(จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 11 ดำรงตำแหน่ง 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 (4 ปี 302 วัน)
ผู้บัญชาการทหารบก ดำรงตำแหน่ง 23 มิถุนายน พ.ศ. 2497 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 9 ปี 168 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 16 มิถุนายน พ.ศ. 2451
บ้านท่าโรงยา ตลาดพาหุรัด กรุงเทพฯ ประเทศไทย
เสียชีวิต 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 (55 ปี 175 วัน)
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพฯ ประเทศไทย
พรรคการเมือง :
พรรคเสรีมนังคศิลา (พ.ศ. 2498)
พรรคชาติสังคม (พ.ศ. 2500)
คู่สมรส
ท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์
ศาสนา พุทธ
ยศ
จอมพล(ทหารบก)
จอมพล(เรือ)
จอมพล(อากาศ)
พลตำรวจเอก
สฤษดิ์ ธนะรัชต์
จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ พลตำรวจเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506) เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งจนถึงแก่อสัญกรรม, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, ผู้บัญชาการทหารบกและอธิบดีกรมตำรวจ เป็นผู้ริเริ่มการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นผู้ก่อตั้งสำนักงบประมาณ และเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารทหารไทย เจ้าของคำพูดที่ว่า "พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ" และ "ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว"
จอมพลสฤษดิ์มีชื่อเสียงเป็น
ที่รู้จักจากการแปลวรรณกรรมกัมพูชามาเป็นภาษาไทย
ระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
จอมพลสฤษฎ์ได้ให้การสนับสนุนผู้มีอำนาจของประเทศลาว นายพลพูมี หน่อสะหวัน
ในการต่อสู้กับกองโจรคอมมิวนิสต์ปะเทดลาว ในราชอาณาจักรลาว
จอมพลสฤษดิ์มีอนุภรรยาจำนวน
มาก และมีบุตรหลายคน สมรสครั้งสุดท้ายกับ นางสาววิจิตรา ชลทรัพย์
ปัจจุบันคือ ท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์
ประวัติตอนต้นและการศึกษา
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีชื่อแต่แรกเกิดว่า สิริ ธนะรัชต์ เกิดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 ที่บ้านท่าโรงยา ตลาดพาหุรัด กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของพันตรีหลวงเรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์) กับจันทิพย์ จันทรสาขา (สกุลเดิม: วงษ์หอม) มีพี่ชายร่วมบิดามารดาชื่อ สวัสดิ์ ธนะรัชต์
ประวัติตอนต้นและการศึกษา
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีชื่อแต่แรกเกิดว่า สิริ ธนะรัชต์ เกิดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 ที่บ้านท่าโรงยา ตลาดพาหุรัด กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของพันตรีหลวงเรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์) กับจันทิพย์ จันทรสาขา (สกุลเดิม: วงษ์หอม) มีพี่ชายร่วมบิดามารดาชื่อ สวัสดิ์ ธนะรัชต์
ขณะจอมพลสฤษดิ์อายุได้ 3 ปี
จันทิพย์ได้พาบุตรชายทั้งสองกลับจังหวัดมุกดาหารอันเป็นบ้านเดิมเพื่อหนี
หลวงเรืองเดชอนันต์ที่มีอนุภริยาจำนวนมาก
ระหว่างทางสวัสดิ์บุตรชายคนโตตายระหว่างทางด้วยไข้ป่า
หลังจอมพลสฤษดิ์ได้พำนักอยู่บ้านเดิมของมารดาจนมีอายุได้ 7 ปี
บิดาก็รับไปเรียนหนังสือต่อที่กรุงเทพมหานคร
ส่วนจันทิพย์สมรสใหม่กับหลวงพิทักษ์พนมเขต (สีห์ จันทรสาขา)
จอมพลสฤษดิ์จึงมีน้องชายต่างบิดาอีกสามคนคือ สง่า, สงวน และสุรจิตต์
จันทรสาขา
จอมพลสฤษดิ์
เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่จังหวัดมุกดาหาร
จากนั้นเข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ในปี พ.ศ. 2462
ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาเมื่อปี
พ.ศ. 2471 ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นนักเรียนทำการนายร้อย กองพันที่ 1
กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472
การรับราชการทหาร
ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 ขณะที่ติดยศ ร้อยตรี (ร.ต.) ได้เกิดกบฏบวรเดช นำโดยพลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ร้อยตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นหนึ่งในผู้บังคับหมวดปราบปรามกบฏของฝ่ายรัฐบาล ที่มีพันเอกหลวงพิบูลสงคราม เป็นผู้บังคับบัญชา หลังจากรัฐบาลได้รับชัยชนะ ได้รับพระราชทานยศ ร้อยโท (ร.ท.) จากนั้นอีก 2 ปีก็ได้เลื่อนยศเป็น ร้อยเอก (ร.อ.)
ในปี พ.ศ. 2484 ร.อ.สฤษดิ์
ธนะรัชต์
เข้าร่วมรบในสงครามมหาเอเชียบูรพาขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองทัพทหาร
ราบที่ 33 จังหวัดลำปาง มียศเป็น พันตรี (พ.ต.)
และได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความกล้าหาญ จนช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง
เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2488 จึงได้เลื่อนยศเป็น พันเอก (พ.อ.)
ตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 13 และผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลำปาง
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
สงบลง มีการผลัดเปลี่ยนอำนาจทางการเมือง โดยก่อนหน้านั้น เมื่อปี พ.ศ.
2487 อำนาจของจอมพล ป. พิบูลสงครามได้เริ่มเสื่อมถอยลง
หลังจากลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่พันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์
กลับเติบโตขึ้นโดยได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1
รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นหน่วยกำลังสำคัญ
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2490
คณะนายทหารนำโดยจอมพลผิน ชุณหะวัณ
ก่อการรัฐประหารโค่นล้มอำนาจของพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
ด้วยความเคารพเลื่อมใสที่มีต่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ผู้อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติ พันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์
จึงเข้าร่วมคณะรัฐประหาร เป็นการกลับคืนสู่อำนาจอีกครั้งหนึ่งของจอมพล ป.
พิบูลสงคราม โดยมีพันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นขุนพลคู่ใจตั้งแต่นั้น
นับแต่นั้นเป็นต้นมา
ชีวิตราชการของพันเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็ได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในปี
พ.ศ. 2492 ได้รับพระราชทานยศ พลตรี (พล.ต.) ดำรงตำแหน่งแม่ทัพกองทัพที่ 1
และรักษาการผู้บัญชาการกองพลที่ 1
ผลงานที่สร้างชื่อคือการเป็นหัวหน้าปราบกบฏวังหลวงเมื่อปีเดียวกัน
หลังเสร็จสิ้นภารกิจ ได้รับการเลื่อนยศเป็น พลโท (พล.ท.)
ต่อด้วยการก้าวขึ้นตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2493 ต่อมาในปี
พ.ศ. 2495 ได้ครองตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบก ครองยศ พลเอก (พล.อ.)
ส่วนตำแหน่งในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามนั้น พลเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
ต่อมาในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2497 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารบก และได้รับพระราชทานยศ จอมพล
บทบาททางการเมือง
ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.
2500 ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
อันเป็นรัฐบาลชุดสุดท้ายของจอมพล ป. พิบูลสงคราม
แต่อยู่ในตำแหน่งนั้นได้เพียง 10 วัน ก็ลาออก
โดยสาเหตุการลาออกนั้นเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500
ซึ่งมีการกล่าวขานว่าเป็นการเลือกตั้งสกปรก มีการโกงทุกรูปแบบ
โดยเฉพาะการใช้อันธพาลที่เรียกโดยสุภาพในขณะนั้นว่า "ผู้กว้างขวาง"
ซึ่งผลก็คือ พรรคเสรีมนังคศิลา ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้รับเสียงข้างมาก จึงสามารถดำเนินการจัดตั้งรัฐบาล ท่ามกลางความวุ่นวายอย่างหนัก จากการเดินประท้วงของนักเรียนนักศึกษาและประชาชนเป็นจำนวนมาก เรียกร้องให้จอมพล ป. พิบูลสงครามและ พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ ลาออกจากตำแหน่ง
ซึ่งผลก็คือ พรรคเสรีมนังคศิลา ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้รับเสียงข้างมาก จึงสามารถดำเนินการจัดตั้งรัฐบาล ท่ามกลางความวุ่นวายอย่างหนัก จากการเดินประท้วงของนักเรียนนักศึกษาและประชาชนเป็นจำนวนมาก เรียกร้องให้จอมพล ป. พิบูลสงครามและ พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ ลาออกจากตำแหน่ง
ในช่วงเวลาดังกล่าว
เมื่อสถานการณ์ลุกลาม เกิดความวุ่นวายอย่างหนัก จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ได้แต่งตั้งให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้บัญชาการ 3 เหล่าทัพ
เพื่อคอยควบคุมสถานการณ์ แต่จอมพลสฤษดิ์
ธนะรัชต์สั่งการไม่ให้ทหารทำอันตรายประชาชนที่เดินขบวนชุมนุมประท้วง
และยังเป็นผู้นำประชาชนเข้าพบจอมพล ป. ที่ทำเนียบอีก
ทำให้กลายเป็นขวัญใจของประชาชนทันที จนได้รับฉายาในตอนนั้นว่า "วีรบุรุษมัฆวานฯ"
ด้วยเหตุการณ์ดังกล่าว
และเห็นว่ารัฐบาลจอมพล ป.
พิบูลสงครามขาดความชอบธรรมที่จะปกครองบ้านเมืองแล้ว จอมพลสฤษดิ์
ธนะรัชต์จึงประกาศลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
คงเหลือแต่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกเพียงอย่างเดียว
เนื่องจากจอมพล ป.
พิบูลสงครามต้องการจะรักษาอำนาจต่อไป
จึงทำให้มีทั้งนายทหารและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งประเภท 1 และประเภท 2
ที่เคยสนับสนุนรัฐบาลบางส่วนลาออก
บางส่วนแสดงออกอย่างชัดเจนว่าไม่ยอมร่วมสังฆกรรมด้วยอีกต่อไป
ต่างก็พากันไปร่วมมือกับจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีเป้าหมายคือให้จอมพล ป.
พิบูลสงครามและพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ลงจากอำนาจ
ในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และคณะทหารยื่นคำขาดต่อจอมพล ป. พิบูลสงครามให้รัฐบาลลาออก แต่ได้รับคำตอบจากจอมพล ป. พิบูลสงครามว่า ยินดีจะให้รัฐมนตรีลาออก แต่ตนจะขอเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลเอง ยิ่งสร้างความไม่พอใจแก่ประชาชนอย่างใหญ่หลวง ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้พูดผ่านวิทยุยานเกราะถึงผู้ชุมนุมในเหตุการณ์นี้ โดยมีประโยคสำคัญที่ยังติดปากมาจนทุกวันนี้ว่า "พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ"
จนเมื่อวันที่ 15 กันยายน
พ.ศ. 2500 ประชาชนพากันลุกฮือเดินขบวนบุกเข้าไปในทำเนียบรัฐบาล
เมื่อไม่พบจอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงพากันไปที่บ้านจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ในขณะที่รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็กำลังจะเตรียมจับกุมจอมพลสฤษดิ์
ธนะรัชต์
ในข้อหากบฏที่สนับสนุนให้ผู้ชุมนุมประท้วงรัฐบาลแต่ยังไม่ทันที่ดำเนินการใด
ๆ
ในคืนวันที่ 16 กันยายน
พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้นำกำลังทหารเข้ายึดอำนาจโค่นล้มจอมพล
ป. พิบูลสงครามออกจากตำแหน่ง ในคืนนั้นเอง จอมพล ป. พิบูลสงคราม
และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ได้ลี้ภัยไปต่างประเทศ รัฐบาลของจอมพล ป.
พิบูลสงครามจึงได้สิ้นสุดอย่างสิ้นเชิงนับแต่นั้น
หลังจากการยึดอำนาจจาก
รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามแล้ว จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เห็นว่า
ไม่เหมาะสมที่ตนเองจะขึ้นครองอำนาจ ประกอบกับมีปัญหาสุขภาพ จึงตั้งนายพจน์
สารสิน ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากรัฐบาลนายพจน์
สารสินจัดการเลือกตั้งเป็นที่เรียบร้อย พลโทถนอม กิตติขจร
ก็รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501
แต่กาลต่อมา ได้เกิดความวุ่นวายจากความขัดแย้งระหว่างสมาชิกพรรคที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรกับรัฐมนตรีขึ้นในรัฐบาลพลโทถนอม กิตติขจร และพลโทถนอม กิตติขจรก็ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์จึงเดินทางกลับจากต่างประเทศแล้วร่วมมือกับพลโทถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ยึดอำนาจรัฐบาลของตนเอง
แต่กาลต่อมา ได้เกิดความวุ่นวายจากความขัดแย้งระหว่างสมาชิกพรรคที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรกับรัฐมนตรีขึ้นในรัฐบาลพลโทถนอม กิตติขจร และพลโทถนอม กิตติขจรก็ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์จึงเดินทางกลับจากต่างประเทศแล้วร่วมมือกับพลโทถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ยึดอำนาจรัฐบาลของตนเอง
ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ไปทรงเยี่ยมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ในพ.ศ. 2506
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 หลังจากการทำรัฐประหารรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 หลังจากการทำรัฐประหารรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร
ในช่วงที่บริหารประเทศ
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้ประกาศยกเลิกสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ เช่น
พรรคการเมือง โดยกล่าวว่า "ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว"
ทั้งยังได้สร้างผลงานทั้งทางด้านการปรับปรุงการบริหารและการพัฒนาประเทศไว้
มากมาย ผลงานที่สำคัญ ๆ ได้แก่
การออกกฎหมายเลิกการเสพและจำหน่ายฝิ่นโดยเด็ดขาด กฎหมายปราบปรามพวกนักเลง
อันธพาล กฎหมายปรามการค้าประเวณี
และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศ ทำการศึกษา ค้นคว้า วิจัย จนกระทั่งได้จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศฉบับที่ 1 (ปี พ.ศ. 2504 - พ.ศ. 2509) ซึ่งแผนดังกล่าวเป็นแม่แบบของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบัน มีการสร้างสาธารณูปโภคสำคัญที่เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต เช่น ไฟฟ้า, ประปา, ถนน ให้กระจายไปทั่วทั้งในเมืองและชนบท ซึ่งเรียกว่า "น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก"
และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศ ทำการศึกษา ค้นคว้า วิจัย จนกระทั่งได้จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศฉบับที่ 1 (ปี พ.ศ. 2504 - พ.ศ. 2509) ซึ่งแผนดังกล่าวเป็นแม่แบบของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบัน มีการสร้างสาธารณูปโภคสำคัญที่เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต เช่น ไฟฟ้า, ประปา, ถนน ให้กระจายไปทั่วทั้งในเมืองและชนบท ซึ่งเรียกว่า "น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก"
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506
ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ด้วยโรคไตพิการเรื้อรัง และอีกหลายโรค
สิริอายุได้เพียง 55 ปี
นับเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกและคนเดียวตราบจนปัจจุบันนี้
ที่เสียชีวิตลงในขณะที่ดำรงตำแหน่ง
ซึ่งหลังการเสียชีวิตสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยได้เปิดเพลง "พญาโศก" เป็นการไว้อาลัยแก่ท่านด้วย และมีการประกาศไว้ทุกข์เป็นระยะเวลา 21 วัน พิธีพระราชทานเพลงศพมีขึ้นอย่างสมเกียรติที่วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2507 หลังจากที่ได้มีพิธีศพมาแล้ว 100 วัน
ซึ่งหลังการเสียชีวิตสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยได้เปิดเพลง "พญาโศก" เป็นการไว้อาลัยแก่ท่านด้วย และมีการประกาศไว้ทุกข์เป็นระยะเวลา 21 วัน พิธีพระราชทานเพลงศพมีขึ้นอย่างสมเกียรติที่วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2507 หลังจากที่ได้มีพิธีศพมาแล้ว 100 วัน
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
มีฉายาว่า "จอมพลผ้าขาวม้าแดง"
นับเป็นนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งที่อยู่ในความทรงจำของคนไทย
เพราะตลอดระยะเวลาที่ครองตำแหน่งและมีบทบาท ท่านได้ใช้มาตรการเบ็ดเสร็จ
เด็ดขาด เพื่อจัดการความสงบเรียบร้อยของประเทศ เช่น
ประหารชีวิตเจ้าของบ้านทันที หลังจากบ้านใดเกิดเพลิงไหม้
เพราะถือว่าเป็นการก่อความไม่สงบ การใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 17
การปราบปรามการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นผู้ที่รื้อฟื้นกิจกรรมที่แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบัน พระมหากษัตริย์ เช่น จัดงานเฉลิมฉลองวันพระราชสมภพ, การสวนสนามของทหารรักษาพระองค์, การประดับไฟบนถนนราชดำเนินในวันเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น
การปราบปรามการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นผู้ที่รื้อฟื้นกิจกรรมที่แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบัน พระมหากษัตริย์ เช่น จัดงานเฉลิมฉลองวันพระราชสมภพ, การสวนสนามของทหารรักษาพระองค์, การประดับไฟบนถนนราชดำเนินในวันเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น
นอกจากนี้แล้ว
ในระหว่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจอมพลสฤษดิ์
ประเทศไทยได้เกิดมีกรณีพิพาทกับประเทศกัมพูชา เพื่อนบ้าน
ในกรณีประสาทเขาพระวิหาร ในศาลโลก
ซึ่งก่อนหน้านั้นได้มีการเรื่ยรายเงินบริจาคจากประชาชนชาวไทยคนละ 1 บาท
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีในศาลโลก
ซึ่งในคำตัดสินของศาลโลก ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2505 ได้ตัดสินให้ตัวปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา ซึ่งหลังจากทราบคำตัดสินของศาลโลกแล้ว จอมพลสฤษดิ์ได้มีแถลงการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้แก่ประชาชนชาวไทยด้วยตนเองผ่าน ทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
ซึ่งในคำตัดสินของศาลโลก ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2505 ได้ตัดสินให้ตัวปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา ซึ่งหลังจากทราบคำตัดสินของศาลโลกแล้ว จอมพลสฤษดิ์ได้มีแถลงการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้แก่ประชาชนชาวไทยด้วยตนเองผ่าน ทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
เรื่องอื้อฉาว
หนังสือพิมพ์บางกอกไทม์ ฉบับวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 ลงข่าวหลังการอสัญกรรมของจอมพลสฤษดิ์
หนึ่งเดือนหลังจากที่จอมพล
สฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว
ทายาททั้งหลายต่างก็เริ่มวิวาทแก่งแย่งทรัพย์มรดกมหาศาลของนายกรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 บุตรทั้ง 7
คนของจอมพลสฤษดิ์ได้ฟ้องท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์
ที่พยายามจะตัดสิทธิในส่วนแบ่งอันถูกต้องของทายาท
เนื่องจากเป็นเรื่องอื้อฉาว
มาก
ประชาชนจึงต่างให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งในคดีนี้และสื่อมวลชนก็ยกให้เป็นคดี
ที่อื้อฉาวที่สุดในเมืองไทยปัจจุบัน
การที่ประชาชนให้ความสนใจในการพิจารณาคดีนี้
จึงเป็นการบังคับให้รัฐบาลจอมพลถนอมต้องเข้าแทรกแซงและสอบสวนเบื้องหลังความ
มั่งคั่งของจอมพลสฤษดิ์
ได้มีการเปิดพินัยกรรมของ
จอมพลสฤษดิ์ที่บ้านของจอมพลถนอม ต่อหน้าทนายความและนายทหารคนสำคัญๆ
ที่เป็นผู้ใกล้ชิดจอมพลสฤษดิ์ ตัวพินัยกรรมเองลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.
