วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

Peking Opera Blues (1986)

Peking Opera Blues (1986)

ประเทศจีนปี 1913 ปีแห่งความโกลาหล หลังจากผู้ปกครองอย่างราชวงศ์ชิงของชาวแมนจูถูกโค่นอำนาจลง นายพลหยวนซื่อไค ผู้ครองอำนาจ ไม่สามารถทำประเทศชาติให้เป็นปึกแผ่นได้ (ดูเรื่องราวทำนองนี้ได้จากหนังของชอว์บราเดอร์เรื่อง The Warlord) มีข่าวกรองมาว่า หยวนซื่อไค่ จะได้รับเงินกู้สนับสนุนจากต่างประเทศตะวันตก เพื่อเป็นเงินทุน ในการยึดครองประเทศต่อไป โดยมีนายพลคนหนึ่งเป็นตัวกลางในการกู้ยีมเงิน เป็นเรื่องที่ขบวนการปฏิวัติเพื่อชาติจะยอมไม่ได้ จึงส่งสายลับผู้หนึ่ง ออกปฏิบัติการเพื่อขโมยเอกสารกู้เงิน หวังให้แผนการของหยวนซื่อไคไม่สำเร็จ แต่แผนการครั้งนี้ไม่อาจจะสำเร็จได้เลยหากปราศจาก ตัวแปรอย่างหญิงสาวสามคมได้มีโอกาศสร้างวีระกรรมในการรช่วยเหลือ กลุ่มปฏิวัติ เฃิ่งหง (จงฉู่หง) นักดนตรีสาวแร่ร่อนขี้งก ไป่หนิว (Sally Yeh) ลูกสาวโรงงิ้วจอมแก่น ที่ฝันอยากขึ้นแสดงบทเวทีบ้าง ทั้งๆ ที่ในยุคนั้น การให้ผู้หญิงแสดงงิ้วถึอ เป็นสิ่งต้องห้าม และเส้าเหวิน (หลินชิงเสีย) ลูกสาวนายพลคนสำคัญผู้นั้นเอง ที่ยอมทรยดบิดาเพื่อชาติ และอุดมการณ์ของตัวเอง สาวสามต้องรวมมือกับอีกสองหนุ่ม หนึ่งคือสายสืบของหน่วยปฏิวัติที่ถูกส่งมาปฏิบัติงานนี้โดยเฉพาะ และอีกหนึ่ง หนุ่มแว่นอดีตทหารกระจอกงอกง่อยที่จับผลัดจับผลูได้เข้ามาเป็นพวกด้วย ทำงานนี้ให้สำเร็จลุล่วง โดยมี โรงงิ้ว ที่บิดาของไป่หนิว เป็นเจ้าของ เป็นเหมือนฐานที่มั่นในการปฏิบัติการ และซ่อนตัว
Peking Opera Blues พูดถึงบทบาทของ "ผู้หญิง" ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครอง และความอยู่รอดของประเทศ ในยุคที่ผู้หญิงไม่มีสิทธิแม้จะแสดงเป็น ผู้หญิง ในเวทีแสดงงิ้ว แท้ๆ แต่เมื่อประเทศชาติ อุดมการณ์ และความจำเป็นเรียกร้อง เรียกร้อง เธอทั้งสามถึงลุกขึ้นมาทำหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ ไม่ว่าจะทำด้วยความพร้อมใจ สถานการณ์บีบบังคับ หรือเพื่อเงินก็ตาม ถึงแม้จะพูดถึงเรื่องการเมือง ความขัดแย้งในชาติ หนังกลับไปให้ความสำคัญกับขัดแย้งภายในของตัวละครมากกว่า ตัวละครได้เผชิญภาวะที่จะต้องเลือกระหว่างผลประโยชน์ส่วนรวมหรือส่วนตัว โดยเฉพาะเส้าเหวิน ที่มีบิดาอยู่ฝ่ายตรงกันช้าม หนังมีประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ตรงที่ว่า นายพล ก็อาจจะรู้ถึงตัวตนที่แท้จริงของลูกสาวอยู่ เช่นกัน