วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558

อาณาจักรตามพรลิงค์

อาณาจักรตามพรลิงค์
(ข้อมูล : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)
(ภาพ : จากหลากหลายเว็บไซต์ในอินเตอร์เน็ต)



อาณาจักรตามพรลิงค์ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นอาณาจักรนครศรีธรรมราชนั้น เป็นอาณาจักรโบราณที่มีมาตั้งแต่ก่อนสมัยพุทธศตวรรษที่ 7  มีศูนย์กลางอยู่ที่นครศรีธรรมราชในปัจจุบัน(อาจจะเป็นบริเวณบ้านท่าเรือ หรือบ้านพระเวียง) อยู่ทางด้านเหนือ ของอาณาจักรลังกาสุกะ(บริเวณปัตตานี) มีอาณาเขตทางตะวันออก และตะวันตกจรดทะเลอันดามันถึงบริเวณที่เรียกว่าทะเลนอก

ซึ่งเป็นบริเวณจังหวัดกระบี่ในปัจจุบัน คำว่า "ตามพ" เป็นภาษาบาลี แปลว่า ทองแดง ส่วน "ลิงค์" เป็นเครื่องหมายบอกเพศ เขียนเป็นอักษรภาษาอังกฤษว่า Tambalinga หรือ Tanmaling หรือ Tamballinggam จีนเรียก ตันเหมยหลิง หรือโพ-ลิง หรือโฮลิง(แปลว่าหัวแดง) บางทีเรียกว่า เชียะโท้ว(แปลว่าดินแดง) อาณาจักรตามพรลิงค์ มีกษัตริย์สำคัญคือพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช และพระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช

อาณาจักรตามพรลิงค์นี้เป็นเส้นทางการเผยแพร่พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ ไปยังอาณาจักรสุโขทัยและดินแดนทั่วแหลมมลายูเนื่องจากอาณาจักรตามพรลิงค์กับ ศรีลังกามีความสัมพันธ์แบบบ้านพี่เมืองน้องมาแต่สมัยโบราณ


พัฒนาการของการเกิดเมืองสำคัญต่างๆ ในอาณาจักรตามพรลิงค์

อาณาจักรตามพรลิงค์ มี เมืองรอง ที่สำคัญ อยู่ 2 เมือง เมืองแรกคือ เมืองไชยา ตั้งอยู่ถัดไปทางด้านใต้ ศูนย์กลางอยู่ ที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎฺร์ธานี กำเนิดขึ้นพร้อมๆ กับเมืองตามพรลิงค์ ในระยะแรกต่างเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อกัน

ต่อมาในยุคหลังเมืองไชยากลับขึ้นกับอาณาจักรตามพรลิงค์ในฐานะเมืองอุปราช และคงจะอยู่ในฐานะดังกล่าวเรื่อยมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองที่สอง คือ เมืองสทิง คือ บริเวณโดยรอบทะเลสาบสงขลา


จังหวัดสงขลาและพัทลุงส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับเมือง นครศรีธรรมราชในสมัยอยุธยา เมืองบริวาร ได้แก่ เมืองสิบสองนักษัตร ที่ปรากฏในตำนานเมือง นครศรีธรรมราช ซึ่งปัจจุบันตราสิบสองนักษัตร ได้เป็นตราประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชได้แก่

1 เมืองสายบุรี ปีชวด ถือตราหนู
2 เมืองปัตตานี ปีฉลู
3 เมืองกะลันตัน ปีขาล ถือตราเสือ
4 เมืองปะหัง ปีเถาะ ถือตรากระต่าย
5 เมืองไทรบุรี ปีมะโรง ถือตรางูใหญ่
6 เมืองพัทลุง ปีมะเส็ง ถือตรางูเล็ก
7 เมืองตรัง ปีมะเมีย ถือตราม้า
8 เมืองชุมพร ปีมะแม ถือตราแพะ
9 เมืองไชยา(บันไทยสมอ) ปีวอก ถือตราลิง
10 เมืองท่าทอง(สะอุเลา) ปีระกา ถือตราไก่
11 เมืองตะกั่วป่า-ถลาง ปี


.............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ทำไมตราจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นรูป 12 นักกษัตร
ที่มา : http://sator4u.com/paper/37



ก่อนที่จะเข้าสู่เรื่องราวที่เกี่ยวกับตราจังหวัดนครศรีธรรมราชว่าทำไมถึง เป็นรูป 12 นักษัตรนั้น อยากจะบอกทุกคนว่าเราเกิดมาในผืนแผ่นดินไทยเป็นประชาชนคนไทย ประวัติความเป็นมาของชาติกำเนิดของเราซึ่งอาทจะมาจากบรรพบุรุษที่แตกต่างกัน เพราะเรื่องของถิ่นฐานบ้านเกิดที่กำเนิดกายของเรา แต่สิ่งที่เราเหมือนกันปัจจุบันนี้คือเราเป็นคนไทยและเรารวมอาศัยอยู่ในผืน แผ่นดินไทย

