กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
ล่วงปีระกา พุทธศักราช ๒๔๔๐
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เสด็จประพาสทวีปยุโรปเป็นครั้งแรก โดยเรือพระที่นั่งมหาจักรี
พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์
มีพระชันษา ๑๗ ชันษา ทรงขออนุญาตลามารับเสด็จ
พระบรมชนกนาถ
โดยมาเข้าร่วมกระบวนเสด็จที่เมือง กอล (Galle) เกาะลังกา
โดยมาเข้าร่วมกระบวนเสด็จที่เมือง กอล (Galle) เกาะลังกา
เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๔๔๐
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้รับราชการตามตำแหน่ง
นายเรือในเรือพระที่นั่งมหาจักรี ภายใต้การบังคับบัญชา
ของกัปตันเรือพระที่นั่ง
และได้ทรงถือท้ายเรือพระที่นั่งมหาจักรีด้วยพระองค์เอง
ซึ่งเท่ากับว่าทรงแต่งตั้งให้เป็นนักเรียนนายเรือของสยาม
โดยทรงฝึกงานภายใต้การดูแลควบคุมของ
กัปตัน คัมมิง(Capt. R. S.D. Cumming R.N.)
นายทหารเรืออังกฤษ ที่รัฐบาลสยามขอยืมตัวมา
เป็นผู้บังคับการเรือพระที่นั่ง
ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีลายพระราชหัตถเลขา
ถึง สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถว่า....
"ในเวลาที่เขียนหนังสืออยู่นี้ อาภากรกับหลวงสุนทรมาถึง
"ในเวลาที่เขียนหนังสืออยู่นี้ อาภากรกับหลวงสุนทรมาถึง
อาภากรโตขึ้นมากและขาวขึ้น เขาแต่งตัวเป็นมิดชิพแมน
มาพร้อมแล้ว ฉันได้มอบให้อยู่ใต้บังคับกัปตันเป็นสิทธิ์ขาด
เว้นแต่วันนี้เขาอนุญาตให้มากินข้าวกับฉัน"
และ "กัปตันชมนักว่าอาภากรถือท้ายดีอย่างยิ่ง
วันนี้ถือในที่แคบไม่ได้ส่ายเลย ดูแกหยอดเต็มที่แล้ว"
เมื่อพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์
เมื่อพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์
เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในเรือพระที่นั่งมหาจักรีแล้ว สมเด็จพระบรมชนกนาถ
ทรงมีพระราชปรารภเกี่ยวกับพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ ว่า...
"ชายอาภากรนั้นอัธยาศัยนั้นเป็นคนซื่อมาแต่เดิม
"ชายอาภากรนั้นอัธยาศัยนั้นเป็นคนซื่อมาแต่เดิม
เป็นผู้ที่สมควรแก่วิชาที่เรียนอยู่แล้ว
ไม่เป็นคนที่มีอัธยาศัยที่จะใช้ฝีปากได้ในการพลเรือน
แต่ถ้าเป็นการในหน้าที่อันเดียวซึ่งชำนาญคงจะมั่นคงในทางนั้น
และตรงไปตรงมา การที่ได้ไปพบคราวนี้ เห็นว่า
อัธยาศัยดีขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก"
เมื่อพระองค์ได้ตามเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถ
เมื่อพระองค์ได้ตามเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถ
ในเรือพระที่นั่งจนถึงประเทศอังกฤษ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงศึกษาวิชาการทหารเรือต่อไป
เมื่อพระชนมายุได้ ๒๐ พรรษา ก็ทรงสำเร็จการศึกษา
เมื่อพระชนมายุได้ ๒๐ พรรษา ก็ทรงสำเร็จการศึกษา
วิชาการทหารเรือ จากประเทศอังกฤษ
และได้ทรงเข้ารับราชการ ในกรมทหารเรือ
เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๓
โดยได้รับพระราชทานยศเป็น นายเรือโท
