วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561

เครือข่ายทวงคืนป่าดอยสุเทพ งัดภาพถ่ายตอบนายกฯ ค้านบ้านป่าแหว่งมาตั้งแต่ปี 58 (ก่อนจะทำอะไรเคยถามประชาชน บ้างไหม?)

เครือข่ายทวงคืนป่าดอยสุเทพ งัดภาพถ่ายตอบนายกฯ ค้านบ้านป่าแหว่งมาตั้งแต่ปี 58 (ก่อนจะทำอะไรเคยถามประชาชน บ้างไหม?)



FACEBOOK/TEERASAK RUPSUWANคำบรรยายภาพภาพถ่ายพื้นที่เชิงดอยสุเทพบริเวณก่อสร้างบ้านพักตุลาการศาลที่เครือข่ายทวงคืนป่าดอยสุเทพอ้างว่าบันทึกเมื่อปี 2558


เครือข่ายทวงคืนป่าดอยสุเทพ งัดภาพถ่ายตอบนายกฯ ค้านบ้านป่าแหว่งมาตั้งแต่ปี 58


28 สิงหาคม 2018
บีบีซีไทย


"หากการออกมาคัดค้าน ได้ดำเนินการตั้งแต่ ก่อนเริ่มต้นโครงการก่อสร้าง ก็จะไม่ทำให้เรื่องยืดยาวหรือต้องสูญเสียงบประมาณของรัฐเช่นนี้" คือข้อความที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวผ่าน พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวานนี้ (27)


คำกล่าวนี้เกิดขึ้นหนึ่งวันหลังจากชาวเชียงใหม่ที่รวมตัวเคลื่อนไหวในชื่อกลุ่ม เครือข่ายทวงคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ ออกมารวมตัวกันทวงถามคำมั่นที่รัฐบาลให้ไว้ก่อนหน้านี้ว่าให้บ้านพักตุลาการเชิงดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ย้ายออกจากบริเวณที่มีปัญหา และในช่วงนี้ก็ไม่ให้มีผู้ใดเข้าอยู่อาศัยโดยสิ้นเชิง แต่ทางเครือข่ายฯ อ้างว่ามีการเข้าอยู่อาศัยโดยเสดงภาพถ่ายต่าง ๆ เป็นหลักฐาน

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมสัญจร (ก.บ.ศ.) ที่เชียงรายมีมติเห็นชอบให้ สนง.ศาลยุติธรรม ขอใช้ที่ดินศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย สร้างที่ทำการ ที่พักข้าราชการศาลอุทธรณ์ภาค 5 เเทนพื้นที่ริมดอยสุเทพที่ถูกคัดค้าน

พล.ท. สรรเสริญ กล่าวเมื่อวานนี้อีกด้วยว่า "รัฐบาลไม่ขัดข้องในการให้พื้นที่สร้างอาคารและที่พักอาศัยใหม่ และพร้อมจัดสรรงบประมาณสนับสนุนตามที่ขอมาอย่างสมเหตุสมผล โดยให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการดำเนินการตามขั้นตอนโดยเร็ว"



หลักฐานการคัดค้านก่อนหน้า

ภายหลังการให้ความเห็นของนายกรัฐมนตรีผ่านโฆษกรัฐบาล นายธีระศักดิ์ รูปสุวรรณ ประธานเครือข่ายทวงคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ กล่าวกับบีบีซีไทยว่า เครือข่ายทวงคืนผืนป่าดอยสุเทพ เริ่มคัดค้านหมู่บ้านป่าแหว่งมาตั้งแต่ปี 2558

เขาเล่าย้อนให้ฟังว่า ในเดือน มี.ค.ปีนั้น กลุ่มจักรยานเสือภูเขาที่เข้าไปขี่จักรยานในเส้นทางป่า แจ้งว่ามีการถางป่า จากนั้นทางเครือข่ายได้นำร่มขึ้นบินถ่ายภาพพื้นที่บริเวณเชิงดอยสุเทพและแจ้งไปที่อุทยานฯ ว่ามีการบุกรุก เจ้าหน้าที่อุทยานฯ จึงเข้ามาเก็บภาพถ่ายบันทึกหลักฐานไว้ในเดือน เม.ย.ปีเดียวกัน



FACEBOOK/TEERASAK RUPSUWANคำบรรยายภาพภาพเปรียบเทียบ ความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าระหว่างปี 2558 และ 2561


"ตอนนั้นเราโพสต์ไปบนเฟซบุ๊กกลุ่มอนุรักษ์แม่ปิง หลังจากจากนั้นในปี 59 ประธานศาลอุทธรณ์ก็ออกมาชี้แจ้งว่าดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย"

ประธานเครือข่ายทวงคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ กล่าวว่า จนปลายเดือน ก.พ.ปีนี้ เห็นชัดว่าป่าเชิงดอนสุเทพถูกใช้พื้นที่เพิ่มขึ้น พร้อม ๆ กับกลุ่มอาคารที่ผุดขึ้นมา จึงทำให้เกิดการเคลื่อนไหวรวมตัวคัดค้าน


FACEBOOK/TEERASAK RUPSUWAN


นายธีระศักดิ์ย้ำจุดยืนของทางเครือข่ายฯ คือ ให้ยุติการใช้งานและรื้อ บ้านพักข้าราชการตุลาการศาลอุทธรณ์ภาค 5 บริเวณเชิงดอยสุเทพ จำนวน 45 หลัง และอาคารชุด 9 หลัง ตามที่คณะกรรมการปัญหาบ้านพักข้าราชการตุลาการฯ ชุดที่มีผู้ว่าราชการ จ.เชียงใหม่เป็นประธาน มีมติเมื่อวันที่ 6 พ.ค.ที่ผ่านมา แต่หลังจากผ่านมากว่า 3 เดือน กลับยังไม่มีความชัดเจนถึงเงื่อนเวลาการย้ายออก