ผืนแผ่นดินที่มีทั้งคุณเอนกอนันต์และพระคุณมากมายล้นพ้นต่อสรรพชีวิตอันน้อย นิดของเราทุกคน เราทุกคนมีเลือดสีเดียวกันจงรักสามัคคีกันและสร้างสรรค์สังคมเรานี้ให้เป็น สังคมแห่งความสุขและรักใคร่กันเถอะ ถึงจะเป็นเฉพาะกลุ่มเราซึ่งเป็นส่วนน้อยก็ตาม จงส่งจิตอันเป็นกุศลแผ่เมตตาให้กับคนที่คิดจะทำร้ายทำลายประเทศชาติของเรา ให้ไปสู่ที่ชอบที่ชอบกันเหอะ และอวยพรให้ผู้ที่คิดและทำดีต่อผืนแผ่นดินนี้จงพบแต่ความสุขความเจริญ สมหวังในทุกสิ่งที่ปรารถนาตลอดไปด้วยเทอญ       
อาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นอาณาจักรที่สิ้นสุดลงก่อนหน้าอาณาจักรอื่น ๆ ในยุคสมัยเดียวกัน โดยเป็นประเทศราชของอโยธยาและสุโขทัย จนสืบเนื่องมาถึงอาณาจักรอยุธยา เรื่องราวของอาณาจักรนี้จึงค่อนข้างมืดมนไม่ชัดเจน
อาณาจักรนครศรีธรรมราช มีวิวัฒนาการมาจากแคว้นตามพรลิงค์ แคว้นหนึ่งในเขตวัฒนธรรมศรีวิชัยตอนบน (ภาคใต้ของไทย) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมทวารวดี ชาวนครศรีธรรมราชเป็นคนไทกลุ่มหนึ่ง ปกครองเมืองสิบสองนักษัตร (๑๒ เมือง) โดยมีเมืองนครศรีธรรมราชเป็นเมืองศูนย์กลาง กษัตริย์ปกครองอยู่ในราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช
ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช มีที่มาจากกษัตริย์ผู้สถาปนา อาณาจักรนครศรีธรรมราช (จังหวัดนครศรีธรรมราช) คือพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช จากหลักฐานที่พบจดบันทึกไว้ในสมุดข่อยโบราณในหอสมุดแห่งชาติ

มีชาวนครศรีธรรมราชท่านหนึ่งซึ่งสนใจศึกษาวิชาโหราศาสตร์ ได้ค้นคว้าพบดวงชะตาเมืองนครศรีธรรมราช สถาปนาขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดี แรม 12 ค่ำ เดือน 3 ปีเถาะ จุลศักราช 649 ตรงกับพ.ศ. 1830 ซึ่งเป็นการสถาปนาหลังจากอาณาจักรศรีวิชัยได้ล่มสลายไปแล้ว เนื่องจากอาณาจักรศรีวิชัย มีอายุอยู่ในช่วง พ.ศ. 1000- 1800
พระเจ้าศรีธรรมโศกราช ทรงมีพระอนุชา 3 พระองค์ องค์รองชื่อ จันทรภาณุ ซึ่งเป็นพระนามฐานันดรตำแหน่งอุปราช องค์สุดท้ายทรงพระนามว่า พงษาสุระ เมื่อพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช พระเชษฐาสวรรคต องค์รองพระเจ้าจันทรภาณุขึ้นเสวยราชย์แทน เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังจากกษัตริย์แห่งอาณาจักรนครศรีธรรมราช พระองค์ก่อนสิ้นพระชนม์ กษัตริย์พระองค์ต่อมาก็เป็นพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชแทน

ดังเช่นเมื่อพระ เจ้าศรีธรรมโศกราช พระองค์พี่สิ้นพระชนม์ พระเจ้าจันทรภาณุ ก็ได้รับพระนามว่าพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เช่นกัน แต่คนทั่วไปก็มักจะเรียกจนติดปากว่า พระเจ้าจันทรภาณุ หรือในอีกชื่อหนึ่งของพระองค์คือ จตุคามรามเทพ "ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช" เป็นราชวงศ์หนึ่ง ของไทยที่เคยมีอำนาจปกครอง อาณาจักรนครศรีธรรมราช ซึ่งปกครองเมืองต่างๆ ทางภาคใต้ของไทย จำนวน 12 เมือง เรียกว่าเมืองสิบสองนักษัตร ดังนี้
1) เมืองสายบุรี ใช้ตราหนู เมืองสายบุรีเป็นเมืองเก่าบนฝั่งแม่น้ำสายบุรี ประกอบ ด้วยชุมชนเกษตรกรรมบนพื้นราบริมทะเลหลายแห่ง จัดเป็นหัวเมืองที่ 1 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราหนู (ชวด) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นอำเภอในจังหวัดปัตตานี
2) เมืองปัตตานี ใช้ตราวัว เมืองตานีเคยเป็นเมืองท่าสำคัญในภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่งรู้จักในหมู่พ่อค้า ต่างชาติช่วงพุทธศตวรรษที่ 10-18 ในชื่อ "ลังกาสุกะ" จัดเป็นหัวเมืองที่ 2 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราวัว (ฉลู) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดปัตตานี
3) เมืองกลันตัน ใช้ตราเสือ เมืองกลันตันเป็นชุมชนเก่าแก่ทางตะวันออกของคาบสมุทรมลายู แต่เดิมประชาชนนับถือศาสนาพุทธและฮินดู ในราวพุทธศตวรรษที่ 21 จึงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม จัดเป็นหัวเมืองที่ 3 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราเสือ (ขาล) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งของประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย
4) เมืองปาหัง ใช้ตรากระต่าย เมือง ปาหังเป็นชุมชนทางตอนล่างของแหลมมลายู ติดกับไทรบุรีหรือเกดะห์ จัดเป็นหัวเมืองที่ 4 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตรากระต่าย (เถาะ) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งในประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย
5) เมืองไทรบุรี ใช้ตรางูใหญ่ เมืองไทรบุรีเป็นชุมชนเก่าทางฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบและบึงตม เดิมประชาชนนับถือพุทธศาสนา ล่วงถึงพุทธศตวรรษที่ 20 จึงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม จัดเป็นหัวเมืองที่ 5 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตรางูใหญ่ (มะโรง) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งในประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย ชื่อว่า "เกดะห์"
6) เมืองพัทลุง ใช้ตรางูเล็ก เมืองพัทลุงเป็นชุมชนเก่าแก่แต่ครั้งพุทธศตวรรษที่ 11-13 ได้ รับอิทธพลทางพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชอย่างต่อเนื่องทุกยุคสมัย จัดเป็นหัวเมืองที่ 6 ในทำเนียบสิบสองนักษัตร ถือตรางูเล็ก (มะเส็ง) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดพัทลุง
7) เมืองตรัง ใช้ตราม้า เมืองตรังเป็นเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันตก ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่ควนธานี ต่อมาได้ย้ายไปที่กันตังและทับเที่ยงตามลำดับ จัดเป็นหัวเมืองที่ 7 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราม้า (มะเมีย) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดตรัง
เมืองชุมพร ใช้ตราแพะ เมืองชุมพรเป็นชุมชนเกษตรและท่าเรือบนคาบสมุทรขนาดเล็ก มีประชากรไม่มากนักเนื่องจากดินฟ้าอากาศไม่อำนวยให้ทำมาหากิน จัดเป็นหัวเมืองที่ 8 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราแพะ (มะแม) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดชุมพร
9) เมืองบันทายสมอ ใช้ตราลิง เมืองบันทายสมอสันนิษฐานว่าเป็นเมืองไชยา ซึ่งเป็นชุมชนใหญ่มาแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๐ เป็นอย่างน้อย มีร่องรอยความเจริญทางเศรษฐกิจและศาสนาพุทธนิกายหินยานและมหายาน รวมทั้งศาสนาฮินดูนิกายไวษณพและนิกายไศวะจำนวนมาก จัดเป็นหัวเมืองที่ 9 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราลิง (วอก) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
10) เมืองสะอุเลา ใช้ตราไก่ เมืองสะอุเลาสันนิษฐานว่าเป็นเมืองท่าทองอุแทหรือกาญจนดิษฐ์ ซึ่ง อยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำท่าทอง และลุ่มคลองกะแดะ เคยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงชั้นเอกและเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญของนครศรี ธรรมราช จัดเป็นหัวเมืองที่ 10 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราไก่ (ระกา) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคืออำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
11) เมืองตะกั่วป่า ใช้ตราสุนัข เมืองตะกั่วป่าเคยเป็นเมืองท่าสำคัญทางฝั่งทะเลตะวันตก เป็น แหล่งผลิตดีบุกและเครื่องเทศมาแต่โบราณ จัดเป็นหัวเมืองที่ 11 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราสุนัข (จอ) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคืออำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
12) เมืองกระบุรี ใช้ตราหม เมืองกระบุรีเป็นชุมชนเล็ก ๆ บนฝั่งแม่น้ำกระบุรี ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่า และภูเขาสลับซับซ้อน จัดเป็นหัวเมืองที่ 12 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราสุกร (กุน) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นอำเภอในจังหวัดระนอง
เมื่อสมัยสุโขทัยเรืองอำนาจ ของอาณาจักรไทยทางภาคเหนือและภาคกลาง อาณาจักรนครศรีธรรมราช เองก็มีอำนาจรุ่งเรืองในภาคใต้ อาณาจักรนครศรีธรรมราชเป็นมิตรที่ดีต่ออาณาจักรสุโขทัย มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมโดยเฉพาะพระพุทธศาสนา มีส่งพระสงฆ์ไปยังอาณาจักรสุโขทัย เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา

