วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

เขื่อนลาวแตก : รัฐมนตรีพลังงานลาว ชี้เขื่อนแตกเพราะก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน + ทุนไทยที่ไปสร้างเขื่อนผลิตไฟในลาว

เขื่อนลาวแตก : รัฐมนตรีพลังงานลาว ชี้เขื่อนแตกเพราะก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน + ทุนไทยที่ไปสร้างเขื่อนผลิตไฟในลาว



GETTY IMAGESคำบรรยายภาพร้านค้าของหญิงชาวลาวผู้นี้ได้รับความเสียหายโดยสิ้นเชิงจากเหตุเขื่อนแตก


เขื่อนลาวแตก : รัฐมนตรีพลังงานลาว ชี้เขื่อนแตกเพราะก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน

27 กรกฎาคม 2018
ที่มา บีบีซีไทย


วันที่ 5 ของสถานการณ์เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยพังและน้ำมหาศาลพัดพาหมู่บ้านหลายแห่งเสียหาย รัฐมนตรีพลังลาวออกมาระบุว่าเขื่อนแตกเพราะก่อสร้างต่ำกว่ามาตรฐาน นอกจากนี้มวลน้ำจากลาวเข้าไปยังกัมพูชา ทำให้ต้องอพยพคนนับพันไปที่ปลอดภัย

ส่วนยอดผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการเพิ่มขึ้นเป็น 27 ราย และยอดสูญหายยังอยู่ที่ 131 คน

"การก่อสร้างที่ต่ำกว่ามาตรฐาน"

เมื่อวานนี้ (26) นายคำมะนี อินทิรัด รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ของ สปป.ลาว กล่าวระหว่างการแถลงข่าวที่นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว ว่าสาเหตุที่เขื่อนดินย่อยกั้นช่องเขา ของเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยพังลง มาจากการก่อสร้างที่่กว่ามาตรฐาน โดยที่สำนักข่าวสารประเทศลาวรายงานการแถลงดังกล่าวในช่วงเที่ยงวันนี้(27)

สำนักข่าวเวียงจันทน์ไทมส์ ยังรายงานเพิ่มเติมถึงการแถลงข่าวของรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานว่า สาเหตุหลักที่ทำให้เขื่อนแตกเกิดจากปริมาณฝนที่ตกหนัก ประกอบกับเขื่อนกั้นช่องเขาที่พังทลายลงเพิ่งมีการก่อสร้างเสร็จไม่นานจึงทำให้ไม่สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ จึงอาจทำให้เกิดการปริแตกและขยายวงกว้างขึ้นจนพังทลายลงในที่สุด

รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานลาวยังชี้อีกว่า สาเหตุที่เป็นไปได้อีกทางหนึ่งคือ โครงสร้างของเขื่อนที่พังนั้นมีความไม่ยืดหยุ่นเพียงพอ

เปิดรายงานสองบริษัทเกาหลีใต้ก่อนเกิดเหตุ



GETTY IMAGESคำบรรยายภาพชาวลาวที่อพยพหนีน้ำมาอาศัยที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองสนามไซ แขวงอัตตะปือ


เขื่อนเซเปียน เซน้ำน้อย เป็นการร่วมทุนกันระหว่างบริษัทเกาหลีใต้ 2 แห่ง, บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง ของไทย และวิสาหกิจของลาวแห่งหนึ่งหนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทมส์ของสหรัฐฯ ระบุในวันนี้ (27) ว่ารายงานที่ออกมาจากสองบริษัทเกาหลีใต้ที่อยู่ในการร่วมทุนสร้างเขื่อน คือโคเรีย เวสเทิร์น พาวเวอร์ และ เอสเค เอ็นจิเนียริ่ง ทำให้เห็นสถานการณ์ก่อนเขื่อนจะแตก

ในรายงานที่ โคเรีย เวสเทิร์น พาวเวอร์ ส่งให้รัฐสภาเกาหลีใต้ระบุว่าเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว (20) วิศวกรของบริษัทสังเกตเห็นความผิดปกติคือ โครงสร้างตรงกลางเขื่อนมีระดับน้ำสูงกว่าปกติ ไป 4 นิ้ว แต่ก็คิดว่าการที่โครงสร้าง "จมลง" ต่ำกว่าระดับน้ำในเขื่อนเช่นนี้เป็นเหตุปกติ เนื่องจากฝนที่ตกหนักติดต่อกันหลายวัน ดังนั้นวิศวกรจึงตัดสินใจที่จะเฝ้าดูสถานการณ์แทนที่จะแจ้งต่อหน่วยต่าง ๆ เพื่อให้เกิดปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหา

จนถึงวันอาทิตย์ วิศวกรพบว่ามีรอยร้าว 10 ทางด้านบนของเขื่อน และกำลังจะออกไปซ่อมแซม แต่อุปกรณ์ซ่อมแซมนั้นจะมาถึงในวันจันทร์ตอนบ่าย ซึ่งก็สายเกินไปเสียแล้ว


YE AUNG THU/AFP/GETTY IMAGES)คำบรรยายภาพแม่กับลูกในศูนย์พักพิงชั่วคราวปากซอง แขวงจำปาศักดิ์ เขื่อนเซเปียนเซน้ำน้อยแตกทำให้น้ำท่วมสูง และผู้คนจำนวนมากต้องอพยพมาอยู่ที่ศูนย์แห่งนี้


ส่วนบริษัทเอสเค เอ็นจิเนียริ่ง ซึ่งเป็นบริษัทเกาหลีใต้อีกแห่งหนึ่งที่ร่วมทุนกัน และเป็นผู้สร้างหลักของโครงการ ระบุในแถลงการณ์ว่าในช่วง 21.00 น.ของวันอาทิตย์ ทางบริษัทพบว่าบางส่วนของด้านบนของเขื่อนพังทลายแล้ว ในคำแถลงการณ์ระบุด้วยอีกว่าบริษัทได้แจ้งความเสียหายครั้งนี้ต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น และการอพยพชาวบ้านที่อยู่ใกล้ที่สุดก็เริ่มขึ้น แต่ไม่ได้แจ้งทางการแขวงอัตตะปือ จนเมื่อบ่ายวันจันทร์ถึงได้แจ้งแก่แขวงอัตตะปือไปว่าเขื่อนน่าจะพังทลายมากกว่าเดิม

ทางนิวยอร์คไทมส์ยังได้สัมภาษณ์ ศ. เอียน เบียร์ด ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในลาว ซึ่งเขาเชื่อว่าปัญหาอาจจะเกิดจากการก่อสร้างที่ผิดพลาด หรือการเก็บกักน้ำไว้ในเขื่อนมากเกินไป โดยไม่เผื่อสำหรับเวลาที่ฝนตกหนัก

"บริษัทพยายามบอกว่านี่เป็นภัยธรรมชาติ ไม่ใช่ความผิดของพวกเขา" ศ.เบียร์ดกล่าวกับนิวยอร์คไทมส์ และเสริมว่า "ผมไม่เชื่อคำอธิบายเช่นนั้นเลย"

อพยพประชาชนนับหมื่นในกัมพูชา


GETTY IMAGESคำบรรยายภาพทหารกัมพูชากำลังช่วยอพยพประชาชนในสตึงแตรงเมื่อระดับน้ำสูงขึ้น


