วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (และใครฆ่าพระเจ้าตาก)

ประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (และใครฆ่าพระเจ้าตาก)

สำหรับคนที่ต้องการอ่านเรื่องราวของใครฆ่าพระเจ้าตาก รบกวนกดไปยัง
เป็นการถกเถียงของคนในเวปเกี่ยวกับเรื่องว่าพระเจ้าตากไม่ได้สิ้นพระชนม์ด้วยท่อนจันทร์
และมีผู้ที่อ้างด้วยว่าเป็นลูกหลานของพระเจ้าตากตัวจริงมาพูดด้วยค่ะ ลองกดไปอ่านกันดูนะคะ
เนื่องจากยาวมากไว้ว่างๆจะมาเล่าย่อๆให้ฟังค่ะ ยกตัวอย่างมานิดนึง

ความ จริงจะฆ่ากันได้อย่างไร ด้วยเหตุด้วยผล เพียงพระเจ้าตากสินฯ ทำบทบาท
แกล้งทำเหมือนว่าเป็นบ้า ประกาศตนว่า เวลานี้ฉันเป็นพระโสดาบันแล้ว
บังคับให้พระที่มีความผิดในทางวินัยมาไหว้ แต่ความจริงพระที่มีความผิดนี่
นำเข้าในวังจริง แต่ไม่ใช่พระ เอาไอ้พวกนักโทษมาห่มผ้ าเหลืองเข้า
ทำไปให้ไหว้ ในเมื่อไม่ไหว้มีความผิด ก็เฆี่ยน เฆี่ยนนักโทษ ไม่ใช่เฆี่ยนพระ
เอาพระจริง ๆ แอบเสีย ก็ทำเป็นเหมือนว่า ตนเองเป็นคนบ้า เขาจะ
ได้ไม่ให้เป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อไป ทั้งนี้ เพราะอะไร เพราะว่าหนีหนี้อีก
ไม่ช้าไม่นานนัก เจ้าสัว เขาจะมาเก็บเงิน ทั้งต้นและทั้งดอก
 (เมื่อกี้หมามันเห่าเข้าไมโครโฟนบ้างหรือเปล่าก็ไม่ทราบ
มันเห่าดังด้วย มาพูดตอนนี้หมามันได้ยินเสียงเข้า มันก็นึกว่าเสียงคนภายนอก
มันก็เลยเห่า ก็ช่างมันเสียงคนกับเสียงหมาผสมกัน เพราะดี)

ก็เป็นอันว่า หลังจากที่ ร.๑ กับ กรมพระราชวังบวรฯ ยกทัพไปที่เขมร
 และไม่ช้าไม่นานนักปรากฏว่า เขาบอกว่า พระยาสวรรค์ กบฎ พระยาอภัย
หลายชาย ร. ๑ ยกทัพมาจากนครราชสีมามาจับพระยาสวรรค์ได้ฆ่า
เขาก็แจ้งไปบอกว่า ในเมืองกรุงธนบุรีปั่นป่วนมาก ขอให้ยกทัพกลับ
ร.๑ กับกรมพระราชวังบวรฯ ก็ยกทัพกลับมาถึงวัดสระเกศ เขาก็เชิญ
ให้เป็นกษัตริย์ แต่ก็ต้องเป็นการล้างกษัตริย์กัน (เป็นการล้างหนี้นี่)
ถ้าเปลี่ยนมือจากความเป็นกษัตริย์ เจ้าสัวก็ไม่รู้จะทวงใคร
ไม่ใช่สืบสันติวงศ์ เป็นการ ปราบดาภิเษก แบบหลอกหลอน
ความจริงเป็น ราชาภิเษก ไม่ใช่ปราบดาภิเษก

แต่ว่าประวัติศาสตร์เขาบอก ปราบดาภิเษก คำว่า ปราบดาภิเษก ก็หมายความว่า
 ฆ่าองค์เก่าแล้วก็ขึ้นครองราชย์ ถ้าราชาภิเษกก็หมายความว่า องค์เก่าตาย
หรือสละราชสมบัติ องค์ใหม่ขึ้นมาเป็นราชาภิเษก ศัพท์นี้มันถูกหรือมันผิดก็ไม่รู้
ก็ช่างมันเถอะ ก็พูดมันส่งเดชไปก็แล้วกัน ห้ามวินิจฉัย ฟังไป

หลังจากนั้น เมื่อข่าวว่า พระเจ้าตากสินฯ ถูกฆ่าตาย รัชกาลที่ ๑ ขึ้นเถลิงราชสมบัติ
ต่อมา พระยาพิชัยฯ ก็ยกทัพมาจากเมืองพิชัย มายับยั้งทัพที่บางกะปิ รัชกาลที่ ๑
กับกรมพระยาราชวังบวรฯ กับพระยาอะไรอีกคน จำไม่ได้ ก็ไปด้วยกัน ๓ คน
ไปถามพระยาพิชัยฯว่า มึงยกทัพมาทำไมวะ พระยาพิชัยฯ ก็ลงมาจากคอช้าง
พระยาพิชัยฯ ก็บอกว่า ก็มึงฆ่าท่านใหญ่ มึงครองสมบัติ กูก็อยากได้สมบัติบ้าง
กูก็จะรบแย่งสมบัติ ร.๑ ก็บอกว่า ใครบอกมึงวะว่า ท่านใหญ่ตาย ถูกกูฆ่า
ท่านใหญ่ยังมีชีวิตอยู่ มึงไม่เชื่อ มึงเข้าไปดูกับกู

พระยาพิชัยฯ ก็เข้าไปพบพระเจ้าตากสินฯ พระเจ้าตากสินฯ ท่านก็เลิกบ้า
ในเมื่ออยู่ตามลำพังเพื่อน ๆ เก่า ท่านก็คุยความจริงให้ฟัง เมื่อคุยความจริงให้ฟัง
 พระยาพิชัยฯ ก็ยกทัพกลับ ต่อมา ร.๑ ก็เรียกพระยาพิชัยมา ให้รับราชการร่วมกัน
ละครบทนี้มันแสดงไม่ยาก พระยาพิชัยฯ ก็ประกาศว่า ไม่ยอมเป็น ข้าสองเจ้า
 บ่าวสองนาย ความจริงก็เพื่อนกัน เขาก็สั่งฆ่าพระยาพิชัยฯ แต่พระยาพิชัยฯ
 ไม่ตายหรอก นักโทษประหารชีวิตตายแทน พระยาพิชัยฯ ก็เปลี่ยนเป็นชื่ออื่น


และนี่เป็นประวัติของพระเจ้าตาก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
พระบรมนามาภิไธยเจียว แซ่แต้
สิน
พระปรมาภิไธยพระ ศรีสรรเพชร สมเด็จบรมธรรมิกราชาธิราช รามาธิบดี บรมจักรพรรดิศร บวรราชาบดินทร์ หริหรินทร์ธาดาธิบดี ศรีสุวิบูลย์ คุณรุจิตร ฤทธิราเมศวร บรมธรรมิกราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพ ตรีภูวนาธิเบศร์ โลกเชษฏวิสุทธิ์ มกุฏประเทศคตา มหาพุทธังกูร บรมนาถบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพมหานคร บวรทวาราวดีศรีอยุธยา มหาดิลกนพรัฐ ราชธานีบุรีรมย์อุดมพระราชนิเวศมหาสถาน
พระอิสริยยศพระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี
ราชวงศ์ธนบุรี
ครองราชย์พ.ศ. ๒๓๑๐ - พ.ศ. ๒๓๒๕
ระยะครองราชย์๑๕ ปี
รัชกาลก่อนหน้าสมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์
(ราชวงศ์บ้านพลูหลวง กรุงศรีอยุธยา)
รัชกาลถัดไปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
(ราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์)
วัดประจำรัชกาลวัดอินทารามวรวิหาร[1]
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ (พ.ศ. ๒๒๗๗ - พ.ศ. ๒๓๒๕, ครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๑๑ - พ.ศ. ๒๓๒๕) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวแห่งกรุงธนบุรี และทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวแห่งสยามประเทศที่ มาจากเชื้อสายจีน มีพระนามเดิมว่า "สิน" พระองค์เป็นโอรสของพระบรมราชชนก "ไหฮอง" และพระบรมราชชนนี "นกเอี้ยง" (ภายหลังเฉลิมพระนามเป็นกรมสมเด็จพระเทพามาตย์) เสด็จพระราชสมภพในวันอาทิตย์ เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีขาล จุลศักราช ๑๐๙๖ เวลาประมาณ ๕ โมงเช้า ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๒๗๗ ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ ณ วันพุธ เดือนอ้าย แรม ๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๐ ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๑ รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๑๕ ปี เสด็จสวรรคตในวันพุธ แรม ๑๓ ค่ำเดือน ๕ จ.ศ.๑๑๔๔ ปีขาล ตรงกับวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ รวมพระชนมพรรษา ๔๘ พรรษา
พระองค์ เป็นหนึ่งในพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งสยามประเทศ ผู้ทรงกอบกู้อิสรภาพให้ชาวสยาม พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถในด้านการสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง การฟื้นฟูบ้านเมืองและศิลปวัฒนธรรมชองชาติ พระองค์จึงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญาว่า "มหาราช" ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี อนึ่ง ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกพระองค์ว่า "พระเจ้าตาก"

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] พระนามเต็ม

"พระ ศรีสรรเพชร สมเด็จบรมธรรมิกราชาธิราช รามาธิบดี บรมจักรพรรดิศร บวรราชาบดินทร์ หริหรินทร์ธาดาธิบดี ศรีสุวิบูลย์ คุณรุจิตร ฤทธิราเมศวร บรมธรรมิกราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพ ตรีภูวนาธิเบศร์ โลกเชษฏวิสุทธิ์ มกุฏประเทศคตา มหาพุทธังกูร บรมนาถบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพมหานคร บวรทวาราวดีศรีอยุธยา มหาดิลกนพรัฐ ราชธานีบุรีรมย์อุดมพระราชนิเวศมหาสถาน "

