วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ชาวจีนโพ้นทะเล Oversea Chinese หัวเฉีย

ชาวจีนโพ้นทะเล Oversea Chinese หัวเฉีย


1ก่อนการปฏิวัติที่ซิงไห่ ปี 1911 ชาวจีนโพ้นทะเลในต่างประเทศถูกบังคับให้ใส่ชุดและไว้ผมเพื่อแสดงความภักดีต่อราชวงศ์ชิง

2ภาพวาดคนจีนบนเรือกลไฟมุ่งหน้าสู่อเมริกา

3ชาว จีนสร้างทางรถไฟข้ามทวีปอเมริกากลางหิมะ
1 ลีกวนยู ปธน.บิดาแห่งสิงคโปร์
File:Lee Kuan Yew.jpg

2.ดร.Steven Chu รมต.กระทรวงพลังงานในรัฐบาลโอบามาผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ USA
File:Steven Chu official DOE portrait crop.jpg

3 พตท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย,ลี้ภัยการทำลายล้างกันทางการเมืองในประเทศปี2008
File:Thaksin crop.jpg

4.นาง Elaine Chao รมต.กระทรวงแรงงานในรัฐบาลบุช USA
File:Elaine Chao large.jpg

5 พลเอกขิ่นย่น นายกรัฐมนตรีพม่า
File:Khin Nyunt.jpg

6 นางคอราซอน อาคิโนสตรีเหล็ก นายกรัฐมนตรีฟิลิปปินส์

 
Overseas Chinese 海外華人 海外华人 外籍華人
ชาวจีนโพ้นทะเล (อังกฤษ: Overseas Chinese ; จีน: 華僑 huáqiáo หัวเฉียว, 華胞 huábāo หัวเปา, 僑胞 qiáobāo เฉียวเปา, 華裔 huáyì หัวอี้) คือ กลุ่มคนจีน หรือเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ภายนอกประเทศจีน คำว่าประเทศจีนในที่นี้ หมายความได้ถึง จีนแผ่นดินใหญ่ รวมทั้งดินแดนภายใต้การปกครองของรัฐบาล สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งได้แก่ ฮ่องกง มาเก๊า และ ไต้หวัน (สาธารณรัฐประชาชนจีน ถือว่า ไต้หวัน เป็นเพียงมณฑลหนึ่งของตน และปัจจุบัน สหประชาชาติ มิได้รับรองฐานะไต้หวันให้เป็นสาธารณรัฐจีนแต่อย่างใด)
คำว่า จีนโพ้นทะเล หากมองแคบๆเจาะจง หมายถึงชาวจีนเชื้อสายฮัน หากมองแบบกว้างขึ้นก็ให้หมายรวมเอา ทั้งหมด 56 กลุ่มชาติพันธุ์คนกลุ่มน้อยในประเทศจีนเข้าไปด้วย ปัจจุบันมีชาวจีนโพ้นทะเล ที่เป็นชนกลุ่มน้อยในต่างประเทศจำนวนประมาณ 7 ล้านคนหรือประมาณ 8.4% ของประชากรชาวจีนโพ้นทะเล ทั้งหมดในต่างประเทศ.  ในประเทศมาเลเซีย, ได้เรียก/จัดให้คนจีนโพ้น ว่า Peranakan
เนื่องจากชาวจีนโพ้นทะเล และชาวจีนในจีน ทั้ง 2 กลุ่มนี้ มีวัฒนธรรมและสังคมที่ใกล้เคียงกันอย่างยิ่ง เพียงแค่ที่อยู่ทางภูมิศาสตร์ที่ห่างไกลเท่านั้น จากผลสำรวจพบว่าชาวจีนในโพ้นทะเล มีความคิด ทัศนคติ ว่าเป็นตนส่วนหนึ่งของชาติที่ตนอยู่มากกว่าประเทศจีน
การใช้คำ
มีศัพท์เพียง 2 คำที่ได้บัญญัติความหมายใช้เรียกชาวจีนโพ้นทะเลอย่างเป็นทางการ ได้แก่
  • หัวเฉียว huáqiáo (华侨 / 華僑) หมายถึงชาวจีนโพ้นทะเลที่เกิดในประเทศจีน ชาวจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศอื่นที่ไม่ใช่จีน
  • หัวอี้ huáyì (华裔 / 華裔) ใช้เรียกลูกหลานของบรรพบุรุษชาวจีนที่เกิดในประเทศต่าง ๆ,หรือ คนเชื้อชาติจีนที่อาศัยอยู่ นอกประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ชาวจีนโพ้นทะเล ที่เป็นจีนฮั่นได้แก่ กวางตุ้ง , ฮกเกี้ยน ,แต้จิ๋ว หรือ ฮากกา ได้เรียกชาวจีนโพ้นทะเล ด้วยกันว่า ถังเริ่น 唐人(tángrén), ออกเสียงในภาษา กวางตุ้ง ว่า ถองเยิ่น , ตึ่ง ลัง ในภาษา ฮกเกี้ยน ,ตึ่ง นั้ง ในภาษาแต้จิ๋ว และ ถอง หงิ่น ในภาษา ฮากกา . มีรากศัพท์มาจากคำว่า ประชาชน ถัง แห่งราชวงศ์ถัง เมื่อครั้งราชวงศ์ถังปกครองประเทศจีน และได้ใช้เรียกชาวจีนด้วยกันสืบมาแต่นั้น  แม้ว่าคนจีน กวางตุ้ง , ฮากกา ,แต้จิ๋ว และ ฮกเกี้ยน แทบจะไม่มีความหมายเกี่ยวข้องกับราชวงศ์โบราณ เลย
 
 
ไชนาทาวน์ย่านคนจีนใน
1 สหรัฐ,ซานฟรานซิสโก
File:San Francisco Chinatown.jpg
2 ลิเวอรพูล,อังกฤษ
File:Liverpool China Town Chinese Arch.jpg
3 โยโกฮามา ญื่ปุ่น

4 ซิดนีย์ ออสเตรเลีย

 
สถิติประชากรชาวจีนโพ้นทะเล
ภาษาที่ใช้: ภาษาจีนถิ่นต่าง และภาษาต่างๆของประเทศที่เขาอาศัยอยู่
ศาสนา: ส่วนใหญ่เป็น พุทธ , ลัทธิเต๋า กับ ลัทธิของขงจื๊อ . และ คริสเตียน
จำนวนประชากรทั้งหมด (ประมาณ) สี่สิบล้านคน
ชาวจีนโพ้นทะเล ตามภูมิภาคที่สำคัญ ประชากร(คน)
ประชากรชนกลุ่มใหญ่ ในเกาะสิงคโปร์ และคริสต์มาส 3,610,400 3,610,400  
ประชากรชนกลุ่มน้อย ในประเทศอินโดนีเซีย 7,776,000  
ประเทศไทย 7,053,240  
ประเทศมาเลเซีย 6,324,000  
ประเทศสหรัฐอเมริกา 3,858,000  
ประเทศแคนาดา 1,318,000  
ประเทศเวียดนาม 1,309,000  
เปรู 1,300,000  
ฟิลิปปินส์ 1,170,000  
พม่า 1,121,000  
ออสเตรเลีย 669,896  
ประเทศญี่ปุ่น 655,377  
ประเทศรัสเซีย 500,000  
สหราชอาณาจักร 400,000  
ประเทศกัมพูชา 355,000  
แอฟริกาใต้ 350,000  
ประเทศฝรั่งเศส 233,000  
ประเทศอินเดีย 196,000  
ประเทศลาว 190,000  
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 180,000  
ประเทศบราซิล 156,000  
นิวซีแลนด์ 147,570  
อิตาลี 144,885  
ปานามา 135,000  
ประเทศสเปน 134,022  
ประเทศคิวบา 114,242  
ประเทศเนเธอร์แลนด์ 110,000  
ประเทศเยอรมัน 109,000  
แองโกลา 100,000  
 
