มองกรณีพิพาทอินโดจีนในมิติใหม่
กรณีพิพาทอินโดจีน หรือ สงครามอินโดจีน เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่าง 28 พฤศจิกายน 2483 - 9 พฤษภาคม 2484 โดยทั่วไปเข้าใจกันว่า รัฐบาลของพลตรีหลวงพิบูลสงคราม (ยศในขณะนั้น) ต้องการฉวยโอกาส "ยึดดินแดนเดิม" ขณะที่ฝรั่งเศสเพลี่ยงพล้ำในระหว่างที่ถูกนาซีเยอรมันยึดประเทศ และมักสรุปกันว่า "ไทยเป็นฝ่ายชนะ" หลังจากผมค้นข้อมูลเก่าๆ จากหลายๆ ด้านพบว่า อาจจะไม่ใช่อย่างนั้นเสมอไป แน่นอนว่า คนไทยจำนวนหนึ่งต้องการทวงศักดิ์ศรีที่ถูกฝรั่งเศสเหยีบย่ำไป แต่จริงๆ แล้ว หลวงพิบูลมีเจตนาที่แยบยลกว่าในการเปิดศึกกับฝรั่งเศสครั้งนั้น
จริงๆ แล้วสถานการณ์ในขณะนั้นไม่ใช่ว่าฝรั่งเศสอ่อนแอเพราะนาซี เพราะตอนนั้นฝรั่งเศสเป็นพันธมิตรกับนาซีไปแล้ว ในนามรัฐบาลวิชี (Régime de Vichy) แถมรัฐบาลอินโดจีนยังร่วมมือกับญี่ปุ่น ให้เข้ามาตั้งฐานทัพได้ชั่วคราว เพื่อบุกเข้าหยุนหนาน และกว่างซีของจีน แต่แล้วญี่ปุ่นฉวยโอกาสเข้าปักหลักในอินโดจีนทั้งกองพล และตั้งฐานในพื้นที่ต่างๆ ของเวียดนาม กัมพูชา และลาวอย่างรวดเร็ว
ภาพแผนที่อินโดจีนของฝรั่งเศสระหว่างปี 1900-1945 ประกอบด้วยกัมพูชา ลาว ตังเกี๋ย อันนัม และโคชินจีน ที่มาของภาพ
ขณะนั้นไทยมีสถานะเป็นกลาง ชาติพันธมิตรก็ปรารถนาให้ไทยเป็นกลางอยู่อย่างนั้นเพื่อเป็นกันชนต้านญี่ปุ่น อีกทั้งสหรัฐฯ และอังกฤษก็ให้คำมั่นสัญญาว่าจะช่วยไทยในสถานการณ์ที่คับขัน จริงๆ แล้วเป็นเพียงสัญญาที่เลื่อนลอยจนน่าแค้นใจ
มีบันทึกว่า ทูตฝรั่งเศสในกรุงเทพฯ เห็นดีเห็นงามกับการที่หลวงพิบูลส่งกำลังไปยึดดินแดนบางส่วนของอินโดจีนฝรั่งเศส (Indochine française) เพราะ "คุยกันไม่รู้เรื่องแล้ว" ซึ่งเข้าใจว่าทูตคุยกับรัฐบาลวิชีไม่รู้เรื่องแล้ว เกี่ยวกับการช่วยไทยต้านญี่ปุ่น ที่น่าแปลกใจก็คือ ทูตทหารเยอรมันยังกระซิบบอกหลวงพิบูลว่า ญี่ปุ่นจะบุกไทยแน่นอนให้หาทางรับมือไว้
นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้หลวงพิบูล "รับลูก" ด้วยการส่งกำลังทหารยึดดินแดนบางส่วนในอินโดจีน
ถามว่า รับลูกใคร ก็ต้องกลับไปดูที่ปาฐกถาของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ในวันที่ท่านยืนข้างหลังหลวงพิบูลที่หน้ากระทรวงกลาโหม ท่านเล่าว่า "วันนั้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เดินขบวนไปหน้ากระทรวงกลาโหมวัดพระแก้ว ไปสนับสนุนรัฐบาลท่านจอมพล ป. พิบูลสงคราม ให้ยึดดินแดนอินโดจีนกลับมาปี 2483 เพราะรู้ว่าทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร ท่านรู้ดี เมื่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เดินขบวนไปอย่างนี้แล้ว ท่านจึงตัดสินใจที่จะรบเข้าไปในอินโดจีน รบกับฝรั่งเศส"
ภาพจอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ นายกองใหญ่แปลก พิบูลสงคราม ที่มาของภาพ
เรื่องนี้เหมือนหลวงพิบูลมีแผนการกับหลวงประดิษฐ์ แต่ผู้เขียนยังไม่ทราบว่าเส้นสนกลในเป็นเช่นไร เพียงแต่หลังสงครามแล้ว หลวงประดิษฐ์มีบทบาทช่วยเหลือขบวนการกู้ชาติในอินโดจีนอย่างมาก สรุปก็คือ หลวงพิบูลจ้องจะยึดดินแดนเดิม เพราะต้องการใช้ดินแดนเหล่านี้รับมือญี่ปุ่น
หลวงพิบูลเองก็แสดงเจตจำนงค์ไว้อย่างชัดเจนในโทรเลขที่ส่งไปถึงพันโทไชย ประทีปเสน ผู้แทนฝ่ายไทยในการเจรจากับฝรั่งเศสเรื่องเขตแดน ที่กรุงไซง่อน เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2484 ความว่า
"...ขอแต่เส้นเขตแดนให้เสร็จไปก็แล้วกัน เรื่องอื่นไม่สำคัญ ดินแดนที่เราได้มามีความมุ่งหมายในการใช้ป้องกันชาติในภายภาคหน้า ยิ่งกว่าจะได้ดินแดนมา..."