จังหวัดสตึงแตรงของกัมพูชาที่อยู่ติดกับแขวงอัตตะปือของลาวต้องอพยพชาวบ้านราว 25,000 คนออกจากพื้นที่เมื่อมวลน้ำจากลาวไหลบ่าเข้ามา รวมกับฝนที่ยังคงตกต่อเนื่อง

"ระดับน้ำยังคงเพิ่มขึ้น ดังนั้นจำนวนชาวบ้านที่จะถูกอพยพออกไปน่าจะเพิ่มขึ้นด้วย" เมน กอง โฆษกของจังหวัดสตึงแตรงบอกว่ากับเอเอฟพี

เจ้าหน้าทหารของกัมพูชาพาชาวบ้านและรถมอเตอร์ไซค์ออกมาจากเขตน้ำท่วมทางเรือ และก็ส่งบรรดาสิ่งของบรรเทาทุกข์เข้าไปในศูนย์พักพิงชั่วคราวแล้วเช่นกัน


ATTAPEU TODAYคำบรรยายภาพภาพประชาชนในแขวงอัตตะปือ ที่หนีระดับน้ำขึ้นมารอการช่วยเหลือบนหลังคา


คำเตือนอพยพมาล่าช้า

เอเอฟพีรายงานว่าชาวบ้านไม่น้อยกล่าวว่าพวกเขาได้รับคำเตือนให้อพยพก่อนหน้าเขื่อนแตกไม่กี่ชั่วโมง

"มันเกิดขึ้นเร็วมาก เรามีเวลาเตรียมตัวน้อยมาก" จู หินลา วัย 68 กล่าว เขามาจากหมู่บ้านหินลาดที่เสียหายอย่างหนัก "ทุกบ้านในหมู่บ้านนี้จมอยู่ใต้น้ำ คนในบ้านสี่ฉันสี่คนยังหาไม่เจอ ยังไม่รู้ว่าพวกเขาจะเป็นอย่างไร"


เขื่อนลาวแตก: ชาวไทยร่วมส่งกำลังใจถึงลาว ให้ผู้ประสบเหตุปลอดภัย
เขื่อนลาวแตก: ชุดกู้ภัยถ้ำหลวงพร้อม มุ่งสู่ลาวเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย


พิบัติภัยดังกล่าวที่เกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 20.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ในวันที่ 23 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยสาเหตุสำคัญมาจากพายุฝนถล่มทำให้เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ซึ่งเป็นเขื่อนไฟฟ้าพลังงานน้ำที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ในแขวงอัตตะปือ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศพังลง ส่งผลให้น้ำปริมาณ 5 พันล้านลูกบาศก์เมตรไหลทะลักเข้าท่วมพื้นที่หลายหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียง ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวสารประเทศลาวของทางการ ระบุว่ามีผู้คนมากว่า 6,600 คนและยังคงมีประชาชนหลายร้อยคนสูญหาย


AFP/GETTY IMAGESคำบรรยายภาพผู้ประสบภัยต้องอาศัยกันอย่างแออัดภายในศูนย์พักพิงชั่วคราวที่ทางการจัดให้ในแขวงจำปาสัก


ด้านบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็น 1 ในผู้ถือหุ้นของโครงการ แถลงว่า เขื่อนดินย่อยกั้นช่องเขา ส่วน D (Saddle Dam D) ขนาดสันเขื่อนกว้าง 8 เมตร ยาว 770 เมตร และสูง 16 เมตร ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเสริมการกั้นน้ำรอบอ่างเก็บน้ำเซน้ำน้อย โครงการดังกล่าวเกิดการทรุดตัว ส่งผลให้สันเขื่อนดินย่อยดังกล่าวเกิดรอยร้าวและน้ำไหลออกไปสู่พื้นที่ท้ายน้ำ และลงสู่ลำน้ำเซเปียน ที่อยู่ห่างจากพื้นที่เขื่อนประมาณ 5 กิโลเมตร

โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้ำน้อย ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างมีความก้าวหน้าประมาณร้อยละ 90 และกำหนดจะเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ภายใน ก.พ. 2562



ooo




อ่านบทความเต็มเรื่อง 

เขื่อนลาวแตก: กี่ทุนไทยที่ไปสร้างเขื่อนผลิตไฟในลาว

เรื่องเกี่ยวข้อง...

วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ข้อสังเกตุที่ได้จากเขื่อนในส.ปป.ลาวแตก

ทุนเกาหลี-ทุนไทย : ทำไมแตกต่างกันมาก?




คลิปมุมสูง เขื่อนแตกลาว น้ำทะลักเต็มพื้นที่

...

ทำไมแตกต่างกันมาก?

ทุนเกาหลี : ยอมรับว่าพบตัวเขื่อนมีปัญหาก่อนหน้าจะแตก
ทุนไทย : เขื่อนแตกเพราะฝนตกหนัก เขื่อนที่แตกเป็นเขื่อนดินย่อย ไม่กระทบเขื่อนหลัก

ทุนเกาหลี : เสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นและจะให้การช่วยเหลืออย่างถึงที่สุด
ทุนไทย : ไม่กระทบต่อแผนการผลิตไฟฟ้าที่วางไว้ว่าจะดำเนินการในเดือน กพ.ปีหน้า

ทุนเกาหลี : มอบเงินช่วยเหลือเบื้องต้น 10 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 330 ล้านบาท)
ทุนไทย : มอบเงินช่วยเหลือ 5 ล้านบาท

ทุนเกาหลี : CEO นำทีมกู้ภัยลงพื้นที่ด้วยตนเอง
ทุนไทย : ???

ส่วนรัฐบาลเกาหลี vs รัฐบาลไทย ???



Chainarong Setthachua

(https://www.facebook.com/chainarong.stc.3/posts/262952394507156)

3 ปี เขื่อนในลาวแตก 3 แห่ง สะเทือนความเชื่อมั่นของประชาชน ต่อเขื่อนที่มีอยู่และกำลังก่อสร้าง





3 ปี เขื่อนในลาวแตก 3 แห่ง สะเทือนความเชื่อมั่นของประชาชน ต่อเขื่อนที่มีอยู่และกำลังก่อสร้าง


BY ADMIN
สำนักข่าวชายขอบ
24 กรกฎาคม, 2018


เว็บไซด์ idsala ได้รายงานถึงเหตุการณ์เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย เมืองปากซอง แขวงจำปาสักแตก ทำให้ประมาณน้ำมหาศาลไหลเข้าท่วมเมืองสนามไซย แขวงอัตตะปือ ส่งผลต่อชีวิติทรัพย์สิน และทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนัก

เขื่อนเซเปียน – เซน้ำน้อย เป็นเขื่อนที่มีอ่างเก็บน้ำเขื่อมต่อกันจากหมากจัน ลงสู่เขื่อนเซเปียน และจากเขื่อนเซเปียนลงสู่เขื่อนเซน้ำน้อย และอ่างเก็บน้ำของเขื่อนเซน้ำน้อยมีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบเขื่อนดังกล่าว ด้วยเนื้อที่ 552 ตารางกิโลเมตร แต่สันเขื่อนที่แตกไม่ใช่สันกั้นอ่างเก็บน้ำเซน้ำน้อย