ขอขอบคุณข้อมูล : FACEBOOK/TEERASAK RUPSUWAN 
(พร้อมคำบรรยายภาพภาพถ่ายพื้นที่เชิงดอยสุเทพบริเวณก่อสร้างบ้านพักตุลาการศาลที่เครือข่ายทวงคืนป่าดอยสุเทพอ้างว่าบันทึกเมื่อปี 2558)

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2561

แหม 'ห่านอู' จะนั่งเบ๊นซ์ ขนาดนายหัวตรังยังบ่น นึกว่ายางราคา ๘๐ บาท ที่ไหนได้ นั่นมันสองโล ๘๐ บาท

แหม 'ห่านอู' จะนั่งเบ๊นซ์ ขนาดนายหัวตรังยังบ่น นึกว่ายางราคา ๘๐ บาท ที่ไหนได้ นั่นมันสองโล

หอกหัก โมกขศักดิ์เอ๊ย ยักยื้อไม่จบไม่สิ้น แทนที่จะเสริมส่ง กกต.ชุดใหม่ เขาตั้งหน้าทำงานให้ว่องไว ดันออกมาแตะเบรคเสียนั่น โฆษกห่านอูรีบแก้ เลือกตั้งวันที่ ๒๔ กุมภา แค่ทฤษฎี

จะมาเกี่ยงว่ารอโปรดเกล้าฯ ให้ระคายเคืองเบื้องยุคลบาททำห่ามไร ก็ไอ้ไทม์ไลน์ปลายกุมภาวันเข้าคูหาหย่อนบัตร เขาคำนวณเวลารอโปรดเกล้าฯ เอาไว้แล้ว ต้องหัดอ่าน ไทยอีนิวส์ เสียบ้างนะ >>> ที่นี่https://thaienews.blogspot.com/2018/08/blog-post_660.html

“แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันก็จะต้องดูปัจจัยอื่นประกอบด้วย เช่น กฎหมายที่จะโปรดเกล้าฯ ลงมา ว่าจะมีการใช้ระยะเวลาเท่าไหร่” พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด อ้างว่าที่ กกต.พูดไว้วันก่อน “ตามทฤษฎีของคสช.และรัฐบาล ที่ว่าจะจัดการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์”

แถมพูดดักทางที่เขาไม่ได้ถาม “ทุกอย่างเป็นไปตามแผน ไม่ใช่ว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นแล้ว รัฐบาลจะหยุดการทำงานทุกอย่าง แล้วไปเตรียมการเพื่อมอบนโยบายอย่างเดียวไม่ใช่” หมายความว่าจะครอบหัวรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งต่อไปไง


มิน่าถึงได้ควักกระเป๋าตังค์ประชาชน (งบประมาณผูกพัน ๕ ปี จากมิถุนา ๖๑ ถึงพฤษภา ๖๖) เอาไปซื้อรถเบ๊นซ์ใหม่เอี่ยม ๑๘ คัน ให้พวกรัฐบุรุษ รองนายกฯ และโฆษกฯ อย่างห่านอูนี่แหละ นั่งกันให้ตูดบาน เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนกันยานี้

จากหลักฐานสำนักเลขานายกฯ เปิดประกวดราคาเช่ารถยนต์ประจำตำแหน่ง รัฐบุรุษกับรองนายกฯ ๕ คน ได้ขี่รุ่น เอส ๓๕๐ ดี ค่าเช่า ๙ หมื่นกว่าบาทต่อเดือนต่อคัน ระดับรองลงไปก็มีรุ่นเอ็กซ์คลูสีฟ อี ๓๕๐ อี กับ ซี๓๕๐ อี ค่าเช่าเดือนละ ๗ หมื่น ๖ พัน และ ๕ หมื่น ๓ พัน ต่อคัน ตามลำดับ

ของห่านอูได้นั่งเมอร์เซดีส รุ่นซีแอลเอ ๒๐๐ เออร์บัน หรูหราไม่แพ้กันแต่เครื่องเล็กลงไปหน่อย แค่ ๑,๕๙๕ ซีซี ค่าเช่าเดือนละ ๓ หมื่น ๕ พันบาทกว่าๆ ต่อคัน เป็นอันว่าจากนี้อีกอย่างน้อย ๑ ปี พวกห่านพวกห่ามจะขี่เบ๊นซ์จากเงินภาษีอากรราษฎรราว ๑๓ ล้านบาทกว่าๆ ต่อปี


นั่นเป็นส่วนเพิ่มที่รัฐบาล คสช. ขูดรีดเลือดจากปู (ทั้งไอ้และอี) นอกเหนือจากหนี้สินส่วนหนึ่งที่ต้องรับภาระต่อรัฐวิสาหกิจที่มีแม่ทัพนายกองเข้าไปนั่งเป็นบอร์ดกินทั้งเบี้ยประชุมและงบบันเทิง คนละเป็นแสนๆ ต่อเดือน

เมื่อสองสามวันก่อน โพสต์ทูเดย์ รายงานเรื่องความเสี่ยงทางการคลัง ที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลังจัดทำสำหรับปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ที่ผ่านมาว่า “รัฐวิสาหกิจมีการก่อหนี้คงค้างเพื่อดำเนินการโครงการโครงสร้างพื้นฐาน จำนวน ๙.๙๔ แสนล้านบาท
 
เป็นหนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน ๕.๕๒ แสนล้านบาท และเป็นหนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ๔.๑๘ แสนล้านบาท ในจำนวนนี้รัฐบาลรับภาระ ๕.๖๗ หมื่นล้านบาท และไม่รับภาระ ๓.๖๑ แสนล้านบาท” โดยเป็นหนี้จากวิสาหกิจรับผิดชอบเรื่องเมกะโปรเจ็คของ คสช.

ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เป็นต้น พวกนี้ “ประสบภาวะขาดทุนมาโดยตลอด

ดังนั้นภาระหนี้ที่เกิดจากการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ จึงมีโอกาสที่จะเป็นภาระทางการคลังของรัฐบาลในอนาคตต่อไป หากรัฐวิสาหกิจไม่สามารถชำระคืนหนี้เงินกู้ได้”

คสช.อยู่มาสี่ปีกว่า ผลาญงบประมาณไปแล้วเป็นล้านล้านบาท ยังไม่มีทีท่าว่าจะหาเงินเข้าไปอุดรูโหว่คงคลังได้เมื่อไหร่ ผลการทุ่มเงินลงไปที่อีอีซี เมกะโปรเจ็คที่หวังจะใช้เชิดหน้าให้ คสช.อยู่กินกันต่ออีกสี่ซ้าห้าปี ก็ยังไม่มีรูปธรรมแย้มให้เห็น

มิหนำซ้ำชาวบ้านกำลังไส้แห้งกันถ้วนทั่ว ไหนรายการน้ำท่วมระลอกใหม่กำลังเริ่มอ่วม ทั้งที่น่านและเชียงราย สองวันก่อน ไพศาล พืชมงคล คนเก่าแก่ของ คสช. แท้ๆ มีบ่น การทำมาหากินคนปักษ์ใต้ใกล้จะเหี่ยวตายกันแล้ว

วานนี้นายหัวคนใต้ ปชป.ตัวพ่อ เริ่มครวญบ้าง “ครั้งหนึ่งภาคใต้เคยเป็นภาคที่มีความมั่งคั่งมากที่สุด แต่ในวันนี้กลายเป็นภาคที่ทรุดมากที่สุด” ชวน หลีกภัย ไปปาฐกถาในงานเปิดโรงแรมใหม่ที่เมืองคอนฯ เล่าให้ฟังว่าไปเยี่ยมชาวสวนยางสตูล
 
“ชาวสวนมาบอกผมว่ายางที่นี่มีราคา ๘๐ บาท ผมเองตกใจว่าที่นี่ขึ้นสูงได้อย่างไร สุดท้ายได้รับคำตอบ ๒ ก.ก.ราคา ๘๐ บาท” แน่ะ ทั่นยังอุตส่าห์ใส่อารมณ์ขัน

นายหัวตรังยังให้เบาะแส มีแต่สองจังหวัดเล็กๆ ยังไม่ตายหยังเขียดเหมือนที่อื่นๆ คือชุมพรและระนอง ที่หัวหน้า คสช. ขวัญใจสลิ่มกรุงและ กปปส.ใต้ กำลังจะเดินสายไปเยี่ยม

“ผมเองก็เตรียมข้อมูลไปไว้รายงานให้ รมว.เกษตรได้รับทราบ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการส่งเสริมการท่องเที่ยว”


ส่งการท่องเที่ยวช่วงนี้คงไม่ค่อยไหว หลังจากเหตุเรือเฟอรี่อับปาง นักท่องเที่ยวจีนตายระนาวที่ภูเก็ต แล้วพากันยกเลิกจองทัวร์เกือบเกลี้ยง กว่าจะฟื้นคืนได้น่าจะอีกพักใหญ่

แต่ก็ดีแล้วละที่นายหัวต่อสายผูกมิตรไว้กับ คสช. ซึ่งดูท่าเตรียมการอยู่ต่ออีกรอบ ยังไม่รู้จะออกมารูปไหน เวลานี้พลังประชารัฐยังเอาแน่ไม่ได้ ต่อไปใช้พลัง ปชป. เสียบ คงสมกันดั่งกิ่งทองใบหยก

เห็นว่าไอเดียเกษตรกรรมของอดีตนายกฯ ชวนนี่ไม่ธรรมดา ชวนชาวบ้านปลูกจำปาดะแทนยางงี้ ปลูกสะตอกับ

ลูกเนียงพันธุ์ตรังงั้น พืชเศรษฐกิจของชาวใต้ เวลาตกอับมากๆ ต้มกินประทังไปวันๆ ดีกว่ามีแต่น้ำยาง

ขอขอบคุณข้อมูล ครับ

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ปรากฏการณ์เผด็จการฟาสซิสต์ทางศิลธรรม ....อิอิ

ปรากฏการณ์เผด็จการฟาสซิสต์ทางศิลธรรม ....อิอิ 







ฟาสซิสต์ทางศีลธรรม

%%%

พวกเขามาในนามของความดี
แล้วใช้รัฐทุกทีเพื่อขับไส
บังคับคนทำดีให้ดังใจ
ประกาศกฎกดไว้ทั่วแผ่นดิน
การทำดีไม่มีที่ต้องเลือก
ถ้าใครเสือกไม่ทำจำขังสิ้น
ศีลธรรมเปลี่ยนเป็นตรวนชวนชาชิน
ทาสความดีเต็มถิ่นสิ้นคนไท


ปรากฏการณ์ลัทธิฟาสซิสต์ทางศีลธรรม
(Moral Fascism Phenomenon)
































ขอขอบคุณข้อมูล : ที่มา FB Kasian Tejapira

ลิงค์ภาษาอังกฏษที่เกี่ยวข้อง...

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561

จีนยึดกัมพูชาไปเรียบร้อยตามสัญญาเช่า 55 ปี เวียตนามประชาชนไม่ยอมรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมจีน ไทย คสช.ร่วมมือกับเจ้าสัวเปิดโอกาส(ขายชาติ)ให้จีน รายต่อไปให้เช่า 99 ปี



ชาวกัมพูชาใน "กัมปอต" หวั่นว่าการหลั่งไหลเข้ามาของนักลงทุนจีนจะทำให้เมืองที่เคยเงียบสงบ กลายเป็นแหล่งอาชญากรรมไม่ต่างจาก "สีหนุวิลล์"
การหลั่งไหลเข้ามาของชาวจีน เป็นหนึ่งสิ่งที่ชาวกัมพูชาหลายคนเป็นกังวล

ตามคำท้าฮุนเซน อเมริกาตัดความช่วยเหลือกัมพูชาอีก เหตุ ปชต. “เสื่อมถอย”
“เดอะ แคมโบเดีย เดลี” กัมพูชา ปิดตัวแล้ววันนี้ อ้างโดนรัฐบาลเล่นงานด้วยภาษีสูงลิ่ว

