วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2562

“การเรียกร้องค่าเสียหายเหมืองทองคำคืบหน้า”

..






“การเรียกร้องค่าเสียหายเหมืองทองคำคืบหน้า”

ผู้ที่อ่านเพจนี้ย่อมทราบว่า ผมเคยโพสต์ความเห็นต่อต้านการทำเหมืองทองคำในไทยหลายครั้ง

สายแร่ทองในไทยมีลักษณะตื้น ที่ครอบคลุมหน้าดินเป็นบริเวณพื้นที่กว้างมาก ผิดกับเหมืองในหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย ที่อยู่ลึก หน้าเหมืองแคบนิดเดียว

สภาพเช่นนี้ ถึงแม้เหมืองจะพยายามป้องกันอย่างไรก็ตาม การเปิดหน้าดินกว้างย่อมมีสารปนเปื้อนหลุดออกมาได้ ไม่ว่าโดยสายลม หรือสายฝน

แต่ปัญหาใหญ่สุดของไทยก็คือสถานที่ตั้งของเหมือง

เนื่องจากเหมืองทองคำมีการใช้สารเคมีอันตรายหลายตัว โดยเฉพาะสารไซยาไนด์ ซึ่งเป็นยาพิษตรงๆ การที่เหมืองในประเทศอื่นหลบอยู่ตามภูเขาลึก หรืออยู่ในทะเลทราย ก็อาจจะมีความเสี่ยงต่ำ

แต่เหมืองชาตรีนั้น ตั้งอยู่กลางพื้นที่เกษตรกรรม และมีชุมชนล้อมรอบจำนวนมาก จึงมีความเสี่ยงการเจ็บป่วย และจะกระทบภาพพจน์แหล่งอาหารปลอดภัยของไทยในที่สุด

ดังนั้น การที่หัวหน้า คสช. ใช้อำนาจ ม. 44 ระงับเหมืองดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่เหมาะสมแล้ว ถึงแม้บริษัทคิงส์เกทจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่อคณะอนุญาโตตุลาการก็ตาม

โอกาสที่ไทยจะชนะคดีก็มีอยู่มาก โดยรัฐบาลจะต้องประสานงานทุกกระทรวงเพื่อรวบรวมหลักฐานการดำเนินงานโดยบริษัทที่เป็นอันตราย ไม่ว่าโดยเจตนา หรือโดยไม่มีเจตนา

แต่ล่าสุดมีนักกฎหมายวิเคราะห์ว่า การที่ กกต. และผู้ตรวจการแผ่นดินวินิจฉัยว่า พล.อ.ประยุทธ์ในฐานะหัวหน้า คสช. ไม่เป็น ‘เจ้าหน้าที่รัฐ’ นั้น อาจจะเป็นการเปิดประเด็นที่ทำให้ไทยเสียเปรียบ

พูดง่ายๆ คู่ต่อสู้อาจจะยกว่า การที่หัวหน้า คสช. ไม่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐนั้น อาจจะเข้าข่ายเป็นการรอนสิทธิของบริษัทคิงส์เกทที่มิชอบ

อันที่จริง ก่อนสมัครเป็นแคนดิเดท ถ้าหากพล.อ.ประยุทธ์จะได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้า คสช. ปล่อยให้คนอื่นหรือรุ่นน้องเป็นแทน ก็จะไม่มีปัญหานี้

นักกฎหมายวิจารณ์ต่อไปอีกด้วยว่า ถ้าหากไทยแพ้คดี สมมุติต้องจ่ายบริษัทคิงส์เกท 3 หมื่นล้านบาท ถ้าหากพล.อ.ประยุทธ์มีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ รัฐก็ต้องรับค่าเสียหายนี้ไว้เอง

แต่การที่พล.อ.ประยุทธ์ไม่มีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ รัฐก็อาจจะต้องเรียกให้พล.อ.ประยุทธ์ต้องรับผิดชอบตรงนี้เป็นการส่วนตัว

ล่าสุด เมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2562 บริษัทคิงส์เกทได้แถลงข่าวว่า ได้บรรลุข้อตกลงกับบริษัทประกันภัยแล้ว เป็นเงิน 1,850 ล้านบาท ซึ่งจะใช้ชดเชยความเสียหายบางส่วนที่บริษัทต้องหาทางเรียกจากรัฐบาลไทย (ดูรูป)

