วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

การปฏิรูปศาสนา (The Reformation) และการกำเนิดนิกายโปรเตสแตนท์

การปฏิรูปศาสนา (The Reformation) และการกำเนิดนิกายโปรเตสแตนท์


:การปฏิรูปศาสนา  (The Reformation)  และการกำเนิดนิกายโปรเตสแตนท์
การปฏิรูปศาสนา  เป็นผลสืบเนื่องประการหนึ่งของการฟื้นฟูศิลปวิทยาเพราะว่า  การปฏิรูปศาสนานั้นเกิดขึ้นมาได้ก็เนื่องมาจากแนวความคิดของประชาชน ได้เปลี่ยนแปลงไปจากความคิดที่งมงายมาเป็นความคิดที่เป็นตัวของตัวเอง  มีเหตุมีผลที่เรียกว่า  การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการนั่นเอง  แต่สำหรับแนวความคิดที่เปลี่ยนแปลงไปนี้  ถ้าหากไม่มีมูลเหตุอย่างอื่น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อบกพร่องภายในศาสนาเองเป็นองค์ประกอบด้วยแล้วการปฏิรูปศาสนา  ก็คงจะไม่บังเกิดขึ้น  แต่เผอิญในช่วงนั้น  ศาสนาเองก็มีแต่ความเหลวแหลก  มีการยึดถือปฏิบัติกันโดยไม่ถูกต้องตามหลักการศาสนา  มีลักษณะของความงมงาย  ทำให้บุคคลบางจำพวกอาศัยเป็นเครื่องมือในการทำมาหากิน  ทำให้ผู้ที่มีความคิด  เริ่มศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับศาสนา เพื่อหาข้อเท็จจริงจึงค้นพบว่า  หลักวิธีการที่แท้จริงนั้นไม่ได้เป็นเช่นที่ถือปฏิบัติกัน  จึงเริ่มมีความคิดที่จะทำการปฏิรูปศาสนากันขึ้น   โดยเริ่มเกิดขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อน    เพราะว่ากลุ่มผู้นับถือคริสตศาสนากลุ่มหนึ่งเรียกตัวเองว่า  พวกอัลบิเจนเซียน  (Albigensians)  ได้ก่อการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการปรับปรุงพิธีการทางศาสนาให้มีรูปแบบที่ง่ายขี้น  ซึ่งทางฝ่ายผู้บริหารที่วาติกัน  คือสันตะปาปา  ในขณะนั้นคือสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3                     พวกนอกรีดพยายามที่จะบ่อนทำลายศาสนาและได้ส่งกองกำลังไปทำการปราบปรามเสียจนราบคาบมาจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 16
จึงมีผู้ที่ทำการต่อต้านคัดค้านได้สำเร็จ   สามารถแยกตัวออกมาตั้งนิกายใหม่  เป็นที่ยอมรับนับถือกันอย่างแพร่หลาย  ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามของนิกายฝ่ายโปรเตสแตนท์  (Protestanism)  มาจนกระทั่งทุกวันนี้  บุคคลผู้ก่อการจนกระทั่งบรรลุผลสำเร็จนั้น  คือ  นักบวชชาวเยอรมันที่มีชื่อว่า  มาร์ติน  ลูเธอร์  (Martin  Luthur)
สาเหตุของการปฏิรูปศาสนา
