ลัทธิล่าอาณานิคม
ลัทธิล่าอาณานิคม
การล่าอาณานิคมเป็นปฏิบัติการที่มีมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลของรัฐที่มีอำนาจ
เช่น
ฟีนีเซียมีอาณานิคมอยู่ที่ทางตอนเหนือของแอฟริกาในพื้นที่ที่เป็นประเทศตูนีเซียในปัจจุบัน
บรรดานครรัฐต่างๆของกรืกมีอาณานิคมในแถบคาบสมุทรอิตาลี
จักรวรรดิโรมันมีโดยรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทั้งใน ยุโรป แอฟริกา เอเชียไมเนอร์
ในยุคโบราณนั้นแรงจูงใจในการแสวงหาอาณานิคมนั้น
สว่นใหญ่แล้วประกอบไปด้วยองค์ประกอบ2-3ประการด้วยกันคือ
ความต้องการแสดงอำนาจและแสนยานุภาพ ความต้องการดินแดนเพื่อรองรับการขยายตัวของ
ประชากร และความต้องการจุดแวะพักหรือศูนย์กลางแลกเปลี่ยนสินค้าในการค้าขาย
แต่เมื่อความเจริญรุ่งเรืองของยุคโบราณได้เสื่อมสลายลงในสมัยจักรวรรดิโรมัน
และโลกกตะวันตกได้เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคกลาง
จากการเข้ามายึดครองของพวกอารยชนที่ป่าเถื่อน
การล่าอาณานิคมก็พลอยชงักงันลงพร้อมไปกับความเจริญรุ่งเรืองของยุคโบราณด้วย
การล่าอาณานิคมเริ่มมีบทบาทขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งเมื่อมีการตื่นตัว
ฟื้นฟูศิลปะวิทยาการและการพัฒนาทางด้านการค้าภายหลังสงครามครูเสดในคริสต์
ศตวรรษที่
15-18
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการแสวงหาเส้นทางการค้าใหม่กับทางตะวันออกซึ่งทำ
ให้มีการค้นพบโลกใหม่หรือทวีปอเมริกาขึ้นการเพิ่มปริมาณการค้าอย่างมากมาย
และการปฏิรูปศาสนาทำให้แรงจูงใจในการล่าอาณานิคมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคย
มีมาในสมัยยุคโบราณโดยเน้นไปที่การแสวงหาจุดแวะพักสินค้าหรือสถานีทางการค้า
มากขึ้นและในขณะเดียวกันก็มีแรงจูงใจใหม่เสริมขึ้นมาอีกประการหนึ่งคือความ
ต้องการเผยแพร่ศาสนาในรูปของคณะผู้สอนศาสนาหรือมิชชชันนารี
(missionaries) ไม่
ว่าจะเป็นจากนิกายดั้งเดิมหรือโรมันคาทอลิกหรือนิกายใหม่คือนิกาย
โปรเตสแตนท์
ต่อมาในช่วงศตวรรษที่ 18-19
ได้มีปรากฎการณ์หนึ่งเกิดขึ้นที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆตามมาอย่าง
มากมายรวมทั้งแรงจูงใจและรูปแบบของการล่าอาณานิคมอีกด้วย
ปรากฎการณ์ที่ว่านี้ก็คือการปฏิวัติอุตสาหกรรมนั่นเอง
การปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้สินค้าได้รับการผลิตในปริมาณที่มากขึ้นและภายใน
เวลาที่รวดเร็วขึ้นซึ่งทำให้เกิดความต้องการวัตถุดิบเพื่อนำมาป้อนในกระบวน
การผลิตในปริมาณที่มากขึ้นและความต้องการแหล่งที่จะเป็นตลาดเพื่อระบาย
สินค้าต่างๆเหล่านั้นตามมาด้วย
นอกจากนี้แล้วการคิดค้นทฤษฎีและหลักการใหม่ๆในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19
ยังเป็นแรงดลใจอีกทางหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังการล่าอาณานิคมในช่วงคริสต์
ศตวรรษที่
19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20
จากแรงจูงใจที่มีองค์ประกอบปัจจัยเพิ่มเติมเข้ามาหลายด้านครอบคลุม
รวมทั้งทางด้านการเมือง