แต่เค้าก็ไม่ได้พูดหรือแสดงอะไรออกมา มีฉากนึงที่น่าสนใจ ที่อย่างไม่มีปี่ไม่มี่ขลุ่ยนายพล ก็พูดกับลูกสาวอย่าง เส้าเหวิน ว่า "พ่ออยากเห็นลูกเลือกทางเดินของตัวเอง ทำสิ่งที่ตัวเองอย่างทำเถอะนะลูก" ดูแล้วก็สะเทือนใจอยู่ไม่น้อยเลย มีอีกฉากที่น่าสนใจโดยเฉพาะในแง่ตัวตนของ เส้าเหวิน (หลินชิงเสีย) เป็นฉากที่ทั้งสามนางเอกสังสรรค์ร่วมกัน ที่บ้านคฤหาสน์ของนายพลนั้นเอง ทั้งกินเหล้าต่างน้ำ เล่นสนุกอย่างไม่ต้องกลัวอะไร แต่งกายด้วยเสื้อผ้าแบบหญิงสาวชาวตะวันตก ที่สำคัญเป็นฉากเดียวในเรื่องที่ เส้าเหวิน แต่งกายเป็นหญิง และไม่ใช่เป็นเพียงแค่สามารถปลดจากเครื่องแต่งกายชาย ยังเป็นฉากที่เส้าเหวิน ปลดเปลื้องความทุกความกดดัน จากหน้าที่ ความรู้สึกผิดต่อบิดา กลับเป็นผู้หญิงธรรมดาๆ อีกครั้งนึงด้วย
Peking Opera Blues ยังเจือไปด้วยเรื่องมิตรภาพระหว่างเพื่อนหญิงสาวสามคน ที่มีพื้นฐานต่างกันโดยสิ้นดี แต่ต้องมา ทะเลาะ ช่วยเหลือ และเข้าใจถึงจิตใจของกันเล่นกัน โดยมีสถานการณ์เป็นเครื่องบีบบังคับ หนังมีฉากน่าประทับใจหลายฉากที่แสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจ และมิตรภาพของทั้ง 3 ของทั้งสามคนอยู่หลายฉาก ที่น่ารักมากๆ ก็คือ ฉากที่สามนางเอก ไปช่วยเหลือ พ่อพระเอกทั้งสองที่ถูกจับเอาไว้ได้รับสำเร็จ ด้วยความดีใจ เฃิ่งหงก็โผ่เข้ากอดกับหนุ่มแว่นที่เธอมีใจให้ ส่วนเส้าเหวินก็วิ่งเข้าไปหาหนุ่มสายลับ กิ๊กหนุ่มของเธอ ทิ้งให้ ไป่หนิว ยีนเหงาอยู่คนเดียว(ที่จริงๆ แอบชอบหนุ่มสายลับอยู่เหมือนกัน เป็นปมรักสามเส้าของเรื่อง) แต่พออีกสองคนเห็น เพื่อนสลดอย่างนั้น ก็เลยเปลี่ยนจากกอดคู่เป็นกอดหมู่ (Group Hug) แทน ดูแล้วก็น่ารักดี
"ดารา" (Stars)
ก่อนหน้านี้ครั้งหนึ่งในฮ่องกง "ดาราหญิง" เป็นเสมือมแม่เหล็ก ที่ขาดไม่ได้ในหนัง ชื่อของ หลินไต้ เล่อตี้ Jenny Hu หลินปอ ถือเป็นชื่อที่ประกันรายได้หนังในระดับหนึ่งเลย ไม่ว่าจะเป็นหนังงิ้ว ที่ผู้หญิงเหมาเล่นทั้งพระเอก หรือ นางเอก หนังชีวิตในยุค 50 - 60 ถึงหนังยุคต้นๆ ของหนังกำลังภายในที่มี เจิ้งเผ่ยเผ่ย เป็นดาราคนสำคัญ แต่หลังจาก จางเชอะ หวังหยู่ เปิดประตูของหนังที่ขายความเป็นชายแบบสุดโด่ง นับแต่นั้นเป็นต้นมา ดาราหญิงก็เริ่มกลายเป็นเพียงของประดับในฉากภาพยนตร์ บรูซ ลี ตี้หลุง เดวิด เจียง ฟูเซิง จนมาถึง เฉินหลง และอีกมากมายหลายคนที่บรรดาเหล่าดาราชาย พากันพาเหรดมาครองบรรลังวงการภาพยนตร์ฮ่องกง จนกระทั่งกลางยุค 80 ดาราหญิงถึงเริ่มต้นรุกกลับอีกครั้ง