วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ยุทธศาสตร์ชาติ(ชั่ว)มีการแก้ไขให้เหมาะกับ คสช.และกับประยุทธถ้าไม่ได้สืบทอดอำนาจ

วันจันทร์, สิงหาคม 06, 2561

เฮ้ อย่างนี้สงสัย 'ตู่' ไม่อยากเป็นนายกฯ แล้วมั้ง


ต้องดูให้ละเอียดถึงจะรู้ ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปีนั้น ที่แท้ก็ยุทธศาสตร์ คสช. ครองเมืองอีกอย่างน้อย ๒๐ ปี อย่างที่ ไอลอว์ ว่าไว้จริงๆ

อาจจะมีคนที่กระสันต์จะอยู่ภายใต้การปกครองของคณะทหารต่อไปอีก เช่นพวกที่ได้ดิบได้ดีกับ คสช. จำนวนหยิบมือ กับพวกที่บอกว่าอยู่อย่างนี้ เงียบดี (ไว้รอให้โดนเองถึงจะรู้สึก) และพวกจ่าเฉยร้องเพลง รอ

เชื่อแน่ว่าคนส่วนใหญ่เมื่อได้รู้รายละเอียดยุทธศาสตร์ครองเมือง ๒๐ ปีของ คสช.นี้แล้ว ต้องอยากยกเลิก ไม่เช่นนั้นเมื่อบังคับใช้ในรัฐบาลใหม่สักสองปี จะอยากแก้ไข ช่องทางแก้ไขในอนาคตพอมีอยู่ โดยผ่านทางเส้นสายของ คสช. คือวุฒิสภา ซึ่ง คสช.จะเป็นผู้แต่งตั้งและสรรหา

แต่จะยกเลิกนั้นอย่าหวัง ถ้าไม่เปลี่ยนหรือแก้รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ซึ่งพรรคอนาคตใหม่ชี้ช่องไว้แล้วว่าทำได้ ถ้าประชาชนพร้อมกันฝ่าด่านคูหา โหวต๓ ระลอก คือเลือกพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยเข้าไปร่วมกันเสนอแก้รัฐธรรมนูญบางมาตรา เพื่อเปิดให้มีการเลือกตั้ง สสร. (เหมือนปี ๔๐)

เมื่อได้สภาร่างรัฐธรรมนูญใหม่เสร็จแล้วประชาชนลงประชามติรับรอง จากนั้นจึงไปลบผลพวงรัฐประหารให้สิ้นซาก ด้วยการนำพวกยึดอำนาจมาดำเนินคดีฐานกบฏ แบบเกาหลีใต้

นั่นอาจเป็นการเข็นครกขึ้นภูเขา หรือบางคนคิดว่าเพียงแค่ใฝ่ฝัน ซึ่งถ้าไม่เข็น หรือเอาแต่ฝัน ก็จะไม่มีวันเห็นเดือนเห็นตะวันนอกกะลา

ดูได้จาก แม้แต่การแก้ไขยุทธศาสตร์ชาติฉบับที่ คสช.กำหนดมาไว้ครอบหัวประชากรนี้ จะทำได้ก็แต่เมื่อ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.เป็นประธาน เห็นชอบเสนอต่อรัฐสภา
 
ถ้ารัฐสภาเห็นชอบด้วย คณะกรรมการยุทธศาสตร์จึงไปจัดทำร่างฯ ใหม่มาเสนอคระรัฐมนตรี เมื่อ ครม.เห็นชอบแล้วจึงส่งต่อไปที่สภาผู้แทนราษฎร (ภายใน ๓๐ วัน) เพื่อพิจารณาภายใน ๖๐ วัน ถ้าไม่เสร็จให้ถือว่าเห็นชอบ

จากสภาผู้แทนฯ ต้องส่งต่อไปยังสภาตัวพ่อ คือวุฒิสภาที่มาจาก คสช. ให้พิจารณาใน ๓๐ วัน ถ้าไม่เสร็จก็ถือว่าเห็นชอบเช่นกัน แต่ถ้าเมื่อร่างฯ อยู่ในการพิจารณาของสภาใดสภาหนึ่ง แล้วสภานั้นไม่เห็นชอบภายในกำหนดเวลาที่ให้ ถือว่าร่างฯ ตกไป ต้องเริ่มต้นใหม่ภายใน ๑๘๐ วัน

ฉะนั้น โอกาสที่ประยุทธ์จะไม่ต้องการเป็นนายกฯ อีกรอบก็อาจเกิดขึ้นได้ เพราะการเป็นประธานกรรมการยุทธศาสตร์แห่งชาตินี่มีอำนาจกำกับรัฐบาลอยู่แล้ว

เพราะ “เมื่อแผนยุทธศาสตร์หรือแผนแม่บทของ คสช. มีผลบังคับใช้ แผนดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ต่อหน่วยงานราชการ นโยบายของรัฐบาล การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดจนการจัดทำงบประมาณประจำปี”