2502 หลังจากจอมพลสฤษดิ์ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีเพียงเล็กน้อย
ข้อสำคัญในพินัยกรรมกล่าวว่าทรัพย์สินทั้งหมดของจอมพลสฤษดิ์ให้ตกแก่ท่าน
ผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์แต่เพียงผู้เดียว
โดยมีข้อแม้ว่าท่านผู้หญิงต้องให้ลูกเลี้ยง คือพันตรีเศรษฐา ธนะรัชต์และร้อยโทสมชาย ธนะรัชต์ คนละ 1 ล้านบาท พร้อมทั้งบ้านหนึ่งหลังที่เหมาะสมกับฐานะของบุคคลทั้งสอง อย่างไรก็ตาม จะเป็นไปตามเงื่อนไขนี้ก็ต่อเมื่อทรัพย์สินทั้งหมดที่เป็นเงินสดมีมากกว่า 10 ล้านบาท นอกจากนี้ที่นาของจอมพลสฤษดิ์จะต้องแบ่งให้แก่บุตรชายคนโตทั้งสองคนจำนวน เท่า ๆ กัน
โดยมีข้อแม้ว่าท่านผู้หญิงต้องให้ลูกเลี้ยง คือพันตรีเศรษฐา ธนะรัชต์และร้อยโทสมชาย ธนะรัชต์ คนละ 1 ล้านบาท พร้อมทั้งบ้านหนึ่งหลังที่เหมาะสมกับฐานะของบุคคลทั้งสอง อย่างไรก็ตาม จะเป็นไปตามเงื่อนไขนี้ก็ต่อเมื่อทรัพย์สินทั้งหมดที่เป็นเงินสดมีมากกว่า 10 ล้านบาท นอกจากนี้ที่นาของจอมพลสฤษดิ์จะต้องแบ่งให้แก่บุตรชายคนโตทั้งสองคนจำนวน เท่า ๆ กัน
โจทก์ร้องเรียนว่าจอมพล
สฤษดิ์ได้เขียนพินัยกรรมขึ้นอีกฉบับหนึ่งซึ่งถูกท่านผู้หญิงวิจิตรา
ธนะรัชต์
ทำลายไปแล้วหลังจากที่เข้าบุกบ้านส่วนตัวของจอมพลสฤษดิ์ในค่ายกองพลที่ 1
บุตรชายทั้งสองกล่าวหาท่านผู้หญิงวิจิตราว่าได้พยายามจะรวบรวมทรัพย์สินทั้ง
หมดของจอมพลสฤษดิ์ไว้โดยอ้างว่ามีเงินจำนวนถึง 2,874,009,794 บาท
รวมกันอสังหาริมทรัพย์อีกมากมายที่ไม่สามารถจะประมาณได้
ตรงกันข้ามท่านผู้หญิงวิจิตรากลับกล่าวว่าตนรู้เพียงว่ามีเงินเพียง 12
ล้านบาทเท่านั้น
ขณะที่รอคอยผลการตัดสินจาก
ศาล บุตรของจอมพลสฤษดิ์ก็ได้ร้องเรียนจอมพลถนอมให้ใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา
17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
ในการสอบสวนเรื่องราวนี้ทั้งหมด หลังจากที่พิจารณาอย่างคร่าวๆ แล้ว
รัฐบาลรู้สึกว่าหากมิได้ลงมือกระทำการอย่างรวดเร็วแล้ว ก็จะทำให้ฐานะของรัฐบาลไม่ดีในสายตาของประชาชน ดังนั้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2507 จอมพลถนอมจึงออกประกาศว่าตนจะได้นำมาตรา 17 มาใช้ในการยึดทรัพย์จอมพลสฤษดิ์และตั้งคณะกรรมการสอบสวนขอบข่ายการฉ้อราษฎร์ บังหลวงของจอมพลสฤษดิ์
รัฐบาลรู้สึกว่าหากมิได้ลงมือกระทำการอย่างรวดเร็วแล้ว ก็จะทำให้ฐานะของรัฐบาลไม่ดีในสายตาของประชาชน ดังนั้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2507 จอมพลถนอมจึงออกประกาศว่าตนจะได้นำมาตรา 17 มาใช้ในการยึดทรัพย์จอมพลสฤษดิ์และตั้งคณะกรรมการสอบสวนขอบข่ายการฉ้อราษฎร์ บังหลวงของจอมพลสฤษดิ์
จากงานของคณะกรรมการคณะนี้
ปรากฏว่าจอมพลสฤษดิ์ได้ใช้เงินแผ่นดินเพื่อเลี้ยงดูนางบำเรอและลงทุนใน
ธุรกิจ เงินผลประโยชน์ที่สำคัญๆ 3 แหล่งที่รัฐบาลสนใจคือ เงินงบประมาณ 394
ล้านบาทที่เป็นเงินสืบราชการลับของสำนักนายกรัฐมนตรี เงิน 240
ล้านบาทจากกองสลากกินแบ่งรัฐบาล และประมาณ 100
ล้านบาทซึ่งควรที่จะให้แก่กองทัพบกซึ่งได้เปอร์เซนต์จากการขายสลากกินแบ่ง
ในระหว่างการสอบสวน
อธิบดีกรมทะเบียนการค้าเปิดเผยว่า
จอมพลสฤษดิ์และท่านผู้หญิงวิจิตรามีผลประโยชน์จากบริษัทต่างๆ ถึง 45 แห่ง
การถือหุ้นที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งก็คือในบริษัทกรุงเทพกระสอบป่าน
ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 20 ล้านบาท
ต่อมาสมาชิกผู้หนึ่งในคณะกรรมการบริษัทได้ให้ปากคำว่า
หุ้นส่วน้เหล่านี้ได้โอนไปให้น้องชายจอมพลสฤษดิ์สองคน
ซึ่งทั้งนี้ก็หมายความว่า จอมพลสฤษดิ์ได้ผลประโยชน์มหาศาลจากอุตสาหกรรมข้าว ซึ่งกฎหมายบังคับให้ซื้อกระสอบป่านจากบริษัทนี้ นอกจากจำนวนหุ้นและบัญชีเงินฝากในธนาคารจำนวนมากมายแล้ว จอมพลสฤษดิ์ยังมีที่ดินอีกจำนวนมหาศาล ดังที่อธิบดีกรมที่ดินกล่าวว่า จอมพลสฤษดิ์มีที่ดินมากกว่า 20,000 ไร่ในต่างจังหวัด และที่ดินอีกนับแปลงไม่ถ้วนทั้งในและทั่วพระนคร ส่วนเงินสดที่เก็บไว้ในธนาคารต่างๆ นั้น จอมพลสฤษดิ์มีอยู่ประมาณ 410 ล้านบาท ซึ่งถูกยึดไว้เพื่อพิจารณาว่าเงินส่วนใดเป็นของรัฐบาลหรือไม่
ซึ่งทั้งนี้ก็หมายความว่า จอมพลสฤษดิ์ได้ผลประโยชน์มหาศาลจากอุตสาหกรรมข้าว ซึ่งกฎหมายบังคับให้ซื้อกระสอบป่านจากบริษัทนี้ นอกจากจำนวนหุ้นและบัญชีเงินฝากในธนาคารจำนวนมากมายแล้ว จอมพลสฤษดิ์ยังมีที่ดินอีกจำนวนมหาศาล ดังที่อธิบดีกรมที่ดินกล่าวว่า จอมพลสฤษดิ์มีที่ดินมากกว่า 20,000 ไร่ในต่างจังหวัด และที่ดินอีกนับแปลงไม่ถ้วนทั้งในและทั่วพระนคร ส่วนเงินสดที่เก็บไว้ในธนาคารต่างๆ นั้น จอมพลสฤษดิ์มีอยู่ประมาณ 410 ล้านบาท ซึ่งถูกยึดไว้เพื่อพิจารณาว่าเงินส่วนใดเป็นของรัฐบาลหรือไม่
ในที่สุดศาลก็ได้พิจารณาคดี
วิวาทเกี่ยวกับทรัพย์สินของจอมพลสฤษดิ์ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม
พ.ศ. 2507
ศาลแนะนำให้ประนีประนอมกันโดยที่ให้ท่านผู้หญิงวิจิตราและพันโทเศรษฐาเป็น
ผู้จัดการมรดกร่วมกัน
และให้ตกลงกันเองต่อเมื่อปรากฏผลขั้นสุดท้ายของการสอบสวนของรัฐบาลแล้ว
กิจการที่จอมพลสฤษดิ์เป็นผู้ก่อตั้ง
ธนาคารทหารไทย
บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
ธนาคารทหารไทย
บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
หลัง สฤษดิ์ ตาย เรื่องอื้อฉาว ออกมาเป็นพรวน
(by Phoenix Griffins)
(by Phoenix Griffins)
จอมพลสฤษดิ์มองว่ารัฐบาลควร
มีอำนาจเหนือ ฝ่ายนิติบัญญัติหรือสภาผู้แทน
ระบบพรรคการเมืองไม่เหมาะสมกับสังคมไทย
พรรคการเมืองและการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง มิใช่สิ่งที่มีความจำเป็นต่อระบบการเมืองไทย (ทุกวันนี้ ลูกพี่ ก็ยังคิดแบบนี้อยูเรย)
พวกผู้แทนเป็นพวกไร้สมรรถภาพ ไม่มีวินัย และพวกนักหนังสือพิมพ์ก็มักจะยึดผลประโยชน์ของตน โดยใช้วิธีการและเล่ห์กลที่สกปรกและขายตัว ไม่พิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง มีแต่จะนำไปสู่ความวุ่นวาย ไร้เสถียรภาพทางการเมือง
พรรคการเมืองและการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง มิใช่สิ่งที่มีความจำเป็นต่อระบบการเมืองไทย (ทุกวันนี้ ลูกพี่ ก็ยังคิดแบบนี้อยูเรย)
พวกผู้แทนเป็นพวกไร้สมรรถภาพ ไม่มีวินัย และพวกนักหนังสือพิมพ์ก็มักจะยึดผลประโยชน์ของตน โดยใช้วิธีการและเล่ห์กลที่สกปรกและขายตัว ไม่พิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง มีแต่จะนำไปสู่ความวุ่นวาย ไร้เสถียรภาพทางการเมือง
สรุปคือ ระบบการเลือกตั้งและระบบพรรคการเมือง
ไม่เหมาะสมกับประเทศไทย เพราะจะทำให้เกิดการแตกแยกความสามัคคีและนำไปสู่ความวุ่นวายไร้ระเบียบ
และทางออกของปัญหานี้ก็คือต้องให้อำนาจกับรัฐบาลมากขึ้น ให้รัฐบาลกำหนดว่า อะไรคือเจตนารมณ์ของชาวไทยทั้งประเทศ โดยมีเป้าหมายสำคัญที่ความมั่นคงและเสถียรภาพทางการเมือง
และทางออกของปัญหานี้ก็คือต้องให้อำนาจกับรัฐบาลมากขึ้น ให้รัฐบาลกำหนดว่า อะไรคือเจตนารมณ์ของชาวไทยทั้งประเทศ โดยมีเป้าหมายสำคัญที่ความมั่นคงและเสถียรภาพทางการเมือง
จอมพลสฤษดิ์เชื่อว่า
การปกครองเป็นเรื่องของกษัตริย์
ของเจ้านายผู้มีบุญวาสนา ขอเพียงแต่ให้ผู้นำมีความเที่ยงธรรม
และสุจริตใจตั้งอยู่ในศีลธรรม คือ
ทศพิธราชธรรม
ผู้นำคือนายกรัฐมนตรี
ต้องมีอำนาจเด็ดขาดที่ตั้งอยู่บนความเป็นธรรม
เพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจอม
พลสฤษดิ์ อสัญกรรม มีการเปิดเผยว่า
สฤษดิ์สะสมทรัพย์สมบัติไว้ถึง 2,800 ล้านบาท
กับที่ดินอีก 20,000 ไร่
โดยยักยอกจากรัฐบาลและงบช่วยเหลือจากต่างประเทศ
จอมพลสฤษดิ์ได้เลี้ยงผู้หญิงไว้คอยปรนเปรอมากกว่า 100 คน
เมื่อ สฤษดิ์ ตาย
หลัง สฤษดิ์ ตาย เรื่องอื้อฉาว ออกมาเป็นพรวน
ไม่ว่าจะ เงินกว่า 2000 ล้าน (ในปี 2502)
(ขนาด ดอกดิน กัญญามาลย์ เมื่อปี 2515 หนังทำเงินสักเรื่อง
ยังต้องออกมาโฆษณาว่า “ล้านแล้วจ้า”) ไหนจะวิมานสีชมพู หรืออย่างบิ๊กจ๊อด 3000 กว่าล้าน
ยังต้องออกมาโฆษณาว่า “ล้านแล้วจ้า”) ไหนจะวิมานสีชมพู หรืออย่างบิ๊กจ๊อด 3000 กว่าล้าน
นี่แค่ลูกน้องเท่านั้นนะ ถ้าลูกพี่ตายเมื่อไหร่ จะมีอะไรเด็ด ๆ ให้ประชาชนชื่นชมบ้างนะ
หนึ่งเดือนหลังจากที่จอมพล
สฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว
ทายาททั้งหลายต่างก็เริ่มวิวาทแก่งแย่งทรัพย์มรดกมหาศาล
ของนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507
บุตรทั้ง 7
คนของจอมพลสฤษดิ์ได้ฟ้องท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์
ที่พยายามจะตัดสิทธิในส่วนแบ่งอันถูกต้องของทายาท
เนื่องจากเป็นเรื่องอื้อฉาว
มาก ประชาชนจึงต่างให้ความสนใจ
เป็นอย่างยิ่งในคดีนี้และสื่อมวลชนก็ยกให้เป็นคดีที่อื้อฉาวที่สุดในเมือง
ไทยปัจจุบัน การที่ประชาชนให้ความสนใจในการพิจารณาคดีนี้
จึงเป็นการบังคับให้รัฐบาลจอมพลถนอมต้องเข้าแทรกแซงและสอบสวนเบื้องหลังความ
มั่งคั่งของจอมพลสฤษดิ์
ได้มีการเปิดพินัยกรรมของ
จอมพลสฤษดิ์ที่บ้านของจอมพลถนอม ต่อหน้าทนายความและนายทหารคนสำคัญๆ
ที่เป็นผู้ใกล้ชิดจอมพลสฤษดิ์ ตัวพินัยกรรมเองลง
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 หลังจากจอมพลสฤษดิ์ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีเพียงเล็กน้อย
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 หลังจากจอมพลสฤษดิ์ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีเพียงเล็กน้อย
ข้อสำคัญในพินัยกรรมกล่าว
ว่าทรัพย์สินทั้งหมดของจอมพลสฤษดิ์ให้ตกแก่ท่านผู้หญิงวิจิตรา
ธนะรัชต์แต่เพียงผู้เดียว โดยมีข้อแม้ว่าท่านผู้หญิงต้องให้ลูกเลี้ยง
คือพันตรีเศรษฐา ธนะรัชต์และร้อยโทสมชาย ธนะรัชต์ คนละ 1 ล้านบาท พร้อมทั้งบ้านหนึ่งหลังที่เหมาะสมกับฐานะของบุคคลทั้งสอง อย่างไรก็ตาม จะเป็นไปตาม
เงื่อนไขนี้ก็ต่อเมื่อทรัพย์สินทั้งหมดที่เป็นเงินสดมีมากกว่า 10 ล้านบาท
คือพันตรีเศรษฐา ธนะรัชต์และร้อยโทสมชาย ธนะรัชต์ คนละ 1 ล้านบาท พร้อมทั้งบ้านหนึ่งหลังที่เหมาะสมกับฐานะของบุคคลทั้งสอง อย่างไรก็ตาม จะเป็นไปตาม
เงื่อนไขนี้ก็ต่อเมื่อทรัพย์สินทั้งหมดที่เป็นเงินสดมีมากกว่า 10 ล้านบาท
นอกจากนี้ที่นาของจอมพลสฤษดิ์จะต้องแบ่งให้แก่บุตรชายคนโตทั้งสองคนจำนวนเท่าๆ กัน
โจทย์ร้องเรียนว่าจอมพลสฤษดิ์ได้เขียนพินัยกรรมขึ้นอีก
ฉบับหนึ่งซึ่งถูกท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ ทำลายไปแล้ว
หลังจากที่เข้าบุกบ้านส่วนตัวของจอมพลสฤษดิ์ในค่ายกองพลที่ 1
บุตรชายทั้งสองกล่าวหาท่านผู้หญิงวิจิตราว่า ได้พยายามจะรวบรวมทรัพย์สินทั้งหมดของจอมพลสฤษดิ์ไว้โดยอ้างว่ามีเงินจำนวนถึง 2,874,009,794 บาท รวมกัน
อสังหาริมทรัพย์อีกมากมายที่ไม่สามารถจะประมาณได้ตรงกันข้ามท่านผู้หญิง วิจิตรากลับกล่าวว่าตนรู้เพียงว่ามีเงินเพียง 12 ล้านบาทเท่านั้น
บุตรชายทั้งสองกล่าวหาท่านผู้หญิงวิจิตราว่า ได้พยายามจะรวบรวมทรัพย์สินทั้งหมดของจอมพลสฤษดิ์ไว้โดยอ้างว่ามีเงินจำนวนถึง 2,874,009,794 บาท รวมกัน
อสังหาริมทรัพย์อีกมากมายที่ไม่สามารถจะประมาณได้ตรงกันข้ามท่านผู้หญิง วิจิตรากลับกล่าวว่าตนรู้เพียงว่ามีเงินเพียง 12 ล้านบาทเท่านั้น
ขณะที่รอคอยผลการตัดสินจาก
ศาล บุตรของจอมพลสฤษดิ์ก็ได้ร้องเรียนจอมพลถนอมให้ใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 17
แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช
2502 ในการสอบสวนเรื่องราวนี้ทั้งหมด
หลังจากที่พิจารณาอย่าง คร่าวๆ แล้ว
รัฐบาลรู้สึกว่าหากมิได้ลงมือกระทำการอย่าง
รวดเร็วแล้ว ก็จะทำให้ฐานะของรัฐบาลไม่ดีในสายตาของประชาชน ดังนั้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2507 จอมพลถนอมจึงออกประกาศว่าตนจะได้นำมาตรา 17 มาใช้ในการยึดทรัพย์จอมพลสฤษดิ์และตั้งคณะกรรมการสอบสวน
รวดเร็วแล้ว ก็จะทำให้ฐานะของรัฐบาลไม่ดีในสายตาของประชาชน ดังนั้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2507 จอมพลถนอมจึงออกประกาศว่าตนจะได้นำมาตรา 17 มาใช้ในการยึดทรัพย์จอมพลสฤษดิ์และตั้งคณะกรรมการสอบสวน
จากงานของคณะกรรมการคณะนี้
ปรากฏว่าจอมพลสฤษดิ์ได้
ใช้เงินแผ่นดินเพื่อเลี้ยงดูนางบำเรอและลงทุนในธุรกิจ
เงินผลประโยชน์ที่สำคัญๆ 3 แหล่งที่รัฐบาลสนใจคือ
เงินงบประมาณ 394
ล้านบาทที่เป็นเงินสืบราชการลับของสำนักนายกรัฐมนตรี เงิน 240
ล้านบาทจากกองสลากกินแบ่งรัฐบาล และประมาณ 100
ล้านบาทซึ่งควรที่จะให้แก่กองทัพบก ซึ่งได้เปอร์เซนต์จากการขายสลากกินแบ่ง
ในระหว่างการสอบสวน
อธิบดีกรมทะเบียนการค้าเปิดเผยว่า
จอมพลสฤษดิ์และท่านผู้หญิงวิจิตรามีผลประโยชน์จากบริษัทต่างๆ
ถึง 45 แห่ง
การถือหุ้นที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งก็คือในบริษัทกรุงเทพกระสอบป่าน
ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 20 ล้านบาท
ต่อมาสมาชิกผู้หนึ่งในคณะกรรมการบริษัทได้ให้ปากคำว่า
หุ้นส่วน้เหล่านี้ได้โอนไปให้น้องชายจอมพลสฤษดิ์สองคน
ซึ่งทั้งนี้ก็หมายความว่า จอมพลสฤษดิ์ได้ผลประโยชน์มหาศาล จากอุตสาหกรรมข้าว ซึ่งกฎหมายบังคับให้ซื้อกระสอบป่านจาก บริษัทนี้ นอกจากจำนวนหุ้นและบัญชีเงินฝากในธนาคารจำนวนมากมายแล้ว จอมพลสฤษดิ์ยังมีที่ดินอีกจำนวนมหาศาล ดังที่อธิบดีกรมที่ดินกล่าวว่า จอมพลสฤษดิ์มีที่ดินมากกว่า 20,000 ไร่ ในต่างจังหวัด และที่ดินอีกนับแปลงไม่ถ้วนทั้งในและทั่วพระนคร ส่วนเงินสดที่เก็บไว้ในธนาคารต่างๆ นั้น จอมพลสฤษดิ์มีอยู่ ประมาณ 410 ล้านบาท ซึ่งถูกยึดไว้เพื่อพิจารณาว่าเงินส่วนใด เป็นของรัฐบาลหรือไม่
หุ้นส่วน้เหล่านี้ได้โอนไปให้น้องชายจอมพลสฤษดิ์สองคน
ซึ่งทั้งนี้ก็หมายความว่า จอมพลสฤษดิ์ได้ผลประโยชน์มหาศาล จากอุตสาหกรรมข้าว ซึ่งกฎหมายบังคับให้ซื้อกระสอบป่านจาก บริษัทนี้ นอกจากจำนวนหุ้นและบัญชีเงินฝากในธนาคารจำนวนมากมายแล้ว จอมพลสฤษดิ์ยังมีที่ดินอีกจำนวนมหาศาล ดังที่อธิบดีกรมที่ดินกล่าวว่า จอมพลสฤษดิ์มีที่ดินมากกว่า 20,000 ไร่ ในต่างจังหวัด และที่ดินอีกนับแปลงไม่ถ้วนทั้งในและทั่วพระนคร ส่วนเงินสดที่เก็บไว้ในธนาคารต่างๆ นั้น จอมพลสฤษดิ์มีอยู่ ประมาณ 410 ล้านบาท ซึ่งถูกยึดไว้เพื่อพิจารณาว่าเงินส่วนใด เป็นของรัฐบาลหรือไม่
ในที่สุดศาลก็ได้พิจารณาคดี
วิวาทเกี่ยวกับทรัพย์สินของ
จอมพลสฤษดิ์ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม
พ.ศ. 2507
ศาลแนะนำให้ประนีประนอมกันโดยที่ให้ท่านผู้หญิงวิจิตรา และ
พันโทเศรษฐาเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน และให้ตกลงกันเอง
ต่อเมื่อปรากฏผลขั้นสุดท้ายของการสอบสวนของรัฐบาลแล้ว
ที่มา : https://thaiuknews.wordpress.com
จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์
มาตรา 17
ในระหว่างที่ใช้รัฐธรรมนูญนี้ ในกรณีที่นายกรับมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรหรือราช บัลลังก์ หรือการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลาย ก่อกวน หรือคุกคามความสงบที่เกิดขึ้นภายใน หรือมาจากภายนอกราชอาณาจักร ให้นายกรัฐมนตรีโดยมติของ คณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการ หรือกระทำการใดๆได้ และให้ถือว่า คำสั่งหรือการกระทำเช่นว่านั้นเป็นคำสั่งหรือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนายกรัฐมนตรีได้สั่งการหรือกระทำการใดออกไปตามความในวรรคก่อนแล้วให้ นายกรับมนตรีแจ้งให้สภาทราบ”
เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำรัฐประหารลูกพี่จอมพล ป.พิบูลสงครามสำเร็จก็สืบอำนาจเผด็จการต่อทันที
เมธีหรือนักปรัชญาทางการเมืองชาวอังกฤษที่มีชีวิตอยู่ในระหว่างปี ค.ศ. 1632-1704 ชื่อจอห์นล็อค กล่าวไว้ว่า....
“ สิทธิมูลฐานของพลเมืองนั้นสิทธิที่จะก่อกบฏเป็นสิทธิตามธรรมชาติสิทธินี้ จะนำมาใช้ก็เฉพาะกรณีที่ชนชั้นปกครองกลายเป็นทรราชกฎหมายบ้านเมือง เป็นสิ่งไม่ชอบธรรมกลายเป็นเครื่องมือของระบอบเผด็จการเท่านั้น ”
มาตรา 17 คือกฎหมายที่จอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์ได้ร่างขึ้นมีอำนาจครอบคลุมจักรวาล ในการกำจัดศัตรูทางการเมืองได้อย่างสมบูรณ์แบบกฎหมายนี้ ประหารชีวิตได้แม้กระทั่งนายศุภชัย ศรีสติ ที่เพียงแค่ออกใบปลิวคัดค้านการจับกุมสามล้อเครื่อง ชื่อนายศิลา วงศ์สิน ชาวบ้านจังหวัดนครราชสีมา ที่เพียงสำคัญตนเองอวดว่าเป็นผู้วิเศษผู้ศักดิ์สิทธิ์ และผู้ที่โดนข้อหา วางเพลิง ที่ถูกจอมพลสฤษดิ์ สั่งยิงเป้า โดยไม่มีหลักฐานชัดเจน มาตรา 21 สั่งจบชีวิตใครก็ได้ตามอำเภอใจของผู้ปกครองในสมัยนั้นภายใต้ข้ออ้างว่า
“เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประเทศชาติ”
ครูครอง จันดาวงศ์ เป็นผู้หนึ่งที่ได้ต่อสู้กับอำนาจเผด็จการปกครองในการสมัยนั้นไม่ค่อยมีใคร กล่าวถึง และเขียนเรื่องราววิถีการต่อสู้ของเขามากนักเหมือนเหมือนกับจิตรภูมิศักดิ์ นักคิดนักเขียนนักต่อสู้ร่วมสมัยกับเขา
ครูครอง จันดาวงศ์เคยถูกจับข้อหาทางการเมือง 3 ครั้งใหญ่ๆ คือ
ครั้งแรกเมื่อ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 ข้อหากบฎแบ่งแยกดินแดงและกบฏภายในราชอาณาจักร มีผู้ร่วมถูกจับกุม 18 คน
ครั้งที่สอง ถูกจับเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 ในข้อหากบฏสันติภาพ มีผู้ร่วมถูจับกุม 38 คน
เมธีหรือนักปรัชญาทางการเมืองชาวอังกฤษที่มีชีวิตอยู่ในระหว่างปี ค.ศ. 1632-1704 ชื่อจอห์นล็อค กล่าวไว้ว่า....
