วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ระเบิดไฮโดรเจน

ระเบิดไฮโดรเจน

General trends in the Era of the Cold war and the collapse of empires.
 หลัง สงครามโลกครั้งที่สองจนกระทั่งถึงปี1991ที่สหภาพโซเวียตล่มสลายก็เกิดสงคราม เย็นและการล่มของจักรวรรดิ สงครามเย็นเป็นสงครามทางความคิดและการข่มขู่โดยการใช้อาวุธ นโยบายของกอร์บาชอฟ(ผู้รับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีโซเวียตในปี1985) มีบทบาทอย่างมากที่ทำให้โซเวียตล่มสลายซึ่งก็คือโดยนโยบายเปเรสตรอย ก้า(สร้างใหม่) และในช่วงสงครามเย็นเป็นช่วงที่โลกของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้า อย่างมาก สามารถส่งมนุษย์ไปยังอวกาศ เป็นต้น โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างมาก ในขณะที่ประเทศยุโรปตะวันตกและญี่ปุ่นก็กำลังมีบทบาททางเศรษฐกิจตามมา แต่ในความก้าวหน้านั้นก็เกิดช่องว่างระหว่างประเทศที่ร่ำรวยและยากจนเพิ่ม มากขึ้นเช่นกัน

 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี1950มีการผลิตระเบิดไฮโดรเจนที่มีอานุภาพทำลายล้างมากกว่าเดิม ต่อมาในปี1970มีการผลิตมีการผลิตอาวุธเทอ์โมนิวเคลียร์ที่สามารถทำลายมนุษย์ ได้ทั้งโลก นอกจากนี้ยังมีการผลิตเครื่องบินเจตความเร็วสูงและในปี 1957 โซเวียตก็ได้ส่งยานสปุตนิกวันขึ้นไปโคจารรอบโลกเป็นครั้งแรก ตามมาด้วยปี1969 อเมริกาก็สามารถนำมนุษย์ขึ้นไปเหยียบบนดวงจันทร์เป็นครั้งแรก ส่วนทางด้านเทคโนโลยีนั้น โทรทัศน์มีบทบาทอย่างมากในชีวิตมนุษย์ กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต ทั้งด้านบันเทิง การศึกษา และธุรกิจผ่านการโฆษณา นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีใหม่อย่างคอมพิวเตอร์ที่สามารถ เก็บข้อมูล กู้ข้อมูล ขนาดใหญ่ได้อย่างมหาศาล โดยเฉพาะสามารถผลิตหน่วยความจำด้วยแผ่นซิลิคอนเล็กก็ทำให้มีขนาดเล็กลง และมีการนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์กับเทคโนโลยีอื่นเช่นดาวเทียม เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ที่ค้นพบรหัสดีเอ็นเอ ที่จะช่วยพัฒนาการติดต่อของโรคทางพันธุกรรมและความผิดปกติ ความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้จำนวนคนตายลดลง ทำให้ประชากรโลกสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และยังคงต้องเผชิญกับโรคร้ายที่ยังสามารถคร่าชีวิตผู้คนได้แก่ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง รวมถึงโรคใหม่อย่างโรคเอดส์ การพัฒนานี้ทำให้ประเทศโดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้วมีการใช้พลังงานมากขึ้น นักวิทยาศาสตร์ก็ผลิตสายพันธุ์ข้าวใหม่เพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้นเพียงพอกับ ความต้องการอาหารของมนุษย์ ต่อมาจึงเกิดปัญหาขาดแคลนอาหารโดยเฉพาะในประเทศแถบแอฟริกา โลกได้รับผลอกระทบจากการปล่อยมลพิษของโรงงงานอุตสาหกรรม และมนุษย์ก็ได้รับผลกระทบจากการคิดค้นสารเคมีโดยเฉพาะยาฆ่าแมลง ต่อมาจึงมีการตระหนักถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆเช่นภาวะเรือนกระจก ทำให้ประเทศต่างๆเริ่มคำนึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและมีการทำสนธิสัญญาเพื่อลด ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ กรุงมอนทรีออลในปี1987

 อุตสาหกรรมเจริญขึ้นมา อย่างมากในอเมริกาและประเทศยุโรป มีการก่อตั้งองค์กรทางการเงินและการค้า ได้แก่ IMF Word Bank และGATT ขึ้นมา หลังสงครามโลกครั้งที่สองเศรษฐกิจในยุโรปอ่อนแอมากทำให้อเมริกาใช้แผนการ มาร์แชลเพื่อฟื้นฟูยุโรป ส่วนในยุโรปตะวันออกนั้นเป็นไปอย่างเชื่องช้าเพราะดูแลโดยโซเวียต ต่อมาการครอบงำทางเศรษฐกิจของอเมริกาลดลงทำให้ เกิดดุลอำนาจทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมาได้แก่ประเทศยุโรปตะวนตกและญี่ปุ่น รวมถึงประเทศในเอเชียตะวันออกและใต้อื่นๆ เช่น จีน ไต้หวัน เกาหลีใต้เป็นต้น ที่ค่อยพัฒนาเศรษฐกิจให้ค่อยๆเจริญเติบโต แต่ละประเทศพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความเป็นสมัยใหม่มากขึ้นแต่ก็เป็นไปอย่างไม่ สม่ำเสมอ ประเทศที่ร่ำรวยก็พัฒนาให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ประเทศที่ยากจนก็มีประชากรเพิ่มขึ้น เมื่อเกิดสภาวะน้ำมันแพงทำให้ข้าวของแพง จึงทำให้ประเทศยากจนหลายประเทศเป็นหนี้ ทำให้IMFต้องเข้ามาดูแล สิ่งที่จำเป็นที่สุดของประเทศยากจนก็คือการมีอาหารที่พอเพียง ประเทศมากมายอย่างบังคลาเทศ กัมพูชา อินเดีย และแถบซาฮาราต้องประสบกับปัญหาอาหารขาดแคลน จึงมีองค์กรUNICEF เข้ามาช่วยเหลือดูแลเด็กๆในประเทศยากจนนั้น ไม่ใช่แค่ช่องว่างระหว่างประเทศที่ร่ำรวยและยากจนกว้างขึ้นในทศวรรษสุดท้าย หลังสงครามเท่านั้น แต่ชาวนายังประสบปัญหาในการขาดแคลนที่ดินทำกินทำให้ต้องอพยพเข้ามาในเมือง เกิดเป็นปัญหาชุมชนสลัมขึ้น สิ่งที่เด่นชัดที่สุดของแนวโน้มทางเศรษฐกิจหลังสงครามคือการพึ่งพาอาศัยกัน ทางเศรษฐกิจ มีการแพร่ขยายของธุรกิจอาหารฟาสต์ฟู๊ดโดยเฉพาะในประเทศที่ร่ำรวย บางประเทศมีการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร และการออกแบบหุ่นยนต์ทำให้มีคนทำงานในด้านนี้มากขึ้น ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมก็ต้องการคนทำงานน้อยลงเพราะมีการใช้ระบบอัตโนมัติ เพิ่มขึ้น



แปล สรุปมาจากหนังสือThe Twentieth Century and Beyond: A Global History© 2008  PART III: THE ERA OF THE COLD WAR AND THE COLLAPSE OF EMPIRES บทที่21General Trends in the Era of the Cold War and the Collapse of Empires หน้า280-289 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น