เศรษฐกิจและสังคม
ทำให้การล่าอาณานิคมในช่วงหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมมีลักษณะที่บ่งบอกถึง
ความต้องการในการขยายอำนาจของชาติมหาอำนาจที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
และเมื่อมีลักษณะเป็นเช่นนี้การแข่งขันเพื่อช่วงชิงผลประโยชน์ระหว่างชาตมหา
อำนาจจึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ดังนั้นการล่าอาณานิคมในช่วงหลัง
นี้บางครั้งจึงมีการเรียกขานกันว่าลัทธิจักรวรรดินิยม
(Imperialism) หรือความนิยมในการสร้างจักรวรรดิของชาติมหาอำนาจซึ่งก็มีลักษณะและรูปแบบที่มากมายหลากหลายมากยิ่งขึ้น
และจาการแข่งขันช่วงชิงเพื่อแสวงหาผลประโยชน์นี้บางครั้งก็ลงเอยด้วยความขัดแย้ง
การแสวงหาพันธมิตร การแบ่งค่าย การสร้างดุลแห่งอำนาจ
การเสี่ยงต่อภาวะของสงครามใหญ่ระหว่างนานาชาติหากมีความเพลี่ยงพล้ำในดุลแห่งอำนาจ
การล่าอาณานิคมในแอฟริกา
เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1885
จากประเทศเยอรมนีโดยการนำของบิสมาร์คได้จัดให้มีการประชุมในกรุงเบอร์ลินว่าด้วยข้อตกลงเกี่ยวกับการเข้าครอบครองดินแดนในทวีปแอฟริกา
ทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่
มีทรัพยากรจำนวนมหาศาล อันเป็นที่ต้องการของชาวยุโรป
นอกจากนี้ยังเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญเชื่อมต่อกับโลกใหม่และทวีปเอเชีย
จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19
มีเพียงไม่กี่อาณาจักรในแอฟริกาที่มีระบบการปกครองที่มั่นคง
อาณาจักรเหล่านี้ได้แก่ กานา มาลี แต่ก็มีความเจริญเทียบได้กับยุโรปในยุคกลางเท่านั้น
เมื่อพวกอาหรับรุกรานมาจากทางตอนเหนือ อาณาจักรเหล่านี้ก็ถูกทำลายไปสิ้น
ในเวลานั้นชาวยุโรปยังไม่เคยเข้าไปสำรวจถึงใจกลางทวีป จนกระทั่งในช่วง 30
ปีสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อมีความพยายามจะเผยแผ่ศาสนาไปในหมู่ชาวแอฟริกา
โดยพวกมิชชันนารี ทำให้มีการสำรวจดินแดนใจกลางทวีปขึ้น
พร้อมกันนั้นก็มีนักวิทยาศาสตร์และนักสำรวจติดตามไปด้วย
พวกนี้ได้นำเอาเรื่องราวการค้นพบแหล่งทรัพยากรที่สมบูรณ์มาเผยแพร่
ทำให้นักลงทุนโดยการสนับสนุนของรัฐบาลเริ่มเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์มากยิ่งขึ้น
ในไม่ช้าก็เกิดการแย่งชิงกรรมสิทธิ์หรือการเข้าครอบครอง
ใน ค.ศ. 1885
เยอรมนีโดยการนำของบิสมาร์คได้จัดให้มีการประชุมในกรุงเบอร์ลินว่าด้วยข้อตกลงเกี่ยวกับการเข้าครอบครองดินแดนในทวีปแอฟริกา
ที่ประชุมตกลงกันว่าชาติใดที่มีดินแดนอยู่ตามชายฝั่งสามารถยึดครองพื้นที่ที่ลึกเข้าไปได้
โดยการส่งคนไปปกครองดูแลและประกาศการเข้ายึดครองอย่างเป็นทางการ
นับตั้งแต่นั้นมาดินแดนในทวีปแอฟริกาก็ถูกแบ่งแยกออกเป็นส่วนๆ
โดยการเข้าครอบครองของอังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และเยอรมนี
ส่วนโปรตุเกสนั้นยังคงรักษาสถานีการค้าของตนไว้ได้ที่อังโกลาและโมซัมบิก
การเข้ายึดครองแอฟริกาของชาวยุโรปในครั้งนั้นมีข้ออ้าง
3 ประการ คือ
1.