“ สิทธิมูลฐานของพลเมืองนั้นสิทธิที่จะก่อกบฏเป็นสิทธิตามธรรมชาติสิทธินี้ จะนำมาใช้ก็เฉพาะกรณีที่ชนชั้นปกครองกลายเป็นทรราชกฎหมายบ้านเมือง เป็นสิ่งไม่ชอบธรรมกลายเป็นเครื่องมือของระบอบเผด็จการเท่านั้น ”
มาตรา 17 คือกฎหมายที่จอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์ได้ร่างขึ้นมีอำนาจครอบคลุมจักรวาล ในการกำจัดศัตรูทางการเมืองได้อย่างสมบูรณ์แบบกฎหมายนี้ ประหารชีวิตได้แม้กระทั่งนายศุภชัย ศรีสติ ที่เพียงแค่ออกใบปลิวคัดค้านการจับกุมสามล้อเครื่อง ชื่อนายศิลา วงศ์สิน ชาวบ้านจังหวัดนครราชสีมา ที่เพียงสำคัญตนเองอวดว่าเป็นผู้วิเศษผู้ศักดิ์สิทธิ์ และผู้ที่โดนข้อหา วางเพลิง ที่ถูกจอมพลสฤษดิ์ สั่งยิงเป้า โดยไม่มีหลักฐานชัดเจน มาตรา 21 สั่งจบชีวิตใครก็ได้ตามอำเภอใจของผู้ปกครองในสมัยนั้นภายใต้ข้ออ้างว่า
“เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประเทศชาติ”
ครูครอง จันดาวงศ์ เป็นผู้หนึ่งที่ได้ต่อสู้กับอำนาจเผด็จการปกครองในการสมัยนั้นไม่ค่อยมีใคร กล่าวถึง และเขียนเรื่องราววิถีการต่อสู้ของเขามากนักเหมือนเหมือนกับจิตรภูมิศักดิ์ นักคิดนักเขียนนักต่อสู้ร่วมสมัยกับเขา
ครูครอง จันดาวงศ์เคยถูกจับข้อหาทางการเมือง 3 ครั้งใหญ่ๆ คือ
ครั้งแรกเมื่อ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 ข้อหากบฎแบ่งแยกดินแดงและกบฏภายในราชอาณาจักร มีผู้ร่วมถูกจับกุม 18 คน
ครั้งที่สอง ถูกจับเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 ในข้อหากบฏสันติภาพ มีผู้ร่วมถูจับกุม 38 คน
ครั้งที่สาม
ถูกจับเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2504
ในข้อหามีการกระทำเป็นคอมมิวนิสต์และกบฏแบ่งแยกดินแดง มีผู้ถูกร่วมจับกุม
108 คน ถูกสอบสวนที่กรุงเทพฯ 20 กว่าวัน
ก็ถูกนำตัวไปประหารชีวิตที่อำเภอสว่างดินแดงเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2504
ปลายปี พ.ศ. 2503รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการปราบปรามอย่างหนัก องค์กรสามัคคีธรรมก็เช่นกัน ครูครองจันดาวงศ์และเพื่อนคร ูถูกล่าไล่จนต้องหนีหัวซุกหัวซนหลบลี้ภัยไปอยู่ภูพานชั่วคราว ก่อนแอบกลับมาบ้านวันที่ 4 พฤษภาคม 2504 เพื่อเตรียมสัมภาระสำหรับอยู่บนภูและรอเพื่อนแต่เพื่อนไม่มาตามนัด
จนถึงเช้าตรู่วันที่ 16 เดือนเดียวกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจยกกำลังมาล้อมจับเขาพร้อมนายภักดี พงษ์สิทธิศักดิ์ น้องภรรยา นำไปฝากขังที่สถานีตำรวจอำเภอสว่างดินแดง ลูกชายคนโตชื่อวิทิตกับเพื่อน ชื่อสมพงษ์ ราชพลีที่ไปเยี่ยมที่โรงพักก็พลอยถูกจับขังด้วย
หลังจากนั้นครูครองก็ถูกย้ายไปขังที่จังหวัดอุดรธานี ขังอยู่ สองสามวันก็ถูกนำตัวมาขึ้นเฮลิคอปเตอร์มาสอบสวนที่กรุงเทพฯ
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ควบทั้งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและอธิบดีกรมตำรวจ
ครูครอง จันดาวงศ์ และนายทองพันธ์ สุทธิมาศ ถูกเบิกตัวเข้าพบ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทั้งสองรู้ตัวทันทีว่าใครก็ตามที่ถูกเบิกตัวเข้าพบจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
นั่นหมายความว่าโดนคำสั่งประหารชีวิตด้วย ม. 17 แน่ เมื่อไปถึงตึกกองบัญชาการกรมตำรวจซึ่ง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ควบทั้งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และอธิบดีกรมตำรวจ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พูดอย่างยโสโอหังว่า
“พวกมึงรู้หรือเปล่าว่าการกระทำของพวกมึงเป็นการขายชาติ” ครูครอง จันดาวงศ์ตอบอย่างสุภาพ
“..ในที่สุดประชาชนต้องเป็นฝ่ายชนะอธรรม พวกเผด็จการจะต้องพินาศผมขอภาวนาว่า เมื่อถึงวันนั้นมาถึงขอให้ท่านยังอยู่และอย่าหนีทัน...”
เมื่อมาถึงตอนนี้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีอาการโกรธจัดไม่สามารถทนฟังต่อไปได้อีกแล้ว จึงออกคำสั่งต่อนายตำรวจที่อยู่ข้างๆว่า “จับมันไปประหารเดี๋ยวนี้ ตามแผนที่กูสั่งไว้แล้ว” แล้วนักโทษการเมืองทั้งสองก็ถูกนำตัวขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปยังสนามบินลับเสรี ไทย อำเภอสว่างดินแดง จ.สกลนคร
สาเหตุที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ให้ประหารชีวิตที่นี่เพราะต้องการข่มขู่อดีตพลพรรคเสรีไทยทั้งหมดให้สยบ
เมื่อไปถึงสกลนครเวลา 11.30 น. ผู้นำทางได้แจกจ่ายข้าวผัดให้ทั้งสองคนละห่อ พร้อมด้วยน้ำดื่มคนละขวดทั้งสองรับประทานอาหารด้วยใจสงบก่อนเข้าถูกมัดกับ หลักประหารพร้อมใช้ผ้ามัดตาเป็นที่เรียบร้อย บุคคลเหยื่อ ม.17 ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ครูครองได้เปล่งคำขวัญ “เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ”
ก่อนเสียงปืนรัว 90 นัด เวลา 12.13 น. ครูครอง จันดาวงศ์ ถูกประหารเมื่ออายุได้ 54 ปี
ท่านเคยตำรงตำแหน่งที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมมาหลายตำแหน่งเช่นเป็น ครูประจำชั้น และครูใหญ่ตามโรงเรียนประชาบาลต่างๆในเขตอำเภอสว่างดินแดงไม่น้อยกว่า 5 แห่งเคยเป็นผู้จัดการโรงเรียนมัธยมศิริขันธ์ 2 ของครูเตียง ศิริขันธ์เป็นผู้ปฎิบัติการดีเด่นของขบวนการเสรีไทยสายอีสาน
เป็นสมาชิกสภาจังหวัดสกลนครในปี 2489เป็นสมาชิกขบวนการสันติภาพแห่งประเทศไทยเป็นประธานองค์กรมวลชนช่วยเหลือ ตนเองที่เรียกว่า “กลุ่มสามัคคีธรรม”เป็นสมาชิกพรรคเศรษฐกรและแนวร่วมสังคมนิยมที่ต่อสู้ เพื่อนโยบายเป็นกลางคัดค้านการรวมกลุ่มของทหารเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรในช่วง ปี 2501 และสภาถูกยึดเพราะการยึดอำนาจครั้งที่ 2 ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ส่วนนายทอง สุทธิมาศ เป็นรุ่นน้องอายุน้อยกว่าครูครอง 20 ปี บุคคลทั้งสองเคียงคู่กันในการหาเสียงการรณรงค์เป็นปากเสียงให้ชาวบ้านช่วย เหลือกันอย่างดี
นายทองพันธ์เคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัดสกลนคร ในเขตอำเภอวานรนิวาส และเคยลงเลือกตั้งในนามพรรคสังคมนิยม ท่านเป็นที่เคารพอย่างสูงของประชาชนสกลนครเช่นกัน ขณะนั้นจิตร ภูมิศักดิ์ถูกคุมขังอยู่ในคุกลาดยาว บางเขน กรุงเทพมหานคร ได้ประพันธ์เพลงสดุดีวีรกรรมให้กับครูครอง จันดาวงศ์และนายทองพันธ์ ทั้งๆที่ตัวเองก็อยู่ในคุกโดยให้ชื่อเพลงว่า
“วีรชนปฎิวัติ”
ปลายปี พ.ศ. 2503รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการปราบปรามอย่างหนัก องค์กรสามัคคีธรรมก็เช่นกัน ครูครองจันดาวงศ์และเพื่อนคร ูถูกล่าไล่จนต้องหนีหัวซุกหัวซนหลบลี้ภัยไปอยู่ภูพานชั่วคราว ก่อนแอบกลับมาบ้านวันที่ 4 พฤษภาคม 2504 เพื่อเตรียมสัมภาระสำหรับอยู่บนภูและรอเพื่อนแต่เพื่อนไม่มาตามนัด
จนถึงเช้าตรู่วันที่ 16 เดือนเดียวกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจยกกำลังมาล้อมจับเขาพร้อมนายภักดี พงษ์สิทธิศักดิ์ น้องภรรยา นำไปฝากขังที่สถานีตำรวจอำเภอสว่างดินแดง ลูกชายคนโตชื่อวิทิตกับเพื่อน ชื่อสมพงษ์ ราชพลีที่ไปเยี่ยมที่โรงพักก็พลอยถูกจับขังด้วย
หลังจากนั้นครูครองก็ถูกย้ายไปขังที่จังหวัดอุดรธานี ขังอยู่ สองสามวันก็ถูกนำตัวมาขึ้นเฮลิคอปเตอร์มาสอบสวนที่กรุงเทพฯ
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ควบทั้งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและอธิบดีกรมตำรวจ
ครูครอง จันดาวงศ์ และนายทองพันธ์ สุทธิมาศ ถูกเบิกตัวเข้าพบ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทั้งสองรู้ตัวทันทีว่าใครก็ตามที่ถูกเบิกตัวเข้าพบจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
นั่นหมายความว่าโดนคำสั่งประหารชีวิตด้วย ม. 17 แน่ เมื่อไปถึงตึกกองบัญชาการกรมตำรวจซึ่ง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ควบทั้งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และอธิบดีกรมตำรวจ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พูดอย่างยโสโอหังว่า
“พวกมึงรู้หรือเปล่าว่าการกระทำของพวกมึงเป็นการขายชาติ” ครูครอง จันดาวงศ์ตอบอย่างสุภาพ
“..ในที่สุดประชาชนต้องเป็นฝ่ายชนะอธรรม พวกเผด็จการจะต้องพินาศผมขอภาวนาว่า เมื่อถึงวันนั้นมาถึงขอให้ท่านยังอยู่และอย่าหนีทัน...”
เมื่อมาถึงตอนนี้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีอาการโกรธจัดไม่สามารถทนฟังต่อไปได้อีกแล้ว จึงออกคำสั่งต่อนายตำรวจที่อยู่ข้างๆว่า “จับมันไปประหารเดี๋ยวนี้ ตามแผนที่กูสั่งไว้แล้ว” แล้วนักโทษการเมืองทั้งสองก็ถูกนำตัวขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปยังสนามบินลับเสรี ไทย อำเภอสว่างดินแดง จ.สกลนคร
สาเหตุที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ให้ประหารชีวิตที่นี่เพราะต้องการข่มขู่อดีตพลพรรคเสรีไทยทั้งหมดให้สยบ
เมื่อไปถึงสกลนครเวลา 11.30 น. ผู้นำทางได้แจกจ่ายข้าวผัดให้ทั้งสองคนละห่อ พร้อมด้วยน้ำดื่มคนละขวดทั้งสองรับประทานอาหารด้วยใจสงบก่อนเข้าถูกมัดกับ หลักประหารพร้อมใช้ผ้ามัดตาเป็นที่เรียบร้อย บุคคลเหยื่อ ม.17 ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ครูครองได้เปล่งคำขวัญ “เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ”
ก่อนเสียงปืนรัว 90 นัด เวลา 12.13 น. ครูครอง จันดาวงศ์ ถูกประหารเมื่ออายุได้ 54 ปี
ท่านเคยตำรงตำแหน่งที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมมาหลายตำแหน่งเช่นเป็น ครูประจำชั้น และครูใหญ่ตามโรงเรียนประชาบาลต่างๆในเขตอำเภอสว่างดินแดงไม่น้อยกว่า 5 แห่งเคยเป็นผู้จัดการโรงเรียนมัธยมศิริขันธ์ 2 ของครูเตียง ศิริขันธ์เป็นผู้ปฎิบัติการดีเด่นของขบวนการเสรีไทยสายอีสาน
เป็นสมาชิกสภาจังหวัดสกลนครในปี 2489เป็นสมาชิกขบวนการสันติภาพแห่งประเทศไทยเป็นประธานองค์กรมวลชนช่วยเหลือ ตนเองที่เรียกว่า “กลุ่มสามัคคีธรรม”เป็นสมาชิกพรรคเศรษฐกรและแนวร่วมสังคมนิยมที่ต่อสู้ เพื่อนโยบายเป็นกลางคัดค้านการรวมกลุ่มของทหารเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรในช่วง ปี 2501 และสภาถูกยึดเพราะการยึดอำนาจครั้งที่ 2 ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ส่วนนายทอง สุทธิมาศ เป็นรุ่นน้องอายุน้อยกว่าครูครอง 20 ปี บุคคลทั้งสองเคียงคู่กันในการหาเสียงการรณรงค์เป็นปากเสียงให้ชาวบ้านช่วย เหลือกันอย่างดี
นายทองพันธ์เคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัดสกลนคร ในเขตอำเภอวานรนิวาส และเคยลงเลือกตั้งในนามพรรคสังคมนิยม ท่านเป็นที่เคารพอย่างสูงของประชาชนสกลนครเช่นกัน ขณะนั้นจิตร ภูมิศักดิ์ถูกคุมขังอยู่ในคุกลาดยาว บางเขน กรุงเทพมหานคร ได้ประพันธ์เพลงสดุดีวีรกรรมให้กับครูครอง จันดาวงศ์และนายทองพันธ์ ทั้งๆที่ตัวเองก็อยู่ในคุกโดยให้ชื่อเพลงว่า
“วีรชนปฎิวัติ”
ที่มา : http://tula2516.krubpom.com/sarid.htm
57 ปีก่อน เมื่อวันที่ 9
พฤศจิกายน พ.ศ.2501 เกิดเพลิงไหม้ที่ย่านตลาดพลูในกรุงเทพฯ จอมพลสฤษดิ์
ธนะรัชต์ ได้ใช้อำนาจหัวหน้าคณะปฏิวัติขณะนั้นสั่งประหารชีวิต นายจำนงค์
แซ่ฉิ่น และ ซิวหยิ่น แซ่ฉิ่น สองพี่น้องในข้อหาวางเพลิง
ทหารเรือรับคำสั่งให้นำตัว
ไปประหารที่วัดอินทารามด้วยปืนกลแบล็กมัน 6 กระบอก
ทั้งคู่ตะโกนตลอดเวลาว่า "ผมไม่ผิด ผมไม่ได้วางเพลิง" จนถูกยิงขาดใจตาย...
จากการประมวลเบื้องต้น
ปรากฏว่าตลอดช่วงที่จอมพลสฤษดิ์ครองอำนาจสัมบูรณาญาสิทธิ์ (Absolute Power)
เหนือร่างกาย ชีวิตและทรัพย์สินของปวงชนชาวไทยในฐานะหัวหน้าคณะปฏิวัติ
พ.ศ.2501 แล้วต่อด้วยในฐานะนายกรัฐมนตรีผู้ใช้อำนาจตามมาตรา 17
แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2502
ท่านได้สั่งประหารชีวิตผู้ต้องหาอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดรวบรัดโดยไม่ต้องฟ้อง
ร้องขึ้นศาลไต่สวนพิจารณาคดีตามกระบวนการยุติธรรมปกติรวม 11 ราย
(รวมทั้งกรณีสองพี่น้องแซ่ฉิ่นข้างต้น) ในข้อหาวางเพลิง, ค้ายาเสพติด
และความผิดทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์
ได้แก่ :-
- 6พฤศจิกายน 2501 จอมพลสฤษดิ์ใช้อำนาจคณะปฏิวัติสั่งประหาร นายซ้ง แซ่ลิ้ม ข้อหาจ้างวานวางเพลิงที่ตำบลบางยี่เรือ กรุงเทพฯ
- 29 พฤศจิกายน 2501 จอมพลสฤษดิ์ใช้อำนาจคณะปฏิวัติสั่งประหาร นายฮ่อนซิ่น แซ่ฉิ่น ข้อหาวางเพลิงที่ตำบลวัดพระยาไกร กรุงเทพฯ
- 29 ธันวาคม 2501 จอมพลสฤษดิ์ใช้อำนาจคณะปฏิวัติสั่งประหาร นายอึ้ง ศิลปงาม ข้อหาวางเพลิงที่ตลาดท่าช้าง อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี
ต่อมา
เมื่อประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2502 แล้ว
จอมพลสฤษดิ์ในฐานะนายกรัฐมนตรีก็หันไปใช้อำนาจตาม ม.17 แห่งธรรมนูญฯ
ฉบับดังกล่าวเพื่อประหารผู้ต้องหาแทน ได้แก่ :
- 26 มิถุนายน 2502 จอมพลสฤษดิ์ใช้อำนาจ ม.17 สั่งประหาร นายศิลา วงศ์สิน ข้อหากบฏผีบุญ ที่บ้านใหม่ไทยเจริญ ต.สารภี อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา
- 6 กรกฎาคม 2502 จอม
พลสฤษดิ์ใช้อำนาจ ม.17 สั่งประหาร นายศุภชัย ศรีสติ
ผู้นำสภาคนงานแห่งประเทศไทย
ซึ่งต่อต้านการรัฐประหารและปฏิวัติของสฤษดิ์ต่อเนื่องมาตั้งแต่รัฐประหาร 16
กันยายน 2500
- 31 พฤษภาคม 2504
จอมพลสฤษดิ์ใช้อำนาจ ม.17 สั่งประหาร ครูทองพันธ์ สุทธิมาศ และ ครูครอง
จันดาวงศ์ อดีตเสรีไทยสายอีสานภายใต้การนำของ นายเตียง ศิริขันธ์,
อดีตกบฏสันติภาพ และอดีต ส.ส.สกลนคร ข้อหาคอมมิวนิสต์ ที่สนามบิน
อ.สว่างแดนดิน จ. สกลนคร
- เดือนสิงหาคม 2504 จอมพลสฤษดิ์ใช้อำนาจ ม.17 สั่งประหาร นายเลี่ยงฮ้อ แซ่เล้า ข้อหาผลิตเฮโรอีน
- 24 เมษายน 2505 จอมพลสฤษดิ์ใช้อำนาจ ม.17 สั่งประหาร นายรวม วงศ์พันธ์ สมาชิกกรมการเมือง พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ข้อหาคอมมิวนิสต์
ประเด็น
ปัญหาของการใช้อำนาจรัฐเด็ดขาดสัมบูรณ์เอาชีวิตผู้ต้องหาว่ากระทำผิดกฎหมาย
โดยไม่ผ่านการไต่สวนต่อสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรมเช่นนี้อยู่ที่ไหน?
เพื่อเข้าใจปมประเด็นนี้
เราควรต้องถามตัวเองว่า -
ขอยกกรณีการสั่งประหารสองพี่น้องแซ่ฉิ่นข้อหาวางเพลิงที่ตลาดพลูข้างต้นเป็น
ตัวอย่าง
เรารู้แน่รู้ทั่วชัวร์ป้าปหรือไม่ว่าสองพี่น้องแซ่ฉิ่นไม่ได้วางเพลิงจริงๆ?
คำตอบก็คือไม่, เราไม่รู้แน่
ในทางกลับกัน ถามอีกว่า เรารู้แน่รู้ทั่วชัวร์ป้าปหรือไม่ว่าสองพี่น้องแซ่ฉิ่นวางเพลิงจริงๆ?
คำตอบก็คือไม่, เราไม่รู้แน่อีกเหมือนกัน
แต่ทั้งที่เราไม่รู้แน่ทางใดทางหนึ่ง สองพี่น้องแซ่ฉิ่นก็ได้ตายไปแล้ว พวกเขาถูกประหารตายไปโดยที่เรายังไม่รู้แน่ไง
เราปล่อยให้รัฐของเราฆ่าคนตายโดยไม่รู้แน่ว่าเขาผิดได้อย่างไร?
เมื่อวานนี้ที่โดนอาจเป็นคน
แปลกหน้าที่เราไม่รู้จัก
แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าสักวันหนึ่งข้างหน้าตัวเราเอง ญาติพี่น้อง
คนรัก
หรือเพื่อนมิตรของเราจะไม่โดนรัฐฆ่าตายไปโดยยังไม่รู้แน่ว่าผิดเข้าบ้าง?
การใช้อำนาจปฏิวัติ และ
ม.17 เสมือนเครื่องประหารหัวสุนัขเพื่อเล่นงานผู้ต้องหาแบบรวบรัด
ศาลเตี้ยข้างต้นเป็นนิทัศน์อุทาหรณ์ให้เราตระหนักคำนึงถึงธาตุแท้ของอำนาจ
รัฐเมื่อปลดเปลื้องถนิมพิมพาภรณ์อันเลิศอลังการทิ้งไปหมดแล้วว่า...
ในความหมายดิบๆ ที่สุด, อำนาจรัฐคืออะไร?
