วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558

อาณาจักรอิศานปุระ

อาณาจักรอิศานปุระ
(ข้อมูล : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)
(ภาพ : จากหลากหลายเว็บไซต์ในอินเตอร์เน็ต)




อาณาจักรอิศานปุ ระ เป็นอาณาจักรโบราณ รุ่งเรืองอยู่ในช่วงพุทธศตรวรรษที่ 11 ครอบคลุมพื้นที่ภาคอีสานตอนล่างของไทย ตอนบนของประเทศกัมพูชา และลาวตอนใต้ สถาปนา ขึ้นโดยพระเจ้าอิศานวรมัน ผู้สืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์เจนละ คือพระเจ้ามเหนทระวรมัน หรือที่จิตรเสน ผู้ครองแคว้นเจนละ ที่ทรงครอบครองดินแดนในพื้นที่อีสานตอนใต้และลาวทางตอนใต้แถบวัดภู

หลังจากที่ได้รับการสิบทอดอำนาจจากพระเจ้าจิตรเสน พระเจ้าอีศานวรมัน เสด็จขึ้นครองราชย์ (ราวพ.ศ. 1153-1198) ได้ทำสงครามกับอาณาจักรฟูนัน ที่ยึดของพื้นที่ทางตอนใต้ ควบรวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน ซึ่งเป็นการสูญสิ้นอาณาจักรฟูนัน และได้สถาปนาศูนย์กลางการปกครองขึ้นใหม่ ชื่อว่า"อีศานปุระ "

เมืองหลวงอีศานปุระ ที่พระเจ้าอิศานวรมันสถาปนาขึ้น นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่า ตั้งอยู่บริเวณ กลุ่มปราสาทซ็อมโบร์ไพรกุกห์ (สมโบไพรกุก) ในเขตจังหวัดกัมปงธม ในประเทศกัมพูชา ซึ่งปรากฏหลักฐานปราสาทอิฐ ศาสนสถานในศาสนาฮินดูจำนวนมาก

หลังจากรัชสมัยพระเจ้าอิศานวรมัน  มีกษัตริย์ปกครองอีก 2 พระองค์ คือพระเจ้าภววรมันที่ 2 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 หลังจากนั้นบ้านเมืองเกิดความแตกแยก อาณาจักรถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน กลายเป็น อาณาจักรเจนละบก และ เจนละน้ำ ทำให้เมืองอีศานปุระถูกลดความสำคัญลง

และต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่2 เชื้อสายของพระเจ้าอิศานวรมัน ได้รวบรวมทั้งสอง และสถปนาอาณาจักรขึ้นใหม่ ชื่อว่า "ยโศธรปุระ" หรือเมืองพระนคร บริเวณเมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน

กลุ่มปราสาท ซ็อมโบร์ไพรกุกห์ (อิศานปุระ)เป็นกลุ่มปราสาทโบราณมีอายุมากกว่า 1390 ปี มีปราสาทที่ปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐานในปัจจุบันมากกว่า 170 โดยมีปราสาทสำคัญอยู่ 3 กลุ่มหลักในบริเวณราชธานีอิศานปุระ ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะให้นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมได้ 

และเนื่องจากมีปราสาทมากมายนับร้อยแห่ง จึงทำให้นักโบราณคดีชาวตะวันตกที่เข้ามาทำการสำรวจในพื้นที่ช่วงต้นคริสต์ ศตวรรษที่ 20 ได้จัดทำระบบบัญชีชื่อปราสาทต่างๆขึ้นและยังคงใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ปราสาทซ็อมโบร์ไพรกุกห์มี  “ชื่อเป็นทางการ” เป็นตัวอักษรและตัวเลข แทนชื่อที่ชาวบ้านเรียก โดยปราสาทต่างๆในกลุ่มเหนือ จะมีชื่อขึ้นต้นว่า N (North)  

ปราสาทกลุ่มกลางมีชื่อขึ้นต้นว่า C (Central)  และปราสาทกลุ่มใต้ มีชื่อขึ้นต้นว่า S (South) แล้วตามด้วยตัวเลขที่แสดงถึงความสำคัญ หรือตามลำดับการเรียงตัวที่ตั้งของปราสาท เช่น N1 หมายถึงปราสาทประธานของกลุ่มเหนือ  S1หมายถึงปราสาทประธานของกลุ่มใต้ คือปราสาทเนียกปวน  และ C1 หมายถึงปราสาทประธานของกลุ่มกลาง คือปราสาทตาว เป็นต้น


.............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................


