สุริยุปราคา หรือเรียกว่า สุริยคราส วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559
สุริยุปราคา
หรือเรียกว่า สุริยคราส วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559, สุริยุปราคา
หรือเรียกว่า สุริยคราส วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559 หมายถึง, สุริยุปราคา
หรือเรียกว่า สุริยคราส วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559 คือ, สุริยุปราคา
หรือเรียกว่า สุริยคราส วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559 ความหมาย, สุริยุปราคา
หรือเรียกว่า สุริยคราส วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559 คืออะไร
สุริยุปราคา (Solar Eclipse หรือ Eclipses of sun) หรือเรียกว่า "สุริยคราส " เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน โดยมีดวงจันทร์อยู่ระหว่างดวงอาทิตย์กับโลก เงาของดวงจันทร์ จะทอดยาวมายังโลก ทำให้คนบนโลก(บริเวณที่มีเงาของดวงจันทร์) มองเห็นดวงอาทิตย์เว้าแหว่ง หรือบางแห่งเห็นดวงอาทิตย์มืดหมดทั้งดวง ช่วงเวลาที่เกิดสุริยุปราคาจะกินเวลาไม่นานนัก เช่น เมื่อวันที่ 24 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2538 ประเทศไทยสามารถมองเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงได้นาน 3 ชั่วโมง นับตั้งแต่ดวงจันทร์เริ่มเคลื่อนเข้าจนเคลื่อนออก
= วิธีดูสุริยุปราคา
= สุริยุปราคาหมดดวง
= อุปราคาในปี 2551
= อุปราคาในปี 2551
สาเหตุการเกิดสุริยุปราคา
สุริยุปราคาเกิดจากการที่ดวงจันทร์โคจรเข้ามาบังแสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องลง มาพื้นโลก ทำให้พื้นที่บนโลกบริเวณใต้เงาของดวงจันทร์มืดลง เรียกกันง่ายๆว่า สุริยุปราคา คือการที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่มาบังดวงอาทิตย์นั้นเอง จะเกิดเมื่อ ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน บนพื้นระนาบ (พื้นราบ) เดียวกัน โดยดวงจันทร์อยู่ตรงกลางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์
ประเภทของสุริยุปราคา
1. ถ้าเงาของดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์เห็นมืดเป็นบางส่วน จะเรียกว่า สุริยุปราคาบางส่วน (Partial Solar Eclipse)
2. ถ้าดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์หมดทั้งดวง ซึ่งจะเกิดให้เราได้เห็นไม่บ่อยนัก และเกิดให้เห็นในระยะอันสั้น เราเรียกว่า สุริยุปราคาเต็มดวง (Total Solar Eclipse) โอกาสที่จะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงให้เห็นได้นานที่สุดเท่าที่มีมา ไม่เคยถึง 8 นาทีเลยสักครั้งเดียว
3. ถ้าดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์เฉพาะตรงกลาง ทำให้เกิดขอบแสงสว่างปรากฏออกโดยรอบดุจมีวงแหวนล้อมรอบ ก็เรียกว่า สุริยุปราคาวงแหวน (Annular Solar Eclipse)
ปรากฏการทั้งสามอย่างนี้จะเกิดขึ้นได้ในตอนกลางวันของแรม 14-15 ค่ำ และวันขึ้น 1 ค่ำ ปรากฏการณ์ของสุริยุปราคานั้น เห็นได้ในบางส่วนของโลก และสุริยุปราคาเต็มดวงมีระยะการเห็นได้กว้างไม่เกิน 167 ไมล์ ซึ่งเป็นเขตให้เงาดำสนิทเคลื่อนผ่านไป แต่อย่างไรก็ตามผู้ที่อยู่นอกเขตเงาดำสนิท ก็จะเห็นปรากฏการณ์ของสุริยุปราคาด้วยเหมือนกัน หากไม่เห็นเต็มดวง คงเห็นเพียงบางส่วนเท่านั้นและอาณาบริเวณที่เห็นได้บางส่วนนี้มีความกว้าง ยิ่งกว่าที่เห็นเต็มดวง