โครงการเขื่อนเซเปียนเซน้ำน้อย ได้เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2013 และคาดว่าจะเสร็จในปี 2019 มีกำลังการผลิต 410 เมกะวัตต์ โดยมีเจ้าของโครงการคือ บริษัทไฟฟ้าเซเปียน-เซน้ำน้อย ภายใต้การร่วมทุนของบริษัท SK Engineering and Construction(SK E) ถือหุ้น 26 % บริษัท Korea Western Power (KOWEPO) ถือหุ้น 25 % บริษัท Generating Holding Public (RATCH) ถือหุ้น 25% และบริษัท รัฐวิสาหะกิจหุ้นลาว (LHSE) ถือหุ้น 24% มูลค่าโครงการกว่า 1,020 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ





เมื่อย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2017 ที่ผ่านมา เขื่อนน้ำอ้าว เมืองผาไซ แขวงเซียงขวาง ทีมีกำลังการผลตไฟฟ้า 15 เมกะวัตต์ แตกและทำให้น้ำท่วมเมืองท่าโทม แขวงไซยสมบูน ซึ่งได้สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างเช่นกัน เขื่อนดังกล่าวดำเนินการโดยบริษัทบ่อทองอินเตอกรุ๊ปจำกัด เป็นเจ้าของโครงการ ซึ่งเขื่อนแตกในช่วงที่ก่อสร้างได้ 80 %

ก่อนหน้านั้นเมือ่วันที่ 16 ธันวาคม 2016 ได้เกิดเหตุอุโมงไฟฟ้าของเขื่อนเซกะมาน 3 แตก ทำให้น้ำไหลอย่างรุนแรงที่บ้านดายรัง เมืองดากจัง แขวงเซกอง โดยเขื่อนเซกะมาน 3 มีกำลังการผลิต 250 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่เมืองดากจิง แขวงเซกอง ดำเนินการโดยบริษัท Songda ของเวียดนามเป็นผู้ก่อสร้าง โฝซึ่งเขื่อนดังกล่าวแตกในระหว่างการผลิตกระแสไฟฟ้า เขื่อนสร้างเสร็จตั้งแต่ปี 2014

ด้วยเหตุนี้ประชาชนที่ตั้งคำถามต่อมาตรฐานในการก่อสร้างและการตรวจสอบคุณภาพเพื่อความปลอดภับแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและสิ่งแวดล้อมโดยรวมว่า หน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบต่อปัญหาดังกล่าว นอกจากประชาชนยังต้องการคำชี้แจงถึงการคุ้มครองมาตรฐานทางเทคนิค ความปลอดภัยและความแน่นหนาของเขื่อนต่างๆ โดยเฉพาะที่อยู่ใกล้กับชุมชนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง





ตามกฏหมายว่าด้วยไฟฟ้า ฉบับเลยที่ 03/สพ..ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2017 มาตราที่ 35 ระบุว่า บุคคล นิติบุคคล หรือการจัดั้งที่ดำเนินธุรกิจไฟฟ้าต้องรับประกันความปลอดภัยของการดำเนินงานและการบำรุงรักษาอุปกรณ์ และองค์ประกอบด้านไฟฟ้าของวิศวกรรมก่อสร้างโรงไฟฟ้าเช่น เชื่อน อ่างเก็บน้ำ อ่างน้ำล้น โรงจักไฟฟ้า สายส่งไฟฟ้า สถานีไฟฟ้า สายจำหน่ายไฟฟ้า อุปกรณ์ และองค์ประกอบด้านไฟฟ้า รวมถึงผู้ใช้ไฟฟ้า

เพื่อรับประกันความปลอดภัยดังกล่า บุคคล นิติบุคคล หรือการจัดตั้งที่ดำเนินธุรกิจไฟฟ้าต้องสร้างระบบเกี่ยวกับความปลอดภัยในการดำเนินงานและการบำรุงรักษาอย่างสอดคล้องกับมาตรฐานเทคนิคไฟฟ้าของลาว และนำเสนอต่อกระทรวงพลังงานและบ่อเแร่เพื่อการพิจารณา
ดังนั้นในเรื่องของมาตรฐานทางเทคนิคของเขื่อนต่างๆในลาว ถือว่ากระทรวงพลังงานและบ่อเร่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในจุดนี้โดยตรง นอกจากนี้ผู้มีสิทธิในการอนุมัติโครงการไฟฟ้าในสปป.ลาวแบ่งออกเป็น 4 ขนาดดังนี้

1.โครงการไฟฟ้า ที่มีกำลังติดตั้ง 100 กิโลวัตต์ ลงมา เจ้าเมือง หัวหน้าเทศบาล เป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ตามการเสนอของห้องการแผนงานและการลงทุนเมือง, เทศบาล โดยได้รับการเห็นดีทางด้านวิชาการของแผนกพลังงานและบ่อแร่แขวง นครหลวง

2.โครงการไฟฟ้า ที่มีกำลังติดตั้งมากกว่า 100 กิโลวัตต์ ถึง 15 เมกะวัตต์ ผู้มีหน้าที่ในการพิจารณาคือ เจ้าแขวง เจ้าครองนคร เป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ตามการเสนอของแผนกแผนงานและการลงทุนแขวง, นคร, โดยได้รับความเห็นดีทางด้านวิชาการของกระทรวงพลังงานและบ่อแร่

3.โครงการไฟฟ้า ที่มีกำลังติดตั้งสูงกว่า 15 เมกะวัตต์ -100 มกะวัตต์ รัฐบาลจะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ตามการเสนอของกระทรวงแผนงานและการลงทุน โดยได้รับความเห็นชอบด้านวิชาการของกระทรวงพลังงานและบ่อแร่

4.โครงการไฟฟ้าที่มีกำลังติดตั้งสูงกว่า 100 เมกะวัตต์ ขึ้นไป หรือมีอ่างเก็บน้ำที่มีเนื้อที่มากกว่า 10,000 เฮกตาร์ขึ้นไป หรือมีผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อม สังคม และธธรรมชาติอย่างมาก คณะประจำสภาแห่งชาติเป็นผู้พิจารณาอนุมัติตามการเสนอของรัฐบาล

เปิดรายงาน EIA เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย อาจไม่มีการประเมินความเสี่ยงเขื่อนวิบัติ และแผนรับมือกับเหตุฉุกเฉินที่เหมาะสม




https://www.facebook.com/chainarong.stc.3/posts/262442884558107


เปิดรายงาน EIA เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย อาจไม่มีการประเมินความเสี่ยงเขื่อนวิบัติ และแผนรับมือกับเหตุฉุกเฉินที่เหมาะสม

EIA นับว่ามีความสำคัญมากๆ ครับ เพราะจะบอกเราได้ว่าทำไมภัยพิบัติจากเขื่อนวิบัติครั้งนี้จึงมีความรุนแรงมาก ทั้งที่โครงการนี้ ถือว่าเป็นโครงการด้านวิศวกรรมที่ท้าทายในภูมิภาคนี้ และมีมูลค่าถึงสามหมื่นกว่าล้านบาท ที่ต้องมีการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment : RA) และแผนรับมือกับเหตุฉุกเฉินทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Emergency Response Plan)

แต่ในขณะนี้ไม่สามารถหารายงานฉบับสมบูรณ์ที่ทำโดยบริษัททีม ของไทยได้ มีเพียงรายงานฉบับเพิ่มเติมที่จัดทำโดยบริษัท Lao Consulting Group เท่านั้น แต่ก็พอจะให้ภาพเพื่อตอบคำถามดังกล่าวข้างต้นได้ในระดับหนึ่ง

