วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2558

จากพื้นโลกสู่ดาวพลูโตกับยานนิวฮอไรซัน (ประมวลภาพและเหตุการณ์)

จากพื้นโลกสู่ดาวพลูโตกับยานนิวฮอไรซัน (ประมวลภาพและเหตุการณ์)

จากพื้นโลกสู่ดาวพลูโตกับ

คงเป็นความรู้สึกทั้งตื่นเต้น และตื้นตัน โดยเฉพาะทีมนักวิทยาศาสตร์ในโครงการนิว ฮอไรซันส์ ( New Horizons) ของนาซา ที่จะต้องภูมิใจกับความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติในการส่งยานสำรวจอวกาศ นิว ฮอไรซันส์ (ขอบฟ้าใหม่) ไปพิชิตดาวพลูโต ที่อยู่ริมขอบสุริยจักรวาลของเรา

เพราะกว่าจะมาถึงวันที่ยาน นิว ฮอไรซันส์ บินเฉียดเข้าใกล้ดาวพลูโตมากที่สุด ในระยะห่างเพียงแค่ 12,500 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 14 ก.ค. 58 จนถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของการสำรวจอวกาศนั้น บรรดานักวิทยาศาสตร์ในโครงการนิว ฮอไรซันส์ต้องรอคอยมานานกว่า 9 ปี นับตั้งแต่ได้ส่งยานสำรวจลำนี้ขึ้นไปกับจรวดแอตลาส วี เมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2549

ด้วยระยะทางจากโลกไปยังดาวพลูโต ไกลมากถึง 3 พันล้านไมล์ โอกาสที่ยานสำรวจนิว ฮอไรซันส์จะพังเสียหาย หรือถูกทำลายนั้นมีมาก แต่ในที่สุด ยานสำรวจซึ่งมีน้ำหนัก 478 กิโลกรัม และมีขนาดไม่ได้ใหญ่โตนัก เพียงแค่ เท่ากับเปียโนหลังหนึ่งเท่านั้น กลับสามารถเดินทางบุกบั่น มุ่งมั่นไปยังดาวพลูโตได้สำเร็จอย่างงดงาม

จากพื้นโลกสู่ดาวพลูโตกับ
ยานนิว ฮอไรซันส์ จำลอง
นอกเหนือจากนั้น ที่น่าทึ่งก็คือ ยานสำรวจนิว ฮอไรซันส์สามารถเดินทางผ่านเส้นทางที่กำหนดไว้ได้อย่างไม่มีผิดเพี้ยน ผ่านดาวอังคาร ไปถึงดาวพฤหัสบดี ในปีแรก จากนั้น ก็เข้าสู่ภาวะ "หลับยาว" คือปิดการใช้พลังงานของระบบเกือบทั้งหมด เพื่อประหยัดพลังงานและยืดอายุการใช้งานของระบบให้นานที่สุด

โดยมีทีมควบคุมที่ศูนย์ปฏิบัติการภาคพื้นดินขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (นาซา) ที่ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ ในเมืองบัลติมอร์ รัฐแมริแลนด์ ต้องคอยปลุก "ยานนิว ฮอไรซันส์" ให้ตื่นเป็นระยะๆ อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี

จากพื้นโลกสู่ดาวพลูโตกับ
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาล
โดยถูกปลุกเป็นครั้งที่ 18 เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.2557 เมื่อยานสำรวจนิว ฮอไรซันส์อยู่ห่างจากดาวพลูโต หรือมีชื่อเรียกว่า ดาวเคราะห์แคระ เหลือระยะทาง 260 ล้านกิโลเมตร เพื่อเตรียมการสำรวจดาวพลูโต ซึ่งจะเริ่มต้นด้วยการสำรวจจากระยะห่าง ณ วันที่ 15 ม.ค.58 จนกระทั่งไปถึงวันที่ยานเฉียดเข้าใกล้ดาวพลูโตมากที่สุด ในระยะ 12,500 กม. เมื่อวันที่ 14 ก.ค.ที่ผ่านมา

ขณะที่ ทีมควบคุมยานสำรวจนิว ฮอไรซันส์ ภาคพื้นดินต้องใช้เวลารอนานถึง 4 ชั่วโมง 25 นาที จึงจะได้รับสัญญาณวิทยุตอบกลับจาก "นิว ฮอไรซันส์" เนื่องจากระยะทางที่อยู่ห่างไกลจากโลกถึง 3 พันล้านไมล์
จากพื้นโลกสู่ดาวพลูโตกับ
นักวิทยาศาสตร์ในโครงการนิว ฮอไรซันส์ เฮลั่น