ยังไม่ปรากฏหลักฐานเป็นที่แน่ชัดว่า อาณาจักรนครศรีธรรมราชยอมเข้ารวมเป็นส่วนหนึ่ง ของประเทศไทยในปัจจุบัน ตั้งแต่ในสมัยใด แต่จากการสันนิษฐานคาดว่า อาณาจักรนครศรีธรรมราชคงเป็นประเทศราชของอโยธยาและสุโขทัยตามลำดับมาตั้งแต่ ประกาศเอกราชจากศรีวิชัย

เนื่องจากประวัติศาสตร์ของสองนครนั้นกล่าวว่านครศรีธรรมราชเป็นประเทศราชของ ตนในช่วงต่อเนื่องกันพอดี และต่อมาคงได้มีเอกราชอยู่สักระยะหนึ่ง จึงเข้ามาเป็นประเทศราชของอาณาจักรไทยอีกครั้งในสมัยอาณาจักรอยุธยาในประมาณ ต้นพุทธศตวรรษที่ 20 ที่ปรากฏในหลักฐานที่เด่นชัดที่สุดคือในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชพระองค์มี พระมเหสี 4 พระองค์

หนึ่งในนั้นคือพระมเหสีจากราชวงศ์ศรีธรรมาโศก ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่นิยมปฏิบัติในสมัยโบราณ ที่จะให้อาณาจักรของตน มีความสัมพันธ์กับกับอีกราชอาณาจักรหนึ่ง เพื่อเป็นมิตรกันจะได้เกื้อหนุน ช่วยเหลือกัน อาณาจักรนครศรีธรรมราชรุ่งเรืองอยู่ได้ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ และ ๑๙ โดยอาจเป็นประเทศราชของอโยธยาและสุโขทัยตามลำดับก็ตาม แต่ก็คงมีช่วงที่เป็นเอกราช สร้างสรรค์วัฒนธรรมที่เรียกว่า "ไทยถิ่นใต้" ตามเขตแดนปัจจุบันนั่นเอง



.............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................


ความสัมพันธ์กับอาณาจักรอื่น

(ข้อมูล : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)

อาณาจักรฟูนัน
อาณาจักรตามพรลิงค์ เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรฟูนัน ต่อมาใน พ.ศ. 1318 อาณาจักรตามพรลิงค์และเมืองไชยาได้กลายมาเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัย และพ.ศ. 1568 ได้ถูกอาณาจักรโจฬะยกกองทัพเรือเข้ายึดครอง ในปีพ.ศ. 1658 ได้มีการส่งคณะทูตไปเฝ้าฮ่องเต้จีนราชวงศ์ซ้อง ที่เมืองไคฟง

อาณาจักรเขมร
อาณาจักรตามพรลิงค์ได้ส่งไพร่พลไปช่วยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 สร้างเมืองนครธม พ.ศ. 1813อาณาจักรตามพรลิงค์ได้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของอาณาจักรลังกาสุกะ และ พ.ศ. 1893 เมืองนครศรีธรรมราชได้ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา

เมืองนครศรีธรรมราชในระยะแรกประกอบด้วยเมืองสำคัญ 12 เมือง คือ สายบุรี ปัตตานี กลันตัน ปาหัง ไทรบุรี พัทลุง ตรัง ชุมพร บันทายสมอ สงขลา ตะกั่วป่า และครหิหรือกระบุรี ใช้สัตว์ประจำปีเป็นตราประจำเมือง เช่น สายบุรีใช้ตราหนู ปัตตานีใช้ตราวัว กลันตันใช้ตราเสือ ปาหังใช้ตรากระต่าย เรียงลำดับไป สำหรับเมืองบันไทสมอ ซึ่งใช้ตราลิงนั้น นักโบราณคดีบางท่าน เช่น หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี สันนิษฐานว่าอยู่ที่เมืองกระบี่ ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อเมืองกระบี่ในปัจจุบัน

จีน
ในจดหมายเหตุจีน ระบุว่า นครโฮลิง(ตามพรลิงค์) ส่งทูตไปเฝ้าฮ่องเต้จีนใน พ.ศ. 1291,1310,1311,1356,1358 และ พ.ศ. 1361 ต่อมาได้มีการเรียกชื่ออาณาจักรตามพรลิงค์ใหม่ว่า อาณาจักรศิริธรรม ภายหลังเมื่ออยู่ในอำนาจอาณาจักรสุโขทัยได้เปลี่ยนมาเป็น เมืองศรีธรรมราชจากหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานว่านิกายเถรวาทนับถือกันมาก ที่สุด

.............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................


