เรื่อง การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
เรื่อง การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ และ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สาระสำคัญ สถานการณ์
ในโลกยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูง
ทำให้ประเทศต่างๆในโลกไม่สามารถอยู่ตามลำพังได้ ดังนั้น
จึงมีการรวมกลุ่มกันเพื่อแสวงหาลู่ทางที่จะทำให้ประเทศตนมีเสถียรภาพ
ความมั่นคงไปพร้อมๆกันกับการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า
ซึ่งหนทางหนึ่งที่ทุกประเทศให้การยอมรับว่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้เป้าหมาย
ดังกล่าวประสบความสำเร็จได้
ในขณะเดียวกันก็ยังช่วยสร้างอำนาจการต่อรองของตนให้มีมากขึ้น นั่นก็คือ
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
สาเหตุของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ1. เพื่อให้ความร่วมมือช่วยเหลือแก่ประเทศยากจน เป็นความช่วยเหลือที่ประเทศที่พัฒนาแล้วช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา โดยอาจช่วยแบบให้เปล่า หรือ ให้กู้เงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำ
2. เพื่อประโยชน์ทางด้านการเมืองระหว่างประเทศ เพราะผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเมืองมักจะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
3. เพื่อรักษาผลประโยชน์ทางด้านธุรกิจการค้าร่วมกัน คือ การทำข้อตกลงระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจและการทำการค้าระหว่างประเทศ
รูปแบบของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
1. การทำข้อตกลงและการเจรจาการค้า 2 ฝ่ายหรือทวิภาคี หมายถึง การทำข้อตกลงระหว่างประเทศ 2 ประเทศ
2. การทำข้อตกลงและการเจรจาการค้าหลายฝ่ายหรือพหุภาคี หมายถึง ข้อตกลงและการเจรจาการค้าระหว่างประเทศมากกว่า 2 ประเทศขึ้นไป
องค์การทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
1. ธนาคารโลก (World Bank) หรือธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนาระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ.2487
ผู้ก่อตั้ง ประเทศในอเมริกาเหนือและยุโรป สังกัด องค์การสหประชาชาติ สำนักงานใหญ่อยู่ที่ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.สหรัฐอเมริกา
จุดประสงค์การจัดตั้ง เป็นสื่อกลางในการระดมเงินทุนระหว่างประเทศ และจัดสรรทรัพยากรการเงินไปให้ประเทศสมาชิกใช้ในด้านการบูรณะและพัฒนาเศรษฐกิจ
บทบาทและหน้าที่
1. ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกในระยะยาว โดยการให้กู้ยืมเงินเพื่อนำไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น พัฒนาด้านการเกษตร อุตสาหกรรม แหล่งน้ำ ไฟฟ้า ถนน เขื่อน เป็นต้น
2. ให้คำแนะนำด้านวิชาการ โดยการสนับสนุนงานวิจัยในด้านต่างๆ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาประเทศ
3. ส่งผู้เชี่ยวชาญมาช่วยวิเคราะห์ปัญหาให้กับประเทศสมาชิกเพื่อเสนอมาตรการต่างๆที่จะช่วยแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในระยะยาว
ปัจจุบัน มีสมาชิกทั้งหมด 185 ประเทศ ประเทศไทยสมัครเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2492
2. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monatary Fund: IMF )
การจัดตั้ง ตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มเปิดดำเนินการ มีนาคม พ.ศ.2489 ผู้ก่อตั้ง กลุ่มประเทศพันธมิตร
ฐานะ เป็นทบวงชำนาญการพิเศษของ สหประชาชาติ สำนักงานใหญ่ อยุ่ที่ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา
การเข้าเป็นสมาชิก การสมัครเป็นสมาชิกกองทุนการเงินระหว่างประเทศจะต้องเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติอยู่ก่อนแล้ว
ปัจจุบัน มีสมาชิกทั้งหมด 182 ประเทศ ประเทศไทยสมัครเป็นสมาชิกลำดับที่ 44 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2492
จุดประสงค์การจัดตั้ง เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินระหว่างประเทศ อันจะรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
บทบาทหน้าที่
1. รักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
2. ให้ประเทศสมาชิกกู้ยืมเงินไปใช้เมื่อเกิดปัญหาการขาดดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ
3. ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการแก่ประเทศสมาชิก
4. ส่งเสริมให้การค้าระหว่างประเทศมีการขยายตัวอย่างสม่ำเสมอ
หลักปฏิบัติของ IMF 1. ประเทศสมาชิกจะต้องยินยอมให้มีการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศได้อย่างเสรี
2. ประเทศสมาชิกจะต้องแจ้งให้ IMF ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน การคลัง ทุนสำรองระหว่างประเทศ
3. ถ้า IMF แนะนำให้เปลี่ยนนโยบายอะไร ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตามเพราะการแนะนำจะเห็นถึงผลประโยชน์ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจโลก
4. ประเทศสมาชิกกู้เงินได้แต่ต้องคืนภายในเวลา 3 – 5 ปี หรืออย่างมากสุดก็ไม่เกิน 10 ปี โดยเก็บดอกเบี้ยในอัตราต่ำ แต่ก็สูงกว่าธนาคารโลก
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
1. องค์การการค้าโลก (WTO) เป็นองค์การที่พัฒนามาจากการทำข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า หรือ แกตต์(GATT)
การจัดตั้ง ตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ.2490 สำนักงานใหญ่ อยู่ที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์
ประเทศสมาชิก จำนวน 151 ประเทศ (สิงหาคม พ.ศ.2550) ประเทศไทยเป็นสมาชิกเป็นลำดับที่ 59 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2538 และมี
ฐานะเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งองค์การการค้าโลกด้วย
วัตถุประสงค์ ตั้งขึ้นเพื่อจะทำให้การค้าระหว่างประเทศของสมาชิกทั่วโลกเป็นไปอย่างราบ รื่น และมีความเป็นเสรีรวมทั้งเกิดความยุติธรรมในการค้าขายระหว่างกันมากขึ้น
บทบาทหน้าที่ จัดการดำเนินงานตามข้อตกลงทางการค้า ดำเนินการให้เกิดการต่อรองทางการค้า ยุติปัญหาข้อขัดแย้งเพื่อให้เกิดเสรีทาง
การค้า รวมทั้งให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการค้าแก่ประเทศกำลังพัฒนา
ประโยชน์ที่ไทยได้รับ ไทยเรียกร้องสิทธิในการผลิตยารักษาโรคราคาถูก และประสงค์ให้ผ้าไหมไทยและข้าวหอมมะลิได้รับการคุ้มครอง
2. สหภาพยุโรป (EU) มีพัฒนาการมาจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป , ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป , ประชาคมพลังงานปรมาณู รวมเป็น กลุ่มประชาคมยุโรป(EC) จนเมื่อพ.ศ.2535 ประเทศสมาชิกลงนามในสนธิสัญญามาสทริชท์จัดตั้งเป็น สหภาพยุโรปและก่อตั้งสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน (EMU) เพื่อให้ระบบการเงินและการคลังของยุโรปเป็นแบบเดียวกัน โดยกำหนดสกุล เงินยูโร เป็นสกุลเงินเดียวกัน
ประเทศสมาชิก มีจำนวน 27 ประเทศ (พ.ศ.2550) อยู่ในทวีปยุโรป
วัตถุประสงค์ เพื่อการรวมตัวทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การต่างประเทศ และสังคมในภูมิภาคยุโรป
