูงเป็นระดับหลาย ๆ พันล้านบาท รวมถึงจะต้องเป็นการลงทุนที่นำเอาห่วงโซ่ทั้งคลัสเตอร์มาลงทุนด้วย หากเป็นกิจการเดียวลงทุนครั้งเดียวแล้วก็ถือว่า “ไม่เข้าเงื่อนไขของ BOI ไม่สามารถซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างและลงทุนได้”

“ตามกระบวนการหากเป็นอุตสาหกรรมเล็ก ๆ กิจการธรรมดาจะขอรับการส่งเสริมที่ BOI หากเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curve) จะมาคุยที่สำนักงาน EEC เพราะนักลงทุนเหล่านี้มีซัพพลายเชนมาก จะดึงกันมาลงทุนทั้งยวง” น.ส.พจณีกล่าว

ทั้งนี้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนระบุไว้ในมาตรา 27 “ผู้ได้รับการส่งเสริมจะได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อประกอบการกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามจำนวนที่คณะกรรมการ (มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน) พิจารณาเห็นสมควร แม้ว่าจะเกินกำหนดที่จะพึงมีได้ตามกฎหมายอื่น ในกรณีที่ผู้ได้รับการส่งเสริมซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามประมวลกฏหมายที่ดินเลิกกิจการที่ได้รับการส่งเสริมหรือโอนกิจการนั้นให้แก่ผู้อื่น ผู้ได้รับส่งเสริมต้องจำหน่ายที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่เลิกหรือโอนกิจการ มิฉะนั้นให้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้นตามประมวลกฎหมายที่ดิน”

ข้อดี-เสีย 2 พ.ร.บ.

อย่างไรก็ตาม การใช้ พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน (BOI) มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป กล่าวคือ พ.ร.บ. EEC ให้สิทธินักลงทุนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินใน “เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ” ด้วยการ “เช่า” แต่เป็นระยะเวลายาวนานถึง 1 ชั่วอายุคนคือ 49+50 ปี พร้อมกับได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ อาทิ การ “ยกเว้น” หรือลดหย่อนภาษีเป็นกรณีพิเศษ, ยกเว้นการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา, สามารถใช้เงินตราต่างประเทศในการชำระค่าสินค้าได้, สามารถนำเข้าผู้เชี่ยวชาญพิเศษ รวมไปถึงการขอ visa

ส่วน พ.ร.บ. BOI ให้สิทธินักลงทุนต่างด้าวในการ “ซื้อที่ดิน” ได้ แต่จะได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามประกาศของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามประเภทกิจการนั้น ๆ เท่านั้น จึงเป็นเรื่องที่บริษัทอาลีบาบาที่จะเข้ามาลงทุนตั้ง smart digital hub จะต้องเป็นผู้ตัดสินใจ

WHA มั่นใจดีลยังไม่ล้ม

ด้านนางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท WHA Corporation กล่าวว่า ยังไม่สามารถให้รายละเอียดเกี่ยวกับการทำสัญญากับบริษัทอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีนได้ เพราะ “เป็นไปตามข้อตกลง” แต่ยืนยันว่าได้มีการทำสัญญาไปแล้วเมื่อเดือนสิงหาคม โดยผู้ประกอบการรายดังกล่าวจะซื้อที่ดินประมาณ 130,000 ตร.ม. ทั้งนี้ยังมีกระบวนการด้านการเงินตามรายละเอียดของสัญญาที่ตกลงกันไว้แล้วด้วย

เครดิต : Thanapol Eawsakul

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2561

‘สามัญชน’ อีกพรรคประกาศยกเลิกคำสั่ง คสช. ไม่เอานายกฯ คนนอก และที่ปลอมตัวเป็น 'คนใน'

วันพุธ, กันยายน 26, 2561

‘สามัญชน’ อีกพรรคประกาศยกเลิกคำสั่ง คสช. ไม่เอานายกฯ คนนอก และที่ปลอมตัวเป็น 'คนใน'

