เหตุอันใดหรือ ที่เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ กลับเพิกเฉยกรณีโรฮิงญา
ภาพบีบีซีไทย - BBC Thai
ทำไมนางออง ซาน ซูจี ไม่พูดเรื่องโรฮิงญา
ตลอดเวลาร่วมสองทศวรรษ ไม่เคยมีใครกล่าวหานางออง ซาน ซูจี ว่าเป็นคนไม่มีหลักการหรือขาดความกล้าหาญ นับตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1990 จนกระทั่งถึงวันที่ได้รับการปล่อยตัวจากการกักบริเวณในบ้านพักเมื่อปี 2553 นางซูจีถือเป็นสัญลักษณ์ของความเด็ดเดี่ยวที่แข็งขืนต่อต้านการปกครองในช่วง นั้นซึ่งถูกมองว่าเป็นเผด็จการทหารที่โหดเหี้ยม ภาพของนางซูจีปรากฏอยู่ตามกำแพงห้องพักนักศึกษาทั่วโลก โบโนถึงกับแต่งเพลงให้เธอ ชื่อของเธอหมายถึงการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนของกลุ่มต่าง ๆ ทั่วโลก
ตอนนี้นางซูจีได้รับอิสรภาพ และอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดิมที่เคยถูกกักบริเวณ
แต่อยู่ในประเทศที่เปลี่ยนไปมาก นางซูจีมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
จะพูดเรื่องอะไรก็ได้ ในสภาเธอทำหน้าที่เป็นสส. ฝ่ายค้าน
วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลถึงความล่าช้าในการปฏิรูปและการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เธอ
เห็นว่าเป็นเพียงแค่ความคาดหวังที่ไม่มีทางเป็นไปได้
แต่เธอกลับเงียบไม่เอ่ยปากถึงการกดขี่ข่มเหงชาวโรฮิงญา ชน
กลุ่มน้อยที่ถูกลืมในเมียนมาร์
ชาวโรฮิงญามุสลิมหลายแสนคนอาศัยอยู่ในรัฐยะไข่ ทางตะวันตกของเมียนมาร์มาเป็นเวลาหลายทศวรรษแล้ว แต่พวกเขาเพิ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกไม่นานมานี้เอง พวกเขาไม่ได้เป็นพลเมืองเมียนมาร์และไม่มีเสรีภาพในการเดินทาง มีประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงเกี่ยวกับชาวโรฮิงญาหลายเรื่อง เช่น การตั้งถิ่นฐานที่รัฐยะไข่เกิดขึ้นได้อย่างไร พวกเขาอพยพมาจากไหนและควรเรียกพวกเขาว่าอย่างไร
โจนาห์ ฟิเชอร์ ผู้สื่อข่าวบีบีซีที่เมียนมาร์บอกว่าประวัติศาสตร์นั้นเป็นเรื่องหนึ่ง แต่หากมองในแง่มนุษยธรรมจะเห็นว่าขณะนี้มีชาวโรฮิงญาราว 800,000 คน อยู่ทางตะวันตกของเมียนมาร์ พวกเขาถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน มีการเลือกปฏิบัติเพียงเพราะพวกเขาเกิดเป็นโรฮิงญา พวกเขากลายเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์เพราะว่าพวกเขายากจนและอยู่ในสภาพ ที่สุดทน แต่ทำไมทั้ง ๆ ที่มีเสียงเรียกร้องจากทั่วโลก นางออง ซาน ซูจี เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพถึงได้นิ่งเงียบไม่เอ่ยปากเรื่องนี้ ผู้สื่อข่าวบีบีซีบอกว่าสาเหตุหนึ่งที่มีคนพูดกันมากคือนางซูจีนั้นเป็น นักการเมืองที่เน้นเรื่องการปฏิบัติและหวังผลมากกว่าเป็นนักเคลื่อนไหวด้าน สิทธิมนุษยชน หากนางซูจีออกมากล่าวปกป้องชาวโรฮิงญา ก็จะถูกกลุ่มชาตินิยมชาวพุทธวิจารณ์และอาจส่งผลต่อการเลือกตั้งทั่วไปในปี นี้ได้ ความตึงเครียดทางศาสนาและชาติพันธุ์อาจเป็นตัวแปรต่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ที่ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคไหน
เรื่องนี้มีหลักฐานตั้งแต่ตอนที่นางยางฮี ลี ผู้แทนของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ไปเยือนเมียนมาร์แล้วว่า นางซูจีระวังมากเกี่ยวกับเรื่องชาวโรฮิงญา หลังจากที่นางลีได้หยิบยกเรื่องชาวโรฮิงยาขึ้นมาพูด ซึ่งก็ถูกพระวิระธูวิพากษ์วิจารณ์ด้วยคำพูดที่ดูถูกเหยียดหยาม ส่งผลให้ผู้อำนวยการด้านสิทธิมนุษยชนของยูเอ็นที่เจนีวาถึงกับขอให้บรรดาผู้ นำในเมียนมาร์ตำหนิพระวิระธู ส่วนนางซูจีนั้นไม่พูดอะไร ทั้ง ๆ ที่นางยางฮี ลีเป็นชาวเอเชีย เป็นผู้หญิง เป็นนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนและถูกเชือดเฉือนด้วยภาษาที่ก่อให้เกิด ความเกลียดชังในบ้านเมืองของนางซูจีเอง
ผู้สนับสนุนนางซูจีแก้ต่างว่าที่นางซูจีไม่ได้พูด ไม่ได้หมายความว่าเธอไม่ได้ใส่ใจ เพียงแต่เธอเห็นว่าเรื่องนี้เป็นหลุมพราง การออกมาพูดเกี่ยวกับชาวโรฮิงญาหรือนางยางฮี ลี อาจทำให้กลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนพออกพอใจ แต่จะไม่ทำให้สถานการณ์เกี่ยวกับชาวโรฮิงญาในเมียนมาร์เปลี่ยนไป พวกเขาชี้ว่านางซูจีนั้นมองในภาพที่กว้างกว่า ซึ่งก็คือชัยชนะในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายนและเตรียมการ สำหรับการเจรจาเรื่องการถ่ายโอนอำนาจที่จะมีขึ้น คาดว่าจะมีพรรคกลุ่มชาติพันธุ์หลายพรรคได้ที่นั่งในสภาพรรคละเล็กละน้อย และที่นั่ง 1 ใน 4 จะตกเป็นของทหาร ส่วนพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) จำเป็นจะต้องได้คะแนนเสียงข้างมากในเขตเลือกตั้งที่มีกลุ่มชาติพันธุ์เป็น ชาวเมียนมาร์ ดังนั้นนางซูจีจำเป็นจะต้องรักษาฐานเสียงที่เป็นพระเอาไว้รวมทั้งยึดนโยบาย ว่าเป็นพรรคที่ปกป้องประเทศที่คนส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชน
ผู้สื่อข่าวบอกว่า มีบางฝ่ายที่เห็นว่าอีกสาเหตุที่นางซูจีไม่แสดงความคิดนั้น เป็นไปได้ว่าเธอก็เห็นแบบเดียวกับทางการเมียนมาร์ว่าประชากรมุสลิมกำลังขยาย ตัวรวดเร็วเกินไป และรัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินนโยบายที่สร้างหลักประกันว่า เมียนมาร์จะต้องเป็นชาติที่คนส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชน
บีบีซีไทย - BBC Thai
ชาวโรฮิงญามุสลิมหลายแสนคนอาศัยอยู่ในรัฐยะไข่ ทางตะวันตกของเมียนมาร์มาเป็นเวลาหลายทศวรรษแล้ว แต่พวกเขาเพิ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกไม่นานมานี้เอง พวกเขาไม่ได้เป็นพลเมืองเมียนมาร์และไม่มีเสรีภาพในการเดินทาง มีประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงเกี่ยวกับชาวโรฮิงญาหลายเรื่อง เช่น การตั้งถิ่นฐานที่รัฐยะไข่เกิดขึ้นได้อย่างไร พวกเขาอพยพมาจากไหนและควรเรียกพวกเขาว่าอย่างไร
