8 ผลกระทบการระเบิดเกาะแก่ง "แม่น้ำโขง"
ชำแหละ 8 ผลกระทบการระเบิดแก่งแม่น้ำโขง
หรือเราจำเป็นต้องไขว่คว้าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของคนส่วนใหญ่ตรงหน้า แล้วพราก 'ลมหายใจลุ่มน้ำโขง' ที่อุดมไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพลำดับต้นๆ ของโลก ที่มีทั้งพืชพรรณ สิ่งมีชีวิต ทั้งสัตว์ใต้น้ำ สัตว์บนบก นกนานา และวิถีชีวิตสิทธิมนุษยชนของชุมชนสองฝั่งโขง กว่า 60 ล้านคน
เนิ่นนานมาแล้วมนุษย์เราหยิบยืมพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติมาใช้งาน ดูแลบ้าง ปล่อยปละละเลยบ้าง ศักราช 2560 นี้ถึงวาระของ "แม่น้ำโขง" ตกเป็นเป้าของวาทกรรมกระบวนการหลับหูหลับตาพัฒนาเศรษฐกิจ ปฏิบัติการเสียสละ (คน) ส่วนน้อยและความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ เพื่อส่วนร่วม (?) อาจฟังเป็นเรื่องไกลตัวของคนนอกลุ่มน้ำโขง แต่อย่างหลงลืมว่ากระแสน้ำนอกจากจะซัดคลื่นออกจากฝั่งแล้ว ยังซัดกลับเข้ามาหาชายฝั่งเช่นกัน ผลกระทบจากการกลืนกินธรรมชาติก็ไม่ต่างกันนักทั้งที่ปัจจุบันมีถนนเชื่อมสู่จีนอยู่แล้ว แต่จีนเลือกที่จะนำเรือใหญ่ล่องมาเรือจากท่าเรือซือเหมาของจีน ผ่านจังหวัดเชียงรายไปหลวงพระบาง ประเทศลาว เพราะเสียต้นทุนน้อยที่สุด ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจครั้งนี้ จะนำมาซึ่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและวิถีชีวิตชุมชนลุ่มน้ำโขงอย่างไรบ้าง
ภายหลังการก่อสร้างเขื่อนของจีนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ทำให้ประเทศไทยบริเวณน้ำโขงได้รับผลกระทบจากการระบายและกักน้ำ ระดับน้ำผันผวนไม่เป็นไปตามฤดูกาล ที่ระบบนิเวศยังไม่ล่มสลายลงเพราะมีเกาะแก่งคอยช่วยเหลือ แต่เมื่อเกาะแก่งแม่น้ำโขงตั้งขัดขวางการเดินเรือเชิงพาณิชย์ระหว่างประเทศ จึงกลายเป็นสาเหตุและที่มาโครงการปรับปรุงร่องน้ำโดยใช้วิธีการระเบิดกาะแก่งแม่น้ำโขงนั่นเอง โดยเฉพาะ ‘แก่งคอนผีหลง’ กลุ่มหินผาบริเวณตำบลริมโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จะได้รับผลกระทบโดยตรง หากจะปรับปรุงร่องน้ำเป็นเส้นทางเดินเรือตามโครงการต้องทำการระเบิดแก่งคอนผีหลงทิ้ง ซึ่งบริเวณนี้มีระบบนิเวศหลากหลายนับ 10 ระบบ ทั้ง ผา หาดหิน หาดทราย ห้วย ร้อง หลง หนอง แจ๋ม ดอน ริมฝั่ง และคก ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ และยังเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีสำคัญ
การทำลายแก่งคอนผีหลงยังมิใช่จุดจบของวัฏจักรนี้ เพราะระบบนิเวศภายในบริเวณแก่งคอนผีหลง ได้ถูกใช้ประโยชน์เป็นแหล่งอาศัย หากิน ผสมพันธุ์ และเจริญเติบโตของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกว่า 430 ชนิดพันธุ์ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกกว่า 800 ชนิดพันธุ์ นกกว่า 1,200 ชนิดพันธุ์ ปลากว่า 1,100 ชนิดพันธุ์ และมีการค้นพบสายพันธุ์ใหม่ๆ ทุกปีที่มีความสำคัญต่อการอนุรักษ์
