วิกฤติเยเมน ใครสู้กับใคร? เหตุใดซาอุฯ จึงสอดมือ ?
เยเมน ประเทศยากจนแต่มีความสำคัญมากทางยุทธศาตร์ในตะวันออกกลาง กำลังเผชิญวิกฤติหนักหนาที่สุดในรอบหลายปี หลังกลุ่มติดอาวุธและกองกำลังหลายกลุ่มต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงอำนาจการควบคุมประเทศมาไว้ในกำมือ และเริ่มดึงเอาประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเข้ามาพัวพันแล้ว
คำถามหลักคือ ใครกำลังสู้กับใคร?
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เกิดการปะทะกันระหว่างกองกำลังติดอาวุธหลายกลุ่มในเยเมน ซึ่งกำลังผลักดันประเทศให้เข้าสู่ภาวะสงครามกลางเมือง โดยการต่อสู้หลักๆ เป็นการเผชิญหน้าระหว่างพันธมิตรของกลุ่มกบฏมุสลิมนิกายชีอะห์ สายไซดี หรือที่รู้จักกันในชื่อ 'ฮูธิ' กับกองทัพที่ภักดีต่อนาย อับดราบบูห์ มานซูร์ ฮาดี ประธานาธิบดีชาวมุสลิมนิกายสุหนี่ ซึ่งกำลังตกที่นั่งลำบากต้องอพยพจากกรุงซานาเมื่อเดือน ก.พ. หลังเมืองหลวงแห่งนี้ถูกปิดล้อมตั้งแต่เดือน ก.ย.ปีก่อน กระทั่งต้องลี้ภัยไปซาอุดีอาระเบียในเวลาต่อมา
นอกจากนี้ ในหมู่กองกำลังความมั่นคงของประเทศเยเมน ยังแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันเองเสียอีก บางส่วนภักดีต่อนายฮาดี ขณะที่บางส่วนเข้าร่วมกับกบฏฮูธี และอดีตประธานาธิบดี อาลี อับดุลเลาะห์ ซาเลห์ ผู้ถูกโค่นอำนาจในการปฏิวัติอาหรับสปริงเมื่อปี 2010 แต่ยังคงมีอำนาจอิทธิพลทางการเมืองในเยเมนอยู่ แต่นายฮาดียังได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มติดอาวุธ 'คณะกรรมการป้องกันประชาชน' (PRC) ในภาคใต้ของประเทศซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวสุหนี่
ขณะเดียวกัน ยังมีกองกำลังอีกกลุ่มที่ไม่เอาทั้งฝ่ายประธานาธิบดีฮาดี และฝ่ายกบฏฮูธี คือกลุ่ม อัลเคดาในคาบสมุทรอาระเบีย (AQAP) ซึ่งก่อเหตุโจมตีนองเลือดหลายต่อหลายครั้งในภาคใต้และตะวันออกเฉียงใต้ของเยเมน และสถานการณยิ่งซับซ้อนขึ้นไปอีกขั้นเมื่อกลุ่มติดอาวุธมุสลิมสุหนี่สายซาราฟิส 'รัฐอิสลาม' (ไอซิส) ซึ่งยึดครองพื้นที่ขนาดใหญ่ในอิรักและซีเรีย เริ่มก่อการในเยเมน โดยมีเป้าหมายเพื่อบดบังรัศมีของกลุ่มอัลเคดาในเยเมน และอ้างตัวเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุระเบิดฆ่าตัวตายในเยเมนหลายครั้งในปีนี้
และเมื่อสถานการณ์ของฝ่ายประธานาธิบดีฮาดีเริ่มแย่ลง หลังจากกบฏฮูธิรุกคืบเข้าใกล้เมือง เอเดน ฐานที่มั่นหลักทางตอนใต้ของฝ่ายรัฐบาล มาขึ้นในช่วงปลายเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ซาอุดีอาระเบียจึงตัดสินใจส่งกำลังมาประชิดชายแดนเยเมน โดยอ้างว่าทำตามคำขอของประธานาธิบดีฮาดี และเปิดฉากโจมตีทางอากาศใส่กบฏฮูธี ร่วมกับชาติพันธมิตรอาหรับ 5 ชาติ ก่อนจะจับมือกับพันธมิตรในตะวันออกกลางอีก 9 ชาติเมื่อ 31 มี.ค.
