วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์

เทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์
logo_p001
ความหมาย
เทคโนโลยี
หมายถึง วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฎิบัติและอุตสาหกรรม
ภูมิศาสตร์
หมายถึง ศาสตร์ว่าด้วยการจัดการพื้นที่และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์อาศัยอยู่ ตลอดจนองค์ประกอบด้านสังคมมนษย์ โดยศึกษาลักษณะ ความหมาย รูปแบบ การกระจาย กระบวนการเกิด การเปลี่ยนแปลง วิวัฒนาการ ตลอดจนความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งในอดีตและปัจจุบัน
เทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์
หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการศึกษา เกี่ยวกับพื้นที่และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์อาสัยอยู่ รวมทั้งองค์ประกอบด้านสังคมมนุษย์
เทคโนโลยทางภูมิศาสตร์
1. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS)
หมายถึง หมายถึง เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ออกแบบขึ้นเพื่อรวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์ สืบค้น รวมทั้งแสดงผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์
การนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ใช้ทำแผนที่มีขั้นตอน ดังนี้
1.1 การนำเข้าข้อมูล ก่อนที่จะนำข้อมูลทางภูมิศาสตร์เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องแปลงข้อมูล ทางภูมิศาสตร์ให้อยูในรูปของตัวเลขก่อน เช่น ภาพจากดาวเทียม แผนที่มูลฐาน แหล่งข้อมูลอื่นๆนำมา แปลงข้อมูลเป็นตัวเลข
1.2 การจัดการข้อมูล คือ ออกแบบ วางแผน และจัดรูปแบบข้อมูลเพื่อจัดทำแผนที่
1.3 การแสดงผล คือ นำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลมานำเสนอในรูปแบบของ แผนที่
lo2
ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างแผนที่และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
แผนที่และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่จัดเก็บรวบรวม และเสนอความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพื้นที่เหมือนกัน
ความแตกต่าง คือ แผนที่นำเสนอข้อมูลต่างๆ ลงในกระดาษหรือพื้นที่ผิวราบ แต่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์นำเสนอข้อมูลได้ทั้งเชิงตัวเลขและกระดาษ หรือพื้นที่ผิวราบ
2. การรับรู้จากระยะไกล (Remote Sensing : RS)
คือ การใช้ความรู้และเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ชั้นสูงมาประยุกต์ใช้ในการสังเกต การค้นหาและการวิเคราะห์ข้อมูล ของวัตถุหรือเป้าหมายที่สนใจ เพื่อให้รับรู้ว่าสิ่งนั้นหรือเป้าหมายคืออะไร โดยที่เราไม่ต้องเข้าไปสัมผัสหรือมีส่วนร่วมโดยตรง เป้าหมายในที่นี้อาจจะหมายถึง พื้นที่ที่ใช้ในการสำรวจ หาข้อมูลก็ได้ หรือบริเวณที่สนใจ
เทคโนโลยีการรับรู้ระยะไกลเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกประมาณ พ.ศ.2503 เมื่อสหรัฐอเมริกาส่งดาวเทียมขึ้นไปบนท้องฟ้า เพื่อใช้ในกิจการทางทหาร และเมื่อดาวเทียม LANDSAT ได้ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรของโลก เพื่อสำรวจทรัพยากร และพื้นที่บนโลก
เทคโนโลยีการรับรู้ระยะไกลจึงเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น หลักการทำงานของ รีโมตเซนซิ่ง คือ การใช้คุณสมบัติของการสะท้อนของคลื่น และการปลดปล่อยพลังงานของวัตถุมาประยุกต์ใช้ ซึ่งวัตถุแต่ละชนิด มีการตอบสนองการสะท้อนของคลื่นและการปลดปล่อยพลังงานแตกต่างกัน
imagesCAZSBS2C
optical1
การนำการรับรู้ระยะไกลมาใช้มีหลักการ ดังนี้
1. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
จากแหล่งพลังงานธรรมชาติ คือ ดวงอาทิตย์ แหล่งพลังงานที่สร้างจากดาวเทียม เคลื่อนที่ผ่านชั้นบรรยากาศสู่พื้นผิวโลก พลังงานดังกล่าวจะมีปฏิกิริยากับบรรยากาศและพื้นผิวโลก ดาวเทียมบันทึกการสะท้อน หรือ การเปล่งรังสีของพื้นโลก จะส่งข้อมูลตัวเลขมายังสถานนีรับทางภาคพื้นดิน