ตอบ :
อำนาจรัฐคืออำนาจที่มีสิทธิ์ฆ่าเราได้ภายใต้เงื่อนไขที่แน่นอน เช่น
เราดันไปทำผิดกฎหมายข้อหาร้ายแรง อาทิ ปล้นฆ่าข่มขืน
ก่อการร้ายฆ่าหมู่ผู้บริสุทธิ์ ฯลฯ
ในความหมายนี้ รัฐก็คือองค์กรนักฆ่าส่วนกลางของสังคม (public assassins) ผู้ทำหน้าที่อันสังคมส่วนรวมมอบหมายให้ ที่สำคัญได้แก่ :
- ปกป้องสิทธิในร่างกาย ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลพลเมืองผู้เป็นสมาชิกสังคม และ
- ปกป้องสังคมจากศัตรูผู้รุกรานภายนอก
โดยเป็นไปตามเงื่อนไขข้อ
กำหนดของกฎหมายอันเป็นกติกาที่สังคมกำหนดไว้กำกับนักฆ่าส่วนกลางที่สำคัญ
ได้แก่ เงื่อนไขว่าด้วยลักษณะความผิด,
กระบวนการวิธีพิจารณาสอบสวนพิสูจน์ความผิด และเกณฑ์การลงโทษตามความผิด
เมื่อรัฐมีอำนาจฉกาจฉกรรจ์อุกฤษฏ์เหนือชีวิตเราเช่นนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องควบคุมอำนาจรัฐให้ดี กล่าวคือ :
ควบคุมดูแลให้รัฐฆ่าถูกคน ฆ่าถูกเงื่อนไข ฆ่าถูกขั้นตอน ฆ่าเมื่อสมควรและจำเป็นต้องฆ่า
และในทางกลับกัน
รัฐจักต้องฆ่าไม่ผิดคน ฆ่าไม่ผิดเงื่อนไข ฆ่าไม่ผิดขั้นตอน
ห้ามฆ่าเมื่อไม่สมควรและไม่จำเป็นต้องฆ่า ภายใต้กติกาของกฎหมาย
กว่านักฆ่าของส่วนกลางจะฆ่า
ใครได้สักคนจึงต้องผ่านกระบวนการยุติธรรมที่ซับซ้อน
ยืดเยื้อและอาจยาวนาน... ทั้งๆ
ที่ถ้าใช้ศาลเตี้ยรุมประชาทัณฑ์กันเดี๋ยวนั้นเลยจะรวดเร็วทันใจมี
ประสิทธิภาพกว่า
แต่นั่นแหละคือ อารยธรรม (civilization) ของการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม
สังคมอารยะซึ่งเคารพหลักการ
ที่ว่ากล่าวให้ถึงที่สุดแล้ว ชีวิตคุณเป็นของคุณ (self-ownership : You
own yourself.) ไม่ใช่ชีวิตคุณเป็นของรัฐ
ที่ผู้ปกครองจะต้มยำทำแกงเมื่อไหร่อย่างไรก็ได้ตามอำเภอใจอย่างในระบอบสัม
บูรณาญาสิทธิ์ (Absolutism) ทั้งปวง
ใน
หลายปีที่ผ่านมา
รัฐไทยได้ใช้เครื่องประหารหัวสุนัขภายใต้กฎหมายที่ให้อำนาจพิเศษต่างๆ
อย่างค่อนข้างบ่อยครั้ง ฟุ่มเฟือย เพื่อรับมือแก้ไขภัยคุกคามความมั่นคง
ผลก็คือสังคมไทยบาดเจ็บบอบ
ช้ำจากพิษภัยแห่งอำนาจพิเศษเหนือการกำกับควบคุมของสังคมเองในกรณีต่างๆ
เช่น ฆ่าตัดตอนผู้ต้องสงสัยค้ายาบ้า, อุ้มหายทนายสมชาย นีละไพจิตร,
มัสยิดกรือเซะ, โรงพักตากใบ, เมษา-พฤษภาอำมหิตที่ราชประสงค์,
อุ้มหายบิลลี่หรือพอละจี รักจงเจริญ และล่าสุดคือกรณีวิสามัญฯ 4
ศพที่ทุ่งยางแดง เป็นต้น
ถ้าจะว่าสังคมไทยเสพติดโหย
หาการใช้อำนาจเด็ดขาดสัมบูรณ์มาแก้สารพัดปัญหาอย่างมักง่าย
ก็ต้องสรุปคู่กันไปด้วยว่าสังคมไทยไม่มีปัญญาความสามารถจะกำกับควบคุมไม่ให้
การใช้อำนาจเด็ดขาดสัมบูรณ์นั้นออกไปนอกขอบเขต เกินกว่าเหตุ
หรือแม้แต่ทุจริตฉ้อฉล บิดเบือนฉวยใช้อำนาจไปในทางมิชอบ
จนประเทศชาติส่วนรวมและเพื่อนร่วมชาติร่วมสังคมของเราเองต้องประสบความเสีย
หาย บาดเจ็บล้มตาย
และสุดท้ายแล้ว
คนไทยก็ถูกร้องขอบอกกล่าวซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่นั่นแหละ
ว่าให้ไว้ใจวางใจและหวังพึ่ง "ความดี" ของผู้ที่เข้ามาใช้อำนาจ, ว่า
"คนดีๆ" อย่างท่านจะไม่ใช้อำนาจสัมบูรณ์นั้นไปทำอะไรมิชอบ ชั่วช้า เสียหาย
รังแกเข่นฆ่าใครต่อใครแน่นอน เชื่อเถอะ
แล้วไง? กี่ครั้งแล้ว? กี่ร้อยพันหมื่นแสนล้านบาทแล้ว? กี่ศพแล้ว? ยังไม่เห็นไม่เข็ดอีกหรือ?
สังคมที่ไม่ยอมสรุปเรียนรู้
และลุกขึ้นมาดูแลรับผิดชอบตัวเอง แก้ไขปัญหาเอง
แทนที่จะหวังพึ่งอำนาจเด็ดขาดสัมบูรณ์ที่ตัวเองควบคุมไม่ได้
ก็เหมือนการจับตัวเองขังไว้ในสภาพไม่บรรลุวุฒิภาวะทางการเมืองตลอดไป
ล่ามตัวเองผูกติดกับเครื่องประหารหัวสุนัข ไม่ว่ามันจะมาในยี่ห้อ ม.17,
ม.21, ม.27, หรือ ม.44 ก็ตามที
ที่มา:มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 24-30 เมษายน 2558
โดย : เกษียร เตชะพีระ
ที่มา:มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 24-30 เมษายน 2558
โดย : เกษียร เตชะพีระ
รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500(สมัยจอมพลสฤษดิ์)
รัฐประหาร 16 กันยายน พ.ศ. 2500 เป็นรัฐประหารในประเทศไทย ถือได้ว่าพลิกโฉมหน้าการเมืองไทยไปอีกรูปแบบหนึ่ง เช่นเดียวกับการรัฐประหารใน พ.ศ. 2490
สาเหตุ
สืบเนื่องจากความแตกแยกกันระหว่างกลุ่มทหาร ที่นำโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก กับ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ ที่ค้ำอำนาจของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม
รัฐประหาร 16 กันยายน พ.ศ. 2500 เป็นรัฐประหารในประเทศไทย ถือได้ว่าพลิกโฉมหน้าการเมืองไทยไปอีกรูปแบบหนึ่ง เช่นเดียวกับการรัฐประหารใน พ.ศ. 2490
สาเหตุ
สืบเนื่องจากความแตกแยกกันระหว่างกลุ่มทหาร ที่นำโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก กับ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ ที่ค้ำอำนาจของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ประชาชนไม่ยอมรับการเลือก
ตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2500
เนื่องจากเป็นการเลือกตั้งที่ถือว่าโกงมากที่สุดในประวัติศาสตร์
นับแต่ใช้เครื่องบินโปรยใบปลิวโจมตีฝ่ายตรงข้าม ข่มขู่ชาวบ้าน ประชาชน
ให้เลือกแต่ผู้สมัครของพรรคเสรีมนังคศิลา คือ พรรครัฐบาล
หรือการเวียนเทียนมาลงคะแนน
การสลับหีบบัตร การแอบหย่อนบัตรคะแนนเถื่อนเข้าไปในหีบ และต้องใช้เวลานับคะแนน 7 วัน ด้วยกัน ผลการเลือกตั้ง พรรคเสรีมนังคศิลาของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เสียงข้างมาก ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 30 ที่นั่ง
การสลับหีบบัตร การแอบหย่อนบัตรคะแนนเถื่อนเข้าไปในหีบ และต้องใช้เวลานับคะแนน 7 วัน ด้วยกัน ผลการเลือกตั้ง พรรคเสรีมนังคศิลาของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เสียงข้างมาก ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 30 ที่นั่ง
วันที่ 2 มีนาคม
นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประชาชนร่วมกันเดินขบวนประท้วงการเลือกตั้ง
มีการลดธงเหลือแค่ครึ่งเสาเป็นการไว้อาลัย และเรียกร้องให้ พล.อ.ท.มุนี
มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ ซึ่งเป็น ส.ส.สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา
ลาออกจากตำแหน่งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จอมพล ป.
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[1]
สั่งประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2500 และแต่งตั้งให้
จอมพลสฤษดิ์ เป็นผู้ปราบปรามการชุมนุม
แต่เมื่อฝูงชนเดินทางมาถึงสะพานมัฆวานรังสรรค์แล้ว
จอมพลสฤษดิ์กลับเป็นผู้นำเดินขบวน พาฝูงชนข้ามสะพานมัฆวานรังสรรค์
โดยกล่าวว่า ทหารจะไม่มีวันทำร้ายประชาชน
และเมื่อถึงหน้าทำเนียบรัฐบาลได้เป็นผู้เปิดประตูทำเนียบ นำพาประชาชนเข้าพบ
จอมพล ป. พิบูลสงคราม จนกระทั่งจอมพล ป. ต้องลงมาเจรจาด้วยตนเองที่บันไดหน้าตึกไทยคู่ฟ้า เมื่อได้เจรจากันแล้ว จึงได้ข้อสรุปว่า จอมพล ป. ยอมรับว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ชอบมาพากลและจะจัดการเลือกตั้งขึ้นใหม่ จึงได้พูดผ่านโทรโข่งขอให้ผู้ชุมนุมสลายตัวไปอย่างสงบ และขอให้อัญเชิญธงขึ้นสู่ยอดเสาตามปกติ
ซึ่งก็ได้เป็นไปตามอย่างที่ จอมพลสฤษดิ์ ร้องขอทุกประการ ซึ่งการเดินขบวนประท้วงครั้งนี้นับเป็นการชุมนุมทางการเมืองเป็นครั้งแรกของ ชาวไทยนับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา
ฝ่ายจอมพลสฤษดิ์ ที่ได้มีท่าทีเช่นนี้ ได้สร้างความนิยมขึ้นอย่างมากในหมู่ประชาชน แต่ก็ถือว่าเป็นการกระทำที่ท้าทายอำนาจจอมพล ป. เพราะหลังจากนี้ จอมพลสฤษดิ์ยังได้ประกาศด้วยตนเองผ่านทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเป็น นัยทิ้งท้าย
โดยกล่าวถึงผู้ชุมนุมที่ผ่านมาว่า "แล้วพบกันใหม่ เมื่อชาติต้องการ" จึงทำให้มีความแตกแยกและหวาดระแวงกันเองระหว่าง ฝ่ายทหารที่สนับสนุน จอมพลสฤษดิ์ และฝ่ายทหารและตำรวจที่สนับสนุน จอมพล ป.
จอมพล ป. พิบูลสงคราม จนกระทั่งจอมพล ป. ต้องลงมาเจรจาด้วยตนเองที่บันไดหน้าตึกไทยคู่ฟ้า เมื่อได้เจรจากันแล้ว จึงได้ข้อสรุปว่า จอมพล ป. ยอมรับว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ชอบมาพากลและจะจัดการเลือกตั้งขึ้นใหม่ จึงได้พูดผ่านโทรโข่งขอให้ผู้ชุมนุมสลายตัวไปอย่างสงบ และขอให้อัญเชิญธงขึ้นสู่ยอดเสาตามปกติ
ซึ่งก็ได้เป็นไปตามอย่างที่ จอมพลสฤษดิ์ ร้องขอทุกประการ ซึ่งการเดินขบวนประท้วงครั้งนี้นับเป็นการชุมนุมทางการเมืองเป็นครั้งแรกของ ชาวไทยนับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา
ฝ่ายจอมพลสฤษดิ์ ที่ได้มีท่าทีเช่นนี้ ได้สร้างความนิยมขึ้นอย่างมากในหมู่ประชาชน แต่ก็ถือว่าเป็นการกระทำที่ท้าทายอำนาจจอมพล ป. เพราะหลังจากนี้ จอมพลสฤษดิ์ยังได้ประกาศด้วยตนเองผ่านทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเป็น นัยทิ้งท้าย
โดยกล่าวถึงผู้ชุมนุมที่ผ่านมาว่า "แล้วพบกันใหม่ เมื่อชาติต้องการ" จึงทำให้มีความแตกแยกและหวาดระแวงกันเองระหว่าง ฝ่ายทหารที่สนับสนุน จอมพลสฤษดิ์ และฝ่ายทหารและตำรวจที่สนับสนุน จอมพล ป.
สภาพโดยทั่วไปแล้วในเวลา
นั้น บ้านเมืองตกอยู่ในภาวะของความวุ่นวาย นักเลง อันธพาล
อาละวาดป่วนเมืองราวกับไม่เกรงกลัวกฎหมาย ทั้งนี้
เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า
ที่เหล่าอันธพาลสามารถก่ออาชญากรรมได้ตามใจเพราะมีตำรวจ โดย พล.ต.อ.เผ่า
ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจสนับสนุนอยู่
และจากนั้นมา ทหารและตำรวจก็เกิดความแตกแยกกัน โดยไฮปาร์คโจมตีกันบนลังสบู่ที่ท้องสนามหลวงสลับกันวันต่อวัน ในบางครั้ง ทหารชั้นประทวนก็ยกพวกล้อมสถานีตำรวจจนเกิดเหตุทำร้ายร่างกายตำรวจบ้าง แต่ก็ไม่เกิดเหตุรุนแรงไปกว่านั้น
และจากนั้นมา ทหารและตำรวจก็เกิดความแตกแยกกัน โดยไฮปาร์คโจมตีกันบนลังสบู่ที่ท้องสนามหลวงสลับกันวันต่อวัน ในบางครั้ง ทหารชั้นประทวนก็ยกพวกล้อมสถานีตำรวจจนเกิดเหตุทำร้ายร่างกายตำรวจบ้าง แต่ก็ไม่เกิดเหตุรุนแรงไปกว่านั้น
13 มีนาคมรัฐบาลประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉิน
14 กรกฎาคม
ซึ่งเป็นวันครบรอบวันเกิด 60 ปี ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม จอมพลสฤษดิ์
ธนะรัชต์ เข้าอวยพรวันเกิดและนำลูกสุนัขตัวหนึ่งมอบให้เป็นของขวัญ
พร้อมกล่าวว่าจะจงรักภักดีต่อจอมพล ป. เช่นเดียวกับสุนัขตัวนี้
เพื่อเป็นการสยบความขัดแย้ง
15 กันยายน จอมพล ป.
หลังกลับจากเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยสีหน้าไม่สู้ดี
เมื่อมีสื่อมวลชน โดยทองใบ ทองเปาด์ ได้ถามว่า
มีความขัดแย้งกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจริงหรือไม่
เพราะก่อนหน้านั้นในงานฉลองกึ่งพุทธกาล และงานวิสาขบูชา
ที่ทางรัฐบาลได้จัดเป็นงานครั้งใหญ่ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มิได้เสด็จมา
จึงทำให้มีการวิจารณ์ไปทั่วว่า รัฐบาลมีความขัดแย้งกับทางพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่ทางจอมพล ป. ปฏิเสธ และได้รีบขึ้นรถยนต์จากไป ต่อมา จอมพลสฤษดิ์และคณะนายทหารในบังคับบัญชา มีแถลงการณ์ขอให้จอมพล ป. และ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ลาออก
ซึ่งหลังจากแถลงการณ์อันนี้ออกมาแล้ว มีรายงานที่เชื่อถือได้ว่า สมาชิกพรรคเสรีมนังคศิลาเสนอให้จอมพล ป. จัดการอย่างเด็ดขาดกับ จอมพลสฤษดิ์ และกลุ่มทหารในวันพรุ่งนี้ เท่ากับเป็นการบีบบังคับให้ จอมพลสฤษดิ์ ตัดสินใจชิงรัฐประหารแน่นอน
รัฐประหาร
รัฐประหารเกิดขึ้นในเวลา 18.00 น. ของวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 พล.ท.ประภาส จารุเสถียร แม่ทัพภาคที่ 1 ใช้รถถัง รถหุ้มเกราะและกำลังพล กระจายกำลังออกยึดจุดยุทธศาสตร์ต่าง ๆ เช่น หอประชุมกองทัพบก ที่ถนนราชดำเนินนอก เป็นต้น ในส่วนของกองบัญชาการตำรวจกองปราบ ที่สามยอด ซึ่งเป็นที่บัญชาการของ พล.ต.อ.เผ่า ได้รับคำสั่งให้ยึดให้ได้ภายใน 120 นาที ก็สามารถยึดได้โดยเรียบร้อย โดย ร.ท.เชาว์ ดีสุวรรณ
ในขณะที่ พล.จ.กฤษณ์ สีวะรา รองแม่ทัพภาคที่ 1 พ.ท.เอิบ แสงฤทธิ์ พ.ต.เรืองศักดิ์ ชุมะสุวรรณ พ.อ.เอื้อม จิรพงษ์ และ ร.อ.ทวิช เปล่งวิทยา นำกำลังตามแผนยุทธศาสตร์ "เข้าตีรังแตน" โดยนำกองกำลังทหารราบที่ 1 พัน 3 บุกเข้าไปยึดวังปารุสกวัน ซึ่งเป็นกองบัญชาการตำรวจนครบาล จากนั้นจึงติดตามด้วยกองกำลังรถถัง
ในขณะที่กองทัพเรือ พล.ร.อ.หลวงชำนาญอรรถยุทธ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้สั่งวิทยุเรียกเรือรบ 2 ลำ ยึดท่าวาสุกรี และส่งกำลังส่วนหนึ่งยึดบริเวณหน้าวัดราชาธิวาส เพื่อประสานงานยึดอำนาจ จนกระทั่งการยึดอำนาจผ่านไปอย่างเรียบร้อย
จึงทำให้มีการวิจารณ์ไปทั่วว่า รัฐบาลมีความขัดแย้งกับทางพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่ทางจอมพล ป. ปฏิเสธ และได้รีบขึ้นรถยนต์จากไป ต่อมา จอมพลสฤษดิ์และคณะนายทหารในบังคับบัญชา มีแถลงการณ์ขอให้จอมพล ป. และ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ลาออก
ซึ่งหลังจากแถลงการณ์อันนี้ออกมาแล้ว มีรายงานที่เชื่อถือได้ว่า สมาชิกพรรคเสรีมนังคศิลาเสนอให้จอมพล ป. จัดการอย่างเด็ดขาดกับ จอมพลสฤษดิ์ และกลุ่มทหารในวันพรุ่งนี้ เท่ากับเป็นการบีบบังคับให้ จอมพลสฤษดิ์ ตัดสินใจชิงรัฐประหารแน่นอน
รัฐประหาร
รัฐประหารเกิดขึ้นในเวลา 18.00 น. ของวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 พล.ท.ประภาส จารุเสถียร แม่ทัพภาคที่ 1 ใช้รถถัง รถหุ้มเกราะและกำลังพล กระจายกำลังออกยึดจุดยุทธศาสตร์ต่าง ๆ เช่น หอประชุมกองทัพบก ที่ถนนราชดำเนินนอก เป็นต้น ในส่วนของกองบัญชาการตำรวจกองปราบ ที่สามยอด ซึ่งเป็นที่บัญชาการของ พล.ต.อ.เผ่า ได้รับคำสั่งให้ยึดให้ได้ภายใน 120 นาที ก็สามารถยึดได้โดยเรียบร้อย โดย ร.ท.เชาว์ ดีสุวรรณ
ในขณะที่ พล.จ.กฤษณ์ สีวะรา รองแม่ทัพภาคที่ 1 พ.ท.เอิบ แสงฤทธิ์ พ.ต.เรืองศักดิ์ ชุมะสุวรรณ พ.อ.เอื้อม จิรพงษ์ และ ร.อ.ทวิช เปล่งวิทยา นำกำลังตามแผนยุทธศาสตร์ "เข้าตีรังแตน" โดยนำกองกำลังทหารราบที่ 1 พัน 3 บุกเข้าไปยึดวังปารุสกวัน ซึ่งเป็นกองบัญชาการตำรวจนครบาล จากนั้นจึงติดตามด้วยกองกำลังรถถัง
ในขณะที่กองทัพเรือ พล.ร.อ.หลวงชำนาญอรรถยุทธ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้สั่งวิทยุเรียกเรือรบ 2 ลำ ยึดท่าวาสุกรี และส่งกำลังส่วนหนึ่งยึดบริเวณหน้าวัดราชาธิวาส เพื่อประสานงานยึดอำนาจ จนกระทั่งการยึดอำนาจผ่านไปอย่างเรียบร้อย
ขณะที่ฝ่าย จอมพล ป.
พิบูลสงคราม รู้ล่วงหน้าก่อนเพียงไม่กี่นาที
จึงตัดสินใจหลบหนีโดยไม่ต่อสู้
โดยเดินทางไปโดยรถยนต์ประจำตัวนายกรัฐมนตรียี่ห้อฟอร์ด รุ่นธันเดอร์เบิร์ด
พร้อมกับคนติดตามเพียง 3 คน เท่านั้นคือ ฉาย วิโรจน์ศิริ
เลขานุการส่วนตัว พ.ต.อ.ชุมพล โลหะชาละ นายตำรวจติดตามตัว และ
พ.ท.บุลศักดิ์ วรรณมาศ
ทั้งหมดได้หลบหนีไปทางจังหวัดตราด และว่าจ้างเรือประมงลำหนึ่งเดินทางไปที่เกาะกง ประเทศกัมพูชา ก่อนลงเรือ จอมพล ป. ได้ให้ พ.ท.บุลศักดิ์ นำรถไปคืนสำนักนายกรัฐมนตรี และเข้าพบหัวหน้าคณะปฏิวัติ คือ พล.อ.สฤษดิ์ ว่า ทั้ง 3 ได้หลบหนีออกนอกประเทศไปแล้ว ขออย่าได้ติดตามไปเลย
ทั้งหมดได้หลบหนีไปทางจังหวัดตราด และว่าจ้างเรือประมงลำหนึ่งเดินทางไปที่เกาะกง ประเทศกัมพูชา ก่อนลงเรือ จอมพล ป. ได้ให้ พ.ท.บุลศักดิ์ นำรถไปคืนสำนักนายกรัฐมนตรี และเข้าพบหัวหน้าคณะปฏิวัติ คือ พล.อ.สฤษดิ์ ว่า ทั้ง 3 ได้หลบหนีออกนอกประเทศไปแล้ว ขออย่าได้ติดตามไปเลย
ขณะที่ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ยังมิได้หลบหนีไปเหมือนจอมพล ป. แต่ถูกควบคุมตัวเข้ากองบัญชาการคณะปฏิวัติ
พร้อมกับกล่าวว่า "อั๊วมาแล้ว อั๊วรู้ว่าจะสู้ลื้อไม่ได้ อั๊วกินเหล้าอยู่ตรงหัวมุมทเวศร์"
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็กล่าวว่า "อั๊วจะไม่ฆ่าเพื่อน แต่จะทำอะไรก็ตามใจ จะบวชให้ประชาชนสงสารก็ได้น่ะ ล้างมือทางการเมืองเถอะ ประชาชนไม่เอาลื้อแล้ว"
พ.ต.อ.เผ่าพูดกลับ "ขอไปสงบสติอารมณ์ที่ต่างประเทศล่ะ อั๊วไม่บวช"
จอมพลสฤษดิ์ ก็ตอบว่า "ตามใจลื้อ "
วันรุ่งขึ้น พล.ต.อ.เผ่า ก็เดินทางออกนอกประเทศไป จนในที่สุด ก็เสียชีวิตที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ใน พ.ศ. 2503
เหตุการณ์ภายหลัง
รัฐประหารครั้งนี้ เป็นรัฐประหารอีกครั้งที่ผลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยไปโดยสิ้นเชิง เพราะขจัดฐานอำนาจเก่าของจอมพล ป. พิบูลสงคราม อย่างเด็ดขาด และหลังจากนั้น อำนาจทั้งหมดก็ตกอยู่ที่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ต่อมาก็ได้รัฐประหารอีกครั้งในวันที่ 20 ตุลาคม ในปีต่อมา
เมื่อไม่สามารถควบคุมความวุ่นวายในสภา ฯ ได้ และเป็นที่มาของการใช้อำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ เด็ดขาด ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 17 ที่มอบอำนาจให้นายกรัฐมนตรีสามารถส่งการให้ดำเนินการอย่างเด็ดขาดต่อผู้ที่ กระทำการเป็นปรปักษ์ต่อความมั่นคงของรัฐได้ทันที
พร้อมกับกล่าวว่า "อั๊วมาแล้ว อั๊วรู้ว่าจะสู้ลื้อไม่ได้ อั๊วกินเหล้าอยู่ตรงหัวมุมทเวศร์"
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็กล่าวว่า "อั๊วจะไม่ฆ่าเพื่อน แต่จะทำอะไรก็ตามใจ จะบวชให้ประชาชนสงสารก็ได้น่ะ ล้างมือทางการเมืองเถอะ ประชาชนไม่เอาลื้อแล้ว"
พ.ต.อ.เผ่าพูดกลับ "ขอไปสงบสติอารมณ์ที่ต่างประเทศล่ะ อั๊วไม่บวช"
จอมพลสฤษดิ์ ก็ตอบว่า "ตามใจลื้อ "
วันรุ่งขึ้น พล.ต.อ.เผ่า ก็เดินทางออกนอกประเทศไป จนในที่สุด ก็เสียชีวิตที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ใน พ.ศ. 2503
เหตุการณ์ภายหลัง
รัฐประหารครั้งนี้ เป็นรัฐประหารอีกครั้งที่ผลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยไปโดยสิ้นเชิง เพราะขจัดฐานอำนาจเก่าของจอมพล ป. พิบูลสงคราม อย่างเด็ดขาด และหลังจากนั้น อำนาจทั้งหมดก็ตกอยู่ที่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ต่อมาก็ได้รัฐประหารอีกครั้งในวันที่ 20 ตุลาคม ในปีต่อมา
เมื่อไม่สามารถควบคุมความวุ่นวายในสภา ฯ ได้ และเป็นที่มาของการใช้อำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ เด็ดขาด ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 17 ที่มอบอำนาจให้นายกรัฐมนตรีสามารถส่งการให้ดำเนินการอย่างเด็ดขาดต่อผู้ที่ กระทำการเป็นปรปักษ์ต่อความมั่นคงของรัฐได้ทันที
ในส่วนของ จอมพล ป.
