วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ข้อสังเกตุที่ได้จากเขื่อนในส.ปป.ลาวแตก

ทุนเกาหลี-ทุนไทย : ทำไมแตกต่างกันมาก?




คลิปมุมสูง เขื่อนแตกลาว น้ำทะลักเต็มพื้นที่

...

ทำไมแตกต่างกันมาก?

ทุนเกาหลี : ยอมรับว่าพบตัวเขื่อนมีปัญหาก่อนหน้าจะแตก
ทุนไทย : เขื่อนแตกเพราะฝนตกหนัก เขื่อนที่แตกเป็นเขื่อนดินย่อย ไม่กระทบเขื่อนหลัก

ทุนเกาหลี : เสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นและจะให้การช่วยเหลืออย่างถึงที่สุด
ทุนไทย : ไม่กระทบต่อแผนการผลิตไฟฟ้าที่วางไว้ว่าจะดำเนินการในเดือน กพ.ปีหน้า

ทุนเกาหลี : มอบเงินช่วยเหลือเบื้องต้น 10 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 330 ล้านบาท)
ทุนไทย : มอบเงินช่วยเหลือ 5 ล้านบาท

ทุนเกาหลี : CEO นำทีมกู้ภัยลงพื้นที่ด้วยตนเอง
ทุนไทย : ???

ส่วนรัฐบาลเกาหลี vs รัฐบาลไทย ???



Chainarong Setthachua

(https://www.facebook.com/chainarong.stc.3/posts/262952394507156)

3 ปี เขื่อนในลาวแตก 3 แห่ง สะเทือนความเชื่อมั่นของประชาชน ต่อเขื่อนที่มีอยู่และกำลังก่อสร้าง





3 ปี เขื่อนในลาวแตก 3 แห่ง สะเทือนความเชื่อมั่นของประชาชน ต่อเขื่อนที่มีอยู่และกำลังก่อสร้าง


BY ADMIN
สำนักข่าวชายขอบ
24 กรกฎาคม, 2018


เว็บไซด์ idsala ได้รายงานถึงเหตุการณ์เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย เมืองปากซอง แขวงจำปาสักแตก ทำให้ประมาณน้ำมหาศาลไหลเข้าท่วมเมืองสนามไซย แขวงอัตตะปือ ส่งผลต่อชีวิติทรัพย์สิน และทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนัก

เขื่อนเซเปียน – เซน้ำน้อย เป็นเขื่อนที่มีอ่างเก็บน้ำเขื่อมต่อกันจากหมากจัน ลงสู่เขื่อนเซเปียน และจากเขื่อนเซเปียนลงสู่เขื่อนเซน้ำน้อย และอ่างเก็บน้ำของเขื่อนเซน้ำน้อยมีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบเขื่อนดังกล่าว ด้วยเนื้อที่ 552 ตารางกิโลเมตร แต่สันเขื่อนที่แตกไม่ใช่สันกั้นอ่างเก็บน้ำเซน้ำน้อย

โครงการเขื่อนเซเปียนเซน้ำน้อย ได้เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2013 และคาดว่าจะเสร็จในปี 2019 มีกำลังการผลิต 410 เมกะวัตต์ โดยมีเจ้าของโครงการคือ บริษัทไฟฟ้าเซเปียน-เซน้ำน้อย ภายใต้การร่วมทุนของบริษัท SK Engineering and Construction(SK E) ถือหุ้น 26 % บริษัท Korea Western Power (KOWEPO) ถือหุ้น 25 % บริษัท Generating Holding Public (RATCH) ถือหุ้น 25% และบริษัท รัฐวิสาหะกิจหุ้นลาว (LHSE) ถือหุ้น 24% มูลค่าโครงการกว่า 1,020 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ





เมื่อย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2017 ที่ผ่านมา เขื่อนน้ำอ้าว เมืองผาไซ แขวงเซียงขวาง ทีมีกำลังการผลตไฟฟ้า 15 เมกะวัตต์ แตกและทำให้น้ำท่วมเมืองท่าโทม แขวงไซยสมบูน ซึ่งได้สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างเช่นกัน เขื่อนดังกล่าวดำเนินการโดยบริษัทบ่อทองอินเตอกรุ๊ปจำกัด เป็นเจ้าของโครงการ ซึ่งเขื่อนแตกในช่วงที่ก่อสร้างได้ 80 %