กลุ่มปราสาทซ็อมโบร์ไพรกุกห์ (อิศานปุระ) มีปราสาทสำคัญอยู่ 3 กลุ่มหลักประกอบด้วย


กลุ่มที่ 1 กลุ่มปราสาทด้านใต้ หรือ กลุ่มปราสาทเนียกปวน (ปราสาทนาคพัน) หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่าปราสาทเยียยปวน (ปราสาทยายพัน) ตั้งอยู่ภายในบริเวณที่มีแนวกำแพงล้อมรอบ 2 ชั้น ซึ่งแนวกำแพงชั้นนอกทำด้วยศิลาแลง สภาพปัจจุบันชำรุดพังทลายเกือบหมดแล้วยังคงเหลือเฉพาะกรอบประตูทางเข้าที่ทำ ด้วยแผ่นศิลามีจารึกอยู่ที่ผนังกรอบประตูด้านในทางขวามือ

ส่วนกำแพงชั้นในทำด้วยอิฐมีรูปสลักนูนสูงประดับอยู่ภายในกรอบวงกลม สังเกตดูแล้วบางรูปเป็นภาพแสดงวิถีการดำเนินชีวิต บอกล่าเรื่องราวและเหตุการณ์สำคัญๆ และมีแนวกำแพงที่มีโครงกรอบวงกลมหลายกรอบที่ยังไม่มีการจำหลักภาพ

กลุ่มปราสาทเนียกปวน (ปราสาทนาคพัน) มี หลักฐานจารึกระบุว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าอิศานวรมัน ซึ่งเสด็จขึ้นครองราชย์อยู่ในคริสต์ศตวรรษ ที่ 7 ราวปี ค.ศ.610-655 (ราวพ.ศ. 1153-1198)

นักโบราณคดีเชื่อว่า กลุ่มปราสาทเนียกปวนน่าจะเป็นศาสนสถานกลางใจเมืองอิศานปุระ ซึ่งพระเจ้าอิศานวรมันทรงสถาปนาขึ้นเป็นนครหลวงแห่งใหม่ของอาณาจักรเจนละ และปราสาทองค์ประธานของกลุ่มถือเป็นศาสนาสถานประจำพระองค์ของพระเจ้าอิศานวร มัน

ปัจจุบันมีปราสาทที่ยังคงเหลืออยู่ 7 หลัง ปราสาททั้งหมดสร้างด้วยอิฐ ที่ปราสาทองค์ประธานในกรอบทับหลังที่อยู่เหนือประตูเป็นหินจำหลักลวดลายรูป แบบที่นักประวัติศาสตร์ศิลปะให้ชื่อว่า “ศิลปะแบบ สมโบร์ไพรกุกห์” และโดยรอบตัวปราสาทองค์ประธานที่มีแนวเสาติดผนังแบ่งผนังเป็นช่องกรอบ

ภายในแต่ละช่องมีลวดลายประดับเป็นรูปวิมาน ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆซุ้มบุษบกหรือปราสาทขนาดเล็กโดยมีหน้าบันหรือยอดเป็นวง โค้งลวดลายป็นรูปวิมาน หรือเรียกตามคำศัพท์เทคนิคว่า “ปราสาทลอย” (flying palaces) ในภาษาแขมร์เรียกว่า “ปราสาทอันแดด”

ส่วนปราสาทบริวารอีก 6 หลังที่ตั้งเรียงรายโดยรอบประสาทองค์ประธานนั้นมีผังเป็นรูปแปดเหลี่ยม ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวของสถาปัตยกรรมแบบสมโบร์ไพรกุกห์

อีกแบบหนึ่งที่ผนังด้านนอกของปาสาทแปดเหลี่ยมทุกหลังประดับด้วยวิมาน หรือ ปราสาทลอย มีลักษณะภาพรูปผู้คนชาย หญิง สัตว์ และสิ่งก่อสร้างที่สะท้อนห็นอย่งชัดเจนว่าได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมของ อินเดีย เช่นรูปจำหลัก ผู้ชายที่มีตาโปน มีหนวดยาวเฟิ้ม และยังมีโพกผ้าที่ศีรษะอีกด้วย

หรือที่ปราสทลอยบางแห่งมีรูปผู้หญิงเจ้าเนื้อ ใส่ตุ้มหู และห่วงคอขนาดใหญ่ เป็นต้น


.............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................