(เทียบเท่า นาวาตรี ในปัจจุบัน)
ทันทีที่พระองค์เข้ารับราชการ ทรงริเริ่มกำหนด
ทันทีที่พระองค์เข้ารับราชการ ทรงริเริ่มกำหนด
แบบสัญญาณธงสองมือและโคมไฟ ตลอดจนเริ่มฝึกพล
"พลอาณัติสัญญา" (ทัศนสัญญาณ) ขึ้นเป็นครั้งแรก
ด้วยความที่พระองค์ทรงมีความรู้จริง และมีความกระตือรือร้น
ในการทำงาน ทำให้พลเรือโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงประจักษ์ศิลปคม ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ
ทรงพอพระทัยในการปฏิบัติงานของพระองค์เป็นอย่างมาก
ในปีต่อมาพระชนมายุ ๒๑ พรรษา พระองค์จึงได้รับพระราชทานยศ
ในปีต่อมาพระชนมายุ ๒๑ พรรษา พระองค์จึงได้รับพระราชทานยศ
เป็นนายเรือเอก (เทียบเท่า นาวาเอกในปัจจุบัน)
และยังได้รับพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้เป็น
รองผู้บัญชาการ กรมทหารเรืออีกด้วย
ขณะพระชนมายุ ๒๒ พรรษา พระองค์ได้กราบบังคมทูล
ขณะพระชนมายุ ๒๒ พรรษา พระองค์ได้กราบบังคมทูล
ขอพระบรมราชานุญาตจัดตั้งหน่วยฝึกขึ้นที่บางพระ
เพื่อเรียกพลทหารจากจังหวัดชายทะเลในภาคตะวันออก
มารับการฝึกการจัดระเบียบการบริหารราชการกรมทหารเรือขึ้นใหม่
เพื่อให้สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติศักดินาทหารเรือ ร.ศ. ๑๑๒
เรียกว่า "ข้อบังคับการปกครอง" แบ่งออกเป็น ๓ ตอน
คือ ตอนที่ ๑ ว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการ
ตอนที่ ๒ ว่าด้วยการเร่งคนรับคนเป็นทหาร
ตอนที่ ๓ ว่าด้วยยศทหารเรือ โครงสร้างกำลังทางเรือ
เมื่อพระชนมายุ ๒๔ พรรษา ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
เมื่อพระชนมายุ ๒๔ พรรษา ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้เลื่อนยศจากนาวาเอก เป็นพลเรือตรี
และคงทรงดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการกรมทหารเรือ
ครั้นในวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ปีเดียวกันนี้
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยศ
เป็น กรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์
พระชนมายุ ๒๕ พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระชนมายุ ๒๕ พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จในกรมฯ
ทรงทำการในตำแหน่ง เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ
แทนนาวาเอก หม่อมไพชยนต์เทพ (ม.ร.ว.พิณ สนิทวงศ์)
ที่ได้กราบบังคมทูลลาออกจากราชการ
เมื่อพระองค์ทรงดำรงตำแหน่ง เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือแล้ว
พระองค์ทรงจัดทำโครงการป้องกันประเทศทางด้านทะเลขึ้น
อันประกอบด้วยความต้องการกำลังรบทางเรือ
และแนวความคิดในการใช้กำลังทางเรือ
และให้ชื่อว่า "ระเบียบจัดการป้องกันฝ่ายทะเลโดยย่อ"
มีความยาวประมาณ ๕-๖ หน้า ซึ่งถือว่าเป็นแผนการทัพฉบับแรก
นับตั้งแต่ก่อตั้งกรมทหารเรือขึ้นมา
พระชนมายุ ๒๖ พรรษา พระองค์ได้ทรงแก้ไขปรับปรุง
พระชนมายุ ๒๖ พรรษา พระองค์ได้ทรงแก้ไขปรับปรุง
ระเบียบการในโรงเรียนนายเรือ โดยทรงจัดระบบการศึกษาใหม่
ทั้งฝ่ายปกครองและฝ่ายวิชาการให้รัดกุม ทัดเทียมอารยะประเทศ