เมื่อได้เข้าไปอ่าน EIA ฉบับดังกล่าว ก็พบหัวข้อที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในบทที่ 6 เรื่อง Environmental Mitigation Measures หน้า 6-14 กับ 6-15 โดยอยู่ในหัวข้ออุบัติเหตุและภัยธรมชาติ และมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงคือ ไฟไหม้และการระเบิด การรั่วไหลของวัถตุอันตรายและน้ำมัน ความเสี่ยงจากแผ่นดินไหว และอุบัติเหตุและภัยธรรมชาติทั่วไป

สำหรับหัวข้อที่น่าสนใจที่สุดก็คือหัวข้อสุดท้าย ซึ่งได้แบ่งย่อยออกเป็นสองประเด็นคือ น้ำท่วม (flood) และกับระเบิดที่ยังไม่ได้ระเบิด (UXO) โดยที่หัวข้อน้ำท่วม EIA ได้เสนอมาตรการในการลดผลกระทบคือให้มีการติดตามสภาวะอุทกวิทยาและภูมิอากาศ ซึ่งจำเป็นสำหรับทำให้การลดผลกระทบและการจัดการมีประสิทธิภาพสำหรับน้ำไหลสูงสุดและเหตุการณ์น้ำท่วมในแต่ละวัน การติดตามตัวชี้วัดต่างๆ รวมถึงปริมาณน้ำฝน อัตราการไหลของน้ำในแม่น้ำ ระดับน้ำ และการสังเกตด้วยสายตา เช่น สังเกตพืชน้ำ พรรณพืช การเกิดขึ้นและลักษณะสัณฐานของตะกอน

สำหรับมาตรการในการลดผลกระทบ EIA ระบุว่าให้พัฒนาแผนรับมือกับเหตุฉุกเฉินด้านสิ่งแวดล้อม (Develop the Environmental Emergency Response Plan)

ข้อสังเกตของผมก็คือ

1) โครงการนี้ไม่มีการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) จากเขื่อนวิบัติ เช่น น้ำล้นจากทางระบายน้ำล้นฉุกเฉินของเขื่อน (spill way) น้ำล้นสันเขื่อน หรือที่เลวร้ายที่สุดคือเขื่อนวิบัติ

2) หากตัดประเด็นที่ว่าเขื่อนพังเพราะอะไรออกไปก่อน ผมมีคำถามว่าทางบริษัทเจ้าของเขื่อนได้จัดทำแผนรับมือกับเหตุฉุกเฉินด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม่ และแผนดังกล่าวบริษัทได้นำมาปฏิบัติหรือไม่ และได้นำไปให้หน่วยงานราชการและชุมชนท้ายเขื่อนหรือไม่ เพราะไม่สามารถหาเผนดังกล่าวได้ แต่การประเมินจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเขื่อนแตก ก็น่าจะไม่มีแผนดังกล่าว จึงทำให้เกิดการแจ้งเตือนภัยและให้อพยพที่ล่าช้ามากและกระชั่นชิดมาก อีกทั้งบริษัทน่าจะรู้แล้วว่าตัวเขื่อนที่วิบัติมีปัญหาตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม ขณะที่สื่อต่างประเทศบางสำนักตั้งข้อสังเกตว่าบริษัทน่าะรู้ว่าเขื่อนมีรอยแยกตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม แล้ว ขณะที่การแจ้งให้ทางการลาวอพยพประชาชนท้ายเขื่อนในลุ่มน้ำเซเปียนเกิดขึ้นในวันที่ 23 กรกฎาคม ก่อนเขื่อนแตกไม่กี่ชั่วโมง

นอกจากนั้น เมื่อเขื่อนแตก ยังได้เกิดการอพยพหนีตายของประชาชนแบบโกลาหล ประชาชนหนีเอาตัวรอดแบบไร้ทิศทาง บางคนถูกน้ำพัดพาเสียชีวิต ซึ่งตัวเลขล่าสุดคือ 26 คน มีคนสูญหาย 131 คน ประชาชนจำนวนมากหนีขึ้นไปอยู่บนหลังคาทั้งบ้านและวัด บางคนต้องเกาะต้นไม้เพื่อเอาชีวิตรอด หรือติดเกาะหลายวัน ขณะที่พื้นที่รองรับอพยพก็ไม่มีความพร้อม หลายกลุ่มต้องไปตั้งเพิงพักชั่วคราวในป่า ขณะที่ในพื้นที่ไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นได้

ยิ่งไปกว่านั้น ผลกระทบยังครอบคลุมไปยังหลายหมู่บ้านในกัมพูชาด้วย ซึ่งสถานการณ์การอพยพก็ไม่ได้แตกต่างกัน เพียงแต่ความเสียหายน้อยกว่า และทางการกัมพูชาก็มีเวลาในการช่วยเหลือประชาชนมากกว่า

กล่าวโดยสรุป ผมเห็นว่า EIA ฉบับเพิ่มเติมให้ข้อมูลเบื้องต้นได้ระดับหนึ่งว่า โครงการนี้อาจไม่ได้มีการประเมินความเสี่ยงที่เหมาะสม ไม่ครอบคลุมประเด็นเขื่อนวิบัติ และไม่น่าจะมีแผนลดความเสี่ยงภัยพิบัติ (Disaster Risk Reduction-DRR) ในกรณีเขื่อนวิบัติ เพือให้เจ้าหน้าที่ของเขื่อน หน่วยงานต่างๆ และชุมชนที่ตั้งอยู่ท้ายเขื่อน นำไปปฏิบัติ หรือหากมีก็ไม่ได้นำมาปฏิบัติ ทำให้เกิดรุนแรงถึงขั้นเป็นภัยพิบัติอย่างที่เห็น ดังนั้น ไม่ว่าเขื่อนจะแตกเพราะโครงสร้างทางวิศวกรรรมซึ่งแนวโน้มจะเป็นสาเหตุนี้มากที่สุด หรือจากฝนตกหนักอย่างที่ผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยและเกาหลีได้ระบุ บริษัทเจ้าของเขื่อนก็ไม่อาจหนีความรับผิดชอบไปได้

ลิงค์ผลการศึกษาที่เกี่ยวกับความเสี่ยงและแผนรับมือกับเหตุฉุกเฉิน http://www.pnpclaos.com/…/PNPC_EIA_Chap06_Env_Mitigation_Fi…

ลิงค์ EIA ฉบับเพิ่มเติม http://www.pnpclaos.com/…/PNPC_EIA_Chap06_Env_Mitigation_Fi…

Cr.ภาพประกอบ : ABC Laos News


Chainarong Setthachua

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

เขื่อนลาวแตก ไทยเกี่ยวอะไรล่ะ -เยอะเลย

วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 26, 2561

เขื่อนลาวแตก ไทยเกี่ยวอะไรล่ะ -เยอะเลย


เมื่อปรากฏข่าวความเสียหายมากมายจากการที่เขื่อน เซเปียน-เซน้ำน้อยส่วนที่เป็นคันดินปิดช่องเขา (Saddle Dam) แตก นอกจากชาวลาวที่อยู่อาศัยแถบเมืองสะหนามไซ เขตอัตตะปือ (ห่างจากเมืองปากเซ ๘๖ ก.ม.) ได้รับภัยพิบัติหนักแล้ว

วันนี้ (๒๖ ก.ค.) ขณะที่มีรายงานว่าระดับน้ำที่สะหนามไซลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่มวลน้ำกลับไหลล้นเข้าไปในประเทศกัมพูชา ๑๗ หมู่บ้านในจังหวัดสตึงเตรง ซึ่งอยู่ห่างออกไป ๑๘๗ ก.ม.