พิบูลสงคราม หลังจากหลบหนีไปทางกัมพูชาแล้ว ก็ลี้ภัยอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 3
เดือน จากนั้นจึงเดินทางไปบวชที่วัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย อุปสมบท ณ
วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2503 และขอลี้ภัยการเมืองเข้าประเทศญี่ปุ่น ซึ่ง ณ
ที่นั่น จอมพล ป. และครอบครัวได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากรัฐบาลญี่ปุ่น
เนื่องจากญี่ปุ่นถือว่าจอมพล ป. มีบุญคุณต่อประเทศญี่ปุ่น เพราะเป็นผู้อนุมัติให้ทหารญี่ปุ่นสามารถยกพลเข้าสู่ประเทศไทยได้โดยง่าย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้ทหารญี่ปุ่นจำนวนมากมิต้องล้มตาย และจอมพล ป. ก็ได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างเงียบ ๆ ที่บ้านพักย่านชานกรุงโตเกียว จนถึงแก่กรรม ในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ด้วยอายุ 67 ปี
ต่อมา ครอบครัวได้ทำการฌาปนกิจที่นั่น และนำอัฐิกลับสู่ประเทศไทยในวันที่ 27 มิถุนายน ปีเดียวกัน ท่ามกลางพิธีรับจากกองทหารเกียรติยศจากทั้งกองทัพบกและกองทัพอากาศ
เนื่องจากญี่ปุ่นถือว่าจอมพล ป. มีบุญคุณต่อประเทศญี่ปุ่น เพราะเป็นผู้อนุมัติให้ทหารญี่ปุ่นสามารถยกพลเข้าสู่ประเทศไทยได้โดยง่าย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้ทหารญี่ปุ่นจำนวนมากมิต้องล้มตาย และจอมพล ป. ก็ได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างเงียบ ๆ ที่บ้านพักย่านชานกรุงโตเกียว จนถึงแก่กรรม ในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ด้วยอายุ 67 ปี
ต่อมา ครอบครัวได้ทำการฌาปนกิจที่นั่น และนำอัฐิกลับสู่ประเทศไทยในวันที่ 27 มิถุนายน ปีเดียวกัน ท่ามกลางพิธีรับจากกองทหารเกียรติยศจากทั้งกองทัพบกและกองทัพอากาศ
ที่มา : วิกิพีเดีย
รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2501 (สมัยจอมพลสฤษดิ์)
รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 เกิดขึ้นหลังจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐประหารในปี พ.ศ. 2500 ล้มรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม แล้วได้มอบหมายให้พจน์ สารสิน เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อจัดการเลือก ตั้ง มีการเลือกตั้งในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2500 ต่อมา วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 พลโท ถนอม กิตติขจร จึงขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 เกิดขึ้นหลังจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐประหารในปี พ.ศ. 2500 ล้มรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม แล้วได้มอบหมายให้พจน์ สารสิน เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อจัดการเลือก ตั้ง มีการเลือกตั้งในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2500 ต่อมา วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 พลโท ถนอม กิตติขจร จึงขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ทว่า
การเมืองในรัฐสภาไม่สงบ
เนื่องจากบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเรียกร้องเอาผลประโยชน์และมีการขู่ว่า
หากไม่ได้ตามที่ร้องขอจะถอนตัวจากการสนับสนุนรัฐบาล
เป็นต้น[ต้องการอ้างอิง] พลโท ถนอม กิตติขจรก็ไม่อาจควบคุมสถานการณ์ได้
ประกอบกับจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ หัวหน้าคณะปฏิวัติ
ก็ได้เดินทางไปต่างประเทศเพื่อรักษาโรคประจำตัว เมื่อเดินทางกลับมา
ในเช้าวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 พลเอก
ถนอม กิตติขจรจึงประกาศลาออกในเวลาเที่ยงของวันเดียวกัน แต่ยังไม่ได้ประกาศให้แก่ประชาชนทราบโดยทั่วกัน จากนั้นในเวลา 21.00 น.
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศยึดอำนาจอีกครั้ง โดยอ้างถึงเหตุความมั่นคงของประเทศ ซึ่งมีลัทธิคอมมิวนิสต์กำลังคุกคาม โดยมีคำสั่งคณะปฏิวัติให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 ที่ใช้อยู่ขณะนั้น ยุบสภา ยกเลิกสถาบันทางการเมือง ได้แก่ พรรคการเมือง เป็นต้น
ถนอม กิตติขจรจึงประกาศลาออกในเวลาเที่ยงของวันเดียวกัน แต่ยังไม่ได้ประกาศให้แก่ประชาชนทราบโดยทั่วกัน จากนั้นในเวลา 21.00 น.
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศยึดอำนาจอีกครั้ง โดยอ้างถึงเหตุความมั่นคงของประเทศ ซึ่งมีลัทธิคอมมิวนิสต์กำลังคุกคาม โดยมีคำสั่งคณะปฏิวัติให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 ที่ใช้อยู่ขณะนั้น ยุบสภา ยกเลิกสถาบันทางการเมือง ได้แก่ พรรคการเมือง เป็นต้น
จากนั้นตั้งแต่วันที่ 20
ตุลาคม พ.ศ. 2501 จนถึงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2502
คณะปฏิวัติได้มีประกาศคณะปฏิวัติออกมาทั้งหมด 57 ฉบับ
มีสภาร่างรัฐธรรมนูญมาจากการแต่งตั้งไม่ใช่เลือกตั้ง
มีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
ซึ่งมีเพียงสั้น ๆ 20 มาตราเท่านั้น
ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 ก็มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเพียง 14 คนเท่านั้น โดยไม่มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 ก็มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเพียง 14 คนเท่านั้น โดยไม่มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
รัฐประหารครั้งนี้เรียกได้
ว่าเป็น รัฐประหารเงียบ หรือ การยึดอำนาจตัวเอง ก็ว่าได้
ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ส่งผลให้จอมพล สฤษดิ์
ธนะรัชต์สามารถใช้อำนาจในตำแหน่งได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด จากรัฐธรรมนูญ
มาตรา 17 ที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีจัดการกับบุคคลที่ก่อความไม่สงบได้ทันที
แล้วจึงค่อยแจ้งต่อสภา
ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ก็ได้ใช้อำนาจหน้าที่อย่างเต็มที่ในการควบคุมสถานการณ์ของ ประเทศ เช่น การปราบปรามฝิ่น มีการเผาฝิ่นที่ท้องสนามหลวงเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2502 และเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกัน มีเหตุเพลิงไหม้ติดกันถึง 3 ครั้ง เป็นที่ฝั่งธนบุรี 2 ครั้ง และที่บางขุนพรหมอีก 1 ครั้ง
ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ จอมพลสฤษดิ์เป็นผู้อำนวยการดับเพลิงเอง ต่อมาได้มีการจับกุมผู้วางเพลิงได้ทั้งหมด 3 ราย เป็นคนไทยเชื้อสายจีน ซึ่งทั้งหมดยอมรับว่ารับจ้างมาเพื่อวางเพลิง จึงมีคำสั่งตามมาตรา 17 ให้ประหารชีวิตบุคคลทั้ง 3 ในที่สาธารณะ
ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ก็ได้ใช้อำนาจหน้าที่อย่างเต็มที่ในการควบคุมสถานการณ์ของ ประเทศ เช่น การปราบปรามฝิ่น มีการเผาฝิ่นที่ท้องสนามหลวงเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2502 และเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกัน มีเหตุเพลิงไหม้ติดกันถึง 3 ครั้ง เป็นที่ฝั่งธนบุรี 2 ครั้ง และที่บางขุนพรหมอีก 1 ครั้ง
ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ จอมพลสฤษดิ์เป็นผู้อำนวยการดับเพลิงเอง ต่อมาได้มีการจับกุมผู้วางเพลิงได้ทั้งหมด 3 ราย เป็นคนไทยเชื้อสายจีน ซึ่งทั้งหมดยอมรับว่ารับจ้างมาเพื่อวางเพลิง จึงมีคำสั่งตามมาตรา 17 ให้ประหารชีวิตบุคคลทั้ง 3 ในที่สาธารณะ
จากมาตรา 17 นี้
ได้ประหารบุคคลที่สงสัยว่าจะก่อความไม่สงบหลายรายหรือข้อหาคอมมิวนิสต์
ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสาน เช่น ศิลา วงศ์สิน และศุภชัย ศรีสติ
ในข้อหาผีบุญ, ครอง จันดาวงศ์ และทองพันธ์ สุทธิมาศในข้อหาเดียวกัน
ที่สนามบินอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร เป็นต้น
ซึ่งจากเหตุการณ์เหล่านี้ส่งผลให้เป็นการกดดันชาวบ้าน ประชาชนที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างจากรัฐบาล
จึงทำให้ชาวบ้านหลายคนต้องหลบเข้าป่าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) จนทำให้เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า "วันเสียงปืนแตก" เมื่อผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (พกค.) ปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยปืนเป็นครั้งแรกที่อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2508
ซึ่งจากเหตุการณ์เหล่านี้ส่งผลให้เป็นการกดดันชาวบ้าน ประชาชนที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างจากรัฐบาล
จึงทำให้ชาวบ้านหลายคนต้องหลบเข้าป่าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) จนทำให้เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า "วันเสียงปืนแตก" เมื่อผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (พกค.) ปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยปืนเป็นครั้งแรกที่อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2508
คณะปฏิวัติสิ้นสุดลงเมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญเสนอชื่อจอมพลสฤษดิ์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2502
ที่มา : วิกิพีเดีย
จอมพลสฤษดิ์ ในมุมมองที่หลากหลาย
สฤษดิ์ เป็นนายกที่เลวทรามในความคิดผม
เรื่องประหารคนวางเพลิง สฤษดิ์ใช้อำนาจ ม.17 ในธรรมนูญฯ ให้นายกฯและครม.มีอำนาจลงโทษทางอาญาได้ตามอำเภอใจ
สฤษดิ์อ้างอำนาจนี้หลายครั้ง ถึงขั้นประหารชีวิตในกรณีวางเพลิง ไป5คนในเวลาเดือนเดียว
1. นายซ้ง แซ่ลิ้ม เจ้าของร้านขายรองเท้าที่ตลาดบางยี่เรือ
2. นายจำนงค์ แซ่ฉิ่น เจ้าของร้านขายยา ที่ตลาดพลู
3. นายซิ่วหยิ่น แซ่ฉิ่น น้องชายของคนที่2
4. นายฮ่องฉิ่น แซ่ฉิ่น ไฟไหม้โรงเลื่อยที่วัดพระยาไกร
5. นายอึ้ง ศิลปงาม เจ้าของร้านถ่ายรูปในตลาดท่าช้าง เดิมบางนางบวช
ทั้งหมดจะเหมือนๆกัน คือ พอเกิดเหตุไฟไหม้ สฤษดิ์ก็จะมาถึงที่เกิดเหตุ แล้วถามลูกน้องที่มาถึงก่อน ลูกน้องก็ไปลากตัวเจ้าของบ้านต้นเพลิงมา แล้วสฤษดิ์ก็ใช้ทักษะอันโง่เขลาในการไต่สวน แล้วก็สรุปว่าคนเหล่านั้นแหละเป็นคนวางเพลิง แล้วก็ประหารชีวิตตรงที่เกิดเหตุนั้นเลย
อย่างเช่นกรณี2พี่น้องเปิดร้านขายยา ไม่ได้ทำประกันไฟไหม้เอาไว้ เกิดไฟไหม้ร้านตัวเองไฟลามไปทั้งตลาด สมัยนั้นไฟฟ้าลัดวงจรเป็นว่าเล่น ฝนตกหน่อยก็ไฟดับแล้ว ที่จริงสมัยผมเป็นเด็ก(ช่วง 2530-2535)ยังไฟดับบ่อยๆเวลาฝนตกนับประสาอะไรกับยุคโน้น
แล้วมิหนำซ้ำร้านขายยาดังกล่าวก็ไม่มีประกันอัคคีภัย(เรื่องวางเพลิงเอา ประกันจึงเป็นไปไม่ได้) หรือต่อให้โง่เขลาจนคิดได้ว่าเป็นการวางเพลิงเผาบ้านตัวเอง(แล้วไม่ได้ ตัง?)จริงก็ไม่ควรต้องโทษถึงประหารชีวิตเลย แล้วประหารก็ประหารมันตรงนั้นเลยตรงที่เกิดเหตุใช้เวลาไต่สวนวันเดียวประหาร เลยทั้งนั้น
นี่ยังไม่นับคนที่ถูกสฤษดิ์ประหารชีวิตด้วยข้อหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์อีกมากมาย
คนชั่วร้ายอย่างสฤษดิ์กระทำ
การฆ่าชีวิตผู้อื่นเป็นผักปลาเพื่อเอาดีเข้าตัวได้ขนาดนี้
ก็ยังมีคนรุ่นหลังหลายคนชื่นชมสรรเสริญอยู่ได้
ยังอุตส่าห์ไปหาข้อดีง่อยๆมาสรรเสริญได้
ก็เพราะว่าคนเหล่านี้มีสภาวะที่ถูกสะกดจิตไปแล้วเลยทำให้สภาพความเป็นธรรมใน
สมองบิดเพี้ยนไป
ที่มา : http://pantip.com/topic/33395852
..................................................................................................................................................................................................................................................................
ความทรงจำจากอดีตเมื่ออายุสิบสองปี
เคยเห็นท่านจอมพลผ้าขาวม้าแดง นั่งรถเก๋งผ่านหน้าไปแบบชัดๆ เพราะซอยที่อยู่ไม่กว้างมาก เป็นซอยแยกของซอยสายลม ถนนพหลโยธิน ท่านมาซื้อบ้านให้อนุภรรยาที่เป็นนางงามสมัยก่อนอยู่ในซอยเดียวกัน
..................................................................................................................................................................................................................................................................
ความทรงจำจากอดีตเมื่ออายุสิบสองปี
เคยเห็นท่านจอมพลผ้าขาวม้าแดง นั่งรถเก๋งผ่านหน้าไปแบบชัดๆ เพราะซอยที่อยู่ไม่กว้างมาก เป็นซอยแยกของซอยสายลม ถนนพหลโยธิน ท่านมาซื้อบ้านให้อนุภรรยาที่เป็นนางงามสมัยก่อนอยู่ในซอยเดียวกัน
เรียกว่าเวลาท่านมาเยี่ยมอนุภรรยาทั้งสามไม่ต้องเสียเวลา เข้าซอยนี้ซอยเดียว เยี่ยมได้สามบ้าน
อนุภรรยาทั้งสามของท่าน แต่ละบ้านสวยบาดตาไม่แพ้กันเลย เวลามีงานประกวดนางงาม
ไม่ว่าจะเป็นนางสาวถิ่นไทยงาม ที่เชียงใหม่ นางงามวชิราวุธ นางงามจังหวัดต่างๆ เมื่อได้ตำแหน่ง
ไม่ว่าจะเป็นนางสาวถิ่นไทยงาม ที่เชียงใหม่ นางงามวชิราวุธ นางงามจังหวัดต่างๆ เมื่อได้ตำแหน่ง
จะมีผู้ทำหน้าที่เป็นแมวมอง ไปพามาให้ท่านเป่ากระหม่อม รับขวัญด้วยบ้านและรถเทานุท
ซึ่งเป็นรถยี่ห้อโก้เก๋ ทันสมัยในเวลานั้น ใครเป็นอนุภรรยาท่าน ก็ดูจากว่าขับรถยี่ห้อนี้ แต่ตอนนี้รถยี่ห้อนี้ไม่มีแล้ว
ซึ่งเป็นรถยี่ห้อโก้เก๋ ทันสมัยในเวลานั้น ใครเป็นอนุภรรยาท่าน ก็ดูจากว่าขับรถยี่ห้อนี้ แต่ตอนนี้รถยี่ห้อนี้ไม่มีแล้ว
เมื่อท่านถึงแก่อสัญกรรม ได้มีการแฉเรื่องราวชีวิตรักของจอมพลผ้าขาวม้าแดง เป็นที่อื้อฉาวมาก
มีการฟ้องร้องแบ่งทรัพย์มรดกจากลูกชายที่เกิดจากภรรยาดั้งเดิมของท่านจอมพล กับท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์
มีการฟ้องร้องแบ่งทรัพย์มรดกจากลูกชายที่เกิดจากภรรยาดั้งเดิมของท่านจอมพล กับท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์
ทาไปทำมาก็โดนอายัดทรัพย์เพราะร่ำรวยผิดปรกติ
ผู้นำประเทศไทย สามารถชี้เป็นชี้ตายคนได้ ยามเรืองอำนาจ ใครๆก็เข้าหา นำทรัพย์สินเงินทองมากองให้
ใครอยากได้สัมปทานป่าไม้ เหมืองแร่ หรืออื่นๆ วิ่งเข้าหา ซึ่งเป็นเรื่องปรกติของสังคมคนใหญ่คนโต
ใครอยากได้สัมปทานป่าไม้ เหมืองแร่ หรืออื่นๆ วิ่งเข้าหา ซึ่งเป็นเรื่องปรกติของสังคมคนใหญ่คนโต
ยิ่งเรืองอำนาจยาวนาน เงินทองยิ่งเพิ่มพูนกี่ชาติก็ใช้ไม่หมด การที่ท่านมีอนุภรรยาเป็นร้อยๆคน
บางคนก็ว่าเป็นการกระจายรายได้ ช่วยให้อีกหลายชีวิตมีความเป็นอยู่ดีขึ้น
บางคนก็ว่าเป็นการกระจายรายได้ ช่วยให้อีกหลายชีวิตมีความเป็นอยู่ดีขึ้น
พ่อค้าเพชรสมัยนั้นหน้าบาน เพราะขายเพชรได้ราคาดี เคยอ่านเจอว่า ท่านจะซื้่อเพชรตั้งแต่สองกระรัตขึ้่นไป
มีเป็นร้อยๆเม็ด เพื่อไว้แจกรับขวัญสาวๆ บางคนแทบไม่เคยมีความสัมพันธ์ทางเพศกันเลย
แค่มาเป่ากระหม่อมรับเลี้ยงดู ให้เงินเดือนประจำ หนึ่งปีไปหาที สุขภาพท่านก็ไม่ค่อยดี มีหลายโรครุมเร้า
แค่มาเป่ากระหม่อมรับเลี้ยงดู ให้เงินเดือนประจำ หนึ่งปีไปหาที สุขภาพท่านก็ไม่ค่อยดี มีหลายโรครุมเร้า
ส่วนท่านผู้หญิง ท่านก็วางตัวอยู่เหนือปัญหาทั้งปวง ท่านมีศักดิ์เป็นญาติกันด้วย ท่านเรียกจอมพลสฤษดิ์ว่า น้า
ที่มา : http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/09/K8334588/K8334588.htmlจากคุณ : พนอจัน FriendFlock Bloggang
เขียนเมื่อ : 19 ก.ย. 52 06:24:30
..................................................................................................................................................................................................................................................................
10 เรื่องน่ารู้ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ แชร์ให้เพื่อนดู
หากจะพูดถึงคนสำคัญทางทหาร
และการเมืองแล้วล่ะก็ เชื่อว่าในหัวของหลายๆ คนจะมีชื่อของ “จอมพลสฤษดิ์
ธนะรัชต์” แต่เด็กสมัยใหม่กลับรู้จักท่านน้อยมาก ทีมงาน toptenthailand
ขอถือโอกาสนี้แนะนำเรื่องราวของท่านผ่านหัวข้อ 10 เรื่องน่ารู้ จอมพลสฤษดิ์
ธนะรัชต์
10. คำพูดติดหู
10. คำพูดติดหู
ท่านเป็นเจ้าของคำพูดที่ว่า "พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ" และ "ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว"
9. เป็นที่รู้จัก
จอมพลสฤษดิ์มีชื่อเสียงเป็น
ที่รู้จักจากการแปลวรรณกรรมกัมพูชามาเป็นภาษาไทย
และเคยให้การสนับสนุนผู้มีอำนาจของประเทศลาว นายพลพูมี หน่อสะหวัน
ในการต่อสู้กับกองโจรคอมมิวนิสต์ปะเทศลาว ในราชอาณาจักรลาว
8. ภรรยา
จอมพลสฤษดิ์มีอนุภรรยาจำนวนมาก และมีบุตรหลายคน สมรสครั้งสุดท้ายกับนางสาววิจิตรา ชลทรัพย์ หรือ ท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์
7. การศึกษา
เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่
จังหวัดมุกดาหาร จากนั้นเข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดมหรรณพาราม ในปี
พ.ศ. 2462 ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก
จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2471
ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นนักเรียนทำการนายร้อย กองพันที่ 1 กรมทหารราบที่
2 รักษาพระองค์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472
6. ประวัติ
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
เกิดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 ที่บ้านท่าโรงยา ตลาดพาหุรัด
กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของพันตรีหลวงเรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์)
กับนางจันทิพย์ ธนะรัชต์ (สกุลเดิม วงษ์หอม)
5. การรับราชการทหาร
ในปี พ.ศ. 2476
ขณะที่ติดยศ ร้อยตรี (ร.ต.) ได้เกิดกบฏบวรเดช นำโดยพลเอก พระวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าบวรเดช ร้อยตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์
เป็นหนึ่งในผู้บังคับหมวดปราบปรามกบฏของฝ่ายรัฐบาล
ที่มีพันเอกหลวงพิบูลสงคราม เป็นผู้บังคับบัญชา หลังจากรัฐบาลได้รับชัยชนะ
ได้รับพระราชทานยศ ร้อยโท (ร.ท.) จากนั้นอีก 2 ปีก็ได้เลื่อนยศเป็น
ร้อยเอก (ร.อ.)