การระเบิดแก่งขุดลอดแม่น้ำโขงระหว่างซือเหมาของจีนมายังหลวงพระบาง อาจสร้างความวิบัติต่อ คอนพะเพ็ง มรดกโลกทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่สุดในเขตแม่น้ำโขงตอนล่าง ตั้งอยู่บนแก่งหินขนาดใหญ่ ความสวยงาม ดุดัน เกรี้ยวกราด และยิ่งใหญ่ของสายน้ำสมคำล่ำรือว่าเป็น ไนแองการ่าแห่งเอเชีย คงจะถูกกลืนกินด้วยการระเบิดแก่งแม่น้ำโขงครั้งนี้เป็นแน่แท้
4. ขาด ‘ตัวช่วย’ ชะลอน้ำเนื่องจากการระเบิดแก่งแม่น้ำโขงจะทำให้กระแสน้ำไหลแรงและรวดเร็วมากขึ้น เกาะแก่งที่เคยอำนวยประโยชน์ในการชะลอ ซับแรงปะทะของกระแสน้ำที่ไหลหลากของแม่น้้ำโขง ทำให้ (1) แม่น้ำกว้างขึ้น (2) พัดพาตะกอนไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้น้ำขุ่น (3) พืชเฉพาะถิ่นไม่สามารถเจริญเติบโตได้ อีกทั้งยังส่งผลให้ (4) ร่องน้ำเปลี่ยน นำไปสู่ความเสี่ยงในการสูญเสียดินแดน (อ่านต่อข้อ 8)
การขนส่งและการเดินเรือขนาดใหญ่ (500 ตัน) ยิ่งทวีความรุนแรงของกระแสน้ำโขง ทำลายพืชพรรณ ทั้งบนแก่ง ริมฝั่ง และหาดแม่น้ำโขง ทั้ง 65 ชนิด ซึ่งมีความสำคัญ อาทิ ไคร้นาค ที่เป็นอาหารของปลากินพืช และ ไก สาหร่ายน้ำจืดเฉพาะถิ่นที่มีอยู่บริเวณช่วงเชียงแสนถึงหลวงพระบาง การดำรงวิถีชีวิตของชุมชนริมสองฝั่งแม่น้ำโขงเป็นไปด้วยความเรียบง่าย พึ่งพาตนเองหากินและสร้างรายได้ด้วยการเก็บพืชผักขาย โดยเฉพาะไกที่สามารถสร้างรายได้จุนเจือครอบครัวนั่นเอง
6. ตลิ่งพังทลาย
จากการขาดตัวช่วยการชะลอน้ำ นำมาซึ่งผลพวงต่างๆ นาๆ ในหัวข้อนี้หยิบยกเรื่องการพังทลายของตลิ่งริมฝั่งแม่น้ำโขง ความต่อเนื่องของความเสียหายนี้เอง ทำให้ชาวบ้านสองริมฝั่งโขงทั้งประเทศไทยและลาว บ้านริมฝั่งแม่น้ำโขง พืชสวน ไร่นา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตได้รับความเดือดร้อน
ดร.ชวลิต วิทยานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพรรณปลาของประเทศไทย และกรรมการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร
ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม และกรรมการมูลนิธิสืบนาคะเสถียรเพียรพร ดีเทศน์ ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์ประเทศไทย ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์ประเทศไทย องค์การแม่น้ำนานาชาติ (International Rivers)
เนิ่นนานมาแล้วมนุษย์เราหยิบยืมพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติมาใช้งาน ดูแลบ้าง ปล่อยปละละเลยบ้าง ศักราช 2560 นี้ถึงวาระของ "แม่น้ำโขง" ตกเป็นเป้าของวาทกรรมกระบวนการหลับหูหลับตาพัฒนาเศรษฐกิจ ปฏิบัติการเสียสละ (คน) ส่วนน้อยและความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ เพื่อส่วนร่วม (?) อาจฟังเป็นเรื่องไกลตัวของคนนอกลุ่มน้ำโขง แต่อย่างหลงลืมว่ากระแสน้ำนอกจากจะซัดคลื่นออกจากฝั่งแล้ว ยังซัดกลับเข้ามาหาชายฝั่งเช่นกัน ผลกระทบจากการกลืนกินธรรมชาติก็ไม่ต่างกันนัก
......