โจนาห์ ฟิเชอร์ ผู้สื่อข่าวบีบีซีที่เมียนมาร์บอกว่าประวัติศาสตร์นั้นเป็นเรื่องหนึ่ง แต่หากมองในแง่มนุษยธรรมจะเห็นว่าขณะนี้มีชาวโรฮิงญาราว 800,000 คน อยู่ทางตะวันตกของเมียนมาร์ พวกเขาถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน มีการเลือกปฏิบัติเพียงเพราะพวกเขาเกิดเป็นโรฮิงญา พวกเขากลายเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์เพราะว่าพวกเขายากจนและอยู่ในสภาพ ที่สุดทน แต่ทำไมทั้ง ๆ ที่มีเสียงเรียกร้องจากทั่วโลก นางออง ซาน ซูจี เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพถึงได้นิ่งเงียบไม่เอ่ยปากเรื่องนี้ ผู้สื่อข่าวบีบีซีบอกว่าสาเหตุหนึ่งที่มีคนพูดกันมากคือนางซูจีนั้นเป็น นักการเมืองที่เน้นเรื่องการปฏิบัติและหวังผลมากกว่าเป็นนักเคลื่อนไหวด้าน สิทธิมนุษยชน หากนางซูจีออกมากล่าวปกป้องชาวโรฮิงญา ก็จะถูกกลุ่มชาตินิยมชาวพุทธวิจารณ์และอาจส่งผลต่อการเลือกตั้งทั่วไปในปี นี้ได้ ความตึงเครียดทางศาสนาและชาติพันธุ์อาจเป็นตัวแปรต่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ที่ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคไหน
เรื่องนี้มีหลักฐานตั้งแต่ตอนที่นางยางฮี ลี ผู้แทนของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ไปเยือนเมียนมาร์แล้วว่า นางซูจีระวังมากเกี่ยวกับเรื่องชาวโรฮิงญา หลังจากที่นางลีได้หยิบยกเรื่องชาวโรฮิงยาขึ้นมาพูด ซึ่งก็ถูกพระวิระธูวิพากษ์วิจารณ์ด้วยคำพูดที่ดูถูกเหยียดหยาม ส่งผลให้ผู้อำนวยการด้านสิทธิมนุษยชนของยูเอ็นที่เจนีวาถึงกับขอให้บรรดาผู้ นำในเมียนมาร์ตำหนิพระวิระธู ส่วนนางซูจีนั้นไม่พูดอะไร ทั้ง ๆ ที่นางยางฮี ลีเป็นชาวเอเชีย เป็นผู้หญิง เป็นนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนและถูกเชือดเฉือนด้วยภาษาที่ก่อให้เกิด ความเกลียดชังในบ้านเมืองของนางซูจีเอง
ผู้สนับสนุนนางซูจีแก้ต่างว่าที่นางซูจีไม่ได้พูด ไม่ได้หมายความว่าเธอไม่ได้ใส่ใจ เพียงแต่เธอเห็นว่าเรื่องนี้เป็นหลุมพราง การออกมาพูดเกี่ยวกับชาวโรฮิงญาหรือนางยางฮี ลี อาจทำให้กลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนพออกพอใจ แต่จะไม่ทำให้สถานการณ์เกี่ยวกับชาวโรฮิงญาในเมียนมาร์เปลี่ยนไป พวกเขาชี้ว่านางซูจีนั้นมองในภาพที่กว้างกว่า ซึ่งก็คือชัยชนะในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายนและเตรียมการ สำหรับการเจรจาเรื่องการถ่ายโอนอำนาจที่จะมีขึ้น คาดว่าจะมีพรรคกลุ่มชาติพันธุ์หลายพรรคได้ที่นั่งในสภาพรรคละเล็กละน้อย และที่นั่ง 1 ใน 4 จะตกเป็นของทหาร ส่วนพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) จำเป็นจะต้องได้คะแนนเสียงข้างมากในเขตเลือกตั้งที่มีกลุ่มชาติพันธุ์เป็น ชาวเมียนมาร์ ดังนั้นนางซูจีจำเป็นจะต้องรักษาฐานเสียงที่เป็นพระเอาไว้รวมทั้งยึดนโยบาย ว่าเป็นพรรคที่ปกป้องประเทศที่คนส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชน
ผู้สื่อข่าวบอกว่า มีบางฝ่ายที่เห็นว่าอีกสาเหตุที่นางซูจีไม่แสดงความคิดนั้น เป็นไปได้ว่าเธอก็เห็นแบบเดียวกับทางการเมียนมาร์ว่าประชากรมุสลิมกำลังขยาย ตัวรวดเร็วเกินไป และรัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินนโยบายที่สร้างหลักประกันว่า เมียนมาร์จะต้องเป็นชาติที่คนส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชน
บีบีซีไทย - BBC Thai
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น