วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ประเมินความเห็นของฝ่ายต่างๆโดยเฉพาะฝ่ายติ่ง คสช. หลังจาก"ยุทธ์น๊อกคิโอ"เคาะกะลา เลือกตั้งไม่เกิน ก.พ.62

วันพุธ, กุมภาพันธ์ 28, 2561

เลือกตั้งแน่นะ แต่เอ๊ะไหงมีผู้พิพากษา 'กินป่า' กันเหรอ เขาถึงได้เคมเปญ 'ทวงคืน'

โอเค เป็นอันกล้าพูดแล้วนะว่าจะเลือกตั้งกุมภา ๖๒ แต่จะให้คุณค่าแก่คำพูดของตัวเองแค่ไหน คอยดูกันไปอีกนิด ว่าจะเป็นพิน็อคคิโออย่างเดิมไหม

ประยุทธ์พูดว่าจะปลดล็อคพรรคการเมืองหลังกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. และแต่งตั้ง สว. ประกาศใช้ในเดือนมิถุนานี้ แล้วจะเรียกประชุมแม่น้ำ ๕ สาย กับบรรดาพรรคการเมือง (เพื่อกำชับว่าทำอะไรได้บ้าง ไม่ได้บ้าง) ก่อน เท่ากับพรรคการเมืองมีเวลาหาเสียงกันราว ๖ เดือน

แต่ “ต้องดูสถานการณ์บ้านเมืองว่าปลดล็อคแล้วจะเกิดอะไรขึ้น” อีกที

อันนี้ไม่แน่ใจเขายังห่วงอะไรกัน ไอ้  สถานการณ์’ นั่นถ้าเป็นความรุนแรง ก่อการร้าย บึ้มโน่นบึ้มนี่ แม้ขณะนี้ที่ว่า คสช. เอาอยู่แล้ว เสื้อแดง ราบคาบหมด ก็ยังมีบึ้มอยู่ไม่ขาด ทั้งนราธิวาส ยะลา แสดงว่าไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย มากไปกว่าจะดูว่าเปิดหาเสียงแล้ว คสช. ได้เปรียบเสียเปรียบแค่ไหน ต่างหาก

'สมชาย แสวงการ' ตำแหน่งเลขานุการวิป สนช. (ศักยะประมาณขนหน้าแข้ง คสช.) ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวบลูมเบิร์กว่า “มั่นใจจะจัดเลือกตั้งอย่างเป็นทางการได้ประมาณ ปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคม ๒๕๖๒”

เนื่องจากรอให้พรรคการเมืองที่ตั้งใหม่ๆ จะพรรคสุเทือกหรือพรรคนิติตะวันก็ตาม จดทะเบียนกันในเดือนมีนาคมนี้ และจะยินดีให้พรรคการเมืองทั้งเก่าและใหม่ประโคมหาเสียงกัน หลังจากที่มีการเลือกตั้งท้องถิ่นแล้วในราวเดือนมิถุนาถึงสิงหา (๖๑) เพื่อประเมินสถานการณ์เสียก่อน

ข้อสำคัญ นายสมชายว่า “ยังไม่สามารถปลดล็อกพรรคการเมืองได้ เพราะเกรงว่าจะเกิดสถานการณ์ความขัดแย้งรอบใหม่ โดยเฉพาะความขัดแย้งในกลุ่มพรรคการเมืองที่มีจุดยืนสนับสนุนแนวคิดระหว่างเสื้อเหลืองและเสื้อแดง ซึ่งเป็นปัญหาเดิมๆ”


บร๊ะ พูดยังกะเขาตั้งหน้าจะตีกันอีก ถ้าหมายถึงเสื้อแดงฮ้าร์ดคอร์ที่ยังเป็นอิสระกันอยู่นอกเขตแดนละก็ พวกนั้นเขาขอบใจที่ให้สรรพคุณล้นแก้ว โกตี๋ก็เก็บไปแล้ว ไม่เห็นจะต้องจะเก็บใครอีก

ลุงสนามหลวงเหรอ ดูเหมือนรายนี้ใช้ยุทธวิธีมวลชน ไม่เลือกตั้งในกติกา คสช.’  แต่จะทดสอบพลังจากการเลือกตั้งท้องถิ่นว่าประชาชนพร้อมขนาดไหน ถ้าหากทัดทานพลังโหมลงพื้นที่ ปูพรม’ โดย กอ.รมน. และฝ่ายปกครองได้ละก็ เลือกตั้งใหญ่อาจเอาด้วยมั้ง

ฉะนั้น ฝ่ายที่หัวเด็ดตีนขาดไม่เอา คสช. เขาก็มาทางสงบด้วยเหมือนกันนี่ แม้นว่าไม่เอาสงบราบเรียบแบบ สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ที่ว่า “ถ้าเลือกพรรคเพื่อไทยแล้วจะไม่ทำให้เกิดความวุ่นวายหรือความขัดแย้งในบ้านเมืองอีก”

กับต้องเดินตามพิมพ์เขียวในหน้าที่ ที่มีต่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ พร้อมทั้ง “ยืนหยัด ยืนยัน ที่จะปกป้องระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ด้วย


ใครจะว่า เกี๊ยเซี้ย-จูบปาก ตะหาน คสช. ไม่ยั่น ถ้าเพื่อไทยพร้อมจะมาอยู่ในอ้อมอกหญิงหน่อยละก็ฟันธง ไม่ยิ่งหย่อนกว่า ปชป. แน่

