วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558

อองซาน ซูจี : เส้นทางทางการเมืองของสตรีเหล็ก ที่มุ่งมั่นต่อหน้าที่เพื่อชาติ

อองซาน ซูจี : เส้นทางทางการเมืองของสตรีเหล็ก ที่มุ่งมั่นต่อหน้าที่เพื่อชาติ
อองซาน ซูจี ถูกส่งให้มายุ่งเกี่ยวกับการเมืองโดยสายเลือด เพระเธอเกิดมาเป็นลูกของนายพล อองซาน ซึ่งเป็นผู้นำประชาชนปลดแอกจากอังกฤษ แม้ว่านายพลอองซานจะถูกลอบสังหารในเวลาต่อมา แต่เขาก็ได้รับการยกย่องมากในฐานะวีระบุรุษของชาติพม่าเลยทีเดียว
นอกจากนั้น แม่ของอองซาน ซูจี ยังเป็นทูตพม่าประจำอินเดีย ที่ซึ่งเธอได้รับการศึกษาแบบตะวันตกอย่างเข้มข้น จนเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด และได้พบรักกับ ไมเคิล อลิส และแต่งงานกันในเวลาต่อมา  เธอจึงเป็นผู้หญิงแถวหน้าที่มีไลฟ์สไตล์และความคิดอ่านไปในทางตะวันตก
ความจริงแล้วการศึกษาอาจจะไม่เกี่ยวเท่าไหร่กับการที่เธอกลายเป็นนักเคลื่อนไหว แต่การที่เธอเป็นหญิงพม่าที่ทำงานในองค์การสหประชาชาติในนิวยอร์ก ภูฏาน ในสมัยที่นายอูทั่น เป็นเลขาธิการองค์กรที่ทรงอิทธิพลในยุคนั้น จึงส่งให้เธอเป็นดาวเด่นของประเทศไปโดยปริยาย
ประเทศพม่านับตั้งแต่ปลดแอกออกมาจากการปกครองของอังกฤษ ได้ตกอยู่ในการครอบงำของกองทัพมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการครองอำนาจอย่างยาวนานของนายพล เนวิน ถึง 35 ปี ได้ทำให้ประเทศพม่ากลายเป็นดินแดนที่ล้าหลังสุดๆ
ในปี 2530 รัฐบาลพม่าประกาศยกเลิกธนบัตรหลายชนิดโดยไม่มีการประกาศล่วงหน้า อีกทั้งยังไม่ให้คนที่ถือเงินเหล่านั้นเอาเงินที่ถืออยู่มาแลกธนบัตรใหม่  ส่งผลให้เงินตราในกระเป๋าของประชาชนหดหายไปราวร้อยละ 70
แน่นอน  คนนับแสนเริ่มก่อหวดแสดงความไม่พอใจต่อรัฐบาลและมองมาที่ความเป็นเผด็จการของทหารว่าเป็นสาเหตุใหญ่ เสียงเรียกร้องประชาธิปไตยเริ่มดังขึ้นไปทั่วประเทศพม่า
ช่วงนั้น นางอองซาน ซูจีซึ่งกำลังไฟแรง  เธอ ริเริ่มทำโครงการห้องสมุดประชาชนเพื่อให้คนพม่ารู้หนังสือมากขึ้น และได้ทำในนามนายพลอองซาน พ่อของเธอ ซึ่งยังเป็นวีระบุรุษในดวงใจของคนพม่าอยู่เสมอ
เหตุการณ์ที่กำลังดำเนินไปในพม่าขณะนั้น ส่งผลให้ผู้คนโหยหาผู้นำที่มีภาพลักษณ์ยอดเยี่ยม อินเตอร์ และมีสายเลือดของนักประชาธิปไตย  เมื่อนางอองซาน ซูจี กลับมายังพม่า มันเลยประจวบเหมาะและสมบูรณ์แบบสำหรับผู้ที่กำลังประท้วงที่กำลังพยายามที่จะจัดตั้งพรรคการเมือง เพื่อเอามาสู้กับอำนาจทหารที่ปกครองประเทศมาโดยตลอด
เมื่อนายพลเนวิน ลาออกจากตำแหน่ง โดยอ้างว่าเพื่อเป็นการรับผิดชอบในความวุ่นวายที่เกิดขึ้น รวมถึงเศรษฐกิจที่ตกต่ำสุดขีดในเดือนกรกฎาคม  แต่การลาออกครั้งนั้น เหมือนกับการเปลี่ยนแค่ส่วนหัว เพราะทุกอย่างยังเหมือนเดิม
ขบวนการนักศึกษาและประชาชนยังเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อกดดันให้ให้กลุ่มทหารยอมปล่อยอำนาจ และให้พม่ามีประชาธิปไตย