คนเวียตนามไม่เอา 99 ปี
เวียดนามเลื่อนลงมติร่าง กม.เปิดทางต่างชาติเช่าที่ดิน 99 ปี หลังประท้วงใหญ่

รัฐบาลปฏิเสธขายชาติให้คนต่างด้าว กรณีให้สิทธิเช่าที่ดิน EEC 99 ปี ย้ำไม่แตกต่างจาก ก.ม.ในอดีตและหลักสากล ชี้ชัดกำหนดเงื่อนไขทุกขั้นตอนอย่างรัดกุม มุ่งรักษาผลประโยชน์ประเทศ....
อ่านต่อได้ที่ : https://www.posttoday.com/politic/news/543961

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2561

9 เรื่องจริงของ ‘แม่’ ที่ลูก ๆ อาจไม่เคยรู้มาก่อน แคมเปญวันแม่ที่ไม่ได้ขายดราม่าจาก McDonald’s

9 เรื่องจริงของ ‘แม่’ ที่ลูก ๆ อาจไม่เคยรู้มาก่อน แคมเปญวันแม่ที่ไม่ได้ขายดราม่าจาก McDonald’s

mc-momday
อีกไม่กี่วันก็จะถึงวันสำคัญของคนไทยอย่าง ‘วันแม่แห่งชาติ’ แล้วนะครับ แน่นอนว่าในช่วงนี้เราจะได้เห็นแคมเปญโฆษณาเกี่ยวกับวันแม่ หรือแคมเปญการตลาด โปรโมชั่นพิเศษวันแม่ มากมายเต็มไปหมด ซึ่งโฆษณาวันแม่ในหลายปีที่ผ่านมา เรียกได้ว่าเป็นการประชันความซึ้งกันก็ว่าได้ จนแทบจะเป็นธรรมเนียมไปแล้วในปัจจุบัน ว่าถึงช่วงวันแม่ ต้องมีโฆษณาที่ทำให้น้ำตาไหล แต่ในปีนี้มีแบรนด์หนึ่งที่กลับฉีกกระแส ด้วยการส่งโฆษณาที่ ‘ไม่ดราม่า’ แต่รับรองว่าประทับใจแน่นอน กับแคมเปญ ‘วันแม่ปีนี้…ลองถามแม่ดู (Ask Mom)’ จาก McDonald’s ประเทศไทย
38689507_10156477532842866_8356133013540569088_n
38760957_10156477532677866_9197513529119211520_n
“เพราะ ‘การถาม’ คือจุดเริ่มต้นของบทสนทนาที่ดีที่สุด” จุดเริ่มต้นของการเลือกใช้ไอเดียนี้ในการทำโฆษณาคือการที่ทางแบรนด์ได้ทำการเจาะลึกพฤติกรรมของผู้บริโภคในสมัยนี้แล้วพบว่า ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีและสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ได้พัฒนาไปไกลจนทำให้คนที่อยู่ฝั่งตรงข้ามของโลกสามารถพูดคุยกันได้เพียงแค่ลากปลายนิ้ว แต่กลับทำให้คนที่อยู่ใกล้ชิดอย่างคนในครอบครัวนั้นได้พูดคุยกันน้อยลง ดังนั้นเนื่องในโอกาสวันแม่ ทาง McDonald’s และเอเจนซี่ TBWA\THAILAND จึงได้รวบรวมเรื่องจริงของคนที่เป็นแม่ที่คนเป็นลูกอาจไม่เคยรู้ มาผสมผสานกับสินค้าเมนูยอดนิยมหลากหลายเมนู ออกมาเป็นงาน Print Ads ที่ชวนให้ลูกเกิดความสงสัยในเรื่องราว ซึ่งจะนำไปสู่จุดเริ่มต้นของประโยคสนทนาที่สร้างความสัมพันธ์อันดีกับคุณแม่ในวันพิเศษที่กำลังจะถึง
38808569_10156477533257866_2946964038891864064_n
38694537_10156477533292866_1831758759530070016_n
38667177_10156477533172866_4001379300333846528_n
38734178_10156477533022866_5136500922867777536_n
38701186_10156477533052866_3502419089698062336_n38683808_10156477532727866_871986431055101952_n
38667164_10156477532782866_409998243796090880_n

ขอขอบคุณและติดตาม 
MarketingOops!

วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2561

"ครบรอบ 30 ปีเหตุการณ์ 8888 ในพม่ากับจิตวิญญาณประชาธิปไตยที่ยังลุกโชน"

วันพฤหัสบดี, สิงหาคม 09, 2561

ชวนอ่าน "ครบรอบ 30 ปีเหตุการณ์ 8888 ในพม่ากับจิตวิญญาณประชาธิปไตยที่ยังลุกโชน"





ครบรอบ 30 ปีเหตุการณ์ 8888 ในพม่ากับจิตวิญญาณประชาธิปไตยที่ยังลุกโชน


8 Aug 2018 
โดย ลลิตา หาญวงษ์
Way Magazine


วันที่ 8 สิงหาคม 2018 เป็นวันรำลึกเหตุการณ์การประท้วงต่อต้านรัฐบาลทหารครั้งใหญ่ที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองของพม่า

ปี 1988 การปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง ที่ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา อย่างเหี้ยมโหดของกองทัพพม่าภายใต้การนำของ นายพลเน วิน แต่ผลกระทบที่ตามมาหลังโศกนาฏกรรมที่รู้จักกันในนาม ‘8888’ หรือเหตุการณ์แปดสี่ตัว (ชิต เล โลง ในภาษาพม่า) นี้มีนัยสำคัญยิ่งต่อการเมืองพม่าสมัยใหม่ กล่าวคือ ‘ความมั่นคง’ เข้ามาเป็นข้ออ้างในการยึดอำนาจของกองทัพ ทั้งความมั่นคงในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพกับชนกลุ่มน้อย และกับขบวนการต่อต้านระบอบเผด็จการทหาร





