วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2561

ชาวเชียงใหม่แสดงจุดยืนขอคืนผืนป่าดอยสุเทพ ขีดเส้นนายกฯ 7 วัน ต้องรื้อบ้านพักตุลาการ

ชาวเชียงใหม่แสดงจุดยืนขอคืนผืนป่าดอยสุเทพ ขีดเส้นนายกฯ 7 วัน ต้องรื้อบ้านพักตุลาการ




...


เครือข่ายชาวเชียงใหม่ต้านบ้านศาล ไม่เอา ม.44 แก้ปัญหาหมู่บ้านป่าแหว่ง



BUSABA SIVASOMBOON/BBC THAI
คำบรรยายภาพเครือข่ายภาคประชาชนชาวเชียงใหม่แสดงจุดยืนเพื่อปกป้องและขอคืนผืนป่าดอยสุเทพจากกรณีการก่อสร้างบ้านพักตุลาการริมดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่


29 เมษายน 2018
ที่มา บีบีซีไทย


ชาวเชียงใหม่แสดงจุดยืนขอคืนผืนป่าดอยสุเทพ ต้องการให้รื้อบ้านพักตุลาการ ยืนยันไม่ได้ออกมากดดันให้หัวหน้า คสช. ใช้อำนาจตามมาตรา 44 เพื่อให้ยกเลิก

ตั้งแต่ช่วงเช้า ประชาชนชาวจังหวัดเชียงใหม่ได้รวมตัวกันที่บริเวณลานประตูท่าแพ ก่อนเดินทางไปยังอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ แสดงจุดยืนเพื่อปกป้องและขอคืนผืนป่าดอยสุเทพจากกรณีการก่อสร้างบ้านพักตุลาการริมดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ ขบวนของประชาชนต่างผูกริบบิ้นสีเขียวเป็นสัญลักษณ์การต่อต้าน พร้อมตะโกนว่า "ตุ๊บขว้าง เตขว้าง" หรือ "ทุบทิ้ง รื้อทิ้ง" ก่อนจะอ่านประกาศเจตนารมณ์ ที่บริเวณอนุสาวรีย์สามกษัตริย์และสลายตัวเมื่อเวลา 10.00 น.



สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ตำรวจประมาณการณ์ว่ามีผู้เข้าร่วมชุมนุมประท้วงราว 1,250 คน และเป็นการชุมนุมที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งตั้งแต่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เข้ายึดอำนาจเมื่อปี 2014 และมีการประกาศห้ามชุมนุมมากกว่า 5 คนขึ้นไป

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานอีกว่า ตำรวจในพื้นที่ระบุว่า นี่เป็นการชุมนุมเพื่อประเด็นทางสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่การเมือง และผู้จัดก็ได้ทำหนังสือขออนุญาตชุมนุมประท้วงอย่างถูกต้อง และก็ทำความสะอาดสถานที่หลังจากกิจกรรมเสร็จสิ้น

เจตนิพิฐ (ขอสงวนนามสกุล) วัย 20 ปี บอกกับบีบีซีไทยว่า "เราเป็นคนเชียงใหม่เกิดและเติบโตที่นี่ ถ้าเรานิ่งเฉยคือการยอมรับ ต้องออกมาแสดงพลังร่วมว่าจะต้องรื้อ ถ้าเราปล่อยไปก็อาจจะเกิดโครงการที่ 2-3-4 ต่อไป"



BUSABA SIVASOMBOON/BBC THAI


ด้านนายธีระศักดิ์ รูปสุวรรณ ประธานเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ ซึ่งเป็นการรวมตัวของภาคประชาชน 44 องค์กร กล่าวกับบีบีซีไทยว่า การชุมนุมในวันนี้เป็นการแสดงพลังของชาวเชียงใหม่และคนทั่วประเทศที่บอกว่าเราไม่ต้องการโครงการบ้านตุลาการ และยืนยันที่จะรอฟังคำตอบของนายกรัฐมนตรีหรือหัวหน้า คสช. ในการแก้ไขปัญหานี้

อย่างไรก็ตาม นายธีระศักดิ์กล่าวว่าเครือข่ายฯ ไม่ได้ต้องการให้นายกฯ ใช้อำนาจมาตรา 44 สั่งให้ยกเลิก แต่จะให้เวลานายกฯ อีก 7 วันเพื่อที่จะตอบว่าจะดำเนินการอย่างไร ก่อนที่จะยกระดับการเรียกร้องขึ้นไปอีก


BUSABA SIVASOMBOON/BBC THAI


การเรียกร้องจะกระทำในทุกมิติ โดยจะเริ่มในวันที่ 6 พ.ค. มีการแสดงงานศิลปะต่อต้านบ้านศาลและจะเดินหน้าคัดค้านไปจนกว่าจะได้รับคำตอบ

บีบีซีไทยได้สอบถามไปทางศาลอุทธรณ์เชียงใหม่ที่มีพื้นที่โครงการตั้งอยู่ แต่ศาลปฏิเสธที่จะให้ความเห็น




BUSABA SIVASOMBOON/BBC THAI


ศาลขอให้ได้พิสูจน์ด้านอนุรักษ์ธรรมชาติ


ก่อนหน้านี้นายชำนาญ รวิวรรณพงษ์ ประธานแผนกคดีล้มละลายในศาลฎีกา ซึ่งอดีตเคยเป็นประธานศาลอุทธรณ์ภาค 5 ในช่วงเริ่มโครงการบ้านพักตุลาการ ได้กล่าวกับสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสว่า "การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ใช่ต้องรื้ออย่างเดียว เราทำให้สิ่งที่มีอยู่แล้ว มาปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ไหม ขอเวลาสัก 10 ปีแล้วค่อยว่ากัน ถ้า 10 ปีแล้ว บริเวณแถบนี้ยังคงเป็นทะเลทราย อย่างนั้นก็ค่อยมาดูกันอีกที"

และนายชำนาญก็ยังได้ย้ำว่า "ก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้มีภาคประชาชนใดมาพูดคุย ผมไม่เห็นเลยเครือข่ายที่ว่านี้" เพื่อตอบคำถามที่ว่าเมื่อเริ่มโครงการมีเครือข่ายใดในเชียงใหม่ออกมาคัดค้านหรือไม่



GOOGLE/เครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ
คำบรรยายภาพโครงการก่อสร้างบ้านพักตุลาการซึ่งเชื่อว่ารุกล้ำเข้าแนวเขตป่าดั้งเดิม (เส้นประ)


ในขณะเดียวกัน นายนิคม พุทธา ประธานกลุ่มอนุรักษ์ลุ่มแม่น้ำปิง กล่าวกับบีบีซีไทยว่า ตัวเขาจะใช้วิธีการอดข้าว และสวดมนต์ทางด้านหน้าศาลอุทธรณ์ภาค 5 ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีโครงการในวันที่ 25 เป็นต้นไป

"ผมว่าทั้งสองฝ่ายต้องยอมรับข้อผิดพลาดของตนเอง ร่วมมือกันแก้ไขปัญหา ทางฝ่ายเครือข่ายประชาชนก็ต้องพร้อมจะหารือพูดคุยรับฟังศาล ทางด้านศาลเองก็อย่าไปยืนยันว่าได้มาโดยถูกกฎหมาย เพราะโครงการนี้ก็เหมือนกลัดกระดุมเม็ดแรกไม่ตรง เม็ดที่สองที่สามมันก็ไม่ตรงตามมา" นายนิคมกล่าว

เขาเคยมีส่วนร่วมในการอดข้าวและสวดมนต์ประท้วงเรื่องความขัดแย้งด้านการเมืองระหว่างเสื้อเหลืองเสื้อแดงในเมืองเชียงใหม่มาแล้ว รวมทั้งเคยทำวิธีนี้เพื่อประท้วงการระเบิดแก่งหินในแม่น้ำโขงของบริษัทจีนมาก่อนหน้านี้ด้วย




https://www.facebook.com/ThaiPBSFan/videos/10160549678555085/
ขอขอบคุณข้อมูล : Thaienews

วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2561

อารมณ์ ‘เหลืออด’ ก้าวข้ามทักษิณ หนักหนายิ่งกว่าทวงคืนผืนป่าหมู่บ้านตุลาการ

วันอาทิตย์, เมษายน 29, 2561

อารมณ์ ‘เหลืออด’ ก้าวข้ามทักษิณ หนักหนายิ่งกว่าทวงคืนผืนป่าหมู่บ้านตุลาการ

“คนแถวนี้ถ้าเขาไม่เหลืออดจริงๆ เขาไม่ออกมาประท้วง หรือเรียกร้องอะไรหรอก” ถ้อยคำที่ Pipob Udomittipong เขียนโพสต์ว่า “คนเหนือแต๊ ๆ ที่ไม่ได้ยุ่งกับการเมืองเลยบอกผม”

