วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559

อวสานฮิตเลอร์ และการล่มสลายของลัทธินาซี

อวสานฮิตเลอร์ และการล่มสลายของลัทธินาซี

    ในเดือนมีนาคม 1945 เหล่าทหารเยอรมันทุกคนรู้ดีว่า สงครามกำลังจะถึงจุดจบแบบประวัติศาสตร์ซ้ำรอยกับสงครามคราวที่แล้ว
    แม้แต่ประชาชนเองก็ยังต้อง"ถอดใจ" ในการประชุมวันที่ 18 นั้น ฮิตเล่อร์ได้รับรายงานข่างจากแม่ทัพ Kesselring ว่า
    ประชาชนในแนวฝั่งตะวันตก ได้เข้ามาขอร้องกับกองทัพว่า
    "ถ้าเป็นไปได้ กรุณาไม่ต้องเข้ามาป้องกันบ้านเรือนให้พวกเขาจะได้ไหม เพราะมันไม่มีอะไรขึ้นมาเลย
    นอกจากบ้านเรือนจะต้องมาากลายเป็นสมรภูมิ ถ้าปล่อยไว้เฉยๆ อย่างไรเสีย พวกสพม.ก็ไม่เคยเข้ามาฆ่ากวาดล้างประชาชนโดยไม่จำเป็นอยู่แล้ว"
    ฮิตเล่อร์ได้ยินเข้า ก็โมโหจนหนวดกระดิก..หนอยยยย...บังอาจจจจจ !!
    เขาออกคำสั่งว่า  ถ้างั้นก็ปล่อยพวกมันอยู่อย่างนั้น ไม่มีการเคลื่อนย้ายพวกมันแต่อย่างใด..เราจะไปสู้รบที่นั่น เอาให้มันราบไปเป็นหน้ากลองไปเลย
    พวกบรรดาแม่ทัพได้ยินเข้า ต่างก็เสียวสันหลังวาบๆ เพราะฮิตเล่อร์ไม่ได้ล้อเล่น เขาสั่งหยุดขบวนรถไฟขนส่งเข้าออกในบริเวณนั้นอีกด้วย
    นั่นหมายถึงเป็นการลอยแพประชาชนของตัวเองอย่างเลือดเย็น..
    วันที่ 23 มีนาคม สพม อเมริกา อังกฤษ ได้เคลื่อนตัวเข้ามาทางด้านเหนือของแม่น้ำไรห์น และเข้าควบคุมพื้นที่ปากทางของมณฑล Ruhr
    ได้เป็นที่สำเร็จ และกำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่แนวแม่น้ำลงมาทางด้านใต้
    และวันนี้เช่นกัน ที่ รัสเซียได้เดินแถวเข้าในแผ่นดินเยอรมัน ในด้านเหนือของ  Silesia (ไซลีเชีย)


           

วันที่ 27 นายพลแพตตัน..ได้เคลื่อนกองทัพรถถังเข้ามาจนถึงเมืองแฟรงเฟิร์ต
            ฮิตเล่อร์ได้รับข่าวก็กราดเกรี้ยวเรียกแม่ทัพมาด่ารายตัว..คนที่รับเคราะห์ เต็มๆคือ นายพล Busse ผู้บัญชาการการรบทางด้านฮังการี ที่ไม่สามารถทานทัพของรัสเซียไว้ได้ เพราะแตกพ่ายมาแบบไม่เป็นรูป
            เขา ตะโกนใส่หน้า แม่ทัพว่า.."ก็พวกเมิงไม่กระหน่ำยิงใส่พวกมันเข้าไปล่ะ..ไอ้โง่ สมัยสงครามครั้งที่แล้ว ยังใช้กระสุนในการรบมากกว่าพวกเมิงใช้ถึงสิบเท่า"
            แม่ทัพคูเดอเรียน อดรนทนไม่ได้ จึงแย้งว่า..
            "ท่านผู้นำขอรับ ที่แม่ทัพท่านไม่ได้กระหน่ำยิงใส่ข้าศึก เพราะ พวกเราไม่มีกระสุนมากพอขนาดนั้นนะขอรับ"
            ฮิตเล่อร์ก็ฉวยเป็นโอกาส หันไปกัดแม่ทัพคูเดอเรียนแบบเต็มๆเข้าให้ว่า
            "ก็แล้วทำไมถึงไม่จัดส่งไปให้ล่ะวะ"
            ร้อน ถึงแม่ทัพคูเดอเรียนต้องรับส่งรายงานอันเป็นหลักฐานยืนยันว่า หน่วยสรรพาวุธมีสต๊อคกระสุนอยู่จำนวนเท่านั้นเอง ไม่สามารถจะหามาจากที่ไหนได้อีกแล้ว..
            ฮิตเล่อร์ สบัดหน้าพรืด..เดินกระแทกเท้าลงส้นออกไปจากห้องราวกับเด็กๆ

