สังคม- เศรษฐกิจของอยุธยาตอนต้น
สังคม- เศรษฐกิจของอยุธยาตอนต้น
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
แกนกลางของอาณาจักรอยุธยาในสมัยนี้ครอบคลุมพื้นที่ของพระนครศรีอยุธยาและลพบุรี
(และต่อมาหลังราชกาลพระนครินทราธิราชแล้วจึงรวมสุพรรณบุรีไว้ด้วย)
มีขนาดไม่กว้างใหญ่นักแต่มีความอุดมสมบูรณ์อย่างมาก พืชสำคัญที่เพราะปลูกในบริเวณนี้คือข้าว
และได้เคยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่ผลิตข้าวได้เกินความต้องการจนสามารถขายแก่บริเวณใกล้เคียง
(หลักฐานของจีนซึ่งเบาริงอ้างถึงกล่าวว่าเสียงซึ่งน่าจะเป็นสุพรรณบุรีมีความอุดมสมบูรณ์น้อยกว่าโล-โพคือละโว้ จึงต้องได้ข้าวปลาอาหารมาจากละโว้)
นอกจากนี้ชินกาลมาลีปกรณ์ยังกล่าวถึงการที่พระเจ้ารามาธิบดีทำกลเป็นพ่อค้าข้าวนำข้าวไปขายที่ชัยนาทซึ่งน่าจะเป็นพิษณุโลกอีกด้วย
แสดงถึงการส่งสินค้าข้าวจากแถบอยุธยา-ละโว้ขึ้นไปขายยังอาณาจักรสุโขทัยว่าคงทำเป็นปกติ ในบริเวณดังกล่าวมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มซึ่งรับการตกตะกอนของแม่น้ำของแม่น้ำถึง
๔ สาย (เรียกในทางภูมิศาสตร์ว่าเขตที่รายน้ำท่วมถึงเหนือเขตเดลตา)
ในขณะเดียวกันก็มีฝนตกชุกพอสมควรสามารถทำการเพราะปลูกข้าวได้โดยไม่ต้องอาศัยการชลประทานขนาดใหญ่ปรากฏให้เห็นในบริเวณนี้
แม้ว่าเคยมีอาณาจักรเกิดขึ้นทับถมในบริเวณนี้มาแต่โบราณกาล
ใน
ช่วงระยะเวลาระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๒๐
มีพัฒนาการทางการเกษตรที่สำคัญเกิดขึ้นในบริเวณดังกล่าวคือการเปลี่ยนการ
ปลูกข้าวจากประเภทข้าวไร่มาสู่ข้าวนา
แม้การปลูกข้าวนาได้มีร่องรอยให้เห็นว่าได้ทำกันก่อนหน้านี้เป็นเวลาหลาย
ศตวรรษแล้ว
แต่ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้เองที่ข้าวนาจะครอบงำการปลูกข้าวอย่างอื่น
อย่างเด่นชัด
และมีจุดศูนย์กลางที่สำคัญในอาณาบริเวณที่จะเป็นแกนกลางของอาณาจักรอยุธยา
ตอนต้นนี้เอง
แม้ว่าช่วงระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงการปลูกข้าวจะเกิดขึ้นพร้อมกันกับที่ชน
เผ่าไทยเริ่มมีบทบาทอย่างเด่นชัดในประวัติศาสตร์ของภูมิภาคนี้
แต่ก็เป็นการปลอดภัยกว่าที่จะไม่ผูกพันความเปลี่ยนแปลงการปลูกข้าวนี้เขากับ
การอพยพเข้ามาของชนชาติใหม่
ทั้งนี้เนื่องจากระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงยาวนานส่อให้เห็นความเปลี่ยนแปลง
นี้เกิดขึ้นอย่างช้าๆ
มากกว่าจะนำเอาเทคโนโลยีใหม่โดยกลุ่มชนชาติใหม่เข้ามาในอาณาบริเวณอย่างรวด
เร็ว
นอกจากนี้เรามักจะพบเสมอว่าความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดในเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้มักไม่ค่อยผูกพันกับกลุ่มชนชาติ
แต่เป็นพัฒนาการที่ข้ามเส้นเขตแดนของชนชาติอยู่เสมอ
ในบริเวณที่ราบใต้กรุงศรีอยุธยาลงไป พื้นที่เปลี่ยนจากที่ราบน้ำท่วมถึงมาสู่ลักษณะของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ
ปริมาณของน้ำที่หลากจากทางเหนือในหน้าน้ำมีมากขนาดที่กำลังผู้คนและเทคโนโลยีในสมัยนั่นไม่สามารถที่จะควบคุมได้
เหตุฉะนั้นความพยายามของมนุษย์จึงไม่มุ่งไปสู่การชลประทานเพื่อควบคุมน้ำ
แต่มุ่งไปสู่การคัดเลือกพันธ์ข้าวที่สามารถหนีน้ำได้รวดเร็ว
การใช้พันธ์ข้าวเบาสำหรับพื้นที่แถบพระนครศรีอยุธยานับเป็นความสำเร็จที่ชาญฉลาดของกสิกรโบราณของบริเวณนี้
และทำให้ศูนย์อำนาจทางการเมืองซึ่งเกิดขึ้นมีฐานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคงได้
อย่างไรก็ตามการที่กสิกรไม่ต้องพึ่งพาการชลประทานขนาดใหญ่ที่รัฐเป็นผู้จัดก็จะมีผลให้การควบคุมของรัฐเหนือ
ประชาชนเป็นไปอย่างรัดกุมไม่ได้
