ประเทศไทยสงบแบบไหนภายใต้คสช.
.
ช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง ผู้สมัคร ส.ส.กทม. พลังประชารัฐ ได้ปรับเปลี่ยนป้ายหาเสียงของตัวเอง ที่เป็นภาพถ่ายคู่กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ด้วยการแปะสติกเกอร์ข้อความ “เลือกความสงบ จบที่ลุงตู่”
.
โดยทีมประชาสัมพันธ์พรรคพลังประชารัฐ ระบุว่า เพื่อตอกย้ำนโยบายความสงบที่นำเสนอต่อประชาชน เพราะเชื่อว่า หากประเทศสงบนโยบายอื่นๆก็จะสามารถขับเคลื่อนไปได้ โดยเฉพาะเศรษฐกิจ และบุคคลที่สามารถทำได้ในช่วงเปลี่ยนผ่านในขณะนี้ คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. ควบตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
.
อย่างไรก็ดี ภายใต้สโลแกนนี้ ทำให้เกิดคำถามต่อว่า เกือบห้าปีที่ผ่านมา ประเทศไทยอยู่ใน 'ความสงบ' แบบไหนภายใต้คสช. มันจะเป็นความสงบที่ผู้คนอยู่รวมกันอย่างสันติสุข หรือเป็นความสงบที่เกิดจากการกดปราบผู้เห็นต่างหรือผู้ที่ต้องการประท้วงการบริหารงานของคสช.
หลังรัฐประหาร คสช. ออกคำสั่งเรียกบุคคลมารายงานตัวใน 'ค่ายทหาร' อย่างน้อย 34 ฉบับ.
หลังการยึดอำนาจของคสช. เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 บรรยากาศทางการเมืองที่มีความขัดแย้งสูงและมีการชุมนุมขนาดใหญ่ต่อเนื่องยาวนานดูเหมือนจะเงียงสงบลงภายใต้การประกาศกฎอัยการศึกและการออกคำสั่งเรียกบุคคลไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง นักเคลื่อนไหว แกนนำ สื่อ เข้าไปพบใน 'ค่ายทหาร'
.
นับตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม จนถึงต้นเดือนมิถุนายน 2557 คสช. ออกประกาศคำสั่งเรื่องให้บุคคลมารายงานตัวผ่านทางโทรทัศน์ อย่างน้อย 34 ฉบับ โดยให้ไปรายงานตัวที่หอประชุมกองทัพบกเทเวศน์ หลังจากเข้ารายงานตัว บุคคลที่ถูกควบคุมตัวต่อจะถูกนำตัวขึ้นรถตู้ที่ปิดทึบไปยังสถานที่ควบคุมตัวต่างๆ กัน เช่น ค่ายทหารในจังหวัดราชบุรีหรืออยุธยา เป็นต้น
หลังการยึดอำนาจ คสช. ใช้วิธีการควบคุมการเคลื่อนไหวของประชาชนในหลายรูปแบบ เช่น การไปหาที่บ้านโดยอ้างว่ามาเยี่ยม หรือการเรียกไปพบนอกสถานที่ นอกจากนี้ ยังมีไม้แข็งคือ เข้าควบคุมตัวบุคคลในที่พักอาศัย ที่ผ่านมา นับจนถึงวันที่ 21 มีนาคม 2562 มีคนถูกเจ้าหน้าที่ไปหาที่บ้าน เรียกไปพบ หรือ ควบคุมตัว อย่างน้อย 1,349 คน
หลังการรัฐประหาร คสช. ใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก ซึ่งประกาศใช้ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2557 ให้ทหารมีอำนาจจับกุมบุคคลโดยไม่ต้องมีหมายศาล สามารถเข้าจับกุมได้แม้ในที่รโหฐาน ในเวลาใดก็ได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น สามารถควบคุมตัวบุคคลได้ 7 วัน โดยไม่ต้องมีเหตุผล ไม่ต้องเปิดเผยสถานที่ควบคุมตัว ไม่มีสิทธิติดต่อญาติ ไม่มีสิทธิพบทนายความ
ต่อมา แม้ว่ามีการยกเลิกกฎอัยการศึก แต่ก็มีคำสั่งหวัหน้าคสช. ฉบบั ที่ 3/2558 ที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารในลักษณะเดียวกันกับกฎอัยการศึก โดยให้ทหารมีอำนาจเรียกบุคคลมาสอบถาม จับกุม เข้าร่วมการสอบสวน ค้นเคหสถาน ยึดทรัพย์สิน และอ านาจพิเศษที่มี คือ สามารถควบคุมตัวบุคคลไว้ได้ไม่เกิน 7 วัน ในสถานที่ปิดลับโดยไม่ต้องแจ้งข้อกล่าวหา
นับตั้งแต่หลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา สถานการณ์สิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะเสรีภาพในการแสดงออกมีแนวโน้มย่ำแย่ เนื่องจากคสช. พยายามควบคุมการแสดงออกของประชาชนในหลายรูปแบบ ได้แก่ การห้ามชุมนุมทางการเมือง และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของคสช
.