ประวัติศาสตร์การอพยพย้ายถิ่นของคนจีน
มีการอพยพย้ายถิ่นของคนจีนหลายระลอกไปอยู่ต่างประเทศ ในถิ่นโพ้นทะเลหลายกลุ่มย่อยทั่วโลก ประมาณว่านอกเขตสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งได้แก่ ฮ่องกง มาเก๊า และ ไต้หวันแล้ว ยังมีชาวจีนอีกราว 40 ล้านคน ทั้งผู้อพยพชาวจีนเก่าและใหม่ อาศัยอยู่ในกว่า 130 ประเทศทั่วโลก ใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ , อเมริกาเหนือ , ออสเตรเลียโอเชียเนีย , คาริเบียน , ลาตินอเมริกา , แอฟริกาใต้ และ รัสเซีย .ส่วนใหญ่มาจากมณฑล กวางตง และ ฝูเจี้ยน ชาวจีนเหล่านี้ไม่เพียงปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมพื้นถิ่นในประเทศใหม่ได้ดี แต่ยังสามารถสร้างเนื้อสร้างตัวจนมีฐานะได้ในระดับที่ไม่เลว และแม้ว่าเวลาจะผ่านไปหลายปีชุมชนชาวจีนก็ยังมี”ความเป็นจีน” อบอวลอยู่ทั่วไป และมีความผูกพันแน่นแฟ้นกับประเทศจีน หลายคนจึงกลับไปในฐานะนักท่องเที่ยวบ้าง นักลงทุนบ้าง
 
 
1 เส้นทางเดินเรือของเจิ้งเหอออกสำรวจทางทะเลรวม 7 ครั้ง เดินทางมากกว่า 50,000 กิโลเมตร ท่องต่างแดนมากกว่า 37 ประเทศ เริ่มต้นเป็นครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1405 (พ.ศ. 1948) ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระรามราชาธิราชแห่งราชวงศ์อู่ทอง

2 รูปปั้นเจิ้งเหอในพิพิธภัณฑ์ทางทะเล กวางโจว
File:Admiral Zhenghe.jpg
การอพยพระลอกแรก
ชาวจีนมีประวัติศาสตร์การโยกย้ายถิ่นไปต่างประเทศ อันยาวนานของ หนึ่งในการอพยพที่สำคัญคือ ในปี คศ 1371-1435สมัยราชวงศ์หมิง จักรพรรดิหยงเล่อ ได้ส่ง ราชฑูตขันทีชาวหยุนนานนาม เจิ้งเหอ (เจ้าพ่อซำปอกง,ซานเป่ากง) เป็นผู้แทนของหมิง โดยได้นำกองเรือ 300 ลำ พร้อมลูกเรือ คนจีน 28,000 คน ส่วนใหญ่เป็นคน กวางตุ้ง และ ฮกเกี้ยน ไปการสำรวจและทำการค้าขายใน ทะเลจีนใต้ เอเชียอาคเนย์ และใน มหาสมุทรอินเดีย ทะเลแดง ชายฝั่งแอฟริกา . ผู้คนที่ไปสำรวจทะเลครั้งนั้น มีจำนวนมากที่หนีชีวิตลำบากยากแค้นในชนบทไปทำงานโพ้นทะเลอยู่ถาวร ณ ที่ต่างๆ และมิได้กลับมายังประเทศจีนอีกเลย พวกเขาเป็นคนจีนกลุ่มแรกๆที่มาลงหลักปักฐานในประเทศไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย การอพยพยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องแม้ว่าราชสำนักหมิงจะออกโองการไม่ให้เดิน ทางออกนอกประเทศก็ตาม

1เส้นทางอพยพของชาวจีนปี คศ.1800s -1949

2 กรรมกรคนงานจีนกำลังเดินข้ามแม่น้ำมิสซิสซิปี ปี 1870,
File:Chinese Coolies Leavitt Burnham.jpeg
3คนงานจีนสร้างทางรถไฟสาย แคนาดาแปซิฟิค

 
การอพยพระลอกสอง
ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นยุคล่าอาณานิคม ในขณะนั้นเป็นสมัยของราชวงศ์ชิง ยุคการอพยพย้ายถิ่นของชาวจีนโพ้นทะเลครั้งใหญ่ได้เริ่มขึ้น ยุคนี้มีชาวจีนนับล้านๆคนลงเรือเดินสมุทรข้ามไปอีกฝั่งหนึ่งของโลก เป็นผู้ลี้ภัยทางเศรษฐกิจที่หนีความอดอยากยากจนในจีน นักล่าอาณานิคมตะวันตกจำนวนมากขาดแคลนแรงงาน ในขณะที่จังหวัดฮกเกี้ยน และกวางตุ้ง มีแรงงานคนจำนวนมากที่ต้องอพยพหนีความยากจน และ ความย่อยยับของบ้านเมืองจาก การสู้รบระหว่างราชวงศ์ชิงกับกบถไท้ผิง รางวงศ์ชิงยังถูกจักรวรรดิต่างชาตินักล่าอารานิคมทั้งหลายบีบบังคับให้ อนุญาตนำประชากรจีนไปเป็นแรงงานในดินแดนอาณานิคมของตน ชาวฮกเกี้ยน,แต้จิ๋ว และชาวกวางตุ้งจำนวนมาก เลือกที่จะไปทำงานในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องด้วยความสัมพันธ์ของชาวจีนและดินแดนนี้มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง โดยส่วนใหญ่ไปจาก มณฑลกวางตง
ส่วนประเทศในทวีปอเมริกาเหนือและออสเตรเลีย ต้องการแรงงานจำนวนมากในงานที่อันตราย เช่น งานในเหมืองแร่ และการสร้างทางรถไฟ เนื่องจากปัญหาความอดอยาก ลำบากในกวางตุ้ง และสงครามระหว่างคนแคะและคนท้องถิ่นในมณฑลกวางตุ้ง (ปี1855–1867) ที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง ในกวางตุ้ง ได้ทำให้ชาวกวางตุ้งจำนวนมากออกไปเสี่ยงโชคในต่างดินแดน โดยหวังที่จะให้ความเป็นอยู่ของครอบครัวที่ยังอยู่ในประเทศจีนดีขึ้น นอกจากนี้ ชาวจีนส่วนหนึ่งยังถูกขายไปยังทวีปอเมริกา
หลังจากที่ได้สร้างทางรถไฟเสร็จแล้ว ชาวจีนโพ้นทะเลส่วนหนึ่งในประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา ยังประสบปัญหาการเหยียดเชื้อชาติ และถูกกีดกันไม่ให้เข้าประเทศ อีกด้วย

ใบรับรองให้คนจีนพักอาศัยในอเมริกา ภาพคนงานจีนในเหมืองทอง แคลิฟอร์เนีย
 
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้เกิดสงครามกลางเมืองคนในชาติฆ่าฟันกันเอง ระหว่างฝ่ายสาธารณรัฐ กกมินตังและพรรคคอมมิวนิสต์ ทั้งยังถูกรุกรานจากชาติตะวันตกและ ญี่ปุ่น อังกฤษได้เอาฝิ่นมาขายมอมเมาให้คนจีนติดยาเป็นจำนวนมาก ทำให้ชาติอ่อนแอตกตำมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ชาวจีนบอบช้ำ อดอยากมาก ชาวจีนส่วนหนึ่งได้อพยพออกนอกประเทศก่อนที่พรรคคอมมิวนิสต์จะขึ้นปกครอง ประเทศ พวกเขาไม่ยอมกลับสู่ประเทศบ้านเกิดเมืองนอนอีกเลย ส่วนชาวจีนในฮ่องกงและประเทศภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร เลือกที่จะไปใช้ชีวิตในอังกฤษ และ ฮอลแลนด์เพื่อชีวิตที่ดีกว่า จากกลางศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา, โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปี 1950 ถึง 1980 ในช่วงที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนวางข้อ จำกัด อย่างรุนแรงต่อการเคลื่อนย้ายพลเมืองของตน ก็ยังมีการย้ายถิ่น
ส่วนใหญ่ของผู้อพยพที่เข้าประเทศแถบตะวันตก จะเป็นชาวจีนโพ้นทะเลมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ หรือจากไต้หวันหรือฮ่องกง เพื่อไปยังประเทศตะวันตกเช่น สหรัฐอเมริกา , แคนาดา , ออสเตรเลีย , New Zealand , บราซิล และชาติ ยุโรปตะวันตก ;    ที่เปรู, ปานามา และ เม็กซิโกพวกเขาจะถูกเรียกว่า ถูซาน (tusán)
 
การอพยพระลอกสาม
ในปี 1984 สหราชอาณาจักรตกลงที่จะถ่ายโอนอำนาจอธิปไตยของ ฮ่องกง ไปยังประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน; ได้ก่อให้เกิดกระแสการย้ายถิ่นของคนจีนไปยังสหราชอาณาจักร (ส่วนใหญ่ไปเกาะอังกฤษ), ออสเตรเลีย, แคนาดา, อเมริกา, ลาตินอเมริกาและส่วนอื่น ๆ ของโลก ขณะนั้นคนฮ่องกงจำนวนมาก ได้ขอ มีสัญชาติ หรือมี วีซ่าประเทศอื่นไว้เผื่อว่าหากจำเป็นก็สามารถออกนอกประเทศได้ทันที
 