ในปี พ.ศ. 2484 ร.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้าร่วมรบในสงครามมหาเอเชียบูรพาขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองทัพทหาร ราบที่ 33 จังหวัดลำปาง มียศเป็น พันตรี (พ.ต.) และได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความกล้าหาญ จนช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2488 จึงได้เลื่อนยศเป็น พันเอก (พ.อ.) ตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 13 และผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลำปาง
ในปี พ.ศ. 2484 ร.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้าร่วมรบในสงครามมหาเอเชียบูรพาขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองทัพทหาร ราบที่ 33 จังหวัดลำปาง มียศเป็น พันตรี (พ.ต.) และได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความกล้าหาญ จนช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2488 จึงได้เลื่อนยศเป็น พันเอก (พ.อ.) ตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 13 และผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลำปาง
4. จอมพล
ชีวิตราชการของพันเอกสฤษดิ์
ธนะรัชต์ ก็ได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. 2492
ได้รับพระราชทานยศ พลตรี (พล.ต.) ดำรงตำแหน่งแม่ทัพกองทัพที่ 1
และรักษาการผู้บัญชาการกองพลที่ 1
ผลงานที่สร้างชื่อคือการเป็นหัวหน้าปราบกบฏวังหลวงเมื่อปีเดียวกัน
หลังเสร็จสิ้นภารกิจ ได้รับการเลื่อนยศเป็น พลโท (พล.ท.)
ต่อด้วยการก้าวขึ้นตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2493 ต่อมาในปี พ.ศ. 2495 ได้ครองตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบก ครองยศ พลเอก (พล.อ.) ส่วนตำแหน่งในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามนั้น พลเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ต่อมาในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2497 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารบก และได้รับพระราชทานยศ จอมพล
ต่อด้วยการก้าวขึ้นตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2493 ต่อมาในปี พ.ศ. 2495 ได้ครองตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบก ครองยศ พลเอก (พล.อ.) ส่วนตำแหน่งในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามนั้น พลเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ต่อมาในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2497 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารบก และได้รับพระราชทานยศ จอมพล
3. บทบาททางการเมือง
ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.
2500 ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
อันเป็นรัฐบาลชุดสุดท้ายของจอมพล ป. พิบูลสงคราม
แต่อยู่ในตำแหน่งนั้นได้เพียง 10 วัน ก็ลาออก
โดยสาเหตุการลาออกนั้นเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500
ซึ่งมีการกล่าวขานว่าเป็นการเลือกตั้งสกปรก มีการโกงทุกรูปแบบ โดยเฉพาะการใช้อันธพาลที่เรียกโดยสุภาพในขณะนั้นว่า "ผู้กว้างขวาง" ซึ่งผลก็คือ พรรคเสรีมนังคศิลา ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้รับเสียงข้างมาก
จึงสามารถดำเนินการจัดตั้งรัฐบาล ท่ามกลางความวุ่นวายอย่างหนัก จากการเดินประท้วงของนักเรียนนักศึกษาและประชาชนเป็นจำนวนมาก เรียกร้องให้จอมพล ป. พิบูลสงครามและ พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ ลาออกจากตำแหน่ง
ซึ่งมีการกล่าวขานว่าเป็นการเลือกตั้งสกปรก มีการโกงทุกรูปแบบ โดยเฉพาะการใช้อันธพาลที่เรียกโดยสุภาพในขณะนั้นว่า "ผู้กว้างขวาง" ซึ่งผลก็คือ พรรคเสรีมนังคศิลา ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้รับเสียงข้างมาก
จึงสามารถดำเนินการจัดตั้งรัฐบาล ท่ามกลางความวุ่นวายอย่างหนัก จากการเดินประท้วงของนักเรียนนักศึกษาและประชาชนเป็นจำนวนมาก เรียกร้องให้จอมพล ป. พิบูลสงครามและ พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ ลาออกจากตำแหน่ง
2. วีรบุรุษมัฆวานฯ
ช่วงปี 2500
สถานการณ์ลุกลาม เกิดความวุ่นวายอย่างหนัก จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ได้แต่งตั้งให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้บัญชาการ 3 เหล่าทัพ
เพื่อคอยควบคุมสถานการณ์ แต่จอมพลสฤษดิ์
ธนะรัชต์สั่งการไม่ให้ทหารทำอันตรายประชาชนที่เดินขบวนชุมนุมประท้วง
และยังเป็นผู้นำประชาชนเข้าพบจอมพล ป. ที่ทำเนียบอีก
ทำให้กลายเป็นขวัญใจของประชาชนทันที จนได้รับฉายาในตอนนั้นว่า
"วีรบุรุษมัฆวานฯ"
1. โค่นล้มจอมพล ป.
ในคืนวันที่ 16
กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ได้นำกำลังทหารเข้ายึดอำนาจโค่นล้มจอมพล ป. พิบูลสงครามออกจากตำแหน่ง
ในคืนนั้นเอง จอมพล ป. พิบูลสงคราม และพลตำรวจเอกเผ่า
ศรียานนท์ได้ลี้ภัยไปต่างประเทศ ท่ามกลางความยินดีของประชาชนชาวไทย
รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงครามจึงได้สิ้นสุดอย่างสิ้นเชิงนับแต่นั้น
หลังจากการยึดอำนาจจากรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามแล้ว จอมพลสฤษดิ์
ธนะรัชต์เห็นว่า ไม่เหมาะสมที่ตนเองจะขึ้นครองอำนาจ
ประกอบกับมีปัญหาสุขภาพ จึงตั้งนายพจน์ สารสิน ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากรัฐบาลนายพจน์ สารสินจัดการเลือกตั้งเป็นที่เรียบร้อย พลโทถนอม กิตติขจร ก็รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 แต่กาลต่อมา ได้เกิดความวุ่นวายจากความขัดแย้งระหว่างสมาชิกพรรคที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรกับรัฐมนตรีขึ้นในรัฐบาลพลโทถนอม กิตติขจร และพลโทถนอม กิตติขจร ก็ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์จึงเดินทางกลับจากต่างประเทศแล้วร่วมมือกับพลโทถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ยึดอำนาจรัฐบาลของตนเอง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 หลังจากการทำรัฐประหารรัฐบาลของจอมพลป. พิบูลสงคราม
ที่มา : http://board.postjung.com/706635.html
4 พ.ค.56 สำนักข่าวอิศรา ได้นำเสนอรายงานพิเศษเรื่อง เปิดสเปคอนุภรรยา”จอมพลผ้าขาวม้าแดง”คู่เทียบ”ท่านพินิจ”เเห่งสุภาพบุรุษจุฑาเทพ โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
เปิด สเปคอนุภรรยา ‘จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์’ เจ้าของฉายาจอมพลผ้าขาวม้าแดง คู่เทียบ ‘ท่านพินิจ’ แห่งคุณชายพุฒิภัทร เน้นลูกครึ่ง สวยขั้นนางงาม ชาติตระกูลดี
‘คุณชายพุฒิภัทร’
แห่งละคร ชุดสุภาพบุรุษจุฑาเทพ ที่ใกล้จะลาจอช่อง 3 คืนนี้
ถือได้ว่าเป็นตอนที่สามารถกระชากเรตติ้งให้กับสถานีอย่างถล่มทลายมากที่สุด
ด้วยความน่ารักของคู่พระนางอย่าง ‘เจมส์ จิรายุ’ และ ‘เบลล่า ราณี’ รวมถึงฉาก เสื้อผ้า หน้าผม ที่ช่างเหมาะสมกับยุคสมัย
ที่สำคัญคงต้องยกความดีความชอบให้กับ ‘เก้าแต้ม’ ผู้รังสรรค์บทประพันธ์ที่ตีแผ่วงการขาอ่อนไทยได้อย่างแนบเนียนกับประเด็นที่ หลายคนอยากรู้เบื้องหลังของการประกวดนี้ว่ามีอะไรแอบแฝงบ้าง ไม่ว่าจะเป็น ความอิจฉา ความริษยา เส้นสายค่ายนางงาม หรือแม้กระทั่ง ‘เล้านางงามในคราบชนชั้นสูง’ ซึ่งล้วนถูกนำเสนอไว้ในตัวละคร ‘ท่านพินิจ’ อย่างครบถ้วน
ที่สำคัญคงต้องยกความดีความชอบให้กับ ‘เก้าแต้ม’ ผู้รังสรรค์บทประพันธ์ที่ตีแผ่วงการขาอ่อนไทยได้อย่างแนบเนียนกับประเด็นที่ หลายคนอยากรู้เบื้องหลังของการประกวดนี้ว่ามีอะไรแอบแฝงบ้าง ไม่ว่าจะเป็น ความอิจฉา ความริษยา เส้นสายค่ายนางงาม หรือแม้กระทั่ง ‘เล้านางงามในคราบชนชั้นสูง’ ซึ่งล้วนถูกนำเสนอไว้ในตัวละคร ‘ท่านพินิจ’ อย่างครบถ้วน
หาก
แต่เรื่องราวความโสมมของวงการขาอ่อนไทยในอดีตที่ถูกตีแผ่ผ่านวรรณกรรม นั้น
กลับเป็นเหตุการณ์ที่มีส่วนคล้ายคลึงกับชีวิตจริงของอดีตรองนางสาวไทย ปี 2496 ‘อมรา อัศวนนท์’
ซึ่งเคยถูกจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่มีสมญานามว่า
‘จอมพลผ้าขาวม้าแดง’ ขอ เธอแต่งงานภายหลังรับตำแหน่งอันทรงเกียรติ
โดยเสนอจะให้ที่ดินแถวสุขุมวิทและเงินนับสิบล้านบาท
แต่เธอไม่ยอมที่จะเป็นอนุภรรยาใคร เพราะทราบดีว่าจอมพลผู้นี้มีภรรยาหลวงและอนุภรรยาอยู่แล้ว กระทั่งจอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรม เธอจึงรอดพ้นจากห้วงความปรารถนาดังกล่าว และใช้ชีวิตอยู่กินกับอังกูร บุรานันท์จนถึงปัจจุบัน (อ่านเพิ่มเติม : อิงเสี้ยวชีวิต ‘จอมพลผ้าขาวม้าแดง-อมรา’ กับวิมานสีชมพูแห่งคุณชายพุฒิภัทร ?)
แต่เธอไม่ยอมที่จะเป็นอนุภรรยาใคร เพราะทราบดีว่าจอมพลผู้นี้มีภรรยาหลวงและอนุภรรยาอยู่แล้ว กระทั่งจอมพลสฤษดิ์ถึงแก่อสัญกรรม เธอจึงรอดพ้นจากห้วงความปรารถนาดังกล่าว และใช้ชีวิตอยู่กินกับอังกูร บุรานันท์จนถึงปัจจุบัน (อ่านเพิ่มเติม : อิงเสี้ยวชีวิต ‘จอมพลผ้าขาวม้าแดง-อมรา’ กับวิมานสีชมพูแห่งคุณชายพุฒิภัทร ?)
อย่าง ไรก็ตาม
เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมรองนางสาวไทยอย่างอมรา อัศวนนท์
จึงต้องตาต้องใจจอมพลผ้าขาวม้าแดงมากกว่าเจ้าของตำแหน่งนางสาวไทยตัวจริง
ด้วย ‘อมรา’
ถูก จับตาจากนักหนังสือพิมพ์ให้เป็นตัวเก็ง ของการประกวดตั้งแต่เริ่มต้น
และคาดหวังว่าจะได้ตำแหน่งนางสาวไทย
เพราะความสวยโดดเด่นของเด็กสาวลูกครึ่งไทย-ฝรั่งเศส
ประกอบกับใบหน้าที่ละม้ายคล้ายคลึงกับอลิซาเบท เทย์เลอร์ จนได้รับฉายาว่า “อลิซาเบท เทย์เลอร์ แห่งตะวันออก” อีกทั้งยังเป็นถึงธิดาของหลวงประเจิดอักษรลักษณ์ที่ช่ำชองภาษาอังกฤษ ยิ่งยังผลให้เธออาจเป็นที่หมายตาของจอมพลมากรักผู้นี้มากขึ้น
ประกอบกับใบหน้าที่ละม้ายคล้ายคลึงกับอลิซาเบท เทย์เลอร์ จนได้รับฉายาว่า “อลิซาเบท เทย์เลอร์ แห่งตะวันออก” อีกทั้งยังเป็นถึงธิดาของหลวงประเจิดอักษรลักษณ์ที่ช่ำชองภาษาอังกฤษ ยิ่งยังผลให้เธออาจเป็นที่หมายตาของจอมพลมากรักผู้นี้มากขึ้น
บัลลังก์
แห่งความงามใกล้เธอมาทุกขณะ
เมื่อได้ผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายด้วยคะแนนนำในรอบแรกของคืนการประกวดวันที่ 9
พร้อมเสียงเชียร์จากชาวศิษย์เก่ามาแตร์เดอี
ซึ่งเป็นสถานศึกษาเดียวกับเธอมาให้กำลังใจอย่างล้นหลาม
แต่แล้วในคืนวันตัดสิน ตัวเก็งอย่าง ‘อมรา’ ก็พลิกโผเมื่อถูกเบียดรัศมีความงามจาก ‘อนงค์ อัชชวัฒนา’ หรือ ‘อนงค์ นาคะเกศ’
ลูกสาวช่างตัดเสื้อในกรุงเทพฯ ที่ไม่ได้สวยโดดเด่นแต่แรกกลับเป็น
‘ม้าตีนปลาย’ ทะยานสู่เจ้าของมงกุฏนางสาวไทยคนที่ 12 ของประเทศทันที
เนื่องจาก ‘อมรา’ ที่ เคยงามเด่นเป็นสง่ามาทุกรอบการประกวดกลับซูบซีด ไม่กระปรี้กระเปร่า หรืออาจเป็นเพราะทรงผมใหม่ที่ไม่รับกับใบหน้าเธอก็ตาม หากแต่ตรงกันข้ามผิวพรรณหน้าตาของ ‘อนงค์’ กลับสวยสดชื่นผิดหูผิดตาขึ้นทันทีชวนให้เหมาะกับตำแหน่งค่ำคืนวันนั้น
เนื่องจาก ‘อมรา’ ที่ เคยงามเด่นเป็นสง่ามาทุกรอบการประกวดกลับซูบซีด ไม่กระปรี้กระเปร่า หรืออาจเป็นเพราะทรงผมใหม่ที่ไม่รับกับใบหน้าเธอก็ตาม หากแต่ตรงกันข้ามผิวพรรณหน้าตาของ ‘อนงค์’ กลับสวยสดชื่นผิดหูผิดตาขึ้นทันทีชวนให้เหมาะกับตำแหน่งค่ำคืนวันนั้น
อย่างไรก็ตาม แม้ ‘อมรา’
จะ ได้เพียงตำแหน่งรองนางสาวไทย
แต่เธอก็ถูกหมายปองจากจอมพลผ้าขาวม้าแดงหว่านล้อมทุกวิถีทางเพื่อได้มาซึ่ง
อนุภรรยาคนนี้ ผิดกับนางสาวไทยตัวจริงอย่าง ‘อนงค์’ ไม่
เคยมีข่าวเกี่ยวกับการถูกทาบทามจากจอมพลคนดังกล่าวแต่อย่างใด
อาจเพราะเป็นลูกสาวช่างตัดเสื้อ ใบหน้าดูหยาบกร้าน และถ่ายรูปไม่ขึ้น
เมื่อเทียบกับ ‘อมรา’ ก็เป็นได้
ทั้งนี้ ‘อนงค์’ ปรากฏ
เพียงภาพการแต่งงานกับนายแพทย์ ไพฑูรย์ นาคะเกศ แพทยศาสตร์บัณฑิตหนุ่มวัย
25 ปี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2500
ซึ่งใช้ชีวิตคู่ร่วมกันเรื่อยมาอย่างมีความสุขนั่นเอง
แล้วนางสาวไทยยุคหลังมีเหตุการณ์คล้ายคลึงกันหรือไม่นั้น???
‘บุ๋ม ปนัดดา วงศ์ผู้ดี’ อดีตนางสาวไทย ปี 2543 ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ‘บั้นท้ายนางงาม’
ว่า การส่งส่วยหรือมีอะไรบางอย่างกับกรรมการผู้ชายนั้น ยืนยันว่าเวทีใหญ่
ๆ ไม่มีกรณีดังกล่าวแน่นอน
เพราะนางงามต้องอยู่ในสายตาพี่เลี้ยงและกองประกวดฯ ตลอด แต่เวทีเล็ก ๆ
ที่ประกวดกันในอำเภอหรือจังหวัดอาจจะเป็นไปได้
เพราะได้ยินข่าวเข้าหูมาเหมือนกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกใจกันหลังประกวดเสร็จ
แต่
มีข่าวหนึ่งที่เป็นประเด็นจนทำให้สื่อหลายสำนักลุกขึ้นมาขุดคุ้ยวงการนาง
งาม นั่นคือ
ข่าวตัวเก็งผู้เข้าประกวดมิสอันดามันนอนกับกรรมการเพื่อให้ได้ตำแหน่ง
จึงเรียกได้ว่าช่วงนั้นประชาชนต่างมองว่านางงามเป็นผู้หญิงขายตัว
อย่างไรก็ตาม ข่าวดังกล่าวยังคงเป็นข้อสงสัยเท่านั้น และยืนยันว่า
เวทีใหญ่ ๆ ไม่มีเหตุการณ์เช่นนั้นแน่นอน
ภาย
ใต้ความงามที่ถูกปูนฉาบไว้ในวงการขาอ่อนไทยนั้น
ล้วนสวยสง่าและชวนให้หลงใหลไปกับมนต์เสน่ห์ของหญิงสาวมากความสามารถ
หากแต่ไม่มีใครที่จะรู้เบื้องหลังของรอยแตกร้าวภายใต้ปูนแผ่นนั้น จึง
คาดหวังเพียงว่า วงการประกวดนางงามไทยคงหมดยุคกังฉิน
และคงไม่ต้องได้ยินข่าวไม่ดีเหมือนในอดีตอีกต่อไป
เรียบเรียงข้อมูลจาก หนังสือดอกไม้ของชาติ : จากเวทีความงามสู่เวทีชีวิต ของ ‘อรสม สุทธิสาคร’
ที่มา : http://www.aecunited.com/อนุภรรยา
ที่มา : http://www.aecunited.com/อนุภรรยา
(ที่มา : เว็บไซต์พันธ์ทิพย์)
ทำไมคนไทยยังยกย่องจอมพลสฤษดิ์....ทั้งๆที่เขามีรายได้วันละ 3 ล้าน
เบื้องหลังการเมืองในยุคจอมพลสฤษดิ์
ในระหว่างปี 2501-2506 รวม 6 ปี ที่เขาครองต่ำแหน่งหัวหน้าคณะปฎิวัติและนายกรัฐมนตรี ผู้บริหารงานของประเทศชาติอย่างเด็ดขาดอยู่นั้น นอกจากจะได้ถูกค้นพบในเรื่องทรัพย์สินอันมโหฬารเกือบ 3 พันล้านของเขา และมีอนุภรรยานับร้อยแล้ว ปรากฎว่ามีหลักฐานต่างๆอีกมากมาย ซึ่งยังเป็นความลี้ลับอยู่ ในระยะที่อยู่
ในฐานะที่จะไม่เปิกเผยไปอีกนาน รายงานข่าวการเมือง เบื้องหลังยุดสฤษดิ์ ต่อไปนี้เป็น อีกชิ้นหนึ่งที่ถูกค้นขึ้นมาเปิดเผยว่า จอมพลสฤษดิ์ได้ดำเนินการแยบยลในการดูดเงินกระแสร์ต่างๆ ทั้งกิจการค้า การอุตสาหกรรม การธนาคาร และอื่นๆ เข้ามาสู่ฐานะทรัพย์สิน เป็นส่วนตัวอีกมากหลายประเภทด้วยกัน
เมื่อเขานำกำลังทหารเข้ายึดอำนาจเมื่อปี 2501 นั้นมีหลักฐานยืนยันได้ว่า เขามีทรัพย์สินส่วนตัวและเงินสดอยู่เพียง 10 ล้านเท่านั้น
ทั้งนี้หมายถึงรายได้จากต่ำแหน่งผู้บัญชาการสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ประธานกรรมการสลากกินแบ่ง ประธานกรรมการบริษัทอื่นๆ อีกหลายแห่ง แต่เมื่อเขาเข้ามาสู่ต่ำแหน่งหัวหน้าคณะปฎิวัติและนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ 20 ตุลาคม 2501 ถึง 8 ธันวาคม 2506 รวมเวลา 5 ปี เศษนั้นกล่าวกันว่าตามยอดจำนวนที่ทนายชมภู อรรถจินดายื่นต่อศาลว่ามีทรัพย์สิน 2874 ล้านนั้น เป็นเพียงส่วนที่ค้นพบส่วนหนึ่งเท่านั้น
เพราะถ้าจาระนัยรายการทรัพย์สินต่างๆ ที่หลั่นไหลเข้าสู่เขาทุกวันนั้น คาดคะเนกันว่า จะมีประมาณวันละ 2-3 ล้านบาท เพราะฉะนั้นทรัพย์สินต่างๆ จะรวมอยู่ที่เขาไม่น้อยกว่า 4 พัน 5 พันล้านทีเดียว นี่คือประวัติชีวิตของเขาจึงมีคุณค่ายิ่งกว่าชีวิตของฟารุคที่สามารถมีเงิน ทองใช้จ่ายส่วนพระองค์และฮาเร็มที่มโหฬารยิ่ง
เขาจึงนับเนื่องเป็นนักปฎิวัติที่รุ่มรวยที่สุดคนหนึ่งในโลก