เพื่อให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนี้
เป็นนายทหารเรือที่มีความรู้ความสามารถ
เสมอด้วยกับนายทหารเรือต่างประเทศ
และสามารถทำการแทนในตำแหน่งชาวต่างประเทศ
ที่รับราชการอยู่ในกองทัพเรือในขณะนั้นอีกด้วย
ทรงเป็นครูสอนนักเรียนนายเรือ
และทรงริเริ่มการใช้ระบบปกครองบังคับบัญชา
ตามระเบียบการปกครองในเรือรบ คือ
การแบ่งให้นักเรียนชั้นสูงบังคับบัญชาชั้นรองลงมา
นอกจากนี้ ทรงจัดเพิ่มวิชาสำคัญสำหรับชาวเรือขึ้น
นอกจากนี้ ทรงจัดเพิ่มวิชาสำคัญสำหรับชาวเรือขึ้น
เพื่อให้สำเร็จการศึกษาสามารถเดินเรือทางไกลในทะเลน้ำลึกได้
คือ วิชาดาราศาสตร์ ตรีโกณมิติ อุทกศาสตร์
การเดินเรือ เรขาคณิต พีชคณิต ฯลฯ
เพื่อให้นักเรียนนายเรือมีความรู้ความสามารถ
ในการเดินเรือในทะเลลึกได้
พร้อมกับทรงมีดำริให้จัดตั้งโรงเรียนนายช่างกลขึ้น
พร้อมกับทรงมีดำริให้จัดตั้งโรงเรียนนายช่างกลขึ้น
เพื่อผลิตนายทหารฝ่ายช่างกลสำหรับปฏิบัติราชการในเรือ
และโรงงานบนบก สำหรับทดแทนชาวต่างชาติที่ได้จ้างไว้
รวมทั้งทรงสอนและกำกับดูแลการปกครองนักเรียนนายเรือ
และนักเรียนนายช่างกลอย่างเข้มงวด
อีกทั้งยังทรงจัดทำข้อบังคับว่าด้วยการศึกษา
สำหรับนายทหารสัญญาบัตร ในกรมทหารเรือ
ซึ่งต่อมาได้รับการปรับให้เป็นหลักสูตรต่างๆ ในโรงเรียนนายเรือ
และสถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง ตามลำดับ
และในปีเดียวกันนี้เอง พระองค์ทรงเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงที่สำคัญ
และในปีเดียวกันนี้เอง พระองค์ทรงเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงที่สำคัญ
ที่ทำให้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงเห็นความสำคัญและโปรดเกล้าฯ พระราชทาน
พระราชวังเดิมฝั่งธนบุรี ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ
และได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงกระทำพิธีเปิด
โรงเรียนนายเรือด้วยพระองค์เอง
เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๙
ทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง
ดังจะเห็นได้จากพระราชหัตถเลขาในสมุดเยี่ยมของโรงเรียนนายเรือ
ความว่า...
" วันที่ ๒๐ พฤษจิกายน ร.ศ. ๑๒๕ เราจุฬาลงกรณ์ ปร.
" วันที่ ๒๐ พฤษจิกายน ร.ศ. ๑๒๕ เราจุฬาลงกรณ์ ปร.
ได้มาเปิดโรงเรียนนี้ มีความปลื้มใจ ซึ่งได้เหนการทหารเรือ
มีรากหยั่งลงแล้ว จะเปนที่มั่นสืบไป ในภายน่า"
ทำให้กิจการทหารเรือมีรากฐานมั่งคงนับแต่นั้น
ทำให้กิจการทหารเรือมีรากฐานมั่งคงนับแต่นั้น
และกองทัพเรือได้ยึดถือเอาวันดังกล่าวของทุกปีเป็นวันกองทัพเรือ
ต่อมาเมื่อโรงเรียน นายเรือได้ย้ายไปอยู่ที่ปากน้ำ
กองทัพเรือก็ได้ใช้พระราชวังเดิมเป็นที่ตั้งของหน่วยราชการต่างๆ
ในส่วนบัญชาการกองทัพเรือ จวบจนกระทั่งทุกวันนี้
เมื่อพระชนมายุ ๒๗ พรรษาพระองค์ได้ทรงนำคณะนักเรียนนายเรือ
เมื่อพระชนมายุ ๒๗ พรรษาพระองค์ได้ทรงนำคณะนักเรียนนายเรือ
และนักเรียนนายช่างกลซึ่งเป็นคนไทยทั้งหมด
ประมาณ ๑๐๐ คนไป "อวดธง" ที่สิงคโปร์ ปัตตาเวีย ชวา
และเกาะบิลลิทัน โดย เรือหลวงมกุฎราชกุมาร