เพื่อเปิดประตูการค้าให้กว้างขวางตลอดทั่วภาคพื้นทวีป
2.
เพื่อปลดปล่อยชนเผ่าต่างๆให้เป็นอิสระจากพวกนักค้าทาสชาวอาหรับ
3.
เพื่อเผยแผ่คริสต์ศาสนาไปยังดินแดนที่ชาวยุโรปเรียกว่ากาฬทวีป
( Dark Continent )
หลังจากนั้นเพียง 30 ปี
ของการเข้าแย่งชิงผลประโยชน์แอฟริกาทั้งทวีป ยกเว้นไลบีเรียกับเอธิโอเปีย
ก็ตกเป็นอาณานิคมของชาวยุโรปจนหมดสิ้น
ผลของการล่าอาณานิคมในแอฟริกา
การกำหนดเขตแดนของแอฟริกาโดยชาวยุโรป
กระทำไปโดยไม่คำนึงถึงภาษาและเผ่าพันธุ์ของประชากรในพื้นที่นั้นๆ
จะเห็นได้จากอาณาเขตของหลายประเทศที่ปรากฏในแผนที่จะมีการลากเป็นเส้นตรง
ด้วยเหตุนี้ภายหลังที่ชาติเหล่านี้ได้เอกราชจึงเกิดปัญหาความเป็นเอกภาพภายในชาติมาจนถึงทุกวันนี้
การเข้าครอบครองของชาติตะวันตกได้ทำให้เกิดความทุกข์ยากแก่ชาวแอฟริกาทั้งมวล
เดิมทีชาวพื้นเมืองดำรงชีพด้วยการทำไร่ เลี้ยงสัตว์ตามแบบดั้งเดิมที่เคยทำกันมา
ชาวแอฟริกามีภาษาเขียนไม่มากนัก แต่มีงานทางด้านศิลปะ คือ รูปปั้นสำริด การแกะสลักไม้และงาช้าง
มีภาพวาดตามแบบพื้นเมืองจำนวนมาก ชาวพื้นเมืองไม่เคยรู้เรื่องของวิทยาการสมัยใหม่
ไม่รู้จักระบบการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ไม่รู้จักระบบการปกครอง
กฎหมายและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
ชาวยุโรปได้เข้าเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวพื้นเมือง ด้วยการบังคับแรงงานชาวพื้นเมืองให้สร้างถนน
ขุดเหมืองแร่ ขุดดิน ด้วยเวลาการทำงานที่ยาวนานกว่าปกติมีการนำเอาพืชใหม่ๆมาปลูก
เช่น ยางพารา โกโก้ แทนที่พื้นดินที่เคยใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ ล่าสัตว์
และที่อยู่อาศัยของชาวพื้นเมือง
มีการกวาดต้อนเผ่าชนทั้งเผ่าไปอยู่ในบริเวณที่กำหนดไว้ แยกผู้ชายออกจากครอบครัวแล้วส่งไปทำงานยังที่ห่างไกล
ถ้าใครขัดขืนก็จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง เช่น ตัดมือ ยิงเป้า เป็นต้น
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ประเทศส่วนใหญ่ในแอฟริกาได้เอกราชกลับคืนมาแต่ประเทศที่เกิดใหม่เหล่านี้เกดขึ้นตามแบบฉบับของชาวตะวันตก
คือ มีเมืองเป็นศูนย์กลางของความทันสมัย อิทธิพลทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