กลุ่มที่ 2 กลุ่มปราสาทตอนกลาง
หรือกลุ่มปราสาทตาว (ปราสาทสิงห์โต) ตั้งอยู่ภายในบริเวณที่มีแนวกำแพงล้อมรอบ 2 ชั้น แต่แนวกำแพงส่วนใหญ่พังทลายเกือบหมดแล้ว ตรงกลางมีปราสาทตาว เป็นปราสาทองค์ประธานที่รับการบูรณะขึ้นมาเพียงแห่งเดียว ส่วนปราสาทบริวารที่เรียงรายอยู่โดยรอบนั้นปัจจุบันพังทลายลงหมดแล้ว

ปราสาทตาวตั้งอยู่ท่ามกลางดงไม้ ข้างบันไดทางขึ้นมีรูปสิงห์โตสองตัวแกะสลักลอยตัว โดยทั้งฐานที่ตั้งและตัวสิงห์เป็นหินขนาดใหญ่ก้อนเดียวกัน จึงทำให้ปราสาทองค์ประธานนี้มีชื่อเรียกว่า “ปราสาทตาว” หรือแปลว่า “ปราสาทสิงห์โต” ในอดีตบันไดทุกด้านทั้ง 4 ทิศของปราสาทจะมีรูปสิงห์แกะสลักลอยตัว ประดับอยู่เช่นเดียวกับที่เหลืออยู่เพียงคู่เดียว

หากพินิจดูจากร่องรอยที่ฐานหินที่ตั้งสิงห์แต่ละตัวแล้ว สิงห์โตที่หายไปอีก 6 ตัวน่าจะถูกพวกขโมยลักลอบตัดไปขายมากกว่าจะพังทลายไปเองตามกาลเวลา ชาวบ้านปราสาทซ็อมโบร์ มีตำนาน เรื่องเล่ามากมายที่เป็นความเชื่อเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ และอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์ของสิงห์โตที่เฝ้ารักษาปราสาทตาวตั้งแต่อดีตมาถึง ปัจจุบันนี้

ปราสาทตาว หรือปราสาทสิงห์โต เป็นปราสาทอิฐขนาดใหญ่ มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า (ขนาด 13 x 15เมตร) หันหน้าซึ่งมีประตูเปิดออกไปสู่ทิศตะวันออก ส่วนอีก 3 ด้านที่เหลือเป็นผนังทึบมีประตูหลอกทั้ง 3 ทิศ ประตูทั้ง 4 ด้านมีเสาเหลี่ยม เหนือประตู มีทับหลังเป็นแผ่นหินทั้ง 4 ประตู โดยทับหลังด้านประตูเข้าทางทิศตะวันออกลบเลือนไปเกือบหมดแล้ว

ส่วนทับหลังทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตก นักประวัติศาสตร์ศิลปะ เรียกกันว่า “ศิลปะแบบไพรเกมง” อ่านว่าไพร-กะ-เม็ง เป็นรูปแบบทับหลังของศิลปะขอม ในยุคถัดมาจากยุค “ศิลปะแบบ สมโบร์ไพรกุกห์”

ส่วนทับหลังทางด้านทิศเหนือ เป็นศิลปะขอมที่เรียกกันว่า“ศิลปะแบบกำปงพระ” (หรือแบบกำพงพระ) ซึ่งเป็นยุคถัดมาจาก “ศิลปะแบบไพรเกมง” ทำให้นักโบราณคดีมีข้อสันนิษฐานว่า ปราสาทตาวน่าจะสร้างขึ้นหลังรัชสมัยของพระเจ้าอิศานวรมัน โดยมีความสอดคล้องกับข้อมูลทางโบราณคดีอื่นๆที่ชี้ว่าปราสาทตาวน่าจะสร้าง ขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 ซึ่งครองราชย์อยู่ในช่วงปี ค.ศ. 650-680 (ราวพ.ศ. 1193-1223)


.............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................