จากพื้นโลกสู่ดาวพลูโตกับ 03.02 น. (ตามเวลาในสหรัฐฯ) วันที่ 14 ก.ค.ถึงเวลาฉลอง

ประมาณ 13 ชั่วโมง หลังจากยานนิว ฮอไรซันส์เข้าใกล้ดาวพลูโตมากที่สุดแล้ว ในที่สุด ยานได้ส่งสัญญาณกลับมาบ้าน ว่า ยังอยู่รอดปลอดภัยดี ขณะได้เคลื่อนตัวผ่านและเข้าสู่วงรอบการโคจรของดาวพลูโต ทำให้โดนอากาศปะทะอย่างรวดเร็วและรุนแรงด้วยความเร็วลมสูงถึง 49,000 กม./ชม. โดยทีมนักวิทยาศาสตร์คาดว่า มีโอกาส 1 ใน 10,000 ที่จะมีเศษซากวัตถุชิ้นใดชิ้นหนึ่ง กระแทกใส่ยานนิว ฮอไรซันส์ ขณะเคลื่อนผ่านดาวพลูโตในระยะใกล้ที่สุด หรือห่างเพียงแค่ประมาณ นิวยอร์ก กับนครมุมไบ

และแล้ว จากการคำนวณเวลาในการเดินทางของสัญญาณวิทยุจากดาวพลูโต มายังโลกได้อย่างถูกต้อง ในที่สุด ทีมควบคุมภาคพื้นดินที่มหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ ต้องเฮกันดังลั่น เมื่อได้รับคลื่นวิทยุจากยานนิว ฮอไรซันส์

จากพื้นโลกสู่ดาวพลูโตกับ 03.06 น. ประธานาธิบดีสหรัฐฯ แสดงความยินดี
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ ได้ทวีตข้อความทางทวิตเตอร์ สื่อสังคมออนไลน์แสดงความยินดีต่อความสำเร็จของนาซาทันที ในฐานะที่สามารถส่งยานสำรวจไปยังดาวพลูโตสำเร็จเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ พลูโต มียานไปเยือนครั้งแรก ! ขอบคุณ@NASA มันเป็นวันที่ยิ่งใหญ่ ในการสำรวจและความเป็นผู้นำด้านอวกาศของชาวอเมริกัน ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ทวีตข้อความยินดี


จากพื้นโลกสู่ดาวพลูโตกับ
ดาวพลูโต และดวงจันทร์ชารอน

จากพื้นโลกสู่ดาวพลูโตกับ 03.10 น. จิ๋วแต่เร็วจี๋

ยานสำรวจนิว ฮอไรซันส์ มีขนาดเพียงแค่เปียโนหนึ่งหลัง และเดินทางด้วยความเร็วสูงมาก ขนาด 30,800 ไมล์ ต่อ ชม. ขณะเคลื่อนตัวผ่านดาวพลูโต ซึ่งถูกพบว่า มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2,370 กม. จนถือเป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในแถบไคเปอร์

จากพื้นโลกสู่ดาวพลูโตกับ 03.17 น. การเดินทางไปยังดินแดนที่ไม่เคยรู้จัก

ยานนิว ฮอไรซันส์ใช้เวลากว่า 8 ชม. หลังจากเข้าไปใกล้ดาวพลูโตในระยะใกล้ที่สุดแล้ว เพื่อทำการศึกษาเก็บข้อมูลบรรยากาศและบันทึกภาพ โดยได้ส่งภาพขณะเคลื่อนตัวผ่านดาวพลูโตเป็นภาพแรกกลับมาถึงโลกโดยใช้เวลาอีก 4 ชม.ครึ่ง


จากพื้นโลกสู่ดาวพลูโตกับ
ดร.สตีเฟน ฮอว์กกิ้ง

จากพื้นโลกสู่ดาวพลูโตกับ 04.45 น. ดร.สตีเฟน ฮอว์กกิ้ง ยกย่อง

"บัดนี้ ระบบสุริยจักรวาลจะถูกเปิดออกให้กว้างมากขึ้นต่อพวกเรา เป็นการเปิดเผยความลับของดาวพลูโตที่อยู่ไกลโพ้น’ ดร.สตีเฟน ฮอว์กกิ้ง นักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะ ผู้รอบรู้เรื่องจักรวาล กล่าวชื่นชมความสำเร็จของการส่งยานสำรวจนิว ฮอไรซันส์ ไปยังดาวพลูโต และสถานีโทรทัศน์ นาซา ทีวี ได้นำคำพูดของเขามาออกอากาศ

"พวกเราสำรวจอวกาศ เพราะพวกเราเป็นมนุษย์ และต้องการจะรู้ ...ผมหวังว่า ดาวพลูโตดวงนั้น จะช่วยพวกเราในการเดินทางไปที่นั่น" สตีเฟน ฮอว์กกิ้ง กล่าว


จากพื้นโลกสู่ดาวพลูโตกับ
ภาพถ่ายระยะใกล้ แสดงให้เห็นผิวดาวพลูโต

จากพื้นโลกสู่ดาวพลูโตกับ ไขปริศนาดาวพลูโต

ดาวพลูโต ใช้เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ เป็นระยะเวลา 248 ปี จึงทำให้ฤดูกาลบนดาวพลูโตมีความแตกต่างกันอย่างรุนแรง โดยดาวพลูโตมีการโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าการโคจรของดาวเนปจูน จึงทำให้บรรดานักวิทยาศาสตร์ยังคงมีคำถามมากมายเกี่ยวกับดาวพลูโต ซึ่งขณะที่นาซาส่งยานสำรวจนิว ฮอไรซันส์ไปยังดาวพลูโตนั้น ยังอยู่ในสถานะเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ของระบบสุริยจักรวาล