หนึ่งเดือนถัดมา  ในเดือนสิงหาคม เหตุการณ์นองเลือดได้เกิดขึ้น เมื่อตำรวจพม่าจับนักศึกษาที่มาทำการประท้วง ส่งผลให้เกิดการชุมนุมเพื่อกดดันให้ปล่อยตัวนักโทษ ซึ่งก็คือนักศึกษาในเวลานั้น  แต่แทนที่ตำรวจจะปล่อยตัวพวกเขา กลับเอาปืนกลไล่ยิงผู้ชุมนุมอย่างเมามัน  เท่านั้นเอง การชุมนุมก็เกิดขึ้นทั่วประเทศ
วันที่ 8 สิงหาคม 2531 ประชาชนนับล้านรวมตัวกันในกรุงย่างกุ้ง เมืองหลวงของพม่า เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย แต่ผู้นำทหารสั่งให้ใช้กำลังอาวุธ ทั้งอาวุธนัก และอาวุธเบาเข้าสลายการชุมนุม ทำให้มีการสูญเสียชีวิตผู้คนหลายพันคน
อาจจะเป็นเพราะความสะเทือนใจในสภาพดังกล่าว  ทำให้อองซาน ซูจี ตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองเป็นครั้งแรก ในวันที่15 สิงหาคม 2531 โดยส่งจดหมายเปิดผนึกถึงรับบาล เรียกร้องให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อเตรียมการเลือกตั้งทั่วไป
ความกล้าหาญครั้งนี้ ทำให้เธอถูกเลือกให้เป็นผู้นำอย่างไม่เป็นทางการของการเรียกร้องประชาธิปไตย  หนึ่งสัปดาห์ต่อมา คือเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2531 อองซาน ซูจี ขึ้นกล่าวคำปราศรัยเป็นครั้งแรกต่อหน้าผู้คนกง่าครึ่งล้าน ที่มาชุมนุมกันที่เจดีย์ชเวดากอง ในกรุงย่างกุ้ง เรียกร้องให้มีรัฐบาลประชาธิปไตย
หากแต่ผู้นำทหารกลับตั้งสภาฟื้นฟูกฎระเบียบแห่รัฐ (The State Law and Order Restoration Council) ซึ่งหมายความว่าระบบท๊อปบู๊ทอย่างเป็นทางการได้เริ่มต้นขึ้นอักครั้งหนึ่งตามมติของสล๊อร์ก (SLOG) ซี่งได้สั่งให้ทหารเคลื่อนรถถังหุ้มเกราะและอาวุธหนักเข้าจัดการกับขบวนการประชาชนทันที ทำให้มีการเสียชีวิตเลือดเนื้อกันอีกรอบ
วันที่ 24 กันยายน 2531 อองซาย ซูจี ได้ร่วมจัดตั้งพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy : NLD) เธอได้รับเลือกให้ดำรงตำแหย่งเลขาธิการพรรค พร้อมประกาศจะนำสมาชิกพรรคที่เป็นประชาชนและนักศึกษาเข้าสู้ศึกเลือกตั้งที่สล๊อร์กสัญญากับนานาชาติว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งแน่นอน
ในขณะที่ความตึงเครียดเริ่มจะเบาบางลง หลายเดือนถัดมา รัฐบาลทหารพม่าก็ประกาศกฎอัยการศึก พร้อมสั่งกักตัวและสั่งจับบรรดาสมาชิกพรรคการเมืองคนสำคัญของพรรค NLD บานที่ทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในประเทศ  แน่นอนคนที่โดนในลำดับต้นๆคงไม่พ้น ตัวของนางอองซาน ซูจี นั่นเอง
ประกาศของสล๊อร์ก ต่อ อองซาน ซูจี มีขึ้นครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2532 โดยประกาศกักบริเวณเธอให้อยู่ภายใต้การดูแลของทหาร โดยบริเวณที่กักก็คือบ้านของเธอเองเป็นเวลา 3 ปี และต่อมาขยายเป็น 6 ปี โดยไม่มีข้อหาอะไรเพิ่มเติม
อองซาน ซูจี สู้กลับโดยใช้ชีวิตเป็นเดิมพัน ด้วยการอดอาหารประท้วง แถมเรียกร้องให้รัฐบาลทหารเอาเธอไปขังรวมกับสมาชิกพรรคคนอื่นๆที่โดนจับและโดนทรมาน ท่ามกลางแรงกดดันของนานาชาติ  ในที่สุดรัฐบาลพม่าก็ยินยอมที่จะปฏิบัติต่อนักโทษเหล่านั้นอย่างดี ไม่มีการทรมาน  อองซาน ซูจี เลยยกเลิกการอดอาหารประท้วง และรอดชีวิตมาได้