ลำดับเหตุการณ์การเกิดสุริยุปราคา
การเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงนั้น จะเริ่มต้นด้วยการเกิดสุริยุปราคาบางส่วนก่อน คือการที่ดวงจันทร์เริ่มต้นโคจรเข้ามาบังดวงอาทิตย์ทีละน้อยๆ ต่อเมื่อดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์หมดดวงจึงจะเป็นสุริยุปราคาเต็มดวง แต่ในบริเวณที่อยู่เหนือขึ้นไปหรือใต้แนวที่ถูกทำให้มืดลงมา ซึ่งจะเห็นเฉพาะสุริยุปราคาบางส่วนก็จะไม่เห็นสุริยุปราคาเต็มดวง คงจะเห็นแต่สุริยุปราคาบางส่วนไปตั้งแต่ต้นจนสิ้นสุดปรากฏการณ์เพราะ สุริยุปราคาบางส่วนจะมีเฉพาะสัมผัสที่ 1 และ 4 เท่านั้น การสัมผัสของดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์ในขณะเกิดสุริยุปราคา มี 4 จังหวะด้วยกันคือ
1. สัมผัสที่ 1 (First Contact) เป็นจุดเริ่มต้นที่ดวงจันทร์เริ่มเข้าบดบังดวงอาทิตย์
2. สัมผัสที่ 2 (Second Contact) เป็นจุดเริ่มต้นที่ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ได้มิดหมดดวง
3. สัมผัสที่ 3 (Third Contact) เป็นจุดสุดท้ายที่ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์มิด
4. สัมผัสที่ 4 (Fourth Contact) เป็นจุดสุดท้ายก่อนที่ดวงจันทร์จะหลุดพ้นออกจากดวงอาทิตย์
ปรากฏการณ์ที่เกิดจากสุริยุปราคา
ก่อนที่ดวงจันทร์จะบดบังดวงอาทิตย์หมดทั้งดวง แสงของดวงอาทิตย์ส่วนที่เหลืออยู่เพียงเล็กน้อยนั้น จะทำปฏิกิริยากับพื้นผิวของดวงจันทร์เกิดเป็นประกายแวววาวในรูปแบบต่างๆคือ
1. ปรากฏการณ์ลูกปัดเบลีย์ (Baily"s Beads) จะเกิดก่อน ที่ดวงจันทร์จะบดบังดวงอาทิตย์หมดทั้งดวง แสงของดวงอาทิตย์ส่วนที่เหลืออยู่เพียงเล็กน้อยนั้นจะส่องลอดผ่านบริเวณที่ ลุ่ม ที่ต่ำ หุบเขา หุบเหวลึกบนพื้นผิวดวงจันทร์อันขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ ปรากฏเป็นประกายแวววาวเหมือนลูกปัดสีสวยสดใสที่เรียงร้อยกันล้อมรอบดวง จันทร์สวยงามมากเราเรียกปรากฏการณ์แบบนี้ว่า ปรากฏการณ์ลูกปัดเบลีย์ เพื่อให้เป็นเกียรติแก่นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ คือ ฟรานซิสเบลีย์ (Francis Baily) ซึ่งเป็นผู้อธิบายปรากฏการณ์นี้ได้อย่างถูกต้องเป็นคนแรก เมื่อเกิดสุริยุปราคาวงแหวนเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2379
2. ปรากฏการณ์แถบเงา (Shadow Bands) จะเกิดก่อนดวงอาทิตย์มืดหมดดวง ซึ่งดวงอาทิตย์จะปรากฏเป็นเสี้ยวเล็กมากๆ บรรยากาศของโลกจะส่งผลให้แสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมาจากเสี้ยวเล็กๆ นั้นมีการกระเพื่อม ซึ่งช่วงนี้ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นเป็นริ้วเป็นแถบของการกระเพื่อมของแสงอัน เนื่องมาจากบรรยากาศของโลกรบกวน เป็นแถบเงารูปคลื่นสีดำซึ่งจะทอดเป็นริ้วๆทั่วไป เหมือนแสงสะท้อนจากผิวน้ำที่สะท้อนขึ้นไปบนเรือดูแปลกตามาก จะเห็นได้ชัดเจนหากปูพื้นด้วยผ้าสีขาวกลางแจ้ง ผู้สังเกตพบเป็นคนแรก คือ เอช. โกลด์ชมิดท์ เมื่อ พ.ศ. 2363 ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเพราะบรรยากาศโลก ไม่ได้เกี่ยวกับดวงจันทร์