                ประการแรก  คือความเหลวแหลกภายในศาสนา  อันสืบเนื่องมาจากการประพฤติปฏิบัติของพระที่นอกลู่นอกทาง  ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ  และมิหนำซ้ำยังใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือทำมาหากินสร้างความมั่งคั่ง  ร่ำรวย  ให้แก่ตนเองในขณะที่ประชาชนดำรงชีพด้วยความลำบากยากแค้น  สิ่งที่พวกพระประพฤติปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง  และทำให้ประชาชนต้องประสบความเดือดร้อนได้แก่  การขายใบไถ่บาป  (Sale of Indulgence)  ซึ่งอ้างว่าเป็นใบเบิกทางไปสู่สวรรค์  การขายตำแหน่งทางศาสนา  การเล่นพรรคเล่นพวกในการต่างตั้งตำแหน่ง                 สำคัญ ๆ ต่าง ๆ ในศาสนา  สาเหตุสำคัญที่เป็นต้นเหตุของความเหลวแหลกดังกล่าวข้างต้นก็คือการแก่งแย่งชิงอำนาจทางโลก  ระหว่างศาสนจักรและอาณาจักร  ซึ่งก่อให้เกิดปรากฏการณ์หนึ่งที่เรียกว่า  ศาสนเภท (Great  Schisn)  ขึ้นมา  คือการที่มีสันตะปาปาเกิดขี้นในคราวเดียวกันถึง   2  พระองค์  อันเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่างราชสำนักฝรั่งเศสกับสำนักสัตตปาปา ที่กรุงโรมกรณีเรื่องการเก็บภาษีบำรุงศาสนาซึ่งทางศาสนายืนกรานที่จะยังคง เก็บต่อไป  ทำให้ทางราชสำนักฝรั่งเศสไม่พึงพอใจ  ประจวบกับที่สันตะปาปาที่กรุงโรมได้สิ้นพระชนม์ลง  ทางฝรั่งเศสจึงถอโอกาสแต่งตั้งพระชาวฝรั่งเศสขึ้นเป็นสันตะปาปาเสียเอง  และภายหลังจากนั้นอีกไม่นานทางกรุงโรมได้แต่งตั้งสันตปาปาของตนขึ้นมาอีกองค์หนึ่ง  ก่อให้เกิดความยุ่งยากสับสนต่อการบริหารกิจการศาสนารวมทั้งคณะสงฆ์เป็นอย่างมาก  ทำให้เกิดช่องว่างในการบริหารและเปิดโอกาสให้มีการคอรัปชั่นในรูปแบบต่าง ๆ อย่างมากมาย  เป็นที่มาของความเหลวแหลกในวงการศาสนาดังที่กล่าวมาอย่างกว้างขวาง
                ประการที่สอง  คือ  สาเหตุทางการเมือง  ศาสนจักรได้เข้าไปก้าวก่ายในเรื่องของทางอาณาจักรมากมาย  จนกระทั่งทางฝ่ายอาณาจักรไม่มีอิสระที่จะดำเนินงานด้วยตนเอได้โดยสะดวก  มีอยู่หลายแห่ง  การแต่งตั้งประมุข  จะต้องได้รับการเห็นชอบจากสันตะปาปาก่อน  ในเรื่องของการแต่งตั้งพระในตำแหน่งสำคัญ ๆ ต่าง ๆ เช่น  สังฆราช  เจ้าคณะแขวง ฯลฯ  เป็นเอกสิทธิ์โดยตรงของทางฝ่ายศาสนจักร  หรือแม้แต่ในเรื่องของกระบวนการศาลสถิตยุติธรรม  ศาสนจักรก็เข้ามามีบทบาทโดยไม่ยอมให้คนของฝ่ายตนขึ้นศาลบ้านเมืองเมื่อมีการกระทำผิด  จนกระทั่งอำนาจทางฝ่ายบ้านเมืองหมดความหมายไป