บทบาทหน้าที่ ร่วมกันกำหนดนโยบายร่วมกันด้านเศรษฐกิจ การต่างประเทศ ความมั่นคงและสังคม เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งภายในประเทศสมาชิกและสามารถสร้างอำนาจต่อรองทางการ ค้ากับประเทศอื่นๆในตลาดโลกได้
3. องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจแห่งเอเชียและแปซิฟิกหรือ เอเปก (APEC)
การจัดตั้ง ตั้งครั้งแรกที่กรุงแคนเบอร์รา ออสเตรเลย ปีพ.ศ.2532 ต่อมาในปี 2537 การประชุมผู้นำประเทศที่เมืองโบกอร์ อินโดนีเซีย ตกลงให้มีการเปิดเสรีทางการค้าร่วมกัน เอเปกจึงพัฒนาเป็นกลุ่มการค้ามากขึ้น ไทยเป็นประเทศสมาชิกที่ร่วมก่อตั้ง เอเปก ตั้งแต่ปีพ.ศ.2532
ประเทศสมาชิก ปัจจุบันมี 21 เขตเศรษฐกิจ ถือเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีประชากรโดยรวมมากที่สุด
วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการค้าเสรีระหว่างประเทศและให้ความร่วมมือกันในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจการค้าในภูมิภาค
บทบาทหน้าที่ เป็นเวทีหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาวะและการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจของสมาชิกและในภูมิภาค
ประโยชน์ที่ไทยได้รับ ได้ตลาดการค้ามากขึ้น , ไทยมีอำนาจถ่วงดุลทางการค้ามากขึ้น และ ไทยเป็นที่รู้จักในเวทีการค้าโลกมากขึ้น
ไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพประชุมระดับผู้นำประเทศของกลุ่มเอเปก เมื่อ ปีพ.ศ.2546 สมัย ดร. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
4. สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน (ASEAN)การจัดตั้ง ตั้งเมื่อ 8 สิงหาคม 2510 มีสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ 1.อินโดนีเซีย 2. มาเลเซีย 3.ฟิลิปปินส์ 4.สิงคโปร์ 5. ไทย
สมาชิก มี 10 ประเทศได้แก่ 1.อินโดนีเซีย 2. มาเลเซีย 3.ฟิลิปปินส์ 4.สิงคโปร์ 5. ไทย 6. บรูไน 7. เวียดนาม 8. ลาว 9. พม่า 10. กัมพูชา
วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ ตลอดจนการสร้างสันติภาพและความมั่นคงให้เกิดขึ้นภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้
บทบาทหน้าที่ ให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกในทางเศรษฐกิจ สังคม โดยพัฒนาให้เกิดศักยภาพมีความเข้มแข็งเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองในการเจรจา การค้ากับประเทสมหาอำนาจต่างๆได้
5. เขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ อาฟตา (AFTA) เกิดจากการประชุมผู้นำอาเซียน ประชุมหารือเพื่อให้อาเซียนแข่งขันกับประเทศอื่นได้ โดยไทยมีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้น ได้ประกาศเจตนารมณ์และโน้มน้าวให้ประเทศต่างๆร่วมมือกันจัดตั้งเขตการค้า เสรีอาเซียนขึ้น โดยจัดตั้ง AFTA ในปี พ.ศ.2535 มี สมาชิก 10 ประเทศ (สมาชิกอาเซียน)
วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้การค้าในอาเซียนมีการขยายตัวมากขึ้นและมีความเป็นเสรีและ ดึงดูดให้ประเทศอื่นนอกภูมิภาคเข้ามาลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียนมากขึ้น
บทบาทหน้าที่ เจรจาและหารือกันเพื่อกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการค้าเสรีในภูมิภาคอาเซียน เพื่อพัฒนาคุณภาพและปริมาณของการผลิตสินค้าของประเทศสมาชิกให้สามารถแข่งขัน กับตลาดโลกได้
ประโยชน์ที่ไทยได้รับ ไทยส่งสินค้าออกได้มากขึ้นทั้งด้านชนิดและปริมาณ รวมถึงกลายเป็นจุดดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศ
วิชา สังคมศึกษา 3 ( ส 33101 )
|
ใบความรู้ที่ 2
|
หน่วย ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
|
ชั้น ม.3
