ระบบอาวุธทางอากาศของกองทัพเยอรมัน สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
Junkers (JU) 87 Stuka ยุงเกิร์ส 87 ชตูก้า
ชตูก้า ย่อมาจาก ชตูล์ซคามพ์ฟลูซอยก์ (Sturzkampfflugzeug) ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Drive Bomber หรือเครื่องบินดำทิ้งระเบิด มันคือเครื่องบินรบที่มีบทบาทสำคัญในการรบสายฟ้าแลบของเยอรมัน
โครงการผลิตชตูก้าเริ่มขึ้นเมื่อ เอิร์นส์ อูเด็ต จเรทหารอากาศเยอรมันได้เดินทางไปสหรัฐอเมริกาช่วงก่อนสงครามโลก และได้ชมการแสดงการดำทิ้งระเบิดของเครื่องบินแบบ "เฮลไดรฟ์เวอร์" ของบริษัทเคอร์ติส และเกิดความประทับใจ จึงได้สั่งซื้อเครื่องบินจากเคอร์ติส2ลำเพื่อเป็นต้นแบบในการสร้างชตูก้า
ชตูก้า เริ่มผลิตในปี1936 เพื่อใช้ในภารกิจดำดิ่งทิ้งระเบิดด้วยความเร็วสูงเพื่อทำลายที่มั่นทางทหาร และสนับสนุนหน่วยรบภาคพื้นดิน มันได้ติดไซเรนไว้ มีชื่อเรียกว่า แตรแห่งเจลลิโคเพื่อในการทำสงครามจิตวิทยาเพื่อทำลายขวัญของข้าศึก ไซเรนจะดังเมื่อทำการดำทิ้งระเบิดข้าศึกจะเสียขวัญเมื่อได้ยินเสียงไซเรน แต่ต่อมาก็มีการถอดไซเรนนี้ออก เพราะจะเป็นการเปิดเผยเครื่องบินและทำให้ข้าศึกมีเวลาต่อต้านได้
ชตูก้าเป็นปัจจัยสำคัญในชัยชนะของกองทัพเยอรมันในการ รบช่วงต้นสงคราม โดยในการรบที่โปแลนด์ ชตูก้าเป็นอาวุธสำคัญในการโจมตีที่มั่นทางทหารและจุดยุทธศาสตร์ แม้กระทั่งโจมตีหน่วยทหารโปแลนด์ที่กำลังทำการรบ แม้กระทั่งการสู้รบกับเครื่องบินขับไล่โปแลนด์ โดยนักบินชตูก้า ก็ได้สอยเครื่องบินรบโปแลนด์ตกได้
ในการรบครั้งสำคัญต่อมาคือ ยุทธนาการเหนือน่านฟ้าอังกฤษ โดยชตูก้าได้เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดโจมตีภาคพื้นดินต่อเป้าหมายในอังกฤษ และก็ได้ปฏิบัติการในแนวรบตะวันออกระหว่างที่เยอรมันบุกรัสเซีย ต่อมาเยอรมันใช้เป็นกำลังหลักในการโจมตีเกาะครีตและเกาะมอลต้าในทะเล เมดิเตอร์เรเนียน และใช้รบในแอฟริกาเหนือ
ต่อมาได้มีการดัดแปลชตูก้าให้เป็นเครื่องบินต่อสู้รถ ถัง แนวคิดนี้เริ่มขึ้นระหว่างการรบในรัสเซีย กองทัพรถถังของรัสเซียจำนวนมหาศาลได้ถาโถมเข้ามาสู้แนวเยอรมัน จึงมีการทดลองนำปืนต่อสู้รถถังยิงเร็วขนาด37มม.2กระบอก ติดกระสุนเจาะเกราะทังสเตน ใช้ในการโจมตีรถถังโซเวียต ซึ่งก็ปฏิบัติการอย่างได้ผล และได้สร้างตำนานเสืออากาศแห่งเยอรมันนามว่า ฮานส์ อูลริค รูเดล ซึ่งทำลายรถถังด้วยชตูก้ารุ่นต่อสุ้รถถังไปเป็นจำนวนกว่า500คัน
ชตูก้า จะโจมตีด้วยการบินขึ้นที่ระดับความสูงระดับ4,600เมตร แล้จะดิ่งลงสู่เป้าหมายทำมุม60-90องศากับพื้นด้วยความเร็วสูงก ว่า650กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลูกระเบิดจะพุ่งลงมาด้วยความเร็วเท่ากับเครื่องบินและได้รับการส่งด้วยแรง โน้มถ่วงของโลก ทำให้เป้าหมายเบื้องล่างยากจะหหลบหลีก แต่การดำทิ้งระเบิดนี้ นักบินต้องเผชิญกับแรงจี(G)จากการดำดิ่งด้วย
ตั้งแต่ปี1936ถึง1944 มีชตูก้าถูกผลิตออกมามากว่า6,000เครื่อง ถึงแม้ว่าช่วงกลางสงครามเยอรมัน จะสามารถสร้างเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด ซึ่งใช้งานได้หลากหลายและประสิทธิภาพสูงกว่าชตูก้ามาใช้งานได้ แต่เยอรมัน ก็ได้ใช้งานชตูก้าในภารกิจโจมตีภาคพื้นดิน จนจบสงคราม
ข้อมูล
ยาว--10-11เมตร
กว้างรวมปีก--13เมตร
น้ำหนักบรรทุก--5,720กิโลกรัม
ความเร็ว--- 408กม/ชม ความเร็วเมื่อดำทิ้งระเบิด 650กม/ชม.