ภาพรถถังเบา สะเทินน้ำสะเทินบกวิกเกอร์ส ที่ใช้ในกองทัพไทยในเวลานั้น
ที่มาของภาพ
ถ้าจำไม่ผิด (ยังหาข้อมูลยืนยันไม่ได้) หลวงพิบูล เคยเปิดเผยกับนายสังข์ พัธโนทัย ว่า จริงแล้วต้องการขยับพรมแดนไทยฟากตะวันออกให้ประชิดแม่น้ำโขง เพื่อใช้แม่น้ำเป็นปราการธรรมชาติป้องกันญี่ปุ่น แม้ถึงที่สุดจะต้านทานไม่ได้แต่ก็ขอให้ต้านไว้นานที่สุด
ส่วนที่ต้องยึดพรมแดนของกัมพูชาผู้เขียนขอวิเคราะห์ว่า ก็เพราะชายแดนอรัญประเทศเปิดโล่ง ง่ายต่อการบุกในเวลาไม่กี่ชั่วโมงก็ถึงพระนครแล้ว ดังนั้นจึงต้องไปยึดเมืองหน้าด่านสำคัญในกัมพูชาก็คือ พระตะบอง และศรีโสภณ หากคุมเชิงไว้ที่ 2 เมืองนี้ก็ช่วยปิดทางเข้าที่อรัญประเทศ และจันทบูรณ์ไว้ได้ แน่ละถึงจะปิดไว้ไม่ได้นานก็ยังดีกว่าไม่ได้ตั้งรับอะไรเลย
ความหวังอีกอย่างของหลวงพิบูลก็คือ หากญี่ปุ่นจะบุกไทยจริงๆ ไทยจะต้านทานถึงที่สุด เมื่อประวิงเวลาที่อังกฤษให้ความช่วยเหลือ ดังที่ให้คำมั่นสัญญาไว้ แต่สุดท้ายความหวังของไทยพินาศไปกับตา เพราะ เชอร์ชิล ตอบโทรเลขมาอย่างคนไม่ให้ความหวังว่า
“There is possibility of imminent Japanese invasion of your country. If you are attacked defend yourself. We shall come to your aid to the utmost of our power and will safeguard independence of your country.”