[แก้] พระราชประวัติ


[แก้] พระราชสมภพ

พระบรมสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจากจินตนาการของศิลปิน
จดหมาย เหตุโหรได้บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีขาล จุลศักราช ๑๐๙๖ เวลาประมาณ ๕ โมงเช้า ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๒๗๗ เวลาประมาณ ๑๑.๐๐ น.
พระบรมสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีขณะทรงผนวช
มีหนังสือพงศาวดารได้กล่าวไว้ว่า ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีชาวจีนแต้จิ๋วคนหนึ่งนามว่า ไหฮอง[3] (ในหนังสือการเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ของ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ระบุว่า ไหฮอง ไม่ใช่ชื่อบุคคล แต่เป็นชื่อตำบลในมณฑลกวางตุ้ง) ได้เป็นนายอากรบ่อนเบี้ย[4] มีบรรดาศักดิ์เป็น ขุนพัฒ ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้บ้านของเจ้าพระยาจักรี สมุหนายก ครั้นเวลาล่วงมาถึง ๕ ปีขาล พ.ศ. ๒๒๗๗ ขุนพัฒมีบุตรชายคนหนึ่งชื่อ หยง[5] เกิดแต่ นางนกเอี้ยง ซึ่งเป็นชาวไทย[6] ทารกคนนี้คลอดได้ ๓ วัน มีงูเหลือมใหญ่เลื้อยเข้าไปขดรอบตัวทารก เป็นทักขิณาวัฏ ขุนพัฒผู้เป็นบิดาเกรงว่าเรื่องนี้อาจลางร้ายแก่สกุล จึงยกบุตรคนนี้ให้แก่เจ้าพระยาจักรี[7] แล้วเจ้าพระยาจักรีได้เลี้ยงไว้เป็นบุตรบุญธรรม และตั้งแต่เจ้าพระยาจักรีได้เด็กน้อยคนนี้มา ลาภผลก็เกิดมากมูลพูนเพิ่มมั่งคั่งขึ้นแต่ก่อน เจ้าพระยาจักรีจึงกำหนดเอาเหตุนี้ขนานนามให้ว่า สิน
จากหลักฐานที่อาลักษณ์ของจีนจดบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารวงเช็ง แผ่นดินพระเจ้าเฉียนหลง กล่าวถึงพระราชประวัติของพระองค์ไว้ว่า "บิ ดาเจิ้งเป็นชาวมณฑลกวางตุ้ง ไปทำมาค้าขายอยู่ที่เสียมล่อก๊ก และเกิดเจิ้งเจาที่นั่น เมื่อเจิ้งเจาเติบใหญ่ เป็นผู้มีความสามารถ ได้เข้ารับราชการอยู่ในเสียมล่อก๊ก เมื่อเจิ้งเจารบชนะพม่า ฯ แล้ว ราษฎรทั่วประเทศยกขึ้นเป็นเจ้าครองประเทศ..." [8] ("เจิ้งเจา"คือสมเด็จพระเจ้าตากสิน ออกเสียงตามสำเนียงปักกิ่ง ถ้าเป็นแต้จิ๋วออกเสียงว่า"แต้เจียว" ส่วน"เสียมล่อก๊ก"นั้น หมายถึงประเทศไทย)

[แก้] การศึกษา และการเข้ารับราชการ

ครั้นเมื่อเด็กชายสิน อายุได้ ๙ ขวบ เจ้าพระยาจักรีนำเข้าฝากให้เล่าเรียนหนังสืออยู่ในสำนักของพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส[9] ต่อมาได้เข้าถวายตัวรับราชการเป็นมหาดเล็กอยูในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี เจ้าพระยาจักรีได้จัดงานมงคลตัดจุกนายสิน เป็นการเอิกเกริกและในระหว่างนั้น มีผึ้งหลวงมาจับที่เพดานเบญจารดน้ำปรากฏอยู่ถึง ๗ วันจึงหนีไป และในระหว่างนี้ นายสินได้พยายามศึกษาหาความรู้ในภาษาต่างประเทศ มี ภาษาจีน ภาษาญวน และ ภาษาแขก จนสามารถพูดคล่องได้ทั้ง ๓ ภาษา และยังได้ศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทย ขอม และคัมภีร์พระไตรปิฎก
ใน วันหนึ่ง นายสินคิดตั้งตนเป็นเจ้ามือบ่อนถั่ว ชักชวนบรรดาศิษย์วัดเล่นการพนัน พระอาจารย์ทองดีทราบเรื่องจึงลงโทษทุกคน เฉพาะนายสินเป็นเจ้ามือถูกลงโทษหนักมากกว่าคนอื่น ให้มัดมือคร่อมกับบันไดท่าน้ำประจานให้เข็ดหลาบ นายสินถูกมัดแช่น้ำตั้งแต่เวลาพลบค่ำ พอดีเป็นช่วงเวลาน้ำขึ้น พระอาจารย์ทองดีไปสวดพระพุทธมนต์ลืมนายสิน จนประมาณยามเศษ พระอาจารย์นึกขึ้นได้จึงให้พระภิกษุสงฆ์ซึ่งเป็นอันเตวาสิก ช่วยกันจุดไต้ค้นหาก็พบนายสินอยู่ริมตลิ่ง มือยังผูกมัดติดอยู่กับบันได แต่ตัวบันไดกลับหลุดถอนขึ้นมาได้อย่างอัศจรรย์ เมื่อพระภิกษุสงฆ์ช่วยกันแก้มัดนายสินแล้ว พระอาจารย์ทองดีจึงพาตัวนายสินไปยังอุโบสถให้นั่งลงท่ามกลางพระภิกษุสงฆ์ แล้วพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายสวดพระพุทธมนต์ด้วยชัยมงคลคาถาเป็นการรับขวัญ[10]

[แก้] ทรงผนวช

ต่อมาเมื่อนายสินเรียนจบการศึกษา เจ้าพระยาจักรีก็ได้นำไปถวายตัวรับราชการภายใต้หลวงนายศักดิ์นายเวร ภายหลังเป็นเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์จน มีอายุได้ ๒๐ ปี บริบูรณ์ เจ้าพระยาจักรีได้จัดการอุปสมบทเป็นพระภิกษุให้ โดยได้อุปสมบทอยู่กับอาจารย์ทองดี ณ วัดโกษาวาส และบวชอยู่นานถึง ๓ พรรษา ในระหว่างอุปสมบทพระภิกษุสินได้ออกบิณฑบาตพร้อมกับพระภิกษุ ทองด้วง เป็นประจำเพราะรับราชการเป็นมหาดเล็กทำงานด้วยกันมาหลายปี ทั้งสองมีความรักใคร่กลมเกลียวกันมาก ได้อุปสมบทพร้อมกัน เช้าวันหนึ่งพระภิกษุทั้งสองเดินไปตามถนน เพื่อรับบิณฑบาตจากพระราชวังหลวง มีชายจีนผู้หนึ่งเดินผ่านพระภิกษุทั้งสองไปได้ ๓-๔ ก้าว ก็หยุดชะงักหันกลับมาดูแล้วก็หัวเราะ ทำเช่นนี้ถึง ๕-๖ ครั้ง สองภิกษุมองหน้าแล้วถามว่าหัวเราะเรื่องอะไร ชายจีนผู้นั้นบอกว่าตนเป็นซินแสหมอดู สามารถทายลักษณะของบุรุษหรือสตรีได้ แล้วทำนายให้พระภิกษุทั้ง ๒ องค์ว่า[11]
ซินแสทายพระภิกษุองค์ที่ ๑
     ชายใดไกรลักษณ์พร้อม     เพราองค์
ศักดิ์กษัตร์ถนัดทรง     ส่อชี้
สมบัติขัติยมง     คลครอบ ครองแฮ
ชายนั้นคือท่านนี้     แน่ข้าพยากรณ์ฯ
ซินแสทายพระภิกษุองค์ที่ ๒
     ท่านเป็นบุรุษต้อง     ตามลักษณ์ ล้วนแล
บุญเด่นเห็นประจักษ์     เจิดกล้า
จักสู่ประภูศักดิ์     สุรกษัตร์
สืบศุภวงษ์ทรงหล้า     สฤษฎ์เลี้ยง เวียงสยาม
     เกิดมาข้าพเจ้าไม่     เคยเห็น
สองสหายหลายประเด็น     เด่นชี้
ภายหน้าว่าจักเป็น     ปิ่นกษัตร์
นั่งอยู่ คู่กันฉนี้     แน่ล้วน ชวนหัว
สองภิกษุว่า
     สองข้าอายุใกล้     เคียงกัน
ทั้งคู่จะทรงขัณฑ์     ผิดเค้า
เป็นกษัตร์ร่วมรัฐบัล     ลังก์ร่วม ไฉนนอ
เห็นจะสัดตวงข้าว     แน่แท้คำทายฯ

[แก้] การกลับเข้ารับราชการหลังจากทรงลาสิกขาบท

พระภิกษุสินได้ดำรงอยู่ในสมณเพศถึง ๓ พรรษา ที่วัดโกษาวาส แล้วจึงลาสิกขาบทออกมารับราชการใหม่ ในตำแหน่งมหาดเล็กรายงาน ครั้นถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งเป็น หลวงยกกระบัตร ไปรับราชการอยู่ที่เมืองตาก [12]เมื่อเจ้าเมืองตากถึงแก่อนิจกรรม ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้หลวงยกกระบัตรเป็น พระยาตาก
ต่อมาเมื่อมีข้าศึกพม่ามาล้อมกรุงศรีอยุธยา พระยาตากก็ได้ถูกเรียกตัวให้ลงมาช่วยงานราชการในกรุงศรีอยุธยา พระยาตากทำการสู้รบกับข้าศึกด้วยความเข้มแข็งสามารถยิ่ง มีบำเหน็จความชอบในสงคราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระยาวชิรปราการ ผู้สำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชร แต่ยังมิได้ขึ้นไปปกครองเมืองกำแพงเพชร เพราะติดราชการสงครามกับพม่าอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๐๙ เสียก่อน [13]
พ.ศ. ๒๓๑๐ หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พระยาวชิรปราการก็รวบรวมคนไปตั้งเป็นชุมนุมพระเจ้าตากที่เมืองจันทบูร [14] และมากอบกู้เอกราช และสร้างเมืองหลวงใหม่ที่ กรุงธนบุรี [15]