อาณาจักรตามพรลิงค์หรือตัมพะลิงค์
ที่มา : http://www.baanmaha.com
อาณาจักรตามพรลิงค์ มีศูนย์กลางอยู่ทีนครศรีธรรมราช (อาจเป็นบริเวณบ้านท่าเรือหรือบ้านพระเวียง) ซึ่งตั้งอยู่ด้านเหนือ ของอาณาจักรลังกาสุกะ (บริเวณปัตตานี) มีอาณาเขตทางด้านทิศตะวันออกและตะวันตก นั้นจดทะเลอันดามันถึงบริเวณที่เรียกว่า ทะเลนอกซึ่งเป็นบริเวณจังหวัดกระบี่ปัจจุบัน
คำว่า ตามพร เป็นภาษีบาลี แปลว่า ทองแดง ส่วนลิงค์ เป็นเครื่องหมายบอกเพศเขียนเป็นอักษรภาษาอังกฤาว่า Tambalinga หรือ Tammaling หรือ Tamballinggam จีนเรียกตันเหมยหลิว หรือโพ-ลิง หรือ โฮลิง (แปลว่าหัวแดง)
อาณาจักรตามพรลิงค์ มีกษัตริย์สำคัญ คือ พระเจ้าศรีธรรมโศกราช และพรเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช ซึ่งทรงสามารถรวยรวมพวกมลายู และ แขกทมิฬไว้ในอำนาจ
อาณาจักรตามพรลิงค์เป็นศูนย์กลางการเผย แพร่พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ ไปยังอาณาจักรสุโขทัย และดินแดนทั่วแหลมมลายูพระภิกษุจากนครศรีธรรมราชเคยเดินทางไปสืบ พระพุทธศาสนาถึงประเทศลังกา
ในพุทธศตวรรษที่ ๗ อาณาจักรตามพรลิงค์ ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรฟูนัน ต่อมา พ.ศ. ๑๓๑๘ อาณาจักรตามพรลิงค์ได้ตกเป็นเมืองขึ้นอาณาจักรศรีวิชัย และ พ.ศ. ๑๕๖๘ ได้ถูกพวกโจฬะจากอินเดียยกทัพมารุกรานใน พ.ศ.๑๖๕๘ ได้มีการส่งคณะทูต ไปเฝ้าพระเจ้ากรุงจีนราชวงศ์ซ้อง ที่เมืองไคฟง
ในพุทธศตวรรษที่ ๑๖ อาณาจักรตาพรลิงค์ได้ส่งไพร่พลไปช่วยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ สร้างเมืองนครธม พ.ศ. ๑๘๑๓ อาณาจักรตามพรลิงค์ได้ตกอยู่ในอิทธิพลอาณาจักรลังกาสุ พ.ศ. ๑๘๓๗ เมืองนครศรีธรรมราชได้เข้ารวมอยู่อาณาจักรสุโขทัย และ พ.ศ. ๑๘๙๓ เมืองนครศรีธรรมราชได้เข้ารวมกับอาณาจักรอยุธยา
อาณาจักรตามพรลิงค์นี้ประกอบไปด้วย เมือง ๑๒ เมือง โดยใช้ตราสิบสองนักกษัตร เป็นตราประจำแต่ละเมือง คือ เมืองสายบุรี (หนู) เมืองปัตตานี (วัว) เมืองกลันตัน (เสือ) เมืองปาหัง (กระต่าย) เมืองไทรบุรี (งูเล็ก) เมืองพัทลุง (งูใหญ่) เมืองตรัง (ม้า) เมืองชุมพร (แพะ) เมืองบันทายสมอ (ลิง) เมืองสงขลา (ไก่) เมืองตะกั่วป่า (สุนัข) และเมืองครหิหรือกระบุรี (สุกร)
สำหรับเมืองบันทายสมอ ซึ่งใช้ตราลิงนั้น นักโบราณคดีบางท่าน เช่น หม่อมเจ้าจันทร์จิรารัชนี สันนิษฐานว่าอยู่เมืองกระบี่ ซึ่งอาจเป็นที่มาของเมืองกระบี่ปัจจุบัน
จดหมายเหตุจีนระบุว่า นครโฮลิง (เมืองตามพรลิงค์) นั้นได้ส่งทูตไปเฝ้าพระเจ้ากรุงจีน เมื่อ พ.ศ. ๑๒๙๑ , พ.ศ. ๑๓๑๐ , พ.ศ. ๑๓๑๑ พ.ศ. ๑๓๕๖ . พ.ศ. ๑๓๕๘ และพ.ศ. ๑๓๖๑
ต่อมาได้มีการเรียกชื่ออาณาจักรตามพร ลิงค์ เสียใหม่ว่า อาณาจักรศิรธรรม ภายหลังเมื่อเมืองนี้อยู่ในอำนาจของอาณาจักรสุโขทัยจึงได้เปลี่ยนเป็น เมืองศรีธรรมราช