อาวุธ---ปืนกล 7.92มม. 4กระบอก ระเบิด1,800กิโลกรัม หรือปืนใหญ่ต่อสู้รถถัง37มม. 2กระบอก
นักบิน--2นาย
พิสัยทำการ---1,000กิโลเมตร
จำนวนที่ผลิต---6,000เครื่อง
Messerschmitt Bf 109 เมสเซอร์ชมิตต์ บีเอฟ 109
เครื่องบินขับไล่ที่เป็นตำนานการสู้รบแห่งท้องฟ้าของ กองทัพอากาศเยอรมัน มันเป็นเครื่องบินขับไล่รุ่นผลิตจำนวนมากของกองทัพอากาศเยอรมัน มีความเร็วและคล่องตัวสูง ติดอาวุธได้หลากหลาย และใช้งานตั้งแต่ต้นสงครามจนจบสงคราม
เครื่องบินรุ่นนี้ออกแบบโดย วิลลี เมสเซอร์ชมิตต์ แห่งสำนักออกแบบเครื่องบินเยอรมัน ที่นครบาเยิร์น โดยเริ่มออกแบบในปี1933 ร่วมกับบริษัทอื่นๆ ที่มาออกแบบเครื่องบินขับไล่ด้วยกัน รหัสในตอนแรกที่เรียกเครื่องบินรุ่นนี้คือ ME 109 โดยได้การออกแบบจากเครื่องบินแบบME 108 เครื่องบินลำเลียงของสายการบินลุฟฮันซา เครื่องทดสอบนั้นทำความเร็วได้400กิโลเมตรต่อชั่วโมง ต่อมาจึงมีการติดตั้งเครื่องยนต์แบบJumo 210 ของบริษัทยุงเกิร์ส มีกำลัง700แรงม้า ติดตั้งอาวุธปืนกล7.92มม หรือปืน 20มม. และเมื่อเครื่องต้นแบบออกแบบทดสอบเสร็จสิ้นในปี1935 จึงเริ่มได้มีการผลิตออกมาจำนวนมาก และเรียกชื่อเป็น BF 109
เยอรมันได้ผลิตเครื่องบินรุ่นนี้เป็นจำนวนมากตั้งแต่ ก่อนช่วงสงคราม และถือเป็นองคาพยพสำคัญของกองทัพอากาศเยอรมัน และเมื่อสงครามระเบิดขึ้น บีเอฟ109 ก็ได้เข้าปฏิบัติการรบทางอากาศทุกครั้ง โดยในการรบที่เกาะอังกฤษ ได้สร้างตำนานเสืออากาศขึ้นมามากมาย เช่น เอริค ฮาร์ตมาน ใช้บีเอฟ 109 สอยเครื่องบินอังกฤษแบบสปิร์ตไฟร์และเฮอร์ณิเคนตกเป็นจำนวนถึง352ลำ เกอร์ฮาร์ต บาร์กฮอร์นสอยได้301ลำ กึนเธอร์ ราลล์275เครื่อง เอริค ฮาร์ตมาน นับว่าเป็นสุดยอดเสืออากาศที่มีสถิติสอยเครื่องบินข้าศึกสูงที่สุดในโลก ไม่มีใครมาลบล้างได้และในแอฟริกาเหนือ ก็ได้มีตำนานของ "ดาวแห่งแอฟริกา" นั่นคือ ฮานส์ โยอาชิม มาซิลเลอร์ โดยได้ยิงเครื่องบินพันธมิตรตก158เครื่อง ในแนวรบตะวันออก บีเอฟ109 ได้ยิงเครื่องบินโซเวียตตกมากกว่า10,000ลำ
บีเอฟ 109 ได้มีการพัฒนาต่อยอดมากมายหลายรุ่น ทั้งรุ่นโจมตีทิ้งระเบิด รุ่นโจมตีเรือรบ รุ่นปฏิบัติการทางทะเล รุ่นประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน(แต่เรือบรรทุกเครื่องบินต่อไม่เสร็จ จึงยกเลิกการสร้าง) และยังติดอาวุธได้หลากหลาย
