การปฏิวัติฝรั่งเศษและสงครามนโปเลียน
การปฏิวัติฝรั่งเศษและสงครามนโปเลียน
สาเหตุของการปฏิวัติ
สาเหตุที่ฝังรากลึก
สาเหตุที่ฝังรากลึก หรือ Les causes profondes ได้แก่ สภาพทางสังคม, การบริหารประเทศที่ไม่ทันสมัย, และการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
|
สมัยนั้น สังคมของฝรั่งเศสก่อนหน้าการปฏิวัตินั้น แบ่งได้เป็น 3 ฐานันดร คือ
1. นักบวช มีประมาณ 115,000 คน ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยอีก 2 กลุ่มคือ
· นักบวชชั้นสูง เช่น มุขนายก คาร์ดินัล
พวกนี้จะใช้ชีวิตอย่างหรูหราราวกับเจ้าชาย
· นักบวชชั้นล่าง ได้แก่นักบวชทั่วไป มีฐานะใกล้เคียงกับชนชั้นใต้ปกครอง
โดยมากมีชีวิตค่อนข้างแร้นแค้น
2. ขุนนาง มีประมาณ 400,000 คน แบ่งเป็นกลุ่มย่อย 3 กลุ่มคือ
· ขุนนางโดยเชื้อสาย (La noblesse
d'épée) สืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางต่างๆ
· ขุนนางรุ่นใหม่ (La noblesse de
robe) ได้รับตำแหน่งจากการรับใช้พระมหากษัตริย์
มักจะมีความกระตือรือร้นที่จะได้รับการยอมรับจากสังคมเท่าขุนนางพวกแรก
· ขุนนางท้องถิ่น (La noblesse de
province) มีฐานะสู้ขุนนางสองประเภทแรกไม่ได้
มักจะโจมตีชนชั้นปกครองพวกอื่นเรื่องการเอาเปรียบสังคม
3. ฐานันดรที่สาม (tiers état) ได้แก่ ชนชั้นกลางและชาวนา (ประมาณ 25.5 ล้านคนในสมัยนั้น) มีประมาณ 90
กว่าเปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ
สองฐานันดรแรกซึ่งมีจำนวนเพียงเล็กน้อย
ถือครองที่ดินส่วนมากของประเทศ และมีตัวแทนอยู่ในรัฐสภา ทำให้ฐานันดรที่ 3
ไม่พอใจเนื่องจากมีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงกันอยู่มาก
การบริหารประเทศที่ไม่ทันสมัย
ระบบการบริหารประเทศล้าหลัง
ไม่เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เช่น การเก็บภาษีอย่างไม่เป็นระบบ
(อัตราภาษีศุลกากรใน แต่ละจังหวัดต่างกัน, การเก็บภาษีไม่ทั่วถึง, ประเภทภาษีล้าสมัย)
ระบบกฎหมายยุ่งเหยิง (ส่วนเหนือของประเทศใช้กฎหมายจารีตประเพณีอย่างอังกฤษ,
ส่วนใต้ใช้กฎหมายโรมัน)
การยกเว้นภาษีให้สองฐานันดรแรกที่มีฐานะร่ำรวย
ทำให้ฐานันดรที่สามที่มีฐานะยากจนอยู่แล้วต้องรับภาระภาษีของประเทศไว้ทั้ง หมด
เมื่อสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงทำสงครามสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
จึงทรงรีดเอากับประชาชน ทำให้มีความเป็นอยู่แร้นแค้นยิ่งขึ้น
อีกทั้งในยามสงบราชสำนักยังใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ทั้งการพนันบ้าง
พระนางทรงเป็นผู้ล้ำหน้าในเรื่องของทรงผมและการแต่งกายมากๆ และ ฉลองพระองค์ กับ
ทรงพระเกศา จะต้องเข้ากันได้กับ ผลไม้ และเฟอร์นิเจอร์ในห้องนั้นๆ พระนางจึงจะพอใจ
โดยเฉพาะกรณี สร้อยพระศอของพระนางแมรี่อังตัวเนต ซึ่ง พระนางได้ซื้อสร้อยมาแล้ว
ปรากฏว่า มีคนมาทวงเงินค่าสร้อยพระศอ แล้วพระนางไม่จ่ายเงิน สุดท้ายเรื่องถึงศาล
และในที่สุด คนที่มาทวงเงินค่าสร้อยพระศอตกเป็นจำเลยในที่สุด ทำให้เรื่องดังกล่าว
ถูกนำมาพูดต่อๆ กันมานอกพระราชสำนัก
การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
ใน
ยุคนั้นได้มีการตื่นตัวทางความคิดในเรื่องของ
สิทธิมนุษยชน เสรีภาพ การฟังแล้วคิดวิเคราะห์ไม่ได้เชื่อใครง่ายเกินไป