ถึงเหตุการณ์ที่ชาวเชียงใหม่ กว่าพัน’ พร้อมเพรียงกันออกมาเรียกร้อง “ให้นายกรัฐมนตรี สั่งรื้อถอนบ้านพักตุลาการศาลอุทธรณ์ ภาค ๕ ที่รุกล้ำแนวเขตป่าธรรมชาติ เพื่อปรับพื้นที่และฟื้นฟูให้กลับมาสมบูรณ์เหมือนเดิม” (@Weeranan VoiceTV21)
นอกจากนั้นยังมีผู้ตอบสำรวจ นิด้าโพล ๘๕.๒ เปอร์เซ็นต์ของตัวอย่าง ๑,๒๕๐ คน เห็นว่าการขึ้นไปจัดทำโครงการสร้างบ้านพักตุลาการอย่างหรูนี้ “ไม่เหมาะสม

เพราะเป็นการทำลายป่าไม้ ทำลายธรรมชาติและระบบนิเวศ สิ้นเปลืองงบประมาณควรนำงบประมาณไปใช้ทำอย่างอื่นที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับคนในพื้นที่ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวไม่ควรมีสิ่งปลูกสร้าง”

อีกทั้งโพลของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์นี้ยังพบว่า “ส่วนใหญ่ร้อยละ ๕๓.๘๔ ระบุว่าเห็นด้วย...กับการรื้อถอนบ้านพักตุลาการศาลบริเวณดอยสุเทพออกทั้งหมด “เพราะจะได้คืนผืนป่าให้กลับมาอุดมสมบูรณ์เหมือนเดิม และจะเป็นการช่วยอนุรักษ์ผืนป่าเอาไว้


เช่นนี้ก็น่าจะเกินพอให้มีการยุติโครงการอย่างสิ้นเชิง และรื้อถอนวัสดุก่อสร้างต่างๆ ออกไปให้หมด มิใช่แก้ไขปัญหาด้วยปาก บอกว่ายับยั้งและจะไม่ให้ตุลาการเข้าไปอยู่อาศัย แต่การก่อสร้างก็ยังดำเนินมา อย่างน้อยในตลอดเวลากว่าเดือนที่เริ่มมีกระบวนการประท้วงคัดค้านเกิดขึ้น

มิหนำซ้ำฝ่ายตุลาการผู้ได้รับประโยชน์เกินเต็มจากโครงการนี้แสดงความเห็นแก่ตัวจะเอาแต่ได้ อดีตผู้พิพากษาระดับประธานศาลนายหนึ่งอ้างการปักปันโดยทหาร ให้เนื้อที่ ๑๔๗ ไร่ของโครงการอยู่นอกเขตป่าสงวน

ผู้พิพากษาคนนั้นยังแสดงอาการพาลพาโล ไปแขวะโครงการก่อสร้างมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่งในเนื้อที่กว่า ๖ พันไร่ว่าลุกล้ำป่าเหมือนกันใยไม่มีใครค้าน อดีตผู้พิพากษาคนนั้นคงหูตาเมามัวเสียจนมองไม่เห็นว่าโครงการสร้างมหาวิทยาลัยนั้นเป็นประโยชน์ทางการศึกษาแก่เยาวชนของชาติเป็นหมื่นเป็นแสนคน และเป็นล้านๆ ในระยะยาว

แต่โครงการหมู่บ้านป่าแหว่งบนดอยสุเทพ เป็นความสุขสบายส่วนตัวของผู้พิพากษาไม่กี่สิบคน ไฉนผู้มีอาชีพบังคับใช้กฎหมายจึงต้องมีอภิสิทธิ์ความเป็นอยู่สูงส่งบนเขา ขณะที่คนธรรมดาไม่สามารถทำได้

อดีตผู้พิพากษาระดับสูงถึงดอยอีกคนมีหน้าบอกว่า ขืนไม่ให้ผู้พิพากษาอยู่บ้านเก๋ไก๋รายล้อมด้วยป่าอย่างนี้ ชาวบ้านต้องเสียเวลาไปฟังการพิจารณาคดีถึงกรุงเทพฯ เชียวละ จึงขอให้พวกตุลาการได้อยู่อาศัยใช้สิทธิพิเศาไปก่อนสักสิบปีดูสิว่าจะช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศที่เสียไปจากการก่อสร้างได้ไหม

เหล่านั้นน่ะหรือคือความคิดความอ่านของคนที่ทำหน้าที่พิพากษาคดีความเพื่อธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม มิน่าประเทศชาติถึงได้ถดถอยทางจริยธรรมในความเสมอภาคแห่งมนุษยชนลงไปได้เพียงนี้ เมื่อผู้ใช้กฎหมายอ้างบางตัวบทให้เกิดความได้เปรียบแก่ตน และสร้างความเหลื่อมล้ำทับถมสามัญชนอื่น

มันสะท้อนสถานะในสังคมแห่งการแบ่งแยกแตกร้าวฝังลึกกระทั่งทุกวันนี้ ยากที่จะผ่อนคลาย ไม่ต้องพูดถึงการเลิกรา เมื่อมีการตีตราฝ่ายหนึ่งว่าเป็นคนไม่ดี อีกฝ่ายเป็นคนดีเพียงเพราะสนับสนุนให้ทหารเข้ามายึดอำนาจเอาไปครองอย่างเบ็ดเสร็จ เสียจนกำลังจะก่อความเดือดร้อนเสียเองแก่ฝ่ายที่เป็นนั่งร้านรองรับเผด็จการ

หนึ่งในพวก นั่งร้าน ตัวยง นัก ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง เพิ่งจะรู้สึกว่าถูกทหารหลอกใช้เป็นบันไดเหยียบขึ้นสู่อำนาจ โพสต์ข้อความอันย้อนแย้งอย่าง‘irony’ ว่า “เมื่อไหร่พี่น้องเสื้อเหลืองเสื้อแดงจะจับมือก้าวข้าม คสช.+ทักษิณ+คอร์รัปชัน” เสียที
 
รสนา โตสิตระกูล อดีต สว.คนดังของกรุงเทพฯ เปรียบเปรยการจับมือกันของผู้นำเกาหลีเหนือ-ใต้ ลงนามเขตปลอดอาวุธปรมาณูบนคาบสมุทรเกาหลี และร่วมกันกรุยทางไปสู่การรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสองฝ่าย แล้วย้อนมาดูตัวเองของพวกเรา

มีคนถามว่า “แล้วที่ไปเดินขบวนขับไล่ตระกูลทักษิณไม่ได้ผลหรือ” น.ส.รสนาให้ความเห็นว่า “๔ ปีของ คสช.ไม่ได้ปฏิรูปเรื่องสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง” แต่ผู้ตั้งคำถามที่เป็น เสื้อเหลือง เต็มที่คนนั้นก็ยังคงยืนยันว่า

“ไม่ต้องการให้ทักษิณกลับมา เลยยังต้องสนับสนุน คสช.ต่อไป ดิฉันถามว่าแม้ในสมัยนี้ที่มีการคอร์รัปชันไม่ต่างจากรัฐบาลในเครือข่ายทักษิณที่เธอออกมาเดินขบวนขับไล่กันหรือ เธอได้แต่นิ่งอึ้ง”

รสนาเจาะจงถึงประเด็นที่มีการเอ่ยถึงมาแล้วในช่วงเกือบปีที่ผ่านมา หลังจากที่คนส่วนใหญ่ตระหนักแล้วว่า คสช. ไม่เพียง ไร้น้ำยา หากเข้ามาเพื่ออำนาจของตนเองเท่านั้น และยิ่งอยู่นานก็ยิ่งลงยาก

เธอว่า “หากเสื้อเหลืองเสื้อแดงยังแตกคอกัน ปกป้องแต่ผู้นำที่ตนเชียร์ แม้ผู้นำของตนจะคอร์รัปชัน เราก็คงเป็นเหมือนเกาหลีเหนือเกาหลีใต้ที่ไม่ยอมก้าวข้ามเส้นแบ่งสมมติที่ขีดกันขึ้นมา”


ข้อเรียกร้องของรสนามิใช่แค่ ‘too little, too late’ เพราะการเกลียดชังซึ่งกันและกันของสองฝ่ายมันก้าวข้ามทั้งทักษิณและ คสช. ไปไกล อีกทั้งเนิ่นนานยากที่จะกู่กลับเสียแล้ว ตราบเท่าที่ความรู้สึกกร่าง หยามหมิ่น และเอาเปรียบยังฝังอยู่กับมโนจริตการเป็น คนดี
 
พงศกร รอดชมภู ถือโอกาสตอบคำของรสนาว่า “แดง-เหลืองส่วนใหญ่ไม่ใช่คู่ขัดแย้งกัน แต่เป็นเหตุจากชนชั้นนำที่บอกว่าควรปกครองด้วยการแต่งตั้ง ด้วยผู้ดีมีสกุล แต่ปัญญาอ่อนก็ได้ต่างหาก ที่ไม่ยอมสละอำนาจนั้น...