สามัญชน เป็นอีกพรรคการเมืองที่กำลังจัดตั้งใหม่ ซึ่งประกาศแนวนโยบายแจ้งชัดว่าจะดำเนินการยกเลิกประกาศและคำสั่งต่างๆ ของ คสช. ที่ใช้กำกับควบคุมและตีกรอบการดำเนินชีวิตของประชาชนตลอดกว่าสี่ปีที่ผ่านมา อย่างผิดผีผิดไข้ต่อครรลองการบังคับใช้กฎหมายโดยนิติธรรม แห่งหลักการประชาธิปไตยอันเป็นสากล
จากคำให้สัมภาษณ์รายการ ไทยว้อยซ์ไล้ฟ์ ของ จอม เพชรประดับ โดยว่าที่โฆษกพรรคสามัญชน ปกรณ์ อารีกุล ถึงแนวทางการ ปลดอาวุธ คสช. ด้วยมือเปล่า ขยายความจากว่าที่หัวหน้าพรรค เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ กล่าวไว้หลังการประชุมใหญ่เลือกคณะกรรมการบริหารพรรค ที่บ้านโนนสว่าง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
เขาบอกว่าจะเสนอเป็นร่าง พรบ. เพื่อยกเลิกคำสั่งและประกาศ คสช. ที่มีผลต่ออำนาจการตัดสินใจของพี่น้องประชาชน ทั้งนี้เป็นแนวทางเดียวกับที่กำลังมีการณรงค์เข้าชื่อกันให้ครบ ๑ หมื่น ซึ่งสำนัก ไอลอว์ริเริ่มไว้
ก่อนหน้านี้พรรคประชาชาติ พรรคใหม่อีกพรรคหนึ่งซึ่งจัดตั้งโดยนายวันมูหะมัดนอร์ มะทาและพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ก็ได้แถลงแนวนโยบายผลักดันให้มีการยกเลิกและปรับปรุงกฎหมายที่ “เป็นอุปสรรคต่อการดํารงชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชน”
รวมทั้งกฎหมาย “ที่บัญญัติขึ้นในขณะที่ประเทศไม่ได้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย” โดยออกมาในรูปคำสั่งและประกาศของคณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง ทั้งนี้ เลขาธิการพรรคแสดงความชื่นชมในแนวทางการรณรงค์ในเรื่องนี้ของ ILaw’ เอาไว้ด้วย
การรณรงค์ดังกล่าวของไอลอว์เริ่มมาตั้งแต่เมื่อกลางเดือนมกราคม จนบัดนี้เป็นเวลา ๘ เดือนกว่า มีผู้เข้าชื่อราว ๔ พันคน ขณะที่เป้าหมายอยู่ที่ ๑ หมื่นรายชื่อตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๓๓ เตรียมไว้นำเสนอต่อรัฐบาลใหม่ที่จะมีหลังการเลือกตั้ง
ในจำนวนคำสั่ง คสช.กว่า ๕๐๐ ฉบับ ไอลอว์ยกตัวอย่างคำสั่งที่ “มีลักษณะเป็นการใช้อำนาจพิเศษ ประชาชน ไม่มีส่วนร่วม และยังส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและกระบวนการประชาธิปไตยของประชาชน” รวมทั้ง “คำสั่งมีลักษณะเป็นการใช้อำนาจรัฏฐาธิปัตย์ โดยอ้างมาตรา ๔๔ หรืออำนาจสูงสุด” ว่ามีประมาณ ๓๕ ฉบับ
ดังเช่น คำสั่งที่ ๓/๒๕๕๘ ที่ คสช.มักใช้ในการกดดันเสรีภาพในการแสดงออกของกลุ่มที่เห็นต่าง และไม่สนับสนุนการปกครองโดยคณะรัฐประหาร คำสั่งนี้ห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ ๕ คนขึ้นไป และให้อำนาจทหารเป็นผู้จับกุม และสอบสวนคดีความมั่นคง โดยสามารถกักกันตัวไว้ได้ ๗ วัน
ยังมีคำสั่งและประกาศ คสช. เกี่ยวกับสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมอีกหลายฉบับ เช่นคำสั่งที่ออกในปี ๒๕๕๗ ได้แก่ฉบับที่ ๖๔ ขับไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่, ๖๖ ให้ กอ.รมน.เป็นผู้ทวงคืนผืนป่า, ๗๐ และ ๑๐๙ เกี่ยวกับการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธาน
โดยเฉพาะเกี่ยวเนื่องกับเขตเศรษฐกิจพิเศษ ระเบียงตะวันออก หรือ อีอีซีนั้นมีการใช้อำนาจวิเศษของมาตรา ๔๔ เปลี่ยนตัวนายกเทศมนตรีเสียดื้อๆ ด้วย ดังประกาศที่ ๑๕/๒๕๖๑ ให้ปลดพลตำรวจตรีอนันต์ เจริญชาศรี พ้นจากตําแหน่งนายกเมืองพัทยา แล้วตั้งนายสนธยา คุณปลื้ม เข้าไปเป็นแทน
 
นายสนธยา และตระกูลคุณปลื้ม ผู้ยิ่งใหญ่ของจังหวัดชลบุรีนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าเข้าร่วมกับพรรคพลังประชารัฐที่รัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ คสช. จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหลังเลือกตั้ง
น่าขันที่ข้ออ้างในการแต่งตั้งนายสนธยาบอกว่า “มีความจําเป็นต้องได้มาซึ่งนายกเมืองพัทยาและผู้บริหารเมืองพัทยาที่มีศักยภาพสูง พร้อมด้วยประสบการณ์และความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อประโยชน์ต่อการสนับสนุนกิจกรรมและการดําเนินการในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก”
โดยแนวนโยบาย พรรคสามัญชนจึงเป็นอีกพรรคหนึ่งที่จะเป็นเรี่ยวแรงในการลบล้างอำนาจคณะรัฐประหารที่จะกำกับควบคุมรัฐบาลหลังเลือกตั้งอีกอย่างน้อย ๒๐ ปีได้ โดยเฉพาะจากคำของนายปกรณ์ในรายการจอมว่า
“ส.ส.สามัญชนจะไม่สนับสนุนนายกฯ คนนอก และร่วมมือกับพรรคอื่นที่ไม่สนับสนุน ถ้าจะมีบุคคลที่สืบทอดอำนาจจาก คสช. ถึงแม้เขาจะมาเป็น คนในก็ไม่สนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นประยุทธ์หรือคนอื่น”
(ดูรายละเอียดการประชุมใหญ่พรรคสามัญชน และรายชื่อผู้บริหารพรรคได้ที่ https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_135250)