วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2561

เขื่อหรือไม่? ร่างยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการพัฒนาคน ตั้งเป้าเด็กไทยเรียนดี เป็นคนเก่ง ชีวิตยืนยาว (ไม่เชื่อโว๊ย!!)

เขื่อหรือไม่? ร่างยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการพัฒนาคน ตั้งเป้าเด็กไทยเรียนดี เป็นคนเก่ง ชีวิตยืนยาว (ไม่เชื่อโว๊ย!!)





ร่างยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการพัฒนาคน: ตั้งเป้าเด็กไทยเรียนดี มีคนเก่ง ชีวิตยืนยาว อ่านต่อ https://ilaw.or.th/node/4770 

ร่างยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการพัฒนาคน: ตั้งเป้าเด็กไทยเรียนดี มีคนเก่ง ชีวิตยืนยาว


30 มี.ค. 2561
ขนาดไฟล์384.38 KB


แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีทั้งหมดหกด้าน จัดทำโดยคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติทั้งหกคณะที่รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้แต่งตั้ง สำหรับการจัดทำ "ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์" รัฐบาล คสช. ได้แต่งตั้ง กฤษณพงศ์ กีรติกรประธานกรรมการ พร้อมคณะกรรมการอีก 12 คน

24 มกราคม 2561 คณะกรรมการชุดดังกล่าวได้จัดทำร่างเบื้องต้นเสร็จสิ้น และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ฯ ได้จัดรับฟังความคิดเห็นประชาชนจำนวนสี่ครั้งในสี่ภาคสี่จังหวัด เป็นที่เรียบร้อยแล้วเช่นกัน ร่างยุทธศาสตร์ชาติฉบับนี้กำลังถูกแก้ไขเพิ่มเติมก่อนจะถูกเสนอต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติในวันที่ 9 เมษายน 2561





แผนยุทธศาสตร์ฉบับดังกล่าวตั้งเป้าให้ประเทศไทยมีเด็กที่เรียนดี มีโอกาสทางการศึกษา มีทักษะในศตวรรษที่ 21 พร้อมกับมีคนในวัยทำงานที่มีทักษะสูงสอดรับกับการเข้าสู่เศรษฐกิจในยุคดิจิทัล และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี โดยมีตัวชี้วัดทั้งหมด 4 ตัว ได้แก่

1. ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index: HDI) เป็นดัชนีการวัดและเปรียบเทียบ การมีชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพดี ซึ่งวัดได้จากอายุขัย และความรู้ ซึ่งวัดได้จากการรู้หนังสือและอัตราส่วนการเข้าเรียนสุทธิที่รวมกันทั้งระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา รวมไปถึงมาตรฐานคุณภาพชีวิต ซึ่งวัดได้จากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product - GDP) ต่อหัวและความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (purchasing power parity - PPP) เพื่อระบุระดับการพัฒนาของประเทศนั้นๆ โดยไทยตั้งเป้าไว้ว่าจะมีค่า HDI มากกว่า 0.90 ซึ่งเป็นระดับที่สูงและอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ในขณะที่ปัจจุบันไทยอยู่ที่ระดับ 0.74

2. คะแนนสอบ PISA หรือ การประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (Programme for International Student Assessment) ที่ริเริ่มโดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือโออีซีดี เพื่อประเมินสมรรถนะของนักเรียนอายุ 15 ปี เกี่ยวกับการใช้ความรู้และทักษะในชีวิตจริง ซึ่งแบ่งออกเป็น ความรู้ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน โดยที่ผ่านมาคะแนนของเด็กไทยทั้งสามด้านอยู่ที่ 409-415 คะแนน แต่คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 493 คะแนน ขณะที่แผนยุทธศาสตร์ชาติตั้งเป้าไว้ที่ 500 คะแนน

3. ดัชนีเถ้าแก่ หรือ Global Entrepreneurship Index เพื่อดูวิธีการสนับสนุนและนโยบายของภาครัฐที่มีต่อวิสาหกิจและผู้ประกอบการในแต่ละประเทศ โดยไทยตั้งเป้าว่าจะได้คะแนนตามดัชนีดังกล่าวไว้อยู่ในลำดับเปอร์เซ็นไทล์ที่ 70 ซึ่งปัจจุบันไทยอยู่ที่ 27.4

