วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

นี่คือภาพพื้นที่ชุ่มน้ำในกระบี่ที่งดงามนัก หากไม่มีเรือลำเลียงถ่านหิน…ผ่าน ภาพนี้ จะอยู่คู่กระบี่ชั่วนิจนิรันดร์ !

นี่คือภาพพื้นที่ชุ่มน้ำในกระบี่ที่งดงามนัก หากไม่มีเรือลำเลียงถ่านหิน…ผ่าน ภาพนี้ จะอยู่คู่กระบี่ชั่วนิจนิรันดร์ !


8

ผมเห็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) จ้างหนังสือพิมพ์รายวัน ทยอยนำภาพ ชาวกระบี่จำนวนหนึ่งออกมาแสดงความชื่นชมการมีโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ฟังขัดกับวิสัยของชาวบ้านที่จะพูด อาทิ
“อยู่ใกล้โรงไฟฟ้ากระบี่ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ต้นไม้ใบไม้ไม่เคยเหี่ยวเฉา พอทราบว่าจะมีโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินมา ทั้งครอบครัวผมสนับสนุนเต็มที่..”
หรือ “ไม่เคยกลัว เพราะเกิดและเติบโตในตำบลปกาสับ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีโรงฟ้ากระบี่อยู่เดิมที่ผลิตจากน้ำมันเตา ที่ผ่านมาไม่เคยมีปัญหาอะไร” และอีกบางคำเช่น
“ไม่กลัวถ่านหิน แต่กลับไฟฟ้าดับและไฟฟ้าไม่พอใช้” หรือ “หากมีโรงไฟฟ้าจะสร้างความเจริญให้ชุมชน เกิดการจ้างงาน การพัฒนาอาชีพ การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจให้ดีขึ้น”
ผมได้ดูแคลนคนที่ออกมาพูดตามที่ปรากฏในภาพนะครับ แต่ในฐานะที่เคยทำสื่อโฆษณามาก่อน ผมทราบดีกว่าบางทีก็ต้องเรียบเรียงบทพูดให้ฟังรื่นดูและดูดี
เมื่อเห็นเช่นนั้น ผมก็รู้ด้วยสัญญาตญาณของการทำข่าวมา 40 ปีว่า กฟผ.ได้ “วางระเบิดเวลา” แห่งความขัดแย้งของคนไทย โดยเฉพาะคนในจังหวัดกระบี่ขึ้นมาอีกหลังจากระงับไปเมื่อปี 2558
ผมโพสต์ภาพนั้น และบรรยายความเห็นไว้ในสื่อออนไลน์ที่ผมเล่นไม่ว่าจะเป็นทวิตเตอร์ หรือเฟซบุ๊ก ความว่า…
9
ขอพยากรณ์ว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินของ กฟผ.จะกลายเป็น “ชนวน” ให้ชาวกระบี่แตกแยกเป็น 2 ฝ่าย ส่วนจะบานปลายแค่ไหน อยู่ที่ว่ามีใคร “หนุนหลัง”มากกว่า ! ( 9 ก.พ.2560)
และแล้วกลางเดือนกุมภา “เครือข่ายปกป้องอันดามัน” ก็กรีฑาทัพเข้ามายังเมืองหลวง เพื่อต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระบี่ จริง อย่างที่ผมคาดการณ์เอาไว้
แต่ก็นับว่าเป็นความโชคดีของสังคมไทย ที่ยังไม่ทันที่สถานการณ์ดังกล่าวจะบานปลายขยายผลตามที่มีคนกลุ่มหนึ่งต้องการ
ก่อนที่ทุกอย่างจะบานปลายออกไป รัฐบาลก็มอบหมายให้ พล.ท.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 เข้ามาถอดชนวนระเบิดด้วยการพูดจาทำความเข้าใจกับแกนนำเครือข่ายปกป้องอันดามันจนสามารถตกลงกันได้
สายวันที่ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ เมื่อ พล.ท.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 และ พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เดินมาพร้อมกับ  5 แกนนำผู้ชุมนุม
ไปยังกลุ่มผู้ชุมนุม ประมาณ 100 คน ปักหลักอยู่ที่ทำเนียบ บริเวณลานรูปปั้นกรมหลวงชุมพรฯ ข้างโรงเรียนพาณิชย์พระนคร เสียงโห่ร้องด้วยความยินดีก็ดังขึ้นพร้อมกับร้อยยิ้มและน้ำตาของบางคน
10
พล.ท.อภิรัชต์ ได้กล่าวต่อหน้าผู้ชุมนุมที่รออยู่ ว่า “รัฐบาลมีหน้าที่หาแหล่งพลังงาน ส่วนแหล่งพลังงานจะสร้างได้หรือไม่ได้นั้น อยู่ที่ประชาชน
เมื่อมีการทบทวนและเริ่มต้นทำ EHIA ใหม่ ยืนยันว่า แหล่งพลังงานในประเทศต้องเกิด แต่จะเกิดหรือเป็นแหล่งพลังงานใด  เป็นเรื่องที่ต้องไปหารือ และหาข้อยุติต่อไป”
คำกล่าวอย่างมีเหตุผลของ พล.ท.อภิรัชต์ เป็นที่ยอมรับของบรรดาแกนนำเครือข่ายปกป้องอันดามัน ทำให้ผู้ร่วมชุมนุมต่างก็พอใจ จึงพากันสลายการชุมนุมและเดินทางกลับภูมิลำเนาในวันนั้น
จากคำกล่าวของ พล.ท.อภิรัชต์ ทำให้ผมนึกข้อพิพาทที่คาราคาซังอยู่เรื่องหนึ่งนั่นคือ การพิจารณาของเลขาธิการ ส.ป.ก.ว่าเอกชนที่เช่าที่ดินซึ่งเกษตรกรถือครองในขณะนี้ จะต้องยกเลิกหรือ ?
แต่เท่าที่พิจารณาท่าทีของเลขาธิการ ส.ป.ก.ซึ่งขอยึดเวลาพิจารณาสัญญาไปอีก 45 วันแล้ว น่าจะได้ต่อสัญญาต่อไปอีก ส่วนจะด้วยเหตุผลใด เลขาธิการ ส.ป.ก.คงหามาจนได้
หากเป็นเช่นนั้นจริงรัฐบาลก็น่าจจะให้เอกชนเข้าไปลงทุนสร้างกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมที่มีอย่างเหลือเฟือในภาคใต้ แทนการสร้างโรงไฟฟ้าจากถ่านหินหรืออย่างอื่นเสียเลยเป็นไงครับ
ผมจำได้ว่า ตอนที่เดินทางไปร่วมสังเกตการณ์การอบรมผู้นำแห่งยุคเพื่อความสุขที่ยั่งยืนของ มูลนิธิบุคคลพอเพียงนี้น เท่ผมเคยเห็นริมทะเลในจังหวัดภาคใต้ก็มีให้เห็นหลายแห่งแล้ว
11
มีความเป็นไปได้ไหมครับที่รัฐบาลจะเชิญชวนให้ภาคเอกชนเข้าไปลงทุนทำ กังหันลม เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าในพื้นที่จังหวัดภาคใต้เพื่อผลิตกระแสไฟป้อนจังหวัดต่าง ๆ
เพราะนอกจากกังหันลมจะไม่สร้างมลภาวะให้กับท้องถิ่นแล้ว กังหันลมยังจะกลายเป็นจุดดึงดูนักท่องเที่ยวให้เดินทางไปชมเหมือนที่กำลัง(จะ)ได้รับความนิยมในภาคอีสาน
หากสามารถทำได้ ผมเข้าใจว่านี่จะเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับรัฐบาลและพี่น้องในจังหวัดภาคใต้ เพราะนั่นคือ การยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวอย่างไรเล่าครับ !