ซึ่งเมื่อก่อน ประชาชนในฝรั่งเศสต้องฟังข่าวสารจากพระ และขุนนาง
และนักเขียนเช่นวอลแตร์และรุสโซมีอิทธิพลต่อความคิดของปัญญาชนในยุคนั้น
ที่ได้รับแนวคิดจากหนังสือที่ชื่อ เดอะ ปริ๊นต์ (เจ้าผู้ครองนคร) โดย
นิโคโล
แมคเคียววี่ ซึ่งเขียนใน ช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 15
และผลของการศึกษาวรรณกรรมนี้เอง
ทำให้ประชาชนเริ่มมีการไม่เห็นด้วยกับระบบการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิ
ราชย์
เพราะว่า มีแนวคิดที่ว่า อำนาจการเมืองซึ่งเคยเป็นของพระเจ้า
ซึ่งส่งผ่านมาไว้ที่
พระสันตปาปา ตามด้วย กษัตริย์ สุดท้ายก็ตกมาอยู่กับประชาชน
และผู้ได้ศึกษาวรรณกรรมชิ้นนี้ บางคนได้ซาบซึ้ง และได้เกิดแนวคิด
สาธารณะรัฐขึ้น
ทำให้ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
ตอนต้นนั้นก็เคยได้เกิดการลุกขึ้นสู้ของประชาชน ซึ่งร่วมมือกับ
ขุนนางที่เสียผลประโยชน์ให้กับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
อันเนื่องมาจากการปฏิรูปการปกครองให้กลายเป็นสมบูรณาญาสิทธิราช
จากระบอบศักดินา
ผลที่ได้ ฝ่ายประชาชนและขุนนางที่เป็นแกนนำได้ถูกปราบปรามโดย
สังฆราชที่ชื่อ
มาซาแรง และแกนนำได้ถูกขังตลอดชีวิต ส่วนประชาชนที่เป็นมวลชน ไม่ได้รับโทษ
ถึงแม้ว่าประชาชนจะเป็นฝ่ายแพ้
แต่ในอีก 158 ปีถัดมา ก็ได้เกิดการปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส
สาเหตุจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบรวดเร็ว
สาเหตุจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบรวดเร็ว หรือ Les cause immédiates มีสาเหตุหลักเริ่มต้นมาจาก
1.ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
และการพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจนั้น
2.ภูมิอากาศในฝรั่งเศสในช่วงนั้นได้หนาวมาก
จนกระทั่งชาวนาได้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้น้อยมาก
3.พระเจ้าหลุยส์ที่ 16
ได้ส่งกองกำลังทหารไปที่ทวีปอเมริกา เพื่อไปทำสงครามกับอังกฤษ
เพื่อปลดปล่อยชาวอาณานิคมในสมัยนั้นให้เป็นเอกราช
ทั้งนี้ก็เพราะว่าในสมัยพระหลุยส์ที่ 15 ได้ถูกกษัตริย์จอร์จแห่งอังกฤษ
ได้ขับไล่กองทัพฝรั่งเศสออกไปจากอาณานิคมที่ทวีปอเมริกาจนหมดสิ้น
ดังนั้นพอถึงสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 พระองค์จึงต้องการทำสงครามปลดปล่อยอาณานิคมที่ทวีปอเมริกา
เพื่อเป็นการแก้แค้น และพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ต้องออกค่าใช้จ่าย ไป 2000 ล้านลีฟว์
(ซึ่งเป็นเงินที่กู้มาจากต่างประเทศ) ในปี พ.ศ. 2319
4.การสร้างพระราชวังแวร์ซายในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่
14 อันเนื่องมาจากความกลัวว่าประชาชนจะลุกขึ้นมาต่อสู้กับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 อีก
ดังนั้น พระองค์จึงมีพระบรมราชองค์การให้สร้างพระราชวังแวร์ซาย ที่นอกเมืองปารีส
5.การทำสงครามขยายดินแดนฝรั่งเศสไปทางสเปน
ในปลายสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
สาเหตุดังกล่าวทำให้ไม่สามารถนำเงินมาชำระดอกเบี้ยได้
อีกทั้งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นได้หยุดชะงักลงตั้งแต่ราว ๆ ปี พ.ศ.