            วันต่อมา..ในการประชุม ฮิตเล่อร์ก็ยังคงพูดซ้ำซากในเรื่องของกระสุน..แม่ทัพคูเดอเรียนสิ้นความอดทน
            จึงตอกกลับไปว่า.."ท่านผู้นำขอรับ..กระผมขอบอกท่านอีกครั้งว่า เราไม่มีกระสุนสำรอง พกวกระผมได้ทำหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้ว"
            ฮิตเล่อร์จึงขอให้ทุกคนออกไปนอกห้อง เหลือไว้แต่ แม่ทัพคูเดอเรียน..
            เมื่อทุกคนลับร่างไปแล้ว..ฮิตเล่อร์จึงหันมาจ้องหน้าคู่กรณีแล้วกล่าวด้วยเสียงที่เยียบเย็นว่า
            "ท่านแม่ทัพ ผมคิดว่า ท่านคงจะเหนื่อยเกินไปแล้ว ผมอนุญาตให้ท่านลาราชการไปพักผ่อนได้นานถึง 6 อาทิตย์ "
            แม่ทัพ..รีบรับคำ ว่า.."ด้วยความยินดีขอรับกระผม"
            แล้วเขาก็เดินออกจากห้องไปไม่ได้เหลียวหลังกลับมาเลยแม้แต่นิด

          

เข้าอาทิตย์ที่สามของเดือนมีนาคม สถานะการณ์ของเยอรมันคือ
            รัสเซีย ได้กระจายทัพไปยึดครองเกือบทั้งหมดในประเทศเมืองขึ้นของเยอรมันทางตะวันออก ไล่ไปจนถึงออสเตรีย
            อเมริกา อังกฤษ ก็บีบมาทางตะวันตก นายพลแพตตันนำกำลังรถถังเคลื่อนตัวมาอย่างไม่สะดุดตามแนวแม่น้ำไรห์น จนถึง Oppenheim
            ซึ่งฮิตเล่อร์เองก็ได้กล่าวในที่ประชุมว่า..ทัพของแพตตันนี่..แลดูจะน่ากลัวที่สุด
            เกิบเบิลส์ ได้พยายามออกความเห็นว่า..น่าจะโค่นเสาไฟฟ้าทางด้านทางหลวงลงให้หมด เพื่อปรับสภาพใช้เป็นสนามบิน
            ซึ่งในชั้นแรก สำหรับเครื่องบินทิ้งระเบิด ตามด้วยเครื่องบินพิฆาต ต่อมา..ก็ใช้สำหรับเคลื่อนย้ายครอบครัวชาวนาซีให้หลบหนีภัย
            แต่..งานนี้ ฮิตเล่อร์ไม่เห็นด้วย แผนจึงพับไป..

            ในการประชุมหลังๆมานี่ แผนการทั้งหมดล้วนแต่เป็นเรื่องเพ้อฝัน ฮิตเล่อร์พยายามพูดถึงอาวุธลับที่มีประสิทธิภาพร้ายแรงบ่อยๆ
            (ทั้งๆที่ยังไม่มีการคืบหน้าในการสร้างอย่างใด) เพื่อให้ข่าวกระจายไปยังแวดวงข้างนอก
            เพื่อเป็นความหวังว่า เยอรมันจะกลับมาชนะสงครามในตอนจบแบบพระเอก เพราะ "อาวุธลับ"
            นาย อัลเบิร์ต สเปียร์ รมต.กระทรวงผลิตอาวุธ ขอลาพักผ่อน..
            แต่ เบื้องหลังการลาครั้งนี้ เขาได้เดินทางไปเยี่ยมเยียนยังกลุ่มทหารรอบนอก เพื่อย้ำเตือนไม่ให้มีการระเบิดทำลายเมืองทิ้ง (ตามคำสั่งของฮิตเล่อร์และบอร์มันน์)
            แต่ก่อนที่เขาจะเดินทางกลับมาถึงเบอร์ลิน ฮิตเล่อร์ก็ได้รู้เรื่องทั้งหมดซะแล้ว..