ขอขอบคุณข้อมูล :  ข่าวสด

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ไฟไหม้ประตูวิหาร “วัดราชบพิธ” ตำรวจส่งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเพิ่ม!

ไฟไหม้ประตูวิหาร “วัดราชบพิธ” ตำรวจส่งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเพิ่ม!


เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 9 ก.พ. พล.ต.ต.สุรเชษฐ์ หักพาล ผบก.สปพ. พร้อมกำลัง ได้ร่วมกันตรวจสถานที่เกิดเหตุบริเวณวัดราชบพิธ ที่เกิดเพลิงไหม้บริเวณประตูวิหารอายุเก่าแก่กว่า 150 ปี เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา โดยเพลิงที่ลุกไหม้ทำให้ประตูไม้สักได้รับความเสียหาย

หลังเกิดเหตุพล.ต.ต.สุรเชษฐ หักพาล ผู้บังคับการตำรวจสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษได้นำกำลัง ไปตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุ เพื่อหาสาเหตุที่เกิดขึ้น พร้อมกับตำรวจท้องที่ สอบถามผู้ดูแลวัด แจ้งว่าวิหารหลังดังกล่าวอยู่ระหว่างการบูรณะปฏิสังขรณ์ โดยเริ่มทำงานมาเป็นระยะเวลานานแล้ว

