ญี่ปุ่นประหารชีวิตฆาตกร 2 ราย (หนึ่งในนั้นยังเป็นผู้เยาว์)
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ญี่ปุ่นได้ประหารชีวิตฆาตกร 2 ราย
มีรายหนึ่งถูกตัดสินว่ามีความผิดจริงตอนที่ทำผิดยังเป็นเยาวชนอยู่
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมให้สัมภาษณ์ว่า
เธอขอปฏิเสธข้อเรียกร้องจากกลุ่มสิทธิมนุษยชน
องค์กร/รัฐบาลนานาชาติที่ให้ยกเลิกโทษประหารชีวิต
ตรงสีแดงคือ หลักประหาร พร้อมกับห่วง 3 ห่วง
ไว้คล้องเชือกผูกคอนักโทษที่จะถูกประหารชีวิต
ห้องกดปุ่มกลไกประตูให้เลื่อนลง/เปิดปิดได้ ให้นักโทษตกลงไป
ห้องสักขีพยานมีม่านสีน้ำเงินไว้เปิดปิดดูการประหารชีวิต
ทั้งนี้จะมีการแขวนคอ Teruhiko Seki กับ Kiyoshi Matsui
ภายในทัณฑ์สถานของญี่ปุ่นตามคลิป
ให้สังเกตตรงช่วงเวลา 0.40 ขึ้นไป ตรงช่องสี่เหลี่ยมสีแดง
มีห่วงเหล็กไว้ร้อยเชือกรัดคอนักโทษประหารชีวิต 3 ห่วง
โดยทำเป็นกระดานกลที่เพชรฆาตเปิดปิดปุ่มสวิทช์ด้านนอก
ให้เชือกกระตุกคอนักโทษตอนหล่นลงไปในห้องว่างด้านล่าง
นับตั้งแต่ปี 2012 มีการประหารชีวิตฆาตกรแล้วจำนวน 21 ราย
ในสมัยการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี Shinzo Abe
และทั้งนี้ยังมีนักโทษที่ต้องระวางโทษประหารชีวิต 124 ราย
อยู่ระหว่างพยายามรื้อฟื้นคดีใหม่ 91 ราย (ข้อมูล 13 กค.2017)
Teruhiko Seki อายุ 44 ปี
ถูกศาลตัดสินว่าฆ่าคนตาย 4 ศพในเขต Chiba ทางอาคเนย์ของ Tokyo
ในตอนปี 1992 เมื่อเขามีอายุได้เพียง 19 ปีในตอนนั้น (ติดคุก 25 ปี)
นับเป็นการประหารชีวิตฆาตกรที่เป็นผู้เยาว์ครั้งแรกในญี่ปุ่นหลังจากปี 1997
เพราะผู้เยาว์ในญี่ปุ่นจะต้องมีอายุไม่เกินกว่า 20 ปี
Kiyoshi Matsui อายุ 69 ปี (ติดคุก 23 ปี)
ถูกศาลตัดสินว่าฆ่าเพื่อนสาวและพ่อแม่ของเธอตายรวม 3 ศพในปี 1994
แม้ว่าทั้งคู่พยายามจะขอรื้อฟื้นคดีอาญาให้มีการพิจารณาใหม่
แต่ก็ได้รับการปฏิเสธจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง
เพราะในประเทศญี่ปุ่นจะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและลำบากมาก
ในการรื้อฟื้นคดีอาญาที่ต้องระวางโทษประหารชีวิต
“ ทั้งคู่ต่างก่ออาชญากรรมที่โหดร้าย
ฉันได้ลงนามอนุมัติประหารชีวิต
หลังจากได้พิจารณาไตร่ตรองแล้ว "
Yoko Kamikawa รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
แม้ว่าประเทศญี่ปุ่นกับสหรัฐอเมริกาจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว
แต่ยังคงมีโทษประหารชีวิตที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่
โดยโทษประหารชีวิตยังได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากพลเมืองชาวญี่ปุ่น
แม้ว่าจะได้รับการคัดค้านจากรัฐบาลหลายชาติในยุโรปและกลุ่มสิทธิมนุษยชนก็ตาม
อนึ่ง ฝ่ายที่คัดค้านญี่ปุ่นได้ให้สัมภาษณ์ว่า ระบบเรือนจำของญี่ปุ่นเลวร้ายมาก
เพราะนักโทษจะต้องถูกขังเดี่ยวเป็นเวลานานหลายปี ก่อนจะถูกนำตัวไปประหารชีวิต
โดยรู้ข่าวล่วงหน้าเพียงไม่กี่ชั่วโมง ก่อนที่จะถูกแขวนคอจนกระทั่งตาย
เรียบเรียง/ที่มา
https://goo.gl/N73sjZ
https://goo.gl/meagN3
https://goo.gl/cXtVcY
หมายเหตุ