            ฮิตเล่อร์ได้เรียกสเปียร์เข้ามา ทันทีที่กลับมาถึง..และการซักถามได้เกิดขึ้น
            สเปียร์ตอบยืนยันตามรายงานที่ให้ไว้หลายอาทิตย์ก่อนหน้านั้น (ที่ฮิตเล่อร์ไม่ได้สนใจที่จะอ่าน แถมยัดเก็บไว้ในลิ้นชักเฉยๆ)
            ว่า..สงครามครั้งนี้ เยอรมันได้แพ้แล้วอย่างสิ้นเชิง..
            ฮิตเล่อร์โวยวาย..หาว่า คิดอย่างนั้นได้ไง..พร้อมออกคำสั่งว่า..
            "ผมให้เวลาคุณ 24 ชั่วโมง ที่จะคิดใหม่ ทำใหม่ เชื่อใหม่ ว่า..สงครามครั้งนี้ เราต้องชนะ"
            อันเป็นที่รู้กันว่า สเปียร์ คือคนคนเดียวที่สามารถตอบโต้กับฮิตเล่อร์ได้ ดังนั้น หลังจาก 24 ชั่วโมงผ่านไป..
            เขากลับมาให้คำตอบว่า.."ผมคงคิดใหม่ไม่ได้ เหลืออย่างเดียวที่ทำได้ นั่นคือ ได้แต่หวัง"

            อาทิตย์แรกของเดือนเมษายนผ่านไป..ฮิตเล่อร์อยู่ในสภาพที่เสียศูนย์อย่างสิ้นเชิง นั่นคือ เขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่า
            ณ. วันนั้น ชั่วโมงนั้น ทหารอยู่ที่ไหน หรือสู้รบอย่างไร..สภาพการสื่อสารถูกตัดขาด
            เหล่าแม่ทัพคอยผลัดกันมารายงานว่า ทุกชั่วโมง สถานะการณ์ก็เลวร้ายเข้าไปทุกที

            ใน วันที่ 12 เมษายน..ฮิตเล่อร์ได้รับ"ข่าวดี" ที่เขาเกิดความปิติที่สุดในชีวิต นั่นก็คือ การเสียชีวิตของประธานาธิบดีรูสเวลต์
            ผู้ซึ่งเคยประกาศไว้ปาวๆว่า..เยอรมันต้องยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนใขเท่านั้น
            ฮิตเล่อร์เข้าใจไปว่า การจากไปของรูสเวลต์คือการเกิดใหม่ของเยอรมัน เขาถึงกับเดินออกมารับลมนอกบังเกอร์
            หัวเราะต่อกระซิก ทักทายใครต่อใครพร้อมบอกข่าวดีด้วยใบหน้าที่แช่มชื่น
            แถมเขายังวาดแผนต่อไปว่า เขาจะย้ายกลับไปอยู่ที่รังพญานกอินทรีย์ เพื่อที่จะคอยนั่งดูพวกสพม. มันฆ่ากันตายไปเอง
            เพราะฮิตเล่อร์เชื่อเสมอว่า กลุ่มคอมมิวนิสต์ กับกลุ่มทุนนิยม ไม่มีวันเข้ากันได้ อย่างดีก็ประเดี๋ยวประด๋าว..