อาจจะไม่ถึงกับพูดได้ว่า Peking Opera Blues เป็นหนังที่พลิกวงการให้ดาราหญิงฮ่องกงได้รับบทที่หลากหลาย และโดดเด่นมากขึ้นซะทีเดียว แต่ก็ถือว่าหนังเรื่องนี้เป็นเหมือน การปักธงแห่งชัยชนะครั้งแรก อันเป็นที่มาของก้าวต่อมาที่ได้สร้างดาราอย่าง จางม่านอวี้ หวังจู่เสียน ซิวซู่เจิน หยังจื่อฉุน แต่ถ้าย้อนกลับไปในปี 1986 ดาราหญิงที่น่าสนใจที่สุด ก็คือ สาวสามคนที่มารวมอยู่ในหนังเรื่อง Peking Opera Blues นี้เอง
หลินชิงเสีย ดาราไต้หวันที่ดังกับหนังรักโรแมนติกในยุค 70 กลับมาดังอีกครั้งโดยเฉพาะกับการเล่นบทประเภท "ทำลายข้อแตกต่างทางเพศ" ในปลายยุค 80 ในหนังเรื่อง Swordman 2 หลินชิงเสียแสดงเป็นชายที่แต่งเป็นหญิง แต่ใน Peking Opera Blues เป็นหญิงที่แต่งตัวเป็นชาย (เลสลี่ จางเคยให้ทัศนะเกี่ยวกับบทบาทการแสดงของเธอทำนองว่า ดาราหญิงมาแสดงเป็นผู้ชาย คนฮือฮากันมาก ทั้งๆ ที่ไม่เห็นมีอะไรเลย หลินชิงเสียดูยังไงก็ดูเป็นผู้หญิงวันยังค่ำ เพราะเธอดูสวยเกินไปนั้นเอง นักแสดงชายบางคนเสียอีกที่แสดงเป็นผู้หญิงได้ดีกว่า แต่คนกลับมักไม่ค่อยพูดถึง) แต่ถึงยังไงบทบาทของหลินชิงเสียใน Peking Opera Blues ก็ถือว่าเป้นที่น่าจดจำไม่แพ้บทไหนที่เธอเคยแสดงมาเลย ไม่ว่าจะในด้านความสง่างาม ในแบบ ชายผสมหญิง หรือการแสดงระดับสุดยอดก็ตาม
Sally Yeh ชื่อเสียงในวงการณ์ภาพยนตร์อาจจะเป็นรองทั้งสองคน แต่ในวงการเพลง Sally Yeh เป็นราชาเพลงของฮ่องกงมากว่า 3 ทศวรรตแล้ว และถึงแม้จะมีผลงานไม่มากนัก แต่หนังหลายๆ เรื่องที่เธอแสดงก็เข้าขั้นคลาสสิคได้เหมือนกันไม่ว่าจะเป็น The Killer, Shianghai Blues, I Love Maria (น่าสังเกตุว่าสร้างโดยฉีเคอะทั้งหมด) ใน Peking Opera Blues เธอแสดงเป็นลูกสาวโรงงิ้วที่ทั้งสวย แสนซน เข้มแข็ง และโดยไร้เหตุผลบทบาทของ ไป่หนิวที่เธอแสดงเป็นบทที่ผมชอบมากที่สุดในบรรดาทั้ง 3 คนครับ Sally Yeh ต้องทั้งเล่นฉากบู๊ เล่นงิ้ว และร้องเพลง ได้อย่างน่าประทับใจมากๆ
จงฉู่หงเคยเข้าประกวดมิสฮ่องกง ถึงไม่ได้ก็เด่นจนมีคนช่วนไปเล่นหนัง โดยเธอเริ่มงานแสดงในปี 1981 กับหนังกำลังภายใน หวีแนวของตู้ฉีฟงเรื่อง The Enigmatic Case ซึ่งเป็นหนังเรื่องแรกของตู้ฉีฟงด้วย ผลออกมาก็คือเจ๋งสนิท จนพี่ตู้ต้องกลับไปทำหนังทีวีอย่างเก่า ก่อนจะมาดังอีกครั้งในอีก 10 ปีต่อมา ส่วน จงฉู่หง กลับถูกใจหลายๆ คน เลยได้เล่นหนังใหญ่ อย่างต่อเนื่องหลังจากนั้น ทั้งหนังของชอว์บราเดอร์ และ โกลเด้นฮาเว้ส เล่นหนังอยู่ 10 กว่าปีจึงออกจากวงการไปหลังแต่งงาน