ทั้งนี้ ทั้งบริษัทคิงส์เกทกับบริษัทประกันภัย จะร่วมกันรับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีในอนุญาโตตุลาการ และเมื่อเรียกเงินได้จากรัฐบาลไทย บริษัทคิงส์เกทก็จะแบ่งให้บริษัทประกันภัยบางส่วน

ดังนั้น เหตุการณ์ล่าสุดแสดงถึงความเสี่ยงจากการตีความสถานะของหัวหน้า คสช. อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนมากขึ้นแล้ว

ผมเองไม่ใช่นักกฎหมาย แต่เห็นเป็นเรื่องสำคัญจึงนำมาเผยแพร่ เพื่อผู้อ่านที่มีความรู้จะได้เสนอแนะเพื่อช่วยรัฐป้องกันความเสี่ยง

อนึ่ง สำหรับท่านผู้อ่านที่เห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์มีความเสี่ยงจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าเสียหายเอง แล้วคิดว่าค่าเสียหายนี้จะไม่เป็นภาระของประชาชน นั้น

ขอเรียนว่า ถ้าแพ้คดี รัฐบาลไทยจะต้องเป็นผู้จ่ายค่าเสียหายไปก่อน ส่วนจะเรียกเอาจากพล.อ.ประยุทธ์นั้น ก็คงได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ที่เหลือก็จะเป็นภาระการคลังของประเทศอยู่ดี

ขอขอบคุณข้อมูล : 


Thirachai Phuvanatnaranubala - - ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล

วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2562

แม่น้ำสยามบนแผนที่ฝรั่งเศส

แม่น้ำสยามบนแผนที่ฝรั่งเศส


 
แผนที่ฝรั่งเศส จาก Librairie Armand Colin แห่งนครปารีส ได้แสดงภูมิสัณฐานรัฐอาณานิคมอินโดจีน (France Indochine) และอาณาจักรสยามได้อย่างน่าประหลาดใจ โดยเฉพาะแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาอย่างน้ำงึม และเซบั้งไฟ หรือทะเลสาบเขมร (โตนเลสาบ) ซึ่งแสดงที่ลุ่มต่ำน้ำท่วมถึงในเขตข้างเคียง
กระนั้น สิ่งที่น่าฉงนที่สุด ได้แก่ การขานชื่อแม่น้ำสายหลักในแผ่นดินสยาม ซึ่งไม่ปรากฏใช้คำว่า 'แม่น้ำเจ้าพระยา' แต่ระบุแทนด้วยคำว่า 'แม่น้ำ' หรือ 'Me Nam' ซึ่งเป็นคำเรียกแนวแม่น้ำเจ้าพระยาตามคนสยามโบราณ
พร้อมกันนั้น แนวแม่น้ำที่กล่าวมายังทอดตัวเหยียดยาวตั้งแต่ลำแม่น้ำเจ้าพระยา (ในปัจจุบัน) ตรงปลายอ่าวไทยไปจนถึงต้นแม่น้ำน่านเขตเขาหลวงพระบางติดชายแดนลาว ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่านักทำแผนที่ฝรั่งเศสได้ยึดเอาแม่น้ำน่านเป็นแกนกลางในการสำรวจโดยวาดแควสายรอง เช่น แม่น้ำยม หรือแควสายหลัก เช่น แม่น้ำปิง เป็นเพียงลำน้ำที่ไหลสบมายังตัวแม่น้ำ หากแต่มิได้เป็นสายเดียวหรือเป็นส่วนควบเดียวกันกับแม่น้ำเจ้าพระยา (เหมือนดั่งแม่น้ำน่าน) ซึ่งทั้งนี้คงเป็นเพราะสนามสำรวจลุ่มน้ำน่าน อาจอยู่ใกล้เส้นทางรถไฟสายเหนือหรือแนวอาณานิคมฝรั่งเศสมากที่สุด พร้อมมีการเชื่อมโยงการค้าและยุทธศาสตร์กับลุ่มน้ำโขง โดยเฉพาะ เมืองน่าน เมืองตรอน เมืองพิชัย และเมืองพิษณุโลก เป็นอาทิ
นอกจากนั้น ช่างวาดแผนที่ยังได้ระบุนามลำน้ำต่างๆ ในสยาม โดยใช้คำนำหน้าแตกต่างกันออกไป เช่น เรียก 'แม่น้ำมูล' ว่า 'น้ำมูล/Nam Moun' แต่เรียก 'แม่น้ำชี' ว่า 'ลำน้ำชี/Lam Nam Si' เรียก 'แม่น้ำป่าสัก' ว่า 'น้ำสัก/Nam Sak' เรียก 'แม่น้ำแม่กลอง' ว่า 'แม่กลอง/Me Klang' และเรียก 'แม่น้ำท่าจีน' ว่า 'Tachin R.' ซึ่งถือเป็นการกำหนดนามที่อาจผันแปรตามนิรุกติศาสตร์ท้องถิ่นหรือความรับรู้ของช่างสำรวจเกี่ยวกับความโดดเด่นหรือรูปสัณฐานของลำน้ำแต่ละสาย
สำหรับรายละเอียดต้นฉบับและที่มาของชุดแผนที่ โปรดดู
INDO-CHINE Française et MADAGASCAR collection de cartes murales .
Cambodge, Cochinchine,Thaïlande,Vietnam, Laos, Birmanie, Tonkin, Hanoï,Mékong, Bangkok...
Librairie Armand Colin, Paris 103 Boulevard St Michel par Paul Vidal De La Blache professeur à la faculté des Lettres de l'Université de Paris.