            ยามอารมณ์ลง..บางทีก็เปลี่ยนแผนใหม่ว่า..เขาอาจจะอยู่ใน บังเกอร์นี่จนวินาทีสุดท้าย และ วินาทีนั้น เขาจะจัดการปลิดชีวิตด้วย
            มือของเขาเอง
            จากนั้น ทั้งฮิตเล่อร์และเกิบเบิลส์ ก็ได้แต่นั่งวางแผนในการที่จะฆ่าตัวตาย
            เกิบเบิลส์ได้บอกว่า เขาจะใช้วิธีกินยาตาย โดยการรอให้เมียและลูกๆกินก่อน และเขาจะเป็นคนสุดท้าย
            เพราะ ถ้าเมื่อไหร่ก็ตาม ที่เยอรมันได้ตกเป็นของสพม. ไม่ว่าใครในตระกูลเกิบเบิลส์ ก็จะเหมือนตายทั้งเป็น
            แล้วจะให้อยู่ไปใย..
            วันที่ 14 เมษายน หลังจากการถึงแก่กรรมของรูสเวลต์ได้เพียงสองวัน เหล่ากองทัพสพม. หาได้หยุดยั้งตามที่ฮิตเล่อร์คิดไม่
            แต่กลับเข้าบุกตีกองทัพเยอรมันที่อิตาลี  ทหารนาซีถอยร่นแบบไม่เป็นขบวน แม่ทัพได้ติดต่อกลับมาเพื่อขอถอนทหารออกจากแนวรบ
            ฮิตเล่อร์ตอบหน้าตาเฉยว่า..ไม่มีวัน..
            กองทัพก็ต้องสู้ไปถอยไป..จนไปติดกับแม่น้ำ Po มาถึงตรงนี้ ไม่มีอะไรดีไปกว่า ยอมแพ้ซะดีๆ..
            เป็นอันว่า อิตาลี  เป็นเขตปลอดทหารเยอรมันอย่างหมดจด (ทั้งๆที่ น่าจะยอมแพ้ตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว)
            ฮิตเล่อร์กว่าจะรู้ก็ช้าไปแล้ว เพราะการขาดตอนของข่าวสาร

            มาถึงในช่วงนี้ ไม่ว่าข่าวจากที่ไหนๆก็เหมือนกันทั้งสิ้น นั่นคือ การพ่ายทัพทั้งสองทาง..
            เขาจึงเรียก แม่ทัพเรือ โดนิทซ์
            และ แม่ทัพไกเทลให้เข้ามาพบด่วน..โดยสั่งการว่า ให้แม่ทัพโดนิทซ์ไปควบคุมดูแลสถานะการณ์ในด้านเหนือ
            แม่ทัพไกเทล จงไปดูด้านใต้
            และเขาเองได้ออกแถลงการณ์ ต่อทหาร(ครั้งสุดท้าย) ในวันนั้นว่า

            ทหารในแนวหน้าตะวันออกที่รักของเราทั้งหลาย..

            พวกท่านก็ได้รับรู้แล้วว่า ทหารของบอลเชวิคได้กำลังเดินหน้าเข้ามาในแผ่นดินของเรา เพื่อทำลาย กวาดล้าง ทารุณ
            อันเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า..มันโหดเหี้ยมเพียงไร ชาวบ้านไม่ว่า ผู้หญิง เด็กเล็ก จะต้องถูกส่งไปบำบัดความใคร่
            จากนั้นก็จะถูกส่งไปทรมานยังไซบีเรีย ผู้ชายไม่ว่าหนุ่มว่าแก่ ก็จะถูกสังหารสิ้น
            ฉะนั้น ขอให้พวกเรากองทัพประชาชน และทหารทั้งหลาย จงลุกขึ้นสู้ เพื่อสั่งสอนให้ไอ้พวกบอลเชวิคมันได้รู้จักกับ
            การรักชาติของพวกเรา
            เราทุกคนต้องยอมเสียเลือดเนื้อเพื่อประเทศชาติ มันผู้ใดที่มิได้ปฏิบัติตาม ถือว่ามันผู้นั้นเป็นกบฏต่อพวกเราและต่อบ้านเกิดเมืองนอน
            ทหาร ทุกหน่วยทุกกรมกอง ถ้ามันผู้ใดละทิ้งฐานปฏิบัติ ไม่ว่ายศใดก็ตาม..จับมันได้ที่ไหน ก็จงฆ่ามันทิ้งเสียที่ตรงนั้น อย่าเอาไว้ให้เป็นเยี่ยงอย่าง
            ถ้าแนวหน้าของเราสู้อย่างถวายชีวิต เบอร์ลิน ก็ยังจะเป็นของเยอรมัน เวียนนาก็จะต้องกลับมาเป็นของเยอรมันอีกครั้ง ยุโรปจักได้ไม่ตกอยู่ในมือของพวกรัสเชี่ยน
            ขอให้พวกเราพี่น้องจงร่วมมือร่วมใจกันต่อสู้เพื่อปิตุภูมิของเรา เพื่อครอบครัวของเรา เพื่ออนาคตของเรา
            และณ.ชั่วโมงนี้..ประชาชนทั้งประเทศได้ฝากความหวังไว้กับท่าน ทหารหาญแนวหน้าตะวันออกเอ๋ย..
            จงสั่งสอนให้พวกบอลเชวิคให้หน้าหงายเลือดโชกกลับออกไป
            ดังที่พระเจ้าได้ลากวิญญาณของไอ้อาชญากรคนนั้น(หมายถึงรูสเวลต์)ลงนรก...เพื่อให้เรามีชัยเหนือสงครามครั้งนี้ !!