ขานั้นออกมาชัดเจนแล้วนิ “พรรคประชาธิปัตย์จะร่วมกับพรรคของนายสุเทพ (เทือกสุบรรณ) จัดตั้งรัฐบาลเพื่อสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีต่อหรือไม่นั้น ตนย้ำว่าสุดท้ายอยู่ที่ผลการเลือกตั้ง” นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พูดแบะท่าอ้าซ่าพร้อมจะกลับไป ราบ ๑๑


ส่วน ลุงกำนัน’ ที่เป็นข่าวมาหลายอาทิตย์ว่าตั้งแน่พรรคลิ่วล้อทหาร (เห็นว้อยซ์ทีวีบอกว่าเพิ่งออกมาแก้ตัว “ไม่ได้พูด”) ก็โดนลุงตูบห้ามทัพแล้วให้ “ช้าก่อน” ขอบคุณที่จะตั้งพรรคหนุน มีมากมายหลายคนอยากหนุนเหมือนกัน

“หนุนแล้วจะได้เป็นมั้ย หวั่นยิ่งขัดแย้ง ขอให้พอได้แล้ว” (สรุปที่ประยุทธ์พูดสั้นๆ ตามสำนวน Wassana Nanuam)

แก่นกลางหัวใจของเรื่องอยู่ที่ ถ้ามีเลือกตั้งแน่อย่างที่ประยุทธ์โพล่งออกมาจริง นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ (ม.รังสิต) อย่าง ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ เค้าว่าจะเกิด “ผลบวกต่อภาคการลงทุน
โดยเฉพาะตลาดหุ้นน่าจะมีแรงซื้อเข้ามามากในกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ ค่าเงินบาทอาจแข็งค่าได้อีก นอกจากนี้ยังจะส่งผลดีต่อโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่รอดูความชัดเจนในการกลับคืนสู่ประชาธิปไตย ความน่าสนใจของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) จะเพิ่มขึ้น”


แต่หากเป็นปาหี่อีก เศรษฐกิจจะยิ่งกลับมาพับเพียบหนักกว่าเดิม “คสช. ไม่สามารถทำได้ตามที่ประกาศเอาไว้ หรือมีการเลื่อนการเลือกตั้งอีก คาดว่าผลกระทบทางลบต่อภาคการลงทุนจะรุนแรงมากกว่าก่อนหน้านี้”

ดร.อนุสรณ์เตือนพร้อมกับตั้งข้อกังขาว่า “การให้สัญญาในวันนี้ก็จะเป็นเพียงเทคนิคในการลดแรงกดดันทางการเมืองภายในประเทศและแรงกดดันจากประชาคมโลก”

ปัญหาก็คือจากวันนี้ถึงวันนั้น ปีกว่าๆ มะเร็งร้ายของสังคมประชาธิปไตย ในยุคอำนาจนิยม คสช. นี่มันกินกร่อนไม่หยุดหย่อน

ไหนจะคอรัปชั่นโตวันโตคืน อย่างที่ Somchet Mhin Jearanaisilpa โพสต์ว่าสมัยก่อนเขาเรียกค่าหัวคิวในวงการก่อสร้างที่ ๕ เปอร์เซ็นต์ “แต่สมัยนี้ เรียกกัน ๒๐แบบเอาเงินสดๆมาก่อนเลย
 
ซ้ำร้าย “ขนาดประมูล e-Auction ที่เริ่มทำสมัยนายกคนไหนก็ไม่รู้ ที่ต้องการจะให้มีการประมูลแบบโปร่งใส มาสมัยนี้คนประมูลก็สามารถจ่ายเงินซื้อเพื่อดูข้อมูลของคู่แข่งได้ บางคนจ่ายเงิน ๒ ล้าน แต่ประมูลไม่ได้ก็เสียเงินค่าดูฟรีๆ เรียกว่าหากินกันง่ายๆ เลย

ไหนจะระบบยุติธรรมเน่าเฟะ เศรษฐีบุกรุกป่ายิงสัตว์สงวนกำลังจะหลุดข้อหาทีละเปลาะ แต่คนที่ปูด (หรือ ‘whistle blower’) กลับจะโดนข้อหาเสียเอง

แล้วพวกตุลาการก็อิ่มเอมเปรมปรีดิ์ ดังที่ ปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน เอามาปูด ว่าพวกผู้พิพากษานอกจากเพิ่งได้ขึ้นเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งกันอีกคนละ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ในหมู่ผู้พิพากษาชั้น ๔ (ประธานศาลอุทธรณ์ภาค รองประธาน ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะ อธิบดีศาล)
น่าจะได้ราว ๘๐,๕๖๐ + ๔๖,๕๗๐ (= ๑๒๗,๑๓๐ ของเดิม ๗๓,๒๔๐ +๔๒,๕๐๐ ๑๑๕,๗๔๐) แล้วมีค่าตอบแทนเหมาจ่ายรถประจำตำแหน่งอีก ๔๑,๐๐๐ (เทียบเท่าปลัดกระทรวง) ยังไม่พอ “แถมบ้านพักตากอากาศหรู วิวดอย น้ำไฟฟรี”

ดังที่เขามีแคมเปญกันทาง change.org ขอให้ศาลอุทธรณ์ ภาค ๕ คืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ ๑๔๗ ไร่ ๓ งาน๔๑ ตร.ว.” เพราะเอาที่ราชพัสดุในป่าสงวนไปทำโครงการจัดสรรบ้านพักตีนดอยสำหรับผู้พิพากษากับแฟลตตุลาการ มูลค่า ๑,๐๑๗ ๖๖๕ ล้านบาท

ซึ่งเขาบอกว่า “คนธรรมดามีตังค์ก็สร้างให้ถูกกฎหมายไม่ได้” นั่นละ

edit : สุริยา มาดีกุล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น