[แก้] การกอบกู้เอกราช


[แก้] ปลายรัชสมัย

ใน ตอนปลายรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เกิดกบฎขึ้นที่กรุงศรีอยุธยา พวกกบฎได้ปล้นจนพระยาอินทรอภัย ผู้รักษากรุงเก่าจนต้องหลบหนีมายังกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีรับสั่งให้พระยาสรรค์ขึ้นไปสืบสวนเอาตัวคนผิดมาลงโทษ แต่พระยาสรรค์กลับไปเข้ากับพวกกบฎ และยกพวกมาปล้นพระราชวังที่ กรุงธนบุรีในวันแรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๔ ตรงกับวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๒๔ บังคับให้สมเด็จพระเจ้าตากสินออกผนวช และคุมพระองค์ไว้ที่พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม แล้วพระยาสรรค์ได้ตั้งตนเป็นพระเจ้าแผ่นดิน[16]
เหตุการณ์ภายหลังจากนั้นไม่แน่ชัดโดยมีความเชื่อหลายกระแส อาทิ
สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง)และเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) ซึ่งไปราชการทัพเมืองกัมพูชา และยกกำลังเข้าตีเมืองเสียมราฐ เมื่อทราบข่าวการจลาจลในกรุงธนบุรี จึงรีบยกทัพกลับ ขณะนั้นเป็นเดือน เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกมาถึงในวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ ก็ได้สืบสวนเรื่องราวความวุ่นวายที่เกิดขึ้น และจับกุมผู้ก่อการกบฎมาลงโทษ รวมทั้งให้ข้าราชการปรึกษาพิจารณาความที่มีผู้ฟ้องร้อง กล่าวโทษว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเป็นต้นเหตุ เนื่องจากพระองค์ทรงเสียพระสติ [17] เพื่อมิให้เกิดปัญหายุ่งยากอีก สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงถูกสำเร็จโทษและเสด็จสวรรคต ในวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ เมื่อพระชนมพรรษาได้ ๔๘ พรรษา พระองค์พระราชสมภพและสวรรคตในเดือนเดียวกัน แต่บางฉบับก็บอกว่าเป็นวันเดียวกัน ซึ่งยังไม่มีใครทราบเป็นที่แน่ชัด
นัก ประวัติศาสตร์บางส่วนเชื่อว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไม่ได้ถูกสำเร็จโทษ แต่ทรงจงใจสละราชบัลลังก์เพื่อจะได้มิต้องชำระเงินกู้จากประเทศจีน เมื่อทรงได้รับการปล่อยตัวอย่างลับ ๆ แล้วจึงเสด็จลงเรือสำเภาไปประทับที่เขาขุนพนม จังหวัดนครศรีธรรมราช[18] เสด็จสวรรคตที่นั่นในปี พ.ศ. ๒๓๖๘[19][20]
งานเขียนสำคัญที่กล่าวถึงเหตุการณ์ช่วงปลายรัชสมัย แตกต่างจากในพระราชพงศาวดาร ที่มีชื่อเสียงเช่น เรื่องสั้นชุด ใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน โดย หลวงวิจิตรวาทการ และ นวนิยาย ผู้อยู่เหนือเงื่อนไข? โดย สุภา ศิริมานนท์

[แก้] พระปรมาภิไธย

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีพระนามเรียกที่แตกต่างกัน ดังนี้
  • เมื่อพระองค์ทรงขึ้นครองราช ทรงใช้พระนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์
  • พระราชพงศาวดาร กรุงศรีสัตนาคนหุต เรียกว่า สมเด็จพระเอกาทศรถ
  • พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) เรียกว่า พระบรมหน่อพุทธางกูรเจ้า
  • จดหมายเหตุกรุงธนบุรีในสมุดไทยดำ ชื่อพระราชสาสน์และศุภักษรโต้ตอบกรุงธนบุรีและกรุงศรีสัตนาคนหุตจุลศักราช ๑๑๔๐ ใช้ พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรถอิศวรบรมนาถบรมบพิตร และ พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรุทอิศวรบรมนาถบรมบพิตร
  • ตอนปลายรัชกาล พระรัตนมุนี ได้ถวายพระนามใหม่ว่า สมเด็จพระสยามยอดโยคาวจร
  • พระราชพงศาวดาร ฉบับราชหัตถเลขา เรียกว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔
  • พระนามที่เรียกกันตามหนังสือประวัติศาสตร์ทั่วไป เรียกว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
  • ประชาชนทั่วไปขนานนาม สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

[แก้] พระมเหสี พระราชโอรส พระราชธิดา


[แก้] พระอัครมเหสีและเจ้าจอมมารดา

ทรงมีพระมเหสีและพระภรรยาเจ้า ดังนี้ [21]
  • พระอัครมเหสี
  • พระมเหสี
  • เจ้าจอมมารดา
    • เจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฉิมใหญ่ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)
    • เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปราง (พระธิดาในพระเจ้านครศรีธรรมราช)
    • เจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงจวน (พระธิดาในพระเจ้านครศรีธรรมราช)
    • เจ้าจอมมารดาอัมพวัน (ธิดาของอุปราชจันทร์แห่งเมืองนครศรีธรรมราช)
    • เจ้าจอมมารดาทิม (ธิดาของท้าวทรงกันดารมอญ)
    • เจ้าจอมมารดาเงิน

[แก้] พระราชโอรส พระราชธิดา

ทรงมีพระราชโอรส ๒๑ พระองค์ พระราชธิดา ๙ พระองค์ รวมทั้งสิ้น ๓๐ พระองค์ มีรายพระนาม ดังนี้ [22]

[แก้] ที่ประทับ


[แก้] พระราชวังกรุงธนบุรี


พระราชวังกรุงธนบุรี (วังเดิม) เป็นพระราชวังหลวงของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ ในพื้นที่ที่เคยเป็นที่ตั้งของป้อมวิไชยเยนทร์ ที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่ทำการของ กองบัญชาการกองทัพเรือ
ภาย หลังจากที่ทรงกอบกู้เอกราชให้ชาติไทย พระราชวังกรุงธนบุรี หรือ พระราชวังเดิม เป็นพระราชวังหลวงที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังนี้ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๐ เพื่อใช้เป็นที่ประทับและว่าราชการ เมื่อทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็น ราชธานี พร้อมกับปรับปรุง "ป้อมวิไชยเยนทร์" และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ป้อมวิไชยประสิทธิ์" ตำแหน่งของพระราชวังนี้ เป็นจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์ สามารถสังเกตการณ์ได้ในระยะไกล อีกทั้งยังใกล้กับเส้นทางคมนาคมและเส้นทางการเดินทัพที่สำคัญอีกด้วย ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกองทัพเรือ [23]

[แก้] พระราชกรณียกิจ

สามารถจำแนกออกไปสองด้านคือ ๑.การสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง ๒.การฟื้นฟูบ้านเมืองทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ

[แก้] การสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่น


[แก้] การปกป้องแผ่นดิน

การ ปกป้องแผ่นดินเป็นพระราชกรณียกิจที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้กระทำตลอดพระชนม์ชีพ ซึ่งนอกจากการต่อสู้เพื่อรวมแผ่นดินแล้ว ยังต้องป้องกันหัวเมืองชายแดนอีกด้วย ตลอดรัชสมัย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทำสงครามกับพม่าถึง ๙ ครั้ง แต่ด้วยพระอัจฉริยะภาพ ทางยุทธวิธีและความเชี่ยวชาญในการรบของทหาร จึงทำให้ทัพไทยรบชนะพม่าทุกครั้ง
  • สงครามครั้งที่ ๑ รบพม่าที่บางกุ้ง พ.ศ. ๒๓๑๐ [24] นับเป็นการศึกครั้งแรกในสมัยกรุงธนบุรี เนื่องมาจากทางพม่าทราบข่าวว่ามีคนไทยตั้งตัวเป็นใหญ่ จึงสั่งให้เจ้าเมืองทวายเข้าสืบข่าวเพื่อที่จะกำจัดเสีย สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงรู้ข่าวจึงโปรดให้จัดกองทัพไปขับไล่กองทัพพม่า - มอญ ทหารพม่าเป็นฝ่ายแพ้ต้องถอยทัพกลับทางเมืองทวาย โดยทหารไทยสามารถยึดเรือรบอาวุธและเสบียงอาหารของพม่าไว้ได้
  • สงครามครั้งที่ ๒ พม่าตีเมืองสวรรคโลก พ.ศ. ๒๓๑๓ [25][26]
  • สงครามครั้งที่ ๓ ไทยตีเมืองเชียงใหม่ครั้งแรก พ.ศ. ๒๓๑๓ - พ.ศ. ๒๓๑๔ [27]
  • สงครามครั้งที่ ๔ พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๑๕
  • สงครามครั้งที่ ๕ พม่าตีเมืองพิชัยครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๖[28]
  • สงครามครั้งที่ ๖ ไทยตีเมืองเชียงใหม่ ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๗
  • สงครามครั้งที่ ๗ รบพม่าที่บางแก้วเมืองราชบุรี พ.ศ. ๒๓๑๗ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงรู้ข่าวว่าพม่ายกพลตามพวกมอญที่หนีเข้ามาในเขต ไทย จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกทัพมุ่งตรงไปยังราชบุรี โดยทรงบัญชาการทัพด้วยพระองค์เอง ทรงตั้งค่ายล้อมค่ายพม่าและลอบตีตัดทางลำเลียงเสบียงอาหาร โดยได้กำลังสนับสนุนจากพระยายมราช ในที่สุดพม่าจึงต้องยอมแพ้ ชัยชนะในครั้งนี้ส่งผลให้ผู้คนที่หลบซ่อนตามที่ต่าง ๆ เข้ามาสวามิภักดิ์เป็นจำนวนมาก เนื่องจากหมดความกลัวเกรงพม่า นับเป็นสงครามแบบจิตวิทยาโดยแท้
  • สงครามครั้งที่ ๘ อะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ พ.ศ. ๒๓๑๘[29]
  • สงครามครั้งที่ ๙ พม่าตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๓๑๙ สงครามครั้งนี้ถือว่าเป็นการรบครั้งสุดท้ายที่ไทยรบกับพม่าในสมัยกรุงธนบุรี เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้รับการสถาปนาให้เป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ ศึก มียศอย่างเจ้าต่างกรม คงดำรงตำแหน่งสมุหนายก [30]
การศึกสงครามดังกล่าวนี้ ส่งผลให้พระราชอาณาจักรไทยเป็นเอกราชและมีความมั่นคงสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

[แก้] อาณาเขตประเทศไทยในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี


แผนที่แสดงอาณาเขตประเทศไทย ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ในสมัยกรุงธนบุรีได้มีการรวบรวมหัวเมืองต่างๆ เข้ามาในพระราชอาณาจักร ได้แก่ ธนบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ ฉะเชิงเทรา นครนายก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด นครชัยศรี นครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์
สมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้ทรงต่อสู้เพื่อขยายพระราชอาณาจักรเกือบตลอดรัชกาล อาณาเขตของประเทศไทยในสมัยนั้น มีดังนี้

[แก้] การรวบรวมชุมนุมต่าง ๆ

ดูบทความหลักที่ ชุมนุมสมัยกรุงธนบุรี
ดูเพิ่มที่ กรุงธนบุรี

[แก้] การฟื้นฟูบ้านเมือง

มัสยิดต้นสน เป็นศาสนสถานที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีศาสนกิจฝังศพ เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์(หมุด) นายทหารคู่พระทัยและโปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรณ์และพระราชทานที่ดินขยายพื้นที่จากเดิมที่เจ้าพระยาราชวังสันเสนีย์ (ม๊ะหูด) บุตรเจ้าพระยารามเดโชชัยสร้างไว้ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
การ ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงกู้เอกราชกรุงศรีอยุธยากลับคืนจากพม่าได้นั้นทำ ให้กิตติศัพท์เลื่องลือไปทั่ว พระเกียรติยศของพระองค์จึงแพร่ไปว่าเป็นผู้สามารถกู้แผ่นดินไทยให้พ้นจาก อำนาจพม่าข้าศึกได้ ทำให้ไพร่บ้านพลเมืองที่ยังหลบลี้อยู่ตามที่ต่างๆ พากันมาอ่อนน้อมเข้าร่วมกับสมเด็จพระเจ้าตากสินเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะเป็นกำลังในการบูรณะบ้านเมืองต่อไป ซึ่งพระราชกรณียกิจมีทั้งหมด ๗ ด้าน ดังนี้

[แก้] ด้านการปกครอง

หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาแตก กฎหมายบ้าน เมืองกระจัดกระจายสูญหายไปมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการสืบเสาะ ค้นหามารวบรวมไว้ได้ประมาณ ๑ ใน ๑๐ และโปรดฯ ให้ชำระกฎหมายเหล่านั้น ฉบับใดยังเหมาะแก่กาลสมัยก็โปรดฯ ให้คงไว้ ฉบับใดไม่เหมาะก็โปรดให้แก้ไขเพิ่มเติมก็มี ยกเลิกไปก็มี ตราขึ้นใหม่ก็มี และเป็นการแก้ไขเพื่อราษฎรได้รับผลประโยชน์มากขึ้น เช่น โปรดฯ ให้แก้ไขกฎหมายว่าด้วยการพนันให้อำนาจการตัดสินลงโทษขึ้นแก่ศาลแทนนายตรา สิทธิ์ขาด และยังห้ามนายตรานายบ่อนออกเงินทดลองให้ผู้เล่น เกาะกุมผูกมัดจำจองเร่งรัดผู้เล่น กฎหมายพิกัดภาษีอากรก็เกือบไม่มี เพราะผลประโยชน์แผ่นดินได้จากการค้าสำเภามากพอแล้ว กฎหมายว่าด้วยการจุกช่องล้อมวงก็ยังไม่ตราขึ้น เปิดโอกาสให้ราษฎรได้เฝ้าแหนตามรายทาง โดยไม่มีพนักงานตำรวจแม่นปืนคอยยิงราษฎร ซึ่งแม้แต่ชาวต่างประเทศก็ยังชื่นชมในพระราชอัธยาศัยนี้ เช่น มองเซนเยอร์ เลอบอง ได้บรรยายไว้ในจดหมายถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศว่า[31]
บรรดา คนทั้งหลายเรียกพระเจ้าตากว่าพระเจ้าแผ่นดิน แต่พระเจ้าตากเองว่าเป็นแต่เพียงผู้รักษากรุงเท่านั้น พระเจ้าตากหาได้ทรงประพฤติเหมือนอย่างพระเจ้าแผ่นดินก่อน ๆ ไม่ และในธรรมเนียมของพระเจ้าแผ่นดินฝ่ายทิศตะวันออกที่ไม่เสด็จออกให้ราษฎรเห็น พระองค์ด้วยกลัวจะเสื่อมเสียพระเกียรติยศนั้น พระเจ้าตากไม่ทรงเห็นชอบด้วยเลย พระเจ้าตากทรงพระปรีชาสามารถยิ่งกว่าคนธรรมดา เพราะฉะนั้นจึงไม่ทรงเกรงว่าถ้าเสด็จออกให้ราษฎรพลเมืองเห็นพระองค์ และถ้าจะทรงมีรับสั่งด้วยแล้วจะทำให้เสียพระราชอำนาจลงแต่อย่างใด เพราะพระองค์มีพระราชประสงค์ทอดพระเนตรการทั้งปวงด้วยพระเนตรของพระองค์เอง และจะทรงฟังการทั้งหลายด้วยพระกรรณของพระองค์เองทั้งสิ้น
มองเซนเยอร์ เลอบอง
เนื่อง จากตลอดรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นช่วงเวลาที่มีการทำศึกสงครามเกือบตลอดเวลา จึงทำให้ไม่มีเวลาที่จะชำระพระราชกำหนดกฎหมายต่าง ๆ ทำให้ต้องใช้กฎหมายที่มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยให้กรมวังหรือกระทรวงวังเป็นผู้รับผิดชอบในการพิจารณาว่าคดีใดควรขึ้นศาล ใด แล้วส่งคดีไปยังศาลกรมนั้น ๆ โดยได้แบ่งงานศาลออกเป็น ๒ ส่วนใหญ่ ๆ คือ
  • ฝ่ายรับฟ้อง
มีหน้าที่ในการเขียนคำฟ้องและพิจารณารูปคดีว่าควรจะฟ้องหรือไม่ ก่อนจะส่งขึ้นศาลเพื่อพิจารณา เรื่องปรับไหมและลงโทษผู้กระทำผิด
  • ฝ่ายตรวจสำนวนและพิพากษา
ฝ่าย นี้เดิมเป็นหน้าที่ของพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายแขนงต่าง ๆ จำนวน ๑๒ คน โดยเรียกว่า "ลูกขุน ณ ศาลหลวง" ต่อมาได้มีคนไทยที่เชี่ยวชาญกฎหมายเข้ามาทำหน้าที่นี้ด้วย คณะลูกขุน ณ ศาลหลวงนี้จะไม่มีอำนาจในการปรับหรือลงโทษแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าตากสิน พระองค์จะทรงใช้ ศาลทหาร เป็นส่วนใหญ่ โดยในการตัดสินคดีทุกครั้ง แม้พระองค์จะตัดสินให้ลงโทษสูงสุดแล้ว แต่ก็จะมีรับสั่งให้ทยอยการลงโทษจากขั้นต่ำสุดก่อน ซึ่งหลายครั้งจะปรากฏว่านักโทษที่มีความผิดร้ายแรงก็มักจะได้รับการพระราช ทานอภัยโทษหนัก โดยให้ไปกระทำการอย่างอื่นเป็นการไถ่โทษแทน
  • การออกพระราชกำหนดสักเลก พ.ศ. ๒๓๑๖ เพื่อสะดวกในการควบคุมกำลังคน การขยายอำนาจเข้าไปในดินแดนที่เคยเป็นประเทศราชของไทยในลาวและเขมรเพื่อทำให้ประเทศเข้มแข็งมั่นคง และการเตรียมการให้กรมขุนอินทรพิทักษ์ไปปกครองเขมรในฐานะเมืองประเทศราช [32] แต่ได้เกิดจลาจลในกรุงธนบุรีเสียก่อนจึงไม่สำเร็จ ส่วนหัวเมืองใหญ่ ๆ ที่เป็นทางผ่านของทัพพม่าก็โปรดให้แม่ทัพนายกองที่มีความสามารถไปปกครอง เช่น พระยาสุรสีห์ไปครองเมืองพิษณุโลก เจ้าพระยาพิชัยราชาไปครองเมืองสวรรคโลก
นอก จากขับไล่พม่าออกไปจากอาณาจักรได้แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินยังได้ขยายอำนาจเข้าไปในลาว ได้หัวเมืองลาวเข้ามาอยู่ในอำนาจอาจกล่าวได้ว่า สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินเป็นสมัยแห่งการกู้เอกราชของชาติ รวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง ขับไล่ข้าศึกออกไปจากอาณาเขตไทยและขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัย ของพระองค์ ไทยจึงยิ่งใหญ่เท่าเทียมเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยามีความรุ่งเรือง[33]