ทั้งที่ปัจจุบันมีถนนเชื่อมสู่จีนอยู่แล้ว แต่จีนเลือกที่จะนำเรือใหญ่ล่องมาเรือจากท่าเรือซือเหมาของจีน ผ่านจังหวัดเชียงรายไปหลวงพระบาง ประเทศลาว เพราะเสียต้นทุนน้อยที่สุด ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจครั้งนี้ จะนำมาซึ่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและวิถีชีวิตชุมชนลุ่มน้ำโขงอย่างไรบ้าง
.
.
แก่งคอนผีหลงอุดมไปด้วยระบบนิเวศที่หลากหลาย
..
1. ระบบนิเวศพังพินาศ
ภายหลังการก่อสร้างเขื่อนของจีนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ทำให้ประเทศไทยบริเวณน้ำโขงได้รับผลกระทบจากการระบายและกักน้ำ ระดับน้ำผันผวนไม่เป็นไปตามฤดูกาล ที่ระบบนิเวศยังไม่ล่มสลายลงเพราะมีเกาะแก่งคอยช่วยเหลือ แต่เมื่อเกาะแก่งแม่น้ำโขงตั้งขัดขวางการเดินเรือเชิงพาณิชย์ระหว่างประเทศ จึงกลายเป็นสาเหตุและที่มาโครงการปรับปรุงร่องน้ำโดยใช้วิธีการระเบิดเกาะแก่งแม่น้ำโขงนั่นเอง โดยเฉพาะ‘แก่งคอนผีหลง’ กลุ่มหินผาบริเวณตำบลริมโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จะได้รับผลกระทบโดยตรง หากจะปรับปรุงร่องน้ำเป็นเส้นทางเดินเรือตามโครงการต้องทำการระเบิดแก่งคอนผีหลงทิ้ง ซึ่งบริเวณนี้มีระบบนิเวศหลากหลายนับ 10 ระบบ ทั้ง ผา หาดหิน หาดทราย ห้วย ร้อง หลง หนอง แจ๋ม ดอน ริมฝั่ง และคก ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ และยังเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีสำคัญ
.
.
นกหัวโตเล็กขาเหลือง นกอพยพมาทำรัง และวางไข่ที่ลุ่มน้ำโขง
.
2. ทำลายบ้านของสัตว์นานาชนิด
การทำลายแก่งคอนผีหลงยังมิใช่จุดจบของวัฏจักรนี้ เพราะระบบนิเวศภายในบริเวณแก่งคอนผีหลง ได้ถูกใช้ประโยชน์เป็นแหล่งอาศัย หากิน ผสมพันธุ์ และเจริญเติบโตของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกว่า 430 ชนิดพันธุ์ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกกว่า 800 ชนิดพันธุ์ นกกว่า 1,200 ชนิดพันธุ์ ปลากว่า 1,100 ชนิดพันธุ์ และมีการค้นพบสายพันธุ์ใหม่ๆ ทุกปีที่มีความสำคัญต่อการอนุรักษ์
..
.
คอนพะเพ็ง มรดกโลกทางธรรมชาติ สปป.ลาว
.
3. วิกฤตคอนพะเพ็ง
การระเบิดแก่งขุดลอดแม่น้ำโขงระหว่างซือเหมาของจีนมายังหลวงพระบาง อาจสร้างความวิบัติต่อ 'คอนพะเพ็ง' มรดกโลกทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่สุดในเขตแม่น้ำโขงตอนล่าง ตั้งอยู่บนแก่งหินขนาดใหญ่ ความสวยงาม ดุดัน เกรี้ยวกราด และยิ่งใหญ่ของสายน้ำสมคำล่ำรือว่าเป็น ไนแองการ่าแห่งเอเชีย คงจะถูกกลืนกินด้วยการระเบิดแก่งแม่น้ำโขงครั้งนี้เป็นแน่แท้
.