ตั้งแต่ช่วงกลางสงคราม ได้มีเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ๆ ปรากฏตัวออกมาช่วงชิงสมรรถนะของบีเอฟ 109 และช่วงปลายสงคราม เยอรมันยังเน้นพัฒนาเครื่องบินไอพ่น ที่มีความเร็วสูงกว่า แต่บีเอฟ109 ก็ได้ถูกผลิตและใช้งานเรื่อยในภารกิจปกป้องน่านฟ้าเยอรมันจากการโจมตีทาง อากาศของกองทัพพันธมิตรจนจบสงคราม และกองทัพอากาศหลายชาติก็ได้ใช้ในช่วงหลังสงคราม
ข้อมูล
ยาว--8.95เมตร
ปีกกว้าง---9.95เมตร
สูง--2.60เมตร
น้ำหนักบรรทุก---3,400กิโลกรัม
ความเร็ว--590กม./ชม.-640กม.-ชม.
อาวุธ---ปืนกล 7.92มม.หรือ13มม. 2กระบอก ปืนใหญ่อากาศ20มม. 1-3กระบอก (ปลายจมูกเครื่อง1กระบอก ที่ปีก2กระบอก) สามารถเลือกติดตั้งอาวุธเพิ่ม ได้แก่ ปืนใหญ่อากาศ30มม. 2กระบอกใต้ปีก หรือจรวด2นัดใต้ปีก หรือ ระเบิด50กิโลกรัม4ลูกใต้ท้องสามารถบรรทุกถังน้ำมัน300ลิตรหรือระเบิด550 ปอนด์ได้
นักบิน--1นาย
พิสัยทำการ---850กิโลเมตร เมื่อบรรทุกถังน้ำมันสามารถบินไกล1,000กิโลเมตร
จำนวนที่ผลิต--35,000เครื่อง
Heinkel He 111 ไฮน์เกล เอชอี 111
เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดกลางที่โด่งดังที่สุดรุ่นหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมันได้ใช้ในการรบทางอากาศครั้งสำคัญๆมากมาย
ไฮน์เกล 111 ในรุ่นแรกนั้น ออกแบบและโดยบริษัทไฮน์เกลโดย เอิร์นส์ ไฮนเกล ประธานบริษัทไฮน์เกล และ สองพี่น้องกึนเธอร์ ได้แก่ ซี๊กฟรี๊ด กึนเธอร์ กับ วอลเธอร์ กึนเธอร์ ในปี1934 เริ่มทำการผลิตในปี1935 และเครื่องบินรุ่นนี้ก็ได้ใช้งานในสายการบิน ลุฟฮันซา ของเยอรมัน
เครื่องรุ่นต่อมาที่จะใช้ประจำการในกองทัพอากาศ เยอรมันนั้น ได้มีการติดตั้งเครื่องยนต์ใหม่เป็นแบบ เดมเลอร์-เบ๊นซ์ DB 600 กำลัง950แรงม้า เพื่อเพิ่มความเร็ว ซึ่งต่อมาก็ได้เปลี่ยนเครื่องยนต์เป็น DB 601 ที่ให้กำลังสูงกว่า ดัดแปลงตัวเครื่องให้บรรทุกระเบิดได้หนัก4,400ปอนด์ โดยเยอรมันได้นำเครื่องบินรุ่นนี้ประจำการเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดกลาง
ไฮน์เกล 111 ได้เข้ารบในหลายสมรภูมิ ตั้งแต่การบุกโปแลนด์ การบุกฝรั่งเศส และการบุกเกาะอังกฤษ ซึ่งในการรบเหนือเกาะอังกฤษนี่เองอัตราการสูญเสียของไฮน์เกล 111 มีมากขึ้นอย่างน่าตกใจ เพราะการขาดเครื่องบินขับไล่คุ้มกัน ในการรบเหนือเกาะอังกฤษ เยอรมันได้พัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิด ยุงเกอร์ส์ 88 ที่บรรทุกได้มากกว่าและมีความเร็วสูงกว่าได้ แต่ก็มีจำนวนน้อย จึงต้องใช้ไฮนเกล 111 ที่ปรับให้บรรทุกระเบิดได้5,000ปอนด์ปฏิบัติการไปก่อน