[แก้] ด้านการต่างประเทศ

  • กัมพูชา เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ กัมพูชาซึ่งถือเป็นเมืองขึ้นของไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา ได้ตั้งตัวเป็นอิสระ ส่งผลให้ไทยต้องจัดทัพไปตีเมืองเขมรหลายครั้งหลายคราว จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๓๒๔ สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีพระราชประสงค์จะผนวกดินแดนเขมรเข้ามารวมอยู่ในพระ ราชอาณาจักรไทย โดยเด็ดขาด แต่ยังมิทันสำเร็จสมดังพระราชประสงค์ก็สิ้นสมัยธนบุรีลงเสียก่อน
  • จีน สัมพันธภาพระหว่างสมเด็จพระเจ้าตากสินและราชวงศ์ชิง อาจจำแนกได้เป็น ๓ ระยะ ตามกาลเวลาและ พัฒนาการของเหตุการณ์
    • พ.ศ. ๒๓๑๐ - พ.ศ. ๒๓๑๓ ราชวงศ์ชิงปฏิเสธการรับรอง เนื่องจากในระยะนั้นจีนได้รับรายงานที่ไม่เป็นความจริงจาก ม่อซื่อหลิน แห่งพุทไธมาศ จึงไม่ยอมรับรองกรุงธนบุรี
    • พ.ศ. ๒๓๑๓ - พ.ศ. ๒๓๑๔ ราชสำนักชิงเริ่มรู้สึกถึงเบื้องหลังรายงานที่ไม่เป็นความจริงของม่อซื่อ หลิน และไม่ให้ความเชื่อถือ ดังนั้น ราชสำนักชิงจึงเริ่มเปลี่ยนแปลงและมีท่าทีเป็นมิตรต่อสมเด็จพระเจ้าตากสิน
    • พ.ศ. ๒๓๑๔ - พ.ศ. ๒๓๒๕ ราชสำนักชิงให้การรับรองอย่างเป็นทางการต่อสมเด็จพระเจ้าตากสิน รวมทั้งให้การสนับสนุนเป็นพิเศษ
  • ญวน ในสมัยกรุงธนบุรีความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญวน แบ่งได้เป็น ๒ ระยะคือ
    • ระยะแรก ญวนเป็นมิตรกับไทยเพราะญวนหวังพึ่งไทยในการขจัดความยุ่งยากที่เกิดขึ้นภายในประเทศ
    • ระยะ ต่อมา ไทยมีเรื่องบาดหมางกับญวนในกรณีกัมพูชา ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญวน ในตอนปลายรัชกาลตึงเครียด จนเกือบต้องทำสงครามกัน
  • นครศรีธรรมราช หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินยกทัพไปตีได้เมืองนครศรีธรรมราชในปี พ.ศ. ๒๓๑๒ ได้คืนอำนาจ ให้แก่กลุ่มท้องถิ่น โดยโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะของเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นเป็นเมืองประเทศราชอีกเมือง หนึ่งให้เจ้าเมืองมีฐานะเป็น "พระเจ้านครศรีธรรมราช" ซึ่งเปรียบได้กับพระเจ้าแผ่นดินอีกพระองค์หนึ่ง และมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันตลอดรัชกาล
  • พม่า ในช่วงระยะเวลา ๑๐ ปีแรกของการสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี ไทยกับพม่าต้องทำสงครามขับเคี่ยว กันถึง ๘ ครั้ง ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าเป็นไปอย่างศัตรูคู่อาฆาตตลอดสมัยกรุงธนบุรี
  • มลายู หัวเมืองซึ่งมีแคว้นที่สำคัญได้แก่ ปัตตานี ไทรบุรี เประ กลันตัน และตรังกานู เป็นประเทศราช ของไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก แคว้นเหล่านี้ได้ตั้งตัวเป็นอิสระ และเนื่องจากเป็นช่วงเวลา เดียวกับที่พระเจ้าตากสินทรงติดพันศึกกับพม่าและการฟื้นฟูประเทศ หัวเมืองมลายูจึงเป็นอิสระจากไทยจน กระทั่งสิ้นรัชกาล
  • ล้านนา หัวเมืองที่สำคัญ ได้แก่เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ และน่าน ซึ่งเป็นแคว้นอิสระที่ปกครองตนเอง โดยเจ้าผู้ครองนคร มีความสำคัญในแง่ยุทธศาสตร์ทั้งแก่ไทยและพม่า ทำให้ทั้งไทยและพม่าได้ต่อสู้กันเพื่อที่ จะเข้าไปปกครองดินแดนแห่งนี้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา
  • ลาว ในขณะนั้นแบ่งแยกเป็น ๓ แคว้น คือ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์ สมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้ขยายอำนาจไปยังดินแดนลาว ๒ ครั้ง ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๓๑๙ กองทัพไทยตีได้เมืองจำปาศักดิ์ เมืองโขง อัตปือ ทั้งยังเกลี้ยกล่อมได้เขมรป่าดง คือเมืองตะลุง สุรินทร์ สังขะ และขุขันธ์ จึงทำให้ดินแดนลาว ทางใต้อยู่ใต้อิทธิพลของไทยทั้งหมด ส่วนครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ. ๒๓๒๑ ไทยยกทัพไปตีเวียงจันทน์ พร้อมทั้งอัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางมายังกรุงธนบุรี ฝ่ายแคว้นหลวงพระบาง ซึ่งเป็นศัตรูกับแคว้น เวียงจันทน์ได้เข้ามาสวามิภักดิ์ต่อไทย ลาวจึงมีฐานะเป็นประเทศราชของไทยจนสิ้นรัชกาล
  • ฮอลันดา พ.ศ. ๒๓๑๓ ชาวฮอลันดาจากเมืองปัตตาเวีย (จาการ์ตา) และ พวกแขกเมืองตรังกานู ได้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เพื่อถวายปืนคาบศิลาจำนวน ๒,๒๐๐ กระบอก และ ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง
  • อังกฤษ ในปี พ.ศ. ๒๓๑๙ มีพ่อค้าชาวอังกฤษจากเกาะปีนังชื่อ ร้อยเอก ฟรานซิส ไลท์ (Francis Light) หรือชาวไทยเรียกว่า กปิตันเหล็ก ซึ่งไทยได้ติดต่อซื้อปืนนกสับ จำนวน ๑,๔๐๐ กระบอก มาสู้กับพม่า พร้อมกับสิ่งของเครื่องราชบรรณาการต่างๆ ต่อมามีการแลกเปลี่ยนพระราชสาส์นกัน และเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๐ นายยอร์จ สแตรตัน ผู้สำเร็จราชการแห่งมัทราสในขณะนั้นได้ส่งสาส์นพร้อม กับดาบทองคำประดับพลอย มาถวายสมเด็จพระเจ้าตากสินส่วนร้อยเอกกปิตัน ได้รับพระราชทานยศว่า พระยาราชกปิตัน
  • เดนมาร์ค ได้มีการสั่งซื้อปืนใหญ่จากเดนมาร์คจำนวน ๑๐,๐๐๐ กระบอก โดยจ่ายค่าปืนด้วยดีบุก เดนมาร์ตได้ส่งปืนใหญ่จำนวน ๓,๐๐๐ กระบอกจากโคเปนเฮเกน แต่ปรากฏว่าปืน ๕๒๑ กระบอกนั้นเกิดระเบิด ทำให้พระองค์ทรงปฏิเสธการซื้อปืนจากเดนมาร์ค

