The Berlin Wall
กำแพงเบอร์ลิน
หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง
ในปีค.ศ.1946
เยอรมันในฐานะประเทศที่พ่ายแพ้สงครามได้ถูกแบ่งเป็นสี่เขตการปกครอง ของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงครามทั้งสี่
ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต ฝรั่งเศส และอังกฤษ ส่วนเมืองหลวงกรุงเบอร์ลินนั้นอยู่ในเขตปกครองของสหภาพโซเวียต
แต่กรุงเบอร์ลินก็ถูกแบ่งเป็นสี่ส่วนด้วยเช่นกัน หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง
ยุโรปก็ตกอยู่ในภาวะที่เรียกว่าสงครามเย็น (Cold war) ของสองขั้วอำนาจคือสหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต
โดยอเมริกาเข้ามาดูแลฟื้นฟูประเทศยุโรปทางด้านตะวันตกแทนอังกฤษและฝรั่งเศส
ที่บอบช้ำจากสงคราม ส่วนโซเวียตนั้นเข้ามาดูแลยุโรปตะวันออก
รวม
ทั้งสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกให้มีอำนาจขึ้นมาปกครองประเทศ
ด้วย โดยเหตุการณ์ที่ถือว่าเป็นจุดขัดแย้งสำคัญของสองขั้วอำนาจได้แก่
การที่โซเวียตสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ในกรีซให้ขึ้นมามีอำนาจ
ทำให้อเมริกาต้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือรัฐบาลกรีซ พร้อมกับประกาศ”หลักการทรูแมน” (Truman Doctrine) การประกาศหลักการทรูแมนนี้เองที่ทำให้การขัดแย้งระหว่างอเมริกาและโซเวียตชัดเจนขึ้น
ทางฝ่ายโซเวียตเองก็ต้องการขยายอุดมการณ์ของตน ส่วนอเมริกาก็พยายามป้องกันประเทศที่ถูกลัทธิคอมมิวนิสต์คุกคาม
อย่างเช่น กรีซ ตุรกี เป็นต้น ต่อมาสหรัฐอเมริกาได้ประกาศใช้แผนการมาร์แชล(The Marshall plan) ขึ้นเพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของเยอรมันและยุโรป
ซึ่งเป็นการสนับสนุนนโยบายของอเมริกาในการช่วยเหลือประเทศที่ถูกคอมมิวนิสต์คุกคามได้เป็นอย่างดี
ในขณะที่โซเวียตก็ได้จัดตั้งสำนักงานข่าวสารคอมมิวนิสต์หรือโคมินฟอร์มขึ้น (Cominform) เพื่อ
ทำหน้าที่โฆษณาเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ออกไปให้กว้างขวางและเป็นศูนย์กลางใน
การแลกเปลี่ยนทัศนะและประสบการณ์ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์ต่างๆในการรวมพลัง
ต่อต้านโลกตะวันตก
ความขัดแย้งระหว่างสองขั้วอำนาจตึงเครียดขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งในเดือนมกราคม
ค.ศ. 1947 อเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส
ประกาศรวมเขตปกครองของตนในเยอรมันเป็นเขตเดียว โซเวียตแสดงความไม่พอใจต่อการรวมตัวกันของเขตปกครองเยอรมันตะวันตกเพราะขัดต่อสนธิสัญญาPotsdam ที่ต้องผ่านการเห็นชอบจากสภาควบคุมแห่งสัมพันธมิตร(Allied Control Council)และต่อมาในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1948 กรุงเบอร์ลินก็มีเงินตราสองแบบระหว่างเบอร์ลินตะวันออกและเบอร์ลินตะวันตก
ความไม่พอใจของโซเวียตส่งผลให้ในเดือนมิถุนายน
วันที่24 สหภาพโซเวียตตัดสินใจตัดเส้นทางการขนส่งเข้ากรุงเบอร์ลิน
หรือที่เรียกกันว่า การปิดกั้นเบอร์ลิน(Berlin Blockade)ขึ้น
เบอร์ลิน
ตะวันตกที่เปรียบเสมือนเกาะหนึ่งของเขตปกครองเยอรมันตะวันตกที่อยู่ท่ามกลาง
ดินแดนที่อยู่ในการปกครองของสหภาพโซเวียตหรือเขตปกครองเยอรมันตะวันออก เมื่อสหภาพโซเวียตปิดกั้นเส้นทางการเข้าเบอร์ลินทั้งหมด
ทำให้การติดต่อระหว่างเบอร์ลินตะวันตก กับเขตเยอรมันตะวันตกได้ชะงักลง ฝ่ายอเมริกาก็ทำการช่วยเหลือชาวเบอร์ลินตะวันตกด้วยการใช้การลำเลียงขนส่งทางอากาศหรือที่เรียกว่าBerlin Airlift ทำให้ชาวเบอร์ลินตะวันตกสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ การปิดกั้นดำรงอยู่11เดือน สหภาพโซเวียตจึงตัดสินใจยุติการปิดกั้น
หลังจากการปิดกั้น ในวันที่21
กันยายน ค.ศ. 1947 ฝ่ายอเมริกา อังกฤษ
และฝรั่งเศสตัดสินใจจัดตั้งเขตเยอรมันตะวันตกเป็นสหพันธ์รัฐเยอรมัน (Federal Republic of Germany) หรือเยอรมันตะวันตกขึ้นโดยมีกรุงบอนน์(Bonn)เป็นเมืองหลวง
ส่วนสหภาพโซเวียตก็ตอบโต้โดยการจัดตั้ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน (The German Democratic Replublic) หรือเยอรมันตะวันออกขึ้น ในวันที่9ตุลาคม ค.ศ. 1947
ทำให้เยอรมันถูกแบ่งออกเป็นสองประเทศอย่างเด็ดขาดแต่ละประเทศต่างมีวิถีการเมือง
เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสังคมที่แตกต่างกัน
ต่างฝ่ายต่างก็อ้างว่าฝ่ายตนเป็นผู้แทนที่ถูกต้องของประชาชาติเยอรมันและไม่ยอมรับสภาพความอยู่เป็นรัฐของแต่ละฝ่าย
ปัญหาเยอรมันและปัญหานครเบอร์ลินจึงมีผลกระทบต่อการเมืองในยุโรป
และมีส่วนทำให้ความขัดแย้งในเบอร์ลินมีความตึงเครียดมากขึ้น
ในช่วงปี๑๙๔๙จนถึง๑๙๖๑
มีประชากรเยอรมันตะวันออกถึง๒.๗ล้านคน อพยพมายังดินแดนเยอรมันตะวันตก
เนื่องด้วยสภาพความอยู่เป็นที่ลำบาก จึงอพยพไปยังดินแดนเยอรมันตะวันตกที่มีความมั่งคั่งกว่า
ประชากรที่อพยพไปยังดินแดนเยอรมันตะวันตกนั้น ส่วนมากเป็นประชากรที่เป็นหนุ่มสาว
ซึ่งเป็นกำลังแรงงานที่สำคัญของประเทศ
รวมถึงปัญญาชนซึ่งเป็นกำลังสำคัญของชาติก็อพยพไปด้วย ทำให้เยอรมันตะวันออกขาดแคลนทรัพยากรบุคคลที่สำคัญของประเทศ
ปัญหาการอพยพจึงเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ เศรษฐกิจของเยอรมันตะวันออกย่ำแย่เพราะสูญเสียแรงงานที่มีประสิทธิภาพไป
แม้จะมีการปิดกั้นชายแดนระหว่างเยอรมันตะวันตกและตะวันออก
คง
เปิดไว้แต่เขตเยอรมันตะวันออกกับกรุงเบอร์ลินตะวันตกเท่านั้น
ชาวเยอรมันตะวันออกจะเข้าไปยังดินแดนเยอรมันตะวันตกได้จะต้องได้รับการอนุ
ญาต
หากฝ่าฝืนก็จะมีโทษจำคุกถึงสามปี
แต่มาตรการนี้ก็ยังไม่สามารถยับยั้งการหลบหนีของประชากรได้ โซเวียตมีความหวังว่าอเมริกาจะยอมปล่อยเบอร์ลินตะวันตก แม้จะทำการขู่ด้วยอาวุธนิวเคลียร์
แต่อเมริกาและกลุ่มประเทศตะวันตกต่างตกลงกันเพื่อที่จะปกป้องเบอร์ลินตะวันตก
ในค่ำคืนของวันที่12 สิงหาคม ค.ศ. 1961ทางเยอรมันตะวันออกได้ตัดสินใจทำรั้วกั้นพื้นที่รอบเบอร์ลินตะวันตกในขณะที่ประชากรชาวเบอร์ลินกำลังหลับไหล
เพื่อสกัดกั้นการอพยพเข้าไปยังเบอร์ลินตะวันตก และเสร็จสิ้นในเช้าของวันที่13สิงหาคม ค.ศ. 1961
ท่ามกลางความประหลาดใจของชาวเบอร์ลินทั้งสองฝั่งที่ไม่คิดว่าฝ่ายเยอรมัน
ตะวันออกจะกระทำการโดยใช้กำแพงเป็นการสกัดกั้นประชาชนของตนไม่ให้อพยพออกไป
ผู้คนต่างต้องตัดขาดจากครอบครัว เพื่อน
คนรักและบางคนก็ไม่สามารถไปทำงานได้เพราะการสร้างกำแพง
ทางฝ่ายอเมริกาก็ได้แต่เพียงประณามการกระทำของเยอรมันตะวันออกเท่านั้น
ซึ่งเป็นไปตามการคาดคะเนของนายนิกิต้า ครุสชอฟ ประธานาธิบดีของสหภาพโซเวียต
ที่คาดการณ์ไว้ว่าทางฝ่ายตะวันตกคงไม่เสี่ยงทำสงครามกับโซเวียตเพียงเพราะปัญหาเบอร์ลิน
กำแพงเบอร์ลินทอดยาวไปกว่าร้อยไมล์
ซึ่งไม่ได้ปิดกั้นเฉพาะในกลางกรุงเบอร์ลินเท่านั้น
แต่ปิดล้อมไปทั่วเบอร์ลินตะวันตก ซึ่งเป็นการตัดขาดเบอร์ลินตะวันตกจากเยอรมันตะวันออก กำแพงในระยะแรกเป็นเพียงรั้วลวดหนามกั้นเท่านั้น
ประชาชนชาวเบอร์ลินยังสามารถพูดคุยกับคนฝ่ายตรงข้ามได้
และบางส่วนของกำแพงก็เป็นผนังของอพาร์ทเมนท์
จึงมีการหลบหนีโดยกระโดดลงจากหน้าต่างอพาร์ทเมนท์บ้าง
หรือบางคนก็ขับรถพุ่งชนกำแพงที่เป็นเพียงลวดหนาม
แต่ในระยะเวลาไม่กี่วันกำแพงก็ถูกแทนที่ด้วยกำแพงที่มีความแข็งแกร่งกว่า ที่ตัวกำแพงเป็นอิฐบล็อกคอนกรีต
ด้านบนมีสายลวดหนามล้อมรอบ และในปี1965กำแพงก็ได้เปลี่ยนเป็นแบบที่สาม
ที่มีความแข็งแกร่งมาก คือตัวกำแพงสร้างด้วยคอนกรีตที่ความแข็งแกร่ง
ที่มีเหล็กกล้าเสริมความแข็งแกร่ง และในช่วงปี1975จนถึง1980 ก็เป็นช่วงที่กำแพงเบอร์ลินแบบที่สี่ถูกสร้างขึ้น
ซึ่งมีความแข็งแกร่งมาก ตัวกำแพงทำด้วยวัสดุที่เป็นคอนกรีตอย่างดีมีความสูงถึง12ฟุต (3.6เมตร)