|
เรื่อง การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ และ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
|
สาระ เศรษฐศาสตร์
|
1. เพื่อให้ความร่วมมือช่วยเหลือแก่ประเทศยากจน เป็นความช่วยเหลือที่ประเทศที่พัฒนาแล้วช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา โดยอาจช่วยแบบให้เปล่า หรือ ให้กู้เงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำ
2. เพื่อประโยชน์ทางด้านการเมืองระหว่างประเทศ เพราะผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเมืองมักจะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
3. เพื่อรักษาผลประโยชน์ทางด้านธุรกิจการค้าร่วมกัน คือ การทำข้อตกลงระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจและการทำการค้าระหว่างประเทศ
รูปแบบของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
1. การทำข้อตกลงและการเจรจาการค้า 2 ฝ่ายหรือทวิภาคี หมายถึง การทำข้อตกลงระหว่างประเทศ 2 ประเทศ
2. การทำข้อตกลงและการเจรจาการค้าหลายฝ่ายหรือพหุภาคี หมายถึง ข้อตกลงและการเจรจาการค้าระหว่างประเทศมากกว่า 2 ประเทศขึ้นไป
องค์การทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
1. ธนาคารโลก (World Bank) หรือธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนาระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ.2487
ผู้ก่อตั้ง ประเทศในอเมริกาเหนือและยุโรป สังกัด องค์การสหประชาชาติ สำนักงานใหญ่อยู่ที่ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.สหรัฐอเมริกา
จุดประสงค์การจัดตั้ง เป็นสื่อกลางในการระดมเงินทุนระหว่างประเทศ และจัดสรรทรัพยากรการเงินไปให้ประเทศสมาชิกใช้ในด้านการบูรณะและพัฒนาเศรษฐกิจ
บทบาทและหน้าที่ ให้ความช่วยเหลือ แนะนำ รวมถึงส่งผู้เชี่ยวชาญ ช่วยวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจให้แก่ประเทศสมาชิก
ประเทศสมาชิก มีสมาชิกทั้งหมด 185 ประเทศ ประเทศไทยสมัครเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2492
2. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monatary Fund: IMF )
การจัดตั้ง ตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มเปิดดำเนินการ มีนาคม พ.ศ.2489 ผู้ก่อตั้ง กลุ่มประเทศพันธมิตร
ฐานะ เป็นทบวงชำนาญการพิเศษของ สหประชาชาติ สำนักงานใหญ่ อยุ่ที่ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา
การเข้าเป็นสมาชิก การสมัครเป็นสมาชิกกองทุนการเงินระหว่างประเทศจะต้องเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติอยู่ก่อนแล้ว
ปัจจุบัน มีสมาชิกทั้งหมด 182 ประเทศ ประเทศไทยสมัครเป็นสมาชิกลำดับที่ 44 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2492
จุดประสงค์การจัดตั้ง เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินระหว่างประเทศ อันจะรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
บทบาทหน้าที่ ให้คำแนะนำและช่วยเหลือทางด้านวิชาการและทางการให้กู้ยืมเงินแก่ประเทศสมาชิก เมื่อเกิดปัญหาการขาดดุลการชำระเงิน
ระหว่างประเทศ รวมถึงรักษาเสถียรภาพของอัตราการแลกเปลี่ยนด้วย
หลักปฏิบัติของ IMF 1. สมาชิกยินยอมให้มีการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศได้อย่างเสรี 2. ต้องแจ้งให้ IMF ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน การคลัง ทุนสำรองระหว่างประเทศ 3. ถ้า IMF แนะนำให้เปลี่ยนนโยบายอะไร ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตาม
4. ประเทศสมาชิกกู้เงินได้แต่ต้องคืนภายในเวลา 3 – 5 ปี หรืออย่างมากสุดก็ไม่เกิน 10 ปี โดยเก็บดอกเบี้ยในอัตราต่ำ แต่ก็สูงกว่าธนาคารโลก