ขอขอบคุณข้อมูล : ดุลยภาค ปรีชารัชช

วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2562

ประเทศไทยสงบแบบไหนภายใต้คสช.

เลือกความสงบจบที่ลุงตู่ ? 


ประเทศไทยสงบแบบไหนภายใต้คสช.
.
ช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง ผู้สมัคร ส.ส.กทม. พลังประชารัฐ ได้ปรับเปลี่ยนป้ายหาเสียงของตัวเอง ที่เป็นภาพถ่ายคู่กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ด้วยการแปะสติกเกอร์ข้อความ “เลือกความสงบ จบที่ลุงตู่”
.
โดยทีมประชาสัมพันธ์พรรคพลังประชารัฐ ระบุว่า เพื่อตอกย้ำนโยบายความสงบที่นำเสนอต่อประชาชน เพราะเชื่อว่า หากประเทศสงบนโยบายอื่นๆก็จะสามารถขับเคลื่อนไปได้ โดยเฉพาะเศรษฐกิจ และบุคคลที่สามารถทำได้ในช่วงเปลี่ยนผ่านในขณะนี้ คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. ควบตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
.
อย่างไรก็ดี ภายใต้สโลแกนนี้ ทำให้เกิดคำถามต่อว่า เกือบห้าปีที่ผ่านมา ประเทศไทยอยู่ใน 'ความสงบ' แบบไหนภายใต้คสช. มันจะเป็นความสงบที่ผู้คนอยู่รวมกันอย่างสันติสุข หรือเป็นความสงบที่เกิดจากการกดปราบผู้เห็นต่างหรือผู้ที่ต้องการประท้วงการบริหารงานของคสช.





หลังรัฐประหาร คสช. ออกคำสั่งเรียกบุคคลมารายงานตัวใน 'ค่ายทหาร' อย่างน้อย 34 ฉบับ.
หลังการยึดอำนาจของคสช. เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 บรรยากาศทางการเมืองที่มีความขัดแย้งสูงและมีการชุมนุมขนาดใหญ่ต่อเนื่องยาวนานดูเหมือนจะเงียงสงบลงภายใต้การประกาศกฎอัยการศึกและการออกคำสั่งเรียกบุคคลไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง นักเคลื่อนไหว แกนนำ สื่อ เข้าไปพบใน 'ค่ายทหาร'
.
นับตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม จนถึงต้นเดือนมิถุนายน 2557 คสช. ออกประกาศคำสั่งเรื่องให้บุคคลมารายงานตัวผ่านทางโทรทัศน์ อย่างน้อย 34 ฉบับ โดยให้ไปรายงานตัวที่หอประชุมกองทัพบกเทเวศน์ หลังจากเข้ารายงานตัว บุคคลที่ถูกควบคุมตัวต่อจะถูกนำตัวขึ้นรถตู้ที่ปิดทึบไปยังสถานที่ควบคุมตัวต่างๆ กัน เช่น ค่ายทหารในจังหวัดราชบุรีหรืออยุธยา เป็นต้น