ไม่ต้องก้าวข้ามใคร นอกจากชนชั้นปกครองทั้งหลายที่เห็นแก่ตัว ทำนาบนหลังคน เพื่อสร้างความเสมอภาคและความยุติธรรม เท่านั้นครับ” อดีตรองเลขาธิการสภาความมั่นคงฯ สมัยทักษิณ โต้นักปฏิรูปพลังงานตัวยง “แม้แต่ ปตท. ที่บางคนยังไม่ก้าวข้าม”

สวนรสนาทันควัน (แรงส์) อีกคนไม่พ้น Pavin Chachavalpongpun นักวิชาการสังกัดมหาวิทยาลัยเกียวโต แต่ตะลอนสอนหนังสือและบรรยายไปทั่วโลก ว่า “ตัวมึงเองนะคะที่มีส่วนเป่านกหวีดเรียกทหารทำรัฐประหารล้มอีปู” และ

“คนเสื้อแดงถูกยิงตายฟรีๆ เกือบ ๑๐๐ คน ให้เค้าก้าวข้ามหรอคะ ถ้าพ่อแม่มึงถูกยิงกะโหลกด้วย มึงจะก้าวข้ามไหมคะ” เสริมด้วยว่า “ตอนนี้ไทยอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการ คสช วิธีเดียวที่จะก้าวข้ามได้คือต้องโค่นล้มมันคะ”


นี่ก็น่าจะเป็นอารมณ์ เหลืออด เหมือนกัน หากหนักหนายิ่งกว่าความเหลื่อมล้ำระหว่างผู้พิพากษาสูงส่งบนดอยกับชาวบ้านติดดิน

ขอขอบคุณข้อมูลจากบทความ Thaienews อย่างสูงครับ

วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2561

เขื่อหรือไม่? ร่างยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการพัฒนาคน ตั้งเป้าเด็กไทยเรียนดี เป็นคนเก่ง ชีวิตยืนยาว (ไม่เชื่อโว๊ย!!)

เขื่อหรือไม่? ร่างยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการพัฒนาคน ตั้งเป้าเด็กไทยเรียนดี เป็นคนเก่ง ชีวิตยืนยาว (ไม่เชื่อโว๊ย!!)





ร่างยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการพัฒนาคน: ตั้งเป้าเด็กไทยเรียนดี มีคนเก่ง ชีวิตยืนยาว อ่านต่อ https://ilaw.or.th/node/4770 

ร่างยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการพัฒนาคน: ตั้งเป้าเด็กไทยเรียนดี มีคนเก่ง ชีวิตยืนยาว


30 มี.ค. 2561
ขนาดไฟล์384.38 KB


แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีทั้งหมดหกด้าน จัดทำโดยคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติทั้งหกคณะที่รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้แต่งตั้ง สำหรับการจัดทำ "ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์" รัฐบาล คสช. ได้แต่งตั้ง กฤษณพงศ์ กีรติกรประธานกรรมการ พร้อมคณะกรรมการอีก 12 คน

24 มกราคม 2561 คณะกรรมการชุดดังกล่าวได้จัดทำร่างเบื้องต้นเสร็จสิ้น และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ฯ ได้จัดรับฟังความคิดเห็นประชาชนจำนวนสี่ครั้งในสี่ภาคสี่จังหวัด เป็นที่เรียบร้อยแล้วเช่นกัน ร่างยุทธศาสตร์ชาติฉบับนี้กำลังถูกแก้ไขเพิ่มเติมก่อนจะถูกเสนอต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติในวันที่ 9 เมษายน 2561





แผนยุทธศาสตร์ฉบับดังกล่าวตั้งเป้าให้ประเทศไทยมีเด็กที่เรียนดี มีโอกาสทางการศึกษา มีทักษะในศตวรรษที่ 21 พร้อมกับมีคนในวัยทำงานที่มีทักษะสูงสอดรับกับการเข้าสู่เศรษฐกิจในยุคดิจิทัล และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี โดยมีตัวชี้วัดทั้งหมด 4 ตัว ได้แก่

1. ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index: HDI) เป็นดัชนีการวัดและเปรียบเทียบ การมีชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพดี ซึ่งวัดได้จากอายุขัย และความรู้ ซึ่งวัดได้จากการรู้หนังสือและอัตราส่วนการเข้าเรียนสุทธิที่รวมกันทั้งระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา รวมไปถึงมาตรฐานคุณภาพชีวิต ซึ่งวัดได้จากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product - GDP) ต่อหัวและความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (purchasing power parity - PPP) เพื่อระบุระดับการพัฒนาของประเทศนั้นๆ โดยไทยตั้งเป้าไว้ว่าจะมีค่า HDI มากกว่า 0.90 ซึ่งเป็นระดับที่สูงและอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ในขณะที่ปัจจุบันไทยอยู่ที่ระดับ 0.74

2. คะแนนสอบ PISA หรือ การประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (Programme for International Student Assessment) ที่ริเริ่มโดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือโออีซีดี เพื่อประเมินสมรรถนะของนักเรียนอายุ 15 ปี เกี่ยวกับการใช้ความรู้และทักษะในชีวิตจริง ซึ่งแบ่งออกเป็น ความรู้ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน โดยที่ผ่านมาคะแนนของเด็กไทยทั้งสามด้านอยู่ที่ 409-415 คะแนน แต่คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 493 คะแนน ขณะที่แผนยุทธศาสตร์ชาติตั้งเป้าไว้ที่ 500 คะแนน

3. ดัชนีเถ้าแก่ หรือ Global Entrepreneurship Index เพื่อดูวิธีการสนับสนุนและนโยบายของภาครัฐที่มีต่อวิสาหกิจและผู้ประกอบการในแต่ละประเทศ โดยไทยตั้งเป้าว่าจะได้คะแนนตามดัชนีดังกล่าวไว้อยู่ในลำดับเปอร์เซ็นไทล์ที่ 70 ซึ่งปัจจุบันไทยอยู่ที่ 27.4

4. SDGs หรือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งกำหนดโดยองค์การสหประชาชาติ ร่างยุทธศาสตร์ชาติเจาะจงไปที่เป้าหมายที่ 3 เรื่องการมีสุขภาพที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดี และตั้งเป้าเอาไว้ว่าไทย จะอยู่ในลำดับเปอร์เซ็นไทล์ที่ 90 ซึ่งปัจจุบันไทยก็อยู่ในลำดับดังกล่าวแล้ว

ทั้งนี้ เพื่อการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาเอาไว้ 7 อย่าง ได้แก่

1) การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม (Transformation of Culture) โดยมุ่งเน้นให้สถาบันทางสังคมร่วมปลูกฝังค่านิยมวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ ได้แก่ ความมีคุณธรรม จริยธรรม มัธยัสถ์ อดออม ซื่อสัตย์ และยึดแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้ทั้ง สถาบันครอบครัว ชุมชน ศาสนา การศึกษา และสื่อ ช่วยหล่อหลอมให้เป็น ‘วิถี’ ในการดำเนินชีวิต

2) การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต มุ่งเน้นการพัฒนาคนเชิงคุณภาพในทุกช่วงวัย ตั้งแต่ช่วงการตั้งครรภ์ วัยเรียน วัยรุ่น/นักศึกษา วัยแรงงาน และวัยผู้สูงอายุ เพื่อสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพ มีทักษะความรู้ เป็นคนดี มีวินัย มีความรอบรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) มีความสามารถในการวางแผนชีวิตและการวางแผนทางการเงิน (Financial Planning) ที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย และมีความสามารถในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า