นายแกว วี โฆษกคณะกรรมการจัดการภัยพิบัติแห่งชาติกัมพูชา กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ได้อพยพประชาชน ,๒๘๙ ครัวเรือน ราว ,๖๐๐ คนจาก  เขตเทศบาล สู่สถานที่ปลอดภัย


พลันก็มีแถลงการณ์ของกลุ่มประชาสังคม ๒๑ องค์กร เมื่อวาน (๒๕ ก.ค.) เรียกร้องต่อบริษัทไทยที่ร่วมทุนก่อสร้างแสดงความรับผิดชอบ

ในฐานะประชาชนไทยอันประกอบด้วย เครือข่ายองค์กรชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขง องค์กรพัฒนาเอกชน นิสิต นักศึกษาและนักวิชาการ” แถลงการณ์อ้างความเสียใจต่อการที่ “เกิดน้ำท่วมฉับพลันใน  หมู่บ้านและประชาชนกว่า,๐๐๐ คนต้องไร้ที่อยู่อาศัย มีผู้สูญหายอย่างน้อย ๒๐๐ คนและพบว่าเสียชีวิตแล้ว ๕๐ คน
ปฏิกิริยาจากบริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง ซึ่งเป็น ๑ ใน ๔ ผู้ร่วมทุน (๒๕%) กลับ “ยืนยันว่าจะไม่กระทบกับการผลิตไฟฟ้าตามกำหนดการ แทนที่จะแสดงความห่วงใยหรือแถลงถึงมาตรการช่วยเหลือหลังเขื่อนแตก แต่บริษัทกลับเงียบในประเด็นเหล่านี้

แถลงการณ์ระบุพร้อมทั้งเรียกร้อง “ให้บริษัทไทยแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยการเร่งชดเชยและเยียวยาชุมชนจากการสูญเสียครั้งนี้” กับเสนอแนะ “ว่า

ควรมีการพัฒนากลไกเพื่อให้การชดใช้ค่าเสียหาย หรือการชดเชยย้อนหลังสำหรับผู้ที่ทุกข์ทรมานจากเขื่อนที่มีอยู่แล้ว” ตามหลักการและแนวทางของคณะกรรมการเขื่อนโลก


แม้นว่ารัฐบาลไทยผ่านทางกระทรวงพลังงานมอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตนำเครื่องมือไปช่วยเหลือ สปป.ลาว แล้ว และนายกฯ คสช. ยังได้แถลงมอบเงินช่วยเหลือจำนวนตั้ง ๕ ล้านบาทแก่ลาวด้วย เสียงวิพากษ์ที่ว่าไทยควรจะเข้าไปช่วยอย่างเต็มที่จึงยังมีอยู่อึงมี่

ดูจากโพสต์ของ อจ.เดชรัตน์ สุขกำเนิด ที่ว่า “ทุนไทยเกี่ยวข้องกับเขื่อนที่แตกในลาวอย่างไร แม้เขื่อนนั้นไม่ใช่ของไทย ๑๐๐% แต่ ๑.เป็นผู้ร่วมลงทุน ๒๕% หรือหนึ่งในสี่ .เป็นผู้ให้กู้ ๑๐๐.เป็นผู้รับซื้อไฟที่ผลิตจากเขื่อนนี้ ๙๐.เป็นผู้รับผิดชอบทำรายงาน EIA” แล้วถึงบางอ้อ
เพิ่มเติมจาก พระสนิทวงศ์ @Psanitwong’ เมื่อ Jul 24 ได้ความว่า “ผู้พัฒนาโครงการนี้คือ บ.ไฟฟ้า เซเปียน-เซน้ำน้อย จก. เป็นการร่วมทุนของบริษัทข้ามชาติ 4 แห่ง 1. SK Engineering and Construction (ถือหุ้น26%) 2. Korea Western Power (ถือหุ้น 25%) 3. บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (ถือหุ้น 25%) 4.Lao Holding State Enterprise (ถือหุ้น24%)

พระสนิทวงศ์ให้รายละเอียดด้วยว่า “โครงการเขื่อนเซเปียน เซน้ำน้อยนี้ เป็นโครงการแบบ BOT (build-operate-transfer) มีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้า ๔๑๐ เมกะวัตต์ โดย ๓๗๐ เมกะวัตต์ จากจำนวนนั้นจำหน่ายให้กับ กฟผ. มีสัญญาซื้อขายกัน ๒๗ ปี

ที่เหลืออีก ๔๐ เมกะวัตต์ ส่งกลับไปใช้ภายใน สปป.ลาว และมีกำหนดเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในปีนี้ (๒๕๖๑) ขณะเกิดเขื่อนแตกยังไม่ได้เริ่มเดินเครื่องผลิต


ฉะนี้ บริษัทมหาชนจำกัด ผลิตไฟฟ้า ราชบุรีโฮลดิ้ง จึงเป็นที่สนใจของมหาชน’ มีคนเข้าไปดูสมรรถนะจากเว็บไซ้ท์ทางการของบริษัทได้ไม่ทันไร ก็ปิดหน้าเว็บไปเสียแล้ว แต่กระนั้น VoteNoจ้า @iamasiam14 ทันแค้ปเจอร์บางส่วนมาให้ดูกัน
ถึงแม้ว่า “เข้าไปดูรายละเอียดโครงการไม่ได้แล้ว #เขื่อนลาวแตก” ดูจากหน้าเว็บ ‘Team Group’ ก็ยังพอได้เห็นว่าบริษัทไทยเป็นผู้ “ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม...ควบคุมงานก่อสร้าง” ตัวเขื่อนหลักเป็น “หินถม” ส่วนทางระบายน้ำ “เป็นคอนกรีต มีความสูง ๔๘ เมตร ยาว ๑,๓๐๐ เมตร”

ไม่แน่ใจว่าเมื่อถึงเวลาต้องชดเชยและเยียวยา ข้อเรียกร้องของกลุ่ม ๒๑ องค์กร เรื่อง “ต้องให้ชุมชนได้เข้าถึงกระบวนการพูดคุยเกี่ยวการชดเชยและเยียวยาอย่างเหมาะสมและเร็วที่สุด” จะเกิดขึ้นหรือไม่

ขอขอบคุณข้อมูล

ฟังเสียงชาวบ้านที่คัดค้านการสร้างเขื่อนในลาว และถูกบังคับให้อพยพออกจากพื้นที่ คาดว่า 90% ของไฟฟ้าที่ผลิตได้จะส่งออกไปประเทศไทย

ฟังเสียงชาวบ้านที่คัดค้านการสร้างเขื่อนในลาว และถูกบังคับให้อพยพออกจากพื้นที่ คาดว่า 90% ของไฟฟ้าที่ผลิตได้จะส่งออกไปประเทศไทย



...