ต้องกระจายอำนาจควบคุมผู้คนและแรงงานหนีออกไปในหมู่ “มูลนาย” อย่างกว้างขวาง
ในขณะที่ส่วนสำคัญของพวก “มูลนาย”
ก็คือผู้นำท้องถิ่น
การรวมอำนาจเข้าศูนย์กลางของรัฐบาลอยุธยาจึงมีขอบเขตจำกัดเพราะต้องประนี
ประนอมผลประโยชน์และอำนาจระหว่างรัฐบาลกลางและผู้นำท้องถิ่นนี้ตลอดไป
ใน
อีกด้านหนึ่งเมื่อการควบคุมแรงงานประชาชนของรัฐบาลมีขีดจำกัดดังกล่าวนี้
ก็เป็นความจำเป็นของรัฐบาลอยุธยาด้วยที่จะต้องทดแทนหรือเสริมพลังทาง
เศรษฐกิจของตนด้วยการค้าต่างประเทศ
มีหลักฐานที่ทำให้เชื่อได้ว่าการค้าต่างประเทศเป็นแหล่งที่มาของราบได้สำคัญ
ของอยุธยานับตั้งแต่เริ่มต้นอาณาจักรนี้ใน
พ.ศ. ๑๘๙๔
แล้วและกษัตริย์อยุธยาได้วางมาตรการหาผลประโยชน์จากการค้าต่างประเทศด้วย
ทรัพยากรวัตถุและทรัพยากรคนเท่าที่พระองค์ควบคุมได้อย่างมาก
แฮรี เจ. เบนดา ได้เคยเสนอรูปแบบของ
รัฐโบราณของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ที่น่าสนใจ
โดยเปรียบเทียบให้เห็นว่า
ความขัดแย้งกันของรัฐที่มีฐานอำนาจอยู่บนการเกษตรกรรมและรัฐที่มีฐานอำนาจ
อยู่บนการค้าระหว่างประเทศ
รูปแบบนี้มีประโยชน์ในการใช้เป็นแนวทางให้เข้าใจโครงสร้างทางสังคมของรัฐ
โบราณเหล่านี้
อย่างไรก็ตามรูปแบบก็เป็นเพียงภาพในอุดมคติสำหรับใช้เป็น
เครื่องมือในการศึกษา
จำเป็นต้องระวังไม่ยึดในรูปแบบนี้อย่างสุดโต่ง
เพราะแท้ที่จริงแล้วคงไม่มีรัฐใดรัฐหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลยที่
เป็นรัฐที่มีฐานเกษตรกรรมหรือการค้าระหว่างประเทศอย่างสมบูรณ์
กิจกรรมทั้งสองมีบทบาทอยู่ในการกำหนดโครงสร้างของสังคมของทุกรัฐเสมอมา
กรณีของอยุธยาดูเหมือนจะเป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมปนเปของฐานอำนาจของรัฐ
การเกษตรก็มีส่วนกำหนดความสำพันธ์ของหน่วยงานต่างๆ
ในขณะเดียวกันการค้าระหว่างประเทศก็มีส่วนช่วยกำหนด
ลักษณะความสัมพันธ์นั้นอย่างมาก
จาก
หลักฐานในสมัยหลังที่สะท้อนในเห็นถึงความเบาบางของประชากรในบริเวณนี้
ทำให้น่าเชื่อว่าในสมัยต้นอยุธยาประชากรที่อาศัยอยู่ในแกนกลางของอาณาจักร
อยุธยานี้ก็มีเบาบางเช่นกันเมื่อเทียบกับจำนวนพื้นที่เพราะปลูก
เพราะฉะนั้นปัญหาเรื่องที่ดินไม่เพียงพอแก่การเกษตรกรรมแบบพิถีพิถัน (Intensive Agriculture)
จึงไม่เกิดขึ้น ในทางตรงกันข้าม
ปัญหาสำคัญของบริเวณนี้ก็เช่นเดียวกับอีกหลายแห่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้
คือปัญหาเรื่องแรงงาน
รัฐบาลที่มีอำนาจปกครองอาณาบริเวณนี้ได้คือรัฐบาลที่สามารถควบคุมและใช้
ประโยชน์จากแรงงานได้มากที่สุด
ไม่ใช่รัฐบาลที่มีอำนาจปกครองท้องที่ไพศาลที่สุด
เพราะแรงงานเป็นที่มาของพลังในทางการเมืองและโภคทรัพย์ในทางเศรษฐกิจ
ระบบสังคมที่ควบคุมแรงงานของประชาชนและเฉลี่ยแรงงานนั้นตามลำดับขั้นของผู้
มีอำนาจทางการเมืองมากน้อยจึงเกิดขึ้นและพัฒนาซับซ้อนขึ้นตลอดเวลา
ความซับซ้อนที่พัฒนาขึ้นในการควบคุมแรงงานของอยุธยานี้เป็นทั้งเหตุและผลของ
การเพิ่มพูนอำนาจของกษัตริย์อยุธยา แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นกลวิธีของ “มูลนาย” ซึ่งเป็นผู้นำท้องถิ่นในอันที่จะสงวนอำนาจของตนไว้โดยต่อสู้ต้านทานการเพิ่มพูนอำนาจควบคุมแรงงานของกษัตริย์อยุธยา นับได้ว่าเป็นพลวัตที่สำคัญอย่างหนึ่งของประวัติศาสตร์อยุธยาระบบที่ใช้ควบคุมและจัดสรรแรงงานของประชาชนนี้เรียกกันว่าระบบไพร่
อาคม พัฒิยะ, นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2545). ศรีรามเทพนคร : ความเรียงว่าด้วยประวัติศาสตร์อยุธยา
ตอนต้น
.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ : มติชน.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น