เหตุการณ์ประท้วง ความรุนแรงที่เทียนอันเหมืยนปี 1989
 

ไชนาทาวน์ในเมืองปูซาน เกาหลี
 
เหตุการณ์ประท้วง ความรุนแรงที่เทียนอันเหมืยนปี 1989 ได้เกิดการอพยพการย้ายถิ่นของคนจีน มีการขอวีซ่าเข้าเมืองเพิ่มขึ้นที่สถานกงสุลต่างๆ ในฮ่องกง หลายชาติในตะวันตกไม่พอใจต่อการกระทำรุนแรงของทางการจีนจึงเปิดรับนักศึกษา ให้เข้ามาลี้ภัยจำนวนมาก สหรัฐถึงกับออกกฎหมายคุ้มครองนักศึกษาจีนและออกกรีนการดให้นักศึกษาจีนอยู่ ในสหรัฐมากถึง 80000คน
ผลก็คือมีคนจีนเกือบล้านคนใน ยุโรป และใน รัสเซีย , มีคนจีนอพยพกว่า 600,000, กระจุกตัวอยู่ใน รัสเซียด้านตะวันออกไกล คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มาจากภาคเหนือของจีนเป็นส่วนใหญ่เป็นผู้มีการศึกษา และความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน
คลื่นคนจีนอพยพได้แผ่วลงหลังจากการโอนอำนาจอธิปไตยของฮ่องกงในปี 1997 .
ชาวจีนที่อพยพไป เวียดนาม ในต้นศตวรรษที่ 18 จะถูกเรียกว่าฮ่อ (Hoa ).
ใน เกาหลีใต้ ประมาณกันว่าในขณะนี้ยังมีชุมชนชาวจีนดั่งเดิม ยังคงอยู่ เพียง 26,700 อย่างไรก็ตามในช่วงไม่กี่ปีนี้ คนอพยพเข้าเมืองจากจีนแผ่นดินใหญ่ได้เพิ่มขึ้น มีคน สัญชาติจีนอาศัยอยู่ในเกาหลีใต้ 624,994 คน ซึ่งได้รวมชนกลุ่มน้อยจีน เชื้อสาย เกาหลี443,566 คน เข้าไปด้วย
จากที่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับประเทศใน แอฟริกา ในเดือนสิงหาคม 2007 มีคนจีนประมาณ 750,000 คนทำงานหรืออาศัยอยู่ในหลายประเทศแถบแอฟริกา
ในประเทศ แอฟริกาใต้มี คนเชื้อชาติจีนอาศัยอยู่ประมาณ 200,000.คน จากบทความNew York Times, ปี 2007 ผู้อำนวยการพาณิชย์หอการค้าประเทศชาด ได้ประมาณว่ามีชาวจีน อพยพเข้ามา ชาด อย่างน้อย 40,000 คน
ตัวเลข ปี 2006 มีคนจีนถึง 40,000 คน ที่อาศัยอยู่ใน นามิเบีย , ประมาณ 80,000 คนอาศัยอยู่ใน แซมเบีย [8] และ 50,000 คนอาศัยอยู่ในไนจีเรีย . คนจีน 100,000 คนอาศัยและ ทำงานอยู่ใน ใน แองโกลา . ตัวเลขปี2009 มีคนงานชาวจีน35,000คน ที่อาศัยอยู่ใน แอลจีเรีย .
ที่เมืองวลาดิวอสตอค (Vladivostok)ท่าเรือหลักด้านแปซิฟิกและฐานทัพเรือของรัสเซีย ชายแดนติดจีน ในปี 2010 พบว่า มีตลาด, ร้านอาหารและร้านค้า มากมายผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่า ชาวจีนในรัสเซีย จะเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 10 ล้านคนใน ปี2010 และคนจีนจะกลายเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่โดดเด่นในภูมิภาคตะวันออกไกลรัสเซีย ใน20 ถึง 30 ปีข้างหน้า
ในประเทศเยอรมัน ประกอบด้วยชุมชนชาวจีนที่กำลังเติบโตประมาณ 76,000 คน
ตัวเลขปี 2010 มีคนจีนอาศัยอยู่ในออสเตรีย. ประมาณ 15,000 ถึง 30,000 คน, รวมทั้งชุมชนชาวจีนในกรุงเวียนนา( Vienna) ด้วย .
แม้จะถูกเหยียดผิว เลือกปฎิบัติ ชาวจีนเหล่านี้ก็ได้ปรับตัวเข้ากับประเทศนั้นๆได้เป็นอย่างดี เขาทำงานตั้งตัวได้ด้วยความสามารถขยันหมั่นเพียร บวกกับพรสวรรค์ในการทำการค้า สุดท้ายได้รับการยกย่องจากชุมชนในวงกว้างด้วย ผู้มีอำนาจ นักการเมืองในเอเชียอาคเนย์มีอยู่ไม่น้อยที่เป็นลูกหลานของชาวจีนกลุ่มนี้
ปัจจุบันเอเชียอาคเนย์ มีประชากรเชื้อสายจีนรวมกว่า 24 ล้านคนมากกว่าทุกที่ คิดเป็น 80% ของชาวจีนโพ้นทะเลที่มีอยู่ทั่วโลก
ถึงแม้ว่าพวกเขาจะเป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศใหม่(ยกเว้นสิงคโปร์) แต่ก็เป็นกลุ่มที่เป็นกำลังหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศ
 
อาชีพ
ชาวจีนพันทะเลในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ประกอบการการค้าและ ธุรกิจการเงินเป็นส่วนใหญ่ ส่วนชาวจีนพันทะเลในทวีปอเมริกายุโรปและโอเชียเนีย ออสเตรเลีย ประกอบอาชีพหลากหลาย จนไม่สามารถที่จะระบุได้ ตั้งแต่ทำอาหาร, การแพทย์, ไปจนถึงศิลปกรรม , และ นักวิชาการ เป็นต้น .
 
ชะตากรรมชาวจีนโพ้นทะเล
ชาวจีนมักจะจำแนกคนตัวบุคคลตามต้นกำเนิดชาติพันธ์มากกว่าสัญชาติ ตราบใดที่คนใดมีเชื้อสายจีน บุคคลนั้นก็ถือว่าเป็นคนจีน และถ้าหากคนคนนั้น อาศัยอยู่นอกประเทศจีนคนนั้นก็ถือว่าเป็นชาวจีนโพ้นทะเล
คนจีนส่วนใหญ่ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เป็นชาวจีนฮั่นประกอบด้วย ประมาณ 92% ของประชากร ส่วนใหญ่จะไม่ทราบชะตากรรมความยากลำบากของชาวจีนโพ้นทะเลในฐานะชนกลุ่มน้อย พลัดถิ่นในต่างแดนได้ไปประสบพบเจอมา
 
-การเลือกปฏิบัติ การเหยียดผิว เชื้อชาติ
ชาวจีนโพ้นทะเลในบางที่ ได้ประสบกับชะตากรรมความเกลียดชังและ การเลือกปฏิบัติ การเหยียดผิว เชื้อชาติ ( Sinophobia ) จุดสำคัญของการต่อต้านนี้ เนื่องมาจากการมีวัฒนธรรมย่อยที่แตกต่างกันที่ชัดเจน
ชะตากรรมความเกลียดชังและ การเลือกปฏิบัติ การเหยียดผิว เชื้อชาติ ตัวอย่างเช่น การจลาจลเหยียดเชื้อชาติ ต่อต้าน คนจีนในมาเลเซีย กรุงกัวลาลัมเปอร์ 13 พฤษภาคม 1969 และ การจลาจล ความรุนแรงที่ จาการ์ต้า พฤษภาคม 1998 โดยต้นเหตุมาจากความคิด การเหยียดเกลียดชังทางเชื้อชาติอย่างรุนแรงของคนท้องถิ่น ในปี 2006 ผู้ก่อการจลาจล ชาวตองกาในเมืองหลวงกรุงนูกูอโลฟา( Nuku alofa) ได้เผาทำลายร้านค้าเป็นของคนจีนเชื้อสายตองกา จนเสียหายยับเยิน. เหตุการณ์จลาจลที่ หมู่เกาะโซโลมอน ทำให้ชาวจีนอพยพหลบหนีออกมา.
ในประเทศมาเลเซีย ชาวจีนโพ้นทะเลสนับสนุน เห็นด้วยในหลักการความเท่าเทียมกันและ แนวคิดที่รัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง จากความสามารถที่ตนมี การได้งาน ได้ตำแหน่ง ผลงาน ตามความสามารถที่ตนมี (meritocratic) ด้วยความคาดหวังว่าพวกเขาจะไม่ถูกเลือกปฏิบัติ แบ่งแยก ในการประกวดราคาแข่งขันงานของรัฐบาล,ในการทำงาน, ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย, และอื่น, ฯลฯ
แต่ขณะที่คนมาเลย์ ‘ภูมิ พุตรา’ Bumiputra "("ลูกของชาวถิ่น") หลายคนได้คัดค้านแนวคิดนี้ ต้องการการปกป้องตนเองให้มีอภิสิทธ์ มีสิทธิ์เหนือกว่าผู้อื่น โดยอ้างว่าเพื่อที่จะรักษามรดกของพวกเขา คำถามก็คือใครคือขอบเขตของคำว่าชาวถิ่น (native )ของมาเลเซีย ชาวมาเลย์, จีน, หรือ อื่นๆ เรื่องนี้ได้เป็นประเด็นทางการเมืองที่มีความละเอียดอ่อน ปัจจุบันเป็นข้อต้องห้ามสำหรับนักการเมืองจีนมาเลย์ ที่จะหยิบยกมาพูดในรัฐสภาในเรื่องการปกป้อง ภูมิ พุตรา (Bumiputra protections) เนี่องจากเกรงจะเป็นการยุยงให้แตกแยกทางเชื้อขาติ