ผู้บังคับการตำรวจสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กล่าวว่า จากนี้ไปจัดส่งกำลังรถสายตรวจ และชุดสายตรวจเดินเท้าอย่างละหนึ่งชุด มาประจำที่วัดเพิ่ม เพื่อคอยดูแลความปลอดภัย

ติดตามได้จากข่าวสด khaosod.co.th

เด็ดไม่แพ้ไทย ! ตำรวจลาวบุกกวาดล้างเครือข่ายไซซะนะ






เด็ดไม่แพ้ไทย ! ตำรวจลาวบุกกวาดล้างเครือข่ายไซซะนะ


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากตำรวจไทยโชว์ฝีมือจับกุมเจ้าพ่อยาเสพติดลาว "ไซซะนะ แก้วพิมพา" ได้ ก็มีกระแสกดดันตำรวจลาวอย่างหนักในสื่อสังคมออนไลน์ลาว ส่วนใหญ่ได้เรียกร้องให้ทางการลาวออกมาแถลงข่าวเกี่ยวกับกรณีการจับกุม "ไซซะนะ" ในครั้งนี้
ล่าสุด ท่านทองเหล็ก มังหม่อเมก หัวหน้ากรมใหญ่ตำรวจ กระทรวงป้องกันความสงบ จึงนำทีมแถลงข่าวการปราบปรามขบวนการค้ายาเสพติด ระหว่างวันที่ 16 กันยายน 2559 ถึงวันที่ 24 มกราคม 2560
"ท่านทองเหล็ก" แจ้งว่า กรมตำรวจสะกัดกั้นและต้านยาเสพติด กรมตำรวจใหญ่ กระทรวงป้องกันความสงบ ได้ดำเนินการกวาดล้างขบวนการยาเสพติด ตั้งแต่ภาคเหนือจรดภาคใต้ จับกุมผู้ต้องหาได้ 33 คน ซึ่งหนึ่งในนั้นมีเครือข่ายแก๊งยาเสพติด "ไซซะนะ แก้วพิมพา"
กลุ่มที่ 1 แก๊งท้าวกิน้อย ผาไซ เมืองสีโคดตะบอง นครหลวงเวียงจันทน์ พร้อมกับพวก 16 คน
กลุ่มที่ 2 แก๊งท้าวหวาด พิลาวัน นครหลวงเวียงจันทน์ พร้อมพวก 3 คน
กลุ่มที่ 3 แก๊งท้าวคอนปะสง สุกเสิม นครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นเครือข่ายยาเสพติดที่ใหญ่กว่าแก๊งไซซะนะ แก้วพิมพา
กลุ่มที่ 4 แก๊งท้าวไซซะนะ แก้วพิมพา แขวงคำม่วน เจ้าหน้าที่ลาวได้ประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบปรามยาเสพติดไทย จับกุมตัว "ไซซะนะ" ได้ที่สนามบินสุวรรณภูมิ
กลุ่มที่ 5 แก๊งท้าวคอนไท โคดสมบัด เมืองสองคอน แขวงสะหวันนะเขต พร้อมกับพวก 2 คน

เด็ดไม่แพ้ไทย ! ตำรวจลาวบุกกวาดล้างเครือข่ายไซซะนะ
โดยกรมตำรวจสะกัดกั้นและต้านยาเสพติด ได้ตามยึดทรัพย์ของเครือข่ายยาเสพติด 5 กลุ่มดังกล่าว ปรากฏว่าได้อายัดบ้านพัก, โรงแรม, ตลาด, ร้านอาหาร, โรงงานเฟอร์นิเจอร์, โรงงานสังกะสี, ตึกแถว, ปั๊มน้ำมัน, รถหรู, เจ็ตสกี และอื่นๆ
นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจลาวยังดำเนินการจับกุมบุคคลที่วิ่งเต้นให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปล่อยตัวผู้ต้องหาคดียาเสพติดรายใหญ่ โดยจะจ่ายเงินให้ 30 ล้านบาทต่อหนึ่งคน และจะมีการจ่ายเงินล่วงหน้า 10 ล้านบาท ให้เจ้าหน้าที่เป็นการมัดจำ

