วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563

Live : ศบค. แถลงสถานการณ์ ไวรัสโควิด-19 (วันที่ 1 เม.ย.63) | ThairathTV

�� [Live] 11.30 น. สธ.แถลงสถานการณ์โควิด-19 (1 เม.ย. 63)

เครือข่ายประธานกป.ปส.สืบต่อรปห.ฉุกเฉิน / รู้เขารู้เรา ตอนที่5.3

ชี้ชะตา...15 เมษายนนี้

ชี้ยอดสังเวยโควิดในจีนทะลุ 42,000 ศพ ชาวอู่ฮั่นเผยอัฐิส่งคืนญาติ 3,500 โถต่อวัน

ชี้ยอดสังเวยโควิดในจีนทะลุ - วันที่ 31 มี.ค. เดลีเมล์ รายงานกระแสถกเถียงบนโลกออกไลน์ หลังจากชาวเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ศูนย์กลางการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่ก่อให้เกิด โรคโควิด-19 ระบุเชื่อว่าจำนวนผู้เสียชีวิตเฉพาะในเมืองอู่ฮั่นน่าจะมีราวๆ 42,000 คน มากกว่ายอดผู้เสียชีวิตรวมทั่วโลกอย่างน้อย 37,140 คน และมากเป็น 10 เท่าของจำนวนผู้เสียชีวิต 3,308 คนที่รัฐบาลจีนรายงานอย่างเป็นทางการ
ชาวบ้านในเมืองอู่ฮั่นหลายคนให้สัมภาษณ์อ้างว่า โรงประกอบพิธีฌาปนกิจศพ 7 แห่งในเมืองอู่ฮั่นส่งโถบรรจุอัฐิของผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ให้กับครอบครัวและญาติราว 500 โถต่อวัน นั่นหมายความว่าใน 24 ชั่วโมง มีการส่งโถอัฐิมากถึง 3,500 โถ
ชี้ยอดสังเวยโควิดในจีนทะลุ
China's health commission has ordered swift cremations and no funerals for the coronavirus dead [Yuan Zheng/EPA]
ขณะที่โรงประกอบพิธีเผาศพในเขตฮั่นโข่ว อู่ชาง และฮั่นหยาง บอกกับครอบครัวผู้ตายด้วยโรคโควิด-19 ว่าจะได้รับเถ้ากระดูกก่อนวันที่ 5 เม.ย.นี้ ซึ่งตรงกับเทศกาลวันเชงเม้ง หรือวันไหว้บรรพบุรุษของชาวจีน และในช่วงวันไหว้ซึ่งจะกินเวลาราว 12 วัน หากโรงประกอบพิธีศพส่งอัฐิกลับมาให้ญาติผู้ป่วยโควิด-19 จะเท่ากับว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 42,000 คน ยังไม่นับรวมรายงานจากสื่อท้องถิ่นก่อนหน้านี้ที่ระบุว่า มีการส่งเถ้ากระดูกผู้เสียชีวิตจากไวรัสมรณะให้กับครอบครัวมากถึง 5,000 โถในช่วงเวลาเพียง 2 วัน
แม้ตอนนี้สถานการณ์ในมณฑลหูเป่ยจะดีขึ้นต่อเนื่อง และทางการเริ่มอนุญาตให้ผู้ที่ถือใบตรวจสุขภาพสีเขียว หรือไม่พบเชื้อโควิด-19 สามารถเดินทางข้ามมณฑลได้เมื่อ 25 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การปิดล้อมมณฑลเมื่อวันที่ 23 ม.ค. แต่ในเมืองอู่ฮั่นยังคงเฝ้าระวังเข้มงวดและยังบังคับใช้มาตรการควบคุมการเข้า-ออกเมืองไปจนถึงวันที่ 8 เม.ย.
ชี้ยอดสังเวยโควิดในจีนทะลุ
File Photo: Wuhan locals claim coronavirus has killed 42,000 people in the city alone, more than ten times the national figure claimed by Chinese authorities. Photo: AFP / Xinhua / Xiong Qi
นายจาง ชางเมืองอู่ฮั่น เปิดใจกับอาร์เอฟเอว่ายากที่จะเชื่อว่าจำนวนผู้เสียชีวิตของทางการ “มันไม่น่าจะถูกต้องนะ เพราะเตาเผาศพหลายแห่งทำงานตลอดทั้งวันทั้งคืน แล้วจะเป็นไปได้อย่างไรที่มีคนตายเพียงเท่านี้” นายเหมา ชาวบ้านอีกคนกล่าวว่าบางทีทางการอาจจะค่อยๆ เปิดเผยจำนวนผู้เสียชีวิตทีละน้อยจนถึงยอดผู้เสียชีวิตจริง เพราะต้องการให้ผู้คนค่อยๆ ทำใจและยอมรับกับความเป็นจริงอันเลวร้าย
ด้านแหล่งข่าวใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลมณฑลหูเป่ยเปิดเผยว่า มีชาวบ้านจำนวนมากเสียชีวิตอยู่ในบ้านพักโดยไม่ได้รับการชันสูตรศพอย่างเป็นทางการว่าเสียชีวิตด้วยโรคโควิด-19 หรือไม่ และว่าตัวเลขที่มีการคาดการถึงจำนวนผู้เสียชีวิตในประเทศนั้นไม่ได้สูงเวอร์เกินจริง เพราะในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมามีการเผาศพไปแล้วอย่างน้อย 28,000 ศพ
ชี้ยอดสังเวยโควิดในจีนทะลุ
Wuhan locals claim coronavirus has killed 42,000 people in the city alone, more than ten times the national figure claimed by Chinese authorities. Pictured: A worker in a pharmacy in Wuhan today. EPA
หมกเม็ด
Reuters reporter Brenda Goh receives a nucleic acid test for COVID-19 in Wuhan, Hubei province, the epicenter of China's coronavirus disease (COVID-19) outbreak, March 28, 2020. REUTERS/Aly Song
หมกเม็ด
Workers repair barriers, which have been built to block buildings from a street in Wuhan, Hubei province, the epicenter of China's coronavirus disease (COVID-19) outbreak. REUTERS/Aly Song
หมกเม็ด
People wearing face masks wait for a subway train on the first day the city's subway services resumed following the novel coronavirus disease (COVID-19) outbreak, in Wuhan of Hubei province. REUTERS/Aly Song
หมกเม็ด
File Photo: Patients wait to be transferred from Wuhan No. 5 Hospital to Leishenshan Hospital, the newly built hospital for COVID-19 coronavirus patients, in Wuhan. China, on March 3, 2020.AFP - Getty Images
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2563

การสถาปนาระบอบประชาธิปไตยของไทย (นโยบาย)

 