            ถ้าสงครามครั้งนี้วัดกันด้วยสุนทรพจน์ ก็นับว่า ฮิตเล่อร์ได้ชนะขาดลอย เพราะในยามย่ำแย่ขนาดนั้น ก็ยังไม่วายมีคนเชื่อเขาตั้งครึ่งตั้งค่อนเมืองแน่ะ..
            แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ฮิตเล่อร์ได้รู้ดีแก่ใจว่า เยอรมันแพ้สงครามครั้งนี้อย่างแน่นอน
            เขา ได้วาดวิมานในอากาศต่อไปว่า จะจัดส่งคนบินไปอเมริกา เพื่อที่จะเจรจากับประธานาธิบดีคนใหม่ นาย ทรูแมน เพื่อที่จะเจรจาสันติ เพราะสิ้นรูสเวลต์ไปซะคน นโยบายอาจเปลี่ยนไป
            ข้อความอันนี้เปรียบเสมือนการต่อความหวังให้กับชาวนาซี ทั้งๆที่ ทุกคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่า ถึงอเมริกาจะยอมรับฟัง
            แต่..จะเผชิญหน้ากับชาวบอลเชวิคอย่างไร?
            วันที่ 15 รัสเซียยิงกระสุนนัดแรกเข้าสู่กรุงเบอร์ลิน..
            ฮิตเล่อร์ทิ้งห้องทำงานบนทำเนียบอย่างถาวร วิ่งกลับไปอยู่ในบังเกอร์แทบไม่ทัน ข้าวของเครื่องประดับต่างๆก็ถูกขนย้ายออกไปอย่างรวดเร็ว
            ไม่ว่าจะเป็นภาพศิลป พรม รูปปั้น..ทุกอย่างถูกนำออกไปจนหมดสิ้น เหลือไว้เพียงแต่โครงอาคารที่ตั้งตะหง่านเป็นเป้ากระสุน