แต่กระนั้น การที่เธอยอมเอาชีวิตเข้าแลก ก็ส่งผลต่อการเลือกตั้งอย่างรุนแรง เพราะการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2533ซึ่งเธอและสมาชิกพรรคคนสำคัญโดนขังอยู่ แต่ประชาชนกลับเลือกพรรคของเธออย่างถล่มทลาย
ตามธรรมเนียมการเลือกตั้ง  เมื่อแพ้การเลือกตั้ง ทุกอย่างจะถูกถ่ายโอนอำนาจไปให้แก่พรรคที่ได้รับชัยชนะ แต่รัฐบาลทหารพม่าขณะนั้น กลับไม่ยอมประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ และปฏิเสธที่จะมอบอำนาจที่ประชาชนเลือกให้กับหญิงเหล็กชาวพม่าคนนี้
ที่หนักกว่านั้นก็คือ  รัฐบาลทหารพม่าประกาศที่จะปล่อย อองซาน ซูจี ให้ไปยู่ต่างประเทศกับครอบครัว กับลูกและสามี ถ้าเธอยอมลาออกจากพรรค NLD และยอมวางมมือจากการเมืองทั้งหมด  แต่อองซาน ซูจี ไม่ยอมรับ เธอปฏิเสธข้อเสนอและยอมที่จะถูกกักบริเวณต่อไป แทนการละทิ้งอุดมการณ์ที่มี และยอมแพ้ออกไปจากประเทศที่เป็นแผ่นดินแม่ของเธอ
รัฐบาลทหารสนองกลับเต็มเหนี่ยวด้วยการเพิ่มคำสั่งกักบริเวณเธออีกหลายปี ทำให้ 1 ปีถัดมา คณะกรรมการโนเบลประกาศให้ อองซาน ซูจี ได้เป็นผู้รับรางวับโนเบลสาขาสันติภาพ ตบหน้ารัฐบาลทหารของพม่าเข้าฉาดใหญ่  อองซาน ซูจี ประกาศใช้เงินรางวัล1.3 ล้านเหรียญ จัดตั้งกองทุนเพื่อสุขภาพและการศึกษาให้กับประชาชนพม่า ต่อมาเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2538 ซุจี ได้รับอิสรภาพจากการถูกกักบริเวณเป็นครั้งแรก  แต่หลังจากนั้น เธอถูกกักบริเวณอีกหลายครั้ง จนในที่สุดเมื่อปลายปี 2553 เธอได้รับการปล่อยให้เป็นอิสระ และลงสู่สนามเลือกตั้งอีกครั้ง และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอย่างงดงาม
ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลทหารพม่าอยู่ไม่เป็นสุขจากการกระทำของเธอ  เธอเขียนและส่งข้อมูลเรื่องการละเมิดอำนาจประชาชน การเผด็จการ และการก่ออาชญากรรม ให้กับประเทศทางตะวัยตกอย่างต่อเนื่อง เธอทำให้มีข่าวอยู่เรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการยืนเผชิญหน้ากับกับตำรวจเป็นเวลา 9 วัน  หรือการขับรถออกจากบ้าน แต่เจอการขวางทางโดยด่านตำรวจ เธอก็ประท้วงโดยการไม่ออกตจากรถ และอยู่ในนั้นจนกระทั่งเสบียงหมด  อองซาน ไม่ตาย แต่รัฐบาลทหารพม่าปวดหัวอย่างที่สุด
รัฐบาลทหารของพม่าอยู่ไม่เป็นสุข จากการกระทำของ อองซาน ซูจี  เมื่อถึงยุคที่โลกล้อมพม่า และภายใต้การสั่นคลอนของอองซาน ซูจี สุดท้ายรัฐบาลพม่าก็ยอมแพ้ และยอมปล่อยให้เธอออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง รวมถึงยกเลิกคำสั่งกักบริเวณ ทำให้เธอสามารถออกมาพบผู้คน และชาวโลกได้
หลังจากที่มีการปล่อยตัวเธออย่างเป็นทางการ  ผู้นำและผู้มีชื่อเสียงระดับโลกมากมายหลายคน เดินทางไปเยี่ยมเธอที่บ้านพักในพม่า รวมถึงนางฮิลลารี่ คลินตัน ซึ่งพบกับเธอในเดือนธันวาคม 2011 นายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ที่มาพบกับเธอในเดือนเมษายนที่ผ่านมา  นายกสวยใสของไทยก็ไม่พลาด ไปพบกับเธอมาแล้วค่ะ