โปรแกรมสร้างการปกครองแบบประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน มีโครงสร้างย่อๆ ดังต่อไปนี้
การสถาปนาระบอบประชาธิปไตยของไทย ( ๑. ประชาธิปไตยด้านการเมือง การปกครอง)
ด้วยการปกครองของประเทศไทยที่ผ่านมาตลอดระยะเวลา 83 ปีหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ประเทศไทยมีรูปแบบการปกครองสลับกันอยู่ระหว่าง เผด็จการรัฐประหาร และเผด็จการรัฐสภา สิ่งที่แสดงออกชัดเจนก็คืออำนาจการปกครองเป็นของคนส่วนน้อยในสังคม อำนาจอธิปไตยไม่เป็นของประชาชน ดังเหตุดังกล่าวประเทศไทย การปกครองจึงเป็นระบอบเผด็จการ ดังนั้นจะทำให้การปกครองของประเทศไทย เป็นระบอบประชาธิปไตย จะต้องปฏิบัติการทุกสิ่งทุกอย่างอย่างอุกฤต ดังต่อไปนี้ให้ปรากฏเป็นจริงต่อประเทศไทยอันเป็นที่รักยิ่ง คือ
๑. สถาปนาระบอบประชาธิปไตยให้สำเร็จ
ระบอบประชาธิปไตย นอกจากจะเป็นความต้องการของประเทศชาติและประชาชนแล้ว ยังเป็นปัจจัยอันจำเป็นของการแก้ปัญหาทั้งปวงของชาติอีกด้วย จะต้องสร้างประชาธิปไตยให้สำเร็จจึงจะแก้ปัญหาการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม และปัญหาวัฒนธรรมให้ตกไปได้ ด้วยมาตรการต่อไปนี้
๑.๑ เทิดทูนและพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์
พระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติไทย และคู่กับชาติไทยมาแต่บรรพกาล แม้ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราช พระมหากษัตริย์ไทยก็ประกอบด้วยลักษณะประชาธิปไตยเป็นอันมากอยู่แล้ว ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของระบอบพระมหากษัตริย์ในประเทศไทย จึงเป็นการถูกต้องและจำเป็นอย่างยิ่งที่ระบอบประชาธิปไตยของไทยจะมีพระมหา กษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ ซึ่งเป็นอุปการคุณสำคัญที่สุดไม่เฉพาะแต่ในการสร้างระบอบประชาธิปไตยให้ สำเร็จเท่านั้น หากในการแก้ปัญหาพิเศษต่างๆ ซึ่งสถาบันอื่นไม่อาจแก้ปัญหาได้อีกด้วย และสถาบันพระมหากษัตริย์จะมั่นคงได้ก็ด้วยการปกครองแบบประชาธิปไต
๑.๒ การส่งเสริมความรู้ประชาธิปไตย
การที่จะสร้างระบอบประชาธิปไตยให้สำเร็จก็ดี การจะใช้ระบอบประชาธิปไตยแก้ปัญหาต่างๆ ของชาติก็ดีขึ้นอยู่กับความรู้ประชาธิปไตยที่ถูกต้อง ความล้มเหลวของระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยที่ผ่านมา เป็นเพราะขาดความรู้ประชาธิปไตยที่ถูกต้อง ฉะนั้น จะต้องส่งเสริมความรู้ประชาธิปไตยอย่างกว้างขวาง ทั้งในด้านทฤษฎีและด้านการประยุกต์ทฤษฎีกับสภาวการณ์ และลักษณะพิเศษของประเทศไทย
๑.๓ ทำให้อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
หัวใจของระบอบประชาธิปไตย คือ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน นัยหนึ่งคือ การปกครองโดยประชาชน เพื่อประชาชนและของประชาชน แต่ความเป็นจริงอำนาจอธิปไตยยังไม่เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง เพราะนโยบายของรัฐที่ผ่านมายังไม่สนองความต้องการของประเทศชาติและประชาชน อย่างแท้จริง ฉะนั้น จึงต้องปรับปรุงนโยบายของรัฐบาลทั้งนโยบายภายในประเทศและนโยบายต่างประเทศ ให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศชาติและประชาชน และปรับปรุงรัฐสภาให้ทำหน้าที่ของปวงชนอย่างแท้จริง
๑.๔ ทำให้บุคคลมีเสรีภาพบริบูรณ์
เสรีภาพบริบูรณ์ของบุคคลจะมีได้ก็แต่เฉพาะภายใต้อำนาจอธิปไตยของปวงชน เสรีภาพที่ไม่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของปวงชนนั้น ไม่ใช่เสรีภาพที่บริบูรณ์ ถ้าไม่เป็นเสรีภาพที่เกินขอบเขตแบบอนาธิปไตย ก็เป็นเสรีภาพที่จำกัดเกินควรแบบเผด็จการ และเสรีภาพบริบูรณ์ของบุคคลย่อมทำให้เกิดความรับผิดชอบแก่บุคคล ฉะนั้น เพื่อให้บังเกิดเสรีภาพชนิดนี้จะต้องทำให้รัฐบาลมีความเข้มแข็ง ในขณะเดียวกันก็ต้องยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่บั่นทอนเสรีภาพของ บุคคล
๑.๕ สร้างเสถียรภาพทางการเมืองให้มั่นคง
เสถียรภาพทางการเมืองเป็นปัจจัยอันจำเป็นของการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย และปัจจัยอันสำคัญที่สุดของเสถียรภาพทางการเมือง ก็คือ ความสนับสนุนของประชาชน และปัจจัยความสนับสนุนของประชาชน ก็คือ นโยบายที่ถูกต้อง และปฏิบัตินโยบายนั้นให้ได้ผลประจักษ์แก่ประชาชน ฉะนั้นนอกจากจะต้องปรับปรุงนโยบายให้ถูกต้องอย่างสมบูรณ์แล้ว ยังจะต้องแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยด้วย
๑.๖ สร้างระบบพรรคการเมืองให้เข้มแข็ง
พรรคการเมืองประชาธิปไตย คือ ผู้แทนทางการเมืองของประชาชนทำหน้าที่จรรโลงและพัฒนาระบอบประชาธิปไตย พรรคการเมืองที่เข้มแข็งจะต้องเป็นพรรคที่มีนโยบายสอดคล้องกับนโยบายแห่ง ชาติที่ถูกต้อง จะต้องมีการจัดตั้งองค์กรอย่างเป็นระบบและมีลักษณะเป็นพรรคมวลชน มิใช่เป็นเพียงพรรคสภาหรือพรรคนักการเมืองเท่านั้น ฉะนั้น จะต้องส่งเสริมให้การสร้างพรรคการเมืองชนิดนี้บรรลุผลสำเร็จ ซึ่งเงื่อนไขประการแรกคือ จะต้องยกเลิกกฎหมายพรรคการเมือง เพื่อให้ระบบพรรคการเมืองพัฒนาไปตามธรรมชาติ
๑.๗ ปรับปรุงระบบราชการให้เป็นประชาธิปไตย
ระบบราชการในประเทศไทย ยังเป็นปฏิปักษ์อย่างมากต่อระบอบประชาธิปไตย จึงยังไม่สามารถสนองความต้องการของระบอบประชาธิปไตยได้ การปรับปรุงระบบราชการให้เป็นประชาธิปไตย จึงเป็นปัจจัยที่จะขาดเสียมิได้ของการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย วิธีการปรุงก็คือ ประสานระบบราชการเข้ากับระบบพรรคการเมือง โดยให้ข้าราชการเข้าร่วมกิจการของพรรคการเมืองได้อย่างเสรี ซึ่งจะยังผลให้ข้าราชการได้มีจิตสำนึกทางการเมืองของตน และจิตสำนึกทางการเมืองนั้น จะทำให้ข้าราชการเป็นข้าราชการของประชาชนได้
๑.๘ ส่งเสริมกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ
กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ เป็นสิ่งแสดงออกของพลังมวลชนและเป็นพลังผลักดันทางการเมืองในการพัฒนาระบอบ ประชาธิปไตย แต่กลุ่มผลประโยชน์ย่อมมีความขัดแย้งกัน เพราะมีผลประโยชน์แตกต่างกัน ระบอบประชาธิปไตยย่อมแก้ไขความขัดแย้งด้วยการไม่ทำลายกัน แต่ด้วยการประสานประโยชน์ระหว่างกัน โดยการทำให้ผลประโยชน์ของแต่ละกลุ่มเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับผลประโยชน์ ของชาติ โดยนายทุน กรรมกร ชาวนา นักศึกษา ฯลฯ จะคำนึงถึงผลประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวไม่ได้ แต่จะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของฝ่ายอื่นด้วย โดยยึดถือผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก
๑.๙ ส่งเสริมสถาบันหนังสือพิมพ์และการแสดงประชามติประชาธิปไตย
สถาบันหนังสือพิมพ์ในฐานะฐานันดรที่ ๔ ย่อมเป็นกลไกอย่างหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยนอกเหนือจากเป็นเครื่องมืออย่าง หนึ่งของการแสดงประชามติ ฉะนั้นผู้ทำหนังสือพิมพ์จึงเป็นบุคคลในสถาบันซึ่งจะต้องมีความรับผิดชอบกว่า บุคคลธรรมดา การส่งเสริมเสรีภาพบริบูรณ์ของคนทำหนังสือพิมพ์ จึงแตกต่างกับบุคคลนอกสถาบัน จะถือว่า “เสรีภาพของหนังสือพิมพ์ คือ เสรีภาพของประชาชน” หาได้ไม่ประชามติที่ถูกต้องเท่านั้นจึงจะสอดคล้องกับผลประโยชน์ของประชาชน จึงจะเป็น และความถูกต้องของประชามติก็มิได้วัดด้วยจำนวนคนที่แสดง แต่วัดด้วยผลประโยชน์ของประชาชนส่วนรวม ประชามติใดแม้จะแสดงด้วยคนจำนวนน้อย แต่ถ้าสอดคล้องกับผลประโยชน์ของประชาชนส่วนรวมก็เป็นประชามติประชาธิปไตย ฉะนั้น สภาปฏิวัติแห่งชาติจึงสนับสนุนประชามติที่ถูกต้อง แต่จะป้องกันประชามติที่ไม่ถูกต้อง
๑.๑๐ สนับสนุนขบวนการประชาธิปไตย
ขบวนการประชาธิปไตยย่อมประกอบด้วยบุคคลกลุ่มต่างๆ ที่มีความมุ่งหมายเพื่อความสำเร็จของระบอบประชาธิปไตย แต่เนื่องจากแนวโน้มแห่งวิวัฒนาการของประเทศไทยเป็นแนวโน้มทางประชาธิปไตย จึงทำให้กลุ่มชนที่เป็นปรปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตย จำเป็นต้องแอบแฝงโดยยกเอาประชาธิปไตยขึ้นนำหน้าสนับสนุนขบวนการประชาธิปไตย ที่แท้จริงทั้งสิ้น แต่จะขัดขวางขบวนการที่ขัดขวางขบวนการประชาธิปไตยที่แอบแฝงอำพราง
๑.๑๑ ทำลายการกดขี่ด้วยอำนาจและอิทธิพล
การกดขี่ด้วยประการใดๆ โดยผู้มีอำนาจและผู้มีอิทธิพลเป็นลักษณะของระบอบเผด็จการ ตราบใดที่มีการกดขี่โดยผู้มีอำนาจและผู้มีอิทธิพลตราบนั้นยังไม่มีระบอบ ประชาธิปไตย หรือไม่มีระบอบประชาธิปไตยอันแท้จริง ฉะนั้นจึงต้องกำจัดการกดขี่ด้วยอำนาจและอิทธิพลทั้งระดับชาติและระดับท้อง ถิ่นให้หมดไป
๑.๑๒ จัดระบอบบริหารส่วนท้องถิ่น ส่วนภูมิภาคและส่วนกลางให้สอดคล้องกันยิ่งขึ้น
การกระจายอำนาจเป็นลักษณะหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย วิธีการคือ ทำให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นมีอิสระมากขึ้น และให้องค์การบริหารส่วนภูมิภาคมีฐานะเป็นตัวแทนขององค์การบริหารส่วนกลาง อย่างแท้จริง ไม่ใช่องค์การบริหารส่วนกลางทำงานแข่งขันซ้ำซ้อนกับองค์การบริหารส่วน ภูมิภาคหรือส่วนท้องถิ่น แต่ให้องค์การบริหารสามส่วนนี้มีการประสานงานกันเป็นอย่างดี
๑.๑๓ สร้างสันติภาพภายในประเทศให้สมบูรณ์ และกระชับความสามัคคีแห่งชาติ
สถานการณ์ปัจจุบันของประเทศไทย ถึงแม้ว่ากองทัพสามารถยุติสงครามกลางเมืองลงได้โดยพื้นฐานแล้วก็ตาม แต่การต่อสู้ระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยกับฝ่ายคอมมิวนิสต์แนวทางอาวุธยังดุ เดือดเข้มข้นอยู่ โดยฝ่ายคอมมิวนิสต์แนวทางอาวุธพยายามทุกวิถีทางที่จะฟื้นฟูสงครามขึ้นใหม่ ซึ่งถ้าหากฝ่ายคอมมิวนิสต์สามารถทำได้แล้ว สงครามครั้งใหม่จะยังความหายนะแก่ประเทศชาติ และยังความทุกข์ยากแก่ประชาชนมากกว่าสงครามครั้งที่แล้วหลายเท่านัก อันเป็นอุปสรรคใหญ่หลวงแก่การสร้างระบอบประชาธิปไตย จึงจำเป็นที่จะต้องสกัดกั้นการฟื้นฟูสงครามของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เปลี่ยนแนวทางการต่อสู้ด้วยอาวุธเป็นการต่อสู้ในแนวทางสันติ ตามนโยบายประชาธิปไตยที่ถูกต้องที่ได้ประกาศไปแล้ว ซึ่งเป็นนโยบายรากฐานของความสามัคคีแห่งชาติ และเป็นเส้นด้ายทองคำร้อยพวงมาลัยแห่งความสามัคคีระหว่างประชาชนทุกหมู่ เหล่าอีกด้วย
(ด้านรายละเอียดยังมีอีกมาก ครับ นี่เป็นโครงสร้างด้านการเมืองและการปกครองย่อๆของการปกครองแบบประชาธิปไตย ที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนตามราโชบายล้นเกล้ารัชกาลที่ ๗ )
edit:thongkrm_virut@yahoo.com

โปรแกรมสร้างการปกครองแบบประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ด้านเศรษฐกิจ มีโครงสร้างย่อๆ ดังต่อไปนี้
การสถาปนาระบอบประชาธิปไตยของไทย (๒.ประชาธิปไตยด้านเศรษฐกิจ)