                ประการที่สาม  สาเหตุทางเศรษฐกิจ  ในช่วงก่อนหน้าที่จะมีการปฏิรูปศาสนา  ศาสนาได้เข้าไปมีบทบาททางเศรษฐกิจของทางฝ่ายบ้านเมือง  และประชาชนเป็นอย่างมาก  ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของภาษีอากรโดยตรง  หรือภาษีทางอ้อม  ในฐานะประชาชน  ประชาชนชาวยุโรปจะต้องเสียภาษีส่วนหนึ่ง  โดยคิดเป็นอัตราถึงร้อยละสิบ  เรียกว่าภาษีทิธ  (Tithe)  นอกจากภาษีที่ต้องเสียโดยตรงแล้ว  ประชาชนยังต้องเสียภาษีทางอ้อมในรูปแบบของการเรี่ยไร  เช่นการซื้อใบไถ่บาป  การบริจาคบำรุงโบสถ์ที่ตนเองสังกัด ฯลฯ  ซึ่งถ้ารวมกับภาษีบ้านเมืองแล้วคิดเป็นร้อยละถึงกว่าร้อยละ 50  ของรายได้ที่พวกเขามี  เพราะฉะนั้น  เรื่องของเศรษฐกิจนี้ถึงเป็นสาเหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนา
                ประการที่สี่  ซึ่งเป็นประการสุดท้าย  ก็คือการเปลี่ยนแปลงไปของแนวความคิดของประชาชน    ประชาชนเริ่มมีความรู้สึกนึกคิดเป็นของตัวเอง  มีเหตุมีผลมากยิ่งขึ้น  ทำให้พวกเขาเริ่มสนใจที่จะศึกษาหลักการที่แท้จริงของศาสนา  พวกเขาจึงเริ่มทำการต่อต้านคัดค้านจนกลายมาเป็นการปฏิรูปศาสนาขึ้นในที่สุด
มาร์ติน  ลูเธอร์  กับการปฏิรูปศาสนา
                กระบานการการปฏิรูปศาสนา  เริ่มต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16  เกิดขึ้นจากการที่พระจากคณะสงฆ์โดมินิกัน  (Dominican)  รูปหนึ่ชื่อว่า  เท็ทเซล  (Tetzel)  ได้เดินทางไปเรี่ยไรขายใบไถ่บาป  ในเยอรมนี  ในปี ค.ศ.1517  เพื่อหาเงินไปบำรุงคณะสงฆ์ของตนเอง  เมื่อความทราบไปถึงมาร์ติน  ลูเธอร์  ซึ่งเป็นอาจารย์สอนวิชาเทววิทยา  อยู่ที่มหาวิทยาลัยวิตเตนเบอร์ก  มาร์ติน  ลูเธอร์  จึงได้เขียนคำคัดค้านต่อต้านศาสนาที่มีชื่อเสียงของเขาขึ้นที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า  คำคัดค้าน  95  ข้อ  หรือ  The Ninety – Five  Theses  ไม่เฉพาะจะโจมตีในเรื่องการขายใบไถ่บาปเท่านั้น  แต่เป็นการโจมตีข้อบกพร่องอื่น ๆ ในศาสนาและการนับถือศาสนาไปในทางที่ผิด ๆ อีกด้วย  หลังจากที่เขียนเสร็จแล้วเขาก็ได้นำไปปิดประกาศให้คนทั่ว ๆ ไปได้อ่านไว้ตรงหน้าประตูโบสถ์  แห่งเมืองวิตเตนเบอร์กนั่นเอง
                การกระทำของลูเธอร์ในครั้งนั้น  ทำให้สถาบันสันตะปาปาต้องเดือดร้อน  รายได้ที่เคยได้ก็เริ่มลดน้องถอยลง  ดังนั้นในปี  ค.