[แก้] ด้านเศรษฐกิจ

สภาพบ้านเมืองหลังจากเสียกรุง ทำให้สภาพเศรษฐกิจตกต่ำอย่างมาก มีประมาณครึ่งราชอาณาเขตครั้งกรุงศรอยุธยาเป็นราชธานี มีมณฑลกรุงเทพฯ มณฑลอยุธยา มณฑลราชบุรี มณฑลนครชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ มณฑลปราจีน และมณฑลจันทบุรี ครั้งนั้นมีมณฑลจันทบุรีเพียงมณฑลเดียวที่นับว่าปกติ ส่วนมณฑลที่เหลือถูกพม่าย่ำยียับเยิน เป็นเมืองร้าง ขาดการทำไร่นาถึง ๒ ปี ผู้คนที่เหลือจากการถูกพม่ากวาดต้อนไปต่างพากันอพยพหลบหนีแตกกระจัดพลัดพราก เที่ยวซุ่มซ่อนอยู่ตามป่าดงโดยมาก ต้องทรงเกลี้ยกล่อมผู้คนให้กลับมาอยู่ถิ่นเดิม เมื่อผู้คนมาอยู่รวมกันมากเข้า ไม่ช้าก็เกิดการอัตคัต เสบียงอาหารไม่เพียงพอ ทรงสามารถแก้ไขความขัดข้องได้โดยปัจจุบันทันด่วน จึงทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อข้าวสารและเครื่องนุ่งห่มในราคาสูง เพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชน ทั้งนี้ทำให้เกิดผลดีอย่างยิ่ง ๓ ประการคือ
  • ประการ ที่ ๑ เมื่อบรรดาพ่อค้าทั้งหลายทราบว่าสินค้าที่นำมาขาย ณ กรุงธนบุรี จำหน่ายได้ดีและมีราคาสูงเป็นพิเศษ จึงเป็นเหตุให้พ่อค้าพากันบรรทุกข้าวเปลือกข้าวสาร ตลอดจนเสื้อผ้าสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เข้ามาขายที่กรุงธนบุรีมากขึ้น ทำให้ประชาชนพลเมืองมีเสื้อผ้าอาหารเพียงพอกับความต้องการ ความอดอยากขาดแคลนก็หมดไป
  • ประการที่ ๒ เมื่อพ่อค้าแข่งขันกันนำสินค้านานาชนิดเข้ามาขายกันมากขึ้น ก็ทำให้บังเกิดภาวะสินค้าล้นตลาด เกินความต้องการของประชาชน ราคาสินค้าจึงเริ่มถูกลงเป็นลำดับ ความเดือดร้อนของราษฎรก็ค่อยๆ หมดสิ้นไป
  • ประการ ที่ ๓ บรรดาราษฎรที่ยังแตกฉานซ่านเซ็นซุกซ่อนหลบหนียุทธภัยอยู่ตามที่ต่างๆ เป็นอันมากนั้น เมื่อทราบข่าวว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงเลี้ยงดูราษฎรมิให้อดอยากด้วยพระเมตตาปรานีเช่นนั้น ก็พากันมีความยินดีและอพยพกลับคืนเข้ามาอยู่ตามภูมิลำเนาเดิม ในบ้านในเมืองกันมากขึ้น ทำให้กรุงธนบุรีมีประชาชนพลเมือง เป็นกำลังเพิ่มเติมยิ่งๆ ขึ้น เป็นอันมาก สามารถนำไปใช้ในการต่อสู้ข้าศึกศัตรู ป้องกันบ้านเมืองได้ดียิ่งขึ้น ราษฎรได้เริ่มต้นดำเนินอาชีพ ประกอบการทำมาหากินกันสืบต่อไปใหม่ ยังผลให้บ้านเมืองที่เคยตกอยู่ในสภาพเป็นเมืองร้างมาแต่ก่อนนั้น ได้กลับคืนเข้าสู่สภาพปกติสุข มีความเจริญรุ่งเรืองร่มเย็นขึ้นมาใหม่อีก เศรษฐกิจของชาติจึงได้เริ่มฟื้นคืนดียิ่งๆ ขึ้นโดยลำดับ
ทรงนำ ทรัพย์สมบัติส่วนองค์และของพระชนนีรวมทั้งของน้องๆ ที่สะสมไว้ เอามาช่วยในราชการทั้งสิ้น เพราะท่านได้ครองแผ่นดินอันว่างเปล่า ปราศจากปราสาทพระราชวัง ปราศจากสิ่งของอันมีค่า และท้องพระคลังที่ว่างเปล่า[34] อีกทั้งพวกทหารของท่านที่มีเชื้อสายจีนได้ติดต่อญาติมิตรซึ่งเป็นคนค้าขาย ได้เงินรวมกันประมาณหมื่นตำลึง บางคนให้ข้าวสาร ปลาเค็ม ฯลฯ แต่มิได้ลงบัญชี แน่นอนได้เลย
ต่อมาได้ญาติของท่าน (เจียนจิ้น) ทำหนังสือเพื่อจะขอยืมเงินข้าราชการจีนหรือพระเจ้ากรุงปักกิ่งมาซื้อปืน เหล็กตีดาบ และซื้อดาบที่ดีจากเมืองใกล้ๆ มาใช้ พร้อมทั้งหอก ง้าว และทวนด้วย ในที่นี้กล่าวว่ายืมเงินจากพ่อค้า ข้าราชการและพระเจ้ากรุงปักกิ่ง รวมกันได้หกหมื่นตำลึง
พระราชทรัพย์ ที่ทรงนำมาจับจ่าย ในการซื้อข้าวสารเสื้อผ้า พระราชทานแก่บรรดาข้าราชการและประชาชนที่กำลังเดือดร้อนอย่างหนักอยู่ในเวลา นั้น สมเด็จพระปิยมหาราชทรงสันนิษฐานว่า “ ซื้อข้าวเลี้ยงคนโซ คงจะได้เงินจากค่ายโพธิสามต้น ”
สุรีย์ ภูมิภมร กล่าวถึงการหาพระราชทรัพย์ที่นำมาใช้จ่ายว่า “ ...ขายดีบุก งาช้าง และไม้ซุง เพื่อเอาเงินมาช่วยในการซื้ออาหารและเครื่องนุ่งห่ม …”[35]
อีก ตอนหนึ่ง สมเด็จพระปิยมหาราชได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ว่า “ เงินจะได้มาทางใดไม่ว่า เจ้ากรุงธนบุรีเป็นผู้ซื้อข้าวมาแจกเฉลี่ยเลี้ยงชีวิตกันในเวลาขัดสน อิ่มก็อิ่มด้วยกัน อดก็อดด้วยกัน... ”
ในจดหมายเหตุความทรงจำของกรม หลวงนรินทรเทวี มีกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ตอนหนึ่งว่า “ ...ได้ปืนใหญ่พม่าที่ขนไปไม่ได้ค้างอยู่ ให้ระเบิดเอาทอง (คิดว่าน่าจะเป็นทองเหลือง หรือทองสำริด-ผู้รวบรวม) ลงสำเภา ซื้อข้าวถังละ 6 บาท เลี้ยงคนโซไว้ได้กว่าพัน... ”
สมัยกรุงธนบุรี เป็นสมัยที่ต้องสร้างชาติบ้านเมืองกันใหม่ พระองค์ทรงทำนุบำรุงการค้าขายทางเรืออย่างเต็มที่ ทรงค้าขายกับจีน เป็นประจำ ทรงแต่งสำเภาหลวงออกไปขายหลายสาย ทางตะวันออกถึงเมืองจีน ทางตะวันตกถึงอินเดีย ผลกำไรที่ได้จากการค้าสำเภามีมากพอที่จะช่วยบรรเทาการเก็บภาษีอากรจากราษฎร ในระยะแรกซึ่งราษฎรยังตั้งตัวไม่ได้ สภาพเศรษฐกิจดีขึ้นกว่าตอนต้นรัชกาล โดยมีรายได้จากภาษีขาเข้าและภาษีขาออกจากเรือสินค้าต่างชาติ ได้แก่ จีนและชวาที่เข้ามาค้าขายกับไทย
สมเด็จ พระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงส่งเสริมการนำสินค้าพื้นเมืองไปขายทางเรือ ซึ่งอำนวยผลประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่องานสร้างชาติ ทำให้ราษฎรมีงานทำ มีรายได้ ทั้งทรงมีพระราชประสงค์ที่จะฝึกให้คนไทยเชี่ยวชาญการค้าขาย ป้องกันมิให้การค้าตกอยู่ในมือชนต่างชาติ และรักษาประโยชน์ของสินค้าพื้นเมืองมิให้ถูกทอดทิ้ง พระองค์ทรงพยายามผูกไมตรีกับจีนเพื่อประโยชน์ทั้งในด้านความมั่นคงของชาติ และประโยชน์ในด้านการค้า[36][37][38]
อย่าง ไรก็ตาม การแก้ไขเศรษฐกิจและสภาพบ้านเมือง ยังมีปัญหาอยู่บ้าง ดังที่บาทหลวงชาวฝรั่งเศส ชื่อ มองเซนเยอร์ เลอบอง ซึ่งเข้ามาในเมืองไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๘ จดบันทึกไว้ในช่วง พ.ศ. ๒๓๑๘ ดังนี้[39]
จน ถึงเวลาเดี๋ยวนี้ อาหารการกินในเมืองนี้ยังแพงมาก เพราะบ้านเมืองไม่เป็นอันทำมาหากินมาเป็นเวลา ๑๕ ปีแล้ว และในเวลานี้ยังหาสงบทีเดียวไม่
มองเซนเยอร์ เลอบอง
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกังวลพระทัยในเรื่องนี้จึงมีพระราชดำรัสว่า[40]
บุคคลผู้ใดเป็นอาทิคือเทวดา บุคคลผู้มีฤทธิ์มาประสิทธิ์มากระทำให้ข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ขึ้น ให้สัตว์โลกเป็นสุขได้ แม้นผู้นั้นจะปรารถนาพระพาหาแห่งเราข้างหนึ่ง ก็อาจตัดบริจาคแก่ผู้นั้นได้
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

[แก้] ด้านคมนาคม

ใน ยุคนี้ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกเลิกความคิดแนวเก่าที่ว่าหากถนนหนทาง ทางคมนาคมดีมากแล้วจะเป็นการอำนวยประโยชน์ให้ข้าศึกศัตรูและพวกก่อการจลาจล แต่กลับทรงเห็นเป็นประโยชน์ในทางค้าขายมากกว่า ดังนั้น ในฤดูหนาวหากว่างจากศึกสงคราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนและขุดคลอง จะเห็นได้จากแนวถนนเก่าๆ ในเขตธนบุรีซึ่งมีอยู่หลายสาย ส่วนการขุดชำระคลองมักมีวัตถุประสงค์เบื้องต้นเพื่อประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ เช่น คลองท่าขาม จากนครศรีธรรมราชไปออกทะเล เป็นต้น

[แก้] ด้านการศึกษา

สมัย กรุงธนบุรีเป็นระยะเวลาที่บ้านเมืองยังไม่สงบเรียบร้อย การฟื้นฟูการศึกษาจึงทำได้ไม่มากนัก แต่วัดก็ยังเป็นแหล่งที่ให้การศึกษาอยู่ โดยมีแต่เด็กผู้ชายเท่านั้นที่มีโอกาสศึกษา เพราะต้องอยู่กับพระที่วัดเรียนหนังสือและได้รับการอบรมความประพฤติ เรียนพระธรรม ภาษาบาลีสันสกฤต และศัพท์เขมร เพื่อประโยชน์ในการอ่านคัมภีร์พระพุทธศาสนา นอกจากนี้มีวิชาเลข เน้นมาตรา ชั่ง ตวง วัด มาตราเงินไทย และการคิดหน้าไม้ ซึ่งจะต้องนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีวิชาช่างฝีมือสำหรับเด็กโต ส่วนใหญ่เกี่ยวกับงานช่างก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ในการบูรณะซ่อมแซมเสนาสนะ และสิ่งก่อสร้างภายในวัด สำหรับการเรียนวิชาชีพโดยตรงนั้นเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ใครมีอาชีพอะไรก็ถ่ายทอดวิชานั้นๆ ให้แก่ลูกหลานของตนตามสายตระกูล เช่น วิชาแพทย์แผนโบราณ วิชาช่างปั้น ช่างถม ช่างแกะสลัก ช่างปูนปั้น ช่างเหล็ก ช่างเงิน ช่องทอง ส่วนการศึกษาสำหรับเด็กหญิง จะถือตามประเพณีโบราณคือ เรียนเย็บปักถักร้อย ทำกับข้าว การจัดบ้านเรือน การฝึกอบรมมารยาทของกุลสตรี สังคมสมัยนั้นไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียนหนังสือ จึงมีน้อยคนที่อ่านออกเขียนได้ [41]
สมเด็จ พระเจ้ากรุงธนบุรี จึงโปรดเกล้าฯให้บำรุงการศึกษาตามวัดต่างๆ และยังโปรดเกล้าฯให้ตั้งหอหนังสือขึ้นเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา ซึ่งคงเทียบได้กับหอพระสมุดในระยะหลัง[42] นอกจากนี้ทรงโปรดเกล้าฯให้แสวงหาและรวบรวมตำราต่างๆ ที่กระจัดกระจายไปเมื่อคราวกรุงแตกไว้ที่พระอารามหลวง หรือหามาจำลองไว้เป็นแบบฉบับเพื่อใช้ศึกษาเล่าเรียน[43]