การตูนแสดงการรังเกียจ เกียดชังชาวจีนในอเมริกาปี 1898 การตูนหนังสือพิมพ์ในอเมริกาแสดงการรังเกียจกีดกันชาวจีนเหมือนกับชาวยิว ในรัสเซีย
 
ในศตวรรษที่ 19 ชาวจีนโพ้นทะเลจำนวนมากของจีนในทวีปอเมริกาเหนือ ใน ประเทศแคนาดา และ สหรัฐอเมริกาที่ทำงานลำบากสร้างทางรถไฟ ได้เผชิญชะตากรรม ความเดือดร้อนจากการเลือกปฏิบัติ กีดกัน รังเกียจทางเชื้อชาติ. ถึงแม้ว่ากฎหมายที่เลือกปฏิบัติได้ถูกยกเลิกหรือไม่มีการบังคับใช้อีกต่อไป แล้วก็ตาม
ทั้งสองประเทศนี้ครั้งหนึ่งได้เคยออกกฎหมายห้ามคนจีนเข้าประเทศ เช่นในสหรัฐอเมริกา กฎหมาย ห้ามคนจีนปี 1882 (ได้ยกเลิกในปี 1943) หรือ กฎหมาย ว่าด้วยคนจีนเข้าเมืองแคนาดาปี 1923 (ได้ยกเลิกในปี 1947)
 
การกลืนชาติ กลายพันธ์ ผสมกับประเทศที่อาศัย
ชาวจีนพีนทะเล ที่ไปอาศัยอยู่ในที่ต่างๆทั่วโลกมีระดับของการกลายชาติพันธ์ ผสมกลมกลืน กับประเทศที่อาศัย ที่แตกต่างกันตามชุมชน พื้นที่ ที่อาศัย และความเกียวพันกับจีน
ชาวจีนโพ้นทะเลจำนวนมาก ในไทย ลาว ได้แต่งงานผสมกลมกลืนกลายชาติพันธ์ กันกับคนท้องถิ่นได้ดี
ในขณะที่ พม่า , ชาวจีนพีนทะเลจะไม่ค่อยพบการแต่งงานข้ามเชื้อชาติ (แม้กระทั่งในหมู่คนจีนกลุ่มที่แตกต่างภาษากัน)
แต่ก็ยังได้นำเอาวัฒนธรรมพม่ามาใช้ในขณะที่ยังคง รักษาวัฒนธรรมจีนของตนอยู่ ในปี 1965 ถึง 1993 , ทางการ กัมพูชา . อินโดนีเซีย และ พม่า ไม่อนุญาติให้ใช้ชื่อต่างชาติ จึง ยังผลให้ผู้คนอพยพพลัดถิ่นเปลี่ยนมาใช้ชื่อในภาษาถิ่นแทน แต่ในอินโดนีเซีย ตั้งแต่ปี 2003 รัฐบาลได้อนุญาตให้ชาวจีนโพ้นทะเลสามารถใช้ชื่อหรือชื่อครอบครัวของพวกเขา เป็นภาษาจีนในหนังสือรับรองการเกิดของเขาได้ ใน เวียดนาม ชื่อของคนจีนจะออกเสียงด้วยสำเนียงเวียตนาม ตัวอย่างเช่นชื่อของประธานาธิบดีจีน หูจิเทา 胡锦涛 จะได้รับการตั้งชื่อเป็น "โฮ กำด๋าว " โดยส่วนใหญ่แล้ว แทบจะไม่มี ความแตกต่างระหว่างคนเวียดนามและชาวจีน ในประเทศทางตะวันตก ชาวจีนโพ้นทะเล มักจะประยุกต์ดัดแปลงการตั้งชื่อภาษาจีนและใช้ชื่อแรกเป็นภาษาท้องถิ่นที่ ใช้ทั่วไป
ใน ประเทศมาเลเซีย , สิงคโปร์ และ บรูไน , ชาวจีนโพ้นทะเลมีการรักษาเอกลักษณ์ของตนที่แตกต่างกัน เป็นชุมชนชาวจีน กลายเป็นสังคมที่มีหลากหลายวัฒนธรรม ในประเทศฟิลิปปินส์ ชาวจีนโพ้นทะเล หนุ่มสาวรุ่นใหม่จำนวนมากได้กลายชาติพันธ์ ผสมกลมกลืน ได้ดีกับคนท้องถิ่นเกือบทั้งหมด ขณะที่คนที่มีอายุมากกว่ารุ่นเก่าก่อนยังถือว่าเป็นคนต่างด้าว
 
เปอรานากัน
เปอรานากัน (มาเลย์:Peranakan) บาบ๋า-โนนยา (Baba-Nyonya ; จีน: 峇峇娘惹 ; ฮกเกี้ยน: Bā-bā Niû-liá) เป็นกลุ่มชาวจีนที่มีเชื้อสายมลายูเนื่องจากในอดีตชาวจีนโดยเฉพาะกลุ่ม ฮกเกี้ยนเดินทางเข้ามาค้าขายในบริเวณดินแดนคาบสมุทรมลายู และตัดสินใจตั้งถิ่นฐานในเมืองมะละกา ประเทศมาเลเซีย โดยแต่งงานกับชาวมาเลย์ท้องถิ่น โดยภรรยาชาวมาเลย์จะเป็นผู้ดูแลกิจการการค้าที่นี่ สำหรับสายเลือดใหม่ของชายชาวจีนกับหญิงมาเลย์ หากเป็นชายจะได้รับการเรียกขานว่า บาบ๋า หรือบ้าบ๋า (Baba) ส่วนผู้หญิงจะเรียกว่า โนนยา (Nyonya) และเมื่อคนกลุ่มนี้มีจำนวนมากขึ้น ก็ได้สร้างวัฒนธรรมรูปแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิมของบรรพบุรุษโดยมาผสมผสาน กันเป็นวัฒนธรรมใหม่ เมื่อพวกเขาอพยพไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ก็ได้นำวัฒนธรรมของตนกระจายไปด้วย วัฒนธรรมใหม่นี้จึงถูกเรียกรวมๆว่า จีนช่องแคบ (อังกฤษ: Straits Chinese ; จีน:土生華人)
โดยในประเทศไทยคนกลุ่มนี้จะอยู่ในจังหวัดภูเก็ต โดยมีบรรพบุรุษอพยพมาจากปีนัง และมะละกา โดยคนกลุ่มนี้มีวัฒนธรรมใกล้เคียงกับกลุ่มเปอรานากันในประเทศมาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศสิงคโปร์
ชาวจีนเหล่านี้ได้รับเอาวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ตนอาศัยผสมกลมกลืนเข้าไป ทั้งยังได้นำเอาอิทธิพลของวัฒนธรรมของตนไปเผยแพร่สู่ประเทศอื่น ๆที่อพยพไปด้วย เช่น ในเวียดนาม, ขนบธรรมเนียมจีนหลายอย่างได้ถูกนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของชาวเวียตนาม
ภาษา
ชาวจีนโพ้นทะเลในต่างประเทศ ยังใช้ภาษาจีนอยู่หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยได้แก่บรรพบุรุษของเขา ถิ่นกำเนิดของบรรพบุรุษของเขา,
การกลืนกลายชาติพันธ์ผสมกับชนถิ่นตามชั่วอายุคน และ นโยบายทางการของประเทศที่เขาไปอาศัยอยู่
แนวโน้มโดยทั่วไปก็คือภาษาจีนกลาง (แมนดาริน) เป็นภาษาจีนที่มีการใช้ และ พูดเพิ่มขึ้นในแหล่งชุมชนคนจีน
ใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชาวจีนโพ้นทะเลใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังคงใช้ภาษาจีนหรือไม่นั้นแตกต่างกันไปในพื้นที่
 