เด็ดไม่แพ้ไทย ! ตำรวจลาวบุกกวาดล้างเครือข่ายไซซะนะ
หลังการแถลงข่าวใหญ่ของตำรวจลาว ชาวโซเชียลได้วิพากษ์วิจารณ์มากมาย คนลาวบางคนมองว่า นี่เป็นการรักษาหน้าของตำรวจลาวที่ปล่อยให้ทางตำรวจไทยออกข่าวพาดพิงเครือข่ายไซซะนะที่หลบหนีอยู่ในลาวเกือบทุกวัน
อย่างไรก็ตาม การจับกุม "คอนปะสง" เจ้าพ่อยาเสพติดที่ใหญ่กว่า "ไซซะนะ" ก็มิได้ทำให้ตำรวจเสียหน้ามากนัก เนื่องจาก "คอนปะสง" เป็นเจ้าของโรงแรม และตลาดใหญ่ในแขวงคำม่วน

เด็ดไม่แพ้ไทย ! ตำรวจลาวบุกกวาดล้างเครือข่ายไซซะนะ











ขอบคุณ ; ภาพ :  จากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น : เวียงจันทร์ไทมส์

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ดูชีวิตริมน้ำโขง ก่อนการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่


รายงานพิเศษ: ระเบิดแก่งในแม่น้ำโขง ไทยจะเสียมากกว่าได้?

รายงานพิเศษ: ระเบิดแก่งในแม่น้ำโขง ไทยจะเสียมากกว่าได้?

  • 14 กุมภาพันธ์ 2017

     Image copyright Wasawat Lukharang/BBC Thai
คำบรรยายภาพ แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำนานาชาติของภูมิภาคนี้ที่ไหลผ่านจีน ลาว ไทย เมียนมา กัมพูชา จนถึงดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำในเวียดนาม
หลายประเทศในเอเชียคาดหวังจะพัฒนาการเดินทางข้ามแดนผ่านแม่น้ำโขง ในส่วนของไทย โครงการขยายร่องน้ำโขง ที่ถูกระงับไปในสมัยของ รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร กำลังฟื้นชีวิตอีกครั้ง หลัง ครม. ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 27 ธ.ค.2559 ให้พิจารณาแผนพัฒนาการเดินเรือระหว่างประเทศ ในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมต่อจากจีนมาถึงไทย และเชื่อมต่อไปยังประเทศลาว
มติ ครม.ดังกล่าวทำให้เกิดเสียงคัดค้านในหลายภาคส่วน ซึ่งเกรงว่าการปรับปรุงร่องน้ำ อาจนำไปสู่ การระเบิดเกาะแก่งและดอนทรายในแม่น้ำโขง ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและทรัพยากรธรรมชาติ ขณะที่ฝ่ายรัฐบาล นำโดยกรมเจ้าท่าและผู้ว่าการจังหวัดเชียงรายชี้แจงว่า มติ ครม.นี้ ไม่มีข้อตกลงใด ที่เกี่ยวกับการระเบิดเกาะแก่งแม่น้ำโขงในไทย แต่จะเป็นการสำรวจร่องน้ำในแม่น้ำโขงจาก จ.เชียงรายถึงแขวงหลวงพระบางในประเทศลาว คิดเป็นระยะทางราว 374 กิโลเมตร ส่วนนักวิชาการในภาคเหนือบางส่วนเตือนว่า แผนพัฒนาทางเดินเรือ ในแม่น้ำโขง อาจเปิดทางให้จีนขยายอิทธิพลในภูมิภาคได้

'หินโสโครก' หรือ 'องค์ประกอบระบบนิเวศ'

คอนผีหลวง หรือ คอนผีหลง ตามคำเรียกของคนในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย อยู่ติดกับชายแดนไทย-ลาว เป็นกลุ่มเกาะแก่งในแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่รองรับเรือจีน ที่ออกจากมณฑลยูนนานมายังไทย และเป็นหนึ่งในพื้นที่ซึ่งถูกรวมไว้ว่า จะต้องถูกปรับปรุงตามแผนพัฒนาการเดินเรือระหว่างประเทศ ตั้งแต่สมัย สมัยรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร และปิดโครงการระยะแรกไปในปี 2548 แต่รัฐบาลปัจจุบันรื้อฟื้นขึ้นมาสำรวจใหม่
นายสมเกียรติ เขื่อนเชียงสา ผู้ประสานงานสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต ระบุว่าโครงการปรับปรุงร่องน้ำโขงในระยะแรกเกิดขึ้นช่วงปี 2543-2548 โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลจีน และมีการระเบิดเกาะแก่งในแม่น้ำโขงไปแล้ว 10 จุดบริเวณชายแดนจีน-เมียนมา และเมียนมา-ลาว เหลือแต่ คอนผีหลง ซึ่งยังไม่ถูกระเบิด เพราะประชาชนในพื้นที่ไม่เห็นด้วย
Image copyright Wasawat Lukharang/BBC Thai

คำบรรยายภาพ ผู้คัดค้านแผนพัฒนาทางเดินเรือในแม่น้ำโขงรวมตัวกันที่ผาถ่าน อ.เชียงของ จ.เชียงราย เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกมติ ครม.วันที่ 27 ธ.ค.
ผู้ประสานงานสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต ระบุว่า ประมาณต้นเดือน ธ.ค.2559 มีตัวแทนจากบริษัทด้านวิศวกรรมของจีนเข้าพบเครือข่ายประชาชนที่คัดค้านการระเบิดเกาะแก่งแม่น้ำโขง โดยให้เหตุผลว่าต้องการรับฟังความคิดเห็นของคนในพื้นที่ และหลังจากนั้นไม่นาน ครม.ของไทยก็มีมติในวันที่ 27 ธ.ค. เห็นชอบการสำรวจร่องน้ำตามแผนพัฒนาการเดินเรือแม่น้ำล้านช้าง หรือแม่น้ำโขงตอนบนซึ่งอยู่ในมณฑลยูนนานของจีน จนถึงแม่น้ำโขงที่ไหลผ่านไทยและลาว
นายสมเกียรติตั้งข้อสังเกตว่าคณะสำรวจของรัฐบาลจีนได้เผยแพร่รายงานข้อปฏิบัติในการเดินเรือและสิทธิของเรือจีนที่จะแล่นผ่านแม่น้ำไทย ซึ่งระบุว่าเจ้าหน้าที่หรือชาวบ้านฝั่งไทยไม่มีสิทธิขึ้นไปตรวจสอบ ทั้งยังมีการนิยามเกาะแก่งในแม่น้ำโขงว่าเป็น "หินโสโครก" แต่ชาวบ้านในพื้นที่มองว่าเกาะแก่งต่างๆ คือความซับซ้อนทางภูมิศาสตร์ และเป็นแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติที่สำคัญ เป็นทั้งแหล่งหาปลาและพื้นที่วางไข่ของนกสายพันธุ์ต่างๆ ขณะที่การปรับปรุงร่องน้ำอาจส่งผลให้กระแสน้ำในแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลงจนกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งจะส่งผลเรื่องเขตแดนระหว่างไทย-ลาวด้วย
"คนในพื้นที่อยากให้รัฐบาลทบทวนมติ ครม.วันที่ 27 ธันวาคม และขอให้ตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสียก่อนว่ามีความสมเหตุสมผลที่จะดำเนินการหรือไม่ เพราะรัฐธรรมนูญปี 2540 ระบุว่าเรื่องที่จะส่งผลกระทบใหญ่ๆ หรือส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลง ของประเทศในด้านความมั่นคงจะต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภา ไม่ใช่แค่กลุ่มคนกลุ่มเดียว"
เหตุที่ต้องอ้างอิง รธน ปี 2540 ที่ถูกฉีกทิ้งไปในการรัฐประหารเมื่อ 2549 เพราะ รธน.2557 กับฉบับที่ผ่านประชามติไม่มีการระบุถึงสิทธิในการจัดการทรัพยากรของชุมชน จึงพยายามเรียกร้องให้กลับไปยึดตาม รธน. 2540
Image copyright Wasawat Lukharang/BBC Thai

คำบรรยายภาพ เครือข่ายศิลปินวาดรูปเกาะแก่งในแม่น้ำโขงเพื่อนำไปร่วมแสดงในกิจกรรมคัดค้านมติ ครม.เพื่อสำรวจร่องแม่น้ำโขง ซึ่งจัดขึ้นที่ อ.เชียงของเมื่อวันที่ 5 ก.พ.ที่ผ่านมา

"ขยายการลงทุน - สิทธิสภาพนอกอาณาเขต?"