เมื่อเขายังไม่ได้ปฎิวัติ ยังอยู่ในตำแหน่งประธานสลากกินแบ่งที่เกิดแย่งชิงกันพัลวัลระหว่างตัวเขากับ จอมพลแปลกนั้น เขามี "อีหนู" อยู่ที่นั้นเพียง 6-7 คนเท่านั้น ที่ใครๆก็รู้ว่าเป็นนางบำเรอของเขา นางบำเรอเหล่านี้ไม่มีงานมีการอะไรทำในสำนักงานนั้น นอกจากสวมสันสูงเดินไปเดินมา โชว์ปลีน่องที่ขาวสะอาดอวบอัด นัยน์ตาที่ปรือและหวานซึ้ง และริมฝีปากแดงจัดทรงผมที่ทันสมัยตามแบบทรงเบอร์ลิน และฮอลลีวู้ดเปี๊ยบ
อีหนูเหล่านี้ ที่จอมพลสฤษดิ์ ตั้งนิคเนมต่างๆ กันว่าหนูกระรอก หนูกระแต หนูกระตู้วู้ ชูคอสูงระหง เพื่อที่จะพะเยิบพะยาบทุกส่วนสัดของร่างกายให้เหนือกว่าพนักงานหญิงทั้งหลาย ในกองสลาก ให้รู้ว่ามีวรรณะและเชื้อชาติสูงกว่าและแน่นอนกว่า อีหนูเหล่านี้จะมองพนักงานผู้ชายหนุ่มๆอย่างเหยียดหยาม
ถ้าขืนสะเออะไปมองสบตา และแสดงความอัศจรรย์สนใจต่อเชพที่น่ารักของหล่อนหรือใบหน้าเกลี้ยงเกลา แผ่นอกที่อวบอัดแล้ว ในใจหล่อนก็จะพึมพัมว่า "ระวังให้ดี อ้ายหนุ่มนี่ ประเดี่ยวหม้อข้าวก็จะแตกเท่านั้น"
ทำไมคนไทยยังยกย่องจอมพลสฤษดิ์....ทั้งๆที่เขามีรายได้วันละ 3 ล้าน
เบื้องหลังการเมืองในยุคจอมพลสฤษดิ์
ในระหว่างปี 2501-2506 รวม 6 ปี ที่เขาครองต่ำแหน่งหัวหน้าคณะปฎิวัติและนายกรัฐมนตรี ผู้บริหารงานของประเทศชาติอย่างเด็ดขาดอยู่นั้น นอกจากจะได้ถูกค้นพบในเรื่องทรัพย์สินอันมโหฬารเกือบ 3 พันล้านของเขา และมีอนุภรรยานับร้อยแล้ว ปรากฎว่ามีหลักฐานต่างๆอีกมากมาย ซึ่งยังเป็นความลี้ลับอยู่ ในระยะที่อยู่
ในฐานะที่จะไม่เปิกเผยไปอีกนาน รายงานข่าวการเมือง เบื้องหลังยุดสฤษดิ์ ต่อไปนี้เป็น อีกชิ้นหนึ่งที่ถูกค้นขึ้นมาเปิดเผยว่า จอมพลสฤษดิ์ได้ดำเนินการแยบยลในการดูดเงินกระแสร์ต่างๆ ทั้งกิจการค้า การอุตสาหกรรม การธนาคาร และอื่นๆ เข้ามาสู่ฐานะทรัพย์สิน เป็นส่วนตัวอีกมากหลายประเภทด้วยกัน
เมื่อเขานำกำลังทหารเข้ายึดอำนาจเมื่อปี 2501 นั้นมีหลักฐานยืนยันได้ว่า เขามีทรัพย์สินส่วนตัวและเงินสดอยู่เพียง 10 ล้านเท่านั้น
ทั้งนี้หมายถึงรายได้จากต่ำแหน่งผู้บัญชาการสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ประธานกรรมการสลากกินแบ่ง ประธานกรรมการบริษัทอื่นๆ อีกหลายแห่ง แต่เมื่อเขาเข้ามาสู่ต่ำแหน่งหัวหน้าคณะปฎิวัติและนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ 20 ตุลาคม 2501 ถึง 8 ธันวาคม 2506 รวมเวลา 5 ปี เศษนั้นกล่าวกันว่าตามยอดจำนวนที่ทนายชมภู อรรถจินดายื่นต่อศาลว่ามีทรัพย์สิน 2874 ล้านนั้น เป็นเพียงส่วนที่ค้นพบส่วนหนึ่งเท่านั้น
เพราะถ้าจาระนัยรายการทรัพย์สินต่างๆ ที่หลั่นไหลเข้าสู่เขาทุกวันนั้น คาดคะเนกันว่า จะมีประมาณวันละ 2-3 ล้านบาท เพราะฉะนั้นทรัพย์สินต่างๆ จะรวมอยู่ที่เขาไม่น้อยกว่า 4 พัน 5 พันล้านทีเดียว นี่คือประวัติชีวิตของเขาจึงมีคุณค่ายิ่งกว่าชีวิตของฟารุคที่สามารถมีเงิน ทองใช้จ่ายส่วนพระองค์และฮาเร็มที่มโหฬารยิ่ง
เขาจึงนับเนื่องเป็นนักปฎิวัติที่รุ่มรวยที่สุดคนหนึ่งในโลก
เมื่อเขายังไม่ได้ปฎิวัติ ยังอยู่ในตำแหน่งประธานสลากกินแบ่งที่เกิดแย่งชิงกันพัลวัลระหว่างตัวเขากับ จอมพลแปลกนั้น เขามี "อีหนู" อยู่ที่นั้นเพียง 6-7 คนเท่านั้น ที่ใครๆก็รู้ว่าเป็นนางบำเรอของเขา นางบำเรอเหล่านี้ไม่มีงานมีการอะไรทำในสำนักงานนั้น นอกจากสวมสันสูงเดินไปเดินมา โชว์ปลีน่องที่ขาวสะอาดอวบอัด นัยน์ตาที่ปรือและหวานซึ้ง และริมฝีปากแดงจัดทรงผมที่ทันสมัยตามแบบทรงเบอร์ลิน และฮอลลีวู้ดเปี๊ยบ
อีหนูเหล่านี้ ที่จอมพลสฤษดิ์ ตั้งนิคเนมต่างๆ กันว่าหนูกระรอก หนูกระแต หนูกระตู้วู้ ชูคอสูงระหง เพื่อที่จะพะเยิบพะยาบทุกส่วนสัดของร่างกายให้เหนือกว่าพนักงานหญิงทั้งหลาย ในกองสลาก ให้รู้ว่ามีวรรณะและเชื้อชาติสูงกว่าและแน่นอนกว่า อีหนูเหล่านี้จะมองพนักงานผู้ชายหนุ่มๆอย่างเหยียดหยาม
ถ้าขืนสะเออะไปมองสบตา และแสดงความอัศจรรย์สนใจต่อเชพที่น่ารักของหล่อนหรือใบหน้าเกลี้ยงเกลา แผ่นอกที่อวบอัดแล้ว ในใจหล่อนก็จะพึมพัมว่า "ระวังให้ดี อ้ายหนุ่มนี่ ประเดี่ยวหม้อข้าวก็จะแตกเท่านั้น"
เงินเดือนของ
อีหนูที่กองสลากนี้เป็นเงินเดือนที่ค่อนข้างสูง
เพราะเมื่อมีคำสั่งจากพณะท่านให้บรรจุ คนที่ตั้งเงินเดือนให้ก็กลัวเกรง
ทั้งๆที่หล่อนก็ไม่สามารถทำอะไรได้สักอย่าง
เมื่อจอมพลสฤษดิ์ไปตรวจงาน
ที่กองสลาก เขาจะมีห้องพิเศษแอร์คอนดิชั่น
และอีหนูเหล่านี้จะไปคลอเคลียอยู่ที่แข้งขานวดเฟ้นให้ด้วยความจงรักภักดี
และพรำเรียกแต่ว่า "ป๋าขา ป๋าเจ้าขา คุณป๋าของหนู “
เขาจะโอบกอดและรำพรรณว่าจ้ะ ป๋ามีความสุขที่อยู่กับพวกหนูๆ
อันที่จริงในกองสลากก็ไม่มีใครเข้าใจเหตุผลกันว่า พระเอกสฤษดิ์นั้นไม่ได้มีใบหน้าจะส่อสวาทเลยสักนิด แต่ทว่า อีหนูเหล่านี้ก็แสดงความรักเขา เหมือนรักกับพวกหนุ่มๆ วัยรุ่นที่มีเนื้อหนังอันเต่งตึง ในขณะที่เนื้อหนังเขาก็แสนจะหย่อนยาน และบางทีก็ บวมอลึ่งฉึ่ง ข้อนี้เห็นจะไม่ต้องตอบ ก็คงตอบกันได้
เพราะฉะนั้นแหละ เมื่อเขาสิ้นชีวิตลงและได้ถูกเปิดเผยเขย่าไปทั้วโลกว่า เขาเป็นผู้มีความรักอยู่กับอีหนูนับร้อย จึงทำให้พวกแมกกาซีนทั่วโลกถึงกับลงทุนส่งผู้สืบข่าวมาสืบในกรุงเทพ เช่น เคลาเคียคาติ นาล แห่งเซติร์แมกกกาซีนของเยอรมันนี ถึงกับพาดหัวข่าวใหญ่ว่าเป็นเรื่องแปลกแต่จริง หลังจากสืบสวนราคาอีหนูที่ขายความรักให้แก่พณะท่านจนหมดสิ้นทุกคน เช่นอีหนูคนหนึ่งเพียงแต่เข้าพบครั้งเดียวเท่านั้นก็ได้รางวัลไป 250000 มาร์ค บางคนก็สองแสนมาร์ค
เขาจะโอบกอดและรำพรรณว่าจ้ะ ป๋ามีความสุขที่อยู่กับพวกหนูๆ
อันที่จริงในกองสลากก็ไม่มีใครเข้าใจเหตุผลกันว่า พระเอกสฤษดิ์นั้นไม่ได้มีใบหน้าจะส่อสวาทเลยสักนิด แต่ทว่า อีหนูเหล่านี้ก็แสดงความรักเขา เหมือนรักกับพวกหนุ่มๆ วัยรุ่นที่มีเนื้อหนังอันเต่งตึง ในขณะที่เนื้อหนังเขาก็แสนจะหย่อนยาน และบางทีก็ บวมอลึ่งฉึ่ง ข้อนี้เห็นจะไม่ต้องตอบ ก็คงตอบกันได้
เพราะฉะนั้นแหละ เมื่อเขาสิ้นชีวิตลงและได้ถูกเปิดเผยเขย่าไปทั้วโลกว่า เขาเป็นผู้มีความรักอยู่กับอีหนูนับร้อย จึงทำให้พวกแมกกาซีนทั่วโลกถึงกับลงทุนส่งผู้สืบข่าวมาสืบในกรุงเทพ เช่น เคลาเคียคาติ นาล แห่งเซติร์แมกกกาซีนของเยอรมันนี ถึงกับพาดหัวข่าวใหญ่ว่าเป็นเรื่องแปลกแต่จริง หลังจากสืบสวนราคาอีหนูที่ขายความรักให้แก่พณะท่านจนหมดสิ้นทุกคน เช่นอีหนูคนหนึ่งเพียงแต่เข้าพบครั้งเดียวเท่านั้นก็ได้รางวัลไป 250000 มาร์ค บางคนก็สองแสนมาร์ค
แมกกาซีนหลายฉบับเขียนว่า
สฤษดิ์มีฮาเร็มในกรุงไม่ต่ำกว่า 2 ฮาเร็ม กิจการเขามีค่านับพันๆล้าน
ในขณะที่เบืองนอกฮาเร็มอันมโหฬารซึ่งมีแต่กลิ่นนำหอมคละคลุ้ง
ดอกไม้บานสะพรั่งและสระนำนั้น
เขาได้ใช้อำนาจเผด็จการแก่ชาวไทยอย่างไม่ไว้หน้า
ชาวไทยเหล่านี้ถูกบังคับให้ปฎิบัติตามคำขวัญร้อยแปดของเขา(ซี่งเขาให้หลวงวิจิตร..เขียนให้) ว่าต้องประหยัดบ้าง ต้องรัดเข็มขัดบ้าง เพื่อที่จะมีเงินเหลือเสียภาษีให้แก่ชาติบ้านเมือง
ชาวไทยเหล่านี้ถูกบังคับให้ปฎิบัติตามคำขวัญร้อยแปดของเขา(ซี่งเขาให้หลวงวิจิตร..เขียนให้) ว่าต้องประหยัดบ้าง ต้องรัดเข็มขัดบ้าง เพื่อที่จะมีเงินเหลือเสียภาษีให้แก่ชาติบ้านเมือง
คัดมาจาก หนังสือเบื้องหลังการเมืองยุดสฤษดิ์ โดยไทยน้อย พิมพ์เมื่อปี 2508 หลังสฤษดิ์ตายได้ 2 ปี
จากคุณ : ย้อนรอย
กระทู้จากเว็บไซต์พันธ์ทิพย์
จากคุณ : ย้อนรอย
กระทู้จากเว็บไซต์พันธ์ทิพย์
เหตุที่ผมตั้งกระทู้นี้ ก็เพราะรู้สึกประหลาดใจที่ลูกชาย ม.3 เขาเลือกจอมพลสฤษดิ์ เป็นนักการเมืองที่ควรยกย่อง (ทำรายงานส่งอาจารย์) โดยเขาให้เหตุผลว่าเขาเคยเห็นอนุสาวรีย์ของจอมพลผู้นี้ที่ขอนแก่น และหนังสือที่ห้องสมุดหลายเล่มก็เขียนถึงแต่คุณงามความดีที่สฤษดิ์ทำให้แก่ ประเทศชาติ
ผมเองก็รู้สึกลำบากใจที่จะอธิบายเหมือนกัน เพราะได้เข้าไปในห้องสมุดธรรมศาสตร์ (เป็นห้องสมุดที่ดีที่สุดในด้านสังคมศาสตร์ของประเทศ) ก็เจอแต่หนังสือที่กล่าวยกย่องจอมพลผู้นี้แทบทั้งนั้น
แต่มีอยู่เล่มหนึ่งเก่าและจะขาดหมดแล้ว (คือเล่มทีที่ผมคัดมาให้อ่านกันในพันธุ์ทิพย์) เขียนต่างจาก
หนังสือส่วนใหญ่ที่พูดถึงสฤษดิ์ ผมจึงอยากจะคัดมาเผยแพร่ ให้คนส่วนใหญ่ในสังคมนี้ได้อ่านและ
น่าจะร่วมกันวิพากษ์วิจารณ์ต่อไปด้วย (ใครจะให้ผมคัดมาให้อ่านอีกบอกด้วยนะครับ หรือใครมีข้อมูล
เพิ่มเติมช่วยส่งมาด้วยนะครับ)
จากคุณ : ย้อนรอย
กระทู้จากเว็บไซต์พันธ์ทิพย์
กระทู้จากเว็บไซต์พันธ์ทิพย์
ความคิดเห็นที่ 7
ความเลวร้าย
ของจอมพลผู้นี้ยังมีมากมาย เขาใช้สถาบันหลักของชาติมาสร้างความชอบธรรม
ในการแสวงหาผลประโยชน์เข้าตัวเองและพวกพ้อง
แผนพัฒนาประเทศที่ผิดพลาดและส่งผลมาถึงปัจจุบัน
ก็เพราะการคอรัปชั่นภายใต้รัฐบาลเผด็จการของเขาเป็นไปอย่างกว้างขวาง
/วันตายของนายพลผู้นี้ ควรจะยกให้เป็นวันคอรัปชั่นแห่งชาติ
เพื่อเยาวชนคนรุ่นหลัง จะได้เรียนรู้ว่าประเทศนี้มีนายทหารที่มียศถึงจอมพลที่เรียกร้องให้คนใน ประเทศซื่อสัตย์และมีความจงรักภักดี แต่ตัวเขาตายไปพร้อมกับทรัพย์สมบัติกว่าสามพันล้านบาทและมีเรื่องเมืยน้อย เป็นร้อย จนทำให้ สื่อมวลชนของโลก ให้ฉายาเขาว่านักบรรลือโลกในสมัยนิวเคลียร์ ที่นำเงินของประเทศที่เต็มไปด้วยคนยากจน ไปหาความสุขใส่ตัวอย่างที่ผู้นำเผด็จการของโลกต้องมาเรียกรู้จากผู้นำของไทย คนนี้
เพื่อเยาวชนคนรุ่นหลัง จะได้เรียนรู้ว่าประเทศนี้มีนายทหารที่มียศถึงจอมพลที่เรียกร้องให้คนใน ประเทศซื่อสัตย์และมีความจงรักภักดี แต่ตัวเขาตายไปพร้อมกับทรัพย์สมบัติกว่าสามพันล้านบาทและมีเรื่องเมืยน้อย เป็นร้อย จนทำให้ สื่อมวลชนของโลก ให้ฉายาเขาว่านักบรรลือโลกในสมัยนิวเคลียร์ ที่นำเงินของประเทศที่เต็มไปด้วยคนยากจน ไปหาความสุขใส่ตัวอย่างที่ผู้นำเผด็จการของโลกต้องมาเรียกรู้จากผู้นำของไทย คนนี้
จากคุณ : si
กระทู้จากเว็บไซต์พันธ์ทิพย์
กระทู้จากเว็บไซต์พันธ์ทิพย์
ความคิดเห็นที่ 16
"ไทมส์"นำเรื่องฉาวโฉ่ของสฤษดิ์พิมพ์แพร่ทั่วโลก”
นิตยสาร "ไทมส์" ของอเมริกา ซึ่งจำหน่ายทั่วโลก นำเรื่องราวของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตีพิมพ์แพร่ไปทั่วโลกอย่างกว้างขว้าง เหมือนไฟลามทุ่งมีทั้งเรื่อง และลงภาพประกอบอย่างเต็มภาคภูมิ "สฤษดิ์
ยืนเคียงข้างวิจิตรา ระริกระรื่นในยามสุขที่มีชีวิตอยู่”
นิตยสาร "ไทมส์" ของอเมริกา ซึ่งจำหน่ายทั่วโลก นำเรื่องราวของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตีพิมพ์แพร่ไปทั่วโลกอย่างกว้างขว้าง เหมือนไฟลามทุ่งมีทั้งเรื่อง และลงภาพประกอบอย่างเต็มภาคภูมิ "สฤษดิ์
ยืนเคียงข้างวิจิตรา ระริกระรื่นในยามสุขที่มีชีวิตอยู่”
"ไทมส์" นำเรื่องอันฉาวโฉ่ของจอมพลสฤษดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยไปลง ในฉบับวันที่ 17 ก.ค. ในหัวเรื่องว่า "อนุภรรยากับกองมรดกมหาศาลของจอมพล" พร้อมกับลงภาพจอมพลสฤษดิ์กับท่านผู้หญิงวิจิตราสมัยเมื่อความหลังยังหวานชื่น กำลังชี้ชวนกันให้ชมกระถางต้นกระบองเพชรอยู่
นักเขียน "ไทมส์" บรรยายเรื่องราวไว้ว่าระหว่างที่นอนเจ็บอยู่ที่โรงพยาบาลที่กรุงเทพ นายกรัฐมนตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ของไทยกอดภรรยาคนสวยของเขาไว้ในวงแขน และร้องเพลงเก่าเพลงหนึ่งกับเธอ เนื้อร้องขึ้นต้นว่า "ร้อยชู้หรือจะสู้เมียตน"
สฤษดิ์นับเป็นสุภาพ เรียบร้อยด้วยประการทั้งปวง แต่เมื่อถึงอสัญกรรมเมื่อเดือนธันวาคมศกก่อน ด้วยโรคตับแข็งและโรคอื่น เพราะใช้ชีวิตอย่างโชกโชน ซื่อของบรรดาสาวทั้งหลายร้อยกว่าคนยอมรับว่าได้รับความรักจากเขา พร้อมกันนั้นก็ขอส่วนแบ่งจากกองมรดกก็ปรากฎขึ้นตามหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ ในกรุงเทพ ในจำนวนนี้เป็นเหล่าภรรยาลับวงใน ผู้ใกล้ชิด 51 คน ซึ่งคนไทย พากันเรียกว่า "อนุภรรยา"
นักเขียน "ไทมส์" บรรยายเรื่องราวไว้ว่าระหว่างที่นอนเจ็บอยู่ที่โรงพยาบาลที่กรุงเทพ นายกรัฐมนตรีสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ของไทยกอดภรรยาคนสวยของเขาไว้ในวงแขน และร้องเพลงเก่าเพลงหนึ่งกับเธอ เนื้อร้องขึ้นต้นว่า "ร้อยชู้หรือจะสู้เมียตน"
สฤษดิ์นับเป็นสุภาพ เรียบร้อยด้วยประการทั้งปวง แต่เมื่อถึงอสัญกรรมเมื่อเดือนธันวาคมศกก่อน ด้วยโรคตับแข็งและโรคอื่น เพราะใช้ชีวิตอย่างโชกโชน ซื่อของบรรดาสาวทั้งหลายร้อยกว่าคนยอมรับว่าได้รับความรักจากเขา พร้อมกันนั้นก็ขอส่วนแบ่งจากกองมรดกก็ปรากฎขึ้นตามหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆ ในกรุงเทพ ในจำนวนนี้เป็นเหล่าภรรยาลับวงใน ผู้ใกล้ชิด 51 คน ซึ่งคนไทย พากันเรียกว่า "อนุภรรยา"
จากคุณ : ย้อนรอย
กระทู้จากเว็บไซต์พันธ์ทิพย์
กระทู้จากเว็บไซต์พันธ์ทิพย์
ความคิดเห็นที่ 17
จอมพลสฤษดิ์ ได้หว่านโปรย
บ้านช่อง รถยนต์ และสิ่งของฟุ่มเฟือยอื่นให้อย่างเต็มที่
และให้กำเนิดลูกกับอนุภรรยาเหล่านี้ไม่น้อยกว่าเก้าคน
อนุภรรยาหลายคนถึงกับเข้าชื่อกันยื่นฟ้องศาลเพื่อขอแบ่งเงินของสฤษดิ์เอง
ต้องยกย่องไหวพริบในการยักย้ายถ่ายเทเงินทองของบุรุษเหล็กผู้เข้มแข็ง ทรัพย์สมบัติของเขาได้เพิ่มพูนขึ้นอย่างรวดเร็ว ลูกชายของสฤษดิ์ ซึ่งเกิดกับภรรยาคนก่อนสองคน ได้ขอเป็นผู้จัดการมรดกแทนท่านผู้หญิงวิจิตรา ประมาณว่าพ่อตนมีทรัพย์สมบัติไม่ต่ำกว่า 2800 ล้านบาท
ซึ่งนับว่าเกินกว่านายทหารอาชีพจะมีมาได้ ด้วยเหตุนั้น ก่อนที่ทรัพย์สินจะถูกแบ่งบันกระจัดกระจายออกไป จอมพลถนอม กิตติขจร ผู้ดำรงตำแหน่งสืบแทน จึงได้ตั้งคณะกรรมการจำนวนห้านาย เพื่อพิจารณาดูว่า เงินของประเทศเข้าไปอยู่ในกระเป๋าของ สฤษดิ์หรือเปล่า
คณะกรรมการสอบสวน ได้เปิดเผยรายงานชั่วคราว เมื่อสัปดาห์ก่อนว่า ได้พบเงินฝากของยอดบุรุษเหล็กตามธนาคารต่างๆ สี่ร้อยล้านบาท แต่ก็นับเป็นน้ำหยดเดียวในมหาสมุทร เมื่อเทียบกับมูลค่าของอาณาจักรค้าขายของเขา ที่แผ่ไปทั่วประเทศรวมทั้งผลประโยชน์อิทธิพลส่วนใหญ่อยู่ในชื่อวงศาคณาญาติ ของเขา ในบริษัท อภิสิทธิ์ไม่ตำกว่า 15แห่ง
ในจำนวนนี้เช่น ธนาคาร แห่งเดียวที่ได้รับอนุญาติให้สั่งทองเข้าได้ บริษัทตัวแทนไม้อัดผูกขาดของรัฐบาล โรงเบียร์ บริษัทได้รับจ้างเหมาพิมพ์สลากกินแบ่ง และจำหน่ายสลากกินแบ่งอีกสองบริษัท บริษัทก่อสร้างที่ได้รับสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างรายใหญ่ๆของ รัฐบาล
นอกจากนี้เขายังมีเรือประมง รถยนต์ประมาณ 50 คัน บ้านในกรุงเทพ 30 หลัง และ นาอีก 9500 ไร่
สำหรับปัญหาสฤษดิ์ เอาเงินรัฐไปเป็นส่วนตัวหรือไม่ คณะกรรมการได้แถลงมาจนถึงวันนั้นว่า ได้ตรวจพบเงินของชาติไปอยู่ในกองมรดก สฤษดิ์แล้ว หนึ่งร้อยห้าสิบล้านบาท พระมนูเวทย์วิมล ประธานคฯะกรรมการ แจ้งว่า สฤษดิ์ ได้เอาเงินของชาติไปปรนเปรออนุภรรยา โดยเฉพาะ สิบสองล้านบาท เงินของชาติส่วนนี้เอาไปเป็นงบพิเศษราชการ ที่เรียกกันว่า "งบราชการลับ"
ต้องยกย่องไหวพริบในการยักย้ายถ่ายเทเงินทองของบุรุษเหล็กผู้เข้มแข็ง ทรัพย์สมบัติของเขาได้เพิ่มพูนขึ้นอย่างรวดเร็ว ลูกชายของสฤษดิ์ ซึ่งเกิดกับภรรยาคนก่อนสองคน ได้ขอเป็นผู้จัดการมรดกแทนท่านผู้หญิงวิจิตรา ประมาณว่าพ่อตนมีทรัพย์สมบัติไม่ต่ำกว่า 2800 ล้านบาท
ซึ่งนับว่าเกินกว่านายทหารอาชีพจะมีมาได้ ด้วยเหตุนั้น ก่อนที่ทรัพย์สินจะถูกแบ่งบันกระจัดกระจายออกไป จอมพลถนอม กิตติขจร ผู้ดำรงตำแหน่งสืบแทน จึงได้ตั้งคณะกรรมการจำนวนห้านาย เพื่อพิจารณาดูว่า เงินของประเทศเข้าไปอยู่ในกระเป๋าของ สฤษดิ์หรือเปล่า
คณะกรรมการสอบสวน ได้เปิดเผยรายงานชั่วคราว เมื่อสัปดาห์ก่อนว่า ได้พบเงินฝากของยอดบุรุษเหล็กตามธนาคารต่างๆ สี่ร้อยล้านบาท แต่ก็นับเป็นน้ำหยดเดียวในมหาสมุทร เมื่อเทียบกับมูลค่าของอาณาจักรค้าขายของเขา ที่แผ่ไปทั่วประเทศรวมทั้งผลประโยชน์อิทธิพลส่วนใหญ่อยู่ในชื่อวงศาคณาญาติ ของเขา ในบริษัท อภิสิทธิ์ไม่ตำกว่า 15แห่ง