ก่อนหน้านั้นเมือ่วันที่ 16 ธันวาคม 2016 ได้เกิดเหตุอุโมงไฟฟ้าของเขื่อนเซกะมาน 3 แตก ทำให้น้ำไหลอย่างรุนแรงที่บ้านดายรัง เมืองดากจัง แขวงเซกอง โดยเขื่อนเซกะมาน 3 มีกำลังการผลิต 250 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่เมืองดากจิง แขวงเซกอง ดำเนินการโดยบริษัท Songda ของเวียดนามเป็นผู้ก่อสร้าง โฝซึ่งเขื่อนดังกล่าวแตกในระหว่างการผลิตกระแสไฟฟ้า เขื่อนสร้างเสร็จตั้งแต่ปี 2014

ด้วยเหตุนี้ประชาชนที่ตั้งคำถามต่อมาตรฐานในการก่อสร้างและการตรวจสอบคุณภาพเพื่อความปลอดภับแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและสิ่งแวดล้อมโดยรวมว่า หน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบต่อปัญหาดังกล่าว นอกจากประชาชนยังต้องการคำชี้แจงถึงการคุ้มครองมาตรฐานทางเทคนิค ความปลอดภัยและความแน่นหนาของเขื่อนต่างๆ โดยเฉพาะที่อยู่ใกล้กับชุมชนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง





ตามกฏหมายว่าด้วยไฟฟ้า ฉบับเลยที่ 03/สพ..ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2017 มาตราที่ 35 ระบุว่า บุคคล นิติบุคคล หรือการจัดั้งที่ดำเนินธุรกิจไฟฟ้าต้องรับประกันความปลอดภัยของการดำเนินงานและการบำรุงรักษาอุปกรณ์ และองค์ประกอบด้านไฟฟ้าของวิศวกรรมก่อสร้างโรงไฟฟ้าเช่น เชื่อน อ่างเก็บน้ำ อ่างน้ำล้น โรงจักไฟฟ้า สายส่งไฟฟ้า สถานีไฟฟ้า สายจำหน่ายไฟฟ้า อุปกรณ์ และองค์ประกอบด้านไฟฟ้า รวมถึงผู้ใช้ไฟฟ้า

เพื่อรับประกันความปลอดภัยดังกล่า บุคคล นิติบุคคล หรือการจัดตั้งที่ดำเนินธุรกิจไฟฟ้าต้องสร้างระบบเกี่ยวกับความปลอดภัยในการดำเนินงานและการบำรุงรักษาอย่างสอดคล้องกับมาตรฐานเทคนิคไฟฟ้าของลาว และนำเสนอต่อกระทรวงพลังงานและบ่อเแร่เพื่อการพิจารณา
ดังนั้นในเรื่องของมาตรฐานทางเทคนิคของเขื่อนต่างๆในลาว ถือว่ากระทรวงพลังงานและบ่อเร่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในจุดนี้โดยตรง นอกจากนี้ผู้มีสิทธิในการอนุมัติโครงการไฟฟ้าในสปป.ลาวแบ่งออกเป็น 4 ขนาดดังนี้

1.โครงการไฟฟ้า ที่มีกำลังติดตั้ง 100 กิโลวัตต์ ลงมา เจ้าเมือง หัวหน้าเทศบาล เป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ตามการเสนอของห้องการแผนงานและการลงทุนเมือง, เทศบาล โดยได้รับการเห็นดีทางด้านวิชาการของแผนกพลังงานและบ่อแร่แขวง นครหลวง

2.โครงการไฟฟ้า ที่มีกำลังติดตั้งมากกว่า 100 กิโลวัตต์ ถึง 15 เมกะวัตต์ ผู้มีหน้าที่ในการพิจารณาคือ เจ้าแขวง เจ้าครองนคร เป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ตามการเสนอของแผนกแผนงานและการลงทุนแขวง, นคร, โดยได้รับความเห็นดีทางด้านวิชาการของกระทรวงพลังงานและบ่อแร่

3.โครงการไฟฟ้า ที่มีกำลังติดตั้งสูงกว่า 15 เมกะวัตต์ -100 มกะวัตต์ รัฐบาลจะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ตามการเสนอของกระทรวงแผนงานและการลงทุน โดยได้รับความเห็นชอบด้านวิชาการของกระทรวงพลังงานและบ่อแร่