2270
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จึงทรงแต่งตั้ง
ชาค เนคเกร์ ซึ่งเนคเกร์ได้มีนโยบายเก็บภาษีของขุนนางและพระสงฆ์ เพื่อไปจุนเจือ
ฐานันดรที่ 3 แต่ได้ประสบกับการต่อต้านอย่างแข็งขันจากชนชั้นขุนนาง
และพระที่ไม่ต้องการถูกเก็บภาษี ทำให้ขุนนาง
และพระเหล่านั้นไปร้องเรียนต่อพระนางแมรี่อังตัวเนต
และพระนางเองก็ได้ไปกดดันพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ให้ปลด ชาค เนคเกร์
ทำให้ภาระหนักตกอยู่กับราษฎรธรรมดาเช่นเดิม
การฟื้นฟูเศรษฐกิจตามแนวคิดของตูร์โกต์
เริ่มขึ้นเมื่อเขารับตำแหน่งเป็นเสนาบดีการคลังในปี พ.ศ. 2319
เขาเป็นผู้ที่นิยมนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรี เขาผลักดันให้มีการรวมศูนย์การเก็บภาษี
เพื่อให้เป็นระบบและได้เม็ดเงิมเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น
และให้มีการเปิดเสรีการค้า แต่ด้วยนโยบายที่เสรีของเขาทำให้ฝ่ายอนุรักษ์นิยม ได้แก่
พระสงฆ์ ขุนนาง นำโดยพระมเหสีคือ พระนางมารี อองตัวเนตไม่พอใจ
และพากันกดดันพระเจ้าหลุยส์ให้ปลดเขาออกจากตำแหน่ง
เขาจึงถูกปลดหลังจากดำรงตำแหน่งได้ 2 ปี คือในปี พ.ศ. 2321
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งสืบต่อจากเขา คือ
เนคเกร์ เขาใช้นโยบายตัดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลและขยายฐานภาษี
ทำให้เก็บได้ทั่วถึงกว่าเดิม เขาทำหน้าที่ได้เป็นที่พอใจของประชาชน
แต่ไปขัดผลประโยชน์ของชนชั้นสูงจึงถูกปลดออกในปี พ.ศ. 2324
ในปี พ.ศ. 2331
ได้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการเพาะปลูกไม่ได้ผล
(ประเทศฝรั่งเศสสมัยนั้นเป็นประเทศเกษตรกรรม) ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนข้าวสาลี
ก่อนหน้านั้นในปี พ.ศ. 2329 ประเทศจำเป็นต้องหยุดการนำเข้าขนแกะและเสื้อผ้าจากสเปน
ประเทศจึงต้องนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากอังกฤษแทน
สินค้าจากอังกฤษได้เข้ามาตีตลาดฝรั่งเศส
จนอุตสาหกรรมหลายอย่างของชาวฝรั่งเศสต้องปิดตัวลง ประชาชนไม่พอใจและเกิดความไม่มั่นใจต่อเสถียรภาพของประเทศ
ผู้ที่ดำรงตำแหน่งต่อจากเนคเกร์คือ
คาลอนน์ เขาดำเนินการตามแผนที่ปรับปรุงมาจากการดำเนินงานของตูร์โกต์
โดยเขาได้ยกเลิกภาษีโบราณบางประเภท
และได้สร้างภาษีที่ดินแบบใหม่โดยทุกคนที่ถือครองที่ดินจะต้องเสีย
เขาได้ทำการเรียกประชุมสภา l'assemblée des
notables เพื่อให้อนุมัติภาษีใหม่นี้ แต่สภาไม่ยอม
คาลอนน์ถูกปลดในปี พ.ศ. 2330
ความขัดแย้งระหว่างสภา
(ประกอบด้วยฐานันดรขุนนาง) และรัฐบาลเลวร้ายลงจนกลายเป็นความวุ่นวาย
พวกขุนนางได้ขอให้พระเจ้าหลุยส์เรียกประชุมสภา les
états généraux ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนชนชั้นขุนนาง
พระสงฆ์และประชาชนทั่วไป