3) การปฏิรูปการเรียนรู้แบบพลิกโฉม โดยการพัฒนาระบบการเรียนรู้ในทุกระดับชั้นเพื่อ เอื้อต่อการพัฒนาทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 ที่มุ่งเน้นการใช้ฐานความรู้และระบบคิดในลักษณะสหวิทยาการ เช่น Science (ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และการตั้งคำถาม) Technology (ความเข้าใจและความสามารถในการใช้เทคโนโลยี) Engineering (ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์และการคิดเพื่อหาทางแก้ปัญหา) Art (ความรู้และทักษะทางศิลปะ) และ Mathematics (ความรู้ด้านคณิตศาสตร์และระบบคิดของเหตุผลและการหาความสัมพันธ์)

รวมถึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้และมีใจใฝ่เรียนรู้ตลอดเวลา มีการออกแบบระบบการเรียนรู้ใหม่ การเปลี่ยนบทบาทครู การเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการศึกษา และการพัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต

4) การตระหนักถึงพหุปัญญา (multiple intelligence) ของมนุษย์ที่หลากหลาย อาทิ ภาษา (verbal-linguistic) ตรรกะและคณิตศาสตร์ (logic and mathematical) ด้านทัศนะและมิติ (visual and spatial) ดนตรี (musical-rhythmic and harmonic) กีฬาและการเคลื่อนไหวของร่างกาย (bodily kinesthetic) การจัดการตนเอง (intrapersonal) มนุษยสัมพันธ์ (interpersonal)

โดยเน้นการพัฒนาและรักษากลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษ (Talents) ของพหุปัญญาแต่ละประเภท รวมถึงผู้มีความสามารถอันโดดเด่นด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน การสร้างสภาพแวดล้อมและระบบสนับสนุนประชากรไทยมีอาชีพบนฐานพหุปัญญา การสร้างเสริมศักยภาพผู้มีความสามารถพิเศษให้สามารถต่อยอดการประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคง

5) การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี ครอบคลุมทั้งด้าน กาย ใจ สติปัญญา และสังคม มุ่งเน้นการเสริมสร้างการจัดการสุขภาวะในทุกรูปแบบที่นำไปสู่ศักยภาพในการจัดการสุขภาวะที่ดีได้ด้วยตนเอง พร้อมทั้งสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี และมี “ทักษะด้านสุขภาวะ” ที่เหมาะสม โดยพัฒนาองค์ความรู้และการสื่อสารด้านสุขภาวะที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ให้แก่ประชาชน รวมทั้งจัดให้มีระบบการเก็บข้อมูลสุขภาพของประชาชนตลอดช่วงชีวิตให้มีประสิทธิภาพ โดยอยู่บนพื้นฐานความยั่งยืนทางการคลัง

นอกจากนี้ ร่างยุทธศาสตร์ชาติยังกล่าวถึงการปฏิรูประบบการเก็บภาษีและรายจ่ายเพื่อให้บริการด้านสุขภาพ ตลอดจนการปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพในการสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับประชาชนทุกช่วงวัยอย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียง เป็นธรรม และยั่งยืน

6) การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ (eco-systems) มุ่งเน้นการสร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย การส่งเสริมบทบาทในการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ครอบครัวและชุมชนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การปลูกฝังและพัฒนาทักษะนอกห้องเรียน และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

7) การเสริมสร้างศักยภาพการกีฬาในการสร้างคุณค่าทางสังคมและพัฒนาประเทศ โดยมุ่งส่งเสริมการใช้กิจกรรมนันทนาการและกีฬาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างสุขภาวะของประชาชนอย่างครบวงจรและมีคุณภาพมาตรฐาน การสร้างนิสัยรักกีฬาและมีน้ำใจเป็นนักกีฬา และการใช้กีฬาและนันทนาการในการพัฒนาจิตใจ สร้างความสามัคคีของคนในชาติ หล่อหลอมการเป็นพลเมืองดี พัฒนาคุณภาพชีวิต การพัฒนาทักษะด้านกีฬาสู่ความเป็นเลิศและกีฬาเพื่อการอาชีพในระดับนานาชาติในการสร้างชื่อเสียงและเกียรติภูมิของประเทศชาติ รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมกีฬาในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ

โดยร่างยุทธศาสตร์ชาติวางแผนว่า ในระยะ 20 ปี จะต้องผลักดันให้ประเทศไทยมีระบบการเรียนรู้ที่รองรับโลกในศตวรรษที่ 21 ที่สมบูรณ์ และระบบสร้างสรรค์งานวิจัยที่สอดคล้องกับพลวัตทางประชากรและการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงาน และมีส่วนสร้างคนไทยให้มีคุณลักษณะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ ประเทศไทยจะมีนักวิจัยและผลงานวิจัยและพัฒนาที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของประเทศและนานาชาติ และเป็นประเทศหนึ่งที่เป็นศูนย์กลางด้านนวัตกรรมใหม่เพื่อเศรษฐกิจและสังคมนานาชาติ และมีธุรกิจที่ยั่งยืนและเติบโต สามารถสร้างรายได้หลักเข้าสู่ประเทศและยกระดับรายได้ของประเทศ

รวมไปถึงมีระบบบริการสาธารณสุขของคนในชาติเป็นไปตามมาตรฐานประเทศพัฒนาแล้ว มีระบบการคลังสุขภาพและระบบหลักประกันสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ พอเพียง เป็นธรรมและยั่งยืน และมีความเป็นเลิศและมีชื่อเสียงด้านกีฬา และอุตสาหกรรมกีฬาสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ
...

เรื่องเกี่ยวข้อง...


คุ้ยเบื้องหลัง สกอ.จ่ายยาแรง เชือดหลักสูตรไม่ได้มาตรฐาน นศ.รับกรรม

อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/1182378





“....ผมมองว่า การที่หลักสูตรไม่ผ่านไม่ควรเปิดรับเด็ก ซึ่งที่ผ่านมาหลายมหาวิทยาลัยยังดื้อเปิด เพราะมั่นใจว่าจะแก้ปัญหาได้ พอรับนักศึกษาเข้ามาก็กลายเป็นตัวประกัน ที่นี่คุณก็เอานักศึกษาออกหน้าทำเรื่องฟ้อง ซึ่งก็ไม่แฟร์กับ สกอ.อีก เพราะเขาต้องทำหน้าที่ควบคุมกฎ ผมว่าถ้าเกิดตั้งอยู่บนพื้นฐานของการรับผิดชอบร่วมกัน และจัดการศึกษาอย่างตรงไปตรงมา ธรรมาภิบาลมันก็เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย มันก็ไม่หลุดไปเป็นปัญหาสังคม เพราะหลักสูตรการศึกษาไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ นะครับ...” ผู้คลุกคลีในแวดวงการศึกษา ฝากทิ้งท้าย

สุดท้ายแล้วเราต่างหากที่ต้องมานั่งทบทวนดูว่า...แท้จริงแล้ว “ใบปริญญา”
สำคัญความรู้ความเชี่ยวชาญในศาสตร์นั้นๆ จริงหรือเปล่า?

การมุ่งหาอดีต = มองหาอนาคตไม่เจอ

การมุ่งหาอดีต = มองหาอนาคตไม่เจอ - #Reuters บอกว่าการสร้างกระแสหวนหาอดีต ถูกวิจารณ์ว่าเป็นความพยายามส่งเสริมให้คนไทยชื่นชม “ระบอบเก่า” และยังทำให้คนมองข้ามความห่วยของรัฐบาลทหาร




ลิงค์ข่าว
https://www.reuters.com/article/us-thailand-politics-costume/venerating-the-past-traditional-costume-fever-grips-thailand-idUSKBN1HF04S


#Reuters บอกว่าการสร้างกระแสหวนหาอดีต ถูกวิจารณ์ว่าเป็นความพยายามส่งเสริมให้คนไทยชื่นชม “ระบอบเก่า” และยังทำให้คนมองข้ามความห่วยของรัฐบาลทหาร ส่วนอาจารย์ Anusorn Unno มองว่า ชนชั้นนำมักใช้เรื่องราวในอดีต เพื่อตอกย้ำสถานะและอำนาจของตนเองเท่านั้นเอง #สื่อนอกเขามองแบบCriticalThinkingนะ

“But the trend, which began with a ‘winter fair’ initiated by King Maha Vajiralongkorn in February, has also been criticized by some as an attempt to glorify an era of absolute monarchy and gloss over the junta’s shortcomings nearly four years after it took power.”

“History has long been used by the elite to maintain their status in politics,” said Anusorn Unno, Dean of the Faculty of Sociology and Anthropology at Thammasat University.”


Pipob Udomittipong


...