และการศึกษาแผนใหม่ ทำให้วิถีชีวิตของชนเผ่าต่างๆเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล
การล่าอาณานิคมในเอเชีย
อังกฤษในอินเดีย
อังกฤษก่อตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ (The British East India Company) ขึ้นในปี พ.ศ. 2143
แม้ว่าจะเป็นการเผชิญหน้าโดยตรงกับฝรั่งเศสและดัทช์
ซึ่งมีผลประโยชน์อยู่ในอินเดียขณะนั้น
แต่บริษัทก็สามารถเติบโตและขยายอำนาจเข้าครอบงำดินแดนทั้งหมดของอนุทวีปได้ในศตวรรษต่อมา
เมื่ออังกฤษเข้าครองเบงกอลได้ หลังมีชัยชนะในยุทธการเพลสเซย์ (Battle of
Plassey) ในปี พ.ศ. 2300
บริษัทบริติชเอเชียตะวันออกเติบโตขึ้นในช่วงจังหวะที่พระราชอำนาจของราชวงศ์โมก์ฮัลหรือราชวงศ์โมกุล
(Mughal) ตกต่ำเสื่อมถอย เนื่องจากการคอรัปชั่น กดขี่ราษฎร
และการก่อกบฏ จนในที่สุดก็ถึงกาลล่มสลายลงในรัชสมัยของกษัตริย์โอรังเซบ (Aurangzab)
ซึ่งปกครองอินเดียในช่วงปี ค.ศ. 1658 – 1707
ฝรั่งเศสในอินโดจีน
บทบาทของฝรั่งเศสในอาณานิคมเอเชียนั้นแตกต่างจากอังกฤษ
เพราะฝรั่งเศสได้สูญเสียอำนาจจักรวรรดินิยมของตนให้แก่อังกฤษไป
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18
ดังนั้นจึงมีพื้นฐานสำหรับการขยายดินแดนเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง
ในแง่ของภูมิศาสตร์และการพาณิชย์น้อยกว่าอังกฤษ
ในช่วงหลังจากทศวรรษ 1850
ลัทธิจักรวรรดินิยมของฝรั่งถูกกระตุ้นโดยความต้องการด้านชาตินิยมเพื่อแข่ง
ขันกับคู่ปรับคืออังกฤษ
และได้รับการสนับสนุนทางปัญญา
โดยแนวคิดเกี่ยวกับความยิ่งใหญ่เหนือกว่าชาติอื่นของวัฒนธรรมฝรั่งเศส
และขบวนการพิเศษของ "mission civilisatrice" หรือ
ขบวนการหล่อหลอมชนพื้นเมืองให้มีความอารยะโดยผ่านการซึมซับรับเอาวัฒนธรรม
ของชาติฝรั่งเศสเข้าไปอย่างกลมกลืนแทบไม่รู้สึกตัว
ดังนั้น
ข้ออ้างโดยตรงของฝรั่งเศสในการขยายอิทธิพลเข้าสู่อินโดจีนก็คือการปกป้องคณะ
มิชชั่นนารีฝรั่งเศสที่เข้าไปเผยแพร่ศาสนาในพื้นที่ดังกล่าว
ควบคู่กันไปกับความปรารถนาที่จะค้นหาเส้นทางเข้าสู่ทางภาคใต้ของจีน
โดยผ่านพื้นที่ทางภาคเหนือของเวียดนามซึ่งเรียกว่า ดินแดนตั๋งเกี๋ย (Tonkin)
ฝรั่งเศสได้เข้าไปลงหลักปักฐานผลประโยชน์ของตนทั้งทางด้านศาสนาและทางด้านการค้าในอินโดจีนตั้งแต่ในศตวรรษที่
17
แต่ความพยายามที่จะประสานผลประโยชน์ทั้งสองด้านเข้าด้วยกันเพื่อสถาปนาเขตอิทธิพลของฝรั่งเศสขึ้นนั้นไม่สามารถเป็นไปได้