.
เกาะแก่งที่กำลังจะถูกระเบิดตามโครงการ เป็นสิ่งที่ช่วยชะลอความรุนแรงของสายน้ำ
.
4. ขาด ‘ตัวช่วย’ ชะลอน้ำ
เนื่องจากการระเบิดแก่งแม่น้ำโขงจะทำให้กระแสน้ำไหลแรงและรวดเร็วมากขึ้น เกาะแก่งที่เคยอำนวยประโยชน์ในการชะลอ ซับแรงปะทะของกระแสน้ำที่ไหลหลากของแม่น้้ำโขง ทำให้ (1) แม่น้ำกว้างขึ้น (2) พัดพาตะกอนไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้น้ำขุ่น (3) พืชเฉพาะถิ่นไม่สามารถเจริญเติบโตได้ อีกทั้งยังส่งผลให้ (4) ร่องน้ำเปลี่ยน นำไปสู่ความเสี่ยงในการสูญเสียดินแดน (อ่านต่อข้อ 8)
.
.
ชาวบ้านริมฝั่งโขงเก็บสาหร่ายน้ำจืด หรือ ไก เพื่อนำมาประกอบอาหารและหารายได้
.
5. ทำลายพืชพรรณ
การขนส่งและการเดินเรือขนาดใหญ่ (500 ตัน) ยิ่งทวีความรุนแรงของกระแสน้ำโขง ทำลายพืชพรรณ ทั้งบนแก่ง ริมฝั่ง และหาดแม่น้ำโขง ทั้ง 65 ชนิด ซึ่งมีความสำคัญ อาทิ ไคร้นาค ที่เป็นอาหารของปลากินพืช และ ไก สาหร่ายน้ำจืดเฉพาะถิ่นที่มีอยู่บริเวณช่วงเชียงแสนถึงหลวงพระบาง การดำรงวิถีชีวิตของชุมชนริมสองฝั่งแม่น้ำโขงเป็นไปด้วยความเรียบง่าย พึ่งพาตนเองหากินและสร้างรายได้ด้วยการเก็บพืชผักขาย โดยเฉพาะไกที่สามารถสร้างรายได้จุนเจือครอบครัวนั่นเอง
.
.
ตลิ่งที่เชียงคานพังเป็นแนวยาวตลอดฝั่งโขง
.
6. ตลิ่งพังทลาย
จากการขาดตัวช่วยการชะลอน้ำ นำมาซึ่งผลพวงต่างๆ นาๆ ในหัวข้อนี้หยิบยกเรื่องการพังทลายของตลิ่งริมฝั่งแม่น้ำโขง ความต่อเนื่องของความเสียหายนี้เอง ทำให้ชาวบ้านสองริมฝั่งโขงทั้งประเทศไทยและลาว บ้านริมฝั่งแม่น้ำโขง พืชสวน ไร่นา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตได้รับความเดือดร้อน
....
....
เรามิอาจแยกมนุษย์ออกจาก ‘ธรรมชาติ’ ได้ เพราะเราเองก็เป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งของมัน จึงไม่อาจปฏิเสธผลกระทบจากการมหกรรมการรุมฉีกทึ้งกัดกินทรัพยากรธรรมชาติเพื่อผลประโยชน์ของคนบางกลุ่มครั้งนี้ได้ แล้วคนที่ได้รับผลกระทบจากการระเบิดแก่งแม่น้ำโขงก็มีนับล้านชีวิตที่ต้องเผชิญหน้าดิ้นรนกับความโหดร้าย ไม่ต่างอะไรกับการทรมานบีบบังคับให้สัตว์และมนุษย์ที่อาศัยพึ่งพาสายน้ำแห่งชีวิตนี้ ให้ดิ้นรนและตรอมใจตายลงอย่างช้าๆ
.
..
ชาวบ้านผู้ทำประมงแม่น้ำโขงถูกริดรอนสิทธิ
.