คดีประหารชีวิตของไทยว่างเว้นไปเลยในยุคสมัย
ศาตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นประธานองคมนตรี
ซึ่งท่านต้องเป็นผู้ลงนามสนองรับพระบรมราชโองการ
ว่าฎีกาของนักโทษประหารชีวิตขอพระราชทานอภัยโทษตกไปหรือไม่ตก
เพราะในวงการนักกฎหมายเล่าสืบต่อกันมาเป็นตำนานว่า
ท่านเป็นคนธัมมะธัมโมไม่อยากสร้างเวรสร้างกรรม
กับบรรดานักโทษที่คดีถึงที่สุดแล้วว่ามีความผิดจริง
ด้วยวิธีการดึงเรื่องถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของนักโทษประหารชีวิตไว้
โดยไม่นำขึ้นทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลมหาราช
ให้ทรงมีพระราชวินิจฉัยในเรื่องการขอพระราชทานอภัยโทษจากนักโทษประหารชีวิต
นานจนครั้งหนึ่ง พระองค์ได้ตรัสถามอาจารย์สัญญาเรื่องนี้
อาจารย์สัญญาได้ทูลว่า " ควรมิควรแล้วจะโปรด อยู่ระหว่างการพิจารณา พะยะค่ะ "
พระองค์ทรงแย้มพระโอษฐ์ เพราะทรงเมตตาและทรงทราบนิสัยอาจารย์สัญญาเป็นอย่างดี
(ขอพระราชทานอภัยที่นำเรื่องนี้มาบอกเล่าจากที่ฟังสืบต่อกันมา)
ตราบใดที่ยังไม่มีฎีกาตกไปยังกรมราชทัณฑ์
ก็ยังไม่มีการประหารชีวิตแต่อย่างใด
จนระยะเวลาล่วงเลยไปจนถึงวาระพิเศษต่าง ๆ
ที่มีพระราชกฤษฏีกาพระราชทานอภัยโทษ
นักโทษประหารชีวิตเหล่านี้ต่างได้รับการลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต
แล้วก็ค่อย ๆ ลดหลั่นโทษลงไปเรื่อย ๆ จนพ้นโทษจากเรือนจำ
อนึ่ง ศาตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์
น่าจะเป็นบุคคลแรกของเมืองไทยที่เคยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรม
ประธานศาลฎีกา ประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรี ประธานองคมนตรี
คณบดีคณะนิติศาสตร์และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ซึ่งยังไม่เคยมีใครดำรงตำแหน่งได้แบบท่านในประวัติศาสตร์ไทย
กฎหมายไทย จะถือว่าเป็นผู้เยาว์หรือไม่ ให้นับตั้งแต่วันที่กระทำความผิด
และถ้าในวันที่ส่งฟ้องดำเนินคดีอาญามีอายุเกินแล้ว เช่น หลบหนีไปจนอายุเกิน
ก็ยังต้องนำตัวขึ้นศาลคดีเด็กและเยาวชน
น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ในสถานพินิจคุ้มครองเด็กบางแห่ง มีขาใหญ่/ขาโจ๋ประจำอยู่
แต่ถ้ากระทำความผิดในช่วงอายุระหว่าง 18-20 ปี
ให้เป็นดุลพินิจของศาลว่าจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณา
ให้ต้องรับโทษแบบผู้เยาว์หรือนักโทษทั่วไป
เรื่องเล่ากันจนเป็นตำนานนักกฎหมายว่า
ที่เมืองนอกเคยมีคดีแย่งชิงนักโทษแขวนคอแล้วพ้นผิด/รอดตาย
เพราะคำพิพากษาระบุว่าให้แขวนคอจำเลย
ฝ่ายพรรคพวกนักโทษเลยรอเวลาพร้อมทำการช่วยเหลือ
เมื่อเพชรฆาตแขวนคอนักโทษแล้ว
ก็กรูขึ้นไปช่วยเหลือตัดเชือกที่แขวนคอนักโทษออกทันที
แล้วสู้คดีว่าการแขวนคอครบองค์ประกอบตามคำพิพากษาแล้ว
ทำให้ในภายหลังต้องมีคำพิพากษาระบุให้ชัดเจนว่าให้แขวนคอจนกระทั่งตาย
หรือสำนวนกฎหมายไทยในอดีตก็ยังเคยระบุ ให้เอาไปยิงเสียให้ตาย
ในมาเลย์ นักโทษประหารชีวิตจะถูกแขวนคอจนกระทั่งตาย
ก็จะถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำโดยไม่รู้ระยะเวลาประหารชีวิตเช่นกัน
จนกว่า 24 ชั่วโมงสุดท้ายก่อนประหารชีวิตจึงจะแจ้งให้นักโทษทราบ