ศ.1518  สันตะปาปาซึ่งในขณะนั้น  คือสันตะปาปาเลโอที่ 10  (Leo X)  จึงได้มีคำสั่งไปยังคณะสงฆ์ออกุสติน    ให้บีบบังคับให้มาร์ติน  ลูเธอร์  เพิกถอนคำกล่าวหาต่าง ๆ เสียทั้งหมด  แต่ลูเธอร์กลับปฏิเสธไม่ยอมรับ  และพร้อมกันนั้น  ก็ได้ทำการเขียนหนังสือโจมตีเพิ่มเติมขี้นมาอีก  ลูเธอร์ยังได้รับความปกป้องคุ้มครองจากเจ้าชายเฟรเดอริก  ประมุขแห่รัฐแซกโซนี  (Elector  Frederick of Saxony)  ผู้ซึ่งให้ที่พักพิงหลบซ่อนแก่ลูเธอร์  ในช่วงระยะเวลา 2 ปี  จึงได้มีโอกาสเผยแพร่แนวความคิดของเขาออกไปได้อย่างกว้างขวาง  โดยการเขียนบทความต่าง ๆ ทำให้แนวความคิดของเขาเป็นที่ยอมรับของประชาชนในเยอรมนี  เป็นจำนวนมากจนพัฒนาขึ้นมาเป็นแนวคิดหลัการซึ่งในขณะนั้นถือได้ว่า เป็นเสมือนหนึ่งลัทธินิกายใหม่ที่ปลีกตัวออกเป็นอิสระจากนิกายเดิมโดยเด็ด ขาดไปโดยปริยายแล้ว  และเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง
แนวความคิดความเชื่อหลักในลัทธินิกายโปรเตสแตนท์
1  เน้นความเลื่อมใสศรัทธา  (Faith)   มากกว่าการถือปฏิบัติ  การประกอบพิธีกรรม  (Sacraments) เพราะถือว่าการที่มนุษย์จะหลุดพ้นจากบาปทั้งมวลได้นั้นต้องมาจากการเลื่อมใสศรัทธาไม่ใช่มาจากการประกอบพิธีกรรม 2  เน้นความสำคัญของพระคัมภีร์  โดยถือว่าพระคัมภีร์เป็นสื่อกลางที่แท้จริงที่จะทำมนุษย์ให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาและความเข้าใจในแก่นแท้ของศาสนา  ไม่ใช่บุคคลกลางเช่น พระ  เพราะการที่บุคคลแต่ละบุคคลจะเข้าถึงแก่นแท้ของศาสนาได้นั้น  ต้องเข้าถึงด้วยตนเอง  โดยการศึกษาพระคัมภีร์  เป็นเรื่องของจิตใจของแต่ละบุคคล
3.  ปฏิเสธบุคคลที่เป็นตัวกลาง  ที่จะทำให้มนุษย์เข้าถึงแก่นแท้ของศาสนาซึ่งหมายถึงพวกพระนั่นเอง  เพราะถือทุกคนเข้าถึงเองได้  โดยอาศัยพระคัมภีร์เป็นสื่อ  เพราะฉะนั้น  ในนิกายนี้จะไม่มีพระซึ่งก็หมายรวมถึงองค์สันตปาปาและระบบการบริหารสงฆ์ด้วย
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในสมัยใหม่ตอนต้น
การประดิษฐ์แท่นพิมพ์ของโจฮัน กูเตนเบิร์ก : นำไปสู่การปฏิวัติระบบการพิมพ์และ การผลิตหนังสือ เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติด้านการสื่อสารของมนุษย์ ทำให้เปลี่ยนจากวัฒนธรรมการบอกเล่า มาสู่วัฒนธรรมการพิมพ์ และวัฒนธรรมการอ่าน
การประดิษฐ์ปืนใหญ่และการทำดินปืน : ถูกนำมาใช้ในการทำสงคราม มีการเปลี่ยนแปลงในการใช้อาวุธและยุทธวิธีในการจัดทหารและกองทัพ มีการใช้อาวุธปืนใหญ่ โดยไม่ต้องจัดทหารประจัญบานแบบเก่า การประดิษฐ์เข็มทิศ : มีการทำแผนที่ การเดินเรือ การดูดาว การพัฒนาการต่อเรือแบบใหม่ที่แข็งแรงขึ้น มีระวางบรรทุกได้มากขึ้น ทำให้ยุโรปมีความพร้อมที่จะออกสำรวจทางทะเล จนสามารถค้นพบโลกใหม่ ถึงแม้ยุโรปจะมีการเติบโตทางการค้าและระบบเศรษฐกิจแบบเงินตรา แต่ยุโรปก็ไม่สามารถจะพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่ เนื่องจาก