กลุ่มที่ 3 กลุ่มปราสาทด้านเหนือ
แบ่ง ออกเป็นสองกลุ่มปราสาท คือ กลุ่มปราสาทซ็อมโบร์ หรือกลุ่มปราสาทตอนเหนือด้านใน  และกลุ่มปราสาทตอนเหนือด้านนอก ซึ่งประกอบด้วยปราสาทเดี่ยวขนาดกลางและขนาดเล็กกระจัดกระจาย เรียงรายอยู่ทั่วบริเวณป่า (ในปัจจุบันมีถนนตัดแยกระหว่างกลุ่มปราสาทตอนเหนือด้านใน กับปราสาทตอนเหนือด้านนอก)

กลุ่มปราสาทซ็อมโบร์ หรือกลุ่มปราสาททิศเหนือด้านในตั้งอยู่ภายในผังบริเวณที่มีแนวกำแพงล้อมรอบ 2 ชั้น ตรงกลางเป็นปราสาทองค์ประธาน ก่อด้วยอิฐ มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่ละด้านมีขนาดความยาวราว 11 เมตร มีการย่อมุมค่อนข้างมากและชัดเจน ตัวปราสาทมีประตูเข้าได้ทั้ง 4 ด้าน

บริเวณใต้ปราสาทลอยของปราสาทประธานมีรูปจำหลักอิฐเป็นลวดลายเทพเจ้าและสิงสา ราสัตว์ต่างๆ เช่นรูปครุฑบินแบกวิมาน เป็นต้น ในกลุ่มปราสาทซ็อมโบร์ มีปราสาทบริวาร 7 หลัง โดยมีปราสาท 1 หลัง

มีข้อน่าสังเกตที่น่าสนใจว่ามีลักษณะของผังปราสาทเป็นรูปสี่เหลี่ยมไม่ย่อ มุม เป็นรูปลักษณะเข้าข่ายที่ปาร์มองติเออร์ (Henri Pasmentler)นักโบราณคดี ได้จัดไว้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมของปราสาทในยุคฟูนัน

ส่วนกลุ่มปราสาททิศเหนือด้านนอก เป็นกลุ่มปราสาทที่ตั้งอยู่ข้ามถนนมาอีกฟากหนึ่ง ปราสาทเหล่านี้มีลักษณะแตกต่างกันหลากหลายรูปแบบ ซึ่งนักโบราณดคีบางท่านสันนิษฐานว่า ปราสาทในกลุ่มนี้มีบางปราสาทที่น่าสร้างขึ้นมาในยุคฟูนันเรืองอำนาจ ก่อนที่พระเจ้าอิศานวรมันจะแผ่ขยายอำนาจเข้ามยึดครองและตั้งเมืองหลวงทับ ซ้อนพื้นที่เดิมที่เป็นนครพลทิตยปุระ ของกษัตริย์เชื้อสายฟูนัน

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ปราสาทซ็อมโบร์มีปราสาทหลากหลายรูปแบบตามยุคสมัยการก่อ สร้างที่สะท้อนให้เห็นถึงความงดงาม ตระการตา ในรูปแบบทั้งก่อนและหลัง “ศิลปะแบบ สมโบร์ไพรกุกห์” ปราสาทที่น่าสนใจชมในกลุ่มปราสาททิศเหนือด้านนอกได้แก่ ปราสาทจัน อาศรมฤาษี ปราสาทเจรย ปราสาทซอนดัน และปราสาทสรงพระ เป็นต้น

ปราสาทจัน เป็น ปราสาทอิฐผังสี่เหลี่ผืนผ้าเรือนยอดสูงตามรูปแบบปราสาทสมโบร์ไพรกุกห์ เป็นปราสาทที่มีรูปจำหลักประดับฝาผนัง “วิมาน” หรือปราสาทลอยที่งดงามและยังคงสภาพความสมบูรณ์มากที่สุด ตั้งอยู่ริมฝั่งถนนทางด้านทิศเหนือ

อาศรมฤาษี เป็นปราสาทขนาดเล็กที่ผนังแต่ละด้านสร้างขึ้นจากแผ่นหินสีเทาชิ้นเดียว มีลวดลายประดับตรงหัวเสา ฐาน และมีกูฑุ หรือซุ้มหน้าคนบนขอบหลังคาซึ่งเป็นลักษณะพิเศษตามแบบศิลปกรรมอินเดีย รวมทั้งใบหน้าคน(กูฑุ) ก็ละม้ายคล้ายกับคนอินเดีย

นักโบราณดคีบางท่านสันนิษฐานว่า อาศรมฤาษี น่าจะสร้างขึ้นในยุคฟูนันเรืองอำนาจ

ปราสาทเจรย เป็นปราสาทที่มีต้นไม้หยั่งรากพาดปกคลุมเกือบทั้งหลัง และมีจารึกอยู่ที่กรอบประตูทางเข้าด้านใน