2. พลังงานจากพื้นโลก
ถุกบันทึกด้วยอุปกรณ์ข้อมูลที่ติดตั้งในตัวยาน แล้วถ่ายหอดไปยังสถานีรับภาคพื้นดิน เพื่อผลิตข้อมูลในรูปของภาพและข้อมูลเชิงตัวเลข
3. การตีความและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อสนเทศ
ข้อมูลที่ได้บันทึกด้วยดิจิทัล อยู่ในรูปของภาพถ่าย จะถูกนำมาวิเคราะห์ ซึ่งทำได้ด้วยการแปลด้วยสายตาหรือการวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
rs0011
3. ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System :GPS)
153425
ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก หรือ Global Positioning System : GPS ซึ่งถ้าแปลให้ตรงตัวแล้วคือ “ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก” ระบบนี้ได้พัฒนาขึ้นโดยกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจัดทำโครงการ Global Positioning System มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 โดยอาศัยดาวเทียมและระบบคลื่นวิทยุนำร่องและรหัสที่ส่งมาจากดาวเทียม NAVSTAR จำนวน 24 ดวง โดยแบ่งเป็นชุด ชุดละ 4 ดวงโดยทำการโคจรอยู่รอบโลกวันละ 2 รอบ และมีตำแหน่งอยู่เหนือพื้นโลกที่ความสูง 20,200 กิโลเมตร
องค์ประกอบหลักของ GPS
ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ ส่วนอวกาศ (Space segment) ส่วนสถานีควบคุม (Control segment) และส่วนผู้ใช้ (User segment)
1. ส่วนอวกาศ(Space segment)
เป็นส่วนที่อยู่บนอวกาศ ประกอบด้วยดาวเทียม 24 ดวง โดยมี 21 ดวง แบ่งเป็น 6 วงโคจร วงโคจรละ 4 ดวง อยู่สูงจากพิ้นดินประมาณ 20,200 กิโลเมตร ทำหน้าที่ส่งสัญญาณคลื่นวิทยุจากอวกาศ
gps_satellite_nasa
2.ส่วนสถานีควบคุม(Control segment)
ประกอบไปด้วยสถานีภาคพื้นดินที่ควบคุมระบบ ที่กระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของโลก โดยแบ่งออกเป็นสถานีควบคุมหลัก ตั้งอยู่ที่ฐานทัพอากาศในเมืองโคโลราโดปสริงส์ (Colorado Springs) มลรัฐโคโรลาโดของสหรัฐอเมริกาสถานีติดตามดาวเทียม 5 แห่ง ทำการรังวัดติดตามดาวเทียมตลอดเวลา สถานีรับส่งสัญญาณ 3 แห่ง
3. ส่วนผู้ใช้ (User segment)
ประกอบด้วยเครื่องรับสัญญาณ หรือเครื่องรับจีพีเอส GPS ซึ่งมีหลายขนาด สามารถพกพาติดตัวหรือ จะติดไว้ในรถ เรือ เครื่องบินก็ได้
45e81_gps60
gps-fm2
ความรู้เพิ่มเติม
ดาวเทียมธีออส (THEOS : Thailand Earth Observation Satellite)
เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) เพื่อใช้สำรวจทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย โดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส ดำเนินงานโดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ. หรือ GISTDA) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ บริษัท อี เอ ดี เอส แอสเตรียม (EADS Astrium) ประเทศฝรั่งเศส ด้วยงบประมาณ 6,000 ล้านบาท นับเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
theos-3
ดาวเทียมไทยคม เป็นโครงการ ดาวเทียมสื่อสาร เพื่อให้บริการสื่อสารผ่านช่องสัญญาณดาวเทียม ซึ่งกระทรวงคมนาคม (ในขณะนั้น) ต้องการจัดหาดาวเทียมเพื่อรองรับการขยายตัวด้านการสื่อสารของประเทศอย่างรวด เร็ว แต่ในเวลานั้นประเทศไทยยังไม่มีดาวเทียมเป็นของตนเอง และต้องทำการเช่าวงจรสื่อสารจากดาวเทียมของประเทศต่างๆ ทำให้ให้เกิดความไม่สะดวกและสูญเสียเงินออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากการจัดสร้างดาวเทียมต้องใช้เงินลงทุนสูงมากจึงได้มีการเปิด ประมูลเพื่อให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการแทนการใช้งบประมาณจาก ภาครัฐ และ บริษัท ชินวัตร แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานเมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา เป็นระยะเวลา 30 ปี (ปัจจุบันอำนาจการดูแลสัญญาโอนไปที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) ชื่อ “ไทยคม” (Thaicom) เป็นชื่อพระราชทาน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน โดยย่อมาจาก Thai Communications ในภาษาอังกฤษ