(https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10215883471575611&set=pcb.10215883496576236&type=3)


เสียงจากชาวบ้าน ทีมงานขององค์กรแม่น้ำนานาชาติ ได้เคยลงพื้นที่เขื่อนเซเปียน เซน้ำน้อย ในปี 2013 และได้เขียนงานไว้ ตามด้านล่างค่ะ


— เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ดิฉันได้ไปพักกับครอบครัวชนเผ่ายาหวน (Nya Heun) ในพื้นที่รองรับผู้อพยพที่หนาแน่นบริเวณแขวงปากซอง ลาวใต้ ประชาชนหลายพันคนถูกบังคับให้อพยพมาที่นี่ระหว่างปี 2539-2544 เพื่อปูทางให้มีการสร้างโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้ำน้อยและห้วยห้อที่มีการวางแผนก่อสร้างในช่วงนั้น บริเวณพื้นที่ที่ตกทอดมาแต่บรรพชนของพวกเขาตามริมฝั่งแม่น้ำเซเปียนและเซน้ำน้อย แม่น้ำและลำห้วยใกล้กับถิ่นฐานบ้านเกิดของพวกเขาเป็นแหล่งประมงที่อุดมสมบูรณ์ มีน้ำไหลจืดไหลอย่างเสรี พวกเขาสามารถเก็บของป่าได้จากในป่า มีพื้นที่เพื่อทำการเกษตรบนพื้นที่สูงโดยปลูกพันธุ์ผักต่าง ๆ ผสมกับผลไม้ กาแฟ และข้าว

แต่ในพื้นที่รองรับผู้อพยพที่ดิฉันไปพัก เป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถางป่า และมีหน้าดินตื้นไม่เหมาะสมกับรูปแบบการเกษตรบนพื้นที่สูงที่พวกเขาคุ้นเคย ทั้งไม่มีแม่น้ำบริเวณใกล้เคียงที่สามารถจับปลา หรือสามารถนำน้ำสะอาดมาใช้งานได้เหมือนที่เคยเป็นมา ชาวบ้านเหล่านี้กลับต้องกลายเป็นคนซื้อข้าว ซื้อเนื้อ และซื้อปลาจากตลาดซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 5-8 กม. โดยมีระบบส่งน้ำแบบใช้แรงโน้มถ่วงเพียงเครื่องเดียวเพื่อจ่ายน้ำสำหรับใช้งานประจำวันทั้งชุมชน

ชาวบ้านที่นี่ส่วนใหญ่ทำงานรับจ้างเป็นแรงงานรายวันในแปลงปลูกกาแฟบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเป็นของบริษัทจากลาวและต่างชาติ รวมทั้งการเก็บเกี่ยวผลผลิตกาแฟจากแปลงปลูกเล็ก ๆ ในที่ดินซึ่งได้รับมาใกล้กับบ้าน เพื่อส่งขายให้กับบริษัท

ชาวบ้านบอกว่าก่อนหน้านี้ไม่เคยรู้สึกเจ็บปวดจากความหิวโหยอย่างที่เป็นอยู่ในตอนนี้เลย แม้ว่าในหมู่บ้านเดิมที่พวกเขาอยู่ เด็กอาจต้องเสียค่าเล่าเรียน และคนป่วยอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลบ้าง แต่ก็เป็นค่าใช้จ่ายในระดับที่ชาวบ้านจ่ายได้ เนื่องจากไม่มีรายจ่ายในด้านอื่น ๆ มากนัก แต่ในปัจจุบัน ครอบครัวเหล่านี้บอกว่ากำลังประสบปัญหาไม่มีเงินส่งลูกไปโรงเรียน หรือไม่มีเงินรักษาตัวยามเจ็บป่วย เนื่องจากเงินที่เก็บสะสมได้ต้องนำไปใช้ซื้ออาหาร

การหาทางแก้ปัญหาและอยู่รอดในที่ดินใหม่
ชาวบ้านทุกคนต่างต้องปากกัดตีนถีบในสภาพที่แร้นแค้น แต่พวกเขาต้องประหลาดใจว่า ที่ดินเดิมของพวกเขาส่วนใหญ่กลับไม่ถูกน้ำท่วม กว่า 10 ปีที่แล้ว ชาวบ้านได้รับการแจ้งเตือนว่า น้ำจากแม่น้ำจะหลากท่วมบ้านเรือนของตนโดยเร็ว เนื่องจากเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย

เพราะอันที่จริงยังไม่มีการสร้างเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยขึ้นมาในตอนนั้น เนื่องจากแผนก่อสร้างเดิมของบริษัทจากเกาหลีใต้ประสบปัญหาจากวิกฤตการเงินในเอเชีย ทำให้ชาวบ้านรู้สึกโกรธ สับสน และกังวลใจพร้อมกับตั้งคำถามว่าเหตุใดจึงถูกบีบให้อพยพออกจากถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง

ปัจจุบันครอบครัวส่วนใหญ่ได้กลับเข้าไปจับจองที่ดินเดิมของตน พวกเขาเริ่มเพาะปลูกและเก็บของป่าอย่างที่เคยทำมา แต่ก็เพิ่งทำได้ไม่นานมานี้เอง เนื่องจากก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ได้ขัดขวางไม่ให้พวกเขาเข้าไปในที่ดินของตน แต่ไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ ทางการบอกว่าหลายครอบครัวที่ต้องการกลับไปที่ดินเดิม ต้องสามารถจำแนกได้ว่าที่ดินของตนอยู่ที่แปลงไหน และต้องจ่ายเงินจำนวนมาก

ในปัจจุบัน ถนนที่จะนำพวกเขากลับไปสู่บ้านเกิดของตนมีเจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งด่านตรวจเต็มไปหมด แต่ถ้าครอบครัวเหล่านี้สามารถจ่ายค่าผ่านทางได้ พวกเขาก็สามารถกลับไปบ้านเกิดของตนเองได้

ชาวบ้านแสดงจุดยืนอย่างหนักแน่นและภูมิใจที่จะต่อต้านการบังคับให้อพยพ

แม้ว่าครอบครัวส่วนใหญ่จะย้ายรวมกันไปอยู่ในพื้นที่รองรับผู้อพยพ แต่มีสองหมู่บ้านที่ไม่ยอมย้าย ได้แก่บ้านห้วยโจดและบ้านหนองผานวน แม้จะถูกข่มขู่จากทางการ แต่ทุกครอบครัวในหมู่บ้านตัดสินใจร่วมกันกับผู้ใหญ่บ้าน ที่จะไม่ยอมรับข้อเสนอให้อพยพโยกย้าย แม้จะถูกทางการตัดบริการสาธารณูปการทั้งหลาย

แต่ชาวบ้านยืนยันจะไม่ยอมละทิ้งถิ่นฐานของตนในป่าบนพื้นที่สูง ช่วงที่ดิฉันไปเยี่ยมพวกเขา ๆ ประกาศอย่างภูมิใจว่า สามารถเก็บเกี่ยวธัญญาหารจากในป่าได้ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บน้ำผึ้งป่าและการทำแปลงเกษตรขนาดเล็กเพื่อการพึ่งตนเองของครอบครัว ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขาไม่สามารถทำได้บนพื้นที่ที่แห้งแล้งในแปลงอพยพ