กลุ่มนักวิชาการภาคเหนือเป็นอีกหนึ่งเครือข่ายที่สะท้อนมุมมองต่อแผนพัฒนาการเดินเรือระหว่างประเทศ โดย ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ แห่ง ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (RCSD) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุว่า การระเบิดแก่งไม่ใช่กระทบแค่ไทย แต่กระทบถึงลาว กัมพูชา พม่า เวียดนาม เพราะทรัพยากรในแม่น้ำโขงเป็นทรัพยากรส่วนรวม หรือ common space ซึ่งประชากรในลุ่มน้ำโขงมีสิทธิในการเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมใช้ตั้งแต่ก่อนที่จะมีประเทศหรือการสถาปนารัฐชาติ และประชากรในกัมพูชาและเวียดนามอาศัยปลาแม่น้ำโขงเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ
นอกจากนี้ ดร.ชยันต์ ได้ยกตัวอย่างกรณีภาคเอกชนของจีนขยายการลงทุนมายังประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีทั้งการปลูกยางพารา เปิดคาสิโน ลงทุนเพื่อพัฒนาการขนส่ง เช่าสัมปทานที่ดินในการปลูกผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งเขาเรียกว่า "การขยายอิทธิพลของจีน" พร้อมยกตัวอย่างการเช่าที่ดินระยะยาว 99 ปีในลาว ที่ทำให้จีนได้อธิปไตยเหนือ ดินแดนดังกล่าว เป็นระยะเวลานาน เทียบได้กับสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในยุคอาณานิคม
"ประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องการใช้แม่น้ำโขง ถ้าคนไทยไม่ได้สะท้อนความเห็น ก็ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นการพัฒนาแบบครอบคลุม เพราะถ้าเลือกพัฒนาแต่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ประชาชนจะอยู่ได้อย่างไร"
Image copyright Wasawat Lukharang/BBC Thai

คำบรรยายภาพ กลุ่มนักวิชาการร่วมเสวนาเรื่อง "ทรัพยากรกับความมั่นคงของชุมชนท้องถิ่นและประเทศลุ่มน้ำโขง" ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 3 ก.พ.
ขณะที่ ผศ.ดร.รณิดา ปิงเมือง สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย ผู้เคยทำวิจัยและสำรวจความคิดเห็นประชาชน ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เมื่อปี 2546 กล่าวกับบีบีซีไทยว่า ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ 3 อำเภอ จ.เชียงราย ได้แก่ อ.เวียงแก่น อ.เชียงของ และ อ.เชียงแสน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายในการสำรวจความเห็นในครั้งนั้น ไม่เห็นด้วยกับโครงการปรับปรุงร่องแม่น้ำโขงและแผนพัฒนาการเดินเรือฯ
"ผลสรุปของรัฐบาลยุคนั้น ระบุว่าถ้ามีการระเบิดเกาะแก่งเพื่อปรับปรุงแม่น้ำโขงบริเวณไทย-ลาวจะทำให้เกิดผลกระทบต่อเรื่องเขตแดน ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ทางด้านความมั่นคง ทำให้โครงการดังกล่าวถูกชะลอไป และตอนนั้นมีหน่วยงานเอกชนจีนที่เป็นผู้ศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) เอาไว้แล้ว แต่เป็นการศึกษาที่ค่อนข้างรวบรัด ไม่ครบ 1 ปี ถ้าหากรัฐบาลชุดนี้จะพิจารณาโครงการใหม่ก็ควรต้องศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอีกครั้งหนึ่งให้รอบด้านกว่าเดิม"
Image copyright Wasawat Lukharang/BBC Thai

คำบรรยายภาพ ดอนทรายในแม่น้ำโขงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเกาะแก่งคอนผีหลง เป็นแหล่งหาปลาและที่วางไข่ของนกหลายชนิด

"ปรับปรุงร่องแม่น้ำโขง-ใครได้ประโยชน์?"

แม้จะเผชิญกับเสียงคัดค้านจากประชาชนส่วนหนึ่งในพื้นที่ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ากระทรวงคมนาคมของไทยได้ร่วมลงนามกับรัฐบาลลาว เมียนมา และจีน ยอมรับความตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำล้านช้าง-แม่โขงไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 20 เม.ย.2543 โดยมีวัตถุประสงค์ให้การเดินเรือในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง "เป็นไปโดยเสรี สะดวก ปลอดภัยและมีระเบียบ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการค้าขายระหว่างกัน" ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลที่รัฐบาลชุดปัจจุบันนำมาสนับสนุนการสำรวจร่องน้ำและแผนพัฒนาการเดินเรือในแม่น้ำโขงครั้งใหม่
นายวิรุณ คำภิโล ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน) เปิดเผยกับบีบีซีไทยว่า ที่ผ่านมาผู้ประกอบธุรกิจการค้าบริเวณชายแดนไทย-จีน "มีความคืบหน้าอย่างมาก" ในแง่ของความร่วมมือด้านต่างๆ รวมถึงการเดินเรือท่องเที่ยวและการขนส่งสินค้าระหว่างไทยและจีน แต่หากพูดถึงการแข่งขันทางการค้า พบว่ายังมีฝ่ายได้เปรียบและเสียเปรียบที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
Image copyright Wasawat Lukharang/BBC Thai