แล้วกบฏ ฮูธิ เป็นใครมาจากไหน?
ฮูธิ เป็นสมาชิกของกลุ่มกบฏที่ชื่อว่า 'อันซาร์ อัลเลาะห์' (Ansar Allah) ซึ่งยึดมั่นในคำสอนของศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์สายไซดี
ซึ่งถือเป็นประชากร 1 ใน 3 ของเยเมน และเคยปกครองภาคเหนือของประเทศด้วยระบบเขตปกครองของอิหม่าม เป็นเวลานาน
เกือบ 1,000 ปี จนกระทั่งถึงปี 1962ชื่อของกลุ่ม ฮูธิ มาจากชื่อของนาย ฮุสเซน บาดาร์ อัล-ดิน อัล-ฮูธิ ผู้นำกลุ่มฮูธิในการลุกฮือ
ครั้งแรกสุดของพวกเขาเมื่อปี 2004 เพื่อเพิ่มอำนาจปกครองตนเองของพวกเขาในจังหวัดซาดา และเพื่อปกป้องศาสนาและ
ประเพณีของอิสลามชีอะห์สายไซดี จากการบุกรุกของชาวมุสลิมนิกายสุหนี่ แต่หลังจากนายฮูธิถูกกองทัพเยเมนสังหารในช่วง
ปลายปีเดียวกัน ครอบครัวของเขาจึงรับช่วงต่อ และก่อกบฏอีก 5 ครั้ง ก่อนจะมีการลงนามข้อตกลงกับรัฐบาลในปี 2010ต่อมาใน
ปี 2011 กลุ่มฮูธิเข้าร่วมในการลุกฮือต่อต้านประธานาธิบดีซาเลห์ ในการปฏิวัติอาหรับสปริง และฉวยโอกาสที่เกิดสุญญากาศทาง
การเมืองในขณะนั้น ขยายอาณาเขตควบคุมในจังหวัดซาดา และอัมราน ซึ่งอยู่ติดกัน ก่อนจะเข้าไปมีบทบาทในการประชุมร่วม
สนทนาแห่งชาติ (NDC) และทำให้ประธานาธิบดีฮาดี ประกาศแผนแบ่งการปกครองประเทศเป็น 6 ภูมิภาคเมื่อเดือน ก.พ. 2014
แต่ฝ่ายฮูธิคัดค้านอย่างรุนแรง เพราะมองว่าทำให้พวกเขาอ่อนแอลง
เหตุใดซาอุดีอาระเบียจึงตัดสินใจเข้าแทรกแซง
คิง ซัลมาน บิน อับดุลอาซิซ อัล-ซาอุด แห่งซาอุดีอาระเบียตัดสินใจให้ซาอุฯ เป็นแกนนำชาติพันธมิตรอาหรับ เปิดฉากโจมตีทาง
อากาศใส่กลุ่มกบฏฮูธิในเยเมน ซึ่งรุกคืบเข้าใกล้เมืองเอเดน ฐานที่มั่นของฝ่ายรัฐบาลมากขึ้นเรื่อยๆ โดยนาย อาเดล อัล-ญูเบร์
เอกอัครราชทูตซาอุดีอาระเบียประจำสหรัฐฯ แถลงที่กรุงวอชิงตันเมื่อช่วงปลายเดือนมี.ค.ว่า ชาติพันธมิตรในอ่าวอาหรับและอื่นๆ
ได้เข้าร่วมปฏิบัติการทางทหารกับกองทัพซาอุดีอาระเบีย ตามคำขอของประธานาธิบดีฮาดีและเพื่อปกป้องรัฐบาลที่มีความ
ชอบธรรมของนายฮาดีอย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายมองว่าการตัดสินใจของซาอุฯ ในครั้งนี้ เป็นเกมชิงอำนาจในภูมิภาคกับประเทศ