น่าสนใจว่าตั้งแต่เข้าวงการมา บทบาทของ จงฉู่หง เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ยุคแรก ที่มักจะได้รับบทสาวบริสุทธิ์อ่อนต่อโลก ต่อมาก็เริ่มเปลี่ยนภาพพจน์ไปรับบทประเภทเซ็กซี่ ยั่วยวน (ทั้งในหนังดราม่าเข้มๆ และหนังตลกโกฮา) แต่ช่วงท้ายของการแสดงและถือเป็นช่วงที่มีงานดีๆ ของเธออกมามากที่สุดก็คือ ผู้หญิงธรรมดา ที่แสนเรียบง่าย กับงานอย่าง An Autunm's Tales และ The Wild Seach สำหรับใน Peking Opera Blues แสดงเป็นสาวโก๊ประจำเรื่อง ทั้งซุ่มซาม ขี้งก เป็นตัวละครที่คอยเรียกเสียงหัวเราะ และรอยยิ้มให้กับเรื่อง
ถึงแม้จะเป็นได้เพียงตัวประกอบ แต่ ดารา หรือ บทบาทของดาราชาย ในเรื่องก็เป็นสีสันที่ดีของเรื่อง แต่ไม่ใช้บทพระเอกทั้งสอง ที่ถึงแม้ K.K Chueng กับ Cheung Hao Han จะแสดงได้ดี แต่ก็ดีในระดับพระเอกตามแบบแผนทั่วไป เป็นเหล่าตัวประกอบ รวมถึงตัวโกงต่างหาก โดยเฉพาะ ฉินเผ่ย (พูดถึงในย่อหน้าถัดไป) อู่หม่ากับบทพ่อของ ไป่หนิว กุ๊ฟง แสดงเป็นมือปราบที่ทั้งโหดเหี้ยม วิปริต ผิดมนุษย์มนา กุ๊ฟงแสดงได้มัน ไว้ลายดารารุ่นเก่าจริงๆ และสุดท้าย Kenneth Tsang กับบทนานยพลเส้า บิดาของ เส้าเหวิน (ตัวละครของหลินชิงเสีย) ที่ดูแปลือกนอกแล้วแสนจะเป็นตัวผู้ร้ายตามแบบฉบับ ทั้งกร่าง บ้าอำนาจ โหดเหี้ยม แต่กลับซ้อนความละเอียดทางอารมณ์ไว้มากมาย ทั้งความรักต่อลูกสาว ความหวาดกลัวต่อการสูญเสียอำนาจ Kenneth Tsang เป็นดาราฮ่องกงอีกผู้หนึ่งที่คนไทยคุ้นหน้าคุ้นตากันอย่างดี (เช่น บทเจ้าของอู่เท็กซี่ที่ช่วยเหลือ ตัวละครของตี้หลุงใน A Better Tomorrow) ใน Peking Opera Blues เค้ามาพร้อมกับวิกผมหงอก และหนวดปลอม ที่ดูประหลาดๆ กับบทที่ดูเหมือนซ้ำๆ ซากๆ Kenneth Tsang กลับให้การแสดงที่ดีที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิตของเค้าเลย
"สลับเพศ" (Gender Bender)
ี่นอกเหนือไปจากเรื่องหลักๆ เกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของเพศชาย ที่กระทำโดยเพศหญิง (นางเอกทั้งสาม) ในการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของชาติแล้ว ฉีเคอะยังเมามันมากกับการเล่าเรื่อง ประเภทสลับบทบาทเพศ ใน Peking Opera Blues ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย เพศรถ หรือ ในทางบทบาททางเพศ เช่นตัวละครของหลิงชิงเสียแต่งตัวเป็นชาย ตัวละครของ Sally Yeh ที่อย่างเป็น "นางเอก" งิ้วแต่ดันเป็นงานที่สงวนไว้ให้แต่ผู้ชาย ตัวร้ายที่แสดงโดยกุ๊ฟง