วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

กำเนิดดวงจันทร์

กำเนิดดวงจันทร์
 

โลกในสมัยแรกเริ่มถูกวัตถุใหญ่ขนาดดาวอังคารพุ่งเข้าชน
จนมวลสารบางส่วนแตกออกไปเป็นดวงจันทร์ทุกวันนี้
ผลการวิจัยที่แล้วๆมา ถึงกำเนิดของดวงจันทร์นั้น พบว่าราว 100 ล้านปีหลังจากการก่อตัวของระบบสุริยะ หรือในช่วง 4,600 ล้านปีที่แล้ว โลกซึ่งเพิ่งจะก่อตัวขึ้นใหม่ในเวลานั้น ผิวโลกยังเดือดพล่านไปด้วยหินหลอมเหลวร้อนระอุ ได้ถูกเทหวัตถุใหญ่ขนาดครึ่งหนึ่งของโลก ซึ่งนักดาราศาสตร์ตั้งชื่อว่า Theia พุ่งเข้าชน จนมวลสารปริมาณขนาดราว 1 ใน 4 ของผลรวมได้แยกตัวออกไปเและเย็นลงพร้อมกับโลก กลายป็นดวงจันทร์ทุกวันนี้

ที่ยังเป็นข้อถกเถียงกัน ก็คือลักษณะการชน นักดาราศาสตร์ในช่วงแรกยังไม่แน่ใจว่าโลกับ Theia ชนกันแบบจังๆชนิดที่ Theia พุ่งตัวยัดเข้าไปในโลกที่กำลังเป็นหินหลอมเหนียวหนืดตอนนั้น หรือ Theia แค่พุ่งชนแบบ “ถากๆ” แล้วลากเอามวลส่วนหนึ่งออกไปเป็นดวงจันทร์

ล่าสุดมีหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยเอ็ดเวิร์ด ยัง นักเคมีวิทยาโลกและอวกาศจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ได้เสนอข้อสรุปลักษณะการชนของโลกและ Theia จากหลักฐานใหม่ที่พบ นั่นคือ มวลสารขนาดใหญ่ที่แยกตัวออกไปเป็นดวงจันทร์นั้นมีองค์ประกอบไม่ต่างจากองค์ประกอบของโลกในยุคเริ่มแรก นั่นหมายความว่า การเข้าชนระหว่างโลกและ Theia เป็นการชนกันแบบจังๆ ไม่ใช่แค่เฉียดๆไป มวลสารของ Theia กับโลกจึงผสมปนเปกันจนเป็นเนื้อเดียวจากนั้นจึงแยกตัวออกไปเป็นดวงจันทร์ด้วยแรงโมเมนตัมที่หลงเหลือ

เอ็ดเวิร์ด ยัง และทีมงาน ใช้อัตราส่วนเปรียบเทียบของ oxygen-17 ซึ่งเป็นไอโซโทปของอ็อกซิเจนที่ได้จากหินบนดวงจันทร์ที่นำกลับมาจากโครงการอะพอลโล 12 , 15 และ 17 เปรียบเทียบกับหินบนโลกในการยืนยันความเห็นในเรื่องนี้ แต่เอ็ดเวิร์ด ก็ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า ทางทีมงานยังคงต้องการตัวอย่างหินจากดวงจันทร์เพิ่มเติมอีก เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่แน่ชัด เนื่องจากพบว่า แม้แต่หินที่เก็บมาจากสถานที่ 2 บนดวงจันทร์ ก็ยังพบว่ามีไอโซโทปของอ็อกซิเจนต่างกัน


suriya mardeegun

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น