๒. พัฒนาระบบเศรษฐกิจแห่งชาติให้สำเร็จ
ระบบเศรษฐกิจเป็นรากฐานของระบอบการเมือง และระบอบการเมืองมีบทบาทผลักดันพัฒนาการของระบบเศรษฐกิจ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจจึงจะดำเนินการโดยเอกเทศมิได้ แต่จะต้องนำเอาการแก้ปัญหาเศรษฐกิจไปสัมพันธ์กับการแก้ปัญหาการเมือง โดยลงมือแก้ปัญหาการเมืองทันที และลงมือแก้ปัญหาเศรษฐกิจไปพร้อมกัน การที่ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยตกอยู่ในภาวะล้าหลังมาเป็นเวลานาน ยังผลให้ประเทศไทยเป็นประเทศยากจน ฐานะการครองชีพของประชาชนต่ำ ไม่สามารถพัฒนาขึ้นเป็นประเทศร่ำรวย และยกฐานะการครองชีพของประชนชนให้สูงขึ้นได้ ทั้ง ๆ ที่อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาตินั้น ก็เพราะได้ดำเนินการแก้ปัญหาเศรษฐกิจมาโดยไม่ได้แก้ปัญหาการเมือง คือ ไม่ดำเนินการเพื่อบรรลุถึงซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันแท้จริง ฉะนั้น บนรากฐานของการแก้ปัญหาการเมืองเพื่อความสำเร็จของระบอบประชาธิปไตยดังกล่าวมาแล้ว
การพัฒนาระบบเศรษฐกิจแห่งชาติให้สำเร็จด้วยมาตรการต่อไปนี้
๒.๑ ปรับปรุงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ความมุ่งหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คือ เพื่อสร้างสังคมประชาธิปไตยสังคมประชาธิปไตย คือ สังคมที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย และมีระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม ระบอบเศรษฐกิจเสรีนิยมที่พัฒนาภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง จะนำมาซึ่งความไพบูลย์และความยุติธรรม แต่การที่จะบรรลุความมุ่งหมายดังกล่าวนี้ได้ จะต้องใช้ระบอบประชาธิปไตยทำการเปลี่ยนระบบเสรีนิยมที่ล้าหลังและผูกขาดดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบันให้เป็นระบบเสรีนิยมที่ก้าวหน้าและเสรี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีบทบาทสำคัญอันดับแรกต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ ฉะนั้นจึงต้องทบทวนโครงสร้างของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแก้ไขปรับปรุงให้สอดคล้องกับความมุ่งหมายเพื่อบรรลุถึงสังคมประชาธิปไตยที่พัฒนา ซึ่งเป็นแผนที่มีเนื้อหาในการทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่เหมาะสมกับภาวการณ์ของประเทศไทยโดยเฉพาะคือ เน้นหนักการพัฒนาการเกษตรกรรม และพัฒนาอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และการขนส่งให้สอดคล้องกัน
๒.๒ การกระจายทุน
การรวมศูนย์ทุน ทำให้วิสาหกิจขนาดใหญ่โดยเฉพาะคือ วิสาหกิจเส้นเลือดใหญ่ ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ อุตสาหกรรมหนัก การค้าต่างประเทศ การค้าส่งสินค้าหลักภายในประเทศ การขนส่งระหว่างประเทศ การขนส่งหลักภายในประเทศ มีอำนาจครอบงำและบงการต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของระบบเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉะนั้น จึงต้องลดอำนาจของการครอบงำและบงการดังกล่าวลง โดยทำให้ทุนกระจายไปสู่ประชาชนด้วยมาตรการเหล่านี้คือ
๒.๒.๑ การปฏิรูปที่ดิน
เป็นวิธีการกระจายทุนทางที่ดินไปสู่ชาวไร่ชาวนา ในขณะเดียวกันรายได้ของเจ้าของที่ดินจากการเวนคืนที่ดิน ก็จะกระจายไปสู่รัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และอื่นๆ โดยเฉพาะในรูปของพันธบัติหุ้นส่วนในรัฐวิสาหกิจเหล่านั้น การกระจายทุนทางที่ดินด้วยการปฏิรูปที่ดิน เป็นปัจจัยอันดับแรกของความเติบโตของระบบเศรษฐกิจแห่งชาติทั้งเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และการขนส่ง โดยทำเกษตรกรรมสามารถสนองวัตถุดิบแก่อุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมสนองเครื่องมือวัตถุอุปกรณ์และการป้องกันภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกรรม และเกษตรกรรมกับอุตสาหกรรมต่างก็สนองตลาดให้แก่กันและกัน ฉะนั้น การปฏิรูปที่ดินจึงมิใช่เพียงเพื่อการเกษตรกรรม หรือเพียงเพื่อช่วยเหลือชาวนาชาวไร่ให้มีที่ทำกิน แต่ข้อสำคัญเพื่อความเติบโตของระบบเศรษฐกิจแห่งชาติทั้งระบบ
๒.๒.๒ เปลี่ยนบริษัทครอบครัวของวิสาหกิจเอกชนต่างๆ เป็นบริษัทมหาชน
๒.๒.๓ ให้สหกรณ์เป็นเครื่องมือของการกระจายทุน
๒.๒.๔ รัฐเข้ามีส่วนร่วมนากรบริหารวิสาหกิจเอกชน
แต่เดิมรัฐเพียงแต่ควบคุมวิสาหกิจเอกชน เช่น ธนาคารชาติควบคุมธนาคารพาณิชย์ด้วยการจดทะเบียนปริมาณทุนปริมาณเงินฝาก ปริมาณเงินวางธนาคารชาติ ฯลฯ ซึ่งไม่เพียงพอแก่การลดการรวมศูนย์ทุน แต่รัฐจะต้องทำการควบคุมโดยตรง เช่น ผู้แทนของรัฐเข้ามีส่วนในการบริหารเป็นต้นอีกด้วย
๒.๓ สร้างความสมดุลระหว่างภาคสาธารณะกับภาคเอกชน
ระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมของประเทศไทย มิใช่มีแต่เศรษฐกิจเอกชนอย่างเดียว แต่มีเศรษฐกิจสาธารณะ โดยเฉพาะคือเศรษฐกิจของรัฐอีกด้วย โดยภาคสาธารณะตั้งอยู่บนรากฐานของภาคเอกชน แต่ภาคสาธารณะแม้ว่าจะเป็นฝ่ายข้างน้อยก็มีความสำคัญในฐานะเป็นหลักนำต่อภาคเอกชน และส่งเสริมช่วยเหลือภาคเอกชน ภาคสาธารณะกับภาคเอกชนจะต้องมีความสมดุลกัน จึงจะสามารถเป็นปัจจัยให้แก่การขยายตัวของกันและกัน วิธีการสร้างความสมดุล คือ ปรับปรุงการบริหารของภาคสาธารณะโดยเฉพาะของรัฐวิสาหกิจเสียใหม่ทั้งหมดทั้งฝ่ายสาธารณูปโภคและฝ่ายบริโภค ทั้งที่ผูกขาดและไม่ผูกขาด เพื่อให้รัฐวิสาหกิจเหล่านั้นมีประสิทธิภาพเท่าเทียมหรือเหนือกว่าวิสาหกิจเอกชน เพื่อจะได้ทำหน้าที่เป็นหลักนำและส่งเสริมช่วยเหลือวิสาหกิจเอกชน และเพื่อคานวิสาหกิจเอกชนในการรักษาเสถียรภาพของตลาด การปรับปรุงการบริหารของภาคสาธารณะนั้น ให้องค์การแรงงานของรัฐวิสาหกิจนั้นๆ เข้าร่วมดำเนินการด้วย
๒.๔ สร้างความสมดุลระหว่างเกษตรกรรมกับอุตสาหกรรม
สภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน เกษตรกรรมเป็นฝ่ายครอบงำ แต่ทิศทางของพัฒนาการจะต้องมุ่งไปสู่ความเป็นอุตสาหกรรม ภายใต้สภาวการณ์ดังกล่าวการพัฒนาจะต้องเน้นหนักในการพัฒนาเกษตรกรรม ขณะเดียวกันก็ต้องพัฒนาอุตสาหกรรมให้ได้สัดส่วนกัน และการพัฒนาอุตสาหกรรมจะต้องเน้นหนักการพัฒนาอุตสาหกรรมเบา (อุตสาหกรรมแปรวัตถุดิบเกษตรกรรมภายในประเทศ เป็นสินค้าสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูป) แต่การพัฒนาอุตสาหกรรมเบาก็ต้องมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก (อุตสาหกรรมพลังงาน อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมเครื่องจักร อุตสาหกรรมเคมี) ซึ่งเป็นรากฐานอันสำคัญที่สุดของการทำเกษตรกรรมให้ทันสมัย
๒.๕ สร้างความสมดุลระหว่างเมืองกับชนบท
ที่แล้วมาการขยายตัวของเมืองและชนบทเป็นไปอย่างไม่สม่ำเสมอ ความเจริญเข้ามารวมอยู่ในเมืองหลวงและนครใหญ่ ชนบทยังล้าหลังห่างไกล ฉะนั้น จึงต้องเร่งรัดสร้างความเจริญให้แก่ชนบทในทุกทาง และทำให้ชนบทให้เป็นที่อยู่ดีกินดี ขณะเดียวกันก็ระบายความแออัดยัดเยียดออกจากเมืองหลวงและนครใหญ่ วิธีการคือ จะต้องแบ่งสันปันส่วนภาษีอากรระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นอย่างเหมาะสม และทำให้ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นไม่ต้องอาศัยงบประมาณส่วนกลาง กับขยายอุตสาหกรรมไปสู่ชนบทให้สอดคล้องกับเกษตรกรรม ที่ไหนมีเกษตรกรรมอย่างไรก็ขยายอุตสาหกรรมแปรวัตถุดิบอย่างนั้น สร้างความสมดุลระหว่างเกษตรกรรมกับอุตสาหกรรมขึ้นในท้องถิ่นและยกระดับของชนบทจนถึงขนาดที่คนไม่ไหลเข้าสู่เมือง แต่ชนบทกลับเป็นที่ดึงดูดคนในเมืองให้ระบายออกไป
๒.๖ สร้างความสมดุลระหว่างการขยายตัวทางเศรษฐกิจกับการขยายตัวของประชากร
ปัญหาร้ายแรงในปัจจุบันก็คือ การขยายตัวทางเศรษฐกิจไม่ทันกับการขยายตัวของประชากร จึงจำเป็นอย่างรีบด่วนที่จะต้องเร่งรัดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เพื่อสร้างงานให้เพียงพอกับคน ขณะเดียวกันก็จะต้องลดการขยายตัวของประชากรอย่างน้อยชั่วระยะหนึ่ง การเร่งรัดการขยายตัวทางเศรษฐกิจก็คือ
๒.๖.๑ เพิ่มการผลิตทางการเกษตร บนรากฐานของการปฏิรูปที่ดินและทำเกษตรกรรมให้ทันสมัย
ทำการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ โดยเฉพาะคือพืชเศรษฐกิจด้วยการใช้วิชาการเกษตรกรรมแบบใหม่ให้ทั่วถึง ปรับปรุงระบบชลประทาน จัดหาและจำหน่ายปุ๋ยในราคาเยา ส่งเสริมการปลูกพืชหมุนเวียน ให้การศึกษาด้านเกษตรกรรมแก่ชาวนาชาวไร่อย่างเต็มที่ ขยายกิจการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ให้กว้างขวางทั่วประเทศ เพิ่มบริการชาวนาชาวไร่อย่างมีประสิทธิภาพ จัดประเภทการผลิตทางเกษตรกรรมให้เหมาะสมกับท้องที่ และแนะนำเกษตรกรให้ปลูกพืชให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาด ประกันราคาของสินค้าเกษตรกรรม โดยขยายและรักษาตลาดต่างประเทศอย่างมั่นคงและใช้ค่าพรีเมี่ยมทั้งหมดเป็นกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ใช้วิธีการสหกรณ์เข้าช่วยเหลือการขยายเกษตรกรรมอย่างเต็มที่ และสนับสนุนการรวมกลุ่มเกษตรกรเป็นสถาบันการเกษตร
๒.๖.๒ เพิ่มการผลิตทางอุตสาหกรรม เน้นหนักอุตสาหกรรมที่แปรรูปวัตถุดิบเกษตรกรรมภายในประเทศ ให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปพร้อมทั้งขยายการผลิตของอุตสาหกรรมครอบครัว ทั้งนี้เพื่อเพิ่มพูนสินค้าบริโภคให้มากที่สุด และการพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าว จะต้องมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอุตสหกรรมขั้นมูลฐาน ป้องกันการโจมตีจากต่างประเทศโดยตั้งกำแพงภาษี หรือห้ามสั่งสินค้าเข้าตามความเหมาะสม กระจายอุตสาหกรรมไปยังแหล่งวัตถุดิบขยายการฝึกอบรมแรงงาน ส่งเสริมสมาคมนายจ้างและสหภาพแรงงาน และส่งเสริมหลักการผลประโยชน์ซึ่งกันและกันระหว่างนายทุนกับแรงงาน ส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
๒.๖.๓ ขยายพาณิชยกรรม ขยายตลาดต่างประเทศทั้งสินค้าเกษตรกรรมและสินค้าอุตสาหกรรม พยายามขยายตลาดเข้าไปในตลาดสังคมนิยมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และรัฐเข้าดำเนินการค้าต่างประเทศเองตามความจำเป็น แก้ไขความเสียเปรียบในวิธีดำเนินการค้าและธุริจของต่างประเทศ แก้ไขการเสียเปรียบดุลการค้า โดยลดปริมาณสินค้าปัจจัยบริโภคโดยเฉพาะ คือ ของฟุ้มเฟือย และเพิ่มปริมาณสินค้าปัจจัยการผลิตโดยเฉพาะคือ เครื่องจักร พยายามตัดคนกลางในการส่งวัตถุดิบไปต่างประเทศ พร้อมทั้งกวดขันการควบคุมมาตรฐานสินค้า เพิ่มปริมาณส่งออกวัตถุแปรรูป การค้าบางอย่างใช้วิธีแลกเปลี่ยนสินค้าโดยตรง ส่วนตลาดภายในประเทศจะต้องทำให้มีเสถียรภาพ โดยให้องค์การค้าของรัฐทำหน้าที่ตรึงราคาอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้สหกรณ์กำจัดคนกลาง
๒.๖.๔ ขยายการขนส่ง โดยเพิ่มปัจจัยการขนส่งอย่างรอบด้าน ควบคุมค่าขนส่งให้พอเหมาะพอดี มิให้มีผลกระทบกระเทือนต่อการตลาดและการผลิต
๒.๖.๕ ขยายทุน ระดมและกระจายทุนทั้งทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และการขนส่ง โดยเน้นหนักในการขยายทุนทางเกษตรกรรม แหล่งของทุนเอามาจากการผลิต ภาษีอากร การประหยัด และทุนจากต่างประเทศที่ไม่มีเงื่อนไขทางการเมือง
๒.๗ ควบคุมการเฉลี่ยรายได้แห่งชาติให้เป็นธรรม
ตามสภาพที่เป็นอยู่รายได้แห่งชาติ ๙๐ % เฉลี่ยระหว่างคนรวย และรายได้แห่งชาติ ๑๐% เฉลี่ยระหว่างคนจน ซึ่งเป็นการเฉลี่ยที่ไม่เป็นธรรม เป็นเหตุให้ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยกว้างมาก รัฐจึงต้องควบคุมการเฉลี่ยรายได้แห่งชาติให้เป็นธรรม เพื่อลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนให้แคบลง การควบคุมเฉลี่ยรายได้แห่งชาตินั้น มิใช่กระทำด้วยกฎหมายหรืออำนาจบังคับ แต่กระทำโดยการส่งเสริมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจให้เหมาะสมกับสภาพของประเทศไทย ตามนโยบายและแผนอันถูกต้อง เพื่อให้เศรษฐกิจแห่งชาติได้ขยายตัวไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว เช่น การจำกัดการผูกขาด การกระจายทุน การขยายการผลิต การตัดคนกลาง การเฉลี่ยงบประมาณระหว่างส่วนกลางกับส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น เป็นต้น การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างได้ผลตามนโยบายและแผนอันถูกต้อง ทำให้รายได้เฉลี่ยของประชากรทั่วไปสูงขึ้น และการใช้ระบบผูกขาดควบคุมการครองชีพของประชาชนก็จะเบาบางหรือหมดสิ้นไป ทำให้เกิดการเฉลี่ยรายได้แห่งชาติเป็นธรรมโดยอัตโนมัติ แม้จะใช้กฎหมายบ้างก็เป็นส่วนประกอบเท่านั้น แต่ถ้าไม่พัฒนาเศรษฐกิจให้ได้ผล การใช้กฎหมายในเรื่องนี้ก็ไม่มีประโยชน์ อย่างกฎหมายกำหนัดค่าจ้างขั้นต่ำ ถ้าพัฒนาเศรษฐกิจล้มเหลว กฎหมายนั้นก็เป็นเพียงเศษกระดาษชิ้นหนึ่ง รวมความว่าการควบคุมเฉลี่ยรายได้แห่งชาติ ก็คือการพัฒนาระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมที่เหมาะสมกับประเทศไทยให้เป็นไปตามนโยบายและแผนอันถูกต้อง
๒.๘ ร่วมมือทางเศรษฐกิจกับนานาประเทศ โดยไม่เลือกระบบสังคม ภายใต้หลักการของความเป็นอิสระและพึ่งตนเอง
การเมืองตั้งอยู่บนรากฐานของเศรษฐกิจ ฉะนั้น การร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่จะไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองเลยจึงเป็นไปไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือระหว่างประเทศในระบบสังคมเดียวกัน หรือคนละระบบสังคมก็ตาม ถ้ายอมรับว่าเศรษฐกิจและการค้าขึ้นต่อการเมืองและดำเนินไปตามหลักการนี้ โดยทำให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้ากับประเทศสังคมนิยมและประเทศเสรีนิยมด้วยกันขึ้นต่อนโยบายต่างประเทศที่ถูกต้องแล้ว การร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการค้ากับนานาประเทศโดยไม่เลือกระบบสังคม ก็จะเป็นผลดีแก่การพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติอย่างใหญ่หลวง และนี่คือการร่วมมือภายใต้หลักการของความเป็นอิสระ และพึ่งตนเองตามลักษณะพิเศษของนโยบายต่างประเทศที่ถูกต้องของไทย คือ นโยบายอิสระ
๒.๙ ปัญหาการคลังและการเงิน
การคลังและการเงินเป็นองค์ประกอบสำคัญของเศรษฐกิจ จึงต้องแก้ปัญหาการคลังและการเงินโดยสัมพันธ์กับการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ การขยายเศรษฐกิจจะต้องดูจากการผลิตการภาษีว่าขยายตัวได้อย่างไร ไม่ให้เกินตัวจนต้องอาศัยเงินกู้จนเกินควร การเก็บภาษีควรเอาจากการผลิตเป็นอันดับแรก ภาษีสินค้าขาเข้าขาออกเป็นอันดับต่อมา ภาษีเอกชนเป็นอันดับสุดท้าย แต่ภาษีสินค้าเข้าสินค้าออกจะต้องไม่ทำลายการส่งเสริมการผลิตและการค้าต่างประเทศ ปัญหาการเงินที่สำคัญนั้นอยู่ที่จะต้องรักษาเสถียรภาพของเงินบาท วิธีการคือ เปลี่ยนมาตรฐานเงินตราต่างประเทศเป็นมาตรฐานทองคำเป็นหลัก เพราะในปัจจุบันเงินตราต่างประเทศ เช่นสกุลดอลล่าร์มักจะขาดเสถียรภาพ แต่ไม่หมายความว่าจะยกเลิกมาตรฐานเงินตราต่างประเทศเพียงมาตรฐานดอลล่าร์ มาตรฐานปอนด์ ฯลฯ เป็นส่วนประกอบ วิธีการเช่นนี้จะเป็นส่วนช่วยอย่างสำคัญในการรักษาเสถียรภาพของเงินบาท

