เล่าด้วยรูป "อดอล์ฟ ฮิตเลอร์" (Adolf Hitler)
การประชุมของผู้นำพรรคนาซีซึ่งจัดขึ้นบ่อยครั้งที่ Berghof อันเป็นที่พำนักของฮิตเลอร์ใน Obersalzberg บนเทือกเขาแอลป์ (Alps) ใกล้กับเมือง Berchtesgaden
วันที่ถ่ายภาพนี้ไม่ได้ถูกบันทึกไว้แต่จากการแต่งกายของบุคคลในภาพทำให้ทราบได้ว่าเป็นการพบปะกันในการประชุมช่วงสุดสัปดาห์
บุคคลในภาพแถวหน้าจากซ้ายไปขวาคือ ไฮน์ริช ฮิมเลอร์ (HeinrichHimmler) ผู้นำกองกำลังเอส เอส อันลือชื่อ ถัดมาคือ ดร. วิลเฮล์ม ฟริค (Dr. Wilhelm Frick) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของเยอรมันผู้ซึ่งมีส่วนอย่างมากในการสังหารโหดชาวยิวในค่ายกักกัน
ส่วนคนขวาสุดของภาพคือแฮร์มาน เกอริง (Hermann Goering)ผู้บัญชาการกองทัพอากาศเยอรมันสำหรับที่พำนักของฮิตเลอร์แห่งนี้เขาได้ซื้อต่อจากเจ้าของเดิมในปี 1933 ด้วยเงินทุนที่ได้มาจากการขายหนังสือเรื่อง “การต่อสู้ของข้าพเจ้า” (Mein Kampf) และฮิตเลอร์เป็นผู้ออกแบบตกแต่งภายในทั้งหมดด้วยตัวเขาเอง
ภาพ
แห่งการโฆษณาชวนเชื่อของพรรคนาซี
อันเนื่องมาจากฮิตเลอร์เป็นผู้ที่ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด
ซึ่งแสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของชาวออสเตรียที่แตกต่างจากชาว
เยอรมันที่ได้ชื่อว่าเป็นนักดื่มตัวยง
เอกลักษณ์
ประจำตัวนี้เป็นอุปสรรคในความพยายามที่จะทำให้ฮิตเลอร์เป็นคนชาติเยอรมัน
เป็นอย่างมากดังนั้นเพื่อทำให้ฮิตเลอร์มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเฉกเช่นเดียวกับ
คนเยอรมันทั่วไป ไฮน์ริช ฮอฟท์มาน (HeinrichHoffman) ช่าง
ภาพประจำตัวและเพื่อนสนิทของเขาจึงถ่ายภาพนี้ขึ้น
โดยมีขวดไวน์ตั้งเป็นจุดเด่นอยู่เบื้องหน้าของฮิตเลอร์เพื่อแก้ไขเอกลักษณ์
ประจำตัวของฮิตเลอร์ให้เป็นนักดื่มคนหนึ่ง
ฮิตเลอร์ขณะเข้าร่วมวางแผนการรุกของกองทัพเยอรมันในห้องยุทธการ
ภาพนี้ถ่ายในปี 1941 ซึ่งเป็นช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้ที่อยู่ในภาพทางด้านซ้ายติดกับฮิตเลอร์คือจอมพล วอลเธอร์ ฟอน บราวชิทส์ (Walther von Brauchitsch) ผู้
บัญชาการทหารบกเยอรมันในขณะนั้นเขาเป็นผู้ที่ฮิตเลอร์ไว้วางใจมากที่สุดคน
หนึ่ง
รวมทั้งเป็นกุญแจสำคัญในชัยชนะเหนือฝรั่งเศสแต่จากความล้มเหลวในการรบที่มอ
สโคว์ ทำให้ฮิตเลอร์ปลดเขาออกจากทุกตำแหน่ง
สำหรับนายทหารที่อยู่ขวาสุดของภาพคือนายพล ฟรานซ์ ริทเทอร์ เฮาเดอร์(General Franz Ritter Halder)หัว
หน้าฝ่ายเสนาธิการของกองทัพบกเยอรมันผู้ซึ่งเตือนฮิตเลอร์อยู่เสมอว่า
ท่านผู้นำกำลังประเมินขีดความสามารถของกองทัพรัสเซียต่ำกว่าความเป็นจริง
แต่
คำเตือนของเขาก็ไม่ได้รับความสนใจจากฮิตเลอร์