Noom Winya การมุ่งหาอดีต หรืออีกอย่างนึงคือเรามองหาอนาคตไม่เจอ

Jaru Tongsuwan เขาส่วนใหญ่อาจแค่อยากแต่งตัวตามกระแสมั้งคะ

Tawin Wongdaeng ประเทศไทยเป็น สังคมฉาบฉวย ผมว่ากระแสอยู่ได้ไม่เกินกลางปี

Mnut Seree ที่เห็นว่าแต่งชุดไทย ก็เห็นพากันแต่งแต่ชุดของนายทาสกันทั้งนั้น แล้วคนรับใช้ที่เป็นทาสนายหละ ไม่เห็นมีใครแต่งเป็นแบบพวกเขาบ้าง หรือว่าพวกเขาไม่ได้คนไทยงั้นหรือ ?

Poe Wattananon Schmidt กระแสทุกกระแสในไทยทำให้รู้ว่าคนไทยกล่อมง่ายมากกก ละครเรื่องเดียวกล่อมคนได้ไวมาก ตอนนักร้องดังวิ่งขอรับบริจาคก็คลั่งกันทั้งเด๋กทั้งผู้ใหญ่เหมือนเป็นสิ่งๆเดียวที่มีในสังคมตอนนั้น
จะบอกว่าเป็นกระแสโซเชียลด้วยก็น่าจะมีส่วน แต่ประเทศอื่นมันไวและง่ายแบบนี้หรือเปล่า

วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2561

เชิญชม ภาพใหม่ #หมู่บ้านป่าแหว่ง โอ่อ่า ท่ามกลางธรรมชาติ โอบล้อมด้วยขุนเขาดอยสุเทพ มูลค่ากว่า 1 พันล้านบาท สร้างจากภาษีประชาชน

เชิญชม ภาพใหม่ #หมู่บ้านป่าแหว่ง โอ่อ่า ท่ามกลางธรรมชาติ โอบล้อมด้วยขุนเขาดอยสุเทพ มูลค่ากว่า 1 พันล้านบาท สร้างจากภาษีประชาชน




https://www.facebook.com/thairath/videos/10156808633092439/


ooo











ขณะนี้ชื่อ!! "หมู่บ้านป่าแหว่ง" ได้ถูกระบุพิกัดลงบนแผนที่ GoogleMaps เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับสมาชิกท่านใดต้องการไปเยี่ยมชมหมู่บ้านให้คะแนนความดีงามของหมู่บ้านนี้หรือจะคอมเม้นก็เชิญกันได้ตามอัธยาศัยเอาให้เต็มที่ เชิญตามลิงค์นี้ได้เลยนะครับ https://goo.gl/maps/zZ8Fy1HsoAC2 แคมเปญขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ https://goo.gl/N2cnns #เพจขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพhttps://goo.gl/drKZ7v (มินท๊อป)


ขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ

ooo


อริญชย์วิทย์ Chaiyathep

จะอะไรกันนักหนาก็แค่ป่าร้อยกว่าไร่ ???

คำถามแบบนี้อยากด่าก่อนตอบจริงๆ

ความจริงที่เขาต่อต้านกันนั้นมันไม่ใช่แค่ป่าร้อยกว่าไร่ เหล่าปัญญาชนทั้งหลายเขาหวังผลจากการต่อต้านครั้งนี้มากกว่านั้น

ลองหายใจเข้าลึกๆ เอาทัศนคติที่มืดบอดออกแล้วทำใจโล่งๆ ทำหัวให้ว่างๆเพื่อรับข้อมูลใหม่ๆด้านอื่นๆ การต่อต้านครั้งนี้มีผลต่ออนาคตป่าอีกจำนวนมากของประเทศ มีผลต่อระบบนิเวศน์ด้านอื่นๆมหาศาล

ถ้าโครงการนี้สำเร็จลุล่วงไปได้อนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไรป่าสมบูรณ์อีกเท่าไหร่จะถูกทำให้เสื่อมโทรมโดยฝีมือมนุษย์ผู้เห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้ ยิ่งถ้าผลจากการทำลายมาจากการกระทำของหน่วยงานรัฐผู้ที่ควรจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับประชาชนทั้งยิ่งแล้วใหญ่แล้วต่อไปเราจะมีความหวังจากหน่วยงานไหนอีกประเทศนี้ในการรักษาปกป้องผืนป่าหรือทรัพยากรด้านอื่นๆของประเทศ ถ้าหน่วยงานรัฐทำเสียเองก็ไม่ต้องไปหวังอะไรแล้ว

แล้วพวกโลกสวยที่กำลังเดินในทุ่งลาเวนเดอร์ที่ชอบออกมาพูดว่า แล้วทำไมถึงไม่ต่อต้านกันตั้งแต่แรกๆที่เขาทำ ปล่อยมาได้ยังไงถึงตอนนี้ #แล้วรู้ได้อย่างไรว่าเขาไม่ต่อต้าน เขาทำกันมาตั้งแต่เริ่มแรกแล้ว แต่คุณเข้าใจมั้ย ว่าข่าวสารมันไม่เข้าถึงคนจำนวนมาก มันเลยเงียบเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ ณ เวลานี้ข้อมูลมันเข้าถึงคนกลุ่มใหญ่ขึ้น และคนกลุ่มใหญ่นี้เขาเล็งเห็นในมหันตภัยที่มันแฝงและจะเกิดขึ้นตามมา เขาจึงได้ออกมาช่วยกันคนละไม้คนละมือตามความถนัดและโอกาสของตน ในการปกป้องป่าผืนนี้

แทนที่คุณจะชื่นชมกลับออกมาว่าหย้อว่าหา ท่านู้นท่านี้ แล้วไอ้สิ่งที่คุณคิดและพ่นออกมาจากรูตูดมันให้ประโยชน์อะไรในการปกป้องทรัพยากรของประเทศบ้างนอกจากโชว์ต่ำ ไม่ใช่ๆ นอกจากพยายามโชว์เหนือ แต่มันไม่เหนือไงเข้าใจรึเปล่า

คิดจะปกป้อง ก็จงปกป้องในสิ่งที่ถูกที่ควร ถ้าไม่คิดทำอะไรก็หาหมากมาอมแล้วนั่งดูคนอื่นทำแบบเงียบๆจักเป็นพระคุณยิ่งต่อบ้านต่อเมือง !!! #เท่านี้แหละขี้เกียจเขียนยาว

ooo

พลังสีเขียว...
พรุ่งนี้เราจะมารวมพลังริบบิ้นเขียว!! "ทวงคืนพื้นป่าดอยสุเทพกลับคืนมาเป็นของประชาชน"
 

เกาหลีใต้มาไกลมาก 50 ปีที่แล้ว อยู่ใต้ระบอบเผด็จการทหารเหมือนไทย ในช่วง 30 ปีมานี้ ไม่มี “ทหาร” เข้ามาแทรกแซงการเมืองเลย รัฐบาลพลเรือนล้วน ๆ เขาทำได้อย่างไร?

เกาหลีใต้มาไกลมาก 50 ปีที่แล้ว อยู่ใต้ระบอบเผด็จการทหารเหมือนไทย ในช่วง 30 ปีมานี้ ไม่มี “ทหาร” เข้ามาแทรกแซงการเมืองเลย รัฐบาลพลเรือนล้วน ๆ เขาทำได้อย่างไร?





เกาหลีใต้มาไกลมาก

50 ปีที่แล้ว อยู่ใต้ระบอบเผด็จการทหารเหมือนไทย

30 ปีที่แล้ว เลือกตั้งประธานาธิบดีแบบประชาธิปไตยเป็นครั้งแรก

ปัจจุบัน จากการจัดอันดับ Democracy Index 2017 เกาหลีใต้ติดอันดับที่ 20 ของโลก เหนือกว่าสหรัฐฯ และยุโรปหลายประเทศ โดยในช่วง 30 ปีมานี้ ไม่มี “ทหาร” เข้ามาแทรกแซงการเมืองเลย รัฐบาลพลเรือนล้วน ๆ

#Impeachment “การถอดถอน” ประธานาธิบดีปักกึนเฮ ถือเป็น “ครั้งแรก” ในประวัติศาสตร์ที่มีการเอาผู้นำจากการเลือกตั้งลงจากตำแหน่ง โดยใช้สันติวิธีและใช้กฎหมายปรกติ จนวันนี้ศาลสั่งจำคุก 24 ปี ข้อหาใช้อำนาจมิชอบ ฯลฯ หลังการเดินขบวนของประชาชนนับล้านคนเมเมื่อปีที่แล้ว กระบวนการทางรัฐสภาและศาล โดยไม่ต้องพึ่งทหาร ไม่ต้องพึ่งกฎหมายพิเศษ ไม่ต้องพึ่ง “ตุลาการวิบัติ”

เขาทำได้อย่างไร?