ระบบศักดินาสวามิภักดิ์ที่ยังดำรงอยู่ เป็นระบบที่ผลิตเพียงเพื่อยังชีพ
การผูกขาดโดยสมาคมพ่อค้า ช่างฝีมือ หรือระบบกิลด์ มีข้อจำกัดมากมาย ไม่สนับสนุนการขยายตัวของอาชีพและการผลิต ทำให้สินค้าไม่เพียงพอ และไม่มีการพัฒนาวิธีการผลิต
การผูกขาดการค้าของเมืองท่าต่างๆในอิตาลี ทำให้พ่อค้ายุโรปอื่นๆเสียผลประโยชน์
การนำเหรียญเงินมาใช้ในการแลกเปลี่ยนทางการค้า แต่ยุโรปขาดแหล่งแร่เงินและแร่ทองซึ่งเป็นโลหะที่มีค่า
ขณะเดียวกันยุโรปมีแรงจูงใจและต้องการขยายตัวทางด้านต่างๆหลายประการ
ต้องการเผยแพร่คริสต์ศาสนา
พัฒนาวิธีการค้าที่ให้กำไรสูงระหว่างพ่อค้าในสันนิบาตฮันเซียติก
มีการสะสมเงินทุนเพื่อการค้า การเดินเรือ และการทำอุตสาหกรรม
ต้องการอาวุธ และแรงกระตุ้นจากกษัตริย์ต่างๆ
ความปรารถนาสินค้าตะวันออก ที่ได้มาจากรายงานของนักเดินทาง
ค่านิยมใหม่ของคนในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ที่ต้องการความร่ำรวย
การค้าของยุโรปต้องชะงักลง เมื่อเตอร์กเข้ายึดไบแซนไตน์ ยุโรปในขณะนั้นจึงต้องมีการพัฒนาอยู่ 2 ทาง ได้แก่
การขยายตัวภายใน พัฒนาเทคโนโลยีการผลิต
การขยายตัวภายนอก สำรวจดินแดนเพื่อแสวงหาผลผลิต สินค้า และเส้นทางการค้าใหม่ที่ปลอดจากพวกมุสลิม
การค้นพบโลกใหม่และดินแดนโพ้นทะเล
ชาว โปรตุเกส เป็นยุโรปชาติแรกที่เริ่มเดินเรือค้นหาเส้นทางไปยังเอเชีย ผู้มีบทบาทสนับสนุนในด้านนี้คือ เจ้าชายเฮนรี่ นักเดินเรือที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด คือ วาสโก ดา กามา สามารถอ้อมแหลมกู๊ดโฮปได้สำเร็จ สาเหตุที่โปรตุเกสมีความเจริญด้านการเดินเรือก่อนชาติยุโรปอื่นๆ เนื่องจากโปรตุเกสตั้งอยู่ติดทะเล อยู่ในเส้นรุ้งเส้นแวงที่มีกระแสน้ำที่เหมาะสมต่อการออกเดินเรืออย่างยิ่ง ประกอบกับความกล้าเสี่ยง กล้าผจญภัย อันเกิดจากแนวความคิดที่ต้องการสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับคริสต์ศาสนา เป็นปัจจัยที่ช่วยให้การสำรวจทะเลประสบความสำเร็จผลของการค้นพบโลกใหม่และ ดินแดนโพ้นทะเล การขยายตัวของการค้า การได้โลหะมีค่าเพิ่มขึ้น : แร่ทองและแร่เงิน หาได้มากขึ้น
การปฏิวัติทางการค้า :
เกิดระบบทุนนิยม (ระบบการผลิต การแจกจ่าย และการแลกเปลี่ยน)
การเติบโตของธนาคาร : กิจการธนาคารเติบโตขึ้นเพราะระบบเงินตราและระบบทุนนิยม
การขยายตัวของระบบเครดิต : ช่วยให้พ่อค้าในอัมสเตอร์ดัมสามารถซื้อสินค้าในเวนิสได้โดยการออกตั๋วแลกเงินในธนาคารท้องถิ่น