.............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................


พราหมณ์จากอาณาจักรตามพรลิงค์
ที่มา http://www.siamganesh.com/tampornlink.html



อาณาจักรตามพรลิงค์ เป็นอาณาจักรเก่าแก่ที่อยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย มีศูนย์กลางอยู่ที่ เมืองตามพรลิงค์ (เมืองนครศรีธรรมราช) ซึ่งพบว่าเป็นจุดเริ่มต้นของศาสนาฮินดู-พราหมณ์ มีหลักฐานปรากฎว่า
เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 7 นั้น เมืองตามพรลิงค์แห่งนี้ตกอยู่ในอำนาจการปกครองของ อาณาจักรฟูนัน (ขอม) และ อาณาจักรศรีวิชัย ภายหลังเมืองจึงได้มีความสำคัญขึ้นตามลำดับจนในพุทธศตวรรษที่ 13 เมืองตามพรลิงค์ได้ขยายอำนาจขึ้นมาเป็นเมืองใหญ่ กลายเป็นศูนย์กลางการค้าและการปกครองเมืองต่างๆในดินแดนทางภาคใต้ จนสามารถสร้างเป็นอาณาจักรใหญ่ขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 14-15 ได้
อาณาจักรตามพรลิงค์ หรือ ต้าหมาหลิง นี้ ได้ขยายอาณาเขตปกครองตั้งแต่เมืองปัตตานีและหัวเมืองทางภาคใต้เกือบทั้งหมด ในพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรตามพรลิงค์หรือเมืองนครราชศรีธรรมราชได้เสื่อมอำนาจลงและได้เป็น เมืองที่รวมเข้ากับกรุงศรีอยุธยาในที่สุด
เมืองตามพรลิงค์ (เมืองนครศรีธรรมราช) แห่งนี้ พบว่ามีโบราณสถานของศาสนาพราหมณ์อยู่บน "เขาคา" ตำบลสำเภา อำเภอสีชล จังหวันครศรีธรรมราช ทำให้หลักฐานยืนยันชัดเจนว่า ศาสนาฮินดู-พราหมณ์นั้นได้เดินทางเข้ามาเผยแผ่และตั้งแหล่งเผยแพร่เรื่องของ พระผู้เป็นเจ้าของพราหมณ์ขึ้นในดินแดนแถบนี้ก่อน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการนับถือองค์เทพหรือพระผู้เป็นเจ้าของพราหมณ์ ก่อนที่จะเผยแพร่ไปตามเมืองอื่นๆในดินแดนสุวรรณภูมิต่อไป
เทวสถานบนยอดเขาคาเกิดขึ้นได้นั้น ต้องมีชุมชนของผู้นับถือคอยอุปถัมภ์ดูแลอยู่ด้วย จากการศึกษาสถานที่และสำรวจนั้นได้พบว่า เขาคาแห่งนี้มีแนวสันทรายนครศรีธรรมราช (คือ สันทรายสิชล-ท่าศาลา) ทอดยาวจากทิศเหนือลงมาทิศใต้ประมาณ 50 กิโลเมตร มีอายุอยู่ใน สมัยโฮโลซีน คืออายุราว 5,000-6,000 ปีลงมา
ส่วนชุมชนผู้นับถือพระผู้เป็นเจ้าของ พราหมณ์ในสมัยนั้นน่าจะอยู่แถวบริเวณเทือกเขานครศรีธรรมราชด้านทิศตะวันตก ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำของคลองหลายสายที่ไหลเกือบเป็นเส้นตรงจากทิศตะวันตกไป สู่ทะเลด้านทิศตะวันออก ตอนกลางนั้นมีบริเวณที่ราบเชิงเขาและที่ราบริมลำน้ำซึ่งมีสภาพพื้นที่สูง กว่าบริเวณสันทรายใกล้ชายฝั่ง การทับถมของตะกอนดินในแม่น้ำและความชุ่มชื้นของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัดมาจากทะเลนั้น ได้ทำให้บริเวณที่ราบกว้างใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งกว่า บริเวณอื่น จนเอื้ออำนวยต่อการทำเกษตรกรรมเลี้ยงชุมชนที่เกิดขึ้นได้ อีกทั้งยังได้อาศัยลำน้ำเป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อไปยังพื้นที่ตอนในกับ พื้นที่ชายฝั่งทะเลด้วย