และการรบในรัสเซีย ถึงแม้ไฮนเกล111 จะถล่มเมืองในรัสเซียพินาศไปจำนวนมากมาย แต่มันกลับไม่สามารถบินไปไกลถึงเทือกเขาอูราล แหล่งอุตสาหกรรมหลักของรัสเซียได้
ช่วงปลายสงคราม บทบาทของไฮนเกล 111 ยิ่งลดลง เพราะเยอรมันถุกบุกจากมางอากาศทุกด้าน ภารกิจทิ้งระเบิดจึงลดความสำคัญ และยังได้มีการผลิตรุ่น Zwieling หรือเครื่องบินคู่ สำหรับลากเครื่องร่อนขนาดยักษ์ แบบ ME 321 ด้วย
ข้อมูล
ยาว----16.4เมตร
กว้างรวมปีก--86.5เมตร
สูง-- 3.9เมตร
นักบิน--5นาย
น้ำหนักบรรทุกพร้อมบิน----14,075กิโลกรัม
อาวุธ
- ปืนกล 7.92มม. 7กระบอก
- ปืนใหญ่อากาศ 20มม. 1กระบอก
-ปืนกล 13มม. 1กระบอก
-ระเบิด 4,400ปอนด์ - 5,000ปอนด์
ความเร็ว--- 400กม/ชม
พิสัยบิน--2,800กิโลเมตร
Messerschmitt Bf 110 เมสเซอร์ชมิต บีเอฟ 110
บีเอฟ 110 เป็นเครื่องบินขับไล่/โจมตีขนาดหนักของเยอรมัน โดยได้ออกแบบตามความต้องการชองกองทัพอากาศเยอรมันที่ต้องการเครื่องบินขับ ไล่2เครื่องยนต์ที่สามารถบินได้ไกล เพื่อไปโจมตีดินแดนข้าศึกหรือคุ้มกันเครื่องบินทิ้งระเบิด
บีเอฟ-110 บินครั้งแรกในวันที่12เมษายน ปี1936 และเริ่มผลิตจำนวนมากในปี1937 และได้ทำการรบครั้งแรกในสงครามกลางเมืองสเปน เมื่อสงครามโลกครั้งที่2เริ่มในปี1939 บีเอฟ 110 ได้แสดงบทบาทอย่างมากในการโจมตีโปแลนด์ ทั้งทางบกและทางอากาศ และต่อมายังได้แสดงบทบาทการรบอย่างยอดเยี่ยมในการบุกสแกนดิเนเวีย และการบุกฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศต่ำในปี1940อีกด้วย
แต่ในการรบทางอากาศเหนือเกาะอังกฤษ นับว่าเป็นวันแห่งความหายนะของบีเอฟ-110 ถึงแม้ว่ามันจะเป็นเครื่องบินขับไล่ชนิดเดียวที่สามารถบินคุ้มกันเครื่องบิน ทิ้งระเบิดเข้าไปถึงเกาะอังกฤษได้ แต่ด้วยความอุ้ยอ้ายของมัน จึงไม่สามารถต่อสู้กับเครื่องบินขับไล่อังกฤษได้ ทำให้เยอรมันสูญเสียบีเอฟ110ไปมาก
เครื่องบินรุ่นนี้ยังได้เข้าร่วมการรบในคาบสมุทรบอลข่าน ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และรัสเซียด้วย
กองทัพอากาศเยอรมันได้พัฒนาเครื่องบินรุ่นนี้หลาย รุ่น ทั้งรุ่นโจมตีภาคพื้นดิน และรุ่นเครื่องบินขับไล่กลางคืน ซึ่งในช่วงท้ายสงคราม เครื่องบินรุ่นขับไล่กลางคืนนี้มีบทบาทอย่างมากในการป้องกันน่านฟ้าเยอรมัน จากการโจมตีของฝ่ายสัมพันธมิตร
ข้อมูล
ยาว-12.3เมตร
กว้างรวมปีก-16.3เมตร
สูง-3.3เมตร
น้ำหนักบรรทุกสูงสุด--6,700กิโลกรัม
ความเร็วสูงสุด-590กม./ชม.