เฮาเดอร์เป็นอีกผู้หนึ่งที่ถูกจับเพราะต้องสงสัยว่ามีส่วนร่วมในการการวาง
แผนสังหารฮิตเลอร์ในยุทธการ “วัลคีรี่” (Valkyrie) เมื่อวันที่20 มิถุนายน 1944แต่ท้ายที่สุดก็พิสูจน์ตัวเองได้ว่าเขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด
ภาพนี้ถ่ายเมื่อเดือนพฤษภาคม 1936 เป็น
ภาพที่ฮิตเลอร์กำลังได้รับการต้อนรับจากฝูงชนชาวเยอรมันระหว่างเดินทางไปถึง
สนามกีฬาโอลิมปิกในกรุงเบอร์ลิน เพื่อแสดงสุนทรพจน์ของเขา
โอ
ลิมปิคที่เยอรมันเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ได้ถูกฮิตเลอร์ใช้เป็นเครื่องมือทาง
การเมืองทั้งการโฆษณาชวนเชื่อและการประชาสัมพันธ์ทั้งภายในประเทศและระหว่าง
ประเทศอย่างกว้างขวางผ่านเครือข่ายของพรรคนาซีทั้งวิทยุ
โทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์
ทำให้การแข่งขันโอลิมปิคในปี1936 ได้รับการบันทึกว่าเป็นการแข่งขันที่มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรกของโลกโดยใช้อุปกรณ์ของบริษัทเทเลฟุงเกน (Telefunken) ของเยอรมัน
ฮิตเลอร์และมุสโสลินีผู้นำของอิตาลีขณะออกตรวจพื้นที่แนวรบด้านรัสเซีย
สถานที่และเวลาที่ถ่ายภาพไม่ได้ระบุไว้ แต่หากสังเกตุจากซากรถถังแบบบีที-7 (BT-7) ของรัสเซียในภาพแล้วคาดว่าน่าจะเป็นช่วงระหว่างปี 1941 – 1942 อันเป็นช่วงต้นของยุทธการบาร์บารอสซ่าเนื่องจากรัสเซียใช้รถถังชนิดนี้ในการรบกับฟินแลนด์ในปี1939 และรบกับเยอรมันในช่วงต้นของสงครามในปี 1941
แต่รถถังรุ่นนี้มีประสิทธิภาพเทียบไม่ได้กับรถถังของเยอรมันทั้งแบบแพนเซอร์ 3 (Panzer III) และ แพนเซอร์ 4 (Panzer IV) ทั้งอาวุธปืนใหญ่ประจำรถที่มีขนาดเพียง 45 มิลลิเมตร ตลอดจนความหนาของเกราะและความคล่องตัวทำให้รัสเซียยุติการใช้รถถังแบบบีที-7 นี้ในปี 1942 และทดแทนด้วยรถถังอันทรงอานุภาพแบบที 34 (T 34)
ฮิตเลอร์ขณะเยี่ยมชมการฝึกของกองพลน้อยที่ 2 ของกองทัพบกเยอรมันในเดือนสิงหาคม 1938ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่สองอันเป็นช่วงของการเตรียมความพร้อมของกองทัพตามนโยบายการแผ่ขยายอาณาเขตประเทศเยอรมัน
ความ
สนใจของเขาในการวางแผนการรบทางด้านยุทธวิธีเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วภายหลัง
จากสงครามเปิดฉากขึ้นทำให้เขาเปลี่ยนบทบาทและแนวทางจากความเป็นนัก
ยุทธศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากมาเป็นนักยุทธวิธี
แต่เนื่องจากขาดประสบการณ์ทำให้เขามักได้รับการโต้แย้งจากฝ่ายเสนาธิการของ
เขาอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามผู้ที่โต้แย้งก็มักจะถูกถอนออกจากตำแหน่งที่สำคัญเสมอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น