สิงคโปร์
ใน สิงคโปร์ ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศมีเชื้อชาติจีน, ภาษาจีนกลาง (แมนดาริน) ได้รับการยอมรับให้เป็นหนึ่งในภาษาทางการพร้อมกับ
ตัวอักษรจีนแบบง่ายจากจีนแผ่นดินใหญ่ซึ่งแตกต่างกันกับชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศอื่นซึ่งเกือบทั้งหมดยังคงใช้ ตัวอักษรจีนแบบดั้งเดิม
ถึงแม้ว่าชาวจีนในสิงคโปร์ส่วนใหญ่เป็นคนฮกเกี้ยน รัฐบาลของ สิงคโปร์ หาได้สนับสนุนการใช้ภาษาจีนที่ไม่ใช่ภาษาจีนกลางไม่
กลับรณรงค์ให้พูดภาษาจีนกลางแทน นโยบายนี้มีผลกระทบ ทำให้รัฐยะโฮ (Johor)ตอนใต้มาเลเซีย ที่ใกล้เคียง
ได้พูดใช้ภาษาจีนกลางเป็นส่วนใหญ่ในชุมชนชาวจีนไปด้วย ในขณะเดียวกันรัฐบาลสิงคโปร์ได้ใช้ ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ
เป็นภาษากลางของสังคมหลายชนชาติในสิงคโปร์, ทำให้ชาวจีนสิงคโปร์รุ่นใหม่ ส่วนใหญ่พูดได้สองภาษา ภาษาจีนกลางและภาษาอังกฤษ
 
ประเทศมาเลเซีย
 
ลิมกอตง ผู้ก่อตั้ง เกนติ้งไฮแลนด์

ยับอาลอย หัวหน้าคนจีน ผู้ก่อตั้งเมือง กัวลาสัมเปอร์
 
ชาวจีนมาเลเซีย มีภาษาถิ่น ภาษาพูดที่หลากหลาย ตามพื้นที่อาศัย ชาวจีนส่วนใหญ่มักจะอาศัยอยู่ในตัวเมืองและรอบๆตัวเมือง
ใน ปีนัง , กลาง และ มะละกา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่พูดภาษาฮกเกี้ยน (ที่ปีนัง มีภาษาฮกเกี้ยนแบบเฉพาะของตัวเอง);
ในเมืองหลวงกัวลาลัมปอร์ ( Kuala Lumpur) , เซเรมบัน (Seremban) และ อิโป (Ipoh) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่พูดภาษา กวางตุ้ง และ ฮากกา ;
ในขณะที่ใน มาเลเซียตะวันออก (มาเลเซีย บอร์เนียว ), จะพูดฮากกาและ ภาษาจีนกลาง กันอย่างแพร่หลาย
ยกเว้นในซีบู (Sibu) ซึ่ง พูดภาษาฟูโจว (Fuzhou) และใน ซันดากัน (Sandakan) จะพูดภาษากวางตุ้ง หากไม่คำนึงถึงพื้นที่ คนรุ่นใหม่ หนุ่มสาวมีแนวโน้มที่จะพูด ภาษาจีนกลางมากกว่า ซึ่งใช้สอนในโรงเรียน สถานศึกษา
ชาวจีนโพ้นทะเลจำนวนมากได้ศึกษาเรียนรู้ภาษาอังกฤษ และพูดภาษาอังกฤษเป็นหลัก ชาวจีนมาเลเซียส่วนใหญ่จึง พูด
ใช้ ภาษามาเลย์ , เป็นภาษาประจำชาติและ ใช้ภาษาอังกฤษกันอย่างแพร่หลายในธุรกิจ
อินโดนีเซีย
ใน ประเทศอินโดนีเซีย และ ประเทศไทย ภายใต้นโยบายการให้กลายชาติพันธ์ให้ผสมกลมกลืนของทางการยังผลทำให้
ชาวจีนจำนวนมากโดยเฉพาะชาวจีนที่อาศัยอยู่ในเกาะ ชวา(Java) ใช้ภาษาจีน ไม่เชี่ยวชาญ
ส่วนชาวจีนที่อาศัยอยู่ในเกาะสุมาตรายังคงพูดใช้ภาษาของตนอยู่ ชนกลุ่มน้อยชาวจีนส่วนใหญ่ในเมืองเมดาน Medan บนเกาะสุมาตราเมืองหลวงของภาคเหนือยังคงสามารถพูดภาษา ฮกเกี้ยน ภายในชุมชนของพวกเขา
ทั้งนี้เนื่องมาจากชาวจีนที่อาศัยอยู่ใน เกาะชวา ได้มาอยู่นานกว่า 10 ช่วงอายุคน ในขณะที่ชาวจีนที่อาศัยอยู่ใน
เกาะสุมาตราได้มาอยู่ไม่นาน แค่ 4 หรือ 5 ชั่วอายุคนเท่านั้น จึงมีการเปิดรับการผสมผสานทางวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ต่างกัน
ส่วนชนส่วนน้อย ชาวจีนฮากกาส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน จังหวัดบังกา เบลิตุง, พอนเทียนัค และซิงกาวัง

ประเทศไทย
ย่านคนจีนในเยาวราช

 
ชาวจีนที่เกิดในประเทศไทย และ เป็นเชื้อสายของผู้อพยพชาวจีน หรือ ชาวจีนโพ้นทะเล
คนไทยเชื้อสายจีน มีประมาณ 8.5 ล้านคนในประเทศไทย หรือ 14% ของประชากรทั้งประเทศ
และยังมีอีกจำนวนมากไม่สามารถนับได้ เพราะได้ผสมกลมกลืนกับคนไทยไปแล้วโดยการแต่งงานข้ามเชื้อชาติ
ชาวไทยเชื้อสายจีน ส่วนมากมีบรรพบุรษจะมาจาก มณฑลกวางตุ้ง ทางตอนใต้ของจีน พูดภาษาแต้จิ๋ว
ซึ่งเป็นภาษากลุ่มหมินหนาน รองลงมาคือมาจาก แคะ ฮกเกี้ยน และไหหลำ
ในปัจจุบัน ชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย มีสัดส่วนเป็นจำนวนมากถึง 14% ของประชากรทั้งประเทศ
ส่วนมากอาศัยอยู่ในเมือง ประกอบอาชีพค้าขาย นอกจากนี้ยังแทรกซึมอยู่ในทุกวงการ
อีกทั้งยังเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง ดารา นักการเมือง รวมทั้งเชื้อพระวงศ์ก็ยังมีเชื้อสายจีนด้วย
เหตุที่ชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย สามารถผสมกลมกลืนกับชาวไทยได้ดียิ่ง ก็เพราะการแต่งงานข้ามเชื้อชาติ
แม้ในสมัยก่อนจะมีในอัตราน้อย เพราะชาวไทยและชาวจีนบางกลุ่มยังถือเรื่องการแบ่งแยกเชื้อชาติ
แต่ปัจจุบัน แทบจะไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติให้เห็น คนไทยรับเอาวัฒนธรรมจีนไปปฏิบัติในหลายเรื่อง และชาวจีนก็เช่นกัน
ชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย เรียกตนเองว่า "ชาวไทยเชื้อสายจีน" ด้วยสำนึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของชาวไทย
แต่ก็ยังคงรำลึกถึงบรรพบุรุษและยังรักษาประเพณีของตน
ประเทศไทยมีประชากรคนไทยเชื้อสายจีนประมาณ 8.5 ล้านคน ส่วนมากจะเป็นเชื้อสายแต้จิ๋ว ประมาณ 56%
รองลงมา ได้แก่ แคะ 16% ไหหลำ 11% กวางตุ้ง 7% ฮกเกี้ยน 7% และอื่นๆ 12%

แต้จิ๋ว
แต้จิ๋ว (潮州 ; Teochew ; ภาษาจีนกลาง: Cháozhōu) เป็นกลุ่มชาวจีนที่มากที่สุด
ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามพื้นที่รอบๆแม่น้ำเจ้าพระยาและตามภาคกลาง ได้มาที่สยามตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาแล้ว
โดยมาจาก มณฑลฝูเจี้ยน และ มณฑลกวางตุ้ง ส่วนมากจะทำการค้าทางด้าน การเงิน ร้านขายข้าว และ ยา มีบางส่วนที่ทำงานให้กับภาครัฐ
ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พ่อค้าจีนแต้จิ๋วจำนวนมากได้รับสิทธิพิเศษ ชาวจีนกลุ่มนี้จึงเรียกว่า จีนหลวง (Royal Chinese)
สาเหตุเนื่องจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีเชื้อสายแต้จิ๋วเช่นกัน ในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์การอพยพของชาวแต้จิ๋วจึงมีมากขึ้น
และในประเทศไทยเองก็มีคนแต้จิ๋วเป็นจำนวนมาก