            วันที่ 20 วันนั้นฮิตเล่อร์โผล่ออกมาจากบังเกอร์เป็นครั้งแรก เพื่อทำการประดับยศให้แต่ยุวชนนาซี ที่ออกไปร่วมรบกับทหาร
            อีกทั้งเป็นวันคล้ายวันกิดของเขาด้วย
            จนกระทั่งปลายเดือนนั้น เขายังเพ้อฝันถึงการกลับไปใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านบนภูเขา ทั้งๆที่มันเป็นไปไม่ได้ในด้านความเป็นจริง
            แต่ สเปียร์ ก็ยังถามซ้ำขึ้นมาอีกอีกครั้งเผื่อว่า ท่านผู้นำจะเปลี่ยนใจ เนื่องจากยังมีเส้นทางที่จะหนีรอดออกไปได้อีกเส้นทางหนึ่งโดยผ่านไปทางป่า ชายแดนบาวาเรีย
            ซึ่งฮิตเล่อร์สามารถใช้เส้นทางนี้กลับไปยังรังพญานกอินทรีย์ได้
            และสเปียร์สำทับว่า ถ้าจะไปก็รีบๆเข้า เพราะ มันอาจถูกตัดได้ในทุกเวลา
            ฮิตเล่อร์ปฏิเสธ เขาบอกว่า เขาไม่มีทางไปจากเบอร์ลิน จะขอยอมตายไปพร้อมกับมหาอาณาจักรพันปี
            มาถึงตอนนี้ ทุกคนได้เห็นว่า ท่านผู้นำเริ่มมีสุขภาพที่ทรุดโทรม จากมือที่คอยกระตุกเป็นระยะ ระยะ
            ท่วงทีและใบหน้าที่แก่กว่าความเป็นจริง
            ส่วนเกอริง พอได้ยินว่า ยังมีเส้นทางที่เปิดใช้การได้อยู่ เขารีบสรวมรอยบอกขึ้นมาว่า
            "อ้ะ..พอดีนึกขึ้นได้ว่ามีธุระ ที่ต้องลงไปทางใต้ด่วน ขอลาตรงนี้ละกัน"
            หลายๆคนก็เผอิญเกิดมีธุระขึ้นมาเช่นกัน..ล้วนแล้วแต่ขอกลับกันจ้าละหวั่นรวมทั้งสเปียร์..
            ฮิตเล่อร์จ้องหน้าเกอริงเขม็ง แต่ไม่เอ่ยทัดทานอะไรทั้งสิ้น นอกจากเข้ามาจับมือ และเซย์กู๊ดบาย

            สองวันต่อมา สเปียร์กลับมายังเบอร์ลินอีกครั้ง แต่คราวนี้เขามาโดยเครื่องบินเล็ก เพราะเส้นทางที่ว่านั่นถูกตัดตอนไปแล้ว
            เขากลับมาเพื่อขอลาท่านผู้นำอย่างเป็นกิจจะลักษณะเป็นครั้งสุดท้าย..
            ฮิตเล่อร์ได้ถามสเปียร์ขึ้นมาอีกครั้งว่า..เขาควรจะอยู่ที่เบอร์ลินนี่ หรือกลับไปยังเบอร์เทสการ์เดน
            สเปียร์ ได้ตอบอย่างฉาดฉานและโต้งๆว่า
            "ท่านผู้นำควรที่จะอยู่ที่นี่..เพราะ ถึงท่านจะไปที่ไหน จุดจบก็เหมือนกัน แต่อย่างน้อย ถ้าท่านมีอันต้องเป็นไปในนี้
            มันก็จะเป็นโศกนาฏกรรมอันยิ่งใหญ่เหมือนกับอุปรากรของว้าคเน่อร์ที่ท่านรักและบูชาอย่างยิ่งไงล่ะ"

            ฮิตเล่อร์เห็นด้วยตวามความคิดนี้ทุกประการ เขาได้ขยายแผนการให้ฟังว่า เขาจะทำอย่างไรต่อไปในวันสุดท้ายของชีวิต
            นั่นคือ จัดการฆ่าบลอนดี้ (สุนัขคู่ใจ) ไปซะก่อน เพื่อไม่ให้สุนัขที่เขารักต้องตกไปเป็นเหยื่อของรัสเซีย
            ต่อมาคือ เอวา บราวน์ ที่ต้องตาย
            เขาก็จะจัดการกับตัวเขาเอง จากนั้น ร่างของเขาทั้งสองจะต้องถูกเผาผลาญให้สิ้น ไม่ให้เหลือซากให้พวกบอลเชวิค
            ขุดคุ้ยขึ้นมาทำอนาจารได้.. 










     

            เขาเล่าว่าเขาเคยคิดที่จะออกไปร่วมกับกองทัพประชาชนในการต่อสู้ แต่พอมาคิดว่า อาจถูกรัสเซียจับตัวได้
            เขาก็ล้มเลิกความคิดนั้นทันที
            จากนั้น ฮิตเล่อร์ก็นำสเปียร์ไปยังห้องประชุม เพื่อรับทราบข่าวภายนอก
            แต่นายทหารได้เข้ามาบอกว่า วันนี้ไม่มีข่าว เพราะ สายโทรศัพท์ได้ถูกตัดขาดจนสิ้น.. 