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
1. องค์การการค้าโลก (WTO) เป็นองค์การที่พัฒนามาจากการทำข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า หรือ แกตต์(GATT)
การจัดตั้ง ตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ.2490 สำนักงานใหญ่ อยู่ที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์
ประเทศสมาชิก จำนวน 151 ประเทศ (สิงหาคม พ.ศ.2550) ประเทศไทยเป็นสมาชิกเป็นลำดับที่ 59 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2538 และมี
ฐานะเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งองค์การการค้าโลกด้วย
วัตถุประสงค์ ตั้งขึ้นเพื่อจะทำให้การค้าระหว่างประเทศของสมาชิกทั่วโลกเป็นไปอย่างราบ รื่น และมีความเป็นเสรีรวมทั้งเกิดความยุติธรรมในการค้าขายระหว่างกันมากขึ้น
บทบาทหน้าที่ จัดการดำเนินงานตามข้อตกลงทางการค้า ดำเนินการให้เกิดการต่อรองทางการค้า ยุติปัญหาข้อขัดแย้งเพื่อให้เกิดเสรีทาง
การค้า รวมทั้งให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการค้าแก่ประเทศกำลังพัฒนา
ประโยชน์ที่ไทยได้รับ ไทยเรียกร้องสิทธิในการผลิตยารักษาโรคราคาถูก และประสงค์ให้ผ้าไหมไทยและข้าวหอมมะลิได้รับการคุ้มครอง
2. สหภาพยุโรป (EU) มีพัฒนาการมาจากประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป , ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป , ประชาคมพลังงานปรมาณู รวมเป็น กลุ่มประชาคมยุโรป(EC) จนเมื่อพ.ศ.2535 ประเทศสมาชิกลงนามในสนธิสัญญามาสทริชท์จัดตั้งเป็น สหภาพยุโรปและก่อตั้งสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน (EMU) เพื่อให้ระบบการเงินและการคลังของยุโรปเป็นแบบเดียวกัน โดยกำหนดสกุล เงินยูโร เป็นสกุลเงินเดียวกัน
ประเทศสมาชิก มีจำนวน 27 ประเทศ (พ.ศ.2550) อยู่ในทวีปยุโรป
วัตถุประสงค์ เพื่อการรวมตัวทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การต่างประเทศ และสังคมในภูมิภาคยุโรป
บทบาทหน้าที่ ร่วมกันกำหนดนโยบายร่วมกันด้านเศรษฐกิจ การต่างประเทศ ความมั่นคงและสังคม เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งภายในประเทศสมาชิกและสามารถสร้างอำนาจต่อรองทางการ ค้ากับประเทศอื่นๆในตลาดโลกได้
3. องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจแห่งเอเชียและแปซิฟิกหรือ เอเปก (APEC)
การจัดตั้ง ตั้งครั้งแรกที่กรุงแคนเบอร์รา ออสเตรเลย ปีพ.ศ.2532 ต่อมาในปี 2537 การประชุมผู้นำประเทศที่เมืองโบกอร์ อินโดนีเซีย ตกลงให้มีการเปิดเสรีทางการค้าร่วมกัน เอเปกจึงพัฒนาเป็นกลุ่มการค้ามากขึ้น ไทยเป็นประเทศสมาชิกที่ร่วมก่อตั้ง เอเปก ตั้งแต่ปีพ.ศ.2532
ประเทศสมาชิก ปัจจุบันมี 21 เขตเศรษฐกิจ ถือเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีประชากรโดยรวมมากที่สุด
วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการค้าเสรีระหว่างประเทศและให้ความร่วมมือกันในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจการค้าในภูมิภาค
บทบาทหน้าที่ เป็นเวทีหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาวะและการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจของสมาชิกและในภูมิภาค
ประโยชน์ที่ไทยได้รับ ได้ตลาดการค้ามากขึ้น , ไทยมีอำนาจถ่วงดุลทางการค้ามากขึ้น และ ไทยเป็นที่รู้จักในเวทีการค้าโลกมากขึ้น
ไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพประชุมระดับผู้นำประเทศของกลุ่มเอเปก เมื่อ ปีพ.ศ.2546 สมัย ดร. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
4. สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน (ASEAN)การจัดตั้ง ตั้งเมื่อ 8 สิงหาคม 2510 มีสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ 1.อินโดนีเซีย 2. มาเลเซีย 3.ฟิลิปปินส์ 4.สิงคโปร์ 5. ไทย
สมาชิก มี 10 ประเทศได้แก่ 1.อินโดนีเซีย 2. มาเลเซีย 3.ฟิลิปปินส์ 4.สิงคโปร์ 5. ไทย 6. บรูไน 7. เวียดนาม 8. ลาว 9. พม่า 10. กัมพูชา
วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ ตลอดจนการสร้างสันติภาพและความมั่นคงให้เกิดขึ้นภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้
บทบาทหน้าที่ ให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกในทางเศรษฐกิจ สังคม โดยพัฒนาให้เกิดศักยภาพมีความเข้มแข็งเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองในการเจรจา การค้ากับประเทสมหาอำนาจต่างๆได้
5. เขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ อาฟตา (AFTA) เกิดจากการประชุมผู้นำอาเซียน ประชุมหารือเพื่อให้อาเซียนแข่งขันกับประเทศอื่นได้ โดยไทยมีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้น ได้ประกาศเจตนารมณ์และโน้มน้าวให้ประเทศต่างๆร่วมมือกันจัดตั้งเขตการค้า เสรีอาเซียนขึ้น โดยจัดตั้ง AFTA ในปี พ.ศ.2535 มี สมาชิก 10 ประเทศ (สมาชิกอาเซียน)
วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้การค้าในอาเซียนมีการขยายตัวมากขึ้นและมีความเป็นเสรีและ ดึงดูดให้ประเทศอื่นนอกภูมิภาคเข้ามาลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียนมากขึ้น
บทบาทหน้าที่ เจรจาและหารือกันเพื่อกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการค้าเสรีในภูมิภาคอาเซียน เพื่อพัฒนาคุณภาพและปริมาณของการผลิตสินค้าของประเทศสมาชิกให้สามารถแข่งขัน กับตลาดโลกได้
ประโยชน์ที่ไทยได้รับ ไทยส่งสินค้าออกได้มากขึ้นทั้งด้านชนิดและปริมาณ รวมถึงกลายเป็นจุดดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 9 สาระสำคัญโดยย่อ
ฉบับที่ 1 เริ่มใช้ในปี พ.ศ.2504 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี เน้น การขยายบริการเศรษฐกิจขั้นพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้า ถนน รถไฟฉบับที่ 2 เป็นแผนพัฒนาฯ ฉบับแรกที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจคู่กับการพัฒนาสังคม เน้นการลงทุนและพัฒนาคุณภาพประชากร
ฉบับที่ 3 เน้น การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการส่งเสริมการผลิตต่อเนื่องจากแผนฯฉบับที่ 2 มีนโยบายเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว
ฉบับที่ 4 เน้น การฟื้นฟูฐานะทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมอุตสาหกรรมการส่งออกและการกระจายรายได้เพื่อขจัดปัญหาความยากจนของประชาชน
ฉบับที่ 5 เน้น การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจมากกว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการแก้ปัญหาความยากจนของคนในชนบท
ฉบับที่ 6 เน้น การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาทรัพยากร สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ คน สังคมและวัฒนธรรม
ฉบับที่ 7 ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
ฉบับที่ 8 เน้น การพัฒนากำลังคน ฉบับที่ 9 นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศให้ประชาชนสามารถพึ่งตน เองได้เพื่อแก้ปัญหาความยากจน ยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศ ฉบับที่ 10 ฉบับที่ใช้ในปัจจุบัน (2550-2554)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น