อิหร่านซึ่งว่ากันว่า แอบให้การสนับสนุนทางการเงินและทางทหารแก่กบฏฮูธิ โดยทั้ง 2 ประเทศเป็นคู่แข่งทางยุทธศาสตร์ทั้งด้าน
พลังงานและอำนาจในภูมิภาคตะวันออกกลางมานานหลายทศวรรษ รวมทั้งยังมีเหตุผลด้านศาสนามาเกี่ยวข้อง เนื่องจาก
ซาอุดีอาระเบียอยู่ในฐานะผู้นำโลกมุสลิมสุหนี่ ขณะที่อิหร่านเป็นผู้นำโลกมุสลิมชีอะห์นอกจากนี้ เยเมนยังเป็นจุดยุทธศาตร์สำคัญ
เนื่องจากตั้งอยู่บริเวณช่องแคบ บับ อัล-มันดับ ทางน้ำสายแคบๆ ซึ่งเชื่อมต่อทะเลแดงเข้ากับอ่าวเอเดน ซึ่งเรือขนน้ำมันจำนวน
มากจากทั่วโลกต้องผ่าน ทำให้ซาอุดีอาระเบียหรือแม้แต่อียิปต์ที่ร่วมโจมตีทางอากาศใส่กลุ่มฮูธิด้วย เกรงว่ากบฏกลุ่มนี้จะสามารถ
เข้ายึดครองช่องแคบ บับ อัล-มันดับ และขู่เก็บค่าผ่านทาง
บททดสอบของทั้งเยเมน และซาอุฯ
การลุกฮือของกบฏฮูธิในครั้งนี้ กลายเป็นการทดสอบสำคัญอีกครั้งหนึ่งของเยเมน ที่เหล่าผู้เชี่ยวชาญระบุว่าไม่แปลกใจหาก
เยเมนจะล้ม จากปัญหามากมายรุมเร้าเช่น ความไม่เท่าเทียนในการเข้าถึงอำนาจและทรัพยากร ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้
เกิดความรุนแรงในประเทศในช่วงหลายปีที่ผ่านมาปัญหาความรุนแรงยังทำให้มีผู้พลัดถิ่นเป็นจำนวนมาก ขณะที่การบริหาร
จัดการอ่อนแอ เต็มไปด้วยการทุจริตคอร์รัปชัน โครงสร้างพื้นฐานย้ำแย่ กอปรกับทรัพยากรในประเทศเช่นน้ำและน้ำมันกำลัง
ลดลงอย่างมาก ล้วนเป็นตัวขัดขวางการพัฒนาของประเทศที่ยากจนที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลางแห่งนี้ทั้งสิ้นด้าน
ซาอุดีอาระเบีย การตัดสินใจของกษัตริย์ ซัลมาน ในการโจมตีทางอากาศใส่กบฏฮูธิ ถือเป็นนโยบายต่างประเทศครั้ง
สำคัญที่สุดของราชวงศ์ซาอุด นับตั้งแต่การปฏิวัติอาหรับสปริงเมื่อราว 4 ปีก่อน และนับเป็นบททดสอบครั้งสำคัญ
ของกษัตริย์องค์ใหม่แห่งซาอุฯ ที่ต้องการช่วยเหลือประธานาธิบดีฮาดีกลับคืนสู่อำนาจอีกครั้ง ซึ่งหากล้มเหลวก็จะกลาย
เป็นความพ่ายแพ้ที่น่าอับอายอย่างยิ่ง.
ขอขอบคุณข้อมูลเพื่อการศึกษาจาก : ไทยรัฐออนไลน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น