ปราสาทซอนดัน เป็น ปราสาทอิฐผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า เรือนยอดพังทลายหมดแล้ว แต่รูปจำหลักอิฐภายนอกที่เป็น “วิมาน” หรือปราสาทลอย ยังคงมีความคมชัด ปราณีตงดงามมาก และบริเวณภายนอกอาคารยังปรากฏท่อโสมสูตรรูปหัวสิงห์โตให้เห็นอู่

ปราสาทสรงพระ ตั้งอยู่ในพื้นที่กลุ่มปราสาททิศเหนือด้านใน ใกล้ๆกับอาคารพิพิธภัณฑ์ เป็นปราสาทอิฐหลังเล็ก มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเรือนยอดสูงหันประตูเข้าไปทางทิศตะวันออก เสากรอบประตูกลม และทับหลังมีขนาดกะทัดรัดงดงาม เป็นปราสาทที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ และปัจจุบันยังคงใช้ในการประกอบพิธีขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาลเพื่อความอุดม สมบูรณ์ในการเพาะปลูกทำการเกษตรของชุมชนปราสาทซ็อมโบร์

อาคารพิพิธภัณฑ์ ได้รับการซ่อมแซมในปี 2552 เป็นสถานที่จัดเก็บรักษาชิ้นส่วน ทับหลัง เสาประดับปราสาท และส่วนประกอบอื่นๆของอาคารปราสาทบางแห่งในกลุ่มปราสาทซ็อมโบร์ไพรกุกห์ ปัจจุบันมีคุณ แสน ณอม เป็นภัณฑารักษ์
ศาลเนียะตาธม เป็นศาลผีบรรพบุรุษประจำหมูบ้านซ็อมโบร์ โดยจะมีพิธีเซ่นไหว้ตามแบบประเพณีโบราณของชาวบ้านชุมชนปราสาทซ็อมโบร์ทุกปี

นอกจากกลุ่มปรา สทหลักทั้ง 3 กลุ่มที่กล่าวมาแล้ว ยังมีกลุ่มปราสาทขนาดย่อยอีกมากมายในป่าลึกทึบที่เคยเป็นดินแดนที่เปี่ยมล้น ด้วยศรัทธา ในการก่อสร้างปราสาทขึ้นมากมายเพื่อเป็นที่ถวายสักการบูชาอติเทพองค์พระศิวะ ตามความเชื่อและความศรัทธาในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย

พื้นที่บริเวณโดยรอบปราสาทซ็อมโบร์ไพรกุกห์ ที่กำหนดไว้ป็นเขตโบราณสถาน มีขนาดความกว้าง 6 ตารางกิโลเมตร ความยาว 6 ตารางกิโลเมตร จากเดิมมีการสำรวจพบปราสาท จำนวน 179 หลัง แต่ใน ปี 2551 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากคณะสถาปัตยกรรม ของมหาวิทยาลัยวาซาดะ

ประเทศญี่ปุ่นได้มีการสำรวจใหม่พบว่ามีปราสาทมากถึง 280 แห่ง ปราสาทส่วนใหญ่ชำรุดพังทลายหมดแล้ว คงเหลืออยู่เพียง 64 แห่ง ที่สามารถเที่ยวชมได้โดยมีกลุ่มปราสาทที่ตั้งห่างออกไปประมาณ 2-3 กิโลเมตร


อาทิ กลุ่มปราสาทกรอลโรเมียะ ปราสาทเสร็ยกรุปเลียะ ปราสาทตามอน ปราสาทดอนโมง ปราสาทตรอเปียงโรเปียะ ปราสาทฤาเชยโรเลียะ ปราสาทขนายตวล ปราสาทปรึง ปราสาทตึกสอมปอต (บองออด หรือ มารอต) ปราสาทเคนียสาต ปราสาทเปือดเนียะไซ ปราสาทเลียงเปรียะ ปราสาทโลกเยียย ปราสาทจะเรียว ปราสาทอันลวงด็อมไร อันลวงปราสาท ปราสาทแซนเวียง ปราสาทตาดง ภูมิปราสาท ปราสาทเกาะสวาย ปราสาทพหูด กลุ่มปราสาทพนมบาเรียง ปราสาทด็อมแดก ปราสาทโก ปราสาทบั๊วะเรียบ และ ปราสาทเจิญจองกอ เป็นต้น

(ข้อมูล : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)
.............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น