การใช้เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม
ระบบการผลิตแบบครัวเรือน
การเปลี่ยนแปลงในธุรกิจ หรือการจัดองค์การ
การเกิดบริษัทรวมหุ้น
การเติบโตของเศรษฐกิจแบบเงินตราที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ลัทธิพาณิชย์นิยม
หลัก การสำคัญของระบบพาณิชย์นิยมคือ การให้ความสำคัญกับเงินตรา ทองคำและเงิน โดยจะหมายถึงหลักความรุ่งเรือง มั่งคั่งของชาติที่กำหนดโดยปริมาณของโลหะมีค่าภายในราชอาณาจักร ยิ่งมีเงินทองมากเท่าใด ประเทศก็มีอำนาจมากขึ้นเท่านั้น
การปฏิวัติเกษตรกรรม การปฏิวัติเกษตรกรรมนับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14-18 มีส่วนสนับสนุนการปฏิวัติการค้า ให้ราคาสินค้าที่สูงขึ้น และประชากรในเมืองที่เพิ่มขึ้นทำให้เกษตรกรรมกลายเป็นธุรกิจที่ได้ผลกำไรดี และมีแนวโน้มเข้าสู่ระบบทุนนิยม
การค้นพบโลกใหม่และดินแดนโพ้นทะเล
ประการแรกก็คือความรู้สึกท้าทายอันเกิดจากแนวความคิดและสิ่งประดิษฐ์ที่ค้นพบใหม่ เป็นต้นว่า แนวความคิดที่ว่าโลกกลม การคิดประดิษฐ์เข็มทิศ เครื่องบอกระยะรุ้ง แวง หรือ ละติจูด ลองจิจูด ซึ่งมีประโยชน์ต่อการเดินเรือ สิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้คนกล้าที่จะเดินทางออกไปในทะเลเป็นระยะทางไกลๆ เพราะไม่ต้องกลัวหลงทิศทาง สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ความต้องการสินค้าจากทางตะวันออกหรือเอเชียในปริมาณที่                 มากขึ้น ได้แก่พวก ผ้าไหม เครื่องเทศ เป็นต้น จึงมีการคิดเครื่องมือต่างๆที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเดินเรือ ชาวโปรตุเกส เป็นยุโรปชาติแรกที่เริ่มเดินเรือค้นหาเส้นทางไปยังเอเชีย ผู้มีบทบาทสนับสนุนในด้านนี้คือ เจ้าชายเฮนรี่ นักเดินเรือที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด คือ วาสโก ดา กามา สามารถอ้อมแหลมกู๊ดโฮปได้สำเร็จ สาเหตุที่โปรตุเกสมีความเจริญด้านการเดินเรือก่อนชาติยุโรปอื่นๆ เนื่องจากโปรตุเกสตั้งอยู่ติดทะเล อยู่ในเส้นรุ้งเส้นแวงที่มีกระแสน้ำที่เหมาะสมต่อการออกเดินเรืออย่างยิ่ง ประกอบกับความกล้าเสี่ยง กล้าผจญภัย อันเกิดจากแนวความคิดที่ต้องการสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับคริสต์ศาสนา เป็นปัจจัยที่ช่วยให้การสำรวจทะเลประสบความสำเร็จ
คนพลิกโลก : โจฮันส์ กูเตนเบิร์ก ผู้ประดิษฐ์แท่นพิมพ์เคลื่อนที่