ชาวบ้านที่ห้วยโจดตระหนักดีถึงประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับชุมชนที่ถูกโยกย้ายไปแล้ว พวกเขาอธิบายกับดิฉันว่า ได้เริ่มโครงการถ่ายภาพ เพื่อบันทึกข้อมูลพันธุ์พืชและสัตว์ท้องถิ่นบริเวณภูเขาและแม่น้ำรอบชุมชน ในเวลาอันรวดเร็ว พวกเขาสามารถอธิบายถึงตัวอย่างพันธุ์ปลาที่แตกต่างกันกว่า 20 ชนิด ซึ่งจับได้จากลำห้วยและแม่น้ำบริเวณใกล้เคียง และกับข้าวอีกหลายสิบอย่างที่พวกเขาปรุงขึ้นมาจากของที่หาได้จากธรรมชาติที่มีความสำคัญเช่นนี้

ในปัจจุบันพวกเขาต้องการบันทึกข้อมูลทุกอย่างเอาไว้ เพื่อเปรียบเทียบกับสภาพตอนที่บริษัทที่ทำแปลงเกษตรขนาดใหญ่หรือบริษัทที่สร้างเขื่อนเริ่มเข้ามาอ้างกรรมสิทธิ์เหนือที่ดินของพวกเขา

อนาคตร่วมกันที่ถูกคุกคาม

บรรดาผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านที่ดิฉันได้พบต่างบอกว่า ในช่วงหกสัปดาห์ที่ผ่านมา มีคนของบริษัท ไฟฟ้า เซเปียน-เซน้ำน้อย และที่ปรึกษาโครงการจากประเทศไทย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ได้เข้ามาหาพวกเขาในหมู่บ้าน มีการถ่ายภาพบ้านเรือนของชาวบ้าน ที่ดินทำกิน และครอบครัวของพวกเขา มีการสอบถามชาวบ้านเกี่ยวกับอาหารและรายได้หลัก และเริ่มจะมีการปักป้ายชื่อของบริษัทจากเกาหลีใต้ SK Construction and Engineering บริเวณพื้นที่หน้าแคมป์คนงาน

ในตอนนี้ดูเหมือนว่าหลังจากล่าช้าไปหลายปี คงจะมีการก่อสร้างโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้ำน้อยเสียที ทั้งนี้ด้วยเงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย และมีการลงนามสัญญาสัมปทานเมื่อเดือนตุลาคม 2555 มีผู้ถือหุ้นประกอบด้วย บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) จากไทย บริษัทจากเกาหลีใต้สองแห่งได้แก่ SK Engineering & Construction Company และ Korea Western Power Company และรัฐบาลสปป.ลาว

โดยคาดว่า 90% ของไฟฟ้าที่ผลิตได้จะส่งออกไปประเทศไทย

โครงการที่ครอบคลุมหลายลุ่มน้ำประกอบด้วยเขื่อนหกแห่งที่จะก่อสร้างขึ้นในแม่น้ำเซเปียน-เซน้ำน้อย และแม่น้ำห้วยหมากจัน โดยจะมีการผันน้ำผ่านระบบท่อและคลองเข้าไปสู่แม่น้ำเซกง คาดว่าโครงการนี้จะส่งผลให้เกิดน้ำท่วมบริเวณป่าต้นน้ำ ซึ่งยังคงเป็นทรัพยากรที่สำคัญสำหรับชาวบ้านชนเผ่ายาหวน ซึ่งอยู่ในพื้นที่รองรับผู้อพยพ ทั้งยังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการประมงในภูมิภาค ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าที่ผ่านมาได้มีการประเมินผลกระทบข้ามพรมแดนแล้วหรือไม่ แม้ว่าจะมีกลุ่มชาติพันธุ์อีกหลายพันคนในกัมพูชาซึ่งอาศัยอยู่ด้านท้ายน้ำของแม่น้ำเซกง

อันที่จริง ชาวบ้านในชุมชนที่ดิฉันได้พบใกล้กับแขวงปากซองหรือัตตะปือ ต่างไม่เคยได้ทราบเกี่ยวกับผลกระทบของโครงการนี้ที่จะมีต่อผืนดิน แม่น้ำ และสัตว์น้ำรอบตัวพวกเขาเลย เนื่องจากเคยมีประสบการณ์ถูกโยกย้ายมาแล้วครั้งหนึ่ง พวกเขาจึงรู้สึกโกรธและต้องการทราบว่า บริษัทจากไทยและเกาหลีใต้มีแผนการอย่างไรที่จะป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบด้านลบต่อการดำรงชีพของพวกเขา

ผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่งบอกกับดิฉันว่า “บริษัทที่ต้องการสร้างเขื่อนเซน้ำน้อย ควรมาพูดคุยกับชาวบ้านในหมู่บ้านเสียก่อน พวกเขาไม่ควรเริ่มก่อสร้างเขื่อนโดยที่ยังไม่ได้พูดคุยกับชาวบ้าน พวกเราที่เป็นชาวบ้านต้องการทราบข้อมูลที่ชัดเจนว่าจะเกิดอะไรขึ้น และเกิดขึ้นเมื่อไร... พวกเรากังวลมากในตอนนี้ ที่ผ่านมาได้มีการเริ่มจัดเตรียมพื้นที่ก่อสร้างของบริษัท SK แล้ว แต่พวกเขาไม่เคยเข้ามาที่หมู่บ้านเพื่ออธิบายอะไรเลย พวกเราไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น และจะได้รับความช่วยเหลืออย่างไรบ้าง เรายังคงรอคอยข้อมูลเหล่านี้”

หากสถาบันระหว่างประเทศซึ่งมีขั้นตอนปฏิบัติเพื่อคุ้มครองด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม อย่างเช่น ธนาคารพัฒนาเอเชีย พิจารณาที่จะลงทุนในโครงการนี้ พวกเขาจำเป็นต้องรับฟังข้อกังวลอย่างจริงจังของชาวบ้านเกี่ยวกับช่องว่างที่ชัดเจนในแง่การปรึกษาหารือและความโปร่งใสของโครงการ เรากำลังรอดูอยู่ว่าพวกเขาจะแสดงความรับผิดชอบในเรื่องนี้อย่างจริงจังหรือไม่

ต้นฉบับภาษาอังกฤษ https://www.internationalrivers.org/…/xe-pian%E2%80%93xe-na…


ที่มา FB

Pai Deetes

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

สถานการณ์ในวันนี็ : ทั้ง 'กอดคอ' ทั้ง 'ดูดดะ' ก็ยังเห็นทีจะ 'ขายไม่ออก' สามหมู่บ้านขอคืนงบฯ ไทยนิยมยั่งยืน

วันจันทร์, กรกฎาคม 23, 2561

ทั้ง 'กอดคอ' ทั้ง 'ดูดดะ' ก็ยังเห็นทีจะ 'ขายไม่ออก' สามหมู่บ้านขอคืนงบฯ ไทยนิยมยั่งยืน


มันใช้เวลาไม่นานพฤติการณ์แห่งนิสัยซ้ำซาก (ส.ด.) ก็ปรากฏ ปฏิเสธอยู่หลัดๆ ว่ามาเริ่มตั้งพรรคนี้เพื่อมวลมหาประชาชนจะได้มีส่วนร่วมทางการเมืองกันอีก ตนเองไม่ขอรับตำแหน่งบริหารใดๆ และจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งด้วยซ้ำไป