รวมทั้งผู้ก่อความวุ่นวายที่ทำให้ประเทศอยู่ในภาวะอนาธิปไตยเป็นเวลา 1 ปีเต็ม ขึ้น
เพื่อบีบบังคับพระเจ้าหลุยส์ให้ทำตามความต้องการของพวกขุนนาง
โดยใช้มติของสภานี้กดดันพระองค์
การปฏิวัติ
ในปี พ.ศ. 2331 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16
เรียกประชุมสภา les états généraux(สภาฐานันดร)ซึ่งมีการประชุมครั้งสุดท้ายในปี
พ.ศ. 2157 ก่อนหน้าการประชุม ได้มีการถวายฎีกาทั่วประเทศ
มีการควบคุมและห้ามการเผยแพร่ใบปลิวที่มีเนื้อหาเสรีจนน่าจะเป็นอันตราย
เนคเกร์ที่ถูกเรียกกลับมาดำรงตำแหน่งในปี พ.ศ. 2331
ได้เรียกร้องให้มีการเพิ่มจำนวนตัวแทนจากชนชั้นที่ 3 ให้มากขึ้นเป็น 2 เท่า
เพราะจำนวนตัวแทนในขณะนั้นมีน้อยเกินไป
และเขายังเรียกร้องให้ปลดตัวแทนบางส่วนจากชนชั้นที่ 1 และ 2 อีกด้วย
สภาฐานันดร (les états généraux) ได้มีการประชุมที่พระราชวังแวร์ซายส์ในวันที่
5 พฤษภาคม พ.ศ. 2332 การประชุมครั้งนี้ใช้ระบบลงคะแนนคือ 1 ฐานันดรต่อ 1 เสียง
ซึ่งไม่ยุติธรรม เพราะฐานันดรที่สามซึ่งมีจำนวนถึง 90%
ของประชากรกลับได้คะแนนเสียงเพียง 1 ใน 3 ของสภา
และวิธีการลงคะแนนนี้จะทำให้ฐานันดรที่สามไม่มีทางมีเสียงเหนือกว่า 2 ฐานันดรแรก
โดยเสนอให้ลงคะแนนแบบ 1 คน 1 เสียงแทน เมื่อข้อเสนอนี้ถูกปฏิเสธ
ทำให้ตัวแทนฐานันดรที่ 3 ไม่พอใจเป็นอย่างมากจึงไม่เข้าร่วมการประชุม
และไปตั้งสภาของตนเองเรียกว่าสมัชชาแห่งชาติ ซึ่งเปิดประชุมเมื่อวันที่ 17
มิถุนายน ปีเดียวกัน. สภานี้ยังมีตัวแทนจากฐานันดรที่ 1, 2
บางส่วนเข้าร่วมประชุมด้วย ได้แก่ตัวแทนส่วนใหญ่ของชนชั้นนักบวช
และตัวแทนที่เป็นขุนนางหัวสมัยใหม่นำโดยมิราโบ
สมัชชาแห่งชาตินี้ประกาศว่า
สภาของตนเท่านั้นที่มีสิทธิ์ขึ้นภาษี
เนื่องจากไม่ไว้วางใจการทำงานของรัฐบาลของพระเจ้าหลุยส์ ที่สนับสนุนแต่ขุนนางและพระสงฆ์
พระเจ้าหลุยส์พยายามหาทางประนีประนอมโดยเสนอว่าจะจัดประชุมสภาฐานันดร (les états généraux) ขึ้นอีกครั้งพวกขุนนางและพระสงฆ์ตอบตกลง
แต่สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมประชุม
โดยไปจัดการประชุมของตัวเองขึ้นที่สนามเทนนิส
(สมัยนั้นเรียกว่า Jeu de paume) ในวันที่ 20 มิถุนายน
โดยมีมติว่าจะไม่ยุบสภานี้จนกว่าประเทศฝรั่งเศสจะได้รัฐธรรมนูญเปิดฉากการปฏิวัติ
หลังจากที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 16
ถูกกดดันจากกองทัพ พระองค์ก็ทรงเรียกร้องให้ตัวแทนจาก 2
ฐานันดรแรกเข้าร่วมประชุมสภา Assemblée
Nationale ด้วยเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้เกิดสภาใหม่ในวันที่ 9
กรกฎาคมคือ Assemblée Nationale Constituante เพื่อร่างรัฐธรรมนูญ
การทลายคุกบาสตีย์
แต่หลังจากนั้นไม่นาน
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสก็ได้รับการกดดันอีกครั้งจากพระนางมารี อองตัวเนต