4.โครงการไฟฟ้าที่มีกำลังติดตั้งสูงกว่า 100 เมกะวัตต์ ขึ้นไป หรือมีอ่างเก็บน้ำที่มีเนื้อที่มากกว่า 10,000 เฮกตาร์ขึ้นไป หรือมีผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อม สังคม และธธรรมชาติอย่างมาก คณะประจำสภาแห่งชาติเป็นผู้พิจารณาอนุมัติตามการเสนอของรัฐบาล

เปิดรายงาน EIA เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย อาจไม่มีการประเมินความเสี่ยงเขื่อนวิบัติ และแผนรับมือกับเหตุฉุกเฉินที่เหมาะสม




https://www.facebook.com/chainarong.stc.3/posts/262442884558107


เปิดรายงาน EIA เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย อาจไม่มีการประเมินความเสี่ยงเขื่อนวิบัติ และแผนรับมือกับเหตุฉุกเฉินที่เหมาะสม

EIA นับว่ามีความสำคัญมากๆ ครับ เพราะจะบอกเราได้ว่าทำไมภัยพิบัติจากเขื่อนวิบัติครั้งนี้จึงมีความรุนแรงมาก ทั้งที่โครงการนี้ ถือว่าเป็นโครงการด้านวิศวกรรมที่ท้าทายในภูมิภาคนี้ และมีมูลค่าถึงสามหมื่นกว่าล้านบาท ที่ต้องมีการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment : RA) และแผนรับมือกับเหตุฉุกเฉินทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Emergency Response Plan)

แต่ในขณะนี้ไม่สามารถหารายงานฉบับสมบูรณ์ที่ทำโดยบริษัททีม ของไทยได้ มีเพียงรายงานฉบับเพิ่มเติมที่จัดทำโดยบริษัท Lao Consulting Group เท่านั้น แต่ก็พอจะให้ภาพเพื่อตอบคำถามดังกล่าวข้างต้นได้ในระดับหนึ่ง

เมื่อได้เข้าไปอ่าน EIA ฉบับดังกล่าว ก็พบหัวข้อที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในบทที่ 6 เรื่อง Environmental Mitigation Measures หน้า 6-14 กับ 6-15 โดยอยู่ในหัวข้ออุบัติเหตุและภัยธรมชาติ และมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงคือ ไฟไหม้และการระเบิด การรั่วไหลของวัถตุอันตรายและน้ำมัน ความเสี่ยงจากแผ่นดินไหว และอุบัติเหตุและภัยธรรมชาติทั่วไป

สำหรับหัวข้อที่น่าสนใจที่สุดก็คือหัวข้อสุดท้าย ซึ่งได้แบ่งย่อยออกเป็นสองประเด็นคือ น้ำท่วม (flood) และกับระเบิดที่ยังไม่ได้ระเบิด (UXO) โดยที่หัวข้อน้ำท่วม EIA ได้เสนอมาตรการในการลดผลกระทบคือให้มีการติดตามสภาวะอุทกวิทยาและภูมิอากาศ ซึ่งจำเป็นสำหรับทำให้การลดผลกระทบและการจัดการมีประสิทธิภาพสำหรับน้ำไหลสูงสุดและเหตุการณ์น้ำท่วมในแต่ละวัน การติดตามตัวชี้วัดต่างๆ รวมถึงปริมาณน้ำฝน อัตราการไหลของน้ำในแม่น้ำ ระดับน้ำ และการสังเกตด้วยสายตา เช่น สังเกตพืชน้ำ พรรณพืช การเกิดขึ้นและลักษณะสัณฐานของตะกอน

สำหรับมาตรการในการลดผลกระทบ EIA ระบุว่าให้พัฒนาแผนรับมือกับเหตุฉุกเฉินด้านสิ่งแวดล้อม (Develop the Environmental Emergency Response Plan)

ข้อสังเกตของผมก็คือ

1) โครงการนี้ไม่มีการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) จากเขื่อนวิบัติ เช่น น้ำล้นจากทางระบายน้ำล้นฉุกเฉินของเขื่อน (spill way) น้ำล้นสันเขื่อน หรือที่เลวร้ายที่สุดคือเขื่อนวิบัติ