ฮากกา,แคะ

ฮากกา แคะ (客家 ; Hakka ; ภาษาจีนกลาง: kèjiā) เป็นกลุ่มชาวจีนอพยพที่มาจาก มณฑลกวางตุ้ง เป็นส่วนมาก
อพยพมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 และตั้งถิ่นฐานทีแถบจังหวัดสงขลา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดราชบุรี และ จังหวัดกาญจนบุรี
ส่วนมากจะชำนาญทางด้านหนังสัตว์ เหมือง และเกษตรกรรม นอกจากนี้ ชาวจีนแคะยังเป็นเจ้าของธนาคารอีกหลายแห่งอาทิเช่นธนาคารกสิกรไทย

ไหหลำ
ไหหลำ (海南 ; ภาษาจีนกลาง: Hǎinán) เป็นชาวจีนที่อพยพมาจากเกาะไหหลำของจีน ชาวไหหลำมีเป็นจำนวนมากที่
ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ และสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชาวจีนกลุ่มนี้จะชำนาญทางด้านร้านอาหาร และโรงงาน

ฮกเกี้ยน หรือ ฝูเจี้ยน

ฮกเกี้ยน หรือ ฝูเจี้ยน (福建 ; Hokkien ; ภาษาจีนกลาง: Fújiàn) เชี่ยวชาญทางด้านการค้าขายทางเรือ หรือรับราชการ
ชาวจีนกลุ่มนี้จะมีจำนวนมากในพื้นที่ภาคใต้ มีจำนวนมากในจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดทั่วๆไป
ฮ่อ
ฮ่อ เป็นคำที่คนไทยใช้เรียกชาวจีนที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยผ่านทางประเทศพม่าและประเทศลาว
ชาวจีนฮ่อส่วนใหญ่มาจากยูนนานจะอาศัยอยู่ทางภาคเหนือทั้งในเมืองและบนดอย
หนึ่งในกลุ่มชนที่สำคัญคือชาวจีนหุย (回族 ; ภาษาจีนกลาง: Huízú) ซึ่งเป็นชาวจีนที่มีลักษณะเหมือน
ชาวจีนฮั่นทุกอย่างเพียงแต่บางส่วนนับถือศาสนาอิสลาม ชาวฮ่อในประเทศไทย 1 ใน 3 นับถือศาสนาอิสลาม
ภาษาและวัฒนธรรม
ภาษาไทย และภาษาจีนนั้นมีหลักภาษาที่คล้ายกัน จึงทำให้ผู้ที่อพยพเข้ามาเรียนรู้ภาษาไทยได้เร็วกว่าภาษาอื่นๆ
ภาษาไทยก็มีคำภาษาจีนจำนวนมาก ในปัจจุบันชาวไทยเชื้อสายจีนจะพูดภาษาไทยผสมภาษาจีนในการติดต่อกันเอง
โดยเฉพาะชาวแต้จิ๋วที่อยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นส่วนมาก และก็จะใช้ภาษาไทยติดต่อกับสังคมภายนอกได้ดีขึ้น
แต่ลูกหลานจีนในปัจจุบันมีน้อยมากที่ยังพูดภาษาจีนของบรรพบุรุษได้ เนื่องจากอยู่กับสังคมภายนอกและที่บ้านเองก็พูดภาษาจีนกับตนน้อยลง ยังคงเหลือแต่ผู้อาวุโสในครอบครัวเท่านั้นที่ยังพูดภาษาจีนกับลูกหลาน
อย่างไรก็ตามประเพณีและค่านิยมบางอย่างที่ยังคงปฏิบัติไว้ ครอบครัวลูกหลานจีนก็ยังยึดถือปฏิบัติอยู่ เช่น การไหว้เจ้าในโอกาสต่างๆ ซึ่งถือเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ
ปัจจุบัน กระแสความนิยมภาษาจีนกลาง สูงขึ้น เนื่องจากเป็นภาษาที่สำคัญในการติดต่อธุรกิจระหว่างไทย-จีน และสำหรับลูกหลานจีนที่เป็นวัยรุ่นก็ได้รับสื่อต่างๆ จากไต้หวัน มาก ทั้งละคร และเพลง ทำให้ในปัจจุบันมีโรงเรียนสอนภาษาจีนเปิดสอนอยู่มากขึ้นตามเพื่อสนองความ ต้องการ

เวียดนาม

 
ชาวจีนในเวียตนาม
ชาวจีนในเวียตนามจะถูกเรียกว่าฮ่อ มีประมาณ 862,371 คน หรือ 1.1% ของประชากรทั้งหมด มากเป็นอันดับหก
ชาวจีนโพ้นทะเลจำนวนมากอาศัยอยู่ในเมืองโฮจิมินห์ และส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนฮั่นภาษากวางตุ้ง
รองมาเป็น แต้จิ๋ว จากภาคใต้ของมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน
 
ประเทศกัมพูชา
ชาวจีนในกัมพูชาจะถูกเรียกว่า ขแมเชน "Khmer-Chen" ชาวจีนในกัมพูชาจากที่เคยเป็นชนกลุ่มน้อยทีมากสุด มีจำนวนถึง 425,000 คนในปี1970 ได้ลดเหลือเพียง มีประมาณ 61,400 คน ในปี 1984 เนื่องมาจาก สงครามกลางเมืองฆ่าล้างกันในเขมร และการอพยพหนี
ประชากรคนชาวจีนในกัมพูชา มีห้ากลุ่มหลักส่วนใหญ่ขึ้นอยู่สาขาอาชีพที่ทำ ส่วนมากจะเป็นเชื้อสายแต้จิ๋ว ประมาณ 60%
รองลงมา ได้แก่ กวางตุ้ง 20% ฮกเกี้ยน 12% ฮากกาและไหหลำ 4%
 
ประเทศบรูไน
ในบรูไนมี ความหลากหลายของภาษาถิ่นจีน ภาษาจีนกลางและฮกเกี้ยนเป็นภาษาที่ใช้มากที่สุดในประเทศ
 
 
ทวีปอเมริกาเหนือ

ชุมชนชาวจีนในอเมริกา

ในทวีปอเมริกาเหนือ มีประชากรชาวจีนโพ้นทะเลจำนวนมาก พูดภาษาจีนถิ่นหลากหลาย . , ภาษาจีนเป็นภาษาที่พูดมากเป็นอันดับที่สาม
ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา โดยภาษา กวางตุ้ง เป็นภาษาที่ใช้มากที่สุด เนื่องจาก ผู้อพยพส่วนใหญ่มาจากภาคใต้ของจีนตั้งแต่ช่วงปี 1980
แต่ภาษา จีนกลาง ก็กำลังมาแรงเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนได้เปิดประเทศ
ใน นครนิวยอร์ก แม้ว่าคนพูดภาษาจีนกลางเป็นภาษาใช้ติดต่อสื่อสารกันประจำมีเพียงร้อยละสิบเท่านั้น
แต่ก็ถูกใช้เป็นภาษากลางที่ใช้พูดคุยกันในหมู่คนจีนหลายกลุ่มที่ใช้แทนภาษา กวางตุ้ง เนื่องจากหนึ่งในสามของคนจีนที่นั้นเป็นคนฮกเกี้ยน
ในแถบริชมอนด์ กลางตัวเมืองแวนคูเวอร์ พื้นที่ของประเทศแคนาดา, 44% ของประชากรเป็นคนจีน อักษรจีนสามารถมองเห็นได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร ไปจนถึงยังร้านขายของชำ หากมองรวมทั้งหมดของเมืองแวนคูเวอร์ และปริมณฑล มีประชากรคนจีนอาศรัยอยู่ 18%, ส่วนใหญ่ใช้ภาษาจีน กวางตุ้ง และภาษาจีนกลางแมนดาริน
ในลอสแอนเจลิส และ แถบซานตาคลารา เป็นแหล่งที่มีผู้อพยพจากไต้หวันจำนวนมากจึงใช้ภาษาจีนกลางส่วนใหญ่