(รายละเอียดยังมีอีกมาก ครับ นี่เป็นโครงสร้างด้านเศรฐกิจย่อๆของการปกครองแบบประชาธิปไตย ที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ด้านเศรษฐกิจ ตามราโชบายล้นเกล้ารัชกาลที่ ๗ )

edit:thongkrm_virut@yahoo.com

โปรแกรมสร้างการปกครองแบบประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ด้านสังคมและการศึกษา มีโครงสร้างย่อๆ ดังต่อไปนี้
การสถาปนาระบอบประชาธิปไตยของไทย (๓.ประชาธิปไตยด้านสังคม และการศึกษา)
๓. การสังคม
๓.๑ แก้ปัญหาสังคมบนรากฐานของการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ประกอบด้วยการศึกษาอบรม
ปัญหาสังคม เช่น ปัญหาการว่างงาน ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาคอรัปชั่น และความเน่าเฟะต่างๆ ในสังคม ส่วนสำคัญเกิดจากความยากจนและการไม่มีงานทำ อันเนื่องมาจากการแก้ปัญหาเศรษฐกิจแห่งชาติไม่ตก ฉะนั้น ถ้าความยากจนและการไม่มีงานทำยังครอบงำสังคมอยู่ การพร่ำสอนไม่ทำให้ทำชั่วและขยันขันแข็งประกอบสัมมาอาชีพจึงไม่ใคร่จะได้ผล เพราะถ้าไม่ประกอบอาชญากรรม ทำคอรัปชั่น หรือประกอบมิจฉาชีพก็ไม่มีอะไรจะกิน และถึงแม้จะขยันขันแข็งก็ไม่มีงานทำ แต่การศึกษาอบรมจะได้ผลเต็มที่ถ้าความยากจนบรรเทาลง คนมีงานทำและอาชญากรรมแก้ไขได้ คอรัปชั่นปราบได้ การว่างงานขจัดได้ ด้วยการศึกษาอบรมและมาตรการทางกฎหมาย ถ้าพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติตามนโยบายและแผนอันถูกต้อง
๓.๒ แผนการศึกษาแห่งชาติขึ้นต่อแผนเศรษฐกิจแห่งชาติ
สมัยก่อน การบำรุงการศึกษาไม่มีขอบเขตจำกัด เพราะสมัยนั้นความเจริญของบ้านเมืองขึ้นอยู่กับการศึกษาของประชาชน ยิ่งขยายการศึกษามากเพียงใดบ้านเมืองก็เจริญมากเพียงนั้น แต่ในปัจจุบัน การขยายตัวทางการศึกษาจำกัดด้วยการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การขยายตัวทางการศึกษาอย่างไม่มีขอบเขตจำกัดแทนที่จะเป็นผลดีกลับเป็นผลร้าย โดยเฉพาะจะเป็นเหตุหนึ่งของการว่างงาน การจำกัดการขยายตัวของการศึกษานั้น ไม่หมายถึงการลดงบประมาณการศึกษา งบประมาณการศึกษาจะต้องเพิ่มขึ้นโดยลำดับอย่างแน่นอน การจำกัดการขยายตัวของการศึกษา หมายความถึงแผนการศึกษาจะต้องขึ้นต่อแผนเศรษฐกิจ ซึ่งจะกำหนดให้การขยายการศึกษาเป็นไปตามความต้องการของแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่ง ชาติ ในสภาวการณ์ใดระดับการศึกษาและวิชาชีพใดเพียงพอแก่ความต้องการก็ลดลว ในสภาวการณ์ใดระดับการศึกษาและสาขาอาชีพใดเป็นความต้องการ ก็เพิ่มขึ้น ส่วนด้านสามัญศึกษาจะต้องขยายให้มากที่สุดไม่มีขอบเขตจำกัด ตามระดับความสำเร็จของการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นลำดับไป ทั้งนี้ จะเป็นไปได้โดยขยายการศึกษาชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้มากที่สุด และควบคุมการศึกษาของเอกชนอย่างเคร่งครัด การศึกษาของชาติจะประสบความสำเร็จสมความมุ่งหมายขึ้นอยู่กับความถูกต้องของ แผนเศรษฐกิจแห่งชาติ และประสานแผนการศึกษาแห่งชาติเข้ากับแผนเศรษฐกิจแห่งชาติ
๓.๓ ดำเนินการประกันสังคมทั่วทุกด้าน
ความไพบูลย์ทางเศรษฐกิจ อันเกิดจากผลสำเร็จของการสร้างระบบเศรษฐกิจของระบอบประชาธิปไตยตามนโยบายที่ ถูกต้อง ย่อมจะเป็นปัจจัยให้มีงานให้ประชาชนทำมากขึ้น และเป็นปัจจัยให้รัฐสามารถขยายการศึกษา การสาธารณสุข และสาธารณูปการอย่างอื่นให้กว้างขวางออกไปตามส่วน ประชาชนมีโอกาสทำงาน มีโอกาสศึกษา มีโอกาสรักษาพยายาบาล และมีโอกาสอื่นๆ เพิ่มขึ้นโดยลำดับ เมื่อเกิดความไพบูลย์ทางเศรษฐกิจ การว่างงานก็ค่อย ๆ หมดไป การศึกษาโดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน การรักษาโดยไม่ต้องเสียค่ารักษาตลอดจนบำเหน็จบำนาญของคนชราและทุพลภาพก็จะมี ขึ้นโดยลำดับ ฉะนั้น ความไพบูลย์ทางเศรษฐกิจจึงเป็นการประกันสังคมอยู่ในตัว และมาตรการประกันสังคมที่มีประสิทธิภาพที่สุดก็คือ การดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติตามนโยบายและแผนอันถูกต้องให้บรรลุผล สำเร็จนั่นเอง กฎหมายประกันสังคมจะต้องออกตามผลสำเร็จของการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ แม้ว่าจะออกกฎหมายประกันสังคมอย่างสวยงามเพียงใด แต่ถ้าการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติล้มเหลวกฎหมายนั้นก็ปฏิบัติไม่ได้
(รายละเอียดยังมีอีกมาก ครับ นี่เป็นโครงสร้างด้านสังคมย่อๆของการปกครองแบบประชาธิปไตย ที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ด้านสังคมและการศึกษาฯ)
Edit:thongkrm_virut@yahoo.com





โปรแกรมสร้างการปกครองแบบประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ด้านการป้องกันประเทศ มีโครงสร้างย่อๆ ดังต่อไปนี้
การสถาปนาระบอบประชาธิปไตยของไทย (ตอนที่ ๔ ประชาธิปไตยด้านการป้องกันประเทศ)
๔ การป้องกันประเทศ
๔.๑ หน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์ของกองทัพแห่งชาติ
กองทัพแห่งชาติไม่ใช่กองทัพของบุคคลหรือคณะบุคคล แต่เป็นกองทัพของชาติและของประชาชน กองทัพแห่งชาติไม่สนับสนุนการเมืองของบุคคลหรือคณะบุคคล แต่สนับสนุนการเมืองของชาติ ที่ว่าทหารไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองนั้น ไม่หมายความกองทัพแห่งชาติจะไม่สนับสนุนการเมืองของชาติ แต่หมายความว่าทหารไม่สนับสนุนการเมืองของบุคคลหรือการเมืองที่ไม่ถูกต้อง เอกราชของชาติและอธิปไตยของปวงชน คือ สาระสำคัญของการเมืองของชาติ ซึ่งจะต้องอาศัยความสนับสนุนของกองทัพแห่งชาติ จึงจะดำรงอยู่ได้ ฉะนั้น หน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์ของกองทัพแห่งชาติ จึงอยู่ที่การรักษาเอกราชของชาติและรักษาอธิปไตยของประชาชน การที่กองทัพแห่งชาติจะต้องรักษาไว้ซึ่งเอกราชของชาตินั้น เข้ากันดี แต่การที่กองทัพแห่งชาติจะต้องรักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยของปวงชนนั้น ดูเหมือนจะยังไม่ชัดเจนพอ ความจริงแล้วเอกราชขึ้นอยู่กับประชาธิปไตย ประเทศชาติจะต้องเป็นประชาธิปไตยจึงจะมีเอกราชได้ และการที่ระบอบประชาธิปไตยล้มเหลวตลอดมา ก็เพราะกองทัพแห่งชาติไม่เข้าไปทำหน้าที่สนับสนุนระบอบประชาธิปไตยให้เพียง พอนั่นเอง ฉะนั้น กองทัพแห่งชาติจึงไม่เพียงแต่มีหน้าที่ทางทหารเท่านั้น หากยังมีหน้าที่ทางการเมืองอีกด้วย คือ หน้าที่ทางการเมืองของชาติ อันได้แก่การรักษาเอกราชของชาติ และรักษาอธิปไตยของปวงชน
๔.๒ ปรับปรุงขีดความสามารถของกองทัพแห่งชาติ
การที่กองทัพแห่งชาติจะปฏิบัติหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์สองประการอย่างมี ประสิทธิภาพได้ จะต้องปรับปรุงขีดความสามารถของกองทัพให้สูงขึ้น เนื่องจากสงครามในปัจจุบันซึ่งกองทัพแห่งชาติเผชิญอยู่ มีลักษณะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับสงครามในอดีต ทำให้ยุทธศาสตร์ของกองทัพแห่งชาติที่มีอยู่เดิมไม่เพียงพอสำหรับทำสงครามใน ลักษณะใหม่ให้ชนะ ฉะนั้น สารสำคัญของการปรับปรุงขีดความสามารถของกองทัพ จึงอยู่ที่การปรับปรุงยุทธศาสตร์ เมื่อปรับปรุงยุทธศาสตร์ให้สมบูรณ์ ทั้งยุทธศาสตร์ทหารและยุทธศาสตร์การเมืองแล้ว การปรับปรุงขีดความสามารถอื่นๆ เช่นด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ ก็จะสำเร็จตามไปด้วย
๔.๓ ปรับปรุงสวัสดิการทหาร
การที่กองทัพจะมารถปฏิบัติหน้าที่ด้วยขีดความสามารถในระดับสูงได้นั้น ทหารจะต้องได้รับสวัสดิการในทุกด้านอย่างเพียงพอ ฉะนั้น จึงต้องปรับปรุงสวัสดิการทหารในทุกด้านให้ดีที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้
(รายละเอียดยังมีอีกมาก ครับ นี่เป็นโครงสร้างด้านการป้องกันประเทศ ย่อๆของการปกครองแบบประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ด้านการป้องกันประเทศ ฯ)
Edit:thongkrm_virut@yahoo.com