และน้องชายของพระเจ้าหลุยส์คือ Comte d'Artois ซึ่งจะได้เป็นพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 แห่งฝรั่งเศสในอนาคต
ทำให้พระองค์ทำการเรียกกองทหารที่จงรักภักดีต่อพระองค์จากต่างประเทศเข้ามาประจำการในกรุงปารีสและพระราชวังแวร์ซายส์
ทำให้เกิดความโกรธแค้นในหมู่ประชาชน
นอกจากนี้พระเจ้าหลุยส์ยังทรงปลดเนคเกร์ลงจากตำแหน่งอีกครั้ง
ทำให้ประชาชนออกมาก่อจลาจลเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม
และยึดคุกบาสตีย์ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์พระราชอำนาจของกษัตริย์ได้ในวันที่ 14
กรกฎาคม
หลังจากนั้นพระเจ้าหลุยส์ก็เรียกเนคเกร์มาดำรงตำแหน่งอีกครั้งในวันที่
16 กรกฎาคม เนคเกร์ได้พบกับประชาชนที่ศาลาว่าการกรุงปารีส (l'Hôtel de Ville) ซึ่งถูกประดับไปด้วยธงสามสีคือแดง
ขาว น้ำเงิน วันเดียวกันนั้น Comte d'Artois ก็ได้หนีออกนอกประเทศ
ถือเป็นสมาชิกราชวงศ์คนแรก ๆ ที่หนีออกนอกประเทศในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส
หลังจากนั้นไม่นาน
เทศบาลและกองกำลังติดอาวุธของประชาชน (Garde Nationale)
ก็ได้ถูกตั้งขึ้นอย่างรีบเร่งโดยประชาชนชาวปารีส
โดยในไม่ช้าทั่วประเทศก็มีกองกำลังติดอาวุธของประชาชนตามอย่างกรุงปารีส
กองกำลังนี้อยู่ใต้การบัญชาการของนายพลเดอลาฟาแยตต์
ซึ่งท่านผู้นี้เคยร่วมรบในสงครามกู้อิสรภาพของสหรัฐอเมริกามาก่อน
เมื่อพระเจ้าหลุยส์เห็นว่าทหารต่างชาติไม่สามารถรักษาความสงบไว้ได้
ก็ทรงปลดประจำการทหารเหล่านั้น
ผลของการปฏิวัติในช่วงแรก
การยุติสิทธิพิเศษต่าง ๆ
สภา Assemblée
Nationale ได้ประกาศว่าประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน
และล้มเลิกสิทธิการงดเว้นภาษีของคณะสงฆ์ รวมทั้งให้ทุกคนมีโอกาสในการประกอบอาชีพทุกอย่างเท่าเทียมกัน
ภายหลังจากการลงมติของสภาฯ ไม่กี่วันก่อนหน้านี้ คือวันที่ 3-4 สิงหาคม 2332
ซึ่งได้รับมติสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากสมาชิกสภา
คำประกาศสิทธิของมนุษย์และพลเมืองหรือ La déclaration des droits de l'homme et du citoyen
เป็นคำประกาศที่ปูทางไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญ
ได้รับแรงบันดาลใจมาจากปรัชญารู้แจ้ง (Enlightened) ซึ่งเป็นปรัชญาที่ได้รับความนิยมในยุคนั้น
และคำประกาศนี้ได้แบบอย่างจากรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ
คำประกาศนี้ผ่านการพิจารณาของสภาฯ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2332
มีเนื้อหาหลักแสดงถึงหลักการพื้นฐานของการปฏิวัติ ภายใต้คำขวัญที่ว่า
"เสรีภาพ,เสมอภาค,ภราดรภาพ"
ท ในขณะนั้นมีข่าวลือในหมู่ประชาชนว่าจะมีการยึดอำนาจคืนของฝ่ายนิยมระบอบเก่า
เมื่อชาวปารีสรู้ข่าวก็มีการตื่นตัวกันขนานใหญ่
ดังนั้นประชาชนชาวปารีสซึ่งส่วนมากเป็นผู้หญิง