คำบรรยายภาพ ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน 2 จ.เชียงราย เปิดทำการเมื่อปี 2555 เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การท่องเที่ยว การค้าและการลงทุน แต่บรรยากาศท่าเรือในหลังช่วงตรุษจีนที่ผ่านมา เป็นไปอย่างเงียบเหงา
ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 กล่าวว่า เวลาที่จีนต้องการล่องเรือบรรทุกสินค้าเข้ามายังฝั่งไทยหรือลาว จะมีการปล่อยน้ำจากเขื่อนในจีน ซึ่งสร้างในแม่น้ำโขงตอนบน แม้บางครั้งจะมีการประสานงานกับหน่วยงานราชการไทย เพื่อให้แจ้งต่อประชาชนและภาคส่วนอื่นๆ ในพื้นที่ แต่หลายครั้งก็ไม่มีการแจ้งเตือน และหากเรือไทยจะขึ้นไปให้ถึงจีนจะต้องขอให้มีการปล่อยน้ำจากเขื่อนจีนจึงจะไปได้
"ถ้ามีการประสานงานตามเวลาที่กำหนดให้ชัดเจน มีการระบุตารางเวลาที่จะปล่อยน้ำหรือกั้นน้ำในเขื่อนจีน ก็จะช่วยเรื่องธุรกิจการค้าระหว่างประเทศได้มากขึ้น ไม่ใช่เรือจะมาถึงเชียงแสน แล้วค่อยแจ้ง"
เมื่อบีบีซีไทยสอบถามว่าหากมีความจำเป็นต้องระเบิดเกาะแก่งในแม่น้ำโขงเพื่อปรับปรุงร่องน้ำให้เรือขนาดใหญ่หนัก 500 ตันแล่นผ่านแม่น้ำโขงตามความตกลงระหว่างรัฐบาลเมื่อปี 2543 จะส่งผลดีหรือผลเสียต่อธุรกิจการค้าชายแดน นายวิรุณระบุว่า การระเบิดเกาะแก่งจะส่งผลกระทบต่อทั้งไทยและลาว เพราะอาจทำให้ทั้งสองฝ่ายต้องสูญเสียชายฝั่งและมีปัญหาเรื่องความงามของเกาะแก่งที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ

"ที่ผ่านมามีการนำนักท่องเที่ยวล่องเรือชมเกาะแก่งแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นการใช้เรือขนาดเล็กที่เหมาะสมกับสภาพภูมิศาสตร์ ไม่ได้ใช้เรือขนาดใหญ่ที่ไม่เหมาะกับพื้นที่ คนเชียงรายส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยสบายใจที่จะมีการพิจารณาแผนระเบิดเกาะแก่งในแม่น้ำโขง เพราะมีผลกระทบ การที่ภาคเอกชนหรือภาคประชาสังคมออกมาเคลื่อนไหวในเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องเข้าใจได้"

ข้อมูลจาก : BBC
edit : suriya mardeegun

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สกุลเงินอาเซียน 10 ประเทศ

สกุลเงินอาเซียน 10 ประเทศ

สกุลเงินอาเซียน และสกุลเงินสมาชิกอาเซียน



          ในปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทย และเพื่อนสมาชิกอีก 9 ประเทศในกลุ่มอาเซียนจะถือเป็นตลาดเดียวกันเช่นเดียวสหภาพยุโรป เนื่องจากเกิดการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ดังนั้น เราในฐานะประชาชนคนหนึ่งของประคมอาเซียนจึงจำเป็นต้องรู้เรื่องต่าง ๆ ในประเทศสมาชิก ซึ่ง สกุลเงิน ที่ใช้เป็นอีกเรื่องที่เราจำเป็นต้องรู้ 

          สำหรับสกุลเงินที่ใช้กันในหมู่ของประเทศสมาชิกอาเซียน ทางประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ยังไม่มีแนวคิดที่จะใช้เงินสกุลเดียวกันเหมือนกับประชาคมยุโรป เนื่องจากหวั่นเกรงว่าจะประสบปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะและเศรษฐกิจยุโรปที่ เกิดขึ้นในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่กรีซและสเปน ซึ่งกำลังเป็นที่จับตามองไปทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ โดยปัญหาที่เกิดขึ้นมีต้นตอมาจากการใช้สกุลเงินร่วมกัน (สกุลเงินยูโร) นั่นเอง