โปรแกรมสร้างการปกครองแบบประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ด้านการต่างประเทศ มีโครงสร้างย่อๆ ดังต่อไปนี้
การสถาปนาระบอบประชาธิปไตยของไทย (ตอนที่ ๕. ประชาธิปไตยด้านการต่างประเทศ)
๕ นโยบายต่างประเทศ
๕.๑ รักษาลักษณะพิเศษของนโยบายต่างประเทศของชาติไทย
นโยบายต่างประเทศกำหนดขึ้นจากรากฐานของวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์และทาง สังคมของประเทศไทย ภายใต้หลักนำของลักษณะพิเศษประจำชาติไทย ๓ ประการ คือ
๕.๑.๑ รักความเป็นไท
๕.๑.๒ อหิงสา
๕.๑.๓ รู้จักประสานผลประโยชน์
ชาติไทย เป็นชาติเก่าแก่ซึ่งมีลักษณะประจำชาติสูงส่ง จึงมีนโยบายต่างประเทศอันแน่นอน เป็นมรดกล้ำค่าตกทอดมาแต่บรรพกาล เรียกว่า “นโยบายอิสระ” วิธีดำเนินนโยบายต่างประเทศที่ถูกต้องก็คือ นำเอานโยบายอิสระมาใช้กับปัญหาความสัมพันธ์กับต่างประเทศตามสถานการณ์ที่ เปลี่ยนแปลงไป ฉะนั้น สำหรับนโยบายต่างประเทศของไทยแล้ว นโยบายหลักไม่เปลี่ยนแปลง แต่นโยบายตามสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และจะต้องใช้นโยบายสองอย่างนี้ควบคู่กันตลอดไป โดยนโยบายตามสถานการณ์ตั้งอยู่บนรากฐานของนโยบายหลัก ไม่ว่าจะดำเนินนโยบายต่อประเทศใด หรือต่อปัญหาใด ในสถานการณ์ใด เช่น ต่อสหรัฐอเมริกา ต่อสาธารณรัฐประชาชนจีน ต่อสหภาพโซเวียต ต่อสหประชาชาติ ต่ออาเซี่ยน ต่ออินโดจีน ฯลฯ จะต้องยึดถือนโยบายอิสระเป็นหลักอยู่ตลอดเวลา วิธีดำเนินนโยบายต่างประเทศเช่นนี้ ประเทศไทยเคยใช้มาแต่อดีต ยังผลให้รอดพ้นภัยพิบัติและดำรงเอกราชอธิปไตยไว้ได้ ในปัจจุบันสภาวการณ์ทางภูมิศาสตร์และทางการเมือง กำหนดให้ประเทศไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่สุดในความขัดแย้งของโลก ทั้งความขัดแย้งระหว่างเสรีนิยมกับสังคมนิยม ความขัดแย้งภายในระบบเสรีนิยม ความขัดแย้งภายในระบบสังคมนิยม และในท่ามกลางความขัดแย้งของโลกปัจจุบัน ไม่มีประเทศใดไม่ว่ามหาอำนาจหรือมิช่มหาอำนาจ จะเป็นหลักในการแก้ความขัดแย้งได้ ทำให้มีอันตรายแห่งสงคราม ทั้งในขอบเขตภูมิภาคและขอบเขตโลก แต่ประเทศไทยซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่สุดและมีนโยบายต่างประเทศที่อยู่ บนรากฐานของลักษณะประจำชาติอันสูงส่ง เป็นประเทศเดียวที่อยู่ในฐานะที่จะแก้ความขัดแย้งของโลก ป้องกันสงครามและรักษาสันติภาพซึ่งเป็นหลักประกันของการรักษาผลประโยชน์ของ ประเทศไทยอย่างถึงที่สุด ฉะนั้น ประเทศไทยจึงต้องวางตัวเป็นหลักตามความหมายที่แท้จริงของ “นโยบายอิสระ” ในท่ามกลางความขัดแย้งทั้งในภูมิภาคและในโลก
๕.๒ ส่งเสริมสัมพันธไมตรีอันดีและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้ากับทุกประเทศ โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในระบอบการปกครอง ระบบเศรษฐกิจและสังคม
๕.๓ ส่งเสริมชักชวนการลงทุนจากต่างประเทศ โดยมีหลักประกันที่เป็นธรรม และร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนา เพื่อเสริมสร้างประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระหว่างประเทศ
๕.๔ ยับยั้งการสร้างสถานการณ์เพื่อเปลี่ยนสงครามในประเทศเป็นสงครามประชาชาติ และกำจัดบรรยากาศสงครามประชาชาติ
๕.๕ ดำเนินนโยบายเป็นกลางบนรากฐานของ “นโยบายอิสระ” ของชาติไทย ในปัญหาความขัดแย้งภายในระบบสังคมนิยม
๕.๖ เรียกร้องให้มีการประชุมนานาชาติ เพื่อรับรองสถานภาพเป็นกลางของประเทศไทย เพื่อเป็นเงื่อนไขให้ประเทศไทย ในฐานะเป็นจุดยุทธศาสตร์อันสำคัญที่สุดในความขัดแย้งของโลกปัจจุบัน ได้แสดงบทบาทอย่างเต็มภาคภูมิในการป้องกันสงครามและรักษาสันติภาพถาวรของโลก
(รายละเอียดยังมีอีกมาก ครับ นี่เป็นโครงสร้างด้านการต่างประเทศ ย่อๆของการปกครองแบบประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ด้านการต่างประเทศฯ)
Edit:thongkrm_virut@yahoo.com



 โปรแกรมสร้างการปกครองแบบประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ด้านวัฒนธรรม มีโครงสร้างย่อๆ ดังต่อไปนี้
การสถาปนาระบอบประชาธิปไตยของไทย (ตอนที่ ๖. ประชาธิปไตยด้านวัฒนธรรม)
๖ วัฒนธรรม
๖.๑ กำจัดวัฒนธรรมต่ำทรามที่แพร่หลายมาจากต่างประเทศ และรับวัฒนธรรมต่างประเทศโดยกลั่นกรอง
วัฒนธรรมเป็นองค์ประกอบอันสำคัญอย่างหนึ่งของระบบสังคม และมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับองค์ประกอบสำคัญอีกสองประการ คือ เศรษฐกิจและการเมือง ฉะนั้น การแก้ปัญหาวัฒนธรรมจึงต้องประสานกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการเมือง เศรษฐกิจซึ่งระบบผูกขาดของเอกชนครอบงำการครองชีพของประชาชน และการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย นอกจากจะบั่นทอนวัฒนธรรมอันดีงาม ยังเป็นแหล่งรองรับวัฒนธรรมต่ำทรามที่แพร่มาจากต่างประเทศอีกด้วย การพัฒนาระบบเศรษฐกิจระบบเสรีนิยมที่ก้าวหน้าและพัฒนาการเมืองให้เป็นระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง คือ มาตรการพื้นฐานในการป้องกันและกำจัดวัฒนธรรมต่ำทรามต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นภายในประเทศและที่แพร่มาจากต่างประเทศ ในขณะเดียวกันก็ใช้มาตรการทางกฎหมายและทางการศึกษาอบรมควบคู่กันไปด้วย วัฒนธรรมต่ำทรามนั้นไม่เป็นสิ่งพึงประสงค์ไม่ว่าของเทศใดๆ แต่วัฒนธรรมที่ดีของแต่ละชาติก็ไม่ใช่ว่าจะยอมรับซึ่งกันและกันใด้เสมอไป วัฒนธรรมซึ่งชาติหนึ่งถือว่าดี อีกชาติหนึ่อาจถือว่าไม่ดีก็ได้ เช่น ประเพณีความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิงซึ่งชาติหนึ่งถือว่าดีงาม แต่อีกชาติหนึ่งถือว่าเป็นการอนาจารไปก็มี ฉะนั้น การรับวัฒนธรรมจากต่างชาติ จึงต้องคัดเลือกกลั่นกรองเอาแต่เฉพาะที่ไม่ขัดกับวัฒนธรรมไทย แม้ว่าวัฒนธรรมเหล่านั้นจะไม่ใช่วัฒนธรรมต่ำทรามก็ตาม

๖.๒ เชิดชูวัฒนธรรมไทยอันสูงส่งมาแต่บรรพกาล

ภูมิแห่งจิตใจของชนชาติไทยซึ่งแสดงออกทางขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะ วรรณคดี และความสัมพันธ์กับต่างชาติ เป็นต้นนั้นสูงส่งอย่างยิ่ง ซึ่งจะต้องรักษาและเชิดชูไว้ตลอดไป วัฒนธรรมอันสูงส่งย่อมอาศัยระบอบประชาธิปไตยเป็นพื้นฐาน เพราะวัฒนธรรมอันสูงส่งก็คือวัฒนธรรมของประชาชน ถ้าไม่มีประชาธิปไตย วัฒนธรรมของประชาชนก็จะไม่สามารถพัฒนาอย่างเต็มที่ได้ การปกครองประเทศไทยมีลักษณะประชาธิปไตยมาตั้งแต่บรรพกาล นี่คือ ปัจจัยสำคัญให้วัฒนธรรมของประชาชนได้พัฒนาอย่างเต็มที่ จึงส่งเสริมให้วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมที่สูงส่ง ฉะนั้น มาตรการพื้นฐานของการเชิดชูวัฒนธรรมไทยก็คือ การพัฒนาระบอบประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับประเทศไทยนั่นเอง ประสานกับการส่งเสริมวัฒนธรรมใดด้านต่าง ๆ โดยตรงด้วย

๖.๓ ส่งเสริมเสรีภาพของกลุ่มชนต่างเชื้อชาติในประเทศไทยในการพัฒนาวัฒนธรรมของตน

คนไทยประกอบด้วยชนหลายเชื้อชาติ นอกจากเชื้อชาติไทยแล้วยังมีชนเชื้อชาติอื่นๆ เช่น ชาวเขา ชาวมาเลย์ เป็นต้น ความแตกต่างทางเชื้อชาติย่อมกำหนดความแตกต่างทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ระบอบประชาธิปไตยยอมรับ ฉะนั้น ระบอบประชาธิปไตยจึงต้องให้เสรีภาพทางวัฒนธรรมแก่ชนเชื้อชาติต่างๆ ภายในประเทศ เพื่อให้วัฒนธรรมของประชาชนเชื้อชาติเหล่านั้นได้พัฒนาไปอย่างเต็มที่ แม้ว่าวัฒนธรรมของชนเชื้อชาติอื่นจะแตกต่างกับวัฒนธรรมของชนเชื้อชาติไทยก็ตาม แต่เมื่อเป็นวัฒนธรรมของประชาชนก็ย่อมเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามทั้งสิ้น ฉะนั้น การให้เสรีภาพทางวัฒนธรรมจึงมีผลดี โดยเฉพาะคือ ผลดีในการกระชับความสามัคคีแห่งชาติ

๖.๔ พัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองบนรากฐานของการส่งเสริมทรรศนะที่ถือว่า การเมืองคือคุณธรรมตามคตินิยมของคนไทยแต่โบราณ

โดยลักษณะการเมืองคือคุณธรรม เพราะมีความมุ่งหมายเพื่อความสุขของประชาชน ความจริงข้อนี้คนไทยได้ถือเป็นคตินิยมมาแต่โบราณ เช่น ทศพิธราชธรรม เป็นต้น

