วันพุธที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2560

มูลเหตุของการแตกแยกนิกายของพุทธศาสนา

มูลเหตุของการแตกแยกนิกาย

มูลเหตุของการแตกแยกนิกายมี ๒ ประเด็นหลัก
. เพราะการปฏิบัติพระวินัยไม่สม่ำเสมอเหมือนกันเรียกว่า ความวิบัติแห่งศีลสามัญญตา
. เพราะทัศนะในหลักธรรมอธิบายไม่ตรงกันเรียกว่า ความวิบัติแห่งทิฏฐิสามัญญตา
มูลเหตุหลัก ๒ ประการนี้มีความสำคัญในการทำให้เกิดความคิดความเข้าใจ การตีความหลักธรรมแตกต่างๆกันไปจนกลายเป็นนิกายต่างๆ พุทธปรินิพพาน ยังไม่ถึง ๑๐๐ ปียังไม่มีการแบ่งแยกนิกายชัดเจน
หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วประมาณ๑๐๐ ปีพระพุทธศาสนาก็เริ่มมีเค้าแตกแยกในด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระธรรมวินัยจนมาถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชก็แตกแยกกันออกเป็นนิกายใหญ่ ๆ ๒ นิกาย คือมหายานกับหีนยาน
มหายาน เป็นนิกายของภิกษุฝ่ายเหนือของอินเดียบางทีเรียก"อุตรนิกาย"(นิกายฝ่ายเหนือ) บ้าง "อาจารยวาท" บ้าง มีจุดมุ่งสอนให้ระงับดับกิเลสทั้งยังได้แก้ไขคำสอนในพระพุทธศาสนา ให้ผันแปรไปตามลำดับ พวกนี้เรียกลัทธิของตนว่า"มหายาน" แปลว่า"ยานใหญ่" อาจพาให้ข้ามวัฏสงสารคือ ทุกข์จากการเวียนว่ายตายเกิด นิกายนี้เจริญรุ่งเรื่องในประเทศทิเบต จีน มองโกเลีย ญี่ปุ่นเกาหลี และเวียดนาม
หีนยาน เป็นนิกายของภิกษุฝ่ายใต้ของอินเดียบางทีเรียก "ทักษิณนิกาย" (นิกายฝ่ายใต้) คือ "เถรวาท" มุ่งสอนให้พระสงฆ์ปฏิบัติดับกิเลสของตนเองก่อนและห้ามเปลี่ยนแลงแก้ไขพระธรรมวินัยอย่างเด็ดขาด คำว่า "หีนยาน" เป็นคำที่มหายานตั้งให้ "ยานเล็ก" ภิกษุฝ่ายใต้เรียกตัวเองว่า"เถรวาท"หมายถึง ผู้ปฏิบัติตามพุทธบัญญัติ นิกายนี้มีผู้นับถือมากในประเทศศรีลังกาพม่า ลาว ไทย และกัมพูชา

วิกิพีเดีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น