วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ตรอตสกีคือใคร

ตรอตสกีคือใครกัน?



หลาย คนคงสงสัย ว่าตรอตสกีเป็นใครมาจากไหน แต่ถ้าใครศึกษาและอ่านงานประวัติศาสตร์รัสเซีย รวมถึงงานเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์โซเวียตแล้วคงไม่มีใครไม่รู้จักเขาคนนี้ ตรอตสกี

ตรอตสกีเป็นนักปฏิวัติคนสำคัญในเหตุการณ์ ปฏิวัติรัสเซียค.ศ.1917

เค้าไม่ได้เป็นเพียงนักปฏิวัติรัสเซียคนนึงเท่านั้น
และก็ไม่ได้เป็นลูกน้องของเลนิน แต่ตรอตสกีเป็นทั้งนักปฏิวัติ นักเขียน นักพูด
และนักคิด ที่มีอิทธิพลต่อการปฏิวัติรัสเซียและมีอิทธิพลต่อเลนินด้วย
ความคิดของตรอตสกีเป็นที่ยอมรับกันทั้งนักปฏิวัติ นักคิด และนักเขียนสังคมนิยมคนอื่นๆ
รวมถึงเลนินด้วย
ชีวิตของตรอตสกีทั้งชีวิตอุทิศให้กับการปฏิวัติและเผยแพร่แนวคิดสังคมนิยม
รวมถึงการศึกษาความรู้ต่างๆไม่ว่าจะเป็นด้านประวัติศาสตร์

ลัทธิมากซ์
รวมถึงแนวคิดสังคมนิยมอื่นๆด้วย และเขาก็ได้เขียนบทความต่างๆขึ้นมามากมายด้วย

ตรอตสกีเกิดในครอบครัวชาวนาที่มีฐานะค่อนข้างร่ำรวย จากการศึกษาในหนังสือ

แม้ตรอตสกีจะหนีไปลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ประเทศต่างๆในยุโรป
ครอบครัวของเขามักจะมีโอกาสได้ไปเยี่ยมเยือนเขาและได้ให้เงินไว้ใช้จ่าย
ทำ ให้ตรอตสกีไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องเงินเหมือนกับนักสังคมนิยมที่ต้องลี้ภัยคน อื่นๆ ตรอตสกีได้รับอิทธิพลทางด้านงานเขียนและการอ่านมาตั้งแต่เด็กเนื่องด้วยน้า ชาย
ของ เขาที่รับเขาไปดูแลตั้งแต่เด็ก เป็นนักวิชาการและเจ้าของโรงพิมพ์ทำให้ตรอตสกีได้รู้จักกับโลกของหนังสือและ การทำหนังสือมาตั้งแต่เด็ก
ตรอตสกีจึงเป็นคนที่รักการอ่านมาตั้งแต่เด็ก
ด้วยสภาพแวดล้อมในวัยเยาว์ของตรอตสกีที่เกิดมาในสมัยของซาร์อเล็กซานเดอร์ที่สาม
ที่ มีการเอารัดเอาเปรียบประชาชนโดยเฉพาะเจ้าของที่ดิน ข้าราชการ และตำรวจรวมถึงตัวบิดาของตรอตสกีเองที่ได้ทำการข่มขู่ชาวนาที่เข้ามาทำลาย พืชผลจนทำให้ตรอตสกีประท้วงโดยการอดอาหารและขังตัวเองอยู่ในห้องในสภาพการ ของสังคมยุคนั้นเองที่ทำให้จิตสำนึกต่อต้านระบบของเขาเริ่มเกิดขึ้นอย่าง ค่อยเป็นค่อยไป