เนื่องจากจะต้องเผชิญหน้ากับอังกฤษที่กำลังแข็งแกร่งเฟื่องฟู
แผ่อำนาจไล่ล่าอาณานิคมอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย
ขณะที่ฝรั่งเศสเป็นฝ่ายปราชัยอยู่ในยุโรปในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 และต้นศตวรรษที่
19 ต่อมาในช่วงกลางศตวรรษที่ 19
กลุ่มเคร่งศาสนาได้กลับฟื้นคืนสู่อำนาจอีกครั้งในฝรั่งเศสอันเป็นช่วงที่เรียกกันว่า
"จักรวรรดิที่ 2" (the Second
Empire) สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปนี้
ทำให้ความสนใจต่อผลประโยชน์ของฝรั่งเศสในตะวันออกไกลมีกระแสเพิ่มสูงขึ้น
และเมื่อเกิดกระแสต่อต้านศาสนาคริสต์ขึ้นในดินแดนตะวันออกไกล เช่น
การจับกุม
กลั่นแกล้งและสังหารชาวคริสต์ ฯลฯ
เหตุการณ์ดังกล่าวจึงกลายเป็นเหตุผลสำคัญทำให้ฝรั่งเศสก้าวเข้าแทรกแซงฝ่าย
บริหารของชนถ้องถิ่น
ตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 1856
จีนสั่งประหารชีวิตมิชชันนารีฝรั่งเศสที่ไปเผยแพร่ศาสนาอยู่ในดินแดนทางใต้
ของจีน
และในปี ค.ศ. 1857
จักรพรรดิเวียดนามซึ่งกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาวิกฤติในประเทศ
ได้พยายามทำลายอิทธิพลของต่างชาติในเวียดนามโดยการสั่งประหารชีวิตบิชอปชาว
สเปนแห่งตังเกี๋ย
(Tonkin) ฝรั่งเศสซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์นโปเลียนที่
3 ตัดสินใจว่า ถ้าฝรั่งเศสไม่เข้าไปช่วย
ศาสนาคาทอลิกจะถูกจำกัดให้สูญหายไปจากดินแดนตะวันออกไกล พระองค์จึงร่วมมือกับอังกฤษทำสงครามกับจีน
เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1857 ไปจนถึงปี ค.ศ. 1860 พร้อมกับทำสงครามยึดเวียดนามด้วย
และในปี ค.ศ. 1860 ฝรั่งเศสก็เข้ายึดครองไซง่อนไว้ได้
ตามสนธิสัญญาฝรั่งเศส-เวียดนาม
(Franco-Vietnamese Treaty) ซึ่งทำขึ้นในปี ค.ศ. 1862
นั้น จักรพรรดิเวียดนามไม่เพียงยินยอมยกดินแดน 3 จังหวัดในโคชิน ไชน่า (Cochin
China) ดินแดนทางภาคใต้ให้แก่ฝรั่งเศสโดยสิ้นเชิงเท่านั้น
แต่ยังให้การรับรองสิทธิพิเศษทั่วแผ่นดินเวียดนามทั้งทางด้านการค้าและการเผยแพร่ศาสนาให้แก่ฝรั่งเศส
พร้อมทั้งยอมรับการเป็นรัฐในอารักขา (protectorates) หรือการมีฝรั่งเศสเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเวียดนามอีกด้วย