ก็ดูเหมือนว่าจะเป็นพวกของพวกชอบเพศเดียวกัน โรงงิ้ว อันเป็นฉากใหญ่ของเรื่องก็เต็มไปด้วย ตัวละครชายที่เป็นพวกลักเพศ แต่ที่เด่น และขโมยซีนไปมากที่สุดโดยเฉพาะในครึ่งแรกของหนัง ก็คือตัวละครที่ชื่อว่า "ฟา" ที่แสดงโดยลุงฉินเผ่ย เป็นตัวละครที่เป็นจุดศูนย์รวมของการสลับเพศเลย ฟา เป็นชายวัยกลางคนแล้ว รูปร่างออกจะถ้วมๆ หน่อย แต่มีงานเป็นนางเอกงิ้ว ท่าทางตุ่งติ้ง แถมแต่งหน้าแต่งตาด้วยเครื่องสำอางหนาเตอะ และใส่ชุดผู้หญิงตลอดทั้งเรื่อง เรียกว่าหนุ่มๆ ในเมืองติดกันเกรียว แม้แต่หัวหน้ามือปราบ (กุ๊ฟง) ยังหลงเสน่ห์ถึงขั้นขอแต่งงาน แต่เอาเข้าจริงๆ ฟากลับยังเป็นผู้ชายเต็มร้อย ที่คงจะไปเป็นเมียของใครไม่ได้ จึงหาทางออกด้วยวิธีที่ไม่ค่อยจะผู้ชายสักเท่าไหร่ นั้นก็คือหอบผ้าหอบผ่อน หนีหายไปเฉยเลย
ถ้าจะว่าไปแล้วคงไม่มีวัตฒนธรรมของประเทศไหน พูดถึงเรื่องราวทำนองนี้มากเท่ากันจีน ไม่ว่าจะเป็นในวรรณกรรมโบราณอย่าง มู่หลาน หรือ เหลียงซับป๋อ จู่อิงไถ และอย่างที่เห็นใน Peking Opera Blues หรือ Farewell My Concublne งิ้วในยุคโบราณก็อนญาติให้แต่ผู้ชายเล่นเท่านั้น ส่วนในวงการภาพยนตร์ยุคแรก หนังงิ้วก็นิยมให้ดาราหญิงแสดงเป็นตัวละครพระเอก ส่วนยุคต่อมาในหนังกำลังภายในก็มักจะพบบทบาทของจอมยุทธหญิง ปลอมตัว (หรือบางครั้งแค่แต่งกาย)เป็นชาย เกี่ยวกับประเด็นทางเพศ (Gender ไม่ใช่ Sex) ในหนังฮ่องกง หรือจีน นี้ ผู้กำกับ Stanley Kwan เคยทำเป็นหนังสารคดีวิเคราะห์ออกมาในชื่อว่า Yin Yang: Gender in Chinese Cinema (1996) มี ดาราและผุ้กำกับดังๆ หลายคนอาทิเช่น จางเชอะ จอห์น วู เฉินก่ายเค่อ โหวเสี้ยวเชี้ยน อังลี เอ็ดเวิด หยาง เลสลี่ จาง ฯลฯ ปรากฏตัวในหนังด้วย โดย Tony Rayns นักปั้นหนังเอเซีย เป็นผู้ให้เสียงบรรยาย
"แนว" (Genre)
ถ้าถามว่า Peking Opera Blues เป็นหนังแนวไหน ก็คงต้องถามว่า แนวของหนังฮ่องกงมีอะไรบ้าง Peking Opera Blues ก็มีทั้งหมดนั้นแหละ ทั้ง ตลก กังฟู ยิงปืน รักโรแมนติก ที่สำคัญที่สุดก็คือ การผสม หนังหลากหลายสายพันธ์เข้าด้วยกัน เป็นสูตรสำเร็จความบันเทิงที่ครบรสชาตินี้เอง ที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญของหนังฮ่องกง (อันที่จริงคงจะไม่ใช่เฉพาะหนังฮ่องกง แต่รวมไปถึงหนังไทย หรือ หนังอินเดีย ด้วย ที่พยายามผสมหนังหลายแนวเข้าด้วยกัน เป็นความบันทึกของคนหมู่มาก ที่พัฒนามาจากมหรสพพื้นบ้าน ของแต่ละท้องถิ่น) หนังเดินเรื่องเร็วเป็บจรวด (นักวิจารณ์ฝรั่งบอกว่า Peking Opera Blues