พิสัยทำการ- 2,410ถึง2,800กิโลเมตร
เครื่องยนต์- เดมเลอร์-เบนซ์ DB610 2เครื่องยนต์ ให้กำลังเครื่องละ1,100แรงม้า
อาวุธ- ปืนใหญ่อากาศ20มม. 2กระบอก ปืนกล7.92มม. 5กระบอก
จำนวนที่ผลิต-- ประมาณ15,000ลำ
นักบิน-2นาย และ3นายในรุ่นขับไล่กลางคืน
Junkers Ju-88 ยุงเคอร์ เจยู88
นี่เป็นเครื่องบินที่เรียกได้ว่าเป็นกระดูกสันหลัง ของกองทัพอากาศเยอรมันเลยทีเดียว เพราะมันเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดที่ใช้งานได้มากมาย ทั้งทิ้งระเบิด ตรวจการณ์ ขับไล่ทั้งกลางวันและกลางคืน โจมตีภาคพื้นดิน ลำเลียงพล ลาดตระเวณและเป็นเครื่องบินทิ้งตอร์ปิโดด้วย
การออกแบบเริ่มขึ้นโดยสำนักงานออกแบบเครื่องบินแห่ง เยอรมัน โดยกองทัพอากาศต้องการเครื่องบินทิ้งระเบิดความเร็วสูงที่มีพิสัยบิน2,000 กิโลเมตร บรรทุกระเบิดหนัก800-1,000กิโลกรัม และยุงเคอร์ส88 เครื่องต้นแบบ3ลำได้ทดลองบินในวันที่21ธันวาคม ปี1936 ก่อนจะถูกผลิตจำนวนมากในปี1939 และระหว่างการบุกโปแลนด์ เจยู88จำนวน12เครื่องได้ไปทดสอบการรบในโปแลนด์ด้วย
เมื่อรสงครามระเบิดขึ้น เจยู88 ได้เป็นเครื่องบินหลักในการเข้าโจมตีอังกฤษ โดยในวันที่16ตุลาคมปี1939 ได้โจมตีฐานทัพเรืออังกฤษที่โรซิธ สร้างความเสียหายให้กับเรือ3ลำ และต่อมายังได้โจมตีฐานทัพเรือที่สปาการ์ โฟลว์ อีกด้วย ในการบุกฝรั่งเศสและประเทศต่ำ เจยู88 ได้เข้าร่วมการรบอีกเช่นกัน
ในการรบเหนือเกาะอังกฤษ เจยู88 เป็นหนึ่งในเครื่องบินทิ้งระเบิดที่เข้าโจมตีอังกฤษและสามารถทำลายเมืองใน อังกฤษได้มากมาย แต่อัตราการสูญเสียก็มากเช่นเดียวกันเพราะขาดเครื่องบินขับไล่คุ้มกัน
เจยู88 ใช้งานได้หลากหลาย เมื่อแนวรบเยอรมันชยายยาวออกไปและการโจมตีทางอากาศต่อเยอรมันรุนแรงขึ้น เครื่อบบินรุ่นนี้ก็ได้ถูกปรับปรุงใช้งานหลายรูปแบบ ทั้งขับไล่กลางคืน โจมตีภาคพื้นดิน และรบรับใช้กองทัพเยอรมันจนสิ้นสุดสงคราม
ข้อมูล
ยาว-14.2เมตร
กว้างรวมปีก- 18เมตร
สูง-14เมตร
น้ำหนักบรรทุก-7,700กิโลกรัม
เครื่องยนต์--ยุงเคอร์ส จูโม211 จำนวน2เครื่องยนต์ ให้กำลังเครื่องละ1,200แรงม้า
ความเร็ว--510กม/ชม.