หลังการยึดอำนาจ คสช. ใช้วิธีการควบคุมการเคลื่อนไหวของประชาชนในหลายรูปแบบ เช่น การไปหาที่บ้านโดยอ้างว่ามาเยี่ยม หรือการเรียกไปพบนอกสถานที่ นอกจากนี้ ยังมีไม้แข็งคือ เข้าควบคุมตัวบุคคลในที่พักอาศัย ที่ผ่านมา นับจนถึงวันที่ 21 มีนาคม 2562 มีคนถูกเจ้าหน้าที่ไปหาที่บ้าน เรียกไปพบ หรือ ควบคุมตัว อย่างน้อย 1,349 คน



หลังการรัฐประหาร คสช. ใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก ซึ่งประกาศใช้ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2557 ให้ทหารมีอำนาจจับกุมบุคคลโดยไม่ต้องมีหมายศาล สามารถเข้าจับกุมได้แม้ในที่รโหฐาน ในเวลาใดก็ได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น สามารถควบคุมตัวบุคคลได้ 7 วัน โดยไม่ต้องมีเหตุผล ไม่ต้องเปิดเผยสถานที่ควบคุมตัว ไม่มีสิทธิติดต่อญาติ ไม่มีสิทธิพบทนายความ

ต่อมา แม้ว่ามีการยกเลิกกฎอัยการศึก แต่ก็มีคำสั่งหวัหน้าคสช. ฉบบั ที่ 3/2558 ที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารในลักษณะเดียวกันกับกฎอัยการศึก โดยให้ทหารมีอำนาจเรียกบุคคลมาสอบถาม จับกุม เข้าร่วมการสอบสวน ค้นเคหสถาน ยึดทรัพย์สิน และอ านาจพิเศษที่มี คือ สามารถควบคุมตัวบุคคลไว้ได้ไม่เกิน 7 วัน ในสถานที่ปิดลับโดยไม่ต้องแจ้งข้อกล่าวหา



นับตั้งแต่หลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา สถานการณ์สิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะเสรีภาพในการแสดงออกมีแนวโน้มย่ำแย่ เนื่องจากคสช. พยายามควบคุมการแสดงออกของประชาชนในหลายรูปแบบ ได้แก่ การห้ามชุมนุมทางการเมือง และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของคสช
.
ที่ผ่านมา คสช. ออกประกาจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกอย่างน้อย 8 ฉบับ ได้แก่ ประกาศ คสช. ที่ 7/2557 เรื่องห้ามชุมนุมและมั่วสุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คน ขึ้นไป นอกจากนี้ยังออกประกาศอีกอย่างน้อย 5 ฉบับ เพื่อกำหนดความผิดสำหรับคนที่ไม่ยอมไปรายงานตัวกับคสช. หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการปล่อยตัว ส่วนประกาศอีก 2 ฉบับสุดท้าย เป็นเรื่องการกำหนดความผิดสำหรับผู้ที่ 'สนับสนุน' การชุมนุมทางการเมือง รวมถึงห้ามพรรคการเมืองประชุมหรือทำกิจกรรมทางการเมือง
.
นอกจากนี้ คสช. ยังมีคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 3/2558 ในข้อที่ 12 ที่ห้ามประชาชนชุมนุมหรือมั่วสุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป เช่นเดียวกับ ประกาศ คสช. ที่ 7/2557



นับตั้งแต่หลังการรัฐประหารเป็นต้นมา มีผู้ถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนคำสั่งห้ามชุมนุมอย่างน้อย 421 คน โดยช่วงแรกบรรดาผู้ต้องหาคือผู้ที่ออกไปทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์เพื่อแสดงออกว่าต่อต้านการรัฐประหาร ต่อมาการบังคับใช้กฎหมายถูกขยายตัวขึ้น เช่น การจัดกิจกรรมในที่สาธารณะ การรวมตัวกันอ่านแถลงการณ์ของอาจารย์มหาวิทยาลัย รวมถึงการจัดแถลงข่าวเปิดตัวศูนย์ปราบโกงประชามติที่ห้างอิมพีเรียล ลาดพร้าว ของกลุ่ม นปช.