แปลเป็นไทย คือ
“มีความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะถูกญี่ปุ่นรุกรานอย่างหนัก หากท่านถูกโจมตีให้ปกป้องตัวเอง เราจะช่วยท่าน และพิทักษ์อธิปไตยของท่านอย่างสุดความสามารถ”
ภาพเจ้าหน้าที่ทหารของอินโดจีนฝรั่งเศส ที่กรุงฮานอยยอมจำนนกับกองทัพญี่ปุ่น หลังการก่อรัฐประหารโดยฝ่ายญี่ปุ่นเพื่อโค่นรัฐบาลวิชีแห่งอินโดจีน เมื่อเดือนมีนาคม 1945
ที่มาของภาพ
สุดท้ายแล้วอังกฤษก็ไม่ได้ช่วยอะไร จนญี่ปุ่นบุกอย่างสายฟ้าแลบในที่สุด มีวีรชนไทยเสียสละชีวิตต้านทานญี่ปุ่นอย่างสุดความสามารถ กระทั่งหลวงพิบูลยอมให้ญี่ปุ่นผ่านไปได้ และถูกบีบให้ประกาศสงครามกับพันธมิตรไปโดยปริยาย
หลังจากนั้น ชาติใหญ่ๆ ก็รบกันอีรุงตุงนัง ปล่อยให้ไทยใช้อิทธิฤทธิ์ทางการทูตเอาชีวิตรอดเอง กระทั่งรอดพ้นจากการแพ้สงครามมาอย่างเส้นยาแดงผ่าแปด
แม้แต่จอมพลป. เองก็รอดจากข้อหาอาชญากรสงคราม เพราะฝ่ายเสรีไทยช่วยเล่นแร่แปรธาตุทางกฎหมายไว้ทันการณ์
จริงๆ แล้วสถานการณ์ในขณะนั้นไม่ใช่ว่าฝรั่งเศสอ่อนแอเพราะนาซี เพราะตอนนั้นฝรั่งเศสเป็นพันธมิตรกับนาซีไปแล้ว ในนามรัฐบาลวิชี (Régime de Vichy) แถมรัฐบาลอินโดจีนยังร่วมมือกับญี่ปุ่น ให้เข้ามาตั้งฐานทัพได้ชั่วคราว เพื่อบุกเข้าหยุนหนาน และกว่างซีของจีน แต่แล้วญี่ปุ่นฉวยโอกาสเข้าปักหลักในอินโดจีนทั้งกองพล และตั้งฐานในพื้นที่ต่างๆ ของเวียดนาม กัมพูชา และลาวอย่างรวดเร็ว
ภาพแผนที่อินโดจีนของฝรั่งเศสระหว่างปี 1900-1945 ประกอบด้วยกัมพูชา ลาว ตังเกี๋ย อันนัม และโคชินจีน ที่มาของภาพ
ขณะนั้นไทยมีสถานะเป็นกลาง ชาติพันธมิตรก็ปรารถนาให้ไทยเป็นกลางอยู่อย่างนั้นเพื่อเป็นกันชนต้านญี่ปุ่น อีกทั้งสหรัฐฯ และอังกฤษก็ให้คำมั่นสัญญาว่าจะช่วยไทยในสถานการณ์ที่คับขัน จริงๆ แล้วเป็นเพียงสัญญาที่เลื่อนลอยจนน่าแค้นใจ
มีบันทึกว่า ทูตฝรั่งเศสในกรุงเทพฯ เห็นดีเห็นงามกับการที่หลวงพิบูลส่งกำลังไปยึดดินแดนบางส่วนของอินโดจีนฝรั่งเศส (Indochine française) เพราะ "คุยกันไม่รู้เรื่องแล้ว" ซึ่งเข้าใจว่าทูตคุยกับรัฐบาลวิชีไม่รู้เรื่องแล้ว เกี่ยวกับการช่วยไทยต้านญี่ปุ่น ที่น่าแปลกใจก็คือ ทูตทหารเยอรมันยังกระซิบบอกหลวงพิบูลว่า ญี่ปุ่นจะบุกไทยแน่นอนให้หาทางรับมือไว้
นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้หลวงพิบูล "รับลูก" ด้วยการส่งกำลังทหารยึดดินแดนบางส่วนในอินโดจีน
ถามว่า รับลูกใคร ก็ต้องกลับไปดูที่ปาฐกถาของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ในวันที่ท่านยืนข้างหลังหลวงพิบูลที่หน้ากระทรวงกลาโหม ท่านเล่าว่า "วันนั้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เดินขบวนไปหน้ากระทรวงกลาโหมวัดพระแก้ว ไปสนับสนุนรัฐบาลท่านจอมพล ป. พิบูลสงคราม ให้ยึดดินแดนอินโดจีนกลับมาปี 2483 เพราะรู้ว่าทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร ท่านรู้ดี เมื่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เดินขบวนไปอย่างนี้แล้ว ท่านจึงตัดสินใจที่จะรบเข้าไปในอินโดจีน รบกับฝรั่งเศส"
ภาพจอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ นายกองใหญ่แปลก พิบูลสงคราม ที่มาของภาพ
เรื่องนี้เหมือนหลวงพิบูลมีแผนการกับหลวงประดิษฐ์ แต่ผู้เขียนยังไม่ทราบว่าเส้นสนกลในเป็นเช่นไร เพียงแต่หลังสงครามแล้ว หลวงประดิษฐ์มีบทบาทช่วยเหลือขบวนการกู้ชาติในอินโดจีนอย่างมาก สรุปก็คือ หลวงพิบูลจ้องจะยึดดินแดนเดิม เพราะต้องการใช้ดินแดนเหล่านี้รับมือญี่ปุ่น
หลวงพิบูลเองก็แสดงเจตจำนงค์ไว้อย่างชัดเจนในโทรเลขที่ส่งไปถึงพันโทไชย ประทีปเสน ผู้แทนฝ่ายไทยในการเจรจากับฝรั่งเศสเรื่องเขตแดน ที่กรุงไซง่อน เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2484 ความว่า
"...ขอแต่เส้นเขตแดนให้เสร็จไปก็แล้วกัน เรื่องอื่นไม่สำคัญ ดินแดนที่เราได้มามีความมุ่งหมายในการใช้ป้องกันชาติในภายภาคหน้า ยิ่งกว่าจะได้ดินแดนมา..."