            วันที่ 22 เกิบเบิ้ลส์และครอบครัวได้ย้ายเข้ามารวมตัวกันอยู่ในบังเกอร์ ตามคำเชิญของท่านผู้นำ
            เพราะว่านิวาสถานภาคพื้นดินได้ถูกระเบิดจนเสียหายยับเยิน
            วัน ที่ 23 ได้มีโทรเลขจากเกอริง ใจความว่า..ถ้าท่านผู้นำไม่คิดที่จะทำอะไรเลย เขาก็ขอแต่งตั้งตัวเองขึ้นมาเป็นผู้นำที่มีอำนาจเด็ดขาดแห่งอารยะอาณาจักร ที่สามแทน

            ฮิตเล่อร์แทบกระอักออกมาเป็นโลหิต..ด้วยความโกรธและผิดหวัง เขาสั่งปลดยศเกอริงออกจากทุกตำแหน่ง
            อีกทั้งประกาศต่อทุกคนว่า เกอริงคือกบฏ และจะต้องได้รับโทษขั้นร้ายแรง
            พร้อมทั้งแต่งตั้ง นาย มาร์ติน บอร์มันน์ ขึ้นมาเป็นผู้นำที่มีอำนาจต่อจากเขาอย่างเต็มที่
            ฮิตเล่อร์ยังคงหลงผิดคิดว่าตัวเองมีอำนาจที่จะสั่งการอย่างไรก็ได้ ทั้งๆที่ข้างนอกนั้น เสียงปืนของรัสเซียก็กระหน่ำเข้ามาตูมๆ

            จากนั้นเขาก็พบว่า ฮิมม์เล่อร์สมุนมือขวาของเขานั้น ได้พยายามเอาตัวเข้าเสนอต่อฝ่ายสพม. เพื่อขอเจรจาสันติ
            โดยจะใช้ตัวกลางในการเจรจาคือ ท่านเคานต์ Folke Bernadotte of Sweden


          

ฮิตเล่อร์ก็สั่งปลดฮิมม์เล่อร์ออกจากทุกตำแหน่งเช่นเดียวกับเกอริง..
            มาถึงตอนนี้ เหลือแม่ทัพ ไกเทล และแม่ทัพ โจลด์ ที่ต้องหันหน้ามาปรึกษากันว่า จะทำอย่างไรจึงจะรักษาเบอร์ลิน
            ให้เหลือรอดพ้นเงื้อมมือของรัสเซียได้
            ทางเดียวที่เหลือคือ ถอนกำลังทางตะวันตกมายันทางตะวันออกอย่างเดียว แต่ก็นั่นแหละ ถ้าเป็นเช่นนั้นก็เท่ากับว่า
            ฝ่ายสพม.ก็เดินเข้าเบอร์ลินอย่างสบายๆ จะช้าหรือเร็วก็เท่านั้น

            ข่าวสารจากภายนอกที่ถูกตัดขาด ฮิตเล่อร์กลับกลายเป็นเด็กๆที่วันๆได้แต่นั่งจ้องบนแผ่นแผนที่ พร้อมทั้งย้ายหมุดอันเปรียบเสมือน
            ตัวแทนของกองทัพ จากจุดนั้นไปจุดนี้ ทั้งๆที่ กองทัพที่ว่านั่นมีเหลืออยู่แต่ในจินตนาการของเขาเท่านั้น..

            วันที่ 29 เมษายน กองทัพรัสเซียได้เข้ามาจ่ออยู่ใกล้ทำเนียบเพียงไม่กี่บล๊อค
            ฮิตเล่อร์ได้เริ่มลงมือเขียนพินัยกรรม
            และจัดพิธีแต่งงานกับเอวา บราวน์ (ตามที่เธอปรารถนามานานนมเน)  มีการเลี้ยงอาหารและแชมเปญนิดหน่อยในหมู่พนักงาน
            จากนั้นเขาขอตัวเข้าไปนอนแต่หัวค่ำ

