วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ลุงโฮ หรือ โฮจิมินห์

ลุงโฮ หรือ โฮจิมินห์




โฮจิมินห์
โฮ จิมินท์ หรือ “ลุงโฮ” บิดาแห่ง ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เกิดวันที่19 พฤษภาคม ค.ศ. 1890 (พ.ศ.2433) ณ จังหวัด เหงะอาน เป็นบุตรคนที่สามหรือคนสุดท้องของครอบครัวชาวนาที่มีความคิดก้าวหน้ามีการ ศึกษา และต่อสู้เพื่อเอกราช



หลังจากจบการศึกษาระดับมัธยม ตามระบบโรงเรียนสมัยใหม่ที่มีไม่มากแห่งนักในเวียดนาม โฮจิมินห์ได้ไปเป็นครูในช่วงสั้นๆ ไม่ถึงปี ขณะอายุ22ปี โฮจิมินห์ก็ตัดสินใจลาออกโดย “มุ่งสู่ตะวันตก” เพื่อที่จะนำความรู้และประสบการณ์กลับมาพัฒนาบ้านเมืองเวียดนาม โฮจิมินห์ประกอบอาชีพหลายอย่างในต่างแดน เช่น ผู้ช่วยคนครัว คนทำสวน ภารโรง ลูกจ้างร้านถ่ายรูป และอื่นๆ แต่ที่เหนืออื่นใดคือ โฮจิมินห์มีความรู้ถึง6 ภาษา ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส อังกฤษ รัสเซีย สเปน และเยอรมัน



เมื่อ สงครามโลกครั้งที่1 ยุติลง (ค.ศ. 1918/ พ.ศ. 2461) โฮจิมินห์ได้เป็นตัวแทนชาวเวียดนามที่ยื่นข้อเสนอเพื่อเรียกร้องความเป็น ธรรม และเอกราชให้แก่เวียดนามต่อที่ ประชุมเจรจาสันติภาพแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส แต่ไม่มีประเทศมหาอำนาจใดให้ความสนใจต่อปัญหาเอกราชเวียดนาม ดังนั้น แนวทางของลัทธิมาร์กซ์- เลนิน รวมทั้งชัยชนะของพรรคคอมมิวนิสต์ในโซเวียต (ค.ศ. 1917/พ.ศ. 2460) ได้ทำให้โฮจิมินห์ค้นพบหลักอุดมการณ์ในการต่อสู้เพื่อเอกราชเวียดนาม เพื่อต่อสู้กับเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสและจักรวรรดินิยมอเมริกา



โฮ จิมินห์เดินทางไปหลายประเทศเพื่อรณรงค์ในปัญหาเอกราชเวียดนามและแสวงหาความ สนับสนุนด้านต่างๆ จากชาวเวียดนามที่หลบหนีการกดขี่จากการปกครองของฝรั่งเศสอยู่นอกประเทศ รวมทั้งเข้ามารณรงค์ในประเทศสยามประมาณปีกว่า (ปลายปี 1928-ต้นปี1930/ปลายปี 2471-ต้นปี2472) บ้านพักของโฮจิมินห์ ที่บ้านนาจอก ตำบลหนองญาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ในปัจจุบันได้จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่เปิดให้ประชาชน เข้าชม ทั้งยังมีต้นมะเฟืองและต้นมะพร้าว ที่โฮจิมินห์ได้ปลูกไว้ประมาณปีพ.ศ. 2472 ด้วย


โฮจิมินห์ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) ก่อนที่จะได้เห็นความสำเร็จของการรวมเวียดนามเป็นหนึ่งเดียวและขับไล่กองทัพ ผู้รุกรานออกไปจากแผ่นดินเวียดนามเมื่อ 30 เมษายน ค.ศ. 1975 (พ.ศ. 2518)




79ปีของชีวิตโฮจิมินห์คือ 79ปีของการต่อสู้เพื่อเอกราชเวียดนาม
สำหรับโฮจิมินห์แล้ว “ไม่มีสิ่งใดมีค่ายิ่งกว่าอกราชแห่งชาติและเสรีภาพ”
โฮจิมินห์ได้บันทึกไว้ในพินัยกรรมแห่งเวียดนามว่า
“ความสามัคคีคือประเพณีที่มีค่าสูงสุดของพรรคและประชาชนของเรา”
“พรรคของเรามีอำนาจ และเราก็เป็นผู้รับใช้ที่จงรักภักดีของประชาชนด้วย”
และที่สำคัญยิ่งคือ “ท่านจมีทุกสิ่งถ้าท่านมีประชาชน”






แหล่งข้อมูล  :  เวีนดนาม :ประวัติศาสตร์ฉบับพิสดาร (Vietnam: A long History)


suriya mardeegun

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น