 
Pipob Udomittipong


ooo


คุยกับ พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ วาระ 37 ปี กวางจู และการนำทหารออกจากการเมืองเกาหลีใต้


Published on Thu, 2017-05-18
ทีมข่าวการเมือง
ประชาไท

สัมภาษณ์ พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ ทำความเข้าใจโดยสังเขป กับความสำคัญของรางวัลสิทธิมนุษยชนแห่งกวางจู กระบวนการนำทหารออกจากการเมือง กระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน รวมทั้งผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีล่าสุด



พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ


เนื่องในวาระครบรอบ 37 ปี เหตุการลุกฮือขึ้นต่อต้านระบอบเผด็จการทหารอำนาจนิยมในเมืองกวางจู เกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2523 และในปีนี้ มูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก (May 18 Memorial Foundation) ที่ตั้งมาจากเหตุการณ์ดังกล่าว ได้มอบรางวัลสิทธิมนุษยชนแห่งกวางจู (Gwangju Prize for Human Rights) ประจำปี 2017 ให้กับ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน นักศึกษานักกิจกรรม ผู้ซึ่งถูกจับกุมคุมขัง และถูกเพิกถอนสัญญาการปล่อยตัวชั่วคราว ตั้งแต่ 22 ธ.ค. ปีที่ผ่านมา จนกระทั่งปัจจุบัน ในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และฝ่าฝืน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากการแชร์บทความพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร จากเว็บไซต์ BBC Thai ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว ขณะที่เกาหลีใต้เองเพิ่งเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ หลังจากประธานาธิบดีคนก่อนหน้า ถูกประชาชนจำนวนมากชุมนุมขับไล่จากข่าวการทุจริต แต่เกาหลีใต้สามารถแสวงหาทางออกภายใต้กระบวนการประชาธิปไตย

ในโอกาสนี้ประชาไทจึงได้สัมภาษณ์ พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ นักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย ร่วมทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายเอเชียตะวันออกของ The Asian Forum for Human Rights and Development (FORUM-ASIA) เพื่อทำความเข้าใจอย่างพอสังเขป เกี่ยวกับ ความสำคัญของรางวัลสิทธิมนุษยชนแห่งกวางจู และเหตุการณ์กวางจู กระบวนการนำทหารออกจากการเมือง กระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน รวมทั้งผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีล่าสุด

ความสำคัญของรางวัลกวางจู

เกี่ยวกับความสำคัญของรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน ที่จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน นั้น พิมพ์สิริ อธิบายว่า รางวัลกวางจูเป็นรางวัลที่ตั้งขึ้นมาเพื่อรำลึกถึงการต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยของชาวเมืองกวางจูในเดือนพฤษภาคม 1980 ซึ่งการต่อสู้นี้ แม้ว่าชาวเมืองจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ถูกสังหารนับพัน และถูกใส่ร้ายป้ายสีว่าเป็นคอมมิวนิสต์ต่อมาอีกหลายสิบปี แต่การต่อสู้ของชาวเมืองกวางจูกลายเป้นแรงบันดาลใจให้ขบวนการแรงงาน ชาวนา นักศึกษา และคนเกาหลีใต้เรือนล้านออกมาต่อสู้บนท้องถนนในปี 1987 หลังจากรัฐบาลเผด็จการได้ทรมานและสังหาร พัก ยอง-ชุล ผู้นำนักศึกษาในเดือนมกราคม 1987 จนเกิดความโกรธแค้นในหมู่ประชาชน

“ในปีนี้ ไผ่ จตุภัทร บุญภัทรรักษา ได้รับเลือกให้ได้รับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน (Gwangju Human Rights Prize) ไม่เกินเลยถ้าจะพูดว่าไผ่ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของคนรุ่นใหม่ในเอเชียที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย เหมือนที่ขบวนการนักศึกษาในเกาหลีใต้ทั้งในอดีตและปัจจุบันมีบทบาทสำคัญในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย” พิมพ์สิริ กล่าว

การนำทหารออกจากการเมือง

สำหรับสาเหตุที่ทบาททหารของเกาหลีทางการเมืองลดน้อยถอยลงเมื่อเทียบกับในอดีตนั้น พิมพ์สิริ อธิบายว่า เกิดจาก การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 9 ของเกาหลีใต้และกระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านเป็นสองกระบวนการหลักที่มีความสำคัญในการจำกัดอำนาจเผด็จการทหารในทางการเมือง

โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการก่อตั้งสาธารณรัฐที่ 6 แห่งเกาหลีใต้มีที่มาจากคำประการ 29 มิถุนา (29 June Declaration) ที่มีเนื้อหาหลักๆ คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีทางตรง การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งประธานาธิบดีเพื่อให้เกิดการเลือกตั้งเสรี การนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองที่ถูกคุมขังในช่วงเผด็จการทหาร การปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของพลเมืองเกาหลีใต้ รวมถึงการให้สิทธิศาลพิจารณาการคุมขังบุคคลว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ (heabus corpus) การยกเลิกกฎหมายควบคุมสื่อ และการให้เสรีภาพสื่อ การส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนการพูดคุยหาข้อตกลงทางการเมือง และการปฏิรูปสังคม

“ความคิดเห็นต่อการที่ผู้สมัครตำแหน่งประธานาธิบดี โรห์ แต-วู ซึ่งเป็นแคนดิเดทในการสืบทอดอำนาจของเผด็จการทหารอย่างชุน ดู-ฮวานตัดสินใจประกาศคำประกาศ 29 มิถุนา แบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่ารัฐบาลทหารเผด็จการยอมถอยเพื่อที่หลีกเลี่ยงการปะทะกับประชาชนหลักล้านบนท้องถนนใน 16 เมืองทั่วประเทศ แต่คาดหวังว่าจะใช้อำนาจของตนผ่านการส่งตัวแทนเข้าไปเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งโรห์ แต-วูก็ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 ของประเทศ ในขณะที่อีกฝ่ายเชื่อว่าคำประกาศ 29 มิถุนานี้เป็นผลมาจากแรงกดดันของประชาชนที่แสดงออกถึงความโกรธแค้นต่อการปกครองอำนาจยาวนานของเผด็จการทหาร” พิมพ์สิริ กล่าว

5 องค์ประกอบกระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน

พิมพ์สิริ กล่าวถึง กระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Justice) นั้น ว่า ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลักๆ ของการเปลี่ยนผ่าน รัฐบาลเกาหลีใต้ภายหลังจากช่วงเผด็จกาทหามีความพยายามที่จะทำคืนความยุติธรรมให้กับกรณีกวางจูที่มีคนตายประมาณกันว่าเป็นหลักพันจากการสลายการชุมนุมของทหาร และเคยโดนป้ายสีในสมัยเผด็จการว่าเป็นพวกขบถคอมมิวนิสต์ รวมถึงนักโทษการเมืองคนอื่นๆ

1) การลงโทษผู้กระทำผิดตามกระบวนการยุติธรรม กรณีนี้ ชุน ดู ฮวานถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิต ถอดยศ ยึดทรัพย์ ถึงจะติดคุกจริงไม่กี่ปี แต่การ social sanction ของสังคมก็มีผลต่อการใช้ชีวิตในบั้นปลายของอดีตเผด็จการ

2) คณะกรรมการค้นหาความจริง ที่มีการทำให้เป็นสถาบัน (institutionalised) อย่างจริงจังต่อมาด้วยการก่อตั้งมูลนิธิ May 18 และศูนย์ข้อมูล (Gwangju Archive Centre) ที่เก็บรวบรวมไว้ทุกอย่าง รวมทั้งรองเท้าของผู้ชุมนุมที่กระจัดกระจายในวันนั้น

3) การจ่ายค่าชดเชย ครอบครัวของผู้เสียชีวิตและสูญหายในวันที่ 18-27 พฤษภาคม 1980 ยังได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเป็นรายเดือนในฐานะวีรชนของชาติ รวมถึงผู้ที่ถูกคุมขังในฐานะนักโทษการเมืองและผู้ที่เสียชีวิตจากการปราบปรามของรัฐบาลทหาร