ในบรรดาระบอบการปกครองทั้งหลาย ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่มีคุณธรรมสูงสุด เพราะระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่รักษาผลประโยชน์ของประชาชน ดังนั้น ประชาธิปไตยก็คือธรรมาธิปไตย นั่นเอง จึงไม่มีการเมืองใดจะมีคุณธรรมสูงส่งเสมอด้วยการเมืองประชาธิปไตย และดังนั้นถ้าจะเป็นประชาธิปไตยก็จำเป็นจะต้องกำจัดทรรศนะที่เห็นการเมืองเป็นของสกปรกและกลับไปสู่ทรรศนะเดิม คือ การเมืองเป็นคุณธรรมต่อไป และบนรากฐานของทรรศนะที่ถูกต้องนี้ ดำเนินการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เช่นความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ความอดทนต่อความเห็นที่ตรงกันข้ามกับของตน ความมีวินัย ความยอมรับเสียงข้างมาก ความยืนหยัดในหลักการที่ถูกต้องแม้ว่าจะเป็นฝ่ายข้างน้อย ความใจกว้าง ความยอมแพ้ต่อเหตุผล ความเคารพในหลักวิชา ความอุทิศตนเพื่อประเทศชาติเพื่อประชาชน และเพื่อคุณธรรม เป็นต้น ให้มีทรรศนะที่เห็นการเมืองเป็นคุณธรรม และให้สมบูรณ์ด้วยวัฒนธรรทางการเมืองอย่างมากที่สุด

๖.๕ ส่งเสริมความบริสุทธิ์ผุดผ่องของพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาประจำชาติไทย รวมทั้งศาสนาอื่นๆ ในประเทศไทย

พระพุทธศาสนาเป็นองค์ประกอบอันสำคัญที่สุดของวัฒนธรรมไทย เพราะหลักธรรมของพระพุทธศาสนาสอดคล้องอย่างลึกซึ้งกับลักษณะพิเศษประจำชาติไทย โดยเฉพาะคือ อหิงสา (ความไม่เบียดเบียน) เป็นลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของคนไทย และหลักธรรมอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนาคือ อหิงสา ปรโม ธมฺโม (ความไม่เบียดเบียนเป็นธรรมอย่างยิ่ง) ด้วยเหตุนี้ คนไทยซึ่งรับเอาพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ จึงเข้ากับศาสนาอื่นได้เป็นอย่างดี ในประวัติศาสตร์ของชาติไทยไม่เคยมีการเลือกปฏิบัติต่อศาสนาอื่น และไม่เคยมีเหตุการณ์ร้ายแรงอันเนื่องมาจากความแตกต่างทางศาสนา การที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะนับถือพุทธศาสนาของคนไทยนั้น โดยพื้นฐานเป็นการนับถือหลักธรรมอันแท้จริง แม้ว่าจะประกอบด้วยพิธีการ และลัทธินิยมอื่นๆ มากมาย แต่โดยพื้นฐานก็มิได้ละทิ้งหลักธรรมอันแท้จริง หลักธรรมอันแท้จริงนี่เอง คือ ความบริสุทธิ์ผุดผ่องของศาสนา ซึ่งควรเน้นหนักในการส่งเสริมโดยร่วมมือกับบรรดานักปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง

เหล่านี้ คือนโยบายหลักของสภาปฏิวัติแห่งชาติ สภาปฏิวัติแห่งชาติ มีปณิธานอันแน่วแน่ที่จะปฏิบัตินโยบายนี้เพื่อให้เป็นผลสำเร็จ โดยถือเป็นภารกิจอันสำคัญที่สุดในการนำประเทศชาติและประชาชนผ่านพ้นภัยพิบัติ ผลักดันความเจริญก้าวหน้าไปสู่สังคมประชาธิปไตย ยังความไพบูลย์แก่ประเทศชาติและความผาสุกแก่ประชาชน และรักษาชาติไทยให้ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร.

(รายละเอียดยังมีอีกมาก ครับ นี่เป็นโครงสร้างด้านการต่างประเทศ ย่อๆของการปกครองแบบประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ด้านวัฒนธรรม)
edit:thongkrm_virut@yahoo.com
ขอขอบคุณข้อมูลทั้งหมดจาก blogger : ครูทองคำ วิรัตน์

รัฐธรรมนูญกับนโยบาย

รัฐธรรมนูญกับนโยบาย

(บทความ เรื่อง รัฐธรรมนูญกับนโยบาย เขียนโดยท่านอาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร)
ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า ระบบและระบอบมาก่อน รัฐธรรมนูญมาที่หลัง และรัฐธรรมนูญคือกติกาของระบอบ ซึ่งถ้าจะกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือที่ทราบกันอยู่แล้วว่า รัฐธรรมนูญคือกฎหมายนั่นเอง

ธรรมดากฎหมายย่อมตามหลังเหตุการณ์ กฎหมายจะเกิดก่อนเหตุการณ์ไม่ได้ อย่างเช่นมีกฎหมายควบคุมราคาสินค้า ก็เพราะได้มีการขึ้นราคาสินค้าก่อน ถ้าไม่เคยมีการขึ้นราคาสินค้า ก็จะไม่มีกฎหมายควบคุมราคาสินค้า มีกฎหมายพรรคการเมือง ก็เพราะมีพรรคการเมืองอยู่ก่อน ถ้าไม่มีพรรคการเมืองอยู่ตามธรรมชาติ ก็ไม่สามารถจะออกกฎหมายพรรคการเมืองได้ แม้กฎหมายของศาสนา อย่างเช่น พระวินัยบัญญัติของพระพุทธเจ้า ก็เกิดขึ้นภายหลังเหตุการณ์เช่นเดียวกัน เช่นมีการห้ามภิกษุตัดต้นไม้ ก็เพราะมีภิกษุตัดต้นไม้ขึ้นก่อน

โดยนัยนี้ กฎหมายจึงเป็นภาพสะท้อนของข้อเท็จจริงที่ดำรงอยู่ ถ้าไม่มีข้อเท็จจริงที่ดำรงอยู่ก็ไม่สามารถจะมีกฎหมาย และข้อเท็จจริงที่ดำรงอยู่เป็นอย่างไร กฎหมายก็สะท้อนภาพออกมาเป็นอย่างนั้น ระบบและระบอบคือข้อเท็จจริงที่ดำรงอยู่ รัฐธรรมนูญคือกฎหมาย ฉะนั้น รัฐธรรมนูญจึงเป็นภาพสะท้อนของระบบและระบอบที่ดำรงอยู่ รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยคือภาพสะท้อนของระบบและระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญเผด็จการคือภาพสะท้อนของระบบและระบอบเผด็จการ รัฐธรรมนูญสังคมนิยมคือภาพสะท้อนของระบบและระบอบสังคมนิยม รัฐธรรมนูญอนาธิปไตยคือภาพสะท้อนของสภาพอนาธิปไตย

ตามหลักสากลนิยมนั้น รัฐธรรมนูญกับนโยบายไม่ใช่สิ่งเดียวกัน เพราะว่าถึงแม้นโยบายกับรัฐธรรมนูญจะพูดถึงเรื่องเดียวกัน แต่คนละมุม อย่างเช่น นโยบายกับรัฐธรรมนูญจะพูดเรื่องประชาธิปไตย นโยบายก็พูดถึงประชาธิปไตยที่จะทำ ส่วนรัฐธรรมนูญพูดถึงประชาธิปไตยที่ทำได้แล้ว หรือถ้าจะให้ชัดเป็นเรื่อง ๆ รายๆ ไป เช่น เรื่องการปฏิรูปที่ดิน นโยบายก็พูดเรื่องการปฏิรูปที่ดินที่จะทำ ส่วนรัฐธรรมนูญพูดเรื่องการปฏิรูปที่ดินที่ทำได้แล้ว พูดง่ายๆ ว่า นโยบายพูดถึงอนาคตของประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญพูดถึงปัจจุบันของประชาธิปไตย นี่คือพูดเรื่องเดียวกันคนละมุม

ไม่ว่านโยบายและรัฐธรรมนูญของระบอบใดๆ ก็พูดเรื่องเดียวกันละมุมอย่างนี้ทั้งสิ้น นโยบายของระบอบเผด็จการ พูดถึงระบอบเผด็จการที่จะทำ รัฐธรรมนูญของระบอบเผด็จการพูดถึงระบอบเผด็จการที่ทำได้แล้ว นโยบายของระบอบสังคมนิยม พูดถึงระบอบสังคมนิยมที่จะทำ รัฐธรรมนูญของระบอบสังคมนิยม พูดถึงระบอบสังคมนิยมที่ทำได้แล้ว นโยบายของระบอบประชาธิปไตย ก็พูดถึงระบอบประชาธิปไตยที่จะทำ และรัฐธรรมนูญของระบอบประชาธิปไตย ก็พูดถึงระบอบประชาธิปไตยที่ทำได้แล้ว อย่างนี้ทั้งสิ้น อย่างเช่นรัฐธรรมนูญของระบอบเผด็จการฟรังโก ที่ได้กำหนดไว้ว่าจะทำตั้งแต่ 50 ปีก่อน หรือรัฐธรรมนูญสังคมนิยมของสหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐประชาชนจีน ก็พูดถึงระบอบสังคมนิยมในประเทศทั้งสองที่ทำได้แล้ว 

ซึ่งเป็นระบอบที่เป็นผลของนโยบายสังคมนิยม ที่ได้กำหนดไว้ว่าจะทำเมื่อหลายสิบปีก่อน นโยบายและรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยก็เป็นเช่นนี้เหมือนกัน ในเมื่อยังไม่มีระบอบเผด็จการหรือระบอบสังคมนิยม จึงจะมีนโยบายเผด็จการหรือสังคมนิยม แต่เมื่อมีระบอบเผด็จการหรือมีระบอบสังคมนิยมแล้ว จึงจะมีรัฐธรรมนูญเผด็จการหรือรัฐธรรมนูญสังคมนิยม ระบอบประชาธิปไตยก็เช่นเดียวกัน นี่เป็นหลักสากลนิยมอย่างหนึ่ง ไม่ว่าของลัทธิประชาธิปไตย หรือลัทธิใดๆ ทั้งสิ้น
เมื่อนโยบายกับรัฐธรรมนูญไม่ใช่สิ่งเดียวกัน หน้าที่ของแต่ละอย่างก็ย่อมจะแตกต่างกัน หน้าที่ของรัฐธรรมนูญก็คือหน้าที่ของกฎหมาย คือหน้าที่ในการรักษาสถานการณ์ คือหน้าที่ในการรักษาระบอบและระบอบ รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยจึงมีหน้าที่เป็นเครื่องมือรักษาระบบและระบอบ ประชาธิปไตย ส่วนนโยบายประชาธิปไตยนั้น หมายถึงรายการของความมุ่งหมายของพรรคการเมืองหรือของรัฐบาล อันมีต่อปัญหาประชาธิปไตย ว่าจะทำอะไรบ้าง ฉะนั้นสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาประชาธิปไตย นโยบายประชาธิปไตยจึงทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการสร้างระบบและระบอบ ประชาธิปไตย (ยังมีต่อ)

การที่จะบรรลุถึงประชาธิปไตยตามความต้องการของประชาชนนั้น ก่อนอื่นจะต้องดำเนินการสร้างประชาธิปไตย เมื่อสร้างประชาธิปไตยสำเร็จไปได้ตามขั้นตอนแล้ว ก็จะต้องมีการรักษาผลสำเร็จนั้นไว้ เพื่อจะได้สร้างขั้นตอนต่อไป เครื่องมืออันสำคัญที่สุดของการสร้างประชาธิปไตย ก็คือ นโยบาย เครื่องมือแม่บทของการรักษาประชาธิปไตย ก็คือ รัฐธรรมนูญ นี่คือความแตกต่างในหน้าที่ระหว่างนโยบายกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปอย่างหนึ่งในลัทธิประชาธิปไตย ซึ่งจะดูข้อเท็จจริงได้จากประเทศประชาธิปไตยต่างๆ
ในประเทศอังกฤษ ก่อนที่จะมีระบบรัฐสภาที่เป็นแบบฉบับ ก็ได้มีการสร้างประชาธิปไตยในด้านเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง ฯลฯ ตามนโยบายของคณะหรือพรรคการเมืองต่างๆ มาเป็นเวลายาวนาน และเมื่อสร้างประชาธิปไตยได้แล้ว จึงใช้รัฐธรรมนูญ (ที่เป็นลายลักษณ์อักษร) รักษาประชาธิปไตยนั้นไว้ ในสหรัฐก่อนที่จะมีระบบประธานาธิบดีที่เป็นแบบฉบับ ก็ได้มีการสร้างประชาธิปไตยในด้านต่างๆ ตามนโยบายของคณะและพรรคการเมืองต่างๆ มาเป็นเวลาไม่น้อยและเมื่อสร้างประชาธิปไตยได้แล้ว จึงใช้รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร รักษาประชาธิปไตยนั้นไว้ ประเทศอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน คือใช้นโยบายสร้างประชาธิปไตย และใช้รัฐธรรมนูญรักษาประชาธิปไตย

