วันอังคาร, สิงหาคม 07, 2561
รัฐบาลอนุมัติงบกลาง 1,400 ล้านบาทสำหรับโครงการส่งเสริมปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่นาปรังในพื้นที่ 700,000 ไร่ รวม 31 จังหวัด (ทำเพื่อเจ้าสัวตามเคย)
เมื่อกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา รัฐบาลเพิ่งประกาศอนุมัติงบกลาง 1,400 ล้านบาทสำหรับโครงการส่งเสริมปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่นาปรังในพื้นที่ 700,000 ไร่ รวม 31 จังหวัด
https://www.moac.go.th/command-preview-401191791794
โดยสนับสนุนเงินให้เปล่าแก่เกษตรกรไร่ละ 2,000 บาท ให้ปลูกข้าวโพดเพื่อป้อนอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ทั้งๆที่การศึกษาของกระทรวงเกษตรเองพบว่า การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ผลตอบแทนต่ำสุด โดยต่ำกว่าการทำเกษตรผสมผสานมากกว่า 5 เท่า
https://www.facebook.com/biothai.net/photos/a.467826533255873.100128.183063271732202/1254431821262003/?type=3&theater
โครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่องของกระทรวงเกษตรฯ เมื่อปี 2559 ซึ่งมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนพื้นที่นา 2 ล้านไร่ ให้เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยการลงนามร่วมระหว่างกระทรวงเกษตรฯ ธกส. อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และบรรษัทเมล็ดพันธุ์ข้ามชาติ
https://www.facebook.com/biothai.net/photos/a.467826533255873.100128.183063271732202/1250070815031437/?type=3&theater
เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีแรงจูงจะได้เงินสนับสนุน 2,000 บาท/ไร่จากรัฐบาล และหวังว่าจะขายข้าวโพดได้ราคาดี แต่อาจจะไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากขณะนี้บริษัทอาหารสัตว์กำลังกดดันให้รัฐบาลยกเลิกมาตรการจำกัดการนำเข้าข้าวสาลีแทนข้าวโพด โดยอ้างว่าจะทำให้โรงงานอาหารสัตว์ล้มละลาย
http://www.komchadluek.net/news/agricultural/306219
ทั้งๆที่เมื่อปี 2559 ที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจรวบรวมข้อมูลเปรียบเทียบผลกำไรของกลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์ พบว่าเครือเจริญโภคภัณฑ์มีกำไรสูงถึง 21,118 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 163% จากปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลสำคัญมาจากการที่รัฐบาลอนุญาตให้มีการนำเข้าข้าวสาลีจากต่างประเทศมาทดแทนข้าวโพดหลายล้านตันโดยไม่เสียภาษี ในขณะที่เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดได้รับผลกระทบจากราคาข้าวโพดตกต่ำเหลือ ก.ก.ละ 4-5 บาทเท่านั้น
https://www.prachachat.net/facebook-instant-article/news-20024
ล่าสุดสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ยังร่วมกับสมาคมผู้ค้าสารพิษการเกษตร และสมาคมผู้ค้าเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ผนึกกำลังคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือทางนโยบายในการเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืนรูปแบบต่างๆให้ได้ 5 ล้านไร่ภายในปี 2564 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 และตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ดูจากอิทธิพลทางเศรษฐกิจการเมืองและอำนาจในการกำหนดนโยบายของประเทศแล้ว เหมาะสมที่จะขนานนามแผ่นดินที่เราเป็นเพียงผู้อาศัยนี้ว่า “แผ่นดินอาหารสัตว์” จริงๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น