เทคโนโลยีการพิมพ์ที่ว่านั้น ต้องยกเครดิตให้กับนักประดิษฐ์ชาวเยอรมันผู้หนึ่ง นั่นคือ " โยฮันส์ กูเตนเบิร์ก" ถึงแม้ว่าก่อนหน้านั้นราว 400 ปี จีนแผ่นดินใหญ่สามารถ ประดิษฐ์การพิมพ์ได้แล้ว แต่ทว่าก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย เพราะมุ่งรับใช้ราชสำนักเป็นสำคัญ ไม่เหมือนกับกูเตนเบิร์ก ที่ทำให้การพิมพ์หนังสือแพร่หลายไปทั่วทุกหัวระแหง
โจฮันส์ กูเตนเบิร์ก ( 1398-1468) (พ.ศ.1914-2011) เป็นนักประดิษฐ์ชาวเยอรมัน เกิดและใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในเมืองเมนช์  ประเทศเยอรมัน  ครอบครัวประกอบอาชีพทำเหรียญกษาปณ์ และงานโลหะ  เขาจึงมีโอกาสได้ฝึกงานเป็นช่างแกะสลักและช่างทอง  ทักษะของกูเทนเบิร์กช่วยให้เขาประดิษฐ์แม่พิมพ์โลหะตัวอักษรแต่ละตัวด้วยมือได้ครั้งแรก แม่พิมพ์โลหะคือหัวใจแห่งความสำเร็จทางด้านการพิมพ์ของเขา  เขาประดิษฐ์แท่นพิมพ์สำเร็จเมื่อ ค.ศ.1455 และพิมพ์หนังสือออกมาเล่มแรกคือ พระคัมภีร์ไบเบิล ( Gutenberg Bible ) ซึ่งเป็นภาษาลาติน ทำให้คริสต์ศาสนาแพร่หลายออกไปทั่วโลกในเวลาต่อมา การประดิษฐ์แท่นพิมพ์ของเขาถือเป็นการเริ่มต้นเข้าสู่ยุคใหม่ ในยุคซึ่งวิทยาการความรู้ได้เผยแพร่ออกสู่สาธารณชนได้อย่างง่ายดายด้วยการพิมพ์หนังสือ ต่างกับในอดีตที่ต้องคัดลอกด้วยลายมือ เขาจึงได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งการพิมพ์สมัยใหม่
                         ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา วัดยังคงเป็นผู้อุปถัมภ์ที่สำคัญของเหล่าศิลปินนอกจากนี้ยังมีพวกขุนนาง พ่อค้าผู้ร่ำรวย ซึ่งเป็นชนชั้นสูงก็ได้ว่าจ้าง และอุปถัมภ์เหล่าศิลปินต่าง ๆ ด้วย ตระกูลที่มีชื่อเสียงเหล่านั้น ได้แก่ ตระกูลวิสคอนตี และสฟอร์ซา ในนครมิลาน ตระกูลกอนซากาในเมืองมานตูอา และตระกูลเมดีชีในนครฟลอเรนซ์ การอุปถัมภ์ศิลปินนี้มีผลในการกระตุ้นให้ศิลปินใฝ่หาชื่อเสียง และความสำเร็จมาสู่ชีวิตมากขึ้น ผลงานของศิลปินที่มีทั้ง จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ทำให้ชื่อเสียงของศิลปินหลายคน เป็นที่รู้จักทั่วโลกตลอดกาล เช่น   ลีโอนาโด ดาวิชี
                  ลีโอนาโด ถือกำเนิดขึ้น ในวันที่ 15 เมษายน ปีคริสตศักราชที่ 1452 ในวินซี ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองฟลอเรนสซ์ ประเทศอิตาลี เขาเป็นบุตรนอกกฎหมายของ  ปิเอโร ดาวินซี เจ้าพนักงานพิสูจน์ และรับรองเอกสาร แห่งเมืองฟลอเรนสซ์ กับหญิงสาวที่ชื่อ แคทเธอรีน พรสวรรค์ในทางศิลปะของลีโอนาโดนั้น ได้แสดงออก ตั้งแต่เขายังอยู่ในวัยเด็กลีโอนาโด ได้ฝึกฝนและเพิ่มความเก่งกาจ เชี่ยวชาญในงานต่างๆ และได้เข้าร่วมเป็น สมาชิกของสมาคมจิตรกรในปี ค.