จากนั้นอย่างช้า ๆ อำนาจของฝรั่งเศสก็แผ่ขยายออกไปในอินโดจีน
ด้วยการสำรวจหาดินแดนใหม่ การแต่งตั้งขึ้นเป็นรัฐภายใต้อารักขาของฝรั่งเศส
และการใช้กำลังเข้ายึดครองมาเป็นอาณานิคมของตนดื้อ ๆ การบุกเข้ายึดครองฮานอยในปี
ค.ศ. 1882 นำไปสู่การทำสงครามโดยตรงกับจีน (ค.ศ. 1883-1885)
และการมีชัยชนะในการศึกของฝรั่งเศสในสงครามครั้งนี้
ก็เป็นยืนยันถึงการมีอิทธิพลครอบงำเหนือดินแดนในภูมิภาคนี้ของฝรั่งเศส
ฝรั่งเศสปกครองดินแดนโคจินไชน่าในฐานะดินแดนอาณานิคมโดยตรงของฝรั่งเศส ส่วนอันนัม
(Annam, พื้นที่ตอนกลางเวียดนาม) ตังเกี๋ย และกัมพูชา
ตกเป็นดินแดนภายใต้อารักขาของฝรั่งเศส โดยมีระดับการควบคุมแตกต่างกันไป
และในไม่ช้าก็สามารถยึดลาวเข้าเป็นรัฐใต้อารักขาของตนได้เพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่ง
เมื่อต้นศตวรรษที่
20 ฝรั่งเศสได้สร้างจักรวรรดิขึ้นในอินโดจีน
ซึ่งมีพื้นที่กว้างใหญ่กว่าประเทศแม่ในยุโรปเกือบ 50%
ผู้สำเร็จราชการเมืองขึ้นของฝรั่งเศสในฮานอยปกครองโคจินไช่น่าโดยตรง
ขณะที่ควบคุมภูมิภาคอื่น ๆ ด้วยระบบผู้แทนผู้สำเร็จราชการที่อยู่ประจำรัฐอารักขา (system of residents) นั่นคือ ในทางทฤษฎีแล้ว
ฝรั่งเศสจะปล่อยให้ผู้ปกครองท้องถิ่น
ที่ปกครองดินแดนเหล่านี้มาก่อนตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส
ทำหน้าที่ปกครองดินแดนต่อไป พร้อมทั้งยังคงให้ใช้โครงสร้างการบริหารราชการแบบเดิม
ทั้งใน อันนัม ตั่งเกี๋ย กัมพูชา และ ลาว. แต่ในความเป็นจริงนั้น
ผู้สำเร็จราชการเมืองขึ้นของฝรั่งเศส
จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านการเงินและการบริหารปกครองดินแดนทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสถาบันต่าง ๆ ของชนพื้นเมืองจะอยู่รอดต่อไปได้
เพื่อทำให้การปกครองอาณานิคมของฝรั่งเศสเป็นที่ยอมรับได้มากขึ้น แต่สถาบันต่าง ๆ
เหล่านั้นก็มีสภาพเสมือนหุ่นเชิด หรือตรายางเท่านั้น
เนื่องจากไร้อิสรภาพในการดำเนินการใด ๆ ได้อย่างเป็นเสรี.
ผู้ปกครองอาณานิคมฝรั่งเศส พยายามดูดกลืนชนชั้นสูงในท้องถิ่น
ให้ยอมรับความยิ่งใหญ่เหนือกว่าของอารยธรรมฝรั่งเศส. ในขณะที่ฝรั่งเศสพัฒนาระบบข้าราชการพลเรือนให้ดีขึ้น
และสร้างเสถียรภาพทางด้านการค้านั้น มาตรฐานการดำรงชีวิตของชนพื้นเมืองก็ตกต่ำลง.