เรียกว่าแทบจะทุกองคาพยพของการบริหารงานปกครองประเทศทีเดียว เสียแต่ว่าการเป็นประธานยุทธศาสตร์ฯ อาจจะไม่ได้จ้อมากเหมือนเป็นนายกฯ

อำนาจของกรรมการยุทธศาสตร์ฯ นี่ไม่เบา “กรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่ยอมปฏิบัติตามแผนยุทธศาสตร์ชาติหรือแผ่นแม่บท” ให้คณะกรรมการ จัดทำยุทธศาสตร์ชาติเป็นผู้ว่ากล่าวตักเตือนและชี้แนะแนวทางแก้ไข ถ้าว่าแล้วยังไม่ฟังก็ฟ้องกรรมการยุทธศาสตร์จัดการ

คณะกรรมการจัดทำฯ ทีเอ่ยถึงข้างต้นนั้น ประยุทธ์ในฐานะประธานยุทธศาสตร์ฯ เป็นผู้ตั้ง มี ๙๐ คน (ตอนนี้ตั้งไปแล้ว ๖๙ เหลืออีก ๒๑) แล้วก็กรรมการชุดใหญ่ที่ประยุทธ์เป็นประธานนั่นมี ๓๕ คน โดยตำแหน่ง ๑๘ คน ทรงคุณวุฒิ ๑๗ คน

กรรมการชุดใหญ่ฯ มีอำนาจแจ้ง ครม.ให้จัดการสั่งหน่วยงานที่ถูกฟ้องว่าฝ่าฝืนยุทธศาสตร์ชาติทำการแก้ไข หรือไม่เช่นนั้นก็ฟ้อง ปปช.ให้พิจารณาความผิดแล้วลงโทษ (กรอบเวลาพิจารณาของ ปปช. นี่ ๑ ปี) ยังมีอีกสององค์กรที่ยื่นฟ้องต่อ ปปช.ได้ คือสภาผู้แทนฯ และวุฒิสภา

การลงโทษจะผ่านทางผู้บังคับบัญชาของหน่วยงาน “สั่งให้ผู้นั้นพักราชการหรือพักงาน หรือสั่งให้ออกจากราชการหรือออกจากงานไว้ก่อน หรือสั่งให้พ้นจากตําแหน่งต่อไป”

ยังมีอีก กรณีที่ ครม. เป็นเสียเอง ไม่ทำตามยุทธศาสตร์ชาติ คณะกรรมการจัดทำฯ สามารถแจ้งต่อกรรมการชุดใหญ่ ให้ไปฟ้องวุฒิสภา (ที่ คสช.ตั้งมากับมือนั่นละ) วุฒิสภายื่นต่อให้ศาลรัฐธรรมนูญ โอเค’ แล้วจึงยื่นต่อไปที่ ปปช.

ปปช. จะ พิจารณา’ ว่าผิดแค่ไหนภายใน ๖๐ วันก่อนส่งเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งการเมืองทำการ ซิว’ ด้วยมาตรา ๘๑ ของ พรป.ว่าด้วยการปราบทุจริต ถ้าศาลประทับรับฟ้องผู้ต้องหาต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ทันที

ครั้นเมื่อศาลฯ ตัดสินความผิด ให้ ครม.พ้นหน้าที่ถาวรแล้วยังถูกตัดสิทธิทางการเมือง (ไม่ให้เลือกตั้ง หรือรับสมัครเลือกตั้ง) ๑๐ ปี แล้วยังมีอีกเด้ง คือถูกฟ้องคดีอาญาระวางโทษจำคุก ๑-๑๐ ปี ตามมาตรา ๑๗๒ ของ พรป.ปราบทุจริต


จะเห็นว่ายุทธศาสตร์ชาติ (ชั่ว) ของ คสช.นี่โหดสัดกับพวกนักการเมือง แต่กับพวก คสช.ที่เป็นกรรมการนั้นประดุจดังเทพเจ้าเฮ้ากวงเลยทีเดียว
 
ฉะนี้ใครที่ไม่อยากให้ประยุทธ์เป็นนายกฯ ซ้ำ ต้องคิดอีกทีแล้วละ  เผลอๆ ก่อนเลือกตั้งประยุทธ์บอกผมไม่เอาแล้ว ไม่ขอรับตำแหน่งทางการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น เหมือน สุเทือก’ ไม่รับหัวหน้าพรรค รปช. ไม่เป็นผู้บริหาร ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ขอชักใยอยู่ข้างหลังอย่างเดียว

มิหนำซ้ำประยุทธ์นอกจะเป็นทั่นประธานฯ แห่งชาติ (พ่องรัฐบาล) แล้วยังอาจได้เป็นองคมนตรี (ในพระราชประมุข) แห่งชาติ อีกด้วย

(ขอขอบคุณข้อมูลทั้งมวลจาก https://www.ilaw.or.th/node/4856)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น