ที่ผ่านมา คสช. ออกประกาจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกอย่างน้อย 8 ฉบับ ได้แก่ ประกาศ คสช. ที่ 7/2557 เรื่องห้ามชุมนุมและมั่วสุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คน ขึ้นไป นอกจากนี้ยังออกประกาศอีกอย่างน้อย 5 ฉบับ เพื่อกำหนดความผิดสำหรับคนที่ไม่ยอมไปรายงานตัวกับคสช. หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการปล่อยตัว ส่วนประกาศอีก 2 ฉบับสุดท้าย เป็นเรื่องการกำหนดความผิดสำหรับผู้ที่ 'สนับสนุน' การชุมนุมทางการเมือง รวมถึงห้ามพรรคการเมืองประชุมหรือทำกิจกรรมทางการเมือง
.
นอกจากนี้ คสช. ยังมีคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 3/2558 ในข้อที่ 12 ที่ห้ามประชาชนชุมนุมหรือมั่วสุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป เช่นเดียวกับ ประกาศ คสช. ที่ 7/2557
นับตั้งแต่หลังการรัฐประหารเป็นต้นมา มีผู้ถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนคำสั่งห้ามชุมนุมอย่างน้อย 421 คน โดยช่วงแรกบรรดาผู้ต้องหาคือผู้ที่ออกไปทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์เพื่อแสดงออกว่าต่อต้านการรัฐประหาร ต่อมาการบังคับใช้กฎหมายถูกขยายตัวขึ้น เช่น การจัดกิจกรรมในที่สาธารณะ การรวมตัวกันอ่านแถลงการณ์ของอาจารย์มหาวิทยาลัย รวมถึงการจัดแถลงข่าวเปิดตัวศูนย์ปราบโกงประชามติที่ห้างอิมพีเรียล ลาดพร้าว ของกลุ่ม นปช.
แม้ว่า วันที่ 11 ธันวาคม 2561 หัวหน้าคสช. จะออกคำสั่ง ที่ 22/2561 เรื่องการให้ประชาชนและพรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมทางการเมือง โดยให้ยกเลิกคำสั่ง คสช. 9 ฉบับ เช่น คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3 /2558 ที่ห้ามชุมนุมหรือมั่วสุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
.
แต่ทว่า คสช. ก็ยังมีเครื่องมืออื่นๆ ในการควบคุมการแสดงออกของประชาชน เช่น พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ โดยกฎหมายฉบับนี้ กำหนดเงื่อนไขว่า ผู้จัดการชุมนุมสาธารณะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ให้ทราบล่วงหน้า 24 ชั่วโมง ก่อนการชุมนุม ทั้งยังกำหนดพื้นที่ต้องห้ามและข้อควรระวังระหว่างการชุมนุม มิเช่นนั้นจะถือว่า เป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเจ้าหน้าที่สามารถเข้าสลายพร้อมทั้งจับกุมดำเนินคดีได้ทันที
.
ที่ผ่านมามีหลายกรณีที่ประชาชนพยายามจะใช้สิทธิตามกฎหมาย แต่ก็ถูกเจ้าหน้าที่เข้ามาแทรกแซงการชุมนุม รวมถึงถ้าไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ก็มีสิทธิถูกเจ้าหน้าที่รวบรัดขั้นตอนเพื่อจับกุมและตั้งข้อหา
แม้ว่า วันที่ 11 ธันวาคม 2561 หัวหน้าคสช. จะออกคำสั่ง ที่ 22/2561 เรื่องการให้ประชาชนและพรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมทางการเมือง โดยให้ยกเลิกคำสั่ง คสช. 9 ฉบับ เช่น คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3 /2558 ที่ห้ามชุมนุมหรือมั่วสุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
.
แต่ทว่า คสช. ก็ยังมีเครื่องมืออื่นๆ ในการควบคุมการแสดงออกของประชาชน เช่น พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ โดยกฎหมายฉบับนี้ กำหนดเงื่อนไขว่า ผู้จัดการชุมนุมสาธารณะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ให้ทราบล่วงหน้า 24 ชั่วโมง ก่อนการชุมนุม ทั้งยังกำหนดพื้นที่ต้องห้ามและข้อควรระวังระหว่างการชุมนุม มิเช่นนั้นจะถือว่า เป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเจ้าหน้าที่สามารถเข้าสลายพร้อมทั้งจับกุมดำเนินคดีได้ทันที
.
ที่ผ่านมามีหลายกรณีที่ประชาชนพยายามจะใช้สิทธิตามกฎหมาย แต่ก็ถูกเจ้าหน้าที่เข้ามาแทรกแซงการชุมนุม รวมถึงถ้าไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ก็มีสิทธิถูกเจ้าหน้าที่รวบรัดขั้นตอนเพื่อจับกุมและตั้งข้อหา
ในวันที่ 24 มีนาคม 2562 เป็นวันที่จะมีการเลือกตั้งทั่วประเทศ เป็นวันที่ประชาชนจะได้ใช้ 'หนึ่งสิทธิหนึ่งเสียง' ของตน เลือกพรรคการเมืองที่มีนโยบายตรงกับความชอบของตัวเองหรือมีอุดมการณ์สอดคล้องกับอุดมการณ์ของตัวเอง เพื่อกำหนดอนาคตของประเทศว่าจะไปไหนทิศทางไหน ท่านสามารถตัดสินใจได้ว่าอยากได้ 'ความสงบ' แบบไหน ที่คูหาเลือกตั้ง
ที่มา FB
iLaw
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น