พิสัยทำการ--2,108กิโลเมตร
อาวุธ-- ปืนกล 7.92มม. 7กระบอก ระเบิด5,511ปอนด์ และ/หรือ ตอร์ปิโด และอาวุธอื่น(แล้วแต่ภารกิจ
นักบิน--4นาย
จำนวนที่ผลิต--15,000เครื่อง
Focker-Wolf FW-190 ฟ็อคเคอะ-วูล์ฟ เอฟดับบลิว 190
เครื่อง บินขับไล่รุ่นใหม่ของกองทัพอากาศเยอรมันที่มาแทนที่BF-109 นับเป็นเครื่องบินที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดแบบหนึ่งของโลกในยุคนั้น มีความเร็วและความคล่องตัวสูง ติดตั้งอาวุธจำนวนมากและอำนาจทำลายสูง สมรรถนะทัดเทียมและ/หรือเหนือกว่าเครื่องบินของชาติพันธมิตรในคลาสเดียวกัน และเป็นเครื่องบินที่สามารถคงไว้ซึ่งสมรรถนะอันสูงส่งไปจนจบสงครามได้
ใน ปี1937 กระทรวงการทหารอากาศแห่งอาณาจักรไรช์ ต้องการเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่องBF109 เพื่อปฏิบัติการร่วมกับBF109 และได้มอบหมายให้ เคิร์ท แทงก์(Kurt Tank) นักออกแบบเครื่องบินของฟอคเคอะ-วูล์ฟ เป็นผู้ออกแบบ โดยแทงก์ได้ออกแบบเครื่องบินต้นแบบใช้เครื่องยนต์ระบายความร้อนด้วยน้ำแบบ BMW139 และได้ตั้งรหัสชื่อเครื่องบินรุ่นต้นแบบนี้ว่า FW-190
1มิถุนายน ปี1939 เครื่องต้นแบบ FW-190 ที่ใช้เครื่องยนต์BMW139 ติดอาวุธเป็นปืนกล7.92มม.(หรือ13มม.) 2กระบอก ได้ขึ้นบิน และผ่านการทดสอบด้วยประสิทธิภาพที่สูง จึงได้เริ่มผลิตเข้าประจำการในในปี1941 เครื่องรุ่นประจำการได้มีการเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็นเครื่องยนต์แบบBMW801 ซึ่งมีกำลังสูงกว่า และติดตั้งอาวุธแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่องทดสอบเข้าไป และต่อมาได้มีการติดตั้งเครื่องMW50 เครื่องฉีดสารเมนทานอล+น้ำอย่างละ50% เพื่อเพิ่มแรงม้าในระยะสั้นๆเข้าไป ทำให้FW190มีประสิทธิภาพในการเข้ารบแบบสกัดกั้นสูงขึ้น
FW190ได้ ออกรบครั้งแรกในสมรภูมิด้านตะวันตกช่วงเดือนมิถุนายนปี1942 และเป็นเครื่องบินที่สร้างความตกตะลึงให้กับให้กับกองทัพอากาศสัมพันธมิตร อย่างมาก ด้วยประสิทธิภาพที่สูงส่งผิดวิสัยจากเครื่องบินรุ่นเดียวกัน FW190 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่องบินของอังกฤษแบบเฮอร์ริเคนและสปริทไฟร์ และเครื่องบินหลายรุ่นที่สหรัฐอเมริกาส่งมาช่วยอังกฤษ ด้วยประสิทธิภาพอันสูงส่งและนักบินเยอรมันที่มีมาตราฐานสูง ทำให้FW190 สามารถสร้างผลงานมากมายในการรบ ในแนวรบด้านตะวันออก นักบินโซเวียตต้องเผชิญหน้ากับFW190 ที่มีประสิทธิภาพสูง บวกกับมาตราฐานของนักบินที้เหนือกว่า ทำให้มีเครื่องบินของโซเวียตถูกยิงตกจำนวนมากโดยที่แทบไม่อาจต้านทานเครื่อง บินของฝ่ายเยอรมันได้