แม้ว่า วันที่ 11 ธันวาคม 2561 หัวหน้าคสช. จะออกคำสั่ง ที่ 22/2561 เรื่องการให้ประชาชนและพรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมทางการเมือง โดยให้ยกเลิกคำสั่ง คสช. 9 ฉบับ เช่น คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3 /2558 ที่ห้ามชุมนุมหรือมั่วสุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
.
แต่ทว่า คสช. ก็ยังมีเครื่องมืออื่นๆ ในการควบคุมการแสดงออกของประชาชน เช่น พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ โดยกฎหมายฉบับนี้ กำหนดเงื่อนไขว่า ผู้จัดการชุมนุมสาธารณะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ให้ทราบล่วงหน้า 24 ชั่วโมง ก่อนการชุมนุม ทั้งยังกำหนดพื้นที่ต้องห้ามและข้อควรระวังระหว่างการชุมนุม มิเช่นนั้นจะถือว่า เป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเจ้าหน้าที่สามารถเข้าสลายพร้อมทั้งจับกุมดำเนินคดีได้ทันที

ที่ผ่านมามีหลายกรณีที่ประชาชนพยายามจะใช้สิทธิตามกฎหมาย แต่ก็ถูกเจ้าหน้าที่เข้ามาแทรกแซงการชุมนุม รวมถึงถ้าไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ก็มีสิทธิถูกเจ้าหน้าที่รวบรัดขั้นตอนเพื่อจับกุมและตั้งข้อหา





แม้ว่า วันที่ 11 ธันวาคม 2561 หัวหน้าคสช. จะออกคำสั่ง ที่ 22/2561 เรื่องการให้ประชาชนและพรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมทางการเมือง โดยให้ยกเลิกคำสั่ง คสช. 9 ฉบับ เช่น คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3 /2558 ที่ห้ามชุมนุมหรือมั่วสุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
.
แต่ทว่า คสช. ก็ยังมีเครื่องมืออื่นๆ ในการควบคุมการแสดงออกของประชาชน เช่น พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ โดยกฎหมายฉบับนี้ กำหนดเงื่อนไขว่า ผู้จัดการชุมนุมสาธารณะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ให้ทราบล่วงหน้า 24 ชั่วโมง ก่อนการชุมนุม ทั้งยังกำหนดพื้นที่ต้องห้ามและข้อควรระวังระหว่างการชุมนุม มิเช่นนั้นจะถือว่า เป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเจ้าหน้าที่สามารถเข้าสลายพร้อมทั้งจับกุมดำเนินคดีได้ทันที

ที่ผ่านมามีหลายกรณีที่ประชาชนพยายามจะใช้สิทธิตามกฎหมาย แต่ก็ถูกเจ้าหน้าที่เข้ามาแทรกแซงการชุมนุม รวมถึงถ้าไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ก็มีสิทธิถูกเจ้าหน้าที่รวบรัดขั้นตอนเพื่อจับกุมและตั้งข้อหา



ในวันที่ 24 มีนาคม 2562 เป็นวันที่จะมีการเลือกตั้งทั่วประเทศ เป็นวันที่ประชาชนจะได้ใช้ 'หนึ่งสิทธิหนึ่งเสียง' ของตน เลือกพรรคการเมืองที่มีนโยบายตรงกับความชอบของตัวเองหรือมีอุดมการณ์สอดคล้องกับอุดมการณ์ของตัวเอง เพื่อกำหนดอนาคตของประเทศว่าจะไปไหนทิศทางไหน ท่านสามารถตัดสินใจได้ว่าอยากได้ 'ความสงบ' แบบไหน ที่คูหาเลือกตั้ง

ที่มา FB

iLaw