ความสัมพันธ์กับประเทศจีน

ประธานาธิบดี หูจินเทาทักทายชาวจีนโพ้นทะเลกลับมาเยี่ยมมาตุภูมิ กย.2009
 
ชาวจีนโพ้นทะเลมีบทบาทสำคัญกับการเมืองในประเทศจีนอย่าง เช่น การปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์ชิง หรือการปฏิวัติซินไฮ่
ใน พ.ศ. 2454 ได้รับการสนับสนุนทางการเงินเงินทุนจากชาวชาวจีนโพ้นทะเล
ทั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนไต้หวัน มีการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับชาวจีนโพ้นทะเลในดินแดนต่างๆ
ทั้ง 2 ประเทศได้ดำรงความสัมพันธ์กับชาวจีนโพ้นทะเล ทั้งระดับรัฐบาลกลางและระดับรัฐบาลท้องถิ่นหลายมณฑลในสาธารณรัฐประชาชนจีน
มีหน่วยงานที่ตั้งขึ้นเพื่อติดต่อกับชาวจีนโพ้นทะเลโดยเฉพาะด้วย และทั้ง 2 ประเทศยังได้จัดสรรตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไว้ให้สำหรับชาวจีนโพ้นทะเล ด้วย
ระหว่างยุค 1950 และ 1960 สาธารณรัฐจีนไต้หวัน พยายามที่จะหาแรงสนับสนุนจากชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลผ่านสาขาของพรรคก๊กมินตั๋ง ที่ตั้งขึ้นจากการที่ ซุน ยัตเซ็น เคยไปลี้ภัยและเคยได้เรี่ยรายเงินเพื่อมาทำการปฏิวัติ
ในขณะเดียวกัน สาธารณรัฐประชาชนจีนก็พยายามจะแสวงหาชาวจีนโพ้นทะเลที่ต้องสงสัยว่าจะเข้าไป ในจีนแผ่นดินใหญ่เพื่อเผยแพร่ลัทธิทุนนิยม และยังสร้างความสัมพันธ์กับประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้แน่นแฟ้นยิ่ง ขึ้นมากว่าที่จะขอความสนับสนุนจากชาวจีนโพ้นทะเล
ในทางตรงข้ามก็มีชาวจีนโพ้นทะเลไม่น้อยในอินโดนีเซีย และบางประเทศในเอเชียอาคเนย์ได้ถูกสังหาร สังหารหมู่ เข่นฆ่าทางการเมือง ด้วยข้ออ้างว่า มีสายสัมพันธ์ ฝักใฝ่กับคอมมิวนิสต์จีน
 
หลังจาก เติ้งเสี่ยวผิง ขึ้นมามีอำนาจ นโยบายต่อชาวจีนโพ้นทะเลก็ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน จากที่เคยมองว่าเป็นผู้ที่ไม่น่าไว้วางใจกลายเป็นแนวร่วมพัฒนาชาติในฐานะ เป็นผู้มีความสามารถและมีเงินทุนสนับสนุน ในยุค 1980 รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ขอความสนับสนุนจากชาวจีนโพ้นทะเลมากขึ้น โดยได้คืนทรัพย์สินที่เคยยึดไปในช่วงการปฏิวัติ พ.ศ. 2492
นโยบายล่าสุดของสาธารณรัฐประชาชนจีนคือ รักษาการสนับสนุนจากชาวจีนที่อพยพไปประเทศต่างประเทศ ที่มี ทั้งเงินทุน และการศึกษาที่ดี
ชาวจีนโพ้นทะเลเหล่านี้ ปัจจุบันยังเป็นผู้ลงทุนจำนวนมหาศาลในจีนแผ่นดินใหญ่ เป็นโอกาสและจุดเชื่อมโยง สนับสนุนทางการเงิน เป็นเครือข่าย ทางสังคม และวัฒนธรรมอีกด้วย
ตามมาตรา 5 ของ กฎหมายสัญชาติของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน :"บุคคลใด ๆ ที่คนเกิดในต่างประเทศที่มีทั้งบิดามารดาหรืออย่างใดอย่างหนึ่งมีสัญชาติจีน สามารถขอมีสัญชาติจีนได้ แต่ถ้าหากได้ขอมีสํญชาติอื่นใดเมื่อเกิดแล้วจะขอมีสัญชาติจีนอีกไม่ได้” แต่ ในกฎหมายสัญชาติของประเทศสาธารณรัฐจีนไต้หวัน ยอมอนุญาตให้มีสองสัญชาติได้
 
ตัวเลขชาวจีนโพ้นทะเล
ปัจจุบัน มีชาวจีนโพ้นทะเลกว่า 40 ล้านคนในต่างประเทศจีน ส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้,
เป็นประชากรส่วนใหญ่ในสิงคโปร์ และ ประชากร ชนกลุ่มน้อยอย่างมีนัยสำคัญใน อินโดนีเซีย , มาเลเซีย , ไทย ,
ฟิลิปปินส์ และ เวียดนาม . ส่วนใหญ่เป็นคนมาจากการอพยพย้ายถิ่นระหว่างศตวรรษที่ 16 และ 19 ส่วนใหญ่มาจากเมืองติดทะเลของ มณฑลกวางตุ้ง และ ฝูเจี้ยน , ตามด้วย ไหหนาน . แต่ก็มีส่วนหนึ่ง ที่เป็นการอพยพในก่อนหน้านี้ ในศตวรรษที่ 15 ไปที่ มะละกาโดยเฉพาะ
เมืองที่มีประชากรชาวจีนอาศัยอยู่มากได้แก่ กัวลาลัมเปอร็ Kuala Lumpur 612,277 คน (ปี2000,ในเมืองเท่านั้น),
ปีนัง 650,000 คน (ปี2005),นิวยอร์ก 665,714คน และ ซานโจเซ ชานฟรานซิสโก 562,355 คน (ปี2009), โตรอนโต 486,300 คน ( ปี 2006)
 
สถิติ ชาวจีนโพ้นทะเลในต่างประเทศ
ทวีป / ประเทศ - ประชากรชาวจีนโพ้นทะเล ปี ของข้อมูล % ของประชากร ทั้งหมด % ของชาวจีนโพ้นทะเล ทั่วโลก
เอเชีย - 30,976,784 2006 2006 0.8% 78.7%
ประเทศอินโดนีเซีย - 7,500,000 2005 [35] 3.1% 3.1% 11.7% 11.7%
ประเทศมาเลเซีย - 7,100,000 2008 [36] 26.0% 12.1%
ประเทศไทย - 7,000,000 2005 [35] 14% 1.7%
สิงคโปร์ - 2,770,300 2009 [37] 74.2% 4.3%
ประเทศเวียดนาม - 1,200,000 2005 [35] 3% 2% -3%
ฟิลิปปินส์ - 1,100,000 2005 [35] 2% 2.4%
พม่า - 1,100,000 2005 [35] 3% 2.1%
ประเทศญี่ปุ่น - 655,377 1 2008 [38] 0.5% 1.7%
เกาหลีใต้ - 624,994 2 2009 [39] 0.2% 0.5%
ประเทศกัมพูชา - 343,855 ] 2005 [35] 1.2% 0.87%
ประเทศอินเดีย - 189,470 2005 [35] 0.02% 0.5%
ประเทศลาว - 185,765 2005 [35] 1% 0.5%
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ - 180,000 2009 [40] 2.61% -- --
บรูไน - 43,000 2006 [41] 15% 0.1%
ประเทศอิสราเอล - 23,000 2001 [ ] 0.3% 0.1%
เกาหลีเหนือ - 10,000 2009 [42] 0.2% 0.1%
ประเทศปากีสถาน - 10,000 2009 [43] -- -- -- --
ศรีลังกา - 3,500   .0001% 0.000088%
ประเทศอิหร่าน - 3,000 -- -- -- -- -- --
ประเทศมองโกเลีย - 1,323 2000 [] 0.4% 0.03%
ปอเมริกา - 6,059,240 2008 2008 0.6% 15.4%
ประเทศสหรัฐอเมริกา - 3,500,000 2007 [45] 1.2% 6.8%
ประเทศแคนาดา - 1,300,000 2006 [46] 3.9% 3.4%
เปรู - 1,300,000 2005 [35] 4.56% 3.4%
ประเทศบราซิล - 151,649 2005 [35] 0.10% 0.4%
ปานามา - 135,000 2003 5% 0.4%
ประเทศคิวบา - 14,240 2008 [47] 1% 0.3%
อาร์เจนตินา - 100,000 2008 [48] 4% 0.4%
ประเทศเม็กซิโก - 23,000 2003 [49] -- -- -- --
ประเทศนิการากัว - 12,000 -- [50] -- -- -- --
ซูรินาเม - 70,000 2003 14% 0.2%
เกาะจาเมกา - 70,000 - -- -- -- --
Costa Rica - 7,873 2009 0,14% -- --
ประเทศชิลี - 5,000 - -- -- -- --
ตรินิแดดและโตเบโก - 3,800 2000 -- -- -- --
กายอานา - 2,722 1921 -- -- -- --
co เปอร์โตริโก - -- -- -- -- -- -- -- --
ยุโรป - 1,700,000 2006 0.2% 4.1%
ประเทศรัสเซีย - 998,000 2005 [35] 0.5% 1.9%
ประเทศฝรั่งเศส - 230,515 2005 [35] 0.5% 0.9%
สหราชอาณาจักร - 500,000 2008 [53] 0.8% 1.3%
ประเทศสเปน - 128,022 2008 [54] 0.27% 0.31%
อิตาลี - 156,519 2007 [55] 0.26% 0.2%
ประเทศเนเธอร์แลนด์ - 114,928 2006 [56] 0.7% 0.1%
ประเทศเยอรมัน - 71,639 2004 [57] 0.1% 0.1%
ประเทศเซอร์เบีย - 20,000 2008 [58] -- -- -- --
ไอร์แลนด์ -- -- 16,533 2006 [59] 0.39% -- --
บัลแกเรีย - 10,000 2005 [60] -- -- -- --
โปรตุเกส - 9,689 2007 [61] -- -- -- --
ฟินแลนด์ - 7,078 2009 [62] 0.13% -- --
โรมาเนีย - 2,249 2002 [63] -- -- -
โอเชียเนีย - 1,000,000 2003 1.9% 1.7% 1.7%
ออสเตรเลีย - 669,896 669,896 2006 [64] 3.2% 1.3%
นิวซีแลนด์ - 147,570 2006 [65] 3.5% 0.3%
ฟิจิ - 6,000 2000 0.5% 0.01%
ตองกา - 3,000 2001 [66] [67] 3 หรือ 4% -- --
หมู่เกาะซามัว - 30,000 - 16.2% -
ทวีปแอฟริกา - 500,000 2009 > 0.01% 1.26%
แอฟริกาใต้ - 350,000 2009 [68] 0.7% 0.8%
แองโกลา - 100,000 2007 0.5% 0.25%
ประเทศซัมเบีย - 20,000 2003 [70] 0.15% 0.05%
มอริเชียส - 30,000 2007 [71] 3% ไม่ทราบ
รวม -- -- 39,817,784 39,817,784 - 0.6% 0.6% 100% 100%