ในช่วงท้ายๆ สงคราม เมื่อเยอรมันถูกโจมตีทางอากาศรอบด้าน FW190จึงได้รับการพัฒนาให้สูงขึ้น มีการนำเครื่องยนต์Jump213 ที่มีขนาดใหญ่และกำลังสูงกว่ามาติดตั้ง และยังติดตั้งอุปกรณ์MW50และเรียกเครื่องรุ่นนี้ว่าFW190D(Dora) เพื่อใ้ช้เป็นเครื่องบินขับไล่/สกัดกั้นในระดับเพดานบินสูง เพื่อใช้ต่อกรกับเครื่องบินทิ้งระเบิดของสัมพันธมิตร นอกจากนี้ยังมีการดัดแปลงให้FW190เป็นเครื่องบินโจมตี ซึ่งได้มีการใช้งานในแนวรบตะวันออกร่วมกับเครื่องบินโจมตีภาคพื้นดินรุ่น อื่นๆ เครื่องรุ่นนี้สามารถบรรทุกระเบิดได้มาก ติดตั้งอาวุธสำหรับการโจมตีได้หลากหลายและติดตั้งตอร์ปิโดได้ด้วย อีกช่วงปลายสงครามทั้งเยอรมันมีแผนนำเครื่องยนต์ที่มีกำลัง2,000-2,400แรง ม้ามาติดตั้งให้FW190 แต่โครงการล้มเลิกไป
FW190 มีการพัฒนาต่อเนื่องเพื่อรับมือกับกองทัพอากาศของสัมพันธมิตรที่โจมตีทาง อากาศต่อเยอรมันจากรอบด้าน ถึงในปลายสงครามเยอรมันจะสามารถสร้างเครื่องบินขับไล่ไอพ่นได้ แต่ก็มีจำนวนน้อย FW190จึงเป็นเครื่องบินขับไล่/สกัดกั้นที่ประสิทธิภาพสูงและมีจำนวนมากพอออก ปฏิบัติการได้ และต่อมาได้มีการพัฒนาเครื่องบินขับไล่แบบTA152 ซึ่งต่อยอดจากFW190 เพื่อใช้เป็นเครื่องบินสกัดกั้นในเพดานบินระดับสูง
FW190 ปลดประจำการจากกองทัพอากาศเยอรมันในปี1945 เมื่อเยอรมันแพ้สงคราม แต่กองทัพอากาศตุรกียังใช้งานในหลังสงครามอยู่ และปลดประจำการจากกองทัพอากาศตุรกีในปี1949
คุณลักษณะ
ยาว - 9เมตร รุ่นD 10.20เมตร
กว้างรวมปีก - 10.51เมตร รุ่นD 10.50เมตร
สูง- 3.95เมตร รุ่นD 3.35เมตร
น้ำหนักพร้อมบิน -4,900กิโลกรัม รุ่นD 4,840กิโลกรัม
เครื่อง ยนต์- BMW801 ใ้ห้กำลัง 1,730แรงม้า (2,000แรงม้าเมื่อใช้MW50) รุ่นD เครื่องยนต์Jumo213ให้กำลัง1,750แรงม้า(2,100แรงม้าเมื่อใช้MW50)
ความเร็ว - 656กม./ชม. (685กม./ชม.เมื่อใช้MW50) รุ่นD 685กม./ชม. (710กม./ชม.เมื่อใช้MW50)
พิสัยบิน - 800กิโลเมตร รุ่นD 835กิโลเมตร
อาวุธ - ปืนกล13มม. 2กระบอกที่จมูกเครื่อง ปืนใหญ่อากาศ20มม.ที่ปีก จำนวน4กระบอก
รุ่นD ปืนกล13มม. 2กระบอก ปืนใหญ่อากาศ20มม. 2กระบอกที่ปีก ระเบิด500กิโลกรัม
รุ่นโจมตี ปืนกล13มม.2กระบอกที่จมูกเครื่อง ปืนใหญ่อากาศ20หรือ30มม. ที่ปีก ระเบิด1,200กิโลกรัม และ/หรือ ติดอาวุธอื่นๆแล้วแต่ภารกิจ (บางรุ่นสามารถติดตอร์ปิโดได้)
นักบิน -1คน
จำนวนที่ผลิต - มากกว่า20,000ลำ และรุ่นโจมตีภาคพื้นดิน6,000ลำ
edit @ 24 Jun 2008 17:45:32 by ยูริ อเล็กซานโดรวิช ออร์ลอฟ
edit @ 24 Jun 2008 19:05:19 by ยูริ อเล็กซานโดรวิช ออร์ลอฟ
edit @ 24 Jun 2008 19:10:16 by ยูริ อเล็กซานโดรวิช ออร์ลอฟ
suriya mardeegun
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น