จุดเริ่มต้นของชีวิตบนเส้นทางแสวงหาของตรอตสกีก็เริ่มจากการที่เขาเข้าร่วมกับสวีคอฟสกีและมีความสนใจในแนวคิดของพวกนารอดนิค
จนบิดาของเขาต้องห้ามปรามและตัดค่าใช้จ่ายของเขา แต่เขาก็ยังคงต่อต้านและยังได้แสดงความคิดและพัฒนาความเป็นผู้นำขึ้นในสวนของสวีคอฟ
จนตำรวจเริ่มเพ่งเล็ง และเขาก็ถูกจับกุมครั้งแรกเมื่ออายุได้สิบเก้าปี
ก่อนที่จะถูกเนรเทศไปไซบีเรีย เขาได้มีโอกาสศึกษาประวัติศาสตร์ ปรัชญา
และแนวคิดลัทธิมากซ์ และในขณะที่เขาอยู่ที่คุกที่มอสโควเขาก็ได้แต่งงานครั้งแรก
กับโซโคลอฟกายา ผู้ซึ่งเคยโต้แย้งกันเรื่องทฤษฎีความคิด
ระหว่างที่เขาอยู่ที่ไซบีเรียตรอตสกีก็มีโอกาสได้อ่านวรรรณกรรม และเป็นนักวิจารณ์วรรณกรรมและแต่งเรียงความให้กับ
Eastern Review ระหว่างที่เขาอยู่ที่ไซบีเรียเขามีโอกาสได้อ่านIskra ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ทางการเมืองที่เลนินได้จัดพิมพ์ขึ้นนอกประเทศ
รวม ถึงทฤษฎีทางการเมืองที่เลื่องชื่อของเลนินนามว่า What is to be done? ซึ่งได้ให้คำตอบที่ชัดเจน แก่ตรอตสกีในแนวทางปฏิวัติของเขาและตรอตสกีจึงมีโอกาสได้ร่วมงานกับIskra ต่อมาก็ได้รับการสนับสนุนให้หลบหนีจากไซบีเรียเพื่อไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ ของIskraที่ลอนดอน และเพื่อเดินทางไปพบเลนินด้วย

ชีวิตต่างแดนครั้งแรกของตรอตสกีทำให้ทัศนคติทางการเมืองของเขาเปิดกว้างขึ้นเขาได้พบกับสหายหลายคนๆเช่น
ปาร์วุส โดยเฉพาะ นาตาลยาเซโดวา ซึ่งต่อมาเธอได้เป็นภรรยาคนที่สองของตรอตสกีและเป็นสหายที่ต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่ตรอตสกีมาโดยตลอด
เขาเริ่มสร้างชื่อเสียงจากการทำงานกับIskra
ระหว่างที่เขาอยู่ในต่างแดนนั้นสถาณการณ์ในรัสเซียเริ่มเข้าสู่ภาวะตึงเครียดขึ้นเรื่อยๆ
ประชาชนชาวรัสเซียโดยเฉพาะทาสติดที่ดินนั้นได้รับการกดขึ่จากเจ้าของที่ดินและประชาชั้นสูงเรื่อยมาตั้งแต่อดีต
จนเมื่อรัสเซียประสบความปราชัยในสงครามระหว่างรัสเซียกับญี่ปุ่น ประชาชนเริ่มหมดศรัทธาในตัวพระเจ้าซาร์ขึ้นเรื่อยๆ
และ ความนิยมในพระเจ้าซาร์ก็ลดความนิยมอย่างรวดเร็วหลังเหตุการณ์วันอาทิตย์ เลือดที่กรรมกรนัดหยุดงานและถูกปราบปรามโดยตำรวจของรัฐบาลอย่างเลือดเย็น
ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดเหตุการณ์ครั้งสำคัญที่นับเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพและได้รับความร่วมมือจากการทหารเรือ
หรือ เรือรบโปเทมกิน ในการปฏิวัติ 1905 ซึ่งนับว่าเป็นการปฏิวัติครั้งแรกที่มีลักษณะมวลชนครั้งแรกที่กองทัพประสาน เข้ากับชนชั้นกรรมกรของประชาชน
แม้ผลสุดท้ายจะพ่ายแพ้แต่รัฐบาลก็ให้สัญญาว่าจะให้มีการเลือกตั้งทั่วไปของสภาดูมาขึ้น หลังจากนี้มีการจัดสภาโซเวียตหรือสภาคนงานขึ้น
และตรอตสกีได้มีบทบาทสำคัญและมีส่วนช่วยเสริมสร้างชื่อเสียงและเกียรติภูมิแก่นักปฏิวัติอาวุโสในต่างแดน
และเลนินก็ยอมรับว่าตรอตสกีคือแกนนำที่ผลักดันให้สภาโซเวียตพัฒนาก้าวหน้าและ
ในขณะที่สภาโซเวียตประชุมกันอยู่ตำรวจก็บุกเข้ามาจับกุม ตรอตสกีถูกจับและตรอตสกีก็ต้องกลับไปใช้ชีวิตในต่างแดนอีกครั้ง
ชีวิต ในต่างแดนครั้งที่สองของตรอตสกีส่วนมาจะอยู่ที่เวียนนาประเทศออสเตรียและมี โอกาสทำงานกับหนังสือพิมพ์Pravda ในช่วงที่อยู่เวียนนาตรอตสกีได้มีโอกาสใกล้ชิดกับปาร์วุสอีกครั้งและนำแนว คิดการปฏิวัติถาวรของเขา
มาขยายและพัฒนาเป็นแนวคิดของตรอตสกีเอง ซึ่งมีสาระสำคัญคือชนชั้นกรรมาชีพจะเป็นชนชั้นนำและพลังหลักในการก่อการ ปฏิวัติโดยมีชาวนาเป็นแนวร่วม
นอกจากนี้เขายังศึกษาและวิเคราะห์เหตุการณ์การปฏิวัติรัสเซีย 1905 เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิวัติครั้งต่อไป

ผลจากการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งของรัสเซีย
ส่งผลให้เกิดความไม่พอใจของทหารและพลเรือนที่เบื่อหน่ายสงคราม
ตลอดจนสภาวการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่ดำรงอยู่ตลอด
กระแสการต่อต้านซาร์เริ่มแสดงออกอย่างชัดเจนในรูปแบบของการเดินขบวนจนนำไปสู่การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์
ซาร์นิโคลัสทรงประกาศสละราชสมบัติและมอบราชบัลลังก์ให้พระอนุชา แต่แกรนด์ ดุ๊ก
ไมเคิลปฏิเสธที่จะสืบพระราชบัลลังก์ต่อ
ส่งผลให้ราชวงค์โรมานอฟที่มามากว่าสามร้อยปีต้องจบลง และรัสเซียก็อยู่ในการดูแลของรัฐบาลเฉพาะกาล
โดยมีพรรคเมนเชวิคและสังคมนิยมอื่นๆ ให้การสนับสนุนในการทำสงครามต่อ
ยกเว้นบอลเชวิค
และเลนินได้รายงานนิพนธ์เดือนเมษายนเพื่อเรียกร้องให้ยุติสงครามและไม่สนับสนุนและร่วมมือใดๆกับรัฐบาลเฉพาะกาล
และในเดือนตุลาคม 1917พรรคบอลเชวิคก็สามารถยึดอำนาจจากรัฐบาลเฉพาะกาลได้
ในระหว่างการตัดสินใจย้ายรัฐบาลไปกรุงมอสโก
เพราะเกรงว่าโปโตรกราดจะถูกโจมตีจากเยอรมัน หลังพ่ายแพ้ที่เมืองเรเวล
ชัยชนะของการปฏิวัติเดือนตุลาทำให้ตรอตสกีเข้าสู่อำนาจและความรุ่งโรจน์ทางการเมือง
และมีชื่อเสียงโดดเด่นในหน้าประวัติศาสตร์ของเดือนตุลา