ในประเทศไทย แต่เดิมนโยบายประชาธิปไตยเป็นของพระราชวงศ์จักรีเป็นส่วนใหญ่ เมื่อพระราชวงศ์จักรีได้ใช้นโยบายดังกล่าว สร้างประชาธิปไตยมาตั้งแต่รัชกาลที่ 5 จนถึงรัชกาลที่ 7 ซึ่งนับว่าสำเร็จไปตอนหนึ่งแล้ว ก็เตรียมการจะใช้รัฐธรรมนูญรักษาประชาธิปไตยนั้นไว้ แต่คณะราษฎรยึดอำนาจเสียก่อน จึงใช้รัฐธรรมนูญของคณะราษฎร

แม้ว่าระบบประชาธิปไตยในประเทศไทย จะได้เริ่มพัฒนามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ก็ตาม แต่การใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกเมื่อ พ.ศ.2475 ก็ยังเป็นการใช้รัฐธรรมนูญในสภาวการณ์ที่ระบบประชาธิปไตยของประเทศไทยยังอยุ่ในระยะแรกของการพัฒนา ระบบประชาธิปไตยในขณะนั้นยังอยู่ห่างไกลจากความสมบูรณ์เป็นอันมาก ซึ่งหมายความว่าภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบรัฐธรรมนูญในครั้งนั้นแล้ว ภารกิจเร่งด่วนก็คือ จะต้องระดมสรรพกำลังสร้างประชาธิปไตยให้ปรากฏผลสำเร็จ เป็นขั้นๆ ต่อไป มีแต่จะต้องสร้างประชาธิปไตยให้ปรากฏผลสำเร็จเท่านั้น การใช้รัฐธรรมนูญในครั้งจึงจะมีผลในการรักษาเสถียรภาพได้ ถ้าการสร้างประชาธิปไตยไม่ประสบผลสำเร็จ การใช้รัฐธรรมนูญก็จะไม่มีผลในการ

รักษาเสถียรภาพแต่อย่างใด ดังได้กล่าวแล้วว่า เครื่องมืออันสำคัญที่สุดของการสร้างประชาธิปไตยก็คือนโยบาย ฉะนั้นคณะราษฎรจะต้องมีนโยบายที่แน่นอนและถูกต้อง เป็นนโยบายแห่งชาติที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง สังคม การต่างประเทศ ฯลฯ จึงจะสร้างประชาธิปไตยให้สำเร็จได้ แต่พอจะลงมือสร้างประชาธิปไตยต่อไปเท่านั้น คณะราษฎรก็เกิดความขัดแย้งกันเองอย่างรุนแรงในปัญหานโยบายฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นข้างน้อย ต้องการจะสร้างประชาธิปไตยด้วยนโยบายที่เรียกว่า เค้าโครงการเศรษฐกิจ (สมุดปกเหลือง) ของหลวงประดิษฐมนูธรรม หรือนายปรีดี พนมยงค์ แต่ฝ่ายข้างมากไม่เห็นด้วย ก็นับว่าเป็นโชคดีของบ้านเมือง ที่เค้าโครงการเศรษฐกิจฉบับนั้นถูกยับยั้งไว้ มิฉะนั้นแล้วจะเกิดกลียุคเป็นแน่แท้เพราะว่าสมุดปกเหลืองนั้นแม้ว่าจะมีข้อดีในฐานะที่เป็นแผนเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับแรกของประเทศไทย และโดยหลักการจะเป็นนโยบายที่ก้าวหน้าก็ตาม แต่ในด้านรูปธรรมและรายละเอียด ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง มีเป็นอันมากที่ไม่ชอบด้วยหลักวิชา การปฏิเสธจึงเป็นสิ่งถูกต้อง แต่เมื่อฝ่ายข้างมากของคณะราษฎรได้ปฏิเสธเค้าโครงการเศรษฐกิจ นายปรีดีแล้ว ก็หาได้เสนอแผนเศรษฐกิจแห่งชาติที่ถูกต้องขึ้นมาแทนแต่อย่างใดไม่ คงมีแต่เพียงนโยบายกว้างๆ ที่เรียกว่าหลัก 6 ประการซึ่งแถลงไว้เมื่อวันยึดอำนาจเท่านั้นเอง การมีแต่เพียงนโยบายกว้างๆ เช่นนี้ ย่อมใช้ทำอะไรไม่ได้ ซึ่งก็เท่ากับไม่มีนโยบาย และเมื่อไม่มีนโยบาย ก็ไม่มีการสร้างประชาธิปไตย ฉะนั้นตลอดสมัยแห่งการปกครองของคณะราษฎร แม้ว่ามองดูจากภายนอกเหมือนกับว่าได้ทำอะไรไว้มาก แต่ตามความเป็นจริงแล้วก็เป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปเรื่อยๆ เท่านั้นเอง ส่วนปัญหาพื้นฐานต่างๆ ของชาติที่ตกค้างมาจากสมัยราชาธิปไตย ยังคงปล่อยไว้ตามเดิม ยังหาได้แก้ให้ตกไปไม่ ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ แม้ว่าจะมากมายก่ายกอง จึงเป็นเรื่องผิวเผิน พื้นฐานไม่เปลี่ยนแปลง

เป็นอันว่า คณะราษฎรมีแต่รัฐธรรมนูญ แต่ไม่มีนโยบาย และคิดว่ามีแต่รัฐธรรมนูญก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตย แต่ความเป็นจริงนั้น การไม่มีนโยบายก็คือไม่มีการสร้างประชาธิปไตยนั่นเอง และเมื่อไม่มีการสร้างประชาธิปไตยประชาธิปไตยก็อ่อนแอ ถูกเขี่ยเบาๆ ก็ล้มเสียแล้ว บางทีไม่มีใครเขี่ยก็ล้มเอง ถึงจะเอารัฐธรรมนูญดีวิเศษอย่างไรมาป้องกันรักษาไว้ ก็ช่วยอะไรไม่ได้ ความเข้มแข็งของประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้ด้วยการสร้างประชาธิปไตยให้สำเร็จ และจะสร้างประชาธิปไตยให้สำเร็จได้ต้องมีนโยบายประชาธิปไตยที่ถูกต้องเป็นเครื่องมือ เพียงแต่ใช้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยไม่สามารถจะทำให้ประชาธิปไตยเข้มแข็งขึ้นมาได้ บทบาทของรัฐธรรมนูญมีแต่เพียงรักษาและส่งเสริมความเข้มแข็งของประชาธิปไตย ภายหลังที่นโยบายที่ถูกต้องได้สร้างประชาธิปไตยให้เป็นผลสำเร็จ ตามสภาวการณ์ในขณะนั้นๆ แล้วเท่านั้น การที่คณะราษฎรสร้างประชาธิปไตยไม่สำเร็จด้วยเหตุที่ไม่มีนโยบายที่ถูกต้อง และแน่นอนนี่เอง คือสาเหตุที่แท้จริงของความล้มลุกคลุกคลานของประชาธิปไตย หาใช่เพราะรัฐธรรมนูญเป็นต้นเหตุแต่อย่างใดไม่ ความล้มเหลวของคณะราษฎรนั้น ต้องโทษโทษนโยบายของคณะราษฎร ไม่ใช่โทษรัฐธรรมนูญของคณะราษฎร

พอขบวนการเสรีไทยเข้ามาแทนคณะราษฎร โดยใช้รูปแบบของพรรคสหชีพบ้าง แนวรัฐธรรมนูญบ้าง พรรคอิสระบ้าง ก็เข้ารอยเดียวกับคณะราษฎรต่อไป คือเริ่มต้นด้วยการจัดการกับรัฐธรรมนูญ โดยแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 เป็นรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2489 ส่วนในด้านนโยบายไม่เห็นได้ศึกษาค้นคว้ากันสักเท่าไร นอกจากพูดกว้างๆ ว่าสังคมนิยมๆ โดยถือเอาสหกรณ์เป็นหลัก และก็พยายามแสดงให้ปรากฏว่าเป็นสังคมนิยมแท้ โดยยกเอาความหมายของสหกรณ์มาเป็นชื่อพรรครัฐบาล คือพรรคสหชีพ และเจ้าตำรับสังคมนิยมบางคน ซึ่งเป็นรัฐมนตรีในขณะนั้น ถึงกับพยายามผูกเน็คไทสีแดง เพื่อยืนยันความเป็นสังคมนิยมของตน แต่การปฏิบัตินโยบายสังคมนิยมครั้งนั้น โดยเฉพาะคือการจัดตั้งองค์การสรรพาหาร ก็ยังผลให้ชาวบ้านต้องแย่งกันซื้อข้าวสารแบบเดียวกับในปัจจุบัน (กลางเดือนมีนาคม 2517) นี่เอง
ต่อจากขบวนการเสรีไทยก็ถึงคณะรัฐประการ ซึ่งออกมาในรูปของพรรคต่างๆ ตั้งแต่เสรีมนังคศิลาจนถึงชาติสังคม แต่ก็วุ่นวายอยู่กับเรื่องรัฐธรรมนูญเหมือนกัน มีรัฐธรรมนูญ ใต้ตุ่ม” รัฐธรรมนูญ 2492 และรัฐธรรมนูญ 2495 แก้ไขเพิ่มเติม ด้านนโยบายไม่ปรากฏชัดเจนว่า มีอะไรแตกต่างในขั้นมูลฐานจากสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ
คณะปฏิวัติซึ่งสืบต่อคณะรัฐประหาร นับว่ามีความสนใจต่อปัญหานโยบายมากกว่าคณะก่อนๆ ที่สำคัญคือ ได้เสนอนโยบายหลักขึ้นมาอย่างถูกต้องว่า จะสร้างประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับสภาพของประเทศไทย และได้เริ่มต้นใช้แผนเศรษฐกิจแห่งชาติในการสร้างประชาธิปไตย แต่นโยบายหลักที่ถูกต้องดังกล่าวนั้น ก็ยังคงเป็นการเสนอไว้อย่างกว้างๆ ไม่มีการศึกษาให้ลึกซึ้ง และไม่ได้กำหนดนโยบายรายละเอียดให้แจ่มชัดแน่นอน จึงไม่มีผลในทางปฏิบัติเท่าที่ควร ส่วนแผนเศรษฐกิจแห่งชาตินั้นก็ได้ละเว้นปัญหาอันเป็นพื้นฐานที่สุดในระบบเศรษฐกิจแห่งชาติไปเสียหลายปัญหา จึงยังเป็นแผนเศรษฐกิจแห่งชาติที่ขาดความสมบูรณ์อย่างมาก จึงไม่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจเท่าที่ควรเช่นกัน
การที่คณะปฏิวัติให้ความสนใจต่อปัญหานโยบายมากกว่าคณะก่อนๆ นั้น ทำให้คณะปฏิวัติมองปัญหารัฐธรรมนูญได้ดีกว่าคณะก่อนๆ เช่นมองหน้าที่ของรัฐธรรมนูญว่าเป็นหน้าที่ของกฎหมาย คือหน้าที่ในการรักษาสถานการณ์หรือรักษาระบบและระบอบ มากกว่าหน้าที่ในการสร้างระบบและระบอบ ดังเช่น ข้อความในคำปรารภของรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2511 ได้กล่าวถึงการที่รัฐธรรมนูญบับก่อนๆ รักษาเสถียรภาพไว้ไม่ได้อย่างไร และการที่จะทำให้รัฐธรรมนูญฉบับนั้นรักษาเสถียรภาพไว้ได้อย่างไร ในขณะเดียวกัน คณะปฏิวัติก็เน้นหนักในการพัฒนาประเทศตามนโยบายที่วางไว้ โดยไม่เน้นหนักและไม่รีบร้อนต่อการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ วิธีการเช่นนี้ของคณะปฏิวัติ ถ้าเกิดจากความเข้าใจอย่างชัดเจนในหลักที่ว่า จะต้องสร้างระบบและระบอบประชาธิปไตยให้สำเร็จตามนโยบายเสียก่อน แล้วจึงประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ก็จะเป็นวิธีการที่ถูกต้องอย่างมาก แต่อันที่จริงคณะปฏิวัติก็ยังมีข้อบกพร่องในปัญหานโยบายดังกล่าวแล้ว และบุคคลบางส่วนในคณะปฏิวัติก็มีความคิดที่จะถ่วงรัฐธรรมนูญ ทั้งวิธีการร่างรัฐธรรมนูญของคณะปฏิวัติ ก็ยังคงปะปนนโยบายกับรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับคณะก่อนๆ โดยเฉพาะคือการบรรจุแนวนโยบายแห่งรัฐ ไว้ในรัฐธรรมนูญ ฉะนั้น ทั้งๆ ที่คณะปฏิวัติได้เริ่มเดินเข้าสู่ทางแห่งประชาธิปไตยสากล ทั้งในปัญหานโยบายและ
ปัญหารัฐธรรมนูญอยู่แล้ว ก็ยังคงมีข้อผิดพลาดบกพร่องเป็นอย่างมากในปัญหาทั้งสองนี้ ผลก็คือคณะปฏิวัติสร้างประชาธิปไตยไม่สำเร็จ รัฐธรรมนูญของคณะปฏิวัติ คือรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2511 จึงช่วยอะไรไม่ได้ในที่สุดคณะปฏิวัติก็พังทะลายเช่นเดียวกับคณะก่อนๆ