2) หากตัดประเด็นที่ว่าเขื่อนพังเพราะอะไรออกไปก่อน ผมมีคำถามว่าทางบริษัทเจ้าของเขื่อนได้จัดทำแผนรับมือกับเหตุฉุกเฉินด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม่ และแผนดังกล่าวบริษัทได้นำมาปฏิบัติหรือไม่ และได้นำไปให้หน่วยงานราชการและชุมชนท้ายเขื่อนหรือไม่ เพราะไม่สามารถหาเผนดังกล่าวได้ แต่การประเมินจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเขื่อนแตก ก็น่าจะไม่มีแผนดังกล่าว จึงทำให้เกิดการแจ้งเตือนภัยและให้อพยพที่ล่าช้ามากและกระชั่นชิดมาก อีกทั้งบริษัทน่าจะรู้แล้วว่าตัวเขื่อนที่วิบัติมีปัญหาตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม ขณะที่สื่อต่างประเทศบางสำนักตั้งข้อสังเกตว่าบริษัทน่าะรู้ว่าเขื่อนมีรอยแยกตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม แล้ว ขณะที่การแจ้งให้ทางการลาวอพยพประชาชนท้ายเขื่อนในลุ่มน้ำเซเปียนเกิดขึ้นในวันที่ 23 กรกฎาคม ก่อนเขื่อนแตกไม่กี่ชั่วโมง

นอกจากนั้น เมื่อเขื่อนแตก ยังได้เกิดการอพยพหนีตายของประชาชนแบบโกลาหล ประชาชนหนีเอาตัวรอดแบบไร้ทิศทาง บางคนถูกน้ำพัดพาเสียชีวิต ซึ่งตัวเลขล่าสุดคือ 26 คน มีคนสูญหาย 131 คน ประชาชนจำนวนมากหนีขึ้นไปอยู่บนหลังคาทั้งบ้านและวัด บางคนต้องเกาะต้นไม้เพื่อเอาชีวิตรอด หรือติดเกาะหลายวัน ขณะที่พื้นที่รองรับอพยพก็ไม่มีความพร้อม หลายกลุ่มต้องไปตั้งเพิงพักชั่วคราวในป่า ขณะที่ในพื้นที่ไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นได้

ยิ่งไปกว่านั้น ผลกระทบยังครอบคลุมไปยังหลายหมู่บ้านในกัมพูชาด้วย ซึ่งสถานการณ์การอพยพก็ไม่ได้แตกต่างกัน เพียงแต่ความเสียหายน้อยกว่า และทางการกัมพูชาก็มีเวลาในการช่วยเหลือประชาชนมากกว่า

กล่าวโดยสรุป ผมเห็นว่า EIA ฉบับเพิ่มเติมให้ข้อมูลเบื้องต้นได้ระดับหนึ่งว่า โครงการนี้อาจไม่ได้มีการประเมินความเสี่ยงที่เหมาะสม ไม่ครอบคลุมประเด็นเขื่อนวิบัติ และไม่น่าจะมีแผนลดความเสี่ยงภัยพิบัติ (Disaster Risk Reduction-DRR) ในกรณีเขื่อนวิบัติ เพือให้เจ้าหน้าที่ของเขื่อน หน่วยงานต่างๆ และชุมชนที่ตั้งอยู่ท้ายเขื่อน นำไปปฏิบัติ หรือหากมีก็ไม่ได้นำมาปฏิบัติ ทำให้เกิดรุนแรงถึงขั้นเป็นภัยพิบัติอย่างที่เห็น ดังนั้น ไม่ว่าเขื่อนจะแตกเพราะโครงสร้างทางวิศวกรรรมซึ่งแนวโน้มจะเป็นสาเหตุนี้มากที่สุด หรือจากฝนตกหนักอย่างที่ผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยและเกาหลีได้ระบุ บริษัทเจ้าของเขื่อนก็ไม่อาจหนีความรับผิดชอบไปได้

ลิงค์ผลการศึกษาที่เกี่ยวกับความเสี่ยงและแผนรับมือกับเหตุฉุกเฉิน http://www.pnpclaos.com/…/PNPC_EIA_Chap06_Env_Mitigation_Fi…

ลิงค์ EIA ฉบับเพิ่มเติม http://www.pnpclaos.com/…/PNPC_EIA_Chap06_Env_Mitigation_Fi…

Cr.ภาพประกอบ : ABC Laos News


Chainarong Setthachua

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น