4) การปฏิรูปสถาบันต่างๆ ทำให้วัฒนธรรมประชาธิปไตยลงหลักปักฐานในเกาหลีใต้ ผลพวงจากการรวมตัวกันต่อต้านเผด็จการทหารทำให้ขบวนการแรงงาน ขบวนการชาวนา ขบวนการนักศึกษายังเข้มแข็งมาจนทุกวันนี้ องค์กรแรงงานที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้ Korean Confederation of Trade Unions นั้น มีสมาชิกกว่า 700,000 คน แม้ว่าผู้นำขององค์กร ฮาน ซัง-กึนจะถูกสั่งจำคุก 5 ปีภายใต้ข้อหายุยงปลุกปั่น (Sedition) เนื่องจากนำประท้วงรับบาลปาร์ค กึน-เฮในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2015 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบ 29 ปีที่มีการนำข้อหานี้กลับมาใช้

5) ความพยายามที่จะจดจำ การก่อตั้งมูลนิธิ May 18 การก่อตั้ง Gwangju Prize for Human Rights การจัดงานรำลึกระดับชาติทุกปีที่ระดับผู้นำประเทศต้องมาเข้าร่วม เพลงต่อต้านเผด็จการที่กลุ่มผู้ประท้วงเคยขับขานในการประท้วงที่กวางจูกลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย (สมยศ พฤกษาเกษมสุขเป็นผู้แปลเนื้อเป็นภาษาไทยให้กับเพลง Solidarity) การก่อตั้งสุสานแห่งชาติ การก่อตั้งศูนย์ข้อมูลฯลฯ คือการ 'จดจำ' เพื่อไม่ให้เกิดการบิดเบือนประวัติศาสตร์จนคนรุ่นใหม่หลงลืม แม้ว่าจะความพยายามของพัก กึน-เฮที่จะแก้ไขหนังสือเรียนประวัติศาสตร์เกาหลีเพื่อแก้ต่างให้กับพ่อตัวเอง





มองผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีเกาหลีใต้

พิมพ์สิริ กล่าวถึงผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ล่าสุดว่า ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ในครั้งนี้แน่นอนว่าสะท้อนความไม่พอใจที่ประชาชนส่วนใหญ่มีต่อพรรค ที่มีข่าวฉาวในช่วงปีที่ผ่านมาภายใต้การนำของประธานาธิบดีปาร์ค กึน-เฮ ผลการเลือกตั้งในครั้งนี้พอจะเป็นที่คาดเดาได้ว่าพรรค Liberty Korea จะพ่ายแพ้ แต่จุดที่น่าสนใจอยู่ตรงที่แม้จะพ่ายแพ้ แต่แคนดิเดทของพรรค ฮอง จุน-เพียวก็ได้รับคะแนนเสียงถึง 24% แม้ว่าจะฮองจะมีนโยบายแข็งกร้าวเช่นการประกาศจะนำโทษประหารชีวิตกลับมาใช้และการกวาดล้างผู้นำสหภาพแรงงาน รวมถึงทัศนคติเหยียดหยามสตรีและกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ แสดงให้เห็นว่าพรรคอนุรักษ์นิยมเองนั้นก็ยังมีฐานเสียงเหนียวแน่น แม้ว่าความนิยมในตัวอดีตประธานาธิบดีปาร์คจะร่วงต่ำลงเป็นประวัติการณ์เหลือแค่ 4% เท่าที่ได้สัมผัสมาจากการไปสังเกตการณ์ประท้วงในปี 2015 และการทำงานกับองค์กรภาคประชาสังคมเกาหลีใต้ ฐานเสียงของพรรคอนุรักษ์นิยมมักจะเป็นผู้สูงอายุและวัยกลางคนซึ่งอาจจะมีประสบการณ์ตรงหรือได้ยินประสบการณ์ของครอบครัวที่เคยผ่านสงครามในคาบสมุทรเกาหลี และมองว่าเกาหลีเหนือเป็นภัยคุกคาม เพราะพรรคอนุรักษ์นิยมนั้นมีนโยบายทางการทูตที่แข็งกร้าวต่อเปียงยาง

เสรีภาพการชุมนุมและการผ่าทางตัดด้วยระบอบประชาธิปไตย

สำหรับเหตุผลที่เกาหลีใต้ที่มีการชุมนุมขับไล่ ประธานธิบดีคนก่อน แล้วยังสามารถแก้ปัญหาในระบอบประชาธิปไตยได้นั้น พิมพ์สิริ กล่าวว่า โดยทั่วไปแล้ว เสรีภาพในการชุมนุมถือเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานในสังคมประชาธิปไตย เสรีภาพในการชุมนุมเปิดพื้นที่ให้ประชาชนซึ่งไม่ได้มีอำนาจรัฐอยู่ในมือแสดงออกถึงความคับข้องใจที่มีต่อนโยบายต่างๆ และการใช้อำนาจของรัฐในแง่มุมต่างๆ ประชาธิปไตยของเกาหลีใต้เองก็มีพื้นฐานมาจากการชุมนุมขับไล่รัฐบาลทหารที่ปกครองประเทศตั้งแต่ปี 1961-1987 โดยมีเหตุการณ์ที่กวางจูเป็นจุดพลิกผันจนนำไปสู่การรวมตัวกันของสหภาพแรงงาน ขบวนการชาวนา และขบวนการนักศึกษา และเกิดการประท้วงใหญ่ขึ้นในเดือนมิถุนายน 1987 จนรัฐบาลเผด็จการยอมคืนอำนาจให้ประชาชนและจัดการเลือกตั้งเสรีขึ้น

พิมพ์สิริ กล่าวย้ำถึงความสำคัญในเสรีภาพการชุมนุมว่า จะเห็นได้ว่าเสรีภาพในการชุมนุมประท้วงมีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานประชาธิปไตยในเกาหลีใต้ และจนกระทั่งทุกวันนี้ การชุมนุมประท้วงก็ยังเป็นเครื่องมือสำคัญของประชาชนเกาหลีใต้ในการต่อกรกับอำนาจรัฐ เหมือนที่เราได้เป็นประจักษ์พยานการชุมนุมโดยประชาชนเรือนล้านบนท้องถนนเพื่อขับไล่อดีตประธานาธิบดี ปาร์ค กึน-เฮ จนนำไปสู่การถอดถอนโดยรัฐสภาและศาลสูงในท้ายที่สุด

“ในบางครั้งเสรีภาพในการชุมนุมประท้วงอาจจะไม่ใช่การต่อสู้หรือเรียกร้องประชาธิปไตย แต่ในกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หากการชุมนุมนั้นเป็นไปอย่างสันติ ประชาชนทุกฝ่ายสามารถใช้เครื่องมือนี้ในการต่อรองทางการเมืองกับผู้กุมอำนาจรัฐ” พิมพ์สิริ กล่าว

วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2561

สรุปข่าวจากสื่อ : สรุปสั้นๆได้ว่า คอรัปชั่นยังบานตะไท ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ กำลังจะอดตายกันอยู่แล้ว ความชั่วร้ายเหลวแหลกของ คสช.เป็นอย่างนี้ ต้องช่วยเร่งเร้าเลือกตั้งโดยเร็ว

คอรัปชั่นยังบานตะไท ชาวนาจะอดตายกันอยู่แล้ว ความชั่วร้ายเหลวแหลกของ คสช.เป็นอย่างนี้ ต้องช่วยเร่งเร้าเลือกตั้งโดยเร็ว


เลือกตั้งน่ะฟันธงได้ว่ามาแน่ แต่ แต่ช้าแต่ น่าจะมาสายสัก ๒ ถึง ๔ เดือน จากที่เลื่อนครั้งที่ ๕ มาเป็นกุมภา ๖๒ ที่ต้องสายเพราะรอศาลรัฐธรรมนูญตีความร่างกฎหมาย ส.ส. และ ส.ว. นั่นข้ออ้าง

จริงๆ แล้วรอความพร้อมของพรรคใหม่ๆ พวก ข้ารองบู๊ต ทั้งหลาย จึงเป็นอันว่าฝ่ายประชาธิปไตยที่กระสันต์ อยากเลือกตั้ง’ จะต้องรอกันอีก ๑ ปีนับแต่นี้ไป แก่อ่อน ๒ เดือน ประเด็นอยู่ที่ ไหวไหม’ ในสภาพต่อไปนี้

ทางมหภาค สำนักบริหารหนี้สาธารณะ แจ้งตัวเลขล่าสุดเมื่อปลายกุมภา ๖๑ ด้วยฝีไม้ลายมือ คสช. ที่ยำการคลังมาเกือบสี่ปี เราได้หนี้สาธารณะคงค้างอยู่ที่ ๖.๔๖ ล้านล้านบาทไทย “คิดเป็น ๔๑.๓๔ของจีดีพี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ๒.๒๓ หมื่นล้านบาท”