4. SDGs หรือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งกำหนดโดยองค์การสหประชาชาติ ร่างยุทธศาสตร์ชาติเจาะจงไปที่เป้าหมายที่ 3 เรื่องการมีสุขภาพที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดี และตั้งเป้าเอาไว้ว่าไทย จะอยู่ในลำดับเปอร์เซ็นไทล์ที่ 90 ซึ่งปัจจุบันไทยก็อยู่ในลำดับดังกล่าวแล้ว

ทั้งนี้ เพื่อการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาเอาไว้ 7 อย่าง ได้แก่

1) การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม (Transformation of Culture) โดยมุ่งเน้นให้สถาบันทางสังคมร่วมปลูกฝังค่านิยมวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ ได้แก่ ความมีคุณธรรม จริยธรรม มัธยัสถ์ อดออม ซื่อสัตย์ และยึดแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้ทั้ง สถาบันครอบครัว ชุมชน ศาสนา การศึกษา และสื่อ ช่วยหล่อหลอมให้เป็น ‘วิถี’ ในการดำเนินชีวิต

2) การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต มุ่งเน้นการพัฒนาคนเชิงคุณภาพในทุกช่วงวัย ตั้งแต่ช่วงการตั้งครรภ์ วัยเรียน วัยรุ่น/นักศึกษา วัยแรงงาน และวัยผู้สูงอายุ เพื่อสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพ มีทักษะความรู้ เป็นคนดี มีวินัย มีความรอบรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) มีความสามารถในการวางแผนชีวิตและการวางแผนทางการเงิน (Financial Planning) ที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย และมีความสามารถในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า

3) การปฏิรูปการเรียนรู้แบบพลิกโฉม โดยการพัฒนาระบบการเรียนรู้ในทุกระดับชั้นเพื่อ เอื้อต่อการพัฒนาทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 ที่มุ่งเน้นการใช้ฐานความรู้และระบบคิดในลักษณะสหวิทยาการ เช่น Science (ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และการตั้งคำถาม) Technology (ความเข้าใจและความสามารถในการใช้เทคโนโลยี) Engineering (ความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์และการคิดเพื่อหาทางแก้ปัญหา) Art (ความรู้และทักษะทางศิลปะ) และ Mathematics (ความรู้ด้านคณิตศาสตร์และระบบคิดของเหตุผลและการหาความสัมพันธ์)

รวมถึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้และมีใจใฝ่เรียนรู้ตลอดเวลา มีการออกแบบระบบการเรียนรู้ใหม่ การเปลี่ยนบทบาทครู การเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการศึกษา และการพัฒนาระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต

4) การตระหนักถึงพหุปัญญา (multiple intelligence) ของมนุษย์ที่หลากหลาย อาทิ ภาษา (verbal-linguistic) ตรรกะและคณิตศาสตร์ (logic and mathematical) ด้านทัศนะและมิติ (visual and spatial) ดนตรี (musical-rhythmic and harmonic) กีฬาและการเคลื่อนไหวของร่างกาย (bodily kinesthetic) การจัดการตนเอง (intrapersonal) มนุษยสัมพันธ์ (interpersonal)

โดยเน้นการพัฒนาและรักษากลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษ (Talents) ของพหุปัญญาแต่ละประเภท รวมถึงผู้มีความสามารถอันโดดเด่นด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน การสร้างสภาพแวดล้อมและระบบสนับสนุนประชากรไทยมีอาชีพบนฐานพหุปัญญา การสร้างเสริมศักยภาพผู้มีความสามารถพิเศษให้สามารถต่อยอดการประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคง

5) การเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี ครอบคลุมทั้งด้าน กาย ใจ สติปัญญา และสังคม มุ่งเน้นการเสริมสร้างการจัดการสุขภาวะในทุกรูปแบบที่นำไปสู่ศักยภาพในการจัดการสุขภาวะที่ดีได้ด้วยตนเอง พร้อมทั้งสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดี และมี “ทักษะด้านสุขภาวะ” ที่เหมาะสม โดยพัฒนาองค์ความรู้และการสื่อสารด้านสุขภาวะที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ให้แก่ประชาชน รวมทั้งจัดให้มีระบบการเก็บข้อมูลสุขภาพของประชาชนตลอดช่วงชีวิตให้มีประสิทธิภาพ โดยอยู่บนพื้นฐานความยั่งยืนทางการคลัง