บริเวณเทวสถานของพราหมณ์ผู้เผยแผ่ความ เชื่อในพระผู้เป็นเจ้าแห่งนี้จึงเชื่อว่าน่าจะเป็นแหล่งชุมชนโบราณในยุคแรก นั้น และได้มีการติดต่อค้าขายกับพ่อค้าชาวอินเดียที่พากันเดินทางเข้ามาตั้งแต่ ราวพุทธศตวรรษที่ 10 ชุมชนโบราณนี้อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเขาคาและบริเวณวัดเบิกเขา พรง การสำรวจนั้นได้พบเครื่องมือขวานหินขัด เครื่องมือของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอายุประมาณ 4,000-5,000 ปี พบแหล่งโบราณคดีจำนวนมากอยู่กระจายตามลุ่มแม่น้ำในเขตอำเภอสิชลและมีหลักฐาน การอยู่อาศัยกันหนาแน่นในท้องที่ ตำบลสำเภา ตำบลฉลอง ตำบลเทพราช
ชุมชนมนุษย์ที่ เขาคา-สิชล คงจะตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยและสร้างวัฒนธรรมของตนเองสืบทอดมาตั้งแต่ยุคเริ่ม ประวัติศาสตร์ ซึ่งมีการติดต่อค้าขายกับพ่อค้าอินเดียที่เดินทางเรือและบกไปมาหาสู่ประจำ
ดังนั้นในพุทธศตวรรษที่ 10-18 บริเวณเขาคาจึงเกิดวัฒนธรรมและคติความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้าของพราหมณ์ อินเดียที่เข้ามาในชุมชนแห่งนี้แล้ว โดยมีพ่อค้าอินเดียและพราหมณ์เป็นผู้นำมาเผยแพร่ นับเป็นอารยธรรมของอินเดียที่เกิดเป็นแห่งหนึ่ง (ที่สำรวจพบ) ในบริเวณดังกล่าว
แหล่งโบราณวัตถุและโบราณสถานที่พบบนเขา คานั้น ได้พบว่าเป็นเทวสถานที่สร้างขึ้นถาวร อันแสดงถึงคติความเชื่อใน ลัทธิไศวนิกาย ที่นับถือ พระศิวะ เป็นเทพเจ้าสูงสุด
เมื่อพุทธศตวรรษที่ 12-14 นั้น ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายได้มีความเจริญมาก ด้วยพบหลักฐานว่า ชุมชนโบราณที่อยู่ในบริเวณเขาคาแห่งนี้ ได้ขยายตัวลงไปทางตอนใต้ตลอดแนวลำน้ำ เช่น ชุมชนวักนาขอม ที่ร้างอยู่ ซึ่งพบว่าได้มีการตั้งเทวาลัยขึ้นเป็นจำนวนมากทั้งที่อยู่บนบริเวณเนินเขา และที่ราบ ส่วนพุทธสถานของชุมชนที่นับถือศาสนาพุทธนั้นเกิดขึ้นอยู่ตามบริเวณที่ราบ เท่านั้น
ดังนั้น เขาคา จึงเป็นเขาที่ถูกเลือกสำหรับสร้างเทวสถานเพื่อเป็นเทวาลัยแห่งพระศิวะเทพ ให้เป็นศูนย์กลางของศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายคือใช้เป็นสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานศิวลึงค์ตามคัมภีร์ศิวปุราณะ เป็นเรื่องที่ต้องศึกษาทางโบราณคดีถึงทำเลของเทวสถานที่เป็นต้นแบบศาสนา พราหมณ์ในไทยแห่งนี้ต่อไป
เขาคาเป็นเขาลูกโต ยาวประมาณ 850 เมตร กว้างประมาณ 300 เมตร ยอดเขามีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 72 เมตร เชิงเขาด้านใต้มีลักษณะเรียวกว่าด้านเหนือเล็กน้อย บนยอดเขามีเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ตั้งอยู่ ห่างออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 50 เมตร มีแม่น้ำไหลผ่านเขาคา ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือและทิศเหนือ คือ คลองท่าทน มีต้นกำเนิดมาจาก เทือกเขาหลวง ซึ่งเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทน เขาพระสุเมรุ ตามอย่าง ภูเขาหิมาลัย ในอินเดีย เขาคาจึงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ประกอบพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์และ เป็นที่อยู่อาศัยของพราหมณ์ ซึ่งพบร่อบรอยสถาปัตยกรรมตามแนวสันเขารวมทั้งหมด 4 แห่ง สระน้ำ 3 แห่ง และมีโบราณสถานที่ดัดแปลงจากสภาพแวดล้อมธรรมชาติอยู่สุดเนินเขาทางเหนืออีก 1 แห่ง เชื่อว่าเป็นชุมชนของชาวบ้านที่อยู่กระจัดกระจายตามพื้นที่ราบรอบเขาคา ด้วยพบหลักฐานทางโบราณคดีเป็นจำนวณมาก เช่น เนินโบราณสถาน สระน้ำโบราณ ศิวลึงค์ และชิ้นส่วนของสถาปัตยกรรม เช่น ฐานเสา ธรณีประตู กรอบประตู เป็นต้น เขาคานี้มีสองยอด ยอกหนึ่งมีลักษณะเป็นเนินเขาบนตะพักเขาที่สูง 70 เมตร ยอดทางเหนือสูงประมาณ 194 เมตร ทั้งสองยอดนี้มีโบราณสถานอยู่เรียงรายตามสันเขา โบราณสถานบนเขามี 5 หลังพบว่ามีบ่อรูปสี่เหลี่ยมทำบ่อน้ำมนต์ และท่อโสมสูตรในอาคารหลังใหญ่กว้าง 17 เมตร
ลักษณะของศิวลึงค์ตามคัมภีร์ปุราณะที่ พบอยู่บนเขาคานั้น ส่วนล่างสุดเป็นฐานรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสหมายถึง พรหมภาค ตรงกลางศิวลึงค์นั้น เป็นรูปแปดเหลี่ยมหมายถึง วิษณุภาค และบนสุดของศิวลึงค์เป็นรูปกลมมน หมายถึงรุทรภาค นอกจากศิวลึงค์แล้วยังพบฐานโยนีเป็นจำนวนมากมีฐานหนา 9-12 เซ็นติเมตร มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 15
เทวสถานนี้แม้จะสร้างเป็นเทพเจ้าของ ลัทธิไศวนิกายแล้ว ยังพบว่ามีการประดิษฐานไวษณพนิกายควบคู่ไปด้วยกัน ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 ได้พบว่ามีร่องรอยหลักฐานของชุมชนชาวพุทธฝ่ายมหายาน ได้เข้ามาตั้งหลักฐานอยู่ใกล้ๆแหล่งที่เคยเป็นเทวสถานของศาสนาพราหมณ์แห่ง นี้ ต่อมากลุ่มชาวพุทธได้ทำการดัดแปลงเทวสถานของพราหมณ์แหงนี้เป็นพุทธสถานแทน
บริเวณแหล่งศาสนาพราหมณ์แห่งนี้ เมื่ออาณาจักรตามพรลิงค์ (เมืองนครศรีธรรมราช) เจริญรุ่งเรือง ผู้คนที่อยู่ชุมชนแห่งนี้จึงพากันอพยพไปอยู่ที่ศูนย์กลางแห่งใหม่ และนำเอาวิทยาการต่างๆของพราหมณ์อินเดียที่ถูกถ่ายทอดสู่ชุมชนนั้นไปเผยแพร่ ต่อไป ต่อมาวิทยาการเหล่านั้นได้มีบทบาทสำคัญในสังคมไทย โดยเฉพาะวิชาโหราศาสตร์และคัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์
อาณาจักรตามพรลิงค์ต่อมาได้กลายเป็น แหล่งอารยธรรมของอินเดียโบราณที่บรรดาพ่อค้าและพราหมณ์ได้เดินทางเข้ามา ครั้งแรก ก่อนที่จะมีคณะสมณฑูตจาก พระเจ้าอโศกมหาราช แห่งอินเดียนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนาเข้ามาประกาศเผยแผ่ในดินแดนสุวรรณภูมิ
เมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในดิน แดนแถบนี้อย่างเป็นทางการโดยมีสมณฑูตจากพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งทำให้อาณาจักรและเมืองต่างๆ พากันยอมรับเอาพระพุทธศาสนาเป็นหลักของการครองอาณาจักร กล่าวคือ เมื่อมีการสร้างเจดีย์ (พระบรมธาตุ) ขนาดใหญ่ขึ้นที่เมืองตามพรลิงค์ (เมืองนครศรีธรรมราช) และพระปฐมเจดีย์ (เมืองนครปฐม) แล้ว เท่ากับเป็นการประกาศกำนำเอาพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นหลักของอาณาจักรนี้

.............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น