[แก้] ด้านศาสนา

ถึง แม้ว่าในรัชสมัยของพระองค์ บ้านเมืองจะตกอยู่ในภาวะสงครามเกือบตลอดเวลา แต่พระองค์กลับมิได้ทรงละเลยงานด้านศาสนจักร ได้ทรงมุ่งมั่นทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง เหมือนเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา พระราชกรณียกิจด้านฟื้นฟูพระพุทธศาสนามีดังนี้
  • บทสวดมนต์ พุทธชัยมงคลคาถา
มีบันทึกโบราณบอกไว้ดังนี้
"เมื่อ พระเจ้าตากสินมหาราชตีเมืองจันทบุรีได้แล้วก็ทรงเล็งเห็นว่า สงครามกู้ชาติต่อจากนี้ไป จะต้องหนักหนาและยืดยาว จึงทรงโปรดเกล้าให้สร้างพระยอดธงแบบศรีอยุธยาขึ้น แล้วนิมนต์พระเถระทั้งหลาย มาสวดบทพาหุงมหากาบรรจุไว้ในองค์พระ และพระองค์ก็ทรงเจริญรอยตาม พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ด้วยการเจริญพาหุงมหากา จึงบันดาลให้ทรงกู้ชาติสำเร็จ"[44]
  • การจัดระเบียบสังฆมณฑล
ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบสังฆมณฑลทันทีภายหลังการสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี ครั้งที่ยกทัพไป ปราบชุมนุมเจ้าพระฝางเมื่อทรงเห็นว่าพระสงฆ์ทางฝ่ายหัวเมืองเหนือมัวหมอง ก็ได้อาราธนาพระราชาคณะ จากในกรุงไปสั่งสอน ทำให้พระสงฆ์กลับบริสุทธิ์และเป็นปกติสุขขึ้น
  • การรวบรวมพระไตรปิฎก
สมเด็จ พระเจ้าตากสิน ยังได้ทรงมุ่งมั่นในการสืบเสาะค้นหาต้นฉบับพระไตรปิฎกที่ยังเหลืออยู่หลัง จาก เสียกรุง เพื่อนำมาคัดลอกจำลองไว้สำหรับการสร้างพระไตรปิฎกฉบับหลวงต่อไป ซึ่งจะเห็นได้จาก เมื่อคราวที่เสด็จไปปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชในปีพุทธศักราช ๒๓๑๒ ได้มีรับสั่งให้ขอยืมคัมภีร์ พระไตรปิฎกจากนครศรีธรรมราชบรรทุกเรือเข้ามาคัดลอกในกรุงธนบุรี และในปีถัดมาในคราวที่เสด็จ ไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝางที่เมืองอุตรดิตถ์ ได้โปรดเกล้าฯ ให้นำพระไตรปิฎกลงมาเพื่อใช้สอบทานกับ ต้นฉบับที่ได้จากเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งนับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการ สังคายนาพระไตรปิฎก ในสมัยต่อมา
  • การสมโภชพระแก้วมรกต
ภาย หลังจากที่รบชนะเมืองเวียงจันทน์ สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบางกลับมายังกรุงธนบุรีด้วย โดยให้จัดขบวนเรือพยุหยาตรามโหฬารถึง ๒๔๖ ลำ และเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปรับด้วยพระองค์เอง แล้วให้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถ วัดอรุณราชวราราม ต่อมารัชกาลที่ ๑ ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งอยู่ในเขตพระบรมมหาราชวัง [45]
  • การบูรณะปฏิสังขรณ์วัด
สมเด็จ พระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ เป็นจำนวนมาก และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง เช่น วัดอินทารามวรวิหาร, วัดหงส์รัตนาราม และวัดอรุณราชวราราม
  • พระราชกำหนดว่าด้วยศีลสิกขา
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎหมายว่าด้วยวัตรปฏิบัติในทางธรรมวินัยของพระสงฆ์ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๑๖ โดยถือเป็นต้นฉบับกฎหมายพระสงฆ์ฉบับแรกของไทย[46][47]และทรงนำแนวคิดทางพระพุทธศาสนา มาใช้เป็นหลักในการจัดระเบียบสังคมในสมัยนั้นด้วย
และหลังจากกอบกู้แผ่นดินได้แล้ว พระองค์ได้ทรงอัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าเอกทัศมา จัดถวายพระเพลิงอย่างสมพระเกียรติและยังทรงรับอุปการะบรรดา เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า พระราชโอรส ตลอดทั้งพระเจ้าหลานเธอของพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาทุกพระองค์ด้วยความ กตัญญู [48]

[แก้] ด้านศิลปกรรม

นาฏดุริยางค์
ภายหลังจากที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๒ ได้ทรงนำตัวละครผู้หญิงของเจ้านครศรีธรรมราชเข้ามาเป็นครูฝึกหัดร่วมกับพวก ละครที่ทรงรวบรวมได้จากที่อื่น แล้วจัดตั้งเป็นละครหลวงของกรุงธนบุรี โดยยึดแบบฉบับการฝึกละครของกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เพื่อให้คณะละครหลวงได้นำไปฝึกหัดออกแสดงด้วย ดังนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างบรรยากาศให้รื่นเริงครึกครื้นเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา พระราชทานโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเปิดการฝึกสอนและออกโรงเล่นได้อิสระ เครื่องแต่งกายไม่ว่าจะเป็น เครื่องต้น เครื่องทรง ก็แต่งกันได้ตามลักษณะเรื่อง ส่งผลให้ศิลปะการละครของไทยซึ่งเคยเจริญรุ่งเรืองมากตอนปลายอยุธยากลับฟื้น ตัวขึ้นใหม่
ศิลปการช่าง
ภาพ เขียนที่งดงามประณีตในสมัยธนบุรีที่สำคัญยิ่ง คือ "สมุดภาพไตรภูมิ" เป็นภาพเขียนที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๓๑๙ ซึ่งนับได้ว่าเป็นสมุดภาพไตรภูมิขนาดใหญ่เล่มหนึ่งของเมืองไทย เมื่อคลี่ ออกจะมีความยาวถึง ๓๔.๗๒ เมตร เขียนด้วยสีลงในสมุดทั้ง ๒ ด้าน โดยฝีมือช่างเขียน ๔ คน ปัจจุบันได้เก็บ รักษาไว้ ณ หอสมุดแห่งชาติท่าวาสุกรี กรุงเทพฯ
งานฝีมือช่าง
สมเด็จ พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเล็งเห็นว่า ช่างไทยสมัยธนบุรีมีเหลืออยู่น้อยมากจึงโปรดเกล้าฯ ให้ รวบรวมและฟื้นฟูการช่างทุกแขนงขึ้นใหม่ เช่น ช่างต่อเรือ ช่างก่อสร้าง ช่างรัก ช่างประดับ และช่างเขียน แต่เนื่องจากมีเวลาจำกัด บ้านเมืองอยู่ในระหว่างสงคราม สิ่งของที่เป็นฝีมือช่างชั้นดีประณีตงดงามจริง ๆ ในสมัยธนบุรีจึงหาได้ยาก ที่มีให้เห็นอยู่บ้าง ได้แก่
  • พระแท่นบรรทม ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ประดิษฐาน อยู่ที่วัดอินทาราม ฝั่งธนบุรี
  • พระแท่นสำหรับทรงเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหารเล็กหน้า
  • พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ฝั่งธนบุรี
  • ตู้ลายรดน้ำ ที่มีศักราชแจ้งชัดว่าสร้างในสมัยกรุงธนบุรี อยู่ในหอสมุดวชิรญาณ ภายในหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี กรุงเทพฯ
  • ท้องพระโรงพระราชวังเดิม ซึ่งเคยเป็นที่ประทับและเสด็จออกว่าราชการ ปัจจุบันอยู่ในการดูแลของกองทัพเรือ

[แก้] พระราชนิพนธ์

เรื่องที่พระองค์ได้พระราชนิพนธ์ไว้นั้นก็คือ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ วันที่ทรงพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ฉบับนี้คือ วันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีฉลู จุลศักราช ๑๑๓๒ ตรงกับปี พ.ศ. ๒๓๑๓ เป็นปีที่ ๓ แห่งรัชกาลของพระองค์ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ ๔ เล่มสมุดไทย คือ
เล่ม ๑ ตอนพระมงกุฎ
เล่ม ๒ ตอนหนุมานเกี้ยววารินจนท้าวมาลีวราชมา
เล่ม ๓ ตอนท้าวมาลีวราชพิพากษา
เล่ม ๔ ตอนทศกรรฐ์ตั้งพิธีทรายกรด พระลักษณ์ต้องหอกกบิลพัสตร์ จนผูกผมทศกรรฐ์กับนางมณโฑ [49]
ในรัชสมัยของพระองค์มีกวีที่สมควรได้รับการยกย่อง ๒ ท่าน คือ
๑. นายสวน มหาดเล็ก ซึ่งแต่งโคลงสี่สุภาพ แต่งขึ้นเพื่อยกพระเกียรติและสรรเสริญ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี 85 บท เป็นสำนวนที่เรียบง่าย แต่ทรงคุณค่าด้วยเป็นหลักฐานที่คนรุ่นต่อมาได้ทราบถึงสภาพบ้านเมืองและความ เป็นไปในยุคนั้น
๒. หลวงสรวิชิต (หน) ซึ่งต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาพระคลัง (หน) งานประพันธ์ของท่านเป็นที่รู้จักและแพร่หลาย จนถึงปัจจุบัน เช่น สามก๊ก เป็นต้น