และกว้างถึง4ฟุต (1.2เมตร)
ด้านบนประกอบไปด้วยท่อเรียบๆ ที่ป้องกันไม่ให้คนสามารถปีนหลบหนีขึ้นกำแพงได้ แม้ว่าจะมีการปิดกั้นแต่หลังจากการปิดกั้นได้สองปี
ก็มีการเปิดโอกาสให้ชาวเบอร์ลินตะวันตกสามารถเข้าไปเยี่ยมญาติพี่น้องในเขตเบอร์ลินตะวันออกได้
โดยผ่านจุดตรวจหรือที่เรียกว่าCheck Point โดยจุดตรวจที่มีชื่อเสียงได้แก่Check Point Charlie ซึ่งตั้งอยู่พรมแดนระหว่างตะวันออกและตะวันตกของเบอร์ลิน Check Point Charlie เป็นจุดหลักที่อนุญาต
ให้ฝ่ายสัมพันธมิตรหรือชาวเบอร์ลินตะวันตกใช้ในการข้ามพรมแดนเพื่อไปยังเขตตะวันออก
กำแพงเบอร์ลินสร้างขึ้นเพื่อสกัดกั้นประชาชนจากเยอรมันตะวันออกไม่ให้อพยพไปยังเขตเยอรมันตะวันตก
แต่การสร้างกำแพงก็ไม่สามารถยับยั้งการหลบหนีได้อย่างเต็มที่ ในช่วงที่มีกำแพงเบอร์ลินนั้น
มีประชาชนกว่า5พันคน
สามารถหลบหนีไปยังเขตตะวันตกได้อย่างปลอดภัย ผู้ที่สามารถหลบหนีได้สำเร็จส่วนมากจะใช้วิธีโดยการโรยเชือกข้ามกำแพงและปีนขึ้นไป และบ้างก็มุทะลุโดยการขับรถถังหรือรถบัสขับทะลุกำแพงเพื่อหลบหนี
บางวิธีก็เป็นเหมือนการฆ่าตัวตายเช่น
การ
กระโดดลงมาจากหน้าต่างของอพาร์ทเมนท์ที่ใช้เป็นกำแพงกั้นระหว่างเขตทั้งสอง
และเมื่อกำแพงแข็งแรงและมีขนาดใหญ่ขึ้นการหลบหนีจึงต้องมีการวางแผน
และซับซ้อนมากยิ่งขึ้น บางคนขุดอุโมงค์จากห้องใต้ดินในตึกในเขตเบอร์ลินตะวันออก
ขุดลงไปใต้กำแพงและไปโผล่ยังเขตเบอร์ลินตะวันตก
บางคนก็ทำบอลลูนลอยฟ้าเพื่อลอยข้ามไปยังเขตตะวันตก แต่ก็มีประชาชนบางส่วนที่ไม่ประสบความสำเร็จในการหลบหนี
ตั้งแต่ทหารของเยอรมันตะวันออกได้รับอนุญาตให้ยิงผู้ที่คิดจะหลบหนีได้โดยปราศจากการเตือน
ทำให้มีผู้คนประมาณ100ถึง200คนต้องเสียชีวิตจากการพยายามหลบหนี
ผู้คนที่ต้องเสียชีวิตในการหลบหนีนี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ในการต่อสู้ดิ้นรนเพื่ออิสรภาพ
จุดสิ้นสุดของกำแพงเบอร์ลินก็เกิดขึ้นอย่างกะทันหันเช่นเดียวกับตอนสร้างกำแพงเบอร์ลิน โดยหลังจากที่คอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกอ่อนแอลง
จากการใช้นโยบายกลาสต์นอสและเปเรสตรอยการ์ของประธานาธิบดีมิคาอิล
กอร์บาชอฟของโซเวียตที่เปิดกว้างเพื่อให้เกิดการปฏิรูปสังคม
และสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน ส่วนนโยบายต่างประเทศนั้นก็ยุติการสร้างอาวุธ
ถอนกำลังทหารออกจากอัฟกานิสถาน
และตัดความช่วยเหลือในการเคลื่อนไหวของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก
และประเทศที่อยู่ในเครือโซเวียต และหันกลับมาดูเศรษฐกิจในประเทศ
ด้วยเหตุนี้ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์ ในยุโรปตะวันออกเริ่มอ่อนแอลง
และก็ได้มีกลุ่มการเมืองอิสระเริ่มมีการออกมาเคลื่อนไหวมาขึ้น เช่นขบวนการโซดาริตี้ในโปแลนด์
ที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองในโปแลนด์ ในปี1988-1989 ฝ่ายคอมมิวนิสต์ในประเทศเหล่านี้ก็เริ่มประสบความล้มเหลวและสิ้นอำนาจลงในที่สุด
รัฐบาลฮังการีมีการเปิดพรมแดนให้กับชาวเยอรมันตะวันออกที่ต้องการหลบหนีไปยังเขตเยอรมันตะวันตก
จึงมีผู้หลบหนีออกมาทางฮังการีและเดินทางเข้าไปยังเขตเยอรมันตะวันออกทางออสเตรียเป็นจำนวนมากโดยในช่วงเดือนกันยายนมีผู้หลบหนี
มากกว่า13,000คน
ในวันที่9พฤศจิกายน ค.ศ. 1989
ได้มีประกาศจากรัฐบาลเยอรมันตะวันออก
ให้มีการยกเลิกการจำกัดการเดินทางไปยังเขตเยอรมันตะวันตกและเยอรมันตะวันออก
และเปิดกำแพงเบอร์ลิน
ผู้คนต่างพากันตกใจกับคำประกาศนี้และต่างไม่เชื่อว่ากำแพงได้ถูกเปิดแล้วจริงๆ ชาวเยอรมันตะวันออกสามารถข้ามไปยังอีกฝั่งของกำแพงได้โดยปราศจากการห้ามปรามของทหารที่เฝ้ากำแพง
กำแพงเบอร์ลินท่วมท้นไปด้วยผู้คนของทั้งสองฝั่ง ผู้คนต่างช่วยกันก็ทำลายกำแพงลงด้วยสิ่วและค้อน
ผู้คนต่างพากันเฉลิมฉลองกัน ทั้งกอด จูบ ร้องไห้ และร่วมร้องเพลงกันด้วยความยินดี
กำแพงเบอร์ลินได้แตกสลายกลายเป็นเศษเล็กๆ
ผู้คนต่างก็เก็บเศษเล็กๆนี้ไว้สะสมเพื่อเป็นที่ระลึก
บ้างก็ถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ หลังจากการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน
เยอรมันตะวันตกและเยอรมันตะวันออกก็ได้รวมกันเป็นรัฐเยอรมัน ในวันที่3ตุลาคม 1990
บรรณานุกรม
บอร์นสเตน, เจอรี่.ทะลายกำแพงเบอร์ลิน.กรุงเทพฯ : ธัญญา, 2534.
Hanes, Sharon M. Cold war: almanac. Detroit : UXL, c2004 หน้า 55-77
Hyde Flippo. Die
Maueröffnung - The Last Days of the Berlin Wall
.<
http://german.about.com/od/geschichte/a/BerlinWall.htm> December 24,2010.
Jennifer
Rosenberg.The Rise and Fall of the Berlin Wall.<
http://history1900s.about.com/od/coldwa1/a/berlinwall.htm> December 24,2010.
Robert Longley. Mr. Gorbachev, tear down this wall!.<
http://usgovinfo.about.com/od/historicdocuments/a/teardownwall.htm> December
24,2010.
Robert
Wilde.The BerlinWall.<
http://europeanhistory.about.com/od/coldwar/p/prberlinwall.htm>
December 24,2010.
suriya mardeegun