บางรายก็ให้ญาติพี่น้องเข้าเยี่ยมได้เป็นครั้งสุดท้าย
บางรายก็ไม่อนุญาตให้เยี่ยม ให้รอรับศพอย่างเดียว
ที่เป็นตำนานหลายปีก่อนแล้วคือ
ชายไทยที่ต้องโทษแขวนคอจนตายที่มาเลย์โทษฐานค้าอาวุธปืน
มีการนำศพกลับมาทำพิธีที่เมืองไทยที่ปาดังเบซาร์
สภาพนักโทษถูกขุนจนอ้วนพีช่วงติดคุกเป็นเวลานานหลายปีแล้ว
จนกระทั่งญาติพี่น้องต่างคิดว่าคงจะไม่มีการประหารชีวิตแล้ว
ทั้งนี้ แม้ว่าจะได้พยายามติดต่อผ่านทางสถานทูตไทย/รัฐบาลไทย
และขออภัยโทษจากอากง ราชามาเลย์
ยังดี เปอร์ตวน อากง Yang di-Pertuan Agong แต่ก็ไม่ได้ผล
ราชาประมุขของรัฐมาเลย์จะดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี
โดยจะการเลือกตั้งกันภายในเฉพาะราชา 9 รัฐจาก 13 รัฐในมาเลย์
ในมาเลเซียแทบจะไม่มีการอภัยโทษเลย
เท่าที่จำได้เคยมีการให้อภัยโทษเพียงครั้งเดียว
เป็นเด็กชายเชื้อชาติจีนไปเก็บปืนสั้นที่ฝังดินไว้นานแล้วและชำรุดมากแล้ว
นำมาถือเล่นในกำปง(หมู่บ้าน) เลยต้องโทษประหารชีวิตตามกฎหมาย
แต่ได้รับคำร้องขอจากรัฐบาลหลายชาติ/องค์กรสิทธิ์ต่าง ๆ
ทำให้อากงยอมลงนามอภัยโทษให้เหลือโทษจำคุกตลอดชีวิต
ในมาเลย์จะบังคับกฎหมายเคร่งครัดมากตามเจ้าอาณานิคมอังกฤษ
สืบเนื่องมาจากยุคที่มีการต่อต้านการปกครองพวกจักรวรรดิ์อังกฤษ
กับสงครามภายในที่มีช่วงปราบปรามคอมมิวนิสต์มาลายา
และมีคอมมิวนิสต์มาลายาบางส่วนได้หลบซ่อนตัวอยู่ในฝั่งไทย แถวเบตง กับ นาทวี
โดยมีการขุดอุโมงค์เป็นสถานที่หลบภัยและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทุกวันนี้
ซึ่งตอนนี้ต่างมารายงานตัวว่าเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย
และมีที่ดินทำกินในบริเวณเดิมที่เป็นสถานที่หลบภัย
รายละเอียดสามารถสืบค้นได้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
ในหลายประเทศของยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมันนี อีตาลี รัสเซีย
ยังมีโทษประหารชีวิตอยู่ไม่ได้มีกฎหมายยกเลิกแต่อย่างใด
ประธานาธิบดีมีอำนาจพิเศษที่ให้อภัยโทษประหารชีวิตนักโทษได้
แต่ส่วนมากนักโทษจะถูกระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตตามคำสั่งศาล
โทษประหารชีวิตเป็นเครื่องมือของรัฐในการปกครองและรักษาความมั่นคง
การไม่ได้ใช้โทษประหารชีวิต ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใช้อีก
เพราะในสหรัฐอเมริกาหลายรัฐมีการรณรงค์ให้รื้อฟื้นโทษประหารชีวิตขึ้นมาใช้อีกครั้ง
พวกนักสิทธิมนุษยชนมักจะตีความ/มั่วเอาเองว่า
ประเทศไหนที่ว่างเว้นโทษประหารชีวิต 10 ปีขึ้นไป
แสดงว่าประเทศนั้นไม่มีโทษประหารชิวิต/ยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว
ของไทยก็ใกล้จะครบ 10 ปีแล้ว ก็จะถูกนำไปอ้างด้วยเช่นกัน
ประเทศที่ตอนนี้ไม่มีโทษประหารชีวิตเลย คือ ยิว
แต่นักโทษจะถูกจำคุกตลอดชีวิตแบบไม่มีการอภัยโทษ
นักโทษจะถูกลงโทษแบบขังเดี่ยว
ต้องทนทุกข์ทรมานแบบจำจนตาย/เข็ดจนตาย
ตายแบบหัวใจแหลกสลายและขมขื่นตลอดกาลนาน
ตามวิธีการลงโทษทัณฑ์และวิธีคิดแบบยิว
ขอบคุณข้อมูล : เพจpantip.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น