ล่าสุด  การปรากฏตัวของ อองซาน ซูจี ในประเทศไทย ซึ่งเป็นการเดินทางออกมานอกประเทศพม่าเป็นครั้งแรกในรอบ 24 ปี เธอก็ได้เคลื่อนไหวโดดเด่นในเวที World Economic Forum จนนายเต็ง ส่วย นายกรัฐมนตรีของพม่า ต้องประกาศยกเลิกการมาร่วมการประชุมในเวทีเดียวกัน เพราะไม่มีบทบาทที่สำคัญให้เล่นและดึงความสนใจของชาวโลกไปจากอองซาน ซูจี (แม้จะอ้างว่า เป็นเพราะประเทศไทยยอมให้อองซาน ซูจี ใช้ไทยเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อต้านรัฐบาล)
หลังจากการเยือนเมืองไทย อองซานซุจีจะกลับไปพม่า แล้วเดินทางไปยุโรป โดยจะแวะที่กรุงเจนีวา และออสโล เพื่อรับรางวัลโนเบล ที่เธอควรจะไปรับเมื่อ 21 ปีที่แล้วที่เมืองดับลิน ก่อนที่จะเดินทางไปลอนดอนเพื่อพบกับลูก ที่จะจัดงานฉลองวันเกิดครบรอบ 67ปีให้กับเธอ
---------------------------------------
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  อาจจะมีบางคนคิดว่า เธอช่างโหดร้ายที่ทิ้งครอบครัว โดยเฉพาะลูกที่ยังเล็ก เพียงเพื่อต้องการทำในสิ่งที่เธอสนใจ  หรือแม้กระทั่งยามที่สามีล้มป่วยด้วยโรคมะเร็ง และกำลังจะตาย และไม่สามารถมาพบกับเธอในพม่าได้เพราะรัฐบาลพม่าไม่ยอมออกวีซ่าให้ (ทั้งคู่พบกันครั้งสุดท้ายในปี 1995 และสามีของเธอเสียชีวิตในปี 1999)
เธอตอบคำถามในเวที World Economic Forum ถึงเรื่องความเข้มแข็ง และแรงบันดาลใจที่ทำให้เธอเป็นเธอดังเช่นทุกวันนี้ว่า 
ดิฉันเชื่อว่าสายเลือด (DNA) มีส่วนอย่างมากในเรื่องนี้ แต่ดิฉันคิดว่าควรจะพูดถึงบางสิ่งที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน คุณแม่ของดิฉันสอนให้ดิฉันเป็นคนที่มีระเบียบวินัย รวมถึงให้สำนึกใน หน้าที่ที่ต้องทำ เหนือสิ่งอื่นใด
คุณแม่สอนดิฉันไม่ใช่เพียงแค่ว่า หน้าที่นั้นมีความสำคัญมากแค่ไหนในชีวิตของคน แต่ยังรวมถึงการแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างด้วย เธอสอนดิฉันว่า หน้าที่ นั้นมีความสำคัญที่สุดในชีวิตของคนเรา ซึ่งดิฉันไม่รู้ว่าท่านที่อยู่ ณ ที่นี้จะเห็นด้วยหรือไม่นะคะ  และแน่นอนค่ะ เราสามารถจะถกเถียงกันได้ไม่จบในความหมายของคำว่า หน้าที่
ดังนั้น มันจึงเป็นธรรมชาติของดิฉันเอง ที่จะต้องทำหน้าที่ให้เสร็จสมบูรณ์ด้วยความสามารถสูงสุดที่ดิฉันมีอยู่ในตัว ... ดิฉันไม่สามารถที่จะบอกว่า การทำเยี่ยงนี้มันดีเสมอไป รวมถึงไม่สามารถที่จะพูดได้ว่า ดิฉันเลือกที่จะทำหน้าที่ก่อนสิ่งอื่นๆเสมอ  แต่ดิฉันพูดได้เต็มปากว่า ดิฉันพยายามที่สุดเสมอ
-----------------
นี่คือเรื่องราวเส้นทางชีวิตของผู้หญิงตัวเล็กๆที่มีสถานะเป็นแม่บ้าน มาจนถึงผู้ปฏิวัติทางการเมือง และนักโทษการเมืองที่มีผู้กล่าวขวัญถึงมากที่สุดในโลก ท่ามกลางการเรียกร้องจากนานาชาติให้ปล่อยเธอ
.:.:.: หากจะมีใครสักคนที่ทำลายทำนบของเผด็จการท๊อปบู๊ทด้วยความอดทน อหิงสา และเยือกเย็น เต็มเปี่ยมความมุ่งมั่น นับจากคานธี ก็คงจะเป็น อองซาน ซูจี คนนี้ คนเดียวนี่เองที่โดดเด่น เจ๋งสุดค่ะ :.:.:.
ขอบคุณ : เนื้อความบางส่วนจาก ประชาชาติธุรกิจ และภาพประกอบจาก msn.in และจากคุณปุ๋ย ... เพื่อนที่เปี่ยมมิตรภาพยาวนาน
lสุริยา มาดีกุล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น