            เช้าตรู่ของวันที่ 30 ฝ่ายสารวัตรทหารได้เข้ามารายงานว่า รัสเซียกำลังจะมาถึง และอาจจะถึงทำเนียบภายในครึ่งวันเป็นอย่างช้า
            ฮิตเล่อร์รับฟังแบบเงียบๆราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น..ยังคงนั่งจัดหมุดลงบน แผนที่เหมือนอย่างเคย..สักพักเขาก็ออกมาลาเหล่าพนักงาน
            สุดท้ายก็คือ การไปลาอย่างเป็นเรื่องเป็นราวกับครอบครัวของนายเกบเบิ้ลส์  ก่อนที่ทั้งฮิตเล่อร์และเอวาจะขอตัวเข้าไปในห้องตามลำพัง

            อึดใจต่อมา..เสียงปืนก็ได้ดังขึ้นหนึ่งนัด ทั้งเกิบเบิ้ลส์และบอร์มันน์ ต่างก็รีบรุดเข้าไปดู
            พบว่า เอวานอนเอนสิ้นใจอยู่บนโซฟา บนพื้นพรมข้างล่างมีกล่องเปล่าของยาไซยไนด์ กลิ้งโค่โล่อยู่
            กลิ่นขมๆของยาผสมกับกลิ่นดินปืนคละคลุ้งไปในอากาศ  บนโซฟาเดียวกันนั้น..
            คือ ร่างที่ไร้วิญญาณของท่านผู้นำโชกด้วยเลือดที่ไหลอาบมาจากรูกระสุนปืนที่เขา ได้ยิงจ่อเข้าที่หน้าผากตัวเองทะลุออกทางศรีษะด้านหลัง..!!
            ศพของคนทั้งสองได้ถูกหามออกมาทางด้านหลังในบริเวณสวนเล็ก...ทหารได้ใช้ น้ำมันเบนซินราด..และจุดไฟเผาตามคำสั่งของฮิตเล่อร์ที่สั่งเสียไว้.. ภาพของสถานที่ที่ทำการเผา..มีทหารรัสเซียได้เข้ามาคุมพื้นที่..






          

ป.ล. แต่เรื่องของฝั่งอื่นๆ ดิฉันหมายถึง เรื่องของฝั่งรัสเซียที่น่าสนใจมากนั้น...จะนำมาเสนอต่อไปรวมถึงเรื่องกลุ่ม ขุนพลนาซีที่แตกสานซ่านเซ็น...ต้องหนีออกนอกประเทศไปเป็นส่วนใหญ่...แต่ก๋ห นีไม่ได้นานหรอกค่ะ เพราะถูก (ยิว)กรรมตามสนอง ถ้าใครจำได้เรื่องนักเรียนที่เชียงใหม่เดินพาเหรดด้วยเครื่องแต่งกายของทหาร หน่วย SS เพียงเพื่อต้องการให้กีฬาสีมีสีสันขึ้นมา..จากนั้นก็ได้การทักท้วงจาก The Simon Wiesenthal Center ซึ่งเป็นศูนย์กลางที่ให้การศึกษาเกี่ยวกับการล้างเผ่าพันธุ์ที่อยู่ใน โครงการหนึ่งของยูเนสโก..
ท่านผู้ก่อตั้ง คือ Simon Wiesenthal  คนนี้ละค่ะ ที่สำคัญมาก เขาเป็นชาวยิวที่รรอดชีวิตมาจากค่ายนรกแบบฉิวเฉียด และด้วยความเจ็บปวดที่ถูกกระทำ ทำให้ไซมอนเริ่มก่อตั้งชมรมเล็กๆเพื่อเป็นศูนย์กลางช่วยเหลือชาวยิวในการ ติดตามหาครอบครัวที่พลัดพราก ประสานและค้นหางานทางด้านเอกสารเพื่อนำมาเรียบเรียงให้หมดว่า ใครตายที่ค่ายไหน...อย่างไร..เมื่อใด..ต่อมาพวกชาวยิวได้รวมตัวกันได้..ไซ มอนไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น..เขาและชาวยิวในส่วนอื่นๆของโลกได้ผนึกกำลัง กัน...ตามล่า..หาพวกนาซีที่เหลือ..เพื่อเอาตัวมารับโทษให้จงได้..ไม่ว่าจะ ต้องใช้เวลาเท่าใด..ยากเย็นขนาดไหน..เขาไม่เคยย่อท้อ..


 Simon Wiesenthal

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น