อย่างไรก็ดี ความโน้มเอียงซึ่งทุ่มเทความสนใจให้แก่รัฐธรรมนูญ และมองข้ามนโยบายได้กลับมาแสดงบทบาทอย่างเต็มที่อีกครั้งหนึ่งภายหลังเหตุการณ์ตุลาคม ซึ่งมีการเรียกร้องประชาธิปไตย กันอย่างเกรียวกราวครึกโครมยิ่งกว่าสมัยใดๆ แต่ก็คงมีแต่การเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ไม่มีการเรียกร้องนโยบาย
ในหลักประชาธิปไตยสากลนั้น เขาสร้างประชาธิปไตยด้วยนโยบายกันทั้งนั้น เมื่อพูดถึงการวางนโยบายประชาธิปไตย เขาก็พูดเรื่องนโยบายกันก่อน เพราะจะสร้างประชาธิปไตยสำเร็จหรือล้มเหลวตัดสินกันด้วยนโยบายว่าจะถูกหรือผิด นโยบายจึงเป็นเรื่องใหญ่ว่าอะไรทั้งหมดในบรรดาประเทศที่กำลังสร้างประชาธิปไตย ต่างก็ระดมกำลังปัญญาของชาติ ทำการศึกษาคิดค้นและแสวงหากันนักหนา เพื่อจะได้นโยบายที่ถูกต้องสำหรับแก้ปัญหาของชาติในด้านต่างๆ ส่วนรัฐธรรมนูญนั้น ไม่เป็นเรื่องใหญ่โตเท่าเรื่องนโยบาย แม้ในบางประเทศที่ร่างรัฐธรรมนูญอย่างไม่ถูกต้อง โดยกำหนดแนวนโยบายของรัฐไว้ในรัฐธรรมนูญ ก็ยังคงสนใจปัญหานโยบายมากกว่าปัญหารัฐธรรมนูญอยู่นั่นเอง แม้ในประเทศที่มีการรัฐประหารบ่อยๆ ทำรัฐประหารเพื่อเปลี่ยนนโยบายมากกว่าเพื่อเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้แตกต่างกับประเทศ
ไทยเรา เมื่อพูดถึงการสร้างประชาธิปไตย จึงมักจะพูดเรื่องรัฐธรรมนูญกันก่อน ศึกษาคิดค้นและแสวงหากันนักหนา แต่ในเรื่องรัฐธรรมนูญตึงตังโครมครามกันกี่หนกี่ครั้งก็เรื่องรัฐธรรมนูญ แม้ในขณะที่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน กำลังโอดครวญกันทั้งเมืองเพราะถูกราคาสินค้าเหยียบอกเอาจนจะร้องไม่ออกอยู่แล้ว ก็ยังคงกึกก้องกระหึ่มไปทั่วประเทศ ด้วยเสียงรัฐธรรมนูญที่กระจายออกมาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสื่อมวลชนต่าง ๆ ไม้เว้นแต่ละวัน
แต่พอพูดถึงนโยบาย ก็ไม่เห็นว่าจะมีใครสนใจค้นคว้าแสวงหานโยบายที่ถูกต้อง เพื่อแก้ไขความทรุดโทรมทางเศรษฐกิจ แก้ไขความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชน หรือแก้ไขปัญหาพื้นฐานต่างๆ ของชาติอีกมากมายที่ยังตกค้างอยู่นับเป็นเวลาสิบๆ ปีมาแล้ว แทนที่จะสนใจว่ารัฐบาลนี้มีนโยบายอย่างไร กลับสนใจว่ารัฐบาลจะร่างรัฐธรรมนูญเสร็จเมื่อไร แม้รัฐบาลเอง เมื่อแถลงนโยบายต่อสภาไปแล้วก็แล้วกันไป นโยบายที่แถลงไว้นั้นจะถูกหรือผิด ประสิทธิภาพหรือไม่ และใช้ปฏิบัติได้ผลแค่ไหนเพียงไร ดูเหมือนจะไม่ได้สนใจสักกี่มากน้อย และคอยตามแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆ เสียเป็นส่วนใหญ่ ทำให้แม้แต่สมาชิกสภานิติบัญญัติบางคนกล่าวว่า รัฐบาลไม่มีนโยบายทั้งๆ ที่รัฐบาลได้แถลงไว้แล้ว แม้แต่สมาชิกพรรคการเมือง ถ้าถามว่าพรรคของเขามีนโยบายอย่างไร ก็มักจะตอบเคลือบคลุมๆ ไม่ชัดแจ้งบางทีก็บอกว่านโยบายของพรรคไหนมันก็เหมือนๆ กันทั้งนั้น บางคนเป็นถึงหัวหน้าพรรค กลับไปสนใจต่อร่างรัฐธรรมนูญมากกว่าค้นคว้าศึกษานโยบายของพรรคการเมือง คล้ายกับจะเอาชะตากรรมของพรรคตนไปฝากไว้กับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ สังกัดพรรคหรือเปล่าแบ่งเขตหรือรวมเขตฯลฯ สภาพการณ์ดังกล่าวนี้ทำให้ดูประหนึ่งว่า ในบรรดาประเทศกำลังพัฒนาด้วยกันแล้ว ไม่มีประเทศใดจะสนใจรัฐธรรมนูญมาก และสนใจนโยบายน้อยเท่าประเทศไทยเลย และดูเหมือนจะไม่มีครั้งใดในประวัติ 40 กว่าปีของระบอบรัฐธรรมนูญ ที่จะได้มีการระดมกำลังกันทำรัฐธรรมนูญให้เป็นนโยบายมากเท่ากับครั้งนี้เลย โดยเฉพาะการอภิปรายหมวด ว่าด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐนั้น ผู้อภิปรายส่วนใหญ่ต่างแสดงความชื่นชมกับการบรรจุแนวนโยบายแห่งรัฐไว้ในรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นหมวดสำคัญที่สุดในรัฐธรรมนูญ และกรรมการร่างรัฐธรรมนูญผู้ทรงคุณวุฒิท่านหนึ่งถึงกับประกาศอย่างชัดเจนว่า รัฐธรรมนูญก็คือการกำหนดอนาคตของสังคม แต่ถึงจะพยายามอย่างไร ก็จะฝ่าฝืนหลักประชาธิปไตยสากลไปไม่ได้ เพราะนโยบายกับรัฐธรรมนูญไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันและมีหน้าที่คนละอย่าง จะปะปนกันไม่ได้ ถ้าปะปนกันก็จะทำให้รัฐธรรมนูญไม่เป็นรัฐธรรมนูญ และทำให้นโยบายอ่อนแอไร้ประสิทธิภาพ ผลก็คือจะสร้างประชาธิปไตยไม่สำเร็นตามที่เคย และรัฐธรรมนูญที่เข้าใจว่าร่างกันไว้อย่างดีเลิศแล้วนั้น ก็จะไปไม่รอดตามเคย
ฉะนั้น ถ้าหวังผลสำเร็จของการสร้างประชาธิปไตย และหวังให้ระบอบรัฐธรรมนูญมีความมั่นคงจะต้องเข้าใจความแตกต่างและความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายกับรัฐธรรมนูญอย่างถูกต้องตามหลักประชาธิปไตยสากล และยึดถือปฏิบัติเป็นอย่างดี การฝ่าฝืนหลักประชาธิปไตยสากลข้อนี้ ของนักประชาธิปไตยในประเทศไทย คือสาเหตุสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ประชาธิปไตยล้มลุกคลุกคลาน และทำให้รัฐธรรมนูญล้มเหลว
อนึ่ง ควรกล่าวไว้ในที่นี้ด้วยว่า คำว่านโยบายที่กล่าวถึงนี้ หมายความถึงรายการต่างๆ ของความมุ่งหมายที่จะให้สำเร็จ ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า PROGRAM แต่ในภาษาไทยนิยมใช้คำว่านโยบายซึ่งตรงกับคำว่า POLICY แต่ความนิยมในภาษาไทย คำว่านโยบายดูเหมือนจะหมายความถึง PROGRAM และ POLICY รวมกัน
เมื่อพิจารณาตามหลักประชาธิปไตยสากลแล้ว จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยขาดนโยบายไม่ใช่ขาดรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญเรามีเหลือเฟือ ประเทศไทยร่ำรวยรัฐธรรมนูญกว่าประเทศใดๆ ในโลก แต่เราขาดนโยบาย ประเทศไทยยากจนนโยบายยิ่งกว่าประเทศใดๆ ในโลก ฉะนั้น พลังมวลชนที่ระดมกันร่างรัฐธรรมนูญนั้น ควรใช้ร่างนโยบาย และการเผยแพร่ประชาธิปไตยนั้น แทนที่จะเผยแพร่รัฐธรรมนูญ ควรเปลี่ยนเป็นเผยแพร่นโยบาย ความล้มเหลวต่างๆ ที่แล้วมา อย่าโทษรัฐธรรมนูญเลย ตัวการอยู่ที่นโยบาย
ความแตกต่างและความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งนโยบายพูดถึงสิ่งที่จะทำรัฐธรรมนูญพูดถึงสิ่งที่ทำได้แล้ว นโยบายมีหน้าที่สร้างระบบและระบอบ รัฐธรรมนูญมีหน้าที่รักษาระบบและระบอบนั้น ก็คือการแสดงออกอีกด้านหนึ่งของหลักประชาธิปไตยสากลที่ว่า ประชาธิปไตยมาก่อน รัฐธรรมนูญมาทีหลัง ดังกล่าวแล้วนั่นเอง
ประเทศชาติมีความต้องการอย่างรีบด่วนที่สุด ที่จะแก้ปัญหาต่างๆ ให้ตกไป ประเทศชาติต้องการให้เพิ่มการผลิต ต้องการให้เพิ่มรายได้ของประชาชาติและของประชาชน ต้องการให้เฉลี่ยรายได้ของประชาชนอย่างยุติธรรม ต้องการให้ราคาสินค้ามีเหตุผล ต้องการให้เงินบาทมีเสถียรภาพ ต้องการให้ประชาชนมีงานทำทั่วถึงกัน ต้องการให้มีสถานศึกษาอย่างเพียงพอ ต้องการให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อย ต้องการให้มีการบริหารที่เข้มแข็ง ฯลฯ ประเทศชาติมีความต้องการมากหลาย ปัญหาของชาติกองพะเนินเทินทึกอยู่ตรงหน้า ทั้งปัญหาพื้นฐานและปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งมีความจำเป็นอย่างรีบด่วนที่สุดที่จะต้องแก้ให้ตกไป ความจำเป็นที่จะต้องแก้ปัญหาของชาตินั้น เปรียบไปแล้วก็เหมือนคนไข้ที่จะต้องรักษาอย่างถูกต้องโดยด่วน ขืนทิ้งไว้
จะต้องตายแน่ๆ ฉะนั้นขอให้นักประชาธิปไตยทั้งหลายจงมาเรียกร้องนโยบายกันเถิด การเรียกร้องนโยบายก็คือการเรียกร้องให้แก้ปัญหาของชาติ และปัญหาของชาตินั้นถ้าลงมือแก้ก็ได้ ที่เป็นอยู่เช่นนี้เพราะไม่ยอมแก้ต่างหาก การเรียกร้องรัฐธรรมนูญโดยไม่เรียกร้องนโยบาย คือวิธีการหลีกเลี่ยงการแก้ปัญหาของชาติ ซึ่งไม่ต้องพูดถึงผลในอนาคต แม้ในปัจจุบันทั้งๆ ที่เผยแพร่และอภิปรายรัฐธรรมนูญกันอย่างสนั่นหวั่นไหว แต่ชาวบ้านก็บอกว่า จะเอาข้าวสาร ไม่เอารัฐธรรมนูญ (กลางเดือนมีนาคม 2517)
จงทำให้ชาวบ้านมีข้าวสารเสียก่อนเถิด แล้วเขาจะต้อนรับรัฐธรรมนูญเป็นอย่างดี โดยไม่ต้องโฆษณา
(บทความ เรื่อง รัฐธรรมนูญกับนโยบาย เขียนโดยท่านอาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เป็นหลักการที่สำคัญหลักการหนึ่งของลัทธิประชาธิปไตย ท่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากลิงค์ที่แนบมาพร้อมแล้วนี้ ได้ครับ


( ทำเป็นไฟล์คอมพิวเตอร์โดย : คุณจงลักษณ์ ศรีสวัสดิ์)
edit: thongkrm_virut@yahoo.com

ข้อมูลทั้งหมดจาก blogger : ครูทองคำ วิรัตน์