ศ.1472 ผลงานต่างๆ ที่ตกทอดมาสู่สายตา ของคนรุ่นหลังก็ได้เริ่มมาจากจุดนี้นี่เอง แต่ลีโอนาโด ก็ยังทุ่มเทความสนใจให้กับเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวกับงานศิลปะด้วย เขาได้เพิ่มพูนความรู้ทางด้านกลศาสตร์ให้กับตนเอง โดยการทำงานเป็นวิศวกรให้กับฝ่ายพลเรือน และฝ่ายทหาร จากนั้นเริ่มศึกษาค้นคว้าทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยเน้นทางด้าน กายวิภาค ชีววิทยา คณิตศาสตร์ และ ฟิสิกข์ และแม้ว่าลีโอนาโดจะให้ความสนใจ ในหลายสิ่งหลายอย่างก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ทำให้เขาหยุดงานเขียนชิ้นที่สำคัญที่สุดไปได้ นั่นก็คือ การเขียนภาพ"ภาพอาหารค่ำมือสุดท้าย" ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกผลงานชิ้นอื่นๆที่ ลีโอนาโด เคยคิดประดิษฐ์ขึ้น เช่น
วิทรูเวียนแมน (The Vitruvian Man) เชื่อว่าชาวโลกน้อยคนนักที่จะไม่เคยผ่านตากับภาพวาดของบุรุษผู้นี้ นั่นก็คือภาพ 'วิทรูเวียน แมน' ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ดาวินชีศึกษาส่วนกายวิภาคมนุษย์อย่างละเอียด จนพิสูจน์ทฤษฎีบทของ 'วิทรูเวียน' ผู้เป็นสถาปนิกยุคจักรวรรดิโรมันได้สำเร็จว่า 'ร่างคนยืนกางแขนขาจะตกเป็นรูปทรงเรขาคณิตที่สมบูรณ์เสมอ' และนับเป็นการเปิดประตูสู่ศาสตร์กายวิภาคครั้งสำคัญ
                 ปืนใหญ่ 3 ลำกล้อง (The Triple-Barreled Cannon) แม้ประวัติของดาวินชีจะเกลียดสงคราม มีลักษณะเป็น 'นักคิด'มากกว่า 'นักรบ' แต่ในใจของเขาก็ยังฝันถึงการคิดค้นงานด้านวิศวกรรม หนทางเดียวที่จะทำเช่นนั้นได้ คือ การออกแบบอาวุธสงครามเพราะได้รับการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจมากที่สุด หนึ่งในผลงานการออกแบบอาวุธ ได้แก่ ปืนใหญ่ที่มีอานุภาพที่มีลำกล้องติดกันถึง 3 กระบอก เหมือนกับที่เห็นในภาพ ชุดดำน้ำ (Scuba Gear)  ผลพวงจากการที่ ดาวินชี หลงใหลในท้องทะเลอันกว้างใหญ่ไพศาล เป็นที่มาของการออกแบบอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือสำหรับการดำน้ำขึ้นมา หลายชนิดในจำนวนนี้ รวมถึงเรือดำน้ำ และชุดประดาน้ำที่ตัวชุดทำจากหนังและเชื่อมต่อกับท่อและโลหะทรงกลมซึ่งทำ หน้าที่เป็นเหมือน สนอร์เกิ้ล หรือหน้ากากดำน้ำยุคปัจจุบัน นอกจากนั้น ชุดดำน้ำชุดนี้ยังมีถุงเก็บปัสสาวะด้วย แสดงให้เห็นถึงความรอบคอมในการออกแบบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น