ทว่าไม่กี่เดือนต่อมา ดาวพลูโตได้ถูกปลดจากการเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2549 โดยที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ซึ่งร่วมประชุมที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก เนื่องจากได้มีการกำหนดนิยามใหม่ดาวเคราะห์ คือ วัตถุทรงกลมที่โคจรรอบดวงอาทิตย์, มีมวลมากพอที่จะมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดตัวเองให้อยู่ในสภาวะสมดุล หรือรูปร่างใกล้เคียงทรงกลม, มีวงโคจรชัดเจน และสอดคล้องกับดาวเคราะห์ข้างเคียง และมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอย่างน้อย 500 ไมล์

จากนิยามใหม่ ทำให้ดาวพลูโต และดาวอีริส ซึ่งเคยเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 และ10 ‘ตกชั้น’ ถูกปลดจากการเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ เนื่องจากดาวพลูโต ไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูดและวงโคจรของสิ่งต่างๆ ทั้งยังมีวงโคจรไม่สอดคล้องกับดาวเคราะห์ข้างเคียง และให้ถือว่าดาวพลูโต เป็นดาวเคราะห์แคระ มีลักษณะคล้ายวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะเท่านั้น

จากพื้นโลกสู่ดาวพลูโตกับ
ปานรูปหัวใจบนดาวพลูโต
จากพื้นโลกสู่ดาวพลูโตกับ ส่ง "ความรัก"กลับมาให้มนุษย์ : ปานรูป "หัวใจ’"บนดาวพลูโต

ทีมควบคุมภาคพื้นดินโครงการนิว ฮอไรซันส์ ต้องตื่นตะลึง ไม่น่าเชื่อกับภาพถ่ายที่ยานส่งกลับมา ประการแรก สีของดาวพลูโตมีสีออกไปทางเฉดน้ำตาลอมแดง ไม่ใช่สีเทาเหมือนที่เคยคิด อีกทั้งยังเห็นรอยลักษณะเหมือนกับ ‘ปานรูปหัวใจขนาดใหญ่ยักษ์บนดาวพลูโต’  ขณะที่ภาพถ่าย‘โคลส อัพ’ ระยะใกล้ที่ยานสำรวจส่งกลับมา ได้แสดงให้เห็นว่ามีเทือกเขาปกคลุมด้วยน้ำแข็ง สูงถึง 11,000 ฟุต พอๆ กับเทือกเขาร็อกกี้ ในอเมริกาเหนือ อยู่บนดาวพลูโตด้วย

ส่วน พื้นผิวของดาวเคราะห์แคระดวงนี้ถูกปกคลุมด้วยก๊าซไนโตรเจนแข็ง และ ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์แข็ง ซึ่งองค์ประกอบของน้ำแข็งบนโลกกับดาวพลูโตนั้นแตกต่างกัน นอกจากนี้ ยานนิว ฮอไรซันส์ยังส่งรูปภาพของชารอน ดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในดวงจันทร์บริวาร 5 ดวงของดาวพลูโตกลับมาด้วย  

ดร.อลัน สเติร์น หัวหน้าโครงการนิว ฮอไรซันส์ ยังกล่าวว่า การค้นหาความจริงของดาวพลูโต ได้ระเบิดอยู่ในใจของทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการนี้ทุกคน ด้วยความอยากรู้ถึงปริศนาอันลี้ลับของดาวพลูโต เมื่อยานสำรวจนิว ฮอร์ไรซันส์สามารถไปถึงดาวพลูโตได้สำเร็จ หลังจาก ไคลด์ ทอมบอห์ นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน เป็นผู้ค้นพบดาวพลูโตเป็นคนแรกเมื่อ 85 ปีก่อน

จากพื้นโลกสู่ดาวพลูโตกับ
ทีมนักวิทยาศาสตร์โครงการนิว ฮอไรซันส์ สุดดีใจและภาคภูมิใจกับความสำเร็จ
ขณะที่ทีมนักวิทยาศาสตร์นาซารุ่นหลัง ก็ไม่ลืมจะนำเถ้าอัฐิของทอมบอห์ ใส่กระป๋องโลหะขึ้นไปกับยานสำรวจนิว ฮอไรซันส์ ไปยังดาวพลูโตด้วย เพื่อเป็นการแสดงการยกย่องเชิดชู และด้วยความที่ต้องการให้ทอมบอห์แม้จะจากโลกนี้ไปแล้ว แต่เถ้าอัฐิของเขาได้มีโอกาสอยู่ใกล้กับดาวพลูโตมากที่สุดชนิดที่ยังไม่มีมนุษย์คนใดเคยทำได้มาก่อน


ข้อมูลและภาพ : ไทยรัฐออนไลน์ 17 ก.ค. 2558  



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น