รัฐบาลทหารภายใต้ SLORC (State Law and Order Restoration Council – สภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ) และ SPDC (State Peace and Development Council – สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ) จึงออกมาตรการเด็ดขาดกับภัยความมั่นคง ทั้งกองกำลังของชนกลุ่มน้อยและนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย ทำให้ขบวนการประชาธิปไตยในพม่าเป็นอัมพฤกษ์ แต่ยังไม่เป็นอัมพาตเสียทีเดียว เพราะยังมีแอคติวิสต์อีกจำนวนหนึ่งที่หลบหนีออกนอกประเทศ และก่อตั้งกลุ่มก้อนทำกิจกรรมเพื่อต่อต้านเผด็จการอย่างแข็งขันต่อมาอีกร่วมสองทศวรรษ

โศกนาฏกรรมในปี 1988 มิได้เริ่มขึ้นในเดือน 8 หรือเดือนสิงหาคมอย่างที่เข้าใจกัน แต่เป็นการประท้วงรัฐบาลที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปี 1988 ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาและกองทัพแย่ลงจนถึงขั้นแตกหัก นำไปสู่การปราบปรามนักศึกษาและประชาชนผู้ประท้วงครั้งใหญ่ เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม นายพลเน วิน ลาออกจากทุกตำแหน่งในรัฐบาลและกองทัพ แต่ก่อนที่เน วินจะลาออก เขาได้กล่าวสุนทรพจน์และทิ้งประโยคสำคัญไว้ว่า “เมื่อกองทัพยิง คือยิงเพื่อฆ่า” (“When the army shoots, it shoots to kill.”)



เน วิน


หลังจากนั้นไม่นาน กองทัพพม่าภายใต้การนำของผู้บัญชาการคนใหม่ พลเอก เส่ง ลวิน ก็ทำตามที่ เน วิน เคยขู่ไว้จริง คือกองทัพไม่ได้ยิงเพื่อขู่ แต่ยิงเพื่อฆ่าเท่านั้น ตลอดปี 1988 การปะทะกันระหว่างกองทัพกับนักศึกษาทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 3,000 คน

สำหรับคนพม่า อุบัติการณ์ในปี 1988 ไม่ได้มีความสำคัญในฐานะเหตุการณ์ที่เปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์การเมืองพม่าไปโดยสิ้นเชิง เพราะแท้จริงแล้ว หลังเหตุการณ์นี้ พม่าก็ยังปกครองโดยรัฐบาลทหารต่อมาอีก 22 ปี (ดังนั้น การเรียกโศกนาฏกรรม 8888 ว่าเป็น ‘การปฏิวัติ’ ทางการเมืองก็คงจะไม่ถูกต้องนัก) แต่คุณค่าของเหตุการณ์อยู่ที่การสร้าง ‘วีรบุรุษ’ ขึ้นมาใหม่สองกลุ่ม ซึ่งช่วยเหลือเกื้อกูลกันจนทำให้ 8888 เป็นการประท้วงที่ขยายวงกว้างออกไปทั่วประเทศ และกระตุ้นจิตสำนึกทางการเมืองในหมู่นักศึกษาและประชาชนครั้งใหญ่ที่สุดอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน





วีรบุรุษกลุ่มแรกคือแกนนำนักศึกษา ภายใต้การนำของ มิน โก นาย (Min Ko Naing) โก โก จี (Ko Ko Gyi) โม ธี ซุน (Moe Thee Zun) และคนอื่นๆ ส่วนกลุ่มที่สองคือกลุ่มผู้ก่อตั้งพรรค NLD โดยเฉพาะผู้ก่อตั้งพรรคสี่คน ที่มี ออง ซาน ซู จี เป็นแกนกลาง

หลังเหตุการณ์ 8888 แกนนำนักศึกษาจำนวนมากถูกจับกุม และถูกควบคุมตัวในเรือนจำทั่วประเทศ มิน โก นาย ผู้นำนักศึกษาหนุ่มที่ยืนเคียงบ่าเคียงไหล่ ออง ซาน ซู จี เมื่อครั้งที่ฝ่ายหลังขึ้นปราศรัยเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนสิงหาคม 1988 ก็ถูกจับกุมในระหว่างหลบหนีกับเพื่อนนักศึกษาคนอื่นๆ และถูกคุมขังเป็นเวลารวมกว่า 15 ปี ด้าน โก โก จี ก็ถูกจับ และใช้เวลา 17 ปีอยู่ในเรือนจำ

มิน โก นาย และ โก โก จี เป็นนักศึกษาเพียง 2 ใน 6,000 คนที่ถูกทางการจับระหว่างการกวาดล้างขบวนการนักศึกษา ยังมีนักศึกษาอีกจำนวนมากที่หลบหนีการจับกุมของรัฐได้สำเร็จ ส่วนใหญ่หนีเข้ามาในไทย และร่วมกับ ABSDF (All Burma Students’ Democratic Front) องค์กรนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตยที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาใหม่ ผู้นำในฝั่งนี้คือ โม ตี ซุน ที่ต่อมาขอลี้ภัย และเป็นเสาหลักให้กับขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยภายนอกประเทศต่อมาอีกหลายปี



มิน โก นาย


ความเคลื่อนไหวทางการเมืองในกลุ่มแอคติวิสต์ในพม่ากลับมาคึกคักอีกครั้งในปี 2012 เมื่อรัฐบาลของ เตง เส่ง ออกกฎหมายนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองหลายร้อยคน รวมทั้งอดีตนักศึกษาจากยุค 1988

อิสรภาพครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การเมืองพม่าและของโลก ตลอดเกือบสองทศวรรษที่พวกเขาอยู่ในคุก สภาวการณ์ในโลกเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ตั้งแต่การสิ้นสุดของสงครามเย็น ความล่มสลายของสหภาพโซเวียต เทคโนโลยีด้านโทรคมนาคมที่รุดหน้าอย่างรวดเร็ว และกระแสประชาธิปไตยที่กำลังเบ่งบานทั่วโลก (หลายคนมองว่าการปฏิรูปการเมืองในพม่าตั้งแต่ปี 2010 ได้รับอิทธิพลส่วนหนึ่งจากการปฏิวัติอาหรับสปริง)