3. ปรากฏการณ์แหวนเพชร (The diamond ring effect) จะเกิดขึ้นเมื่อลำแสงสุดท้ายของดวงอาทิตย์ลอดผ่านหลุมอุกกาบาตใหญ่บนดวง จันทร์ลงมา ซึ่งจะเกิดก่อนและหลังการบังมืดหมดดวงประมาณ 10 วินาที ปรากฏการณ์เป็นดวงสว่างจ้าอยู่เพียงดวงเดียวบนขอบเสี้ยวของดวงอาทิตย์ที่ กำลังจะลับไป เป็นรูปคล้ายแหวนเพชรส่องประกายสวยงามมาก
ประโยชน์และคุณค่าของการเกิดสุริยุปราคา
นอกจากการเกิดสุริยุปราคาจะเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่น่าตื่นเต้นแล้ว สุริยุปราคายังมีคุณค่าทางดาราศาสตร์และการศึกษาหาข้อมูลทางด้านฟิสิกส์และ เคมีของดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นพลังงานใหญ่และเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยจักรวาล เป็นอย่างมาก พอจะรวบรวมประโยชน์และคุณค่าได้ดังนี้คือ
1. สามารถตรวจสอบสภาพกาลอากาศได้ว่าสุริยุปราคาโดยเฉพาะสุริยุปราคาเต็มดวงมีผล ทางอุตุนิยมวิทยา ใช้ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในบรรยากาศของโลกระดับต่างๆ ตั้งแต่ชั้นไอโอโนสเฟียร์ลงมา
2. สามารถศึกษาสมบัติบางประการในการกระจายแสงของบรรยากาศของโลก
3. สามารถศึกษารูปร่างและการแผ่ขยายรูปร่างโคโรนา ซึ่งมีความสัมพันธ์กับสนามแม่เหล็กหรือการเกิดจุดดำบนดวงอาทิตย์ เพราะเราจะเห็นโคโรนาได้ชัดเจนต่อเมื่อเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงเท่านั้น เพราะมันมีแสงอ่อนมาก จนในช่วงเวลาปกติจะไม่มีทางมองเห็นโคโรนาได้ชัด
4. สามารถตรวจสอบเส้นรุ้ง (Latitude) และเส้นแวง (Longitude) ให้ถูกต้องแท้จริง
5. สามารถวิเคราะห์ธาตุต่างๆ ที่มีอยู่ในบรรยากาศชั้นโครโมสเฟียร์ของดวงอาทิตย์ได้จากการศึกษาสเปกตรัม ของดวงอาทิตย์ในขณะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ซึ่งในอดีตนักดาราศาสตร์ชาวนักกฤษได้ค้นพบธาตุฮีเลียมในดวงอาทิตย์ขณะเกิด สุริยุปราคา เมื่อปี พ.ศ. 2411
6. ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจให้มนุษย์สนใจใคร่รู้ในเรื่องของธรรมชาติมากยิ่งขึ้น และอาจก่อให้เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่โลกได้ อาทิเช่น การเกิดสุริยุปราคาในปี พ.ศ. 2103 ทำให้เด็กหนุ่มชาวเดนมาร์กคนหนึ่ง เกิดความสนใจดาราศาสตร์อย่างจริงจัง เขาเริ่มบันทึกผลการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์โดยดารตรวจสอบตำแหน่ง ปรากฏการณ์ของดาวเคราะห์บนท้องฟ้า จนเกิดการสร้างเครื่องมือวัดมุม (Quadrant) ซึ่งใช้วัดมุมได้ละเอียดถึงลิปดาเลยทีเดียวหนุ่มผู้นั้นได้กลายมาเป็นนักดาราศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในสมัยกลาง คือ ไทโค บราฮี (Tycho Brahe) และแรงบันดาลใจการเกิดสุริยุปราคานี้เอง ยังทำให้เกิดการสร้างหอดูดาวที่ทันสมัยที่สุดในสมัยนั้นอีกด้วย
7. สามารถตรวจสอบการเบนของแสงสว่างในสนามแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ เพื่อใช้ประโยชน์ในการวัดตำแหน่งและการกำหนดตำแหน่งของดาวฤกษ์
8. เมื่อเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง เราสามารถเห็นดาวฤกษ์ที่สว่างบางดวงได้ เช่น ดาวในกลุ่มแมงป่อง กลุ่มดาวจระเข้ กลุ่มดาวหมีใหญ่ เป็นต้น
ในปี 2559 นี้จะพบ สุริยุปราคา ในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559
ที่มา : www.rmutphysics.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น