แต่การกระทำก็คือผู้บงการหัวหน้าพรรค กับเจ้าของพรรคตัวจริง

คำพูดก็อย่าง การกระทำอีกอย่าง ใครจะว่าตระบัดสัตย์ ตอแหล หรือแค่วาทกรรม ไม่สำคัญ แต่การลงพื้นที่อีสานย่านทุ่งกุลาร้องไห้ของสุเทือกกับ (ลูก) น้องๆ นั่นก็คือปูพื้นหาฐานคะแนนเสียงสำหรับการเลือกตั้ง และร่วมจัดตั้งรัฐบาลที่หวังไว้ในปีหน้า

พรรค รปช. หรือ รวมพลังประชาชาติไทยที่ สุเทพ เทือกสุบรรณ เคยพูดไว้ตอนเริ่มก่อตั้งว่าเพื่อสนับสนุนให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เป็นนายกรัฐมนตรี (แบบ คนนอก) เพื่อที่คณะยึดอำนาจได้ครองเมืองต่ออีกสี่ซ้าห้าปีหลังจากมีการเลือกตั้ง

แต่เดี๋ยวนี้เห็นทีจะเปลี่ยนแผนมาเป็นนายกฯ คนในแทน เมื่อสามแกนนำ สุเทือก-เอนก-ยะใส ไปอุ้มสมขอ กอดคอ ต่อสู้เคียงข้างกัน’ กับชาวบุรีรัมย์ สุรินทร์ และร้อยเอ็ด ที่เพจ ติ่งการเมือง เก็บภาพมาลงไว้ แล้ว Thanapol Eawsakul เอาไปแซวว่า
 
“แค่ผ้าขาวม้าก็วัดเรทติ้งแล้วว่า ใครคือตัวจริง ใครคือตัวประกอบ จากซ้ายไปขวา ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ (ลำปาง) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ (สุราษฎร์ธานี) ดร.สุริยะใส กตะศิลา (ศรีสะเกษ)”

ไม่รู้ว่าพรรคของสุเทือก-เอนก-ยะใส จะ ฟังเสียงประชาชน’ และ “ฟังประชาชน ประชาชนเป็นคนคิด นักการเมืองเป็นคนทำให้สำเร็จตามเจตนารมณ์ของประชาชน” โดยไม่อ้าง มวลมหา ได้แค่ไหนอย่างที่สร้างสโลแกนขึ้นใหม่ใช้หาเสียง

นั่นเป็นแผนการณ์สองง่ามควบคู่ไปกับกิจกรรม ดูดดะ ของฝ่ายเทคโนแครทลิ่วล้อ คสช. ซึ่งอิงอ้างงบประมาณมหาศาลของรัฐสร้างโครงการมเหาฬาร ไว้เป็นผลงานต่อเนื่องครองเมืองสมัยหน้า แล้วขนานนามตนเองให้ดูดีว่าพรรคพลังประชารัฐ ภายใต้การจัดตั้งของ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์

พรรคนี้เป็นอดีตนักการเมืองที่กระโดดหนีตีจาก เมื่อ ระบอบทักษิณ พ่ายแพ้ เรียกพวกตนเองว่า สามมิตร นอกจากสมคิดแล้วก็มี สมศักดิ์ เทพสุทิน แห่งกลุ่มมฌิมา และสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นหัวหอกปฏิบัติการสร้างฐานหัวคะแนนจากการดูด

ซึ่งดูเหมือนจะดูดออกก็แต่อาจมที่อยู่บนๆ ต้นท่อ แต่ดูดไม่ได้ไม่ถึงส่วนที่ตกผลึกย่อยสลายกลายเป็นเนื้อนาดินไปแล้ว ดังกรณีอดีต ส.ส.อำนาจเจริญ พรรคเพื่อไทย สมหญิง บัวบุตร ผู้เปิดโปงว่า “ที่ผ่านมามีคนติดต่อทาบทามให้ย้ายไปอยู่พรรคใหญ่ ๒ พรรค เพื่อแลกกับคดีความ ถ้าหากย้ายไปก็จะไม่มีคดีติดตัว”

รายนี้เป็นประธานสตรีจังหวัดอำนาจเจริญ พูดพาดพิงในโอกาสการลงพื้นที่ของประยุทธ์และคณะ “ไปดูงานและพบปะประชาชนที่ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ บ้านหนองเม็ก ต.นาแต้ อ.เมืองอำนาจเจริญ จ.อำนาจเจริญ” ว่าจะไม่ไปต้อนรับคณะของประยุทธ์อย่างแน่นอน

“ตนมีความเชื่อมั่นในพรรคเพื่อไทยไม่เสื่อมคลาย และมีจุดยืนยืนชัดเจนที่จะอยู่กับพรรคเพื่อไทยต่อไป” จึงได้ “ปฏิเสธและกล่าวขอบคุณที่หวังดี” ต่อการทาบทามนั้น และถึงแม้ “บางคนอาจไม่ใช่เสื้อแดงจริง ถ้าเสื้อแดงแท้ จะมีอุดมการณ์รักประชาธิปไตยอย่างเหนียวแน่น”


ขณะที่แผนการณ์ พลังประชารัฐ’ ก็ชักจะขายไม่ออกเหมือนกัน อย่างน้อยๆ ในมิติของ โครงการไทยนิยมยั่งยืน’ ที่มุ่งสร้างฐานเสียงจากนโยบายที่ตั้งชื่อไว้โคตรนาฏกรรมว่า ท่องเที่ยวชุมชน โอท้อปนวัตวิถี

ในเมื่อมี ๓ หมู่บ้านของจังหวัดพิษณุโลกประกาศขอคืนงบประมาณ ๒.๘ ล้านบาทกลับเข้าคลัง เพราะว่าโครงการที่รัฐบาล คสช.ยัดให้ “ไม่ตรงกับความต้องการของชาวบ้าน” เนื่องจากมีแต่การ อบรมสัมมนาและฝึกพัฒนาอันเป็นนามธรรม แทนที่จะให้ รูปธรรม’ ซึ่งจำเป็น

เรื่องนี้พวกผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน ๓ หมู่บ้าน ประชากรรวมกันราว ๔ พันคน ประชุมกันแล้วเห็นพ้องว่าขอไม่เอาดีกว่า ในเมื่อสิ่งที่ต้องการเป็น คือ หนึ่ง สร้างศูนย์การเรียนรู้ศาสตร์ของพระราชา สอง ต้องการให้ทำการปรับปรุงถนน

“เพียงซื้อหินคลุกไปพัฒนาตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เพื่อรับนักท่องเที่ยวทั้งหน้าฝนและหน้าแล้งให้ได้” และสาม “สร้างห้องน้ำห้องส้วมตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ อาทิ เนินสองเต้าและแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ” เท่านั้นพอ ยังไม่ต้องอบรมอะไร


ไหมล่ะ นโยบายลอกเขามา แผนงานสักแต่ว่า ลงไป ทำได้ไม่ได้แค่ไหนไม่รู้ให้เห็น นามธรรม’ เอางบฯ ออกมาก่อน ตามหลักวิชาการสำนัก จปร. เหมือนตอนซื้อเรือเหาะ ซื้อแท่งตรวจระเบิด

แล้วกำลังเตรียมการซื้อเรือดำน้ำ ซื้อดาวเทียมไว้สอดแนม (จะได้รู้ล่วงหน้าว่าแม้วดอดไปซื้อกางเกงยีนลดครึ่งราคาร้านไหน หรือไปกินไอติมคลายร้อนที่ประเทศใด มั้ง)