ด้วยความที่แกนนำนักศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในเรือนจำมานาน จิตวิญญาณของการสังคมประชาธิปไตยที่ยั่งยืนจึงลุกโชนอยู่ในใจพวกเขาตลอดมา และคนรุ่น 88 ที่อยู่นอกประเทศ หรือที่อยู่ในประเทศแต่ไม่ได้ถูกคุมขัง ก็ร่วมกันทำกิจกรรมทางการเมืองตลอดมาในนามของ ABSDF เมื่อแกนนำคนรุ่น 88 ถูกปล่อยตัว พวกเขารวมตัวกันตั้ง ‘88 Generation Peace and Open Society’ หรือสมาคมคนรุ่น 88 เพื่อสันติภาพและสังคมเปิดขึ้น โดยมี มิน โก นาย เป็นประธาน

เป้าหมายของ Open Society ในพม่าคือการส่งเสริมประชาธิปไตยไปพร้อมๆ กับการสร้างภาคประชาสังคมที่เข้มแข็ง แน่นอนเมื่อกล่าวถึงประชาธิปไตยที่แข็งแรง และภาคประชาสังคมที่มีภูมิต้านทานที่ดี ก็ต้องกล่าวถึงการเข้าไปมีบทบาทในการเมืองระดับชาติ และตัวเลือกของพรรคการเมืองกระแสหลักฝั่งประชาธิปไตยก็มีเพียงพรรค NLD เท่านั้นที่อยู่ยงคงกระพันมาตั้งแต่ปี 1988 แม้จะผ่านคลื่นโหมกระหน่ำหลายลูก แต่พรรคก็ผ่านวิกฤติเหล่านั้นมาได้

เมื่อ NLD ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2015 ออง ซาน ซู จี มอบตำแหน่งในรัฐบาลให้กับคนที่เธอไว้วางใจ และไม่มีตัวแทนจากกลุ่มคนรุ่น 88 ในรัฐบาลเลย

ก่อนจะถึงการเลือกตั้ง บอร์ดบริหาร NLD ตัดสินใจไม่เลือกสมาชิกจากกลุ่ม 88 เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแม้แต่คนเดียว ความตึงเครียดนี้กรุ่นอยู่ในใจของคนรุ่น 88 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เมื่อผู้เขียนถาม หนึ่งในแกนนำกลุ่มคนรุ่น 88 ว่าการตั้งพรรคใหม่นี้ชี้ให้เห็นความขัดแย้งระหว่างพรรค NLD ออง ซาน ซู จี และคนรุ่น 88 ใช่หรือไม่ ก็ได้รับคำตอบว่าไม่ได้เป็นอย่างที่ผู้เขียนคิด เพราะพรรคของคนรุ่น 88 ไม่ต้องการเป็นพรรคฝ่ายค้าน พวกเขาต้องการร่วมรัฐบาล และทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่ ออง ซาน ซู จี ต่อไป แต่โครงสร้างของพรรค NLD ไม่เอื้อให้ ‘คนนอก’ เข้าไปเป็นบอร์ดบริหาร ไม่สามารถเขยิบเข้าไปเป็นรัฐมนตรีได้ จึงทำให้คนรุ่น 88 ไม่สามารถเข้าไปเปลี่ยนแปลงการเมืองในระดับชาติได้

สิ่งที่แกนนำกลุ่มเน้นย้ำคือ คนรุ่น 88 ไม่ต้องการเห็นการเมืองพม่าแบบที่เน้นบูชาตัวบุคคล และต้องการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยแบบหลายพรรค ตามเจตนารมณ์ของคนรุ่น 88 ที่ต่อสู้เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบพรรคเดียวมาตั้งแต่ต้น แนวคิดตั้งพรรคการเมืองทางเลือกจึงถือกำเนิดขึ้น



มิน โก นาย และกลุ่มคนรุ่น 88
พรรคการเมืองของคนรุ่น 88 ในฐานะ ‘คลื่นลูกที่สาม’


ความพยายามตั้งพรรคการเมืองของอดีตผู้นำนักศึกษารุ่น 88 ไม่ใช่เรื่องใหม่ อดีตแกนนำนักศึกษามีความคิดจะก่อตั้งพรรคการเมืองทางเลือกตั้งแต่มีสัญญาณการปฏิรูปประชาธิปไตยตั้งแต่ปี 2010 และโดยเฉพาะหลังการเลือกตั้งซ่อมในปี 2012 เมื่อพรรค NLD ได้รับชัยชนะถล่มทลาย ทำให้ต้นปี 2013 แกนนำคนรุ่น 88 ออกมาประกาศเป็นครั้งแรกว่าจะตั้งพรรคการเมือง

ดังที่กล่าวไปแล้วว่าแกนนำของพรรคยืนยันว่าไม่ได้มีความขัดแย้งกับพรรค NLD เพียงแต่ต้องการเป็นอีกหนึ่งตัวเลือก และป้องกันไม่ให้ NLD ผูกขาดอำนาจ อันจะทำให้การเมืองในพม่ามีอุปสรรคมากขึ้น การจะเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างอดีตนักศึกษารุ่น 88 กับ NLD นั้นต้องเข้าใจก่อนว่า คนรุ่น 88 ต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่ NLD มาโดยตลอด และยังเคารพหลักการประชาธิปไตยและ ออง ซาน ซู จี ไม่เสื่อมคลาย แต่ก็ต้องยอมรับว่า NLD เป็นพรรคขนาดใหญ่ และในปัจจุบันกุมเสียงข้างมากในรัฐสภา จัดเป็นพรรค ‘ร้อยพ่อพันแม่’ มีสมาชิกจากทุกสายอาชีพ ทุกกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งอาจมีเป้าหมายทางการเมืองต่างกัน นักธุรกิจบางคนต้องการใช้ NLD เป็นฐานเสียงเพื่อฟอกตัวและเพื่อสร้างความนิยม และนักการเมืองอีกหลายคนก็ใช้ NLD เป็นพื้นที่แสวงหาผลประโยชน์