โครงสร้างสังคมในช่วงก่อนยุคอาณานิคมเสื่อมโทรมลง
อินโดจีนซึ่งมีจำนวนประชากรมากกว่า 18 ล้านคนในปี ค.ศ. 1914
มีความสำคัญต่อฝรั่งเศส เนื่องจากเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญที่ฝรั่งเศสต้องการ คือ
ดีบุก พริกไทย ถ่านหิน ฝ้าย และข้าว อย่างไรก็ตาม ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า
การมีอาณานิคมนั้น โดยแท้จริงแล้ว
สามารถสร้างผลกำไรที่คุ้มค่าทางด้านการค้าพาณิชย์ให้แก่ฝรั่งเศสได้จริงหรือไม่
เอเชียกลางและตะวันตก
อังกฤษ
จีนและรัสเซีย คือคู่แข่งสำคัญในเวทีเอเชียกลางและเอเชียตะวันตก
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 รัสเซียเข้าครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของเอเชียกลาง
ซึ่งนำไปสู่วิกฤตการณ์ในอัฟกานิสถานช่วงสั้นๆกับอังกฤษในปี ค.ศ. 1885
ในเปอร์เซีย(ปัจจุบันคืออิหร่าน) ทั้ง 2 ชาติได้ก่อตั้งธนาคารขึ้นหลายแห่งเพื่อขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจของตนในภูมิภาคนี้
อังกฤษนั้นคืบหน้าไปถึงขั้นเข้ารุกรานธิเบต ซึ่งเป็นดินแดนภายใต้อาณัติของจีนในปี
1904
แต่ก็ถอนตัวออกไปเมื่อพบว่าอิทธิพลของรัสเซียเหนือดินแดนดังกล่าวไม่มีความสำคัญและหลังจากพ่ายแพ้ให้แก่กองทัพจีนใหม่
ตามข้อตกลงในปี
1907 (ดู Entente) รัสเซียยุติการอ้างสิทธิอาณานิคมเหนือปากีสถาน
ส่วนอำนาจความเป็นเจ้าเหนืออธิปไตยธิเบตของจีนได้รับการยอมรับจากทั้งรัสเซียและอังกฤษ
เนื่องจากการควบคุมตามปกติโดยรัฐจีนที่อ่อนแอนั้นเป็นที่ยอมรับกันได้มากกว่าการยึดครองโดยมหาอำนาจรายใดรายหนึ่ง
ส่วนเปอร์เซียนั้นถูกแบ่งออกเป็นเขตอิทธิพลของรัสเซียและอังกฤษ
โดยมีเขตเป็นกลางหรือโซนเสรี (neutral/free or common zone) กั้นกลาง
ต่อมาอังกฤษยังสมยอมให้รัสเซียเปิดปฏิบัติการปราบปรามรัฐบาลชาตินิยมเปอร์เซียในปี
1911 ด้วย หลังจากเกิดการปฏิวัติขึ้นในรัสเซีย
รัสเซียก็ได้ยุติการอ้างสิทธิเหนือดินแดนภายใต้เขตอิทธิพลของตน
แม้ว่าการเข้ามีส่วนร่วมในจักรวรรดินิยมจะยังคงมีอยู่เคียงข้างกันไปกับอังกฤษจนกระทั่งถึงทศวรรษ
1940
ในตะวันออกกลาง
บริษัทของเยอรมันได้ก่อสร้างทางรถไฟจากกรุงคอนแสตนติโนเปิ้ลไปยังนครแบกแดกและอ่าวเปอร์เซีย
เยอรมันต้องการเข้าควบคุมเศรษฐกิจในภูมิภาคแห่งนี้ไว่ก่อน
และจากนั้นก็เคลื่อนเข้าสู่อิหร่านและอินเดีย แต่ก็ถูกต่อต้านอย่างรุนแรงจากอังกฤษ
รัสเซีย และฝรั่งเศส
ซึ่งได้แผ่อำนาจเข้าครอบครองและแบ่งสรรปันส่วนพื้นที่ระหว่างกันเองไว้ก่อนหน้านี้แล้ว
โปรตุเกส
โปรตุเกส (The Portuguese) โปรตุเกสซึ่งมีฐานกำลังอยู่ที่กัว (Goa)
และเมลากา (Mellaka) ได้สร้าง
จักรวรรดินาวีขึ้นในมหาสมุทรอินเดียเพื่อผูกขาดการค้าเครื่องเทศ
และก่อตั้งสร้างกำลังขึ้นที่มาเก๊าทางตอนใต้ของจีนเพื่ออำนวยความสะดวกให้
แก่การค้าในจีนและญี่ปุ่นของตน
โปรตุเกสไม่ได้เร่งขยายอาณานิคมในเอเชียอย่างจริงจังในเบื้องต้นเนื่องจาก