รูปภาพของ ฉินเทียน

泰國的華人社會 = 泰国的华人社会

สังคมจีนในประเทศไทย Chinese Society in Thailand  
http://zh.wikipedia.org/wiki/施堅雅http://en.wikipedia.org/wiki/G._William_Skinner
หนังสือวิชาการเล่มนี้ควรอ่านให้ครบ จบทั้งหมด เพราะอ่านแล้วปรากฏว่าบางอย่างถูกต้องบางอย่างอาจคลาดเคลื่อน  ความเหมือนและแตกต่างนั้นผู้วิจัยอาจแยกข้อมูลไม่รอบด้าน เนื่องจากผู้วิจัยเป็นสัญชาติสหรัฐอเมริกา ผ่านการรับรองปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล คณะวิจัยร่วม คือ พระยาอนุมานราชธน
(แนะนำให้ทำความเข้าใจในบทบรรณาธิการ และ หน้า 80 หน้า 237-238 )

รูปภาพของ วี่ฟัด

จากหนังสือจีนในไทย

           ที่จริงหนังสือเล่นนี้ไหง่มีไว้ในคอลเล็คชั่นของไหง่มานานแล้วโดยได้มา จากร้านขายหนังสือเก่ามือสอง ที่จริงเวลาไปเดินตามงานหนังสือไหง่ชอบไปดูร้านหนังสือที่เขาขายหนังสือเก่า มือสองมากกว่าร้านหนังสือใหม่ ไหง่จะได้หนังสือดีๆมีคุณค่าจากร้านขายหนังสือเก่ามามากมายมในราคาย่อมเยาว์ อีกด้วย หนังสือเล่มนี้จึงเป็นหนังสือเกี่ยวกับความเป็นจีนที่ไหง่มีอยู่น้อยมากหาก เปรียบเทียบกับทางด้านอารยธรรมทางอินเดียที่มีความสนใจมากกว่า
            หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ไหง่ใช้เป็นหนังสืออ้างอิงในงานวิจัยของไหง่ท ี่อาจารย์ดอกเตอร์บุญเรืองบอกว่าเป็นไบเบิลของหนังสืออ้างอิงเรื่องคนจีนใน ประเทศไทย ซึ่งไหง่ทราบมานานแล้วจึงหาซื้อเก็บไว้เผื่อได้ใช้ประโยชน์และได้ใช้ ประโยชน์จริงๆ ซึ่งในหนังสือเขาระบุชื่อผู้แต่งว่า จี วิลเลี่ยม สกินเนอร์ แต่ทางอาจารย์ดอกเตอร์บุญเรืองบอกว่าต้องใช้ วิลเลี่ยม จี สกินเนอร์
             ไหง่อ่านหน้าที่ฉินเทียนบอกไม่เห็นมีอะไรที่เป็นสลักสำคัญที่น่าสนใจเลย

พิพิธภัณฑ์ขันที กับเรื่องราวแปลกๆของราชสำนักจีน

พิพิธภัณฑ์ขันที กับเรื่องราวแปลกๆของราชสำนักจีน
หลายคนคงเคยได้ยินคำว่าขันทีมาบ่อยแล้ว แต่ไม่ค่อยรู้เรื่องราวของพวกเขามาก จริงๆแล้วขันทีคือชายที่ถูกตอน บางประเทศทางเอเชียสมัยโบราณใช้สำหรับควบคุมฝ่ายใน ในภาษาจีนเรียกว่า ไท้เจี๋ยน หรือไท้ก๋ำ

Eunuch (1)

และนี่คือพิพิธภัณฑ์ขันทีเป็นสุสานของเทียนอี้ ขันทีคนสนิทของจักรพรรดิว่านลี่แห่งราชวงศ์หมิง ในเขตฉือจิ้งชัน ทางตะวันตกของกรุงปักกิ่ง ซึ่งพาเราไปรู้จักกับความเป็นขันทีมากขึ้น ซึ่งเป็นสุสานเดียวของขันทีที่สร้างเหมือนของจักรพรรดิ ด้วยความชอบอย่างสูงจากองค์จักรพรรดิ

Eunuch (2)

เทียนอี้เป็นขันทีในราชวงศ์หมิง รับใช้จักรพรรดิมา 3 พระองค์ และให้ฝังเขาไว้ที่นี่

Eunuch (3)

สภาพศพที่ขุดขึ้นมาได้ที่เชื่อว่าเป็นเทียนอี้ ซึ่งผลพิสูจน์บอกว่าศพมีสารตะกั่วจำนวนมากในศพ

Eunuch (4)

รูปปั้นจำลองการตอนเป็นขันที สีหน้าได้อารมณ์มาก

Eunuch (5)

มีดสำหรับตอนที่พบในสุสาน แค่เห็นมีดก็ใจสั่นละ

Eunuch (6)

รูปจำลองอวัยวะเพศ สำหรับคนที่ทำสูญหายหากไม่ได้เอาไปเย็บติดหรือฝังไว้กับตัว จะไม่มีหน้าไปพบบรรพบุรุษ

Eunuch (7)

รูปขันทีเฒ่าคนหนึ่งในสุสาน

Eunuch (8)

นี่เหมียวไม่รู้มาก่อนเลยนะเนี้ยว่าเขาต้องทำขนาดนี้ มันดูทรมานและลำบากมากเลยทีเดียวนะ กว่าจะมาเป็นขันทีได้ แต่พวกเขาก็ยอมเพื่อจักรพรรดิที่พวกเขารัก

ที่มา pantip

ใครคือสุดยอดหญิงงามในประวัติศาสตร์ไทย

    ใครคือสุดยอดหญิงงามในประวัติศาสตร์ไทย  *** เห็นว่านอกจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น ๕ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร และเจ้าจอมมรว.สดับ ที่หลายคนบอกว่าทรงงามมากแล้ว คิดว่ายังมีพระองค์หญิงอีกพระองค์ที่งาม สวย หวานและเก๋ไม่แพ้กัน ว่าไปแล้วดูไม่ออกว่าเป็นผู้หญิงในประวัติศาสตร์ซะด้วยซ้ำ บอกว่าเป็นภาพผู้หญิงยุคนี้ที่ถ่ายในสตูดิโอยังเชื่อเลย  มีรูปมายืนยันค่ะ


     
     
    จากคุณ : jbunny - [ 8 เม.ย. 49 12:44:29 ]