นอกจากนี้ ร่างยุทธศาสตร์ชาติยังกล่าวถึงการปฏิรูประบบการเก็บภาษีและรายจ่ายเพื่อให้บริการด้านสุขภาพ ตลอดจนการปฏิรูประบบหลักประกันสุขภาพในการสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับประชาชนทุกช่วงวัยอย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียง เป็นธรรม และยั่งยืน

6) การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ (eco-systems) มุ่งเน้นการสร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย การส่งเสริมบทบาทในการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ครอบครัวและชุมชนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การปลูกฝังและพัฒนาทักษะนอกห้องเรียน และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

7) การเสริมสร้างศักยภาพการกีฬาในการสร้างคุณค่าทางสังคมและพัฒนาประเทศ โดยมุ่งส่งเสริมการใช้กิจกรรมนันทนาการและกีฬาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างสุขภาวะของประชาชนอย่างครบวงจรและมีคุณภาพมาตรฐาน การสร้างนิสัยรักกีฬาและมีน้ำใจเป็นนักกีฬา และการใช้กีฬาและนันทนาการในการพัฒนาจิตใจ สร้างความสามัคคีของคนในชาติ หล่อหลอมการเป็นพลเมืองดี พัฒนาคุณภาพชีวิต การพัฒนาทักษะด้านกีฬาสู่ความเป็นเลิศและกีฬาเพื่อการอาชีพในระดับนานาชาติในการสร้างชื่อเสียงและเกียรติภูมิของประเทศชาติ รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมกีฬาในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ

โดยร่างยุทธศาสตร์ชาติวางแผนว่า ในระยะ 20 ปี จะต้องผลักดันให้ประเทศไทยมีระบบการเรียนรู้ที่รองรับโลกในศตวรรษที่ 21 ที่สมบูรณ์ และระบบสร้างสรรค์งานวิจัยที่สอดคล้องกับพลวัตทางประชากรและการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงาน และมีส่วนสร้างคนไทยให้มีคุณลักษณะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ ประเทศไทยจะมีนักวิจัยและผลงานวิจัยและพัฒนาที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของประเทศและนานาชาติ และเป็นประเทศหนึ่งที่เป็นศูนย์กลางด้านนวัตกรรมใหม่เพื่อเศรษฐกิจและสังคมนานาชาติ และมีธุรกิจที่ยั่งยืนและเติบโต สามารถสร้างรายได้หลักเข้าสู่ประเทศและยกระดับรายได้ของประเทศ

รวมไปถึงมีระบบบริการสาธารณสุขของคนในชาติเป็นไปตามมาตรฐานประเทศพัฒนาแล้ว มีระบบการคลังสุขภาพและระบบหลักประกันสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ พอเพียง เป็นธรรมและยั่งยืน และมีความเป็นเลิศและมีชื่อเสียงด้านกีฬา และอุตสาหกรรมกีฬาสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ
...

เรื่องเกี่ยวข้อง...


คุ้ยเบื้องหลัง สกอ.จ่ายยาแรง เชือดหลักสูตรไม่ได้มาตรฐาน นศ.รับกรรม

อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/1182378





“....ผมมองว่า การที่หลักสูตรไม่ผ่านไม่ควรเปิดรับเด็ก ซึ่งที่ผ่านมาหลายมหาวิทยาลัยยังดื้อเปิด เพราะมั่นใจว่าจะแก้ปัญหาได้ พอรับนักศึกษาเข้ามาก็กลายเป็นตัวประกัน ที่นี่คุณก็เอานักศึกษาออกหน้าทำเรื่องฟ้อง ซึ่งก็ไม่แฟร์กับ สกอ.อีก เพราะเขาต้องทำหน้าที่ควบคุมกฎ ผมว่าถ้าเกิดตั้งอยู่บนพื้นฐานของการรับผิดชอบร่วมกัน และจัดการศึกษาอย่างตรงไปตรงมา ธรรมาภิบาลมันก็เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย มันก็ไม่หลุดไปเป็นปัญหาสังคม เพราะหลักสูตรการศึกษาไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ นะครับ...” ผู้คลุกคลีในแวดวงการศึกษา ฝากทิ้งท้าย

สุดท้ายแล้วเราต่างหากที่ต้องมานั่งทบทวนดูว่า...แท้จริงแล้ว “ใบปริญญา”
สำคัญความรู้ความเชี่ยวชาญในศาสตร์นั้นๆ จริงหรือเปล่า?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น