ภาพรถถังเบา สะเทินน้ำสะเทินบกวิกเกอร์ส ที่ใช้ในกองทัพไทยในเวลานั้น
ที่มาของภาพ
ถ้าจำไม่ผิด (ยังหาข้อมูลยืนยันไม่ได้) หลวงพิบูล เคยเปิดเผยกับนายสังข์ พัธโนทัย ว่า จริงแล้วต้องการขยับพรมแดนไทยฟากตะวันออกให้ประชิดแม่น้ำโขง เพื่อใช้แม่น้ำเป็นปราการธรรมชาติป้องกันญี่ปุ่น แม้ถึงที่สุดจะต้านทานไม่ได้แต่ก็ขอให้ต้านไว้นานที่สุด
ส่วนที่ต้องยึดพรมแดนของกัมพูชาผู้เขียนขอวิเคราะห์ว่า ก็เพราะชายแดนอรัญประเทศเปิดโล่ง ง่ายต่อการบุกในเวลาไม่กี่ชั่วโมงก็ถึงพระนครแล้ว ดังนั้นจึงต้องไปยึดเมืองหน้าด่านสำคัญในกัมพูชาก็คือ พระตะบอง และศรีโสภณ หากคุมเชิงไว้ที่ 2 เมืองนี้ก็ช่วยปิดทางเข้าที่อรัญประเทศ และจันทบูรณ์ไว้ได้ แน่ละถึงจะปิดไว้ไม่ได้นานก็ยังดีกว่าไม่ได้ตั้งรับอะไรเลย
ความหวังอีกอย่างของหลวงพิบูลก็คือ หากญี่ปุ่นจะบุกไทยจริงๆ ไทยจะต้านทานถึงที่สุด เมื่อประวิงเวลาที่อังกฤษให้ความช่วยเหลือ ดังที่ให้คำมั่นสัญญาไว้ แต่สุดท้ายความหวังของไทยพินาศไปกับตา เพราะ เชอร์ชิล ตอบโทรเลขมาอย่างคนไม่ให้ความหวังว่า
“There is possibility of imminent Japanese invasion of your country. If you are attacked defend yourself. We shall come to your aid to the utmost of our power and will safeguard independence of your country.”
แปลเป็นไทย คือ
“มีความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะถูกญี่ปุ่นรุกรานอย่างหนัก หากท่านถูกโจมตีให้ปกป้องตัวเอง เราจะช่วยท่าน และพิทักษ์อธิปไตยของท่านอย่างสุดความสามารถ”
ภาพเจ้าหน้าที่ทหารของอินโดจีนฝรั่งเศส ที่กรุงฮานอยยอมจำนนกับกองทัพญี่ปุ่น หลังการก่อรัฐประหารโดยฝ่ายญี่ปุ่นเพื่อโค่นรัฐบาลวิชีแห่งอินโดจีน เมื่อเดือนมีนาคม 1945
ที่มาของภาพ
สุดท้ายแล้วอังกฤษก็ไม่ได้ช่วยอะไร จนญี่ปุ่นบุกอย่างสายฟ้าแลบในที่สุด มีวีรชนไทยเสียสละชีวิตต้านทานญี่ปุ่นอย่างสุดความสามารถ กระทั่งหลวงพิบูลยอมให้ญี่ปุ่นผ่านไปได้ และถูกบีบให้ประกาศสงครามกับพันธมิตรไปโดยปริยาย
หลังจากนั้น ชาติใหญ่ๆ ก็รบกันอีรุงตุงนัง ปล่อยให้ไทยใช้อิทธิฤทธิ์ทางการทูตเอาชีวิตรอดเอง กระทั่งรอดพ้นจากการแพ้สงครามมาอย่างเส้นยาแดงผ่าแปด
แม้แต่จอมพลป. เองก็รอดจากข้อหาอาชญากรสงคราม เพราะฝ่ายเสรีไทยช่วยเล่นแร่แปรธาตุทางกฎหมายไว้ทันการณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น