ตรอตสกีเป็นนักปฏิวัติที่มีแนวทางที่เป็นกลางระหว่างความขัดแย้งของพรรคเมนเชวิคและบอลเชวิค
เขาวิพากษ์วิจารณ์ทั้งสองฝ่ายอย่างตรงไปตรงมาและเปิดเผย
และรวมถึงวิพากษ์วิจารณ์ในตัวของเลนินด้วย
ตรอตสกีถือว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อการปฏิวัติในปี 1917 อย่างมากจากประสบการณ์การศึกษาค้นคว้าของเขา
และประสบการณ์การใช้ชีวิตในต่างแดนถึงสองครั้งทำให้เขานำความรู้เกี่ยวกับสังคมนิยมจากทั่วยุโรป
และอเมริกา มาประยุกต์และคิดวิเคราะห์ในงานเขียนของเขา รวมถึงการวิจารณ์วรรณกรรม
รวม ถึงวิเคราะห์เหตุการณ์ในอดีตรวมถึงศึกษาประวัติศาสตร์ต่างๆ จากประสบการณ์การใช้ชีวิตในต่างแดนของตรอตสกีเป็นส่วนสำคัญมากในกระบวนการ ทางความคิดของเขาบวกกับนิสัยรักการอ่านของเขา
ทำให้ความคิดของเขาเป็นความคิดที่แหลมคม
และได้รับการยอมรับจากนักสงคมนิยมคนอื่นๆรวมถึงตัวเลนินด้วย
อาจจะกล่าวได้ว่าถ้าไม่มีตรอตสกีแล้ว ความสำเร็จในการปฏิวัติในปี1917 ก็คงเกิดขึ้นได้ยาก หรือไม่ก็อาจจะให้ผลลัพธ์ในทางตรงกันข้าม
ตรอตสกีนอกจากจะเป็นนักเขียนแล้ว เขายังเป็นนักพูดที่มีศิลปะในการพูด
คือพูดจาโน้มน้าวให้คนสามารถคล้อยตามได้
แม้ในบางครั้งบุคลิกที่มั่นใจในตัวเองของเขา รวมถึงนิสัยเย่อหยิ่งของเขาจะไม่เป็นที่ชอบใจของใครหลายๆคน
นิสัยที่เย่อหยิ่งและมั่นใจนี้ก็อาจจะเกิดจากที่เขาเป็นคนเก่งและได้รับการยอมรับจากคนหลายๆคนตั้งแต่อายุยังน้อย

แม้ในบั้นปลายชีวิตของตรอตสกีจะไม่สวยหรู
แต่ตลอดชีวิตของตรอตสกีก็ได้อุทิศชีวิตให้กับการเขียนและแนวคิดสังคมนิยมและการปฏิวัติ
ก่อนที่เขาจะลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ที่เม็กซิโก ตรอตสกีก็ได้สร้างผลงาน
ให้เลนินได้รับความไว้วางใจจนเขียนพินัยกรรมให้เขาเป็นผู้สืบทอดต่อไป
แต่เขาก็ถูกกำจัดโดยศัตรูของเขา นั่นก็คือสตาลิน
เหตุที่ตรอตสกีต้องจนมุมก็เพราะประมาทในความสามารถ บวกกับความทะเยอทะยานของสตาลิน
สตาลินเริ่มสะสมอำนาจทางการเมืองจนขึ้นมาเป็นผู้นำต่อจากเลนินได้
และกำจัดศัตรูทางการเมืองไปหลายคน ซึ่งรวมถึงตัวของตรอตสกีเองด้วย
แม้จะต้องแลกกับชีวิตตรอตสกีก็ยังคงเขียนหนังสือ วิจารณ์เกี่ยวกับการเมืองต่อไป
จนวาระสุดท้ายของชีวิต ตรอตสกีก็ถูกลอบสังหารในขณะที่กำลังเขียนหนังสืออยู่ด้วย ตรอตสกีได้ทิ้งผลงานไว้มากมาย
ในช่วงชีวิตหกสิบปีของเขา เขาเป็นพลังสำคัญ และแกนนำสำคัญในการปฏิวัติรัสเซียในปี1917 ที่สำคัญที่สุดคนหนึ่ง


แหล่งค้นคว้า ตรอสกีบนเส้นทางปฏิวัติรัสเซียค.ศ.1917
ของ อาจารย์ สัญชัย สุวังบุตร

หมาย เหตุ บทความนี้เป็นบทความที่แสดงความคิดเห็นของผู้เขียนเอง ไม่ได้เกี่ยวกับข้องกับความเห็นหรือแนวคิดของผู้แต่งหนังสือแต่อย่างใด

syriya mardeegun

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น