“ศรีสัชนาลัย” เก่ากว่า “สุโขทัย” แจงหลักฐานโบราณคดีอื้อ
เมื่อวันที่ 12 ส.ค. 59 นายเอนก สีหามาตย์
รองผอ.ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) และอดีตอธิบดีกรมศิลปากร
เปิดเผยเกี่ยวกับความเก่าแก่ของเมืองศรีสัชนาลัย
ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางทิศเหนือของเมืองสุโขทัย ราว 60 กิโลเมตร ว่า
เมืองศรีสัชนาลัย อ.ศรีสัชนาลัย มีความเก่าแก่กว่าสุโขทัยหลายร้อยปี
โดยพบหลักฐานทางโบราณคดีในบริเวณที่เรียกว่า “เชลียง”
(เมืองศรีสัชนาลัยเก่า) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการต่างๆ อย่างสืบเนื่อง
ตนเคยเสนอบทความทางวิชาการในประเด็นดังกล่าวมาแล้ว ในเรื่อง “หลักฐานร่องรอยก่อนการเป็นเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย จากการขุดค้นทางโบราณคดี ที่วัดมหาธาตุเชลียง และวัดชมชื่น”
เนื้อหา โดยสรุปของบทความดังกล่าว มีอยู่ว่า เมื่อราว พ.ศ. 800 เริ่มมีชุมชนริมแม่น้ำยม บริเวณที่เรียกสมัยหลังว่า เชลียง ต่อมา ราว พ.ศ.1400 ชุมชนเชลียงเติบโตเป็นบ้านเมืองบนเส้นทางการค้าภายในภูมิภาค ซึ่งตรงกับยุคทวารวดี จากนั้น ราว พ.ศ.1500 มีการรับวัฒนธรรมขอมจากเครือญาติรัฐละโว้ (ลพบุรี) และติดต่อเกี่ยวดองกับรัฐหริภุญชัย (ลำพูน)
ครั้น พ.ศ. 1700 โดยประมาณ พ่อขุนศรีนาวนำถุม บิดาพ่อขุนผาเมือง สถาปนารัฐ “ศรีสัชนาลัยสุโขทัย” (ชื่อศรีสัชนาลัย นำหน้าอยู่ก่อนชื่อสุโขทัย มีในจารึกวัดศรีชุม ยุคสุโขทัย)
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันอังคาร 16 –พุธที่ 17 ส.ค.นี้ จะมีการจัดเสวนาเรื่อง “4 ทศวรรษแห่งการอนุรักษ์ และพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย” มีหัวข้ออาทิ “บทบาทของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยต่อการพัฒนาประเทศ”, “แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย” และ “การพัฒนาแผนแม่บทอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย” เป็นต้น
เนื้อหา โดยสรุปของบทความดังกล่าว มีอยู่ว่า เมื่อราว พ.ศ. 800 เริ่มมีชุมชนริมแม่น้ำยม บริเวณที่เรียกสมัยหลังว่า เชลียง ต่อมา ราว พ.ศ.1400 ชุมชนเชลียงเติบโตเป็นบ้านเมืองบนเส้นทางการค้าภายในภูมิภาค ซึ่งตรงกับยุคทวารวดี จากนั้น ราว พ.ศ.1500 มีการรับวัฒนธรรมขอมจากเครือญาติรัฐละโว้ (ลพบุรี) และติดต่อเกี่ยวดองกับรัฐหริภุญชัย (ลำพูน)
ครั้น พ.ศ. 1700 โดยประมาณ พ่อขุนศรีนาวนำถุม บิดาพ่อขุนผาเมือง สถาปนารัฐ “ศรีสัชนาลัยสุโขทัย” (ชื่อศรีสัชนาลัย นำหน้าอยู่ก่อนชื่อสุโขทัย มีในจารึกวัดศรีชุม ยุคสุโขทัย)
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันอังคาร 16 –พุธที่ 17 ส.ค.นี้ จะมีการจัดเสวนาเรื่อง “4 ทศวรรษแห่งการอนุรักษ์ และพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย” มีหัวข้ออาทิ “บทบาทของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยต่อการพัฒนาประเทศ”, “แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย” และ “การพัฒนาแผนแม่บทอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย” เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น