แนวโน้มการเพิ่มประชากรผู้สูงอายุทั่วโลกและในประเทศไทย
แนว
โน้มการเพิ่มประชากรผู้สูงอายุทั่วโลกและในประเทศไทย,
แนวโน้มการเพิ่มประชากรผู้สูงอายุทั่วโลกและในประเทศไทย หมายถึง,
แนวโน้มการเพิ่มประชากรผู้สูงอายุทั่วโลกและในประเทศไทย คือ,
แนวโน้มการเพิ่มประชากรผู้สูงอายุทั่วโลกและในประเทศไทย ความหมาย,
แนวโน้มการเพิ่มประชากรผู้สูงอายุทั่วโลกและในประเทศไทย คืออะไร
จากรายงานของสหประชาชาติปรากฏว่า ใน พ.ศ. ๒๕๔๒ มีผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไปทั่วโลกประมาณ ๖๐๐ ล้านคน คิดเป็น ๑ ในทุก ๑๐ คนของประชากรโลกส่วนใหญ่ (ร้อยละ ๕๓) ของผู้สูงอายุอยู่ในทวีปเอเชียรองลงมา (ร้อยละ ๒๕) อยู่ในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นทวีปที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ ๑ และที่ ๒ ของโลกตามลำดับ คาดการณ์ว่า ใน พ.ศ. ๒๕๙๓ จะมีผู้สูงอายุประมาณ ๒ พันล้านคน คิดเป็น ๑ ใน ทุก ๕ คนของประชากรโลก และจะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติที่มีประชากรผู้สูงอายุ มากกว่าประชากรเด็กอายุ ๑๐ - ๑๔ ปี
สำหรับประเทศไทยก็กำลังเข้าสู่ภาวะสังคมของผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว เห็นได้จาก ใน พ.ศ. ๒๕๐๓ สัดส่วนของผู้สูงอายุต่อประชากรทั่วประเทศมีเพียงร้อยละ ๒.๒ ต่อมาเพิ่มเป็นร้อยละ ๘.๘ ใน พ.ศ. ๒๕๔๓ และคาดว่าจะเพิ่มเป็นร้อยละ ๑๕.๓ ใน พ.ศ. ๒๕๖๓ แสดงให้เห็นว่า ในช่วงเวลา ๖๐ ปี สัดส่วนของผู้สูงอายุในประเทศไทยเพิ่มขึ้นถึง ๗ เท่าตัว
ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๓ รายงานว่า ประชากรไทยที่มีอายุ ตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไป เป็นชาย ๒.๔๕ ล้านคน คิดเป็นร้อยละ ๘ ของประชากรชายทั้งประเทศ และหญิง ๒.๙๘ ล้านคน คิดเป็นร้อยละ ๙.๖ ของประชากรหญิงทั้งประเทศ ส่วนประชากรไทย ที่มีอายุตั้งแต่ ๑๐๐ ปีขึ้นไป จะมีจำนวนมากที่สุดอยู่ในภาคกลาง รองลงมาคือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ โดยมีอัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเป็น ๑ : ๑.๔ แสดงว่าเพศหญิงมีอายุยืนโดยเฉลี่ยมากกว่าเพศชาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น