ในการเดินทางไปฝึกภาคปฏิบัติยังต่างประเทศในครั้งนี้
นับเป็นครั้งแรก และพระองค์ทรงเป็นผู้บังคับเรือเองอีกด้วย
ในการออกฝึกและอวดธงยังต่างประเทศครั้งแรกนี้
ในการออกฝึกและอวดธงยังต่างประเทศครั้งแรกนี้
ทรงบัญชาการและฝึกนักเรียนนายเรือด้วยพระองค์เอง
ให้นักเรียนฝึกหัดปฏิบัติการในเรือทุกอย่าง
เพื่อให้มีความอดทนต่อการใช้ชีวิตด้วยความลำบาก
เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและเพื่อให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ
ในการปฏิบัติหน้าที่ของตนจริงๆ มีความกล้าหาญรักชาติ
ให้รู้จักชีวิตของการเป็นทหารเรือโดยแท้จริง
ซึ่งจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในการปฏิบัติการต่างๆ ในเรือ
รู้จักหน้าที่ตั้งแต่พลทหารจนถึงนายทหาร
นักเรียนนายเรือได้ฝึกอย่างจริงจัง เผชิญทั้งภัยธรรมชาติ
นักเรียนนายเรือได้ฝึกอย่างจริงจัง เผชิญทั้งภัยธรรมชาติ
ทั้งการฝึกของพระองค์เองอย่างใกล้ชิดโดยตลอด
เป็นต้นว่า ช่วยลากเชือกวิ่งในเวลาชักเรือบต
และขนถ่ายของจากเรือใหญ่ แม้แต่วิธีปฏิบัติในเรือ
เกี่ยวกับการอาบน้ำหรืออาหาร ก็ทรงปฏิบัติเช่นเดียวกับทหารอื่นๆ
สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทหารทั้งหลาย ย่อมเห็นในพระอุตสาหะ
และความห่วงใยของพระองค์ ที่มีต่อบรรดาทหารทั้งหลาย
ทหารทั้งนั้นจึงได้รักและเคารพในพระองค์ท่าน อย่างยิ่ง
ประดุจว่าพระองค์ทรงเป็นพระบิดาแห่งทหารเรือทั้งหลาย
การออกฝึกครั้งนั้น นอกจากจะทำให้นักเรียนนายเรือ
การออกฝึกครั้งนั้น นอกจากจะทำให้นักเรียนนายเรือ
ได้รู้จักปฏิบัติการจริงๆ ทางทะเลแล้ว
ยังทรงนำสิ่งใหม่มาสู่วงการทหารเรืออีก
คือ แต่เดิมเรือรบของไทยทาสีขาว
พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนสีเรือมกุฎราชกุมารให้เป็นสีหมอก
ตามแบบอย่างเรือรบอังกฤษ เพื่อให้เกิดความกลมกลืน
กับลักษณะของสีน้ำทะเลและภูมิประเทศ
ซึ่งกองทัพเรือได้นำสีดังกล่าวมาใช้เป็นสีเรือรบทุกลำ
ของกองทัพเรือตราบจนปัจจุบัน
พระชนมายุ ๓๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระชนมายุ ๓๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงเห็นความสำคัญของกิจการทหารเรือ
จึงได้ทรงยกฐานะกรมทหารเรือเป็นกระทรวงทหารเรือ
และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จในกรมฯ
ทรงดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ
พระชนมายุ ๓๑ พรรษา ทรงออกจากประจำการชั่วระยะเวลาหนึ่ง
พระชนมายุ ๓๑ พรรษา ทรงออกจากประจำการชั่วระยะเวลาหนึ่ง
ได้ทรงศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณอย่างจริงจังจนชำนิชำนาญ
และรับรักษาโรคให้ประชาชนพลเมืองทั่วไปโดยไม่คิดมูลค่า
ทรงเห็นว่าการช่วยชีวิตคนเป็นบุญกุศลแก่พระองค์
จึงทรงตั้งหน้าเล่าเรียนกับพระยาพิษณุฯ หัวหน้าหมอหลวง
แห่งพระราชสำนัก ซึ่งหัวหน้าฝ่ายยาไทยผู้นี้
ก็ได้พยายามถ่ายเทความรู้ให้พระองค์ได้พยายามค้นคว้า
และปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา
ถึงแม้ว่าจะทรงชำนิชำนาญ
ถึงแม้ว่าจะทรงชำนิชำนาญ