imagesNZTOGLTL
ดาวเทียม Landsat – 7
ดาวเทียม Landsat-7 เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรของสหรัฐอเมริกา โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบ 3 หน่วยงานคือองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Aeronautics and Space Administration : NASA) องค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Oceanic and Atmospheric Administration : NOAA) และกรมสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey : USGS) ส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2542 สูงจากพื้นโลก 705 ก.ม. โคจรสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ในแนวเหนือใต้และโคจรซ้ำบริเวณเดิมทุก 16 วัน ซึ่งประกอบด้วยระบบบันทึกข้อมูลหลายช่วงคลื่น (Multispectral) รายละเอียดภาพ 30 เมตร และระบบบันทึกข้อมูลช่วงคลื่อนเดียว (Panchromatic) รายละเอียดภาพ 15 เมตร
แต่ละแบนด์มีประโยชน์ดังนี้
แบนด์ 1ใช้ในการทำแผนที่บริเวณชายฝั่งแยกความแตกต่างระหว่างดินและพืชพรรณ
แบนด์ 2 ใช้ประเมินความแข็งแรงของพืช
แบนด์ 3 ใช้แยกชนิดของพืชพรรณ
แบนด์ 4 ใช้ประเมินปริมาณของมวลชีวภาพ (biomass) และจำแนกแหล่งน้ำ
แบนด์ 5 ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความชื้นของดินความแตกต่างระหว่างเมฆกับหิมะ
แบนด์ 6 ใช้หาแหล่งพลังงานความร้อน
แบนด์ 7 ใช้จำแนกชนิดของหิน และการทำแผนที่แสดงบริเวณพลังความร้อนจากน้ำ (hydrothermal)
ดาวเทียม SPOT
apps_087
ดาวเทียม SPOT ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดยสถาบันอวกาศแห่งชาติของฝรั่งเศสร่วมกับประเทศใน กลุ่มยุโรปอุปกรณ์บันทึกข้อมูลของ SPOT ประกอบไปด้วยระบบบันทึกข้อมูลรายละเอียดสูง 2 ระบบ คือระบบหลายช่วงคลื่นที่มี 3 แบนด์ สมรรถนะของระบบบันทึกข้อมูลของดาวเทียม SPOT ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือสามารถถ่ายภาพแนวเฉียง และนำมาศึกษาได้ในลักษณะ 3 มิติ ซึ่งให้รายละเอียดความลึกและความสูงของวัตถุได้ อันเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในเชิงรายละเอียดได้ถูกต้องและมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ข้อมูลจากSPOT นำไปใช้ศึกษาการสำรวจพื้นที่และแยกชนิดของป่า รวมทั้งไฟป่า การทำแผนที่ การใช้ที่ดิน ธรณีวิทยา อุทกวิทยา แหล่งน้ำสมุทรศาสตร์ชายฝั่ง การพังทลายและการตกตะกอนติดตามการประเมินผลสิ่งแวดล้อมและมลภาวะการขยายตัว เมือง และการตั้งถิ่นฐาน เป็นต้น ในอนาคตดาวเทียม SPOT ก็จะได้รับการปรับปรุงเพื่อเพิ่มสมรรถนะให้มีประโยชน์มากขึ้นเช่นเดียวกับ ดาวเทียมดวงอื่นๆ
ดาวเทียม MOS-1
ขององค์การพัฒนาอวกาศแห่งชาติญี่ปุ่น มีอุปกรณ์เก็บบันทึกข้อมูล 3 ระบบ คือ
1. ระบบ Multispectral Electronic Self Scanning Radiometer (MESSR) มี 4 แบนด์ ให้รายละเอียด 50 เมตร X 50เมตร ใช้สำรวจทรัพยากรเช่นเดียวกับข้อมูล MSS ของ LANDSAT
2. ระบบ Visible Thermal Infrared Radiometer (VTIR) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอุณหภูมิต่างๆในทะเลอันเป็นประโยชน์ต่อการประมง การปกคลุมของเมฆและไอน้ำ เป็นประโยชน์ในการพยากรณ์อวกาศ
3. ระบบ Microwave Scanning Radiometer(MSR) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณไอน้ำ และปริมาณน้ำ ลมทะเล การแผ่ปกคลุมของหิมะและน้ำแข็งในทะเล
ดาวเทียม QuickBird
เป็นดาวเทียมเชิงพาณิชย์ของ สหรัฐอเมริกา โดยบริษัท Digital Globe ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ณ ฐานทัพอากาศ Vandenberg รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ตรวจสอบลักษณะน้ำชายฝั่ง, แยกพืชและสภาพความเขียว แยกชนิดพืช ความแตกต่างของน้ำและส่วนที่ไม่ใช่น้ำ,ปริมาณ มวลชีวะ

suriya mardeegun

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น