นอกจากนี้ จากการพูดคุยกับนักวิเคราะห์การเมืองหลายคนในพม่า ผู้เขียนมั่นใจว่าผู้มีอำนาจตัดสินใจเพียงคนเดียวใน NLD คือ ออง ซาน ซู จี ซึ่งชี้ให้เห็นว่าโครงสร้างของพรรคมีปัญหา และเจตนารมณ์การเป็นพรรคที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยถูกลดทอนลงไปอย่างมาก

ที่มาของพรรคเริ่มขึ้นจากอดีตแกนนำนักศึกษากลุ่มหนึ่งภายใต้การนำของ โก โก จี ที่ต้องการสร้างตัวเลือกให้กับผู้สนับสนุนประชาธิปไตยในพม่า (มิน โก นาย ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของผู้ก่อตั้งพรรค เขายังทำงานให้กับ 88 Generation Peace and Open Society ต่อไป) เพราะคาดการณ์ไว้ว่า NLD จะชนะการเลือกตั้งทั่วไปแบบถล่มทลายในปี 2015 และจะเกิดปัญหาตามมาหลายประการอย่างที่ได้อธิบายไปแล้ว เนื่องจาก NLD เป็นบ่อน้ำมันไว้แสวงหาผลประโยชน์สำหรับนักการเมืองและนักธุรกิจบางกลุ่ม การสร้างพรรคทางเลือกและเป็นพรรคที่ตั้งอยู่บนจิตวิญญาณของนักศึกษาที่ต้องการเห็นประชาธิปไตยแบบเต็มใบ และลดทอนอำนาจของ NLD ที่มีมากเกินไป จึงเป็นอีกหนึ่งจิ๊กซอว์ที่จะช่วยให้กระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่าเข้มแข็งขึ้น



โก โก จี


อายุเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการเมืองพม่า ที่ยังมองว่าผู้นำต้องเป็น ‘ผู้ใหญ่’ หรือผู้อาวุโส ทำให้ NLD เต็มไปด้วยแกนนำที่เป็น ‘ลู จี’ หรือผู้สูงอายุ ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี และมีจำนวนมากที่อายุเกิน 70 ปี (ออง ซาน ซู จี เองก็เพิ่งจะมีอายุครบ 73 ปีไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา) แต่พรรคใหม่ที่เกิดขึ้นมีสมาชิกที่มีอายุราว 50 ปี และมีเป้าหมายดึงดูดคนรุ่นใหม่ๆ ให้เข้ามาสร้างสรรค์การเมืองแบบใหม่ สลัดออกจากประชาธิปไตยพรรคเดียว

เมื่อปลายปีที่แล้ว แกนนำนักศึกษายุค 88 ภายใต้การนำของ โก โก จี และ เย นาย อ่อง (Ye Naing Aung) ยื่นจดชื่อพรรคกับกรรมการเลือกตั้งของพม่า และได้เลือกชื่อ ‘พรรคเลขแปดสี่ตัว’ (Four Eights Party หรือ ชิต เล โลง ในภาษาพม่า) เป็นชื่อพรรค ก่อนจะมาเปลี่ยนเป็น ‘พรรคเลขแปดสี่ตัวของประชาชน’ (Four Eights People’s Party) หลังได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นเพียงพรรคของคนยุค 88 เพื่อคนยุค 88 และไม่ได้ตั้งมาเพื่อให้เป็นพรรคของปวงชนดังที่แกนนำพรรคเคยกล่าวไว้

เป้าหมายหลักของพรรคคือการร่วมชิงชัยในการเลือกตั้งซ่อมที่กำลังจะมาถึงในเดือนพฤศจิกายน 2018 โดยจะเป็นการแย่งชิง 13 ที่นั่งในรัฐสภา แน่นอนว่าคู่แข่งโดยตรงของพรรคไม่ได้มีแค่ NLD เท่านั้น แต่ยังมีพรรคใหญ่อื่นๆ ทั้ง USDP อันเป็นฐานเสียงใหญ่ของกองทัพ และพรรคของกลุ่มชาติพันธุ์ทั่วประเทศ

แกนนำพรรคเลขแปดสี่ตัวเคยสารภาพกับผู้เขียนว่าโอกาสที่จะล้ม NLD ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะ NLD ถือเป็นพรรคการเมืองที่เข้มแข็งที่สุด และแม้จะมีเรื่องอื้อฉาวของสมาชิกพรรคออกมาเป็นระยะๆ แต่ก็ไม่ทำให้ความนิยมในตัวพรรคและหัวหน้าพรรคลดลงได้ เมื่อผู้เขียนถามต่อว่าจะมีวิธีใดให้คนพม่าเปลี่ยนใจมาเลือกพรรคเลขแปดสี่ตัว แกนนำผู้นั้นก็พูดติดตลกว่า


…ก็ต้องให้ออง ซาน ซู จีมาเป็นหัวหน้าพรรคเรา ถ้าทำได้อย่างนี้ จะให้ลงเลือกตั้งพรุ่งนี้ พรรคเราก็ชนะถล่มทลายแน่นอน!