เป็นหนัง 120 นาที่ ที่ยัดมาใน 90 นาที) แถมอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ เหมือนรถไฟเหาะตีลังกา แต่ทั้งหมดกลายเป็นความบังเทิง แบบที่ไม่มีใครเหมือน (ซึ่งหนังประเภทครบรสนี้ก็กลายเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง ของหนังฮ่องกงในยุค 80 - 90 ไปเลย ซึ่งจะพบได้มากในงานส่วนใหญ่ของหวังจิง) ฉีเคอะก็แน่พอที่จะควยบคุมหนัง ไม่ให้ ออกทะเลได้อย่างที่เป็นกับหนังประเภทนี้ในหลายๆ เรื่อง และเมื่อพูดถึงแนวหนังต่างๆ ที่ Peking Opera Blues มี ฉีเคอะก็สามารถทำได้สุดในทุกแนวทางนั้นๆ อย่างน่าทึ่ง ไม่ว่าจะเป็นในทางดราม่าที่ทั้งเข้มข้น และสะเทือนอารมณ์ (นักเขียนบทโดย Raymond To Kwok-wai นักเขียนบทละครเวทีชื่อดัง) หรือ ในฉากตลกก็ตลกอย่างเป็นธรรมชาติ หรือ ฉากแอ็กชั่นก็ถึงใจจริงๆ(จากฝีมือของ Ching Siu-Tung) มีเพลงประกอบที่ไพเราะจากฝีมือของ James Wong (Composer อันดับหนึ่งในยุครุ่งเรื่องของหนังฮ่องกง เจ้าของดนตรีประกอบใน หวงเฟยหง และเดชคัมภีร์เทวดา โดยเค้าพึ่งจะเสียชีวิตลงในปีนี้เอง) จนทำให้ Peking Opera Blues กลายเป็นงานที่น่าจดจำที่สุดเรื่องหนึ่งของผู้ร่วมงานทุกคน
"Peking Opera Blues ในปี 2005"
นับจากปีที่ Peking Opera Blues ออกฉาย เป็นเวลา 19 ปีแล้ว ถ้าเป็นการเชิดชูหนังเรื่องอื่นๆ ก็ต้องบอกว่าหนังยังเต็มไปด้วยความร่วมสมัย ไม่เชยเลยแม้แต่น้อย แต่สำหรับหนัง ตลก + การเมือง + แอ็กชั่น + ดราม่า + กังฟู + ฯลฯ เรื่องนี้ ถ้าหาคำมายกย่องก็ต้องบอกว่า "เชยสุดๆ" ทั้งเนื้อเรื่อง การแสดง ภาษาหนัง แสนที่จะล้าสมัย แต่เราก็ยังรัก Peking Opera Blues รัก เส้าเหวิน ไปหนิว เซิ่งหง แบบเดียวกับที่รักดาราซุปเปอร์สตาในอดีตแบบ หลินชิงเสีย Sally Yeh และ จงฉู่หง Peking Opera Blues เป็นหนังที่เราดูเพื่อรำลึกหนังความสนุก และงดงามของหนังฮ่องกงในอดีต ความสนุกประเภทที่ไม่สามารถทำซ้ำได้อีกในยุคแห่งความทันสมัยแบบนี้
Credits
บริษัทผู้สร้าง
 - Cinema City Co., Film Workshop

อำนวยการสร้าง - Tsui Hark
กำกับ - Tsui Hark
บทภาพยนตร์ - Raymond To Kwok-wai
ดนตรีประกอบ - James Wong Jim
กำกับภาพ - Poon Hang-sang
กำกับคิวบู๊ - Ching Siu Tung
แสดงนำ - Brigitte Lin Ching-hsia, Sally Yeh, Cherie Chung Cho-hung, Wu Ma, Mark Cheng Ho-nam, Cheung Gwok-keung Paul Chun Pui, Guk Fung, Kenneth Tsang Kong

suriya mardeegun


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น