ในกิจการแพทย์ฝ่ายแผนโบราณแล้วก็ตาม
แต่จะไม่ทรงยินยอมรักษาใครเป็นอันขาด
จนกว่าจะได้รับการทดลองแม่นยำแล้วว่า
เป็นยาที่รักษาโรคชนิดพื้นๆ ให้หายขาดได้อย่างแน่นอน
ให้ทรงทดลองให้สัตว์เล็กๆ กินก่อน เมื่อสัตว์เล็กกินหาย
ก็ทดลองสัตว์โต เมื่อสัตว์โตหายจึงทดลองกับคน
และประกาศอย่างเปิดเผยว่า จะทรงสามารถรักษาโรคนั้นโรคนี้
ให้หายขาดได้ จนเป็นที่เลื่องลือว่า มีหมออภินิหาร
รักษาความป่วยไข้ได้เจ็บ ได้อย่างหายเป็นปลิดทิ้ง
พระชนมายุ ๓๗ พรรษา ทรงกลับเข้ารับราชการทหารเรืออีกครั้ง
พระชนมายุ ๓๗ พรรษา ทรงกลับเข้ารับราชการทหารเรืออีกครั้ง
ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนยศจากพลเรือตรี
เป็นพลเรือโท และทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณ
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารเรือ
พระชนมายุ ๔๐ พรรษา ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระชนมายุ ๔๐ พรรษา ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้เลื่อนยศจากพลเรือโท เป็นพลเรือเอก
และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยศ
เป็น กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
พระชนมายุ ๔๑ พรรษา ทรงมีดำริในการจัดตั้ง
พระชนมายุ ๔๑ พรรษา ทรงมีดำริในการจัดตั้ง
กำลังทางอากาศนาวี (Naval Air Arm)
ทรงเสนอความเห็นต่อที่ประชุมสภาบัญชาการกระทรวงทหารเรือ ว่า
"สมควรเริ่มตั้งกองบินทะเลขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๖๕
โดยใช้สัตหีบเปนถาน" ซึ่งสภาบัญชาการฯ มีมติอนุมัติข้อเสนอ
"สมควรเริ่มตั้งกองบินทะเลขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๖๕
โดยใช้สัตหีบเปนถาน" ซึ่งสภาบัญชาการฯ มีมติอนุมัติข้อเสนอ
เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๔
ดังนั้น กองการบินทหารเรือ จึงได้ถือเอาวันที่ ๗ ธันวาคมของทุกปี
เป็นวันสถาปนาหน่วย และชาวบินนาวีได้ยึดถือว่า
พระองค์ทรงเป็นองค์บิดาแห่งการบินนาวีด้วย
พระชนมายุ ๔๒ พรรษา ด้วยสายพระเนตรที่กว้างไกล
พระชนมายุ ๔๒ พรรษา ด้วยสายพระเนตรที่กว้างไกล
ทั้งในด้านยุทธศาสตร์และยุทธวิธี
พระองค์ทรงมีลายพระหัตถ์ขอพระราชทานที่ดินที่สัตหีบ
เพื่อใช้เป็นที่ตั้งฐานทัพเรือ
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงพระราชทานที่ดินที่สัตหีบเพื่อจัดตั้งเป็นฐานทัพเรือ
เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๔๖๕
และใช้เป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือและหน่วยกำลังรบต่างๆ
ของกองทัพเรือในปัจจุบัน
พระชนมายุ ๔๓ พรรษา ทรงได้รับพระกรุณาธิคุณ
พระชนมายุ ๔๓ พรรษา ทรงได้รับพระกรุณาธิคุณ
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ดำรงตำแหน่ง
เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ อันเป็นตำแหน่งสูงสุด
ของทหารเรือในขณะนั้น เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง
ที่ทรงปฎิบัติราชการได้ไม่นานก็ประชวร และสิ้นพระชนม์
ในวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น