การรำลึก 30 ปีของเหตุการณ์ 8888 ในปีนี้มีความพิเศษมากขึ้นกว่าทุกปี คือแกนนำของ ‘วีรบุรุษ’ กลุ่มนี้ได้ร่วมกันก่อตั้งพรรคการเมืองของตนเองขึ้นมา แม้จะใช้เวลานานหลายปีกว่าจะตั้งพรรคสำเร็จ แต่พวกเขาก็ไม่ย่อท้อ และยืนยันว่าสุขภาวะที่ดีของการเมืองพม่าต้องสร้างขึ้นจากธรรมาภิบาลภายในพรรค การยึดถือเจตจำนงร่วมของประชาชน และทำให้พรรคเป็นทางเลือกเพื่อทำให้ระบอบประชาธิปไตยแบบหลายพรรคเกิดขึ้นได้จริง

แกนนำพรรคไม่ได้ต้องการได้รับเลือกตั้งแบบถล่มทลาย แต่ต้องการเพียงให้ตนสามารถส่งเสียงเล็กๆ เข้าไปในรัฐสภา สร้างการเมืองที่สร้างสรรค์ร่วมกับพรรค NLD และทำให้จิตวิญญาณแห่งคนยุค 8888 ยังส่องแสงโชติช่วงอยู่คู่กับสังคมพม่าตลอดไป

รำลึกครบรอบ 30 ปี เหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตย 8-8-88 เมื่อประชาชนนับล้านรวมทั้งพระสงฆ์ มาชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างสันติ ในย่างกุ้ง



https://www.facebook.com/BBCThai/videos/2161451254075903/


อดีตแกนนำนักศึกษา ประชาชน และผู้เคยร่วมอยู่ในเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยในเมียนมา ร่วมรำลึกถึงเหตุการณ์ 8-8-88 หรือเหตุการณ์ที่ทหารปราบปรามนักศึกษาผู้เรียกร้องประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1988

งานรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนี้จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง สถานที่ซึ่งนักศึกษาซึ่งไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด ถูกยิงเสียชีวิต

การชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1988 มีจุดเริ่มต้นจากการที่นักศึกษา ประชาชน และพระสงฆ์นับล้าน เริ่มออกมาชุมนุมอย่างสันติในนครย่างกุ้ง เพื่อเรียกร้องให้ยุติระบอบเผด็จการภายใต้การปกครองของนายพลเนวิน ซึ่งต่อมาขบวนการเคลื่อนไหว เรียกร้องประชาธิปไตยนี้ได้แพร่ขยายไปทั่วประเทศ และถือเป็นการชุมนุมครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เมียนมาได้รับเอกราชเมื่อปี 1948 โดยนางออง ซาน ซู จี ได้ก้าวขึ้นมาเป็นดั่งสัญลักษณ์ของการประท้วงในครั้งนั้น



ในช่วงแรก การชุมนุมประท้วงดูเหมือนจะนำไปสู่ผลสำเร็จ แต่ 6 สัปดาห์ให้หลัง วันที่ 18 ก.ย. กองทัพโต้กลับฝูงชนด้วยการปราบปรามอย่าง รุนแรงและเริ่มยิงใส่ฝูงชน ผู้ชุมนุมอย่างน้อยสามพันคนต้องเสียชีวิต คนหลายพันได้รับบาดเจ็บ บางส่วนโดนจับกุม หรือหลบหนีไปได้ และฝ่ายกองทัพเมียนมาก็สามารถกลับมายึดอำนาจไว้ได้สำเร็จ

มี ซู พ้วย อดีตแกนนำนักศึกษาหญิง เล่าประสบการณ์ในครั้งนั้นให้บีบีซีแผนกภาษาเมียนมาฟังว่า ในขณะนั้นนายพลเนวิน ประกาศว่าทหารไม่ใช่เพียงจะยิงปืนขึ้นฟ้า แต่ทหารจะเอาจริง และจะยิงผู้ชุมนุม หากมีการเดินขบวนอีก

อดีตแกนนำนักศึกษาหญิงบอกว่ารู้สึกกลัว เธอและเพื่อนนักศึกษาที่ร่วมประท้วงจึงเดินทางออกจากเมียนมา ไปยังแนวชายแดนไทย-เมียนมา ใกล้จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อรวบรวมอาวุธกับให้ชนกลุ่มน้อยฝึกการใช้อาวุธให้ และริเริ่มแผนปฏิบัติการล้มล้างเผด็จการ

"ฉันรู้สึกว่าทหารกดขี่พวกเรา เพราะเขาบอกว่าจะยิงเราหากมีการประท้วงอีก ในฐานะนักศึกษาพวกเราตัดสินใจว่าหากจะโค่นเผด็จการ และระบอบการเมืองที่มีพรรคการเมืองเดียวเราจะต้องมีอาวุธ"

ตอนนั้น มี ซู พ้วย ซึ่งอายุประมาณ 20 ปี ได้ร่วมกับหนุ่มสาวคนอื่น ๆ ก่อตั้งกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยของมวลนักศึกษาพม่า (ABSDF) โดยหยิบอาวุธขึ้นต่อสู้กับกองทัพเมียนมาเพื่อฟื้นฟูประชาธิปไตยในประเทศ และร่วมมือกับกองกำลังชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของพวกเขาในการสร้างประเทศที่ปกครองแบบสหพันธรัฐ

ตอนนั้น มี ซู พ้วย ซึ่งเป็นกวีและนักเขียนได้ทำงานด้านข่าวสารและการศึกษาของ ABSDF ซึ่งนับแต่รัฐบาลเมียนมาเปิดการเจรจาสันติภาพกับบรรดาชนกลุ่มน้อยติดอาวุธเมื่อปี 2012 องค์กรของ มี ซู พ้วย ก็ตัดสินใจแก้ปัญหาทางการเมืองผ่านช่องทางการเจรจาและรักษากระบวนการสร้างสันติภาพกับทางการ ปัจจุบันเธอทำหน้าที่ตัวแทนของ ABSDF ไปร่วมประชุมสันติภาพอย่างต่อเนื่องด้วยความหวังว่าสันติภาพจะเกิดขึ้นในประเทศสักวันหนึ่ง



ขอขอบคุณข้อมูล :
Author
ลลิตา หาญวงษ์
เรียนและเทรนมาในสายประวัติศาสตร์อาณานิคม แต่สนใจการเมืองและวัฒนธรรมพม่าร่วมสมัยด้วย ปัจจุบันเป็นครูประวัติศาสตร์และเป็นคอลัมนิสต์เขียนเรื่องพม่าๆ ให้หลายสำนักข่าวออนไลน์และออฟไลน์เป็นหลัก ชื่นชอบดนตรีแจ๊ซ กีฬา ฟิล์มนัวร์ และชอบทำอาหารให้คนอื่นกิน