ในจำนวนนี้เช่น ธนาคาร แห่งเดียวที่ได้รับอนุญาติให้สั่งทองเข้าได้ บริษัทตัวแทนไม้อัดผูกขาดของรัฐบาล โรงเบียร์ บริษัทได้รับจ้างเหมาพิมพ์สลากกินแบ่ง และจำหน่ายสลากกินแบ่งอีกสองบริษัท บริษัทก่อสร้างที่ได้รับสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างรายใหญ่ๆของ รัฐบาล
นอกจากนี้เขายังมีเรือประมง รถยนต์ประมาณ 50 คัน บ้านในกรุงเทพ 30 หลัง และ นาอีก 9500 ไร่
สำหรับปัญหาสฤษดิ์ เอาเงินรัฐไปเป็นส่วนตัวหรือไม่ คณะกรรมการได้แถลงมาจนถึงวันนั้นว่า ได้ตรวจพบเงินของชาติไปอยู่ในกองมรดก สฤษดิ์แล้ว หนึ่งร้อยห้าสิบล้านบาท พระมนูเวทย์วิมล ประธานคฯะกรรมการ แจ้งว่า สฤษดิ์ ได้เอาเงินของชาติไปปรนเปรออนุภรรยา โดยเฉพาะ สิบสองล้านบาท เงินของชาติส่วนนี้เอาไปเป็นงบพิเศษราชการ ที่เรียกกันว่า "งบราชการลับ"
จากคุณ : ย้อนรอย
กระทู้จากเว็บไซต์พันธ์ทิพย์
กระทู้จากเว็บไซต์พันธ์ทิพย์
เกี่ยวแก่สภาพของหญิงสาวที่ได้เสาะหาไปปรนเปรอเสนอสนองดำกฤษณาราคะต่อท่าน นายก..ในโกศนั้น แน่งน้อย ได้เปิดเผยว่า ทุกคนมีความปรารถนาแห่งความสุขสบาย และเขาก็อยู่กันอย่างแสนสุขที่บริเวณบ้านพักหลังกองพล1 ด้านติดกับกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีกำแพงที่ก่อด้วยคอนกรีตสูงล้อมรอบ
" มีบ่อยครั้งที่บ้างคนได้ปืนต้นไม้ข้างกำแพงหนีออกไป
เช่น ก(ดาราภาพยนต์คนหนึ่ง) และก็ใครต่อใครอีกหลายคน " แน่งน้อย” แม่เล้าผู้เสาะหาเทพีสังเวยกามแก่ พณฯท่านจอมพลสฤษดิ์ เปิดเผยฮาเร็มของจอมพลในโกศ ต่อไปว่า
"ไม่ใช่อะไรหรอกค่ะ พวกเธอทนต่อความเงียบเหงา เปล่าเปลี่ยวไม่ไหว เพราะนานๆ สกครั้งหนึ่งที่ท่านในโกศจะเรียกเด็กๆไปบีบนวด ซึ่งบางทีก็นานถึง 2-3 เดือน ก็มีจึงทำให้พวกเด็กๆเกิดความเบื่อหน่าย และพวกทีหนีไปบางทีก็จับได้ ถูกท่านดุด่าหาว่าไม่รักดี มีความเป็นอยู่อย่างสบายไม่ชอบ อย่างนางชมัย(ดาราภาพยนต์อีกคนหนึ่ง)นี่ดูเหมือนถูกจับได้ถึง3ครั้งด้วยกัน จนครั้งหลังท่านต้องไล่ให้ไปอยู่เสียที่อื่น
เกี่ยวแก่การที่จะได้หญิงมาเป็นอนุ ภรรยานั้น แน่นน้อนกล่าวว่า "ไม่มีอะไร มากหรอกค่ะ ถ้าคนไหนท่านมีความพอใจ ก็จะจัดการสวมแหวนเพชรมอบให้วงหนึ่ง อันแสดงว่าหญิงสาวคนนั้นจะได้รับการเอ็นดูเยี่ยงภริยาของท่านคนหนึ่ง เรื่องแหวนที่ท่านมอบให้เด็กพวกนี้ เป็นแหวนชนิดพิเศษ โดยมีตำหนิของแต่ละวงไม่เหมือนกัน ทั้งนี้เพื่อให้เป็นที่สังเกตเวลาพบกันข้างนอกจะได้รู้ว่า คนนั้นได้เข้ามาเป็นรุ่นที่เท่าใด"
แน่งน้อย เล่าต่อไปว่า
กับคำถามถึงวิธีการจัดหาเด็กๆไปปรนเปรอราคะกับจอมพลในโกศว่า มีความลำบากยากแค้นเพียงใดนั้น แน่งน้อยเล่าว่า ก็ต้องแสดงให้ท่านเห็นว่า มีสมรรถภาพดีตลอดเวลา โดยจัดสรรให้ด้วยดี อย่าให้ขาด และที่สำคัญ คือต้องได้ของที่มีคุณภาพด้วย บางทีถึงกับต้องลงทุนลงแรงนำไปฝึกปรือที่บ้าน ทั้งมรรยาทท่วงทีและอื่นๆ จนกว่าจะเห็นว่าดี แล้วจึงจะนำเด็กๆไปเสนอสนองความปรารถนาของท่าน
กระทู้จากเว็บไซต์พันธ์ทิพย์
E หนู เปิดใจ
เราขอพาท่านผู้อ่านไปพบกับ E หนู หรือเด็กของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อีกคนหนึ่ง มีนามว่า อรสา หรือ เต่า เธอเป็นนาฎศิลปจากญี่ปุ่น และเป็นดาวรุ่งอยู่ในวงการภาพยนต์ นอกจากนี้ยังเป็นนักร้องชื่อกระเดื่องอยู่ในเวลานี้อีกด้วย อันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ กับจอมพลสฤษดิ์ อรสา นาฎศิลปจากอุทัยประเทศเปิดเผยแก่หนังสือพิมพ์ เกียรติศักดิ์ ว่า
"เต่า" ขอสารภาพค่ะ ว่าเต่ามีความสัมพันธ์กับท่านในโกศมาจริงทุกอย่าง เต่า หรือ อรสา นาฎศิลปสาวจากอุทัยประเทศ ได้รำพันถึงบุญคุณของจอมพลในโกศ ต่อไปว่า ท่านมีบุญคุณแก่เต่ามากมายเหลือเกินค่ะ เต่าสุดที่จะพรรณาสาธยายถึงคุณงามความดีของท่านได้ ถึงแม้ว่าเต่าจะเป็นผู้หญิง จะมีทางเสียหายมากก็ตาม แต่เรื่องระลึกถึงบุญคุณท่านแล้ว เต่าลืมท่านไม่ได้หรอกค่ะ
อรสา นาฎศิลปสาว รำพันด้วยน้ำตาไหลพราก เธอสอึกสอี้นพิลาปรำพันอย่างน่าสงสาร เธอกล่าวให้สัมภาษณ์ด้วยเสียงอันเครือสั่นตลอดเวลา
เราขอพาท่านผู้อ่านไปพบกับ E หนู หรือเด็กของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อีกคนหนึ่ง มีนามว่า อรสา หรือ เต่า เธอเป็นนาฎศิลปจากญี่ปุ่น และเป็นดาวรุ่งอยู่ในวงการภาพยนต์ นอกจากนี้ยังเป็นนักร้องชื่อกระเดื่องอยู่ในเวลานี้อีกด้วย อันเกี่ยวกับความสัมพันธ์ กับจอมพลสฤษดิ์ อรสา นาฎศิลปจากอุทัยประเทศเปิดเผยแก่หนังสือพิมพ์ เกียรติศักดิ์ ว่า
"เต่า" ขอสารภาพค่ะ ว่าเต่ามีความสัมพันธ์กับท่านในโกศมาจริงทุกอย่าง เต่า หรือ อรสา นาฎศิลปสาวจากอุทัยประเทศ ได้รำพันถึงบุญคุณของจอมพลในโกศ ต่อไปว่า ท่านมีบุญคุณแก่เต่ามากมายเหลือเกินค่ะ เต่าสุดที่จะพรรณาสาธยายถึงคุณงามความดีของท่านได้ ถึงแม้ว่าเต่าจะเป็นผู้หญิง จะมีทางเสียหายมากก็ตาม แต่เรื่องระลึกถึงบุญคุณท่านแล้ว เต่าลืมท่านไม่ได้หรอกค่ะ
อรสา นาฎศิลปสาว รำพันด้วยน้ำตาไหลพราก เธอสอึกสอี้นพิลาปรำพันอย่างน่าสงสาร เธอกล่าวให้สัมภาษณ์ด้วยเสียงอันเครือสั่นตลอดเวลา
จอมพลรุ่นน้อง
ขณะที่มีการปล่อยข่าวเป็นทำนองว่าผู้ใหญ่ในคณะรัฐบาล ตลอดจนนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่บริหารบ้านเมืองอยู่ในขณะนี้นิ่งเฉย ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ต่อข่าวคดีมรดกของจอมพลสฤษดิ์ ปล่อยให้มีการขุดคุ้ยเป็นการทำลายเกียรติยศชื่อเสียงของอดีตนายกรัฐมนตรี ทั้งๆที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ จอมพลสฤษดิ์ ชุบเลี้ยงมา เกี่ยวกับคำถามเช่นนี้ พลเอกประภาส รัฐมนตรีริมคลองหลอด ตอบว่า
"ทำราชการไม่มีใครเลี้ยงใคร ผมไม่ใช่เป็นผู้ไม่รู้บุญคุณ และผมก็ไม่ใช่ถูกใครชุบเลี้ยงมา อ้ายที่ถูกผู้ชุบเลี้ยงควรจะรู้ตัวก่อน คนอย่างผมไม่ได้มาจากการชุบเลี้ยง แต่ในฐานะผู้บังคับบัญชาที่ปกครองด้วยความเรียบร้อย ผมก็ต้องให้ความเคารพ"
ในขณะที่รองนายกรัฐมนตรี เปิดให้สัมภาษณ์ นั้น พล.อ.อ ทวี จุลทรัพย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ กล่าวแก่คนข่าวว่า
"พวกเราเป็นพวกทองแท่ง ไม่ใช่ทองชุบครับ" พล.อ.อ ทวี กล่าวพร้อมกับหัวเราะเบาๆ
ขณะที่มีการปล่อยข่าวเป็นทำนองว่าผู้ใหญ่ในคณะรัฐบาล ตลอดจนนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่บริหารบ้านเมืองอยู่ในขณะนี้นิ่งเฉย ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ต่อข่าวคดีมรดกของจอมพลสฤษดิ์ ปล่อยให้มีการขุดคุ้ยเป็นการทำลายเกียรติยศชื่อเสียงของอดีตนายกรัฐมนตรี ทั้งๆที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ จอมพลสฤษดิ์ ชุบเลี้ยงมา เกี่ยวกับคำถามเช่นนี้ พลเอกประภาส รัฐมนตรีริมคลองหลอด ตอบว่า
"ทำราชการไม่มีใครเลี้ยงใคร ผมไม่ใช่เป็นผู้ไม่รู้บุญคุณ และผมก็ไม่ใช่ถูกใครชุบเลี้ยงมา อ้ายที่ถูกผู้ชุบเลี้ยงควรจะรู้ตัวก่อน คนอย่างผมไม่ได้มาจากการชุบเลี้ยง แต่ในฐานะผู้บังคับบัญชาที่ปกครองด้วยความเรียบร้อย ผมก็ต้องให้ความเคารพ"
ในขณะที่รองนายกรัฐมนตรี เปิดให้สัมภาษณ์ นั้น พล.อ.อ ทวี จุลทรัพย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ กล่าวแก่คนข่าวว่า
"พวกเราเป็นพวกทองแท่ง ไม่ใช่ทองชุบครับ" พล.อ.อ ทวี กล่าวพร้อมกับหัวเราะเบาๆ
จากคุณ : ย้อนรอย
กระทู้จากเว็บไซต์พันธ์ทิพย์
กระทู้จากเว็บไซต์พันธ์ทิพย์
ข้อมูลสำคัญ
คณะปฎิวัติที่มีสฤษดิ์เป็นผู้นำ ได้พูดถึงการปกป้อง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการนำแนวความคิดอุดมการณ์ 3หลักมาใช้ หลัง 2475 กลุ่มทหารดังกล่าว เพิ่มพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
หลังรัฐประหารพระมหากษัตริย์ ทรงมีอำนาจเหนือทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (อีกครั้ง)
ซึ่งกระทรวงการคลังได้เข้าเป็นผู้จัดการภายหลังจากที่พระบาทสมเด็พระปกเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ (2478)
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นองค์กรที่มีทรัพย์สินมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย
ที่ดินที่อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานแห่งนี้ ประมาณว่ามี 1 ใน 3 ของกรุงเทพ
ในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่2 ยังมีทรัพย์สินและที่ดินอีกใน 22 จังหวัด การลงทุนด้านธุรกิจทั้งกลุ่มปูนซีเมนต์ไทย การลงทุนในธนาคาร 3 แห่ง และนอกจากนั้นยังมีหุ้นในธุรกิจหลากหลาย คือ ผลิตภัณฑ์ไม้ การก่อสร้าง การประกันภัย สำนักงานทรัพย์สิน...ลงทุนกิจการใหม่ๆ มากมายหลังทศวรรษ
2490 เมื่อถึง พ.ศ. 2514 ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีบุคลากรประมาณ 500 คน เพื่อดูแลธุรกิจและกิจการต่างๆ
จากคุณ : ย้อนรอย
กระทู้จากเว็บไซต์พันธ์ทิพย์
กระทู้จากเว็บไซต์พันธ์ทิพย์
จาก พ.ศ. 2490 เป็นต้นมา จอมพลสฤษดิ์ได้รับโปรดเกล้า ให้เป็นราชองครักษ์ หลังการปฎิวัติ 2500 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า แต่งตั้งให้จอมพลสฤษดิ์ เป็น " ผู้รักษาพระนคร"
จอมพลสฤษดิ์ได้ใช้พระบรมราชโองการนี้สร้างความชอบธรรมให้กับการกระทำของตนเอง
ในการรัฐประหาร พ.ศ. 2501 จอมพลสฤษดิ์เข้าเฝ้าถวายความจงรักภักดี ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และในคำประกาศฉบับที่ 9 หลังรัฐประหาร จอมพลสฤษดิ์กล่าวย้ำความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
และในคำประกาศฉบับที่ 9 หลังรัฐประหาร จอมพลสฤษดิ์กล่าวย้ำความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
เมื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จอมพลสฤษดิ์สร้างเสริมบทบาทพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของชาติทันที
จอมพลสฤษดิ์เสนอให้วันพระราชสมภพเป็นวันหยุดราชการและเปลี่ยนวันชาติจาก วันที่ 24 มิถุนายน มาเป็นวันที่ 5 ธันวาคม จอมพลสฤษดิ์ สนับสนุนให้ฟื้นฟูพระราชพิธีต่างๆ
เช่นพระราชพิธีแรกนาขวัญ ซึ่งถูกละเลยไปตั้งแต่ พ.ศ.2475 รัฐบาลมีส่วนส่งเสริมกระจายภาพและข่าวของราชวงศ์ มากขึ้น จำนวนพระราชพิธีและการให้ผู้เข้าเฝ้าถวายความจงรักภักดี เพิ่มขึ้นจากประมาณปีละ
100 ครั้ง เป็นประมาณปีละ 400
ครั้ง.......ในสมัยนี้ราชวงศ์เข้าไปมีความสัมพันธ์กับชุมชนธุรกิจเอกชนที่กำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
มีบทบาทในโครงการจัดหากองทุนเพื่อการกุศลร่วมกับธุรกิจเอกชนมีการประกอบพิธี สมรสพระราชทานให้แก่คู่บ่าวสาวของตระกูลธุรกิจชั้นนำ
สมัยนี้ยังเป็นสมัยที่พระราชวงศ์มีความสัมพันธ์อย่างเปิดเผยกับกองทัพ มีการโอนกองพันที่21 ไปทำหน้าที่ทหารรักษาพระองค์ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงดำรงตำแหน่งนายพันเอกพิเศษของกรมนี้
จอมพลสฤษดิ์ได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำรงตำแหน่งผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อย
จอมพลสฤษดิ์เสนอให้วันพระราชสมภพเป็นวันหยุดราชการและเปลี่ยนวันชาติจาก วันที่ 24 มิถุนายน มาเป็นวันที่ 5 ธันวาคม จอมพลสฤษดิ์ สนับสนุนให้ฟื้นฟูพระราชพิธีต่างๆ
เช่นพระราชพิธีแรกนาขวัญ ซึ่งถูกละเลยไปตั้งแต่ พ.ศ.2475 รัฐบาลมีส่วนส่งเสริมกระจายภาพและข่าวของราชวงศ์ มากขึ้น จำนวนพระราชพิธีและการให้ผู้เข้าเฝ้าถวายความจงรักภักดี เพิ่มขึ้นจากประมาณปีละ
100 ครั้ง เป็นประมาณปีละ 400
ครั้ง.......ในสมัยนี้ราชวงศ์เข้าไปมีความสัมพันธ์กับชุมชนธุรกิจเอกชนที่กำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
มีบทบาทในโครงการจัดหากองทุนเพื่อการกุศลร่วมกับธุรกิจเอกชนมีการประกอบพิธี สมรสพระราชทานให้แก่คู่บ่าวสาวของตระกูลธุรกิจชั้นนำ
สมัยนี้ยังเป็นสมัยที่พระราชวงศ์มีความสัมพันธ์อย่างเปิดเผยกับกองทัพ มีการโอนกองพันที่21 ไปทำหน้าที่ทหารรักษาพระองค์ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงดำรงตำแหน่งนายพันเอกพิเศษของกรมนี้
จอมพลสฤษดิ์ได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำรงตำแหน่งผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อย
ทหารบกกิตติมศักดิ์
และผู้บังคับการกองพันอีก 5 เหล่า
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของกองทหารรักษาพระองค์
พิธีพระราชทานธงชัยเฉลิมพลแก่กองทัพถือเป็นเหตุการณ์สำคัญยิ่งจอมพลสฤษดิ์
เริ่มเรียกกองทัพว่า "กองทัพในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"
การฟื้นฟูบทบาทความสำคัญของพระมหากษัตริย์เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการเข้าควบคุมปรับบทบาทของสถาบันสงฆ์
ความสัมพันธ์ด้านพิธีกรรมระหว่างพระมหากษัตริย์และสถาบันสงฆ์ ถูกทำให้เข้มแข็งขึ้นและได้รับการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวาง
จอมพลสฤษดิ์ถือว่ากองทัพ เป็นกองทัพในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนั้นกองทัพจึงได้รับพระราชอำนาจจากพระมหากษัตริย์
การฟื้นฟูบทบาทความสำคัญของพระมหากษัตริย์เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการเข้าควบคุมปรับบทบาทของสถาบันสงฆ์
ความสัมพันธ์ด้านพิธีกรรมระหว่างพระมหากษัตริย์และสถาบันสงฆ์ ถูกทำให้เข้มแข็งขึ้นและได้รับการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวาง
จอมพลสฤษดิ์ถือว่ากองทัพ เป็นกองทัพในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนั้นกองทัพจึงได้รับพระราชอำนาจจากพระมหากษัตริย์
ไม่ใช่จากมวลชน
ซึ่งเป็นแนวคิดที่ถอยกลับไปก่อนปี 2475
จอมพลสฤษดิ์ยังพัฒนาแนวคิดที่ว่าข้าราชการและทหารมีความพร้อมและเหมาะสมที่
จะปกครองเพราะเป็นผู้มีบุญ และไม่มีผลประโยชน์ส่วนตัว
เหมือนนักการเมืองกลุ่มของเขาซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหาร
ถือว่าเป็นผู้ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ตามหลักวิชาการ และตัดสินใจด้วยความเที่ยงธรรม เป็นประชาธิปไตยแบบไทย ซึ่งต่างจากประชาธิปไตยแบบฝรั่งที่ต้องมีสภาผู้แทน
เหมือนนักการเมืองกลุ่มของเขาซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหาร
ถือว่าเป็นผู้ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ตามหลักวิชาการ และตัดสินใจด้วยความเที่ยงธรรม เป็นประชาธิปไตยแบบไทย ซึ่งต่างจากประชาธิปไตยแบบฝรั่งที่ต้องมีสภาผู้แทน
แต่เมื่อจอมพลสฤษดิ์
สิ้นชีวิตลงพบว่าเขามีทรัพย์สิน คิดเป็นมูลค่า 2.8 พันล้านบาท
มีการฟ้องร้องแย่งชิงมรดกนี้ จนเป็นที่สนใจไปทั่วโลก
หลังจากการสอบสวน รัฐบาลสั่งยึดทรัพย์มูลค่า 604 ล้านบาท ซึ่งพบว่าจอมพลสฤษดิ์ ได้นำทรัพย์สินของราชการไปใช้ ทรัพย์สินส่วนที่เหลือคาดว่า เกิดจากการประกอบธุรกิจและการใช้ตำแหน่งทางการเมืองหารายได้
จากคุณ : ย้อนรอย
กระทู้จากเว็บไซต์พันธ์ทิพย์
เรียบเรียงจาก เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพ
ผาสุข พงษ์ไพจิตร 2542 /738
ที่มา : เว็บไซต์พันธ์ทิพย์
หลังจากการสอบสวน รัฐบาลสั่งยึดทรัพย์มูลค่า 604 ล้านบาท ซึ่งพบว่าจอมพลสฤษดิ์ ได้นำทรัพย์สินของราชการไปใช้ ทรัพย์สินส่วนที่เหลือคาดว่า เกิดจากการประกอบธุรกิจและการใช้ตำแหน่งทางการเมืองหารายได้
จากคุณ : ย้อนรอย
กระทู้จากเว็บไซต์พันธ์ทิพย์
เรียบเรียงจาก เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพ
ผาสุข พงษ์ไพจิตร 2542 /738
ที่มา : เว็บไซต์พันธ์ทิพย์
suriya mardeegun
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น