 ส่วนประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศ ใช้สกุลเงินดังนี้



1. บรูไน ดารุสซาลาม

ใช้สกุลเงิน ดอลลาร์บรูไน
อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์บรูไน = 25.10 บาท
ธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบัน = 1 ดอลลาร์บรูไน, 5 ดอลลาร์บรูไน, 10 ดอลลาร์บรูไน, 20 ดอลลาร์บรูไน, 25 ดอลลาร์บรูไน, 50 ดอลลาร์บรูไน, 100 ดอลลาร์บรูไน, 500 ดอลลาร์บรูไน, 1,000 ดอลลาร์บรูไน และ 10,000 ดอลลาร์บรูไน




2. ราชอาณาจักรกัมพูชา

ใช้สกุลเงิน เรียล
อัตราแลกเปลี่ยน 150 เรียล = 1 บาท
ธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบัน = 50 เรียล, 100 เรียล, 500 เรียล, 1,000 เรียล, 2,000 เรียล, 5,000 เรียล, 10,000 เรียล, 20,000 เรียล, 50,000 เรียล และ 100,000 เรียล



3. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
ใช้สกุลเงิน รูเปียห์
อัตราแลกเปลี่ยน 1,000 รูเปียห์ = 3.95 บาท
ธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบัน = 1,000 รูเปียห์, 2,000 รูเปียห์, 5,000 รูเปียห์, 10,000 รูเปียห์, 20,000 รูเปียห์, 50,000 รูเปียห์ และ 100,000 รูเปียห์



4. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ใช้สกุลเงิน กีบ
อัตราแลกเปลี่ยน 1,000 กีบ = 4.05 บาท
ธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบัน = 500 กีบ, 1,000 กีบ, 2,000 กีบ, 5,000 กีบ, 10,000 กีบ, 20,000 กีบ และ 50,000 กีบ




5. มาเลเซีย

ใช้สกุลเงิน ริงกิต
อัตราแลกเปลี่ยน 1 ริงกิตมาเลเซีย = 10.40 บาท
ธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบัน = 1 ริงกิต, 5 ริงกิต, 10 ริงกิต, 20 ริงกิต, 50 ริงกิต และ 100 ริงกิต




6. สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า


ใช้สกุลเงิน จ๊าด
อัตราแลกเปลี่ยน 1 จ๊าด = 5 บาทไทย
ธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบัน = 1 จ๊าด, 5 จ๊าด, 10 จ๊าด, 20 จ๊าด, 50 จ๊าด, 100 จ๊าด, 200 จ๊าด, 500 จ๊าด, 1,000 จ๊าด, 5,000 จ๊าด และ 10,000 จ๊าด




7. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

ใช้สกุลเงิน เปโซ
อัตราแลกเปลี่ยน 1.40 เปโซ = 0.78 บาท
ธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบัน = 20 เปโซ, 50 เปโซ, 100 เปโซ, 200 เปโซ, 500 เปโซ และ 1,000 เปโซ




8. สาธารณรัฐสิงคโปร์

ใช้สกุลเงิน ดอลลาร์สิงคโปร์
อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ = 24.40 บาท
ธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบัน = 2 ดอลลาร์สิงคโปร์, 5 ดอลลาร์สิงคโปร์, 10 ดอลลาร์สิงคโปร์, 50 ดอลลาร์สิงคโปร์, 100 ดอลลาร์สิงคโปร์, 1,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ และ 10,000 ดอลลาร์สิงคโปร์




9. ราชอาณาจักรไทย

ใช้สกุลเงิน บาท
ธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบัน = 20 บาท, 50 บาท, 100 บาท, 500 บาท และ 1,000 บาท




10. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

ใช้สกุลเงิน ด่ง
อัตราแลกเปลี่ยน 900 ด่ง = 1.64 บาทไทย
ธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบัน = 100 ด่ง, 200 ด่ง, 500 ด่ง, 1,000 ด่ง, 2,000 ด่ง, 5,000 ด่ง, 10,000 ด่ง, 20,000 ด่ง, 50,000 ด่ง, 100,000 ด่ง, 200,000 ด่ง และ 500,000 ด่ง

          หมายเหตุ : ข้อมูล ณ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 โดยอัตราแลกเปลี่ยนข้างต้นเป็นประมาณการซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
dtn.go.th