[แก้] พระบรมราชานุสาวรีย์ และการถวายพระราชสมัญญานาม สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงปฏิบัติพระราชกิจสำคัญน้อยใหญ่ เป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงมีการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ เช่น

[แก้] พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ วงเวียนใหญ่

ดูบทความหลักที่ วงเวียนใหญ่
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ทุ่งนาเชย อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ตามที่กล่าวมาแล้ว ประชาชนทุกหมู่เหล่าจึงพร้อมใจกันถวายพระราชสมัญญา “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” พร้อมทั้งเหล่าพสกนิกรชาวไทย ได้พร้อมใจกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ประดิษฐาน ณ วงเวียนใหญ่ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ซึ่งศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี คณบดีประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้ออกแบบ ทางราชการได้ประกอบพระราชพิธีเปิดและถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๗ และในวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ จึงมีรัฐพิธีเปิดเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงวางพวงมาลา ถวายราชสักการะ ต่อมาทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ ๒๘ ธันวาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสวยราชย์ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ไทย เป็นวันถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช[50][51]

[แก้] พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ ทุ่งนาเชย จังหวัดจันทบุรี

ชาวเมืองจันท์นั้นภาคภูมิใจอย่างยิ่งต่อเกียรติประวัติของจังหวัดจันทบุรี รวมทั้งวีรกรรมของบรรพบุรุษที่ได้ยอมเสียสละเลือดเนื้อและชีวิต เข้าร่วมในกองทัพสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกู้อิสรภาพได้สำเร็จ จึงพร้อมใจกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ณ บริเวณทุ่งนาเชย กลางอำเภอเมืองจันทบุรีในปัจจุบัน พิธีเปิดวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้น ตรงกับวันปราบดาภิเษก วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๑ โดยทางกรมศิลปากรนำศิลาจารึกพระนาม สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี มาประทับที่พระบรมราชานุสาวรีย์ แต่ถูกชาวจันทบุรีร่วมกันคัดค้าน ขอให้เปลี่ยนเป็นจารึกพระราชสมัญญนามเสียใหม่ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยทำหนังสือถึงสำนึกเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ให้นำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นต้นมา[52]

[แก้] พระบรมราชานุสรณ์


[แก้] โรงพยาบาลตากสิน

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดมีการระบาดของไข้กาฬโรคขึ้นในสยามประเทศ พระพุทธเจ้าหลวงทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งโรงพยาบาล โรคติดต่อขึ้นที่ตำบลคลองสาน แต่เดิมขนานนามว่า โรงพยาบาลโรคติดต่อ ต่อมาวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๐ โรงพยาบาลโรคติดต่อจึงได้โอนไปขึ้นกับเทศบาลนครกรุงเทพ ได้รับการขนานนามว่า โรงพยาบาลเทศบาล
แต่ เนื่องจากความเก่าแก่ของอาคารเรือนไม้ที่สร้างขึ้นและใช้งานมานานถึง ๓๒ ปี อีกทั้งคนที่ป่วยด้วยโรคติดต่อมีจำนวน ลดลง สถานที่ไม่เหมาะสมเพราะได้มีชุมชนหนาแน่นจึงได้เปลี่ยนแปลงปรับปรุงโรง พยาบาลโรคติดต่อนี้ขึ้นเป็นสถานพยาบาลพักฟื้นสำหรับผู้ป่วยของโรงพยาบาลกลาง และวชิรพยาบาลก่อน คนทั่วไปเรียกขานว่า โรงพยาบาลพักฟื้น
ต่อมา พ.ศ. ๒๕๑๕ ทางราชการได้ประกาศจัดตั้งเทศบาลนครหลวงขึ้น โดยรวมเทศบาลนครกรุงเทพและเทศบาลนครธนบุรีเข้าด้วยกัน โรงพยาบาลพักฟื้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลเทศบาลนครหลวง สำหรับรักษาโรคทั่วไป เพื่อเป็นอนุสรณ์การจัดตั้งเทศบาลนครหลวง มีพิธีเปิดโรงพยาบาลอย่างเป็นทางการเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๑๕
หลังจากนั้น ชื่อของโรงพยาบาลได้ถูกเปลี่ยนอีกครั้งเป็น โรงพยาบาลกรุงเทพมหานคร ในวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ เพื่อยุติการเปลี่ยนชื่อของโรงพยาบาลบ่อยๆ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อว่า โรงพยาบาลตากสิน ตั้งแต่วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๖ จนถึงปัจจุบัน เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ผู้ทรงสถาปนากรุงธนบุรี [53] [54]

[แก้] โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

โรงพยาบาลประจำจังหวัด ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ปัจจุบันได้เปิดศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก เป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรอีกด้วย

[แก้] ค่ายตากสิน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ"ค่ายตากสิน" เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๗ เพื่อเทิดพระเกียรติแด่ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งพระองค์ได้นำกำลังมาตั้งมั่น ณ ที่แห่งนี้ เมื่อเดือน ๗ ปีกุน พ.ศ. ๒๓๑๐ เพื่อรวบรวมกำลังกู้เอกราช [55] [56] [57]

[แก้] อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช

อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช เดิมมีชื่อว่า อุทยานแห่งชาติต้นกระบากใหญ่ เนื่องจากมีต้นกระบากที่ใหญ่สุดในประเทศไทยเท่าที่สำรวจพบในขณะนี้ ตั้งอยู่ในท้องที่ ๒ อำเภอ คือ อำเภอเมืองตาก และอำเภอแม่สอด ซึ่งประกาศทับซ้อนป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ละเมา ตำบลพะวอ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙๕๔ (พ.ศ. ๒๕๒๔) และประกาศทับซ้อนป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ท้อ–ห้วยตากฝั่งขวา ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก ตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๔๕ (พ.ศ. ๒๕๐๙) มีพื้นที่ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาจำนวน ๙๓,๑๒๕ ไร่ แต่มีพื้นที่จริงจากการคำนวณเท่ากับ ๑๖๓,๗๕๐ ไร่ [58] [59]
ต่อมากองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ พิจารณาเห็นว่า เพื่อเป็นการเทอดพระเกียรติแด่องค์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และเป็นสิริมงคลแก่อุทยานแห่งชาติ ตลอดจนเพื่อเป็นการรำลึกถึงสถานที่อันมีค่าทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย ได้แก่ จังหวัดตาก เห็นสมควรเปลี่ยนชื่อ อุทยานแห่งชาติต้นกระบากใหญ่ เป็น อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เพื่อใช้พระปรมาภิไธยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นชื่ออุทยานแห่งชาติ และได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการ พระบรมมหาราชวัง ลงวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ให้ใช้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช[60] [61]

[แก้] ความสัมพันธ์เชื้อสายจีน

เนื่องจาก สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงมีเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว จึงได้รับความเคารพบูชาอย่างยิ่งโดยเฉพาะจากคนไทยเชื้อสายจีน มีการเรียกพระนามตามภาษาจีนแต้จิ๋วว่า แต่อ่วงกง หมายถึง กษัตริย์ชาวแต้จิ๋วที่ได้รับการเคารพบูชา [62]
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานข้อมูลแก่ “หมอสมิท” ว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มีชื่อเรียกขานกันในหมู่ชาวจีนว่า เตีย ซิน ตัด หรือ เตีย ซิน ตวด ซึ่ง “เตีย” คือ แซ่แต้ “ซิน” คือ สิน “ตัด” คือเมืองตาก และยังมีชื่อที่ปรากฏว่า เจิ้งกว๋ออิง แปลว่า เจิ้งวีรบุรุษของประเทศ ตามหลักฐานจีน พระราชบิดาชื่อ ไหฮอง สำเนียง แต้จิ๋วว่า “แต้” หรือนายไหฮอง แซ่แต้ จากอำเภอไฮ้ฮง หรือจีนกลางว่า ไห่เฟิง เป็นอำเภอที่อยู่ล่างสุดและเล็กที่สุดของซัวเถา อาชีพหลักคือค้าขาย ไหฮองแต่งงานกับหญิงไทย ชื่อนกเอี้ยง (ระบุนามในหนังสือเดิมที่เขียนในเมืองจีนว่า ลั่วยั้ง หรือ นางนกยาง) ก่อนเสด็จรับราชการเคยทรงประกอบอาชีพค้าขายต่อจากพระราชบิดา และยังมีหลักฐานที่ส่อว่าเคยทรงเป็นพ่อค้าเกวียน ทรงรับสั่งได้คล่องแคล่ว ทั้งจีนแต้จิ๋ว จีนกวางตุ้ง และจีนฮกเกี้ยน [63]
สรุป โดยรวมความแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระราชสมภพในฐานะสามัญชนลูกชาวจีน มีอาชีพค้าขายทางเกวียน แม้จะมีถิ่นฐานและญาติพี่น้องในภาคกลางที่อยุธยาและลพบุรี แต่ก็ได้ทำการค้าขายในหัวเมืองชายแดน เมื่อสบโอกาสได้รับราชการในหัวเมืองไกลคือตากระแหง และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองตาก ทรงสมรสกับสามัญชนด้วยกัน สงครามครั้งเสียกรุง ได้กวาดต้อนไพร่พลหลบพม่าลงมาเป็นกำลังแก่กรุงศรีอยุธยา ได้ความดีความชอบ ระหว่างพม่าล้อมกรุง ก็ได้ทำการต่อสู้จนปรากฏชื่อว่าเป็นแม่ทัพที่เข้มแข็ง ก่อนเสียกรุงแก่พม่า ก็ได้นำกำลังไพร่พลไทย-จีน พากันตีแหกกองทัพพม่าไปยังหัวเมืองชายฝั่งตะวันออก และเริ่มประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของประเทศ

สุริยา มาดีกุล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น