จักรวรรดิโปรตุเกสขยายขอบเขตมากจนตึงมือแล้ว
อันเป็นผลจากขีดจำกัดทางด้านค่าใช้จ่ายของอาณานิคมและนาวีเทคโนโลยีร่วมสมัย
(ทั้งสองปัจจัยนี้ทำงานคู่ขนานกันไปทำให้การค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ
อาณานิคมต้องใช้เม็ดเงินจำนวนมหาศาล)
ผลประโยชน์ของโปรตุเกสที่มีอยู่ในเอเชียจึงเพียงพอสำหรับการสนับสนุนทางการ
เงินแก่การขยายอาณานิคมและยึดที่มั่นไว้ต่อไปในเขตพื้นที่ซึ่งพิจารณาแล้ว
ว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์เป็นอย่างมากในภูมิภาคที่ตั้งอยู่ใกล้ประเทศแม่
มากกว่าคืออัฟริกาและบราซิล
และดังที่ได้กล่าวถึงมาแล้วข้างต้น ว่า
โปรตุเกสนั้นมีความสัมพันธ์ทางการค้าแนบแน่นมากกับญี่ปุ่น
จนมีการบันทึกไว้ว่าโปรตุเกสคือชาติตะวันตกที่เดินทางไปเยือนญี่ปุ่นเป็น
ชาติแรก
การสัมพันธ์ติดต่อทางค้าขายเหล่านี้ทำให้มีการนำเอาศาสนาคริสเตียนและอาวุธ
ปืนเข้าไปเผยแพร่ในญี่ปุ่นด้วย
ความยิ่งใหญ่ในฐานะ
เป็นมหาอำนาจทางทะเลของโปรตุเกสต้องสูญเสียให้แก่ดัทช์ไปในศตวรรษที่ 17
และนำมาซึ่งความท้าทายที่สำคัญยิ่งต่อโปรตุเกส แต่อย่างไรก็ตาม
โปรตุเกสก็ยังคงยึดครองมาเก๊าซึ่งถูกประกาศว่าเป็นดินแดนใต้อาณานิคมของโปรตุเกสภายหลังจีนแพ้สงครามฝิ่น
และจัดตั้งอาณานิคมแห่งใหม่ขึ้นบนเกาะติมอร์ จนกระทั่งหลังกลางศตวรรษที่ 20
โปรตุเกสจึงสูญเสียอาณานิคมในเอเชียของตนไป โดยกัว (Goa) ถูกรุกรานโดยอินเดียในปีค.ศ. 1962
และโปรตุเกสทอดทิ้งติมอร์ไปในปี 1975
ก่อนที่ดินแดนแห่งนี้จะถูกอินโดนีเซียบุกเข้ายึดครองและผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ
ส่วนมาเก๊านั้นโปรตุเกสส่งมอบคืนให้แก่จีนเมื่อสนธิสัญญาการเช่าหมดอายุลงในปี 1999
ดัทช์ในหมู่เกาะอินเดียตะวันออก
บริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ (The Dutch East India Company) ก่อตั้งสำนักงานใหญ่ขึ้นที่เมืองปัตตาเวีย
(ปัจจุบันคือจาการ์ตา) ในหมู่เกาะชวา
เพื่อควบคุมการค้าเครื่องเทศในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 บริษัทได้เข้ายึดไต้หวัน
(ซึ่งในเวลานั้นจีนยังไม่ได้อ้างสิทธิว่าเป็นดินแดนของตน) เป็นดินแดนอาณานิคมของดัทช์
เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การค้าขายกับจีนและญี่ปุ่น ภายหลังเกิดสงครามนโปเลียน (The
Napoleonic Wars) ดัทช์ก็มุ่งความสนใจในการประกอบกิจการพาณิชย์ของตนไปอยู่ในหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์
(อินโดนีเซีย) มาจนตลอดศตวรรษที่ 19 และสูญเสียส่วนใหญ่ของอาณานิคมแห่งนี้ของตนให้แก่ญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่
2 อย่างไรก็ตาม เมื่อญี่ปุ่นยอมแพ้แก่กองกำลังพันธมิตรในปี 1945
โปรตุเกสก็ต้องเผชิญหน้ากับการต่อสู้เพื่อประกาศเอกราชของอินโดนีเซียต่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น