7. ชาวบ้านขาดอาหาร และรายได้
ไม่นับความเสี่ยงเบื้องต้นที่ได้กล่าวไปแล้ว ผลพวงจากการทำลายระบบนิเวศที่สำคัญนี้เป็นสายป่านแห่งความพังพินาศที่ทอดยาวมาสู่วิถีชีวิต ปากท้อง และรายได้ของชาวบ้านริมสองฝั่งแม่น้ำโขงของทั้งคนไทยและลาวในด้านการประกอบอาชีพประมง เนื่องจากโครงการดังกล่าวมีข้อกำหนด ห้ามมิให้ประชาชนทั่วไปทำการที่กีดขวางการเดินเรือพาณิชย์ อาทิ ห้ามวางอวนจับปลาในแม่น้ำโขง ทำให้ชาวบ้านที่ดำรงชีพด้วยการหาปลาประสบปัญหา วิถีชีวิตของชาวบ้านที่พึ่งพาตนเองด้วยการหาอาหารเก็บเกี่ยวหาปลา หาพืชจากแม่น้ำ และปลูกกินริมฝั่งโขง ต้องผิดเพี้ยนไป ใครเล่ารับผิดชอบชีวิตนับล้าน?
.
.
..
8. แบกรับความเสี่ยงในการสูญเสียดินแดนบริเวณหัวขวาน
เนื่องจากสนธิสัญญาฝรั่งเศสใช้ร่องน้ำลึกเป็นตัวชี้วัด เขตแดน ไทย-ลาว หากดำเนินการระเบิดแก่งแม่น้ำโขงตามโครงการเพื่อปรับปรุงร่องน้ำ การระเบิดแก่งจะส่งผลให้ร่องน้ำเปลี่ยน เกาะแก่งบริเวณพรมแดนหายไป เขตแดนจะเปลี่ยนทันที ทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียดินแดนเป็นบริเวณกว้าง การอนุมัติโครงการดังกล่าวถือเป็นการเปิดโอกาสให้ประเทศเพื่อนบ้านสามารถละเมิดอธิปไตยของไทย ซึ่งจะนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
.
.
วาทะกรรม “การพัฒนา” ครั้งนี้จะนำไปสู่ผลกระทบที่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ โดยการจ่ายค่าตอบแทนด้วยความเสียหายทางธรรมชาติและสิทธิมนุษยชนตลอดสองฝั่งโขงกระนั้นหรือ ประเทศไทยจะได้อะไรจากการพัฒนาที่ไม่ต่างจากการฆ่าสิ่งแวดล้อมบริเวณสายน้ำแห่งชีวิตให้ตายทั้งเป็น ชวนทิ้งทางด้วยคำถามง่ายๆ ว่าเราสังเวยบรรณาการเหล่านี้เพื่อความสะดวกสบายนี้แด่ใคร?
.
.
หากท่านสนใจสนับสนุนการยุติโครงการด้วยการลงชื่อเพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไทย ทรัพยากรธรรมชาติ และวิถีชีวิตเพื่อนมนุษย์ทั้งริมสองฝั่งแม่น้ำโขงได้ที่ https://goo.gl/3K6ilG
.
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ขอเชิญสื่อมวลชนและผู้สนใจ เข้าร่วมเวทีเสวนา หัวข้อ เวทีวิพากษ์โครงการระเบิดเกาะแก่งแม่น้ำโขง วันอังคาร ที่ 17 มกราคม พ.ศ.2560 เวลา 9.30 – 12.15 น. ณ สำนักงานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร
...
.
เรียบเรียงบทความโดย พัชริดา พงษปภัสร์ เจ้าหน้าที่สื่อสารองค์กร มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
.
ขอขอบคุณ
ดร.ชวลิต วิทยานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพรรณปลาของประเทศไทย และกรรมการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร
ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม และกรรมการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร
เพียรพร ดีเทศน์ ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์ประเทศไทย ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์ประเทศไทย องค์การแม่น้ำนานาชาติ (International Rivers)
.
Source : https://goo.gl/xJvzBV, https://goo.gl/KO8WDc , https://goo.gl/U142qm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น