สบน. อธิบายตัวเลขเหล่านั้นว่า เนื่องจากหนี้โดยรัฐบาล คสช. เพิ่มขึ้นอีก ๑.๓๖ หมื่นล้าน เป็น ๕.๑๓ ล้านล้าน เพราะรัฐบาลตู่ไม่ กู้อีจู้’ แต่กู้ดะมากกว่าเดิม ๒.๐๘ หมื่นล้าน แล้วยังกู้เพื่อสร้างความเข้มแข็งยั่งยืน (กู้เอามาใส่คลังไว้ให้เต็ม) อีก ๒.๓๕ หมื่นล้าน ทั้งที่ตั๋วเงินคงคลังหดไปเพียง ๒ พัน ๖ ร้อยล้าน


คงจะเป็นเพราะคำเตือนของเวิร์ลด์แบ๊งค์ละมังว่า เศรษฐกิจไทยโตต่ำสุดในหมู่ประเทศอาเซียน “ต้องระมัดระวังความเสี่ยงเรื่องการขาดดุลการคลัง” เลยต้องกู้เข้ามาอุดช่องโหว่

หลังจากที่ธนาคารโลกคาดการไว้ตั้งแต่ ตุลา ๖๐ ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ปีนี้ (๖๑) ได้ ๓.๖ แต่ปีหน้า (๖๒) จะลดลงไปเหลือ ๓.๕ ซึ่งก็ยังเป็นความจริงแท้แน่เชียวไม่เสื่อมคลาย


ขณะที่สถานการณ์คอรัปชั่นยังบานตะไทไม่จืด มีเรื่องใหม่ๆ โผล่มาให้เห็นไม่ขาด เช่น จากข่าวของ ‘MGROnline’ :“ตะลึง! เขตกรุงเทพกลาง จ้างผู้รับเหมา ๑๐ ล้าน ๖ เดือนลอกท่อระบายน้ำ เสร็จแค่ ๑ ซอย จาก ๗๐๐ ซอย”
เพราะมันเป็นอย่างที่ @unclevid1 คอมเม้นต์ “อยู่มาสี่ปีเพื่อมาปราบโกง ไม่เคยวางระบบตรวจสอบ มีแต่สื่อเข้าไปขุดคุ้ยถึงรู้ว่า ตรงนั้นโกง ตรงนี้...ส่อทุจริต...แล้วจะอยู่ต่อเพื่ออะไร?

แม้แต่ชาวนาที่ คสช.อ้างนักอ้างหนาว่า ตรากตรำทำงบประมาณขาดดุลด้วยการกู้แหลกเอาไปหว่านให้ ตอนนี้ร้องจ๊าก “จะอดตายกันอยู่แล้ว ยิ่งช่วงนี้ใกล้เปิดเทอมโรงเรียน จะเอาเงินที่ไหนไปให้ค่าเทอม ค่าไปซื้อหนังสือลูก”

นั่นก็เป็นเสียงบ่นจากชาวนาพิจิตร ที่ราคาข้าวเปลือกหล่นเหลือตันละ ๓,๙๐๐ ถึง ๔,๕๐๐ บาทเท่านั้น นายสิน ทางาม ผู้ใหญ่บ้านไผ่รอบเล่าว่าตนเองขายข้าวเปลือกได้ตันละ ๔ พัน แต่ลูกบ้านได้แค่ ๓,๙๐๐ ถูกกดราคาต้องยอม “ไม่ขายก็ไม่รู้จะเอาไปไว้ที่ไหน”


แต่ว่า ราคาข้าวสารในท้องตลาดไม่ยักถูกกดบ้าง ดังที่ อชิ-กัน @BFood1717 ถาม “ข้าวสารถุง ๕ กิโล ราคา ๒๐๐ บาท อยากทราบว่ารัฐบาลจะมีวิธีแก้ไขกลไกลทางการตลาดอย่างไร เพื่อให้ชาวนาขายข้าวได้ราคาที่เหมาะสม กับราคาข้าวสารที่ขายตามท้องตลาด”

ถามไปก็ไล้ฟ์บอย พวกลิ่วล้อ คสช.ที่มีหน้าที่เรื่องเหล่านี้มัวแต่สาระวนเรื่องตั้งพรรคใหม่กันอยู่ ไม่รับรู้อะไรหรอก รมว.พาณิชย์ก็มัวแต่ฝันหวานรอบริทิชกลับมาลงทุนอีอีซีเมื่อเสร็จเรื่องเบร็กสิท

(ดูข่าวการสนทนาระหว่างนายเลียม ฟ็อกซ์ ของสหราชอาณาจักร กับนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ของไทย ที่ http://www.komchadluek.net/news/economic/319592?re=)

น่าจะรู้นะว่า เบร็กสิท’ ที่ลากถูลู่ถูกังมาหลายเดือนแล้วนี่ ถึงจะมีน้ำมีนวลบ้างตอนนี้ เสร็จแล้วอาจทำให้อังกฤษเฉาลงไปหนักกว่าเก่าอีกก็ได้

อียู’ นั่นสิที่ไทยควรจะพยายามคืนสัมพันธ์การค้าให้ได้ ข้อแม้ของเขาแค่กลับไปเป็นประชาธิปไตย มีรัฐบาลพลเรือนจากการเลือกตั้งเท่านั้น พวกสลิ่มโลกสวยยังดึงดันขออยู่ใต้กะลากับพี่หมื่นต่อไป

ทั้งที่พวกนกหวีดเอง เดี๋ยวนี้อึดอัด ฮึดฮัดกับ คสช. กันขรม ดูได้จากการเดินขบวนของพนักงานทีโอทีและกสท. เมื่อ ๓๐ มีนา (ที่สื่อสายหลักพากันปิดปากสนิท) คัดค้านการแปรรูป ว่า “เป็นการเอื้อผลประโยชน์ต่อนักลงทุน เหมือนเป็นการขายสมบัติชาติ...

ด้วยการจัดตั้งเป็นบริษัทโครงข่ายบอร์ดแบรนด์แห่งชาติ (บริษัท NBN) และ บริษัทโครงข่ายระหว่างประเทศ และศูนย์ข้อมูลอินเตอร์เน็ต (NGDC)


มีการ “จัดแถวปล่อยรถจากแจ้งวัฒนะเย้ย กม.ห้ามชุมนุมเกิน ๕ คน มีการเดินเท้าจากหน้ากระทรวงการคลังถึงทำเนียบรัฐบาล” แถมประกาศกร้าวเสียด้วยว่า “ถ้าถูกจับ ไฟ-น้ำหยุด”
 
งานนี้ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ออกโรงสนับสนุนทันที แต่พวก คสช. ยังนิ่ง สงสัยจะกลัวปาก ‘E-Thing’

ยังไม่หมด พวก ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ก็ฟึดฟัดกับ คสช.ด้วยเหมือนกัน รสนา โตสิตระกูล นักปฏิรูปพลังงานไม่สำเร็จเพราะหลงประเด็น และตีผิดคน หันมาเล่นเรื่องค่างวดใบอนุญาตคลื่น ๔ จี

โวยว่า คสช. ใช้ ม.๔๔ ผ่อนผันให้บริษัทเอไอเอสและทรูจ่ายค่าดอกเพียง ๑.๕ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แต่กับคนจนติดหนี้นอกระบบ ที่ให้ไปกู้จากธนาคารออมสิน ด้วยอัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ ๐.๘๕ ต่อเดือน ซึ่งเท่ากับเกือบ ๑๘.๘๓ต่อปี

“คนจนที่ควรได้รับการช่วยเหลือ ก็ยังต้องจ่ายดอกเบี้ยประมาณ ๑๙แล้วเหตุใดเราต้องช่วยเหลือคนรวยแบบเอาเนื้อหนูไปปะเนื้อช้างเช่นนี้” รสนาว่า


นี่ละความชั่วร้าย เหลวแหลกของ คสช.เป็นอย่างนี้ สมแล้วที่พวกคนรุ่นใหม่ฟื้นฟูประชาธิปไตย รังสิมันต์ จ่านิว โบว์ณัฏฐา ทนายอานนท์ ฯลฯ เร่งเร้าให้ล้มเลิก คสช. และเลือกตั้งโดยเร็ว 

ดูแล้วไม่มีทางไหนดีกว่านี้ จึงต้องช่วยพวกเขาดันต่อไปให้ถึงที่สุด