ได้เดินขบวนไปยังพระราชวังแวร์ซายส์และเชิญพระเจ้าหลุยส์พร้อมทั้งราชวงศ์มา
ประทับในกรุงปารีส ในวันที่ 5-6 ตุลาคม ปีเดียวกัน
โดยมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่อนุรักษ์นิยมตามเสด็จกลับกรุงปารีสด้วย
สำหรับสภา Assemblée Nationale ในขณะนั้นประกอบด้วยสมาชิกที่หัวก้าวหน้าเป็นส่วนมาก
แต่มีภารกิจสำคัญอันดับแรกของสภาคือการดำรงสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้
ดังนั้นจึงยังไม่มีการโค่นล้มสถาบันกษัตริย์ในขณะนั้น
การปฏิรูปครั้งใหญ่
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของฝรั่งเศสมีผลบังคับใช้เมื่อปลายปี พ.ศ. 2332
ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้
• ตำแหน่งต่าง
ๆ ในราชการไม่สามารถตกทอดไปยังลูกหลาน
• จังหวัดต่าง
ๆ ถูกยุบ, ประเทศถูกแบ่งเป็น 83 เขต (départements)
• ศาลประชาชนถูกก่อตั้งขึ้น
• มีการปฏิรูปกฎหมายของฝรั่งเศส
• การเวนคืนที่ธรณีสงฆ์
แล้วนำมาค้ำประกันพันธบัตร ที่ออกเพื่อระดมทุนจากประชาชน มาแก้ไขปัญหาหนี้ของประเทศ
การปฏิรูปสถานะของพระสงฆ์
นอกจากที่ธรณีสงฆ์จะถูกเวนคืนแล้ว
การปกครองของคณะสงฆ์ในประเทศฝรั่งเศสก็ยังถูกเปลี่ยนแปลง
ตามกฎหมายการปกครองคณะสงฆ์ฉบับใหม่ที่ออกเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2333
โดยใช้การปกครองประเทศเป็นแม่แบบ คือกำหนดจำนวนสังฆราช (évêque) ไว้เขต (département) ละ
1 ท่าน และให้เมืองใหญ่แต่ละเมืองมีอัครสังฆราช (archévêque) 1 ท่าน โดยสังฆราชและอัครสังฆราชแต่ละท่านจะถูกเลือกโดยสมัชชาแห่งชาติ
และได้รับเงินเดือนจากรัฐบาล นอกจากนี้
ผู้ที่จะมาเป็นพระสงฆ์ในทุกระดับจะต้องสาบานตนว่าจะจงรักภักดีต่อประเทศอีก ด้วย
การจับกุม ณ วาแรน
มีข่าวลือสะพัดอย่างหนาหูว่า
พระนางมารี อองตัวเนตนั้น ได้แอบติดต่อกับพี่ชายของพระองค์
คือจักรพรรดิลีโอโปลด์ที่ 2 แห่งออสเตรีย
เพื่อที่จะให้จักรพรรดิยกทัพมาโจมตีฝรั่งเศสและคืนอำนาจให้ราชวงศ์
พระเจ้าหลุยส์นั้น ไม่ได้พยายามหนีออกนอกประเทศหรือรับความช่วยเหลือ
แต่จะทรงหนีไปตั้งมั่นอยู่กับนายพลบุยเล่
ที่จงรักภักดีและสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่พระองค์
พระองค์เสด็จออกจากพระราชวังตุยเยอรีในตอนกลางคืนของวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2334
แต่ทรงถูกจับได้ที่เมืองวาแรน ในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2334
ส่งผลให้ความเชื่อถือของประชาชนที่มีต่อพระองค์นั้นลดลงอย่างมาก
พระองค์ถูกนำตัวกลับมากักบริเวณในกรุงปารีส
การสิ้นสุดของสภาร่างรัฐธรรมนูญ
แม้ว่าสมาชิกส่วนใหญ่ของสภาฯ
จะนิยมระบอบประชาธิปไตยโดยให้พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ มากกว่าระบอบสาธารณรัฐก็ตาม
แต่ ณ ขณะนั้น พระเจ้าหลุยส์ก็ไม่ได้มีบทบาทมากไปกว่าหุ่นเชิด
พระองค์ถูกบังคับให้ปฏิญาณตนต่อรัฐธรรมนูญ และให้ยอมรับเงื่อนไขที่ว่า
เมื่อพระองค์กระทำการใดๆที่จะชักนำให้กองทัพต่างชาติมาโจมตีฝรั่งเศส หรือ
กระทำสิ่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ให้ถือว่าพระองค์สละราชสมบัติโดยอัตโนมัติ
ขณะเดียวกันนั้น ฌอง ปิแอร์ บริสโซต์
ได้ร่างประกาศโจมตีพระเจ้าหลุยส์ มีสาระสำคัญว่า
พระเจ้าหลุยส์ทรงสละราชสมบัติไปตั้งแต่พระองค์เสด็จออกจากพระราชวังทุยเลอรี ส์แล้ว
ฝูงชนจำนวนมากพยายามเข้ามาใน ชอง เดอ มาร์ส เพื่อลงนามในใบประกาศนั้น
ทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้น สภาร่างรัฐธรรมนูญได้ขอร้องให้เทศบาลกรุงปารีสช่วย
รักษาความสงบ แต่ไม่สำเร็จ ในที่สุด กองทหารองครักษ์
ภายใต้การบัญชาการของลาฟาแยตต์ ก็ได้เข้ามารักษาความสงบ
ฝูงชนได้ปาก้อนหินใส่องครักษ์ ในช่วงแรก องครักษ์โต้ตอบด้วยการยิงขึ้นฟ้า
แต่ไม่สำเร็จ จึงจำต้องยิงปืนใส่ฝูงชน ทำให้ประชาชนตายไปประมาณ 50 คน
หลังจากการสังหารหมู่ครั้งนี้
ทางการก็ได้ดำเนินการปราบปรามพวกสมาคมนิยมสาธารณรัฐต่างๆ
รวมทั้งหนังสือพิมพ์ของพวกนี้อีกด้วย หนังสือพิมพ์เพื่อนประชาชน (l'ami du peuple) ของมาราต์ บุคคลที่มีแนวคิดแบบนี้เช่น
มาราต์และเดสมูแลงต่างพากันหลบซ่อน ส่วนดังตงหนีไปอังกฤษ
ขณะที่ภายในฝรั่งเศสกำลังวุ่นวาย
เหล่าราชวงศ์ของยุโรป โดยมีแกนนำคือกษัตริย์แห่งปรัสเซีย จักรพรรดิออสเตรีย
และพระอนุชาของพระเจ้าหลุยส์ ก็ได้ร่วมมือกัน โดยมีเป้าหมายสำคัญคือให้พระเจ้าหลุยส์มีอิสรภาพสมบูรณ์และให้ยุบสภา
Assemblée Nationale หากสิ่งเหล่านี้ไม่เกิดขึ้น
ก็จะโจมตีฝรั่งเศสเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย
แต่ประชาชนชาวฝรั่งเศสไม่สนใจต่อคำประกาศดังกล่าว และเตรียมการต่อต้านอย่างแข็งขัน
โดยส่งกำลังทหารไปยังชายแดน
สงคราม นโปเลียน
รูปที่ 26 เหตุการณ์สงครามนโปเลียน
|
ความเห็นที่ยังไม่ตกลงกันได้คือความเห็นที่เกี่ยวกับว่าเมื่อใดที่สงครามการปฏิวัติฝรั่งเศสสิ้นสุดลง
และเมื่อใดที่สงครามนโปเลียนเริ่มขึ้น วันเริ่มต้นอาจจะเป็นวันที่ 9 พฤศจิกายน
ค.ศ. 1799 ซึ่งเป็นวันที่นโปเลียนยึดอำนาจในฝรั่งเศสด้วยการรัฐประหารวันที่ 18
บรูแมร์ (ในปีที่ 7 ตามปฏิทินสาธารณรัฐฝรั่งเศสในยุคนั้น) หรือวันที่ 18 พฤษภาคม
ค.ศ. 1803 เมื่อมีการประกาศสงครามระหว่างบริเตนและฝรั่งเศสที่ทำให้ช่วงเวลาของความ
สันติในยุโรประหว่าง ค.ศ. 1792 ถึง ค.ศ. 1814 ต้องมาสิ้นสุดลง หรือเมื่อวันที่ 2
ธันวาคม ค.ศ. 1804 เมื่อนโปเลียนสวมมงกุฎเป็นจักรพรรดิ
สงครามนโปเลียนยุติลงหลังจากที่นโปเลียนได้รับความพ่ายแพ้ในยุทธการวอเตอร์ลู
